PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โต้แย้งคำแถลงสิทธิบัตรกัญชา

คำแถลงของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (12 พ.ย.2561) ซึ่งยืนยันว่าจะไม่อนุญาตให้มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดจากกัญชา และขณะนี้ยังไม่มีการออกสิทธิบัตรกัญชานั้น ได้ละเลยเรื่องสำคัญคือ การที่กรมทรัพย์สินฯได้ดำเนินการให้มีการ "ประกาศโฆษณา" สิทธิบัตรเกี่ยวกับกัญชาไปแล้ว อย่างน้อย 8 คำขอสิทธิบัตร
ใน 8 คำขอสิทธิบัตรนั้น มีคำขอสิทธิบัตรจำนวนหนึ่ง เช่น คำขอสิทธิบัตร "ไฟโตแคนนาบินอยด์ในการรักษามะเร็ง" ของบริษัท GW Pharma และ Otzuka Pharmaceutical หมายเลขคำขอสิทธิบัตร 1201004672
ระบบ PCT โดยได้มีการประกาศโฆษณาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 นั้น ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นการขอรับสิทธิบัตร "สารสกัดต้นแคนนาบิส (cannabis plant extract)" ซึ่งเป็นสารสกัดจากพืช อันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 9(1)
ใน พ.ร.บ.สิทธิบัตร มาตรา 28(1)เขียนอย่างชัดเจนว่า "ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรไม่ถูกต้องตามมาตรา 17 หรือการประดิษฐ์นั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 9 ให้อธิบดีสั่งยกคำขอรับสิทธิบัตรนั้น และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือโดยวิธีการ
อื่นที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่อธิบดีมีคำสั่ง
การประกาศโฆษณาจะทำได้ก็ต่อเมื่อเป็นคำขอสิทธิบัตรที่ถูกต้องเท่านั้น ดังระบุไว้ใน มาตรา28(2) ว่า " ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรถูกต้องตามมาตรา 17 และการประดิษฐ์นั้นได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 9 ให้อธิบดีมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง"
การประกาศโฆษณาคำขอสิทธิบัตรดังกล่าวจะมีผลในการขัดขวางนักวิจัยไทยในการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสารสกัดดังกล่าว แม้ว่าจะยังไม่มีการรับจดทะเบียนหรือออกสิทธิบัตรก็ตาม เนื่องจาก ในมาตรา 35(ทวิ) ได้ให้การคุ้มครองชั่วคราวผู้ยื่นขอสิทธิบัตรและได้ประกาศโฆษณาไว้ดังนี้
" การกระทำที่ขัดต่อมาตรา 36 ก่อนวันออกสิทธิบัตรมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร เว้นแต่จะเป็นการกระทำต่อการประดิษฐ์ ที่ขอรับสิทธิบัตรและได้มีการประกาศโฆษณาคำขอดังกล่าวตามมาตรา 28 แล้ว โดยบุคคลผู้กระทำรู้ว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วหรือได้รับคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว"
ยังมีคำขอสิทธิบัตรที่ขัดต่อกฎหมายแต่ได้มีการประกาศโฆษณาโดยไม่ชอบโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆอีกในจำนวน 8 คำขอสิทธิบัตรดังกล่าว โดยไบโอไทยจะทยอยนำมาเผยแพร่เป็นลำดับต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: