PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

'ปู'ชูทุกโครงการโปร่งใส 'มาร์ค'ค้านวิธีกู้แบบนี้! 'จง'หยิบศก.พอเพียงสอน แนะให้ทำ'ประชามติ'


'ปู'ชูทุกโครงการโปร่งใส 'มาร์ค'ค้านวิธีกู้แบบนี้! 'จง'หยิบศก.พอเพียงสอน แนะให้ทำ'ประชามติ'

"ปู" ยอมแจงกู้ 2 ล้านล้าน อ้างทุกโครงการ "โปร่งใส" ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์เชื่อม AEC ด้าน "มาร์ค" ค้านวิธีการกู้แบบนี้ เพราะกระทบวินัยการเงินการคลัง ขณะที่ "บุญจง" ชู "เศรษฐกิจพอเพียง"
สอนรัฐบาล เชื่อขัดรธน.แน่ แนะให้ทำ "ประชามติ" ถามปชช.ก่อน

วันที่ 28 มี.ค. 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยนายกิตตัรัตน์ ณ ระนอง รองนากยรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นผู้นำเสนอรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ซึ่งมี 19 มาตรา

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจงเพิ่มเติมในความจำเป็นในการออกร่างพ.ร.บ.ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ตามที่กำหนดไว้ในนโยบาย
ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จนไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่มาเป็นเวลานาน กระทั่ง WEF จัดให้ประเทศ
ไทยเป็นที่ลงทุนด้านโครงสร้างเป็นลำดับที่ 49 จากเดิมซึ่งอยู่ที่ลำดับ 42 โดยมีลำดับตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย"แนวคิดนี้ต้องเป็นการลงทุนที่ตอบโจทย์การวางยุทธศาสตร์ได้มากขึ้น ต้องรองรับการเชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการลงทุนเพื่อเชื่อมโยง

สู่งAEC เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน"นายกฯกล่าวและว่า จะมีการพัฒนาระบบรางออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.ระบบรถไฟรางคู่ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการขนส่งสินค้าหลัก 2.

รถไฟความเร็วสูง เพื่อขนส่งสินค้าที่มีการเน่าเสียง่าย และเพื่อตอบสนองการเติบโตการค้าตามแนวชายแดน โดยจะเกิดความร่วมมืออย่างไร้พรมแดนกับประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาความเจริญมาอยู่แต่ในส่วนกลาง การดำเนินการโครงการนี้เพื่อลดการแออัดในส่วนกลาง และขยายความเจริญไปสู่ส่วนท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์ของประเทศว่าด้วยการลดความ

เหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ประชากรไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ให้มีโอกาสมากขึ้น จากเดิมที่นำนักท่องเที่ยวจาก กทม.ไปสู่เมืองใหญ่

แต่ไม่มีการเชื่อมต่อไปยังเมืองเล็กๆ ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลวางตามพ.ร.บ.นี้ก็คือ เชื่อมต่อจากเมืองใหญ่ไปยังเมื่องเล็กๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงธรรมชาติมากขึ้น อันจะทำให้รายได้

กระจายลงไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้นด้วย

"หลายคนคงสงสัยว่า ทำให้ต้องออกเป็นพ.ร.บ.เงินกู้ ไม่นำไปไว้ในงบประมารประจำปี เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โครงการใหญ่ๆ ที่น่าสนใจถูกยกเลิกหรือชะลอการ

ลงทุน ทำให้การลงทุนไม่ต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติไม่เกิดความเชื่อมั่น การดำเนินการตามแนวทางนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ"นายกฯกล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวย้ำว่า การดำเนินการตามพ.ร.บ.ในทุกโครงการ จะมีความโปร่งใสมากกว่าโครงการเงินกู้หรือโครงการตามงบประมาณที่ผ่านๆ มาอย่างแน่นอน รัฐบาลกำหนดให้มีการประกาศ

ราคากลางไว้ในทีโออาร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส รวมทั้งดำเนินการประกาศในอินเตอร์เน็ตตาม กฎหมายป.ป.ช. เพื่อต้องการให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุดด้วย

@@"มาร์ค" ย้ำปชป.หนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ค้านวิธีการกู้เงินแบบนี้

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เห็นด้วยในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นความจำเป็นของประเทศ พรรคประชาธิปัตย์

ให้การสนับสนุนเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการได้ กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมายที่จะบอกว่าจะเกิดหรือลงทุนในโครงการเหล่านี้หรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้เกิดได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ จึงอยาก

ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า เราอยากให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ แต่เราจะอนุญาตให้ กระทรวงการคลังไปกู้เงิน 2 ล้านบ้านบาทหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราอยู่ในยุคที่มีความท้าทาย จะเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตทางธรรมชาติ การเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แต่ขีดความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ใน

การพัฒนาไม่ได้มีแค่การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานอยู่ลำดับที่ 49 ด้านการสาธารณสุขอยู่ลำดับที่ 70 หรือด้านการศึกษาลำดับที่ 90 การมีขีดความสามารถด้านคมนาคมไม่ได้หมายความว่าขีดความ

สามารถของประเทศจะดีขึ้น แต่ด้านอื่นๆ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน

"ข้อจำกัดต่างๆ ไม่ได้อนุญาตให้รัฐบาลไปกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นๆ การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของแต่ละรัฐบาล อย่างหอประชุมนานา

ชาติที่ภูเก็ต อนุมัติสมัยนายกฯชวน หลีกภัย พอถึงยุคคุณทักษิณก็ยกเลิก มาสมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็มีมติให้ดำเนินการ มาถึงรัฐบาลนี้ให้ยกเลิก ขณะที่ศูนย์ประชุมนานาชาติที่เชียงใหม่

รัฐบาลประชาธิปัตย์เห็นว่าควรมี เราก็ให้ดำเนินการต่อจนเสร็จสิ้นโครงการ"นายอภิสิทธิ์ระบุ

ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวต่อไปว่า การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เคยดำเนินการเจรจากับรัฐบาลจีน โดยขออนุมัติจากสภาสมัยนั้น ปรากฎว่า สมาชิกพรรคเพื่อไทย

ไม่ยกมือสนับสนุนให้มีการดำเนินการแม้แต่คนเดียว แต่รัฐบาลก็สามารถไปเจรจาร่วมทุน ซึ่งไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินประชาชนแม้แต่น้อย ทำไมรัฐบาลถึงไม่ยอมดำเนินการตามที่รัฐบาลพรรคประชา

ธิปัตย์ดำเนินการไว้

ในเรื่องของวินัยการเงินการคลัง การที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ ไม่ใช่การคัดค้านโครงการ ไม่มีคนใดในพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่สนับสนุน

ให้รัฐบาลกู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะมันกระทบวินัยการเงินการคลัง ในเรื่องงบประมาณการดำเนินการรัฐบาลสามารถหาเงินได้โดยการลดต้นทุนโครงการฟุ่มเฟือยที่เรียกประชานิยม อย่างโครงการ

รับจำนำข้าวทุกเม็ดรัฐบาลประกาศตัวเลขออกมาว่าขาดทุน 2.2 แสนล้านบาท หรือราว 2%ของจีดีพี แต่หลังปี 2556 รัฐบาลประกาศว่าจะไม่ขาดทุน ถามว่ามันเป็นไปได้หรือไม่

"ถ้ารัฐบาลยอมที่จะลดขนาดโครงการนี้ ช่วยชาวนา 1 แสนล้าน ที่เหลืออีก 1 แสนล้านเอามาลงทุนในโครงการนี้ก็สามารถกระทำได้ ยิ่งไปกว่านั้น พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเนื้อหาอยู่แค่ 4 หน้า มีเอกสาร

ประกอบ 2 หน้า ส่วนอีก 200กว่าหน้านั้น ไม่มีผลผูกพันกับกฎหมาย ไม่สามารถแปรญัตติโครงการต่างๆ ได้ ซึ่งตรงนี้ต่างจาก ป.ร.บ.งบประมาณ เราจึงไม่สามารถรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้"

นายอภิสิทธิ์กล่าว

@@"บุญจง" จี้ทำประชามติถามปชช.ก่อน ชู "เศรษฐกิจพอเพียง" สอนรัฐบาล เชื่อขัดรธน.แน่

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า คิดแต่จะพัฒนาไปข้างหน้าโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง อาจจะเกิดปัญหาจนลามไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจได้ การกู้เงิน 2

ล้านล้านบาทของรัฐบาลเปรียบเป็นการเอาประเทศเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เอาประชาชน 64 ล้านคนเป็นนายประกัน ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ แต่ต้องคัดค้านเพราะเป็นการกู้เงินจำนวนมาก

มายมหาศาล

นายบุญจง กล่าวว่า เมื่อแถลงนโยบาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ประกาศที่จะดำเนินการโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งน่าชื่นชมยกย่องแต่การ

ติดตามรัฐบาล 1 ปี  7 เดือน กลับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนแทบทั้งสิ้น ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ทุกคนในประเทศอยากเห็นประเทศไทยก้าวหน้า แต่การกู้ 2 ล้าน

ล้านบาทไม่ใช่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่กลายเป็น “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ใครทำตามแบบนี้ล้มเหลวทั้งสิ้น

“วันนี้ก็รู้กันว่าประเทศไทยมีหนี้ การลงทุนต่างๆ ของรัฐบาลผมสนับสนุนแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป การขอกู้วันนี้มีกม.19 มาตรา กู้ 7 ปี 2 ล้านล้านบาท คืนหนี้ในอีก 50 ปี หนี้ไปจบปี 2606 ดอกเบี้ยใน

10 ปีแรก 1.6 แสนล้านบาท หากคิด อีก 20 ปี คิดเป็นดอกเบี้ย 1.52 ล้านล้านบาท และถ้า 50 ปี ดอกเบี้ยจะเท่ากับ 3.2 ล้านล้านบาท รวมทั้งต้นและดอกเท่ากับ 5.16 ล้านล้านบาท”นายบุญจงกล่าว

นายบุญจง กล่าวต่อว่า ในกฎหมายไม่ได้มีการระบุว่า จะเอาเงินส่วนไหนมาใช้หนี้ 5.16 ล้านล้านบาท เพราะหนี้ก้อนนี้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่มีความชัดเจนในการหาเงินมาคืนหนี้ ต้องสรุปว่าไม่มี

ปัญญาหาเงินมาคืนหนี้จำนวนนี้ วิธีการก็คือ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7% เป็น 10-15% ไปจนถึง 21% นอกจากนี้ผมไม่เชื่อความสามารถของรมว.คมนาคม

“ผมมั่นใจว่า กฎหมายฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้รอดูกันต่อไป ผมคนหนึ่งที่ไม่อยากมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ ไม่อยากไปยุ่งกับป.ป.ช. คอยดูกันต่อไป”นายบุญจงกล่าวและว่า การทำโครงการควรจะมี

การศึกษาผลกระทบ และกำหนดไว้ในกม. ดังนั้นการพูดถึงการทุจริตแต่ละโครงการจึงเป็นเรื่องที่ชอบที่ถูกต้อง รัฐบาลจึงควรเป็นแบบอย่างมีรายละเอียดกำหนดไว้ชัดเจน ประชาชนจะได้ทราบว่า

รถไฟเส้นทางนี้ 1 กิโลเมตรใช้งบประมาณเท่าใด ช่วงหาเสียงรัฐบาลนี้ประกาศว่าจะล้างหนี้ให้กับประเทศไทย สร้างรายได้ให้ประชาชน จึงได้รับคะแนนความไว้วางใจท่วมท้น แต่ตรงข้ามรัฐบาล

กู้หนี้ยืมสินให้ประเทศไปแล้วถึง 3.5 แสนล้านบาท ทำไมจึงสร้างหนี้ใหม่ให้ประชาชนเพิ่มขึ้นอีก จึงอยากให้รัฐบาลถอนพ.ร.บ.ฉบับนี้ แล้วไปจัดทำประชามติก่อน

@@"กิตติรัตน์"ยันรัฐบาลไม่กู้มาโกง เหน็บ"มาร์ค"กลัวเพราะโครงการไทยเข้มแข็งเคยมีปัญหามาก่อน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง ชี้แจงต่อประเด็นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงความเห็นคัดค้านการออกให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน

เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... (พ.ร.บ.กู้เงิน) จำนวน 2 ล้านล้านบาท ว่า เป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่ผู้นำฝ่ายค้านฯแสดงความเห็นคัดค้านก่อนที่จะฟังในราย

ละเอียดของร่างพ.ร.บ.กู้เงินฯดังกล่าว ทั้งนี้ที่หลายฝ่ายกังวลว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะกู้มาโกง คงเป็นเพราะการขอกู้เงินช่วงที่ผ่านมามีความไม่โปร่งใส(หมายถึงโครงการไทยเข้มแข็ง) เช่น โครงการ

สร้างอาคารส่วนราชการบางแห่ง, โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ของสถานศึกษา ที่พบว่าเมื่อจัดซื้อแล้วนำไปใช้ไม่ได้ ส่วนที่การเสนอขอกู้เงินสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่ถูกคัดค้าน เป็นเพราะ

เป็นโครงการระยะสั้น กระจัดกระจาย รวมถึงไม่มีเอกสารรายละเอียด

"การเสนอร่างกฎหมายให้พิจารณา ที่ถูกมองว่ามีจำนวนน้อยหน้านั้น แต่ความจริงมีบัญชีท้ายพระราชบัญญัติอีก ซึ่งเนื้อหาไม่ได้น้อยกว่าฉบับเดิมๆที่เคยเสนอมา สำหรับสาระที่เสนอขอกู้เงิน เป็นไป

ตามกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบรัดกุม ส่วนหนี้ที่จะเกิดขึ้นกับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่มองว่าใช้ระยะเวลานานถึง 50 ปี แต่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำโครงการจะมีอายุยืนยาว

นานนับศตวรรษ ส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่เอาใจใส่การชำระหนี้ที่ค้างมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ที่มียอดดอกเบี้ย และยอดเงินรวมกันมากถึง 7.5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ใช่เป็นการกู้มาโกง และจะดำเนินการให้รอบคอบ เพราะที่ผ่านมาเห็นความไม่รอบคอบ และรัดกุมมาแล้ว" นายกิตติรัตน์ ชี้แจง

@@"ชัชชาติ"ยันพรบ.กู้เงิน2ล้านล้านจำเป็น ทำประเทศสมบูรณ์แบบ

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงพร้อมทั้งเปิดวีดิทัศน์ ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 2020 โดยอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องทำโครงสร้างพื้นฐานประเทศเพื่อการแข่งขันในเวทีโลกว่า ขณะ

นี้เราใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักของประเทศ ที่ทั้งแพงสุดและเกิดมลภาวะมากที่สุด การขนส่งทางรางจะถูกลงมาเกือบครึ่ง ขณะที่ทางน้ำมีราคาถูกสุด ซึ่งหากปล่อยไปอย่างนี้อนาคตเราจะแข่ง

กับเพื่อนบ้านและชาติอื่นลำบาก เราจะยิ่งถอยหลังและสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ส่วนทางอากาศนั้นเขาเข้มแข็งดูแลตัวเองได้ เราหวังว่าในอนาคตรถไฟจะเป็นเช่นนั้น แต่ตอนแรกเราต้อง

ดูแลเขาก่อน หากเอาจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นโอกาสได้เราจะพลิกประเทศ ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีเราลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยลงทุกปี ตัวเลขทั่วโลกงบลงทุนในงบรายจ่ายประจำปีอย่าง

น้อยต้อง 25% แต่ของไทยระยะ 4-5 ปีหลังมานี้เหลือเพียง 12-15%

"โจทย์ที่เราต้องทำคือ การปรับรูปแบบขนส่งไม่ให้มีคอขวด รถติด ต้องยกคุณภาพชีวิตประชาชน งบฯ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ เป็นกระดูกสันหลังประเทศ ส่วนงบฯปกติจะเป็นเส้น

เลือดฝอย เมื่อรวม 2 งบฯนี้ประเทศเราจะสมบูรณ์แบบ"นายชัชชาติกล่าว

@@สื้อแดงชุมนุมหน้าสภา หนุนพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน จี้ ป.ป.ช.เร่งชี้มูลคดีประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส.

ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 100 คน รวมตัวชุมนุมตั้งแต่เช้าโดยเปิดเวทีปราศรัยย่อยสนับสนุนและ

ให้กำลังใจรัฐบาลในการออกพ.ร.บ.กู้เงิน พร้อมกันนี้ยังได้โจมตีพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินการประมูลสินทรัพย์ของ ป.ร.ส. มูลค่าถึง 800,000

ล้านบาท ซึ่งคดีอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะหมดอายุความลงในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ โดยได้ยื่นหนังสือต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รอง

ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งขอให้เร่งรัด ป.ป.ช.พิจารณาคดีประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส.ก่อนจะหมดอายุ

สำหรับคดี ป.ร.ส.นั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ได้เคยแถลงไว้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูล

ขายเพียง 190,000 ล้านบาท และการดำเนินการของ ปรส. ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ แต่ขั้นตอน

ดำเนินการของ ปรส. กลับไม่แยกหนี้ดี หนี้เสีย เพื่อแยกหนี้ดีไปให้กับธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) นำไปบริหาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้า

มากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ

@@ถกกู้ชะงักปชป.ไล่เจริญ ขวางแจง..กู้ไอเอ็มเอฟ กรณ์ฟันธงขัดรธน.ชัวร์ 'เหลิม'ได้ทีเชลียร์ป้องปู

ก่อนหน้านี้  นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อภิปรายว่า รัฐบาลสามารถหารายได้ทางอื่นมากกว่าสร้างภาระให้ประชาชน และเป็นการกู้นอกระบบงบประมาณ อาจ

เกิดปัญหาวินัยการคลัง และยังเสี่ยงที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ทำให้โครงการที่รัฐบาลจะดำเนินการเกิดสะดุดได้ ตนในฐานะอดีตรมว.คลัง รวมถึงอดีตรมว.คลัง อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือนาย

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ก็ยังคัดค้าน เพราะเห็นว่าเป็นการออกพ.ร.บ.แบบหลวมๆ ไม่รัดกุม ทำให้มีหนี้สูงถึง 65% ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้เงินกู้ แต่ควรเน้นการลงทุนเพื่อรักษาวินัยการคลัง จากการ

ประเมินขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค พบว่าไทยอยู่ในลำดับที่ดีขึ้น โดยมีหนี้สาธารณะลดลง 42% แต่รัฐบาลกลับมีนโยบายที่บั่นทอนความเชื่อมั่นขีดความสามารถประเทศ ถือ

เป็นการพัฒนาที่ผิดตรรกะ สิ่งไม่เห็นด้วยคือการกู้นอกระบบ ทำให้ร่างพ.ร.บ.นี้สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ สุดท้ายแล้วใช้เวลา 7 ปีทำได้จบหรือไม่ เพราะมีภาระหนี้และดอกเบี้ยมากมาย

"ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นสุดท้ายรัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้ได้ ดูได้จากการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทฟื้นฟูจากน้ำท่วม ก็โหนกระแสความกลัวประชาชน ถึงขั้นขู่ส.ส.ฝ่ายค้าน และศาลรัฐธรรมนูญต้องรับผิดชอบถ้าประชาชนถูกน้ำท่วม ขณะนี้ใช้ไปเพียง 6 พันล้านบาท"นายกรณ์กล่าว

นายกรณ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลควรมอบให้รมว.คมนาคมไปศึกษาโครงการก่อน และจัดหาคนมาร่วมทุนเพื่อลดภาระประเทศ รัฐบาลต้องพูดความจริงว่าแหล่งรายได้มาจากที่ใด หรือจะกลับมาปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจริงๆท่านไม่มีเจตนาที่จะรับผิดชอบในอีก 10 ปีข้างหน้า จะไม่คืนเงินต้นแม้แต่บาทเดียว เพราะอีก 10 ปีท่านไปไหนแล้วก็ไม่ทราบ เงินก็ใช้ไปหมดแล้ว ประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้ ทราบหรือไม่ผลการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ทำให้ระบบเงินตึงขึ้น มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพราะมีการแย่งชิงเงินกู้ระหว่างรัฐกับเอกชน อัตราดอกเบี้ยในระบบของเราจะสูงขึ้น

หากดอกเบี้ยเพิ่มทุก 1 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นหนี้เพิ่ม 6 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลไม่ได้เตรียมความเสี่ยงไว้เลย หากโครงการอยู่ในภาวะขาดทุนจะทำอย่างไร ขนาดแอร์พอร์ตลิงค์รายได้ยังไม่พอ ต้องเป็นภาระของประชาชน และโครงการรถไฟความเร็วสูงใครเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถรับการกระทำของรัฐบาลได้

"ทำไมรัฐบาลไม่ทำแผนการเบิกจ่ายงบเงินกู้ของรัฐบาลสูงสุดที่สุดปี 59 เงิน 3.8 แสนล้านแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งที่รัฐบาลสามารถกู้ได้ตามปีงบประมาณ โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงินใดๆทั้งสิ้น

เพราะช่องว่างทางการคลังให้สิทธิกู้ได้อีกหลายโครงการ แต่รัฐบาลกลับหลีกเลี่ยงออกฎหมายพิเศษไปกู้นอกระบบ ทำไมต้องเอาไปเสี่ยงกับโครงการลงทุนครั้งสำคัญของประเทศ ซึ่งตนขอท้าว่าให้เอาทุกโครงการที่อยู่ในเอกสารลงไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย จะได้รู้ว่าโครงการไหนลงทุนอย่างไรบ้าง ถ้าโครงการไหนล่าช้าก็ขอให้หมดสิทธิในเงินกู้นี้เลย ถ้าโครงการไหนจะยกเลิกก็ไม่ให้นำเงินที่ตั้งไว้ ไปใช้ในโครงการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ ควรเขียนระเบียบการพัสดุลงไว้ในกฎหมาย เพื่อไม่ให้มีมติครม.จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ให้ภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเข้ามามีบทบาท โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาตรวจสอบ โดยให้เขียนไว้ในกฎหมายว่า ถ้าโครงการใดเกิดพบการทุจริต หรือเข้าไม่ถึงข้อมูล ให้โครงการนั้นหมดสิทธิไปในทันที ที่อ้างว่าหนี้สาธารณะจะไม่เกิน 50% หากเกินต้องถือเป็นโมฆะทันที และถ้าเกิดทำโครงการไปแล้วมีงบขาดดุลที่มากกว่าปัจจุบันให้ถือเป็นโมฆะ"นายกรณ์ กล่าว

@@"เหลิม"แถกู้เพื่อหนี้การลงทุน เหน็บบางพรรคกู้เงินตำพริกละลายแม่น้ำ ป้อง"ปู"ไม่โกง

เวลา 19.00 น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า รัฐบาลไม่ได้ทำงบประมาณโดยลำพัง แต่ได้หารือคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกฤษฎีกามาตลอด การที่ไม่นำงบปกติมาลงทุนตามที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ สงสัย เพราะเราไม่มีงบ บ้านเมืองที่ไม่พัฒนาเพราะงบลงทุนน้อย แต่งบประจำมีมาก ดังจะเห็นได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่มีงบลงทุนเพียง 18.7 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยส่วนหนึ่งในนั้น

จะต้องนำมาเป็นงบประมาณใช้หนี้ 40,000 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องออกเป็นพ.ร.บ.เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องมีแหล่งเงินที่แน่นอน ส่วนที่บอกว่าจะไม่สร้างหนี้หมายถึงหนี้การทุจริต แต่หนี้ครั้งนี้คือ หนี้การลงทุน ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างครั้งใหญ่ ไม่เหมือนบางพรรคที่กู้เงินมาตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่พรรคเพื่อไทยมีโครงการแล้วจึงกู้ ขอให้เปิดใจกว้าง

"แนวคิดการล้างหนี้ของพรรคเพื่อไทยคือ การหาเงินไปตามเงินกู้เพื่อขยายการลงทุน เมื่อเศรษฐกิจโตหนี้ก็หายไปเอง กฎหมายกู้เงินฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่กล้าบอกรายละเอียดมากขนาดนี้ ถ้าบอกว่า

ไม่โปร่งใสก็ไม่มีกฎหมายฉบับใดโปร่งใส และขอยืนยันว่านายกฯยิ่งลักษณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตทุกอย่าง" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

@@ประชุมชะงัก ส.ส.ปชป.ฟิวส์ขาดไล่ประธานลงจากบัลลังก์

ผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงหนึ่งได้เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น การอภิปรายต้องชะงัก หลังจากที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ไม่อนุญาตให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ใช้สิทธิ์อภิปรายพาดพิง หลังจากที่ถูกส.ส.พรรคเพื่อไทยพาดพิงถึงก่อนหน้านี้ กรณีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ โดยนายเจริญวินิจฉัยว่า นายพิเชษฐไม่เป็นบุคคลที่ถูกพาดพิง จึงไม่อนุญาต ทำให้นายพิเชษฐโต้แย้งว่าช่วงเวลาที่การก่อหนี้และใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ ตนเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่นายเจริญยังคงไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิ์ และปิดไมโครโฟนของนายพิเชษฐ แต่นายพิเชษฐได้ตะโกนผ่านไมโครโฟนว่า "การวินิจฉัยของท่านประธาน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเป็นคำวินิจฉัยที่เลวทราม ถ้าหากมีคนพูดว่า อดีตกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปีก่อนๆ ที่ผ่านมาเป็นเลวทราม ถ้าพูดอย่างนี้ ท่านประธานจะถือว่าถูกพาดพิงและต้องใช้สิทธิชี้แจงหรือไม่ ถ้าประธานวินิจฉัยอย่างนี้ ผมขอให้ท่านลงจากบัลลังก์ แล้วออกไป"

จากนั้นทาง ส.ส.พรคประชาธิปัตย์ได้มีการลุกอภิปรายเพื่อขอให้นายพิเชษฐให้สิทธิชี้แจง ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับการอภิปรายถัดไป พูดขึ้นว่า "ตนไม่ติดใจที่นายพิเชษฐจะใช้สิทธิชี้แจงตนสามารถรอคิวอภิปรายถัดไปได้" ขณะที่นายเจริญ ได้กล่าวขึ้นว่า หากตนให้สิทธินายพิเชษฐชี้แจงต้องตัดเวลาที่นายพิเชษฐ จะอภิปรายในเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.กู้เงิน และจากนั้นจึงให้นายพิเชษฐชี้แจง

@@“อลงกรณ์”ข้องใจเร่งซื้อหัวรถจักรรถไฟเร็วสูงปีนี้ “สรรเสริญ”จี้ใส่เอกสารประกอบในพ.ร.บ.

ก่อนหน้านี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การดำเนินการครั้งนี้เร่งรัดดำเนินการไม่มีความรอบคอบ มีความเสี่ยงสูง โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นการล็อคสเปค ไม่เปิดให้ประชาชนมีทางเลือก ที่สำคัญยังมีการระบุว่าจะเร่งประมูลซื้อหัวรถจักรภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ทั้งที่ระบบรางยังทำไม่เสร็จ และไม่รู้ว่าจะสร้างได้จริงหรือไม่ ไม่อยากให้ต้องมีหัวรถจักรมากองไว้ไม่ได้ใช้งาน เหมือนกับเสาโฮปเวล หากรัฐบาลจะเดินหน้าก่อสร้างโครงการพื้นฐานจริง สามารถใช้วิธีการทำกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนำเงินมาใช้ก่อสร้างได้โดยไม่ต้องเป็นภาระ

หนี้ของประชาชน หรือจะใช้วิธีให้เอกชนร่วมลงทุน พีพีพีได้ อีกทั้งตัวอย่างประเทศจีนซึ่งมีรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดพบว่าขาดทุนเกือบทุกเส้นทาง

ขณะที่นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า พ.ร.บ.กู้เงินไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน ในขณะที่ประชาชนต้องมาแบกรับภาระหนี้คำนวณคร่าวๆ เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ดอกเบี้ย 4% ตกเป็นเงิน 8 หมื่นล้านบาทต่อปี คิดเป็นหนี้เพิ่มขึ้นนาทีละ 1.5 แสนบาท หรือ วันละ 100 ล้านบาท ในเอกสารประกอบมีรายละเอียดโครงการที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของครม. 1.4 ล้าน

ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้ไปใช้ทำอะไรก็ได้ โดยรัฐบาลนี้ไม่ต้องชำระเงินกู้ แต่รัฐบาลชุดอื่นต้องรับภาระปีละ 1-3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ขอเรียกร้องรัฐบาล 1.ต้องระบุในกฎหมายว่า

รัฐบาลชุดนี้จะต้องชำระหนี้เงินต้น 2.จะไม่กู้เงินอีกแล้วหลังจากปี 2560 เป็นปี 2558  3.จะต้องนำเอกสารรายละเอียดโครงการมาไว้เป็นส่วนหนึ่งในพ.ร.บ.ให้มีผลผูกพัน และ  4.เรื่องการจัดซื้อจัด

จ้างในมาตรา 15  ที่ระบุว่าตามหลักเกณฑ์ที่ครม.กำหนดนั้น ต้องเพิ่มเนื้อหาให้ครม.ไม่มีอำนาจยกเว้นระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างในการใช้เงินตามพ.ร.บ.นี้

@@วิป 3 ฝ่ายเคาะถกแก้รธน.วาระแรก 3 วัน

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่ายหรือวิป ประกอบด้วยวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้านและวิปวุฒิสภา เพื่อกำหนดวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ใน 3 ฉบับ ในวาระที่หนึ่ง ภายหลังการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้ข้อยุติร่วมกันที่จะกำหนดวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมใน 3 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย.นี้ จากที่กำหนดไว้เพียง 1 วัน

โดยวันที่ 1 เม.ย. จะเปิดประชุมตั้งแต่เวลา 10.30 - 22.00 น. ส่วนวันที่ 2-3 เม.ย .จะเปิดประชุมตั้งแต่เวลา 09.30 - 22.00 น. ทั้งนี้ วิป 3 ฝ่ายเห็นชอบให้สมาชิกแต่ละคนมีการอภิปรายรวมกันในทุกมาตรา แต่จะไม่มีการแยกอภิปรายทีละฉบับ ซึ่งส.ส.รัฐบาลมีเวลาอภิปราย 15 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน 11 ชั่วโมง วุฒิสภา 8 ชั่วโมง ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 3 เมษายนนี้แล้ว

ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะเรียกชื่อสมาชิกรัฐสภาเพื่อออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ โดยสมาชิกแต่ละคนจะขานชื่อลงมติ 3 ฉบับในครั้งเดียว เมื่อลงมติเสร็จสิ้นจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 3 คณะโดยใช้เวลาแปรญัตติ 15 วัน

@@ยิ่งลักษณ์แจงผ่านFBYingluck

การลงทุนในครั้งนี้จึงถือเป็นการวางรากฐานการพัฒนา สร้างอนาคต และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยจะมีการเชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทาง บก น้ำ ทาง อากาศ อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะเกิดประโยชน์ต่อ ประชาชนและประเทศไทย โดยมีแนวคิดในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังนี้

1) Connectivity

เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสู่อาเซียน ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการเชื่อมฐานเศรษฐกิจเดิมต่อยอดแหล่งรายได้ใหม่ๆ จากฐานประชากร 600 ล้านคน โดยเน้นการพัฒนาระบบราง มี 2 ส่วนคือรถไฟรางคู่จะสามารถเชื่อมต่อประเทศ เพื่อนบ้านในระยะแรกและสามารถลดต้นทุนการส่งสินค้าประเภทหนัก สำหรับ ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงจะเน้นการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงและ เน่าเสียง่าย และการเดินทางของประชาชนที่เน้นความรวดเร็ว

พัฒนาด่านเข้าออกประเทศ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อการเติบโตของ เศรษฐกิจแนวชายแดน เพื่อให้ความร่วมมืออย่างไร้พรมแดนของประชาคม อาเซียนเป็นความจริง

2) กระจายความเจริญและเพิ่มคุณภาพชีวิต

ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พร้อมทั้งการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่ รวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายและระยะในการเดินทาง ส่งเสริมความปลอดภัยเพิ่มขึ้น กระจายความเจริญจากหัวเมืองไปยังชานเมือง ลดความแออัดให้คนกรุง สร้าง ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ เติมเต็มความเจริญให้กับชนบท ตามยุทธศาสตร์ประเทศ ร่วมถึงการลดความเหลื่อมล้ำทั้งด้านการพัฒนาและกระจายรายได้ของประชาชน

3) เชื่อมอุตสาหกรรม – ส่งออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันใน ภาคอุตสาหกรรม - ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดการเชื่อมระหว่างต้นน้ำคือแหล่งวัตถุดิบ ผ่านแหล่ง อุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลางน้ำ ไปยังปลายน้ำ ก็คือการส่งออก การลดต้นทุนในการ ขนส่ง รวมถึงร่นระยะเวลาการเดินทางนั้นหมายถึง อาหารที่สดขึ้น ลดต้นทุนใน การสูญเสีย เกษตรกรจะสามารถขายผลผลิตได้ในราคาดี ในขณะที่คนไทยก็จะได้ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพดี พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดต้นทุนการขนส่งให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การเกษตร

4) การเชื่อมเมืองการท่องเที่ยว

เชื่อมสถานที่ท่องเที่ยวจากเมืองต่างๆ หลายแห่งทั่วประเทศ จากเหนือจรดใต้ เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ยืดระยะเวลาที่นักท่องเที่ยว อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ทั่วถึง กว้างขวาง และยาวนานขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงรายได้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และทั้ง 4 ประการนี้ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในช่วงการลงทุนในช่วง 7 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม ในแต่ละปี คาดว่า มูลค่าของ GDP จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 1 การจ้างงานประมาณ 500,000 อัตรา อันจะส่งผลทั้งความแข็งแรง การหมุนเวียนของเงินทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น: