PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เจ้าสัวซีพี แนะทฤษฎี 2 สูง แก้วิกฤติ

เจ้าสัวซีพี แนะทฤษฎี 2 สูง แก้วิกฤติ

5 years agoThai Idol
ชม 18,656 ครั้ง
 

ธนินท์ เจียรวนนท์

"พยายามทำให้ประชาชน มีเงินเหลือ

ซึ่งประชาชน จะประหยัดการใช้เงิน โดยอัตโนมัติ 

เนื่องจากของแพง" 

เจ้าสัวซีพี แนะรัฐบาล ใช้ทฤษฎี 2 สูง

ขึ้นเงินเดือน-ดันราคาสินค้าเกษตร แก้เศรษฐกิจประเทศ

          

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวในการสัมมนา  "ทางเลือกสุดท้าย ทางรอดของประเทศ” โดยเชื่อว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและค่าแรงขั้นต่ำให้สูงกว่าราคาน้ำมัน ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ เพราะภาวะเงินเฟ้อหมายความว่า ประชาชนมีเงินแต่ซื้อของไม่ได้ ดังนั้นควรปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามความเป็นจริงและช่วยให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

         "รัฐบาลญี่ปุ่น เป็นรัฐบาล ที่จนที่สุด เนื่องจากมีหนี้มากที่สุด โดยเป็นหนี้กับประชาชน ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้ในโลก เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นฉลาด ปล่อยให้ราคาสินค้าแพง เงินเดือนสูง ญี่ปุ่นใช้ทฤษฎีนี้ คือพยายามทำให้ประชาชนมีเงินเหลือ ซึ่งประชาชนจะประหยัดการใช้เงินโดยอัตโนมัติ  เนื่องจากของแพง นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้กู้เงินจากประชาชน ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐตระหนักว่าเงินมาจากการกู้ยืมจากประชาชน" นายธนินท์ กล่าว

       ทฤษฎี 2 สูงทำให้ประชาชนมีทางเลือก มีเงิน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีก็เกิดขึ้น และในที่สุดราคาสินค้าเกษตร จะถูกลงมาเองตามธรรมชาติ อย่างเมื่อก่อนไก่เป็นอาหารคนรวย แต่ตอนนี้ไก่กลับมีราคาถูกกว่าหมู เนื่องจากรัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงราคา ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี ต้นทุนต่ำลง คนกล้าลงทุนมากขึ้น

 

นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์รายชื่ออภิมหาเศรษฐีติดอันดับโลกประจำปี 2008 ซึ่งหนึ่งในชาวไทยที่ติดอันดับเศรษฐีโลกคือ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กัปตันใหญ่ผู้บริหารนาวาเครือเจริญโภคภัณฑ์นั่นเอง ดิฉันเองเคยเขียนเรื่องนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและ CEO ระดับโลกมาหลายท่านแต่ยังไม่เคยเขียนเรื่องของคุณธนินท์

ใช่ว่าคุณธนินท์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะว่ามีคนเขียนเรื่องของท่านมากมายทั้งในรูปบทสัมภาษณ์ บทความ ตลอดจนพอคเก็ตบุ๊คเรื่องประวัติชีวิตการทำงานและวิสัยทัศน์ธุรกิจของท่าน

อย่างไรก็ตามวันนี้ขอเขียนถึงท่านสักที เหตุเพราะมีแรงจูงใจมาจากการได้ชมเทปบันทึกการบรรยายของท่าน ตามคำเชิญของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมาในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทย" (หากผิดพลาดเรื่องชื่อหัวข้อ หรือวัน เวลาที่จัด ต้องขออภัยเพราะดิฉันมิได้ชมรายการตั้งแต่ต้น) โดยการบรรยายของท่านมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการบริหารคนอยู่หลายประการ ซึ่งดิฉันขอนำมาเล่าให้ฟังในคอลัมน์นี้

น้ำมันบนดิน Vs. น้ำมันใต้ดิน

คุณธนินท์ได้กล่าวถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ชาติต่างๆ ล้วนต่างมีและอาจจะหมดไปในไม่ช้า ยกตัวอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มโอเปคมีน้ำมันอันเป็นทรัพยากรที่หายาก ทั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์กันแล้วว่า หากยังมีการขุดเจาะน้ำมันใช้ ในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน น้ำมันดิบก็จะหมดจากโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า ทั้งนี้กลุ่มโอเปคตระหนักดีว่า น้ำมันที่ตนครอบครองอยู่ย่อมมีวันหมดไป จึงพยายามกำหนดราคาน้ำมันให้สูงเข้าไว้ เพื่อตักตวงผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดขณะที่ยังมีเวลาอยู่

แต่สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นประเทศเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกข้าว ยางพาราเป็นอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีในการทำฟาร์มกุ้งก็เป็นอันดับหนึ่งของโลก ผลผลิตทางการเกษตรของเราจึงเปรียบเสมือนเป็น "น้ำมันบนดิน" ของประเทศไทย ที่ใช้ไม่มีวันหมดหากมีการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร ดังที่เครือเจริญโภคภัณฑ์มีนโยบายพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรตระหนักถึงคุณค่าของ "น้ำมันบนดิน" และพยายามพัฒนาการเกษตรเพื่อยกระดับราคาผลิตผลของเราให้สูงขึ้น จะได้ไปสู้กับราคาน้ำมัน

ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่เป็นอุปสรรค

คุณธนินท์ได้แสดงความเห็นที่น่าไปขบคิดอีกด้วยว่า ท่านคิดว่า เมืองไทยน่าจะสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำให้พอ ทั้งนี้อาจจะมี NGO บางกลุ่มออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนเพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทำให้ปลาบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไป ในเรื่องนี้คุณธนินท์มีความเห็นว่าเราน่าจะนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา เช่น ถ้ากลัวว่าปลาชนิดใดจะสูญพันธุ์ ก็ให้เพาะปลาพันธุ์นั้นๆ มาเลี้ยงในเขื่อน ดิฉันฟังไอเดียของคุณธนินท์ก็ออกจะเห็นคล้อยตามอยู่ ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่ ขอยกประเด็นนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิทยาและสิ่งแวดล้อมไปวิเคราะห์ต่อถึงความเป็นไปได้

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ "วิธีคิด" ของคุณธนินท์ต่างหาก ดิฉันชอบตรงที่ท่านเป็น "นักแก้ปัญหา" ตัวยง ในขณะที่หลายคนมีไอเดียดีๆ อยากจะทำโน่นทำนี่ แต่ติดขัดเพราะเจอคำทักท้วงหรือปัญหา แล้วก็เลยหยุดคิดไม่ทำต่อ แต่ถ้ามีจิตใจเป็นนักสู้ และนักแก้ปัญหาอย่างคุณธนินท์ ก็จะพยายามวิจัยค้นหาว่าจะนำเทคโนโลยีตัวไหนมาแก้ปัญหา หรืออุปสรรคนั้นๆ ให้หมดไป วิธีคิดแบบนี้น่านิยมเพราะมันจะทำให้มีการค้นคว้าสร้างความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

คนคือเทคโนโลยีและทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

แม้ว่าคุณธนินท์จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมาก แต่คุณธนินท์ยืนยันว่า คนคือเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด เพราะคนเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีขึ้นมา คนจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ดังนั้นทางซีพีจึงมีนโยบายพัฒนา และให้ผลตอบแทนบุคลากรอย่างคุ้มค่า เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนดีมีฝีมือมีกำลังใจผลิตผลงานที่ดี นอกจากนี้ท่านยังแสดงความเห็นอีกด้วยว่า "เงินเดือนข้าราชการน้อยไป" ซึ่งดิฉันเห็นด้วยเต็มที่ ดังนั้นจึงยากที่จะจูงใจ และรักษาคนดีๆ ให้ทำงานเป็นข้าราชการ

คุณธนินท์ยกตัวอย่างประเทศจีนในปัจจุบันว่า ขณะนี้เงินเดือนของข้าราชการนั้นพอๆ กับหรืออาจมากกว่าเงินเดือนของผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชนชั้นนำ ซึ่งข้อนี้ดิฉันยืนยัน เพราะตนเองเพิ่งเดินทางไปเซี่ยงไฮ้มา และพบคนจีนที่เซี่ยงไฮ้เล่าว่า ขณะนี้เงินเดือนของข้าราชการจีนสูงกว่าเงินเดือนของบริษัทต่างชาติอีกแน่ะ!

ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทยจะมีความเห็นอย่างไร ?

 

เขาเป็นผู้นำคนเดียวในสังคมธุรกิจไทย ที่สร้างอาณาจักรธุรกิจจากเล็กๆ จนยิ่ง ใหญ่ระดับภูมิภาคที่สำคัญ ที่มีความสามารถ ในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ภูมิภาค และสังคมไทยอย่างดี

เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นเพียงกลุ่ม ธุรกิจกลุ่มเดียวที่พัฒนาธุรกิจสอดคล้องกับโอกาสใหม่ของสังคมไทยอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ชนิดที่ไม่มีธุรกิจใดในประเทศทำได้

ทั้งนี้ต้องยอมรับความสามารถของ ผู้นำ - ธนินท์ เจียรวนนท์

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพี มีประสบการณ์การเรียนรู้ระดับโลก 2 ช่วงที่สำคัญมาก สำหรับวางรากฐานและพัฒนาธุรกิจที่เป็นจริง และเป็นธุรกิจ พื้นฐานที่สุดของภูมิภาคนี้และของโลก

ครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 2510 คือการเรียน รู้เทคโนโลยีการผลิตทางการ เกษตรที่สำคัญจากตะวันตก โดยเฉพาะการร่วมมือกับ Aber Arcers แห่งสหรัฐฯ ในการพัฒนาพันธุ์ไก่ อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารครบวงจรในช่วงที่ผ่านมา อันเป็นที่มาของโมเดลการผลิตที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างเครือข่ายการผลิตที่กว้างขวางจากระดับประเทศ สู่ระดับภูมิภาค

ในช่วง 20 ปีจากนั้น ก็คือการเรียนรู้และพัฒนาการผลิตอย่างเข้มข้นอยู่เสมอจาก เจ้าของเทคโนโลยีระดับเล็กและกลางของโลก ด้วยการประยุกต์ที่เข้ากับสังคมเกษตรของไทย และภูมิภาคได้อย่างกลมกลืน จนเป็นการปฏิวัติการผลิตอาหารที่สำคัญในระดับภูมิภาคไป

อีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมากคือ ช่วงพัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการ ตั้งแต่การได้มาซึ่งโครงการสร้างระบบโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ในเขตเมืองหลวง ในต้นทศวรรษที่ 2530 ด้วยการร่วมทุนกับ Bell Atlantic แห่งสหรัฐฯ การร่วมมือครั้งนี้ ซีพีไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี และไม่มีทางจะพัฒนาเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการสื่อสารได้ แต่การร่วมทุนครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการมอง ที่ผลตอบแทนอย่างสูง และรวดเร็วมากกว่าอุตสาหกรรมอาหารแล้วก็คือ ได้เรียนรู้เทคโน โลยีการจัดการกับระบบสื่อสาร ที่มองอย่างมีเเผน แต่ในที่สุดก็ได้พัฒนาการเรียนรู้อย่าง ถึงแก่นขององค์กรใหญ่ระดับโลก ซึ่งก็คือเทคโนโลยีหรือโนว์ฮาวว่าด้วยการจัดการ ซึ่ง ถือว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงของธุรกิจ เพื่อความ อยู่รอด เพื่อการปรับตัวและรักษาความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

ซึ่งนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างมาก

ปัจจุบันกลุ่มซีพี เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีเครือข่ายมาก กระจายทั่วไปในระดับภูมิภาค การบริหารยุคนี้ได้ผ่านมาตรฐานการบริหารงาน การผลิต บุคคล และการเงินทั่วๆ ไป ไปแล้ว ไปสู่การบริหารเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้เขามีพันธมิตรระดับโลก ซึ่งเป็น แนวคิดที่แตกต่างจากอดีต ซีพีในวันนี้มีความ สัมพันธ์กับ Bell Atlantic ธุรกิจสื่อสารระดับต้นๆ ของโลกจากสหรัฐฯ KfW สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเยอรมนี หรือ Allianz บริษัทประกันอันดับต้นๆ ของโลกจาก เยอรมนี การเรียนรู้จากพันธมิตรระดับโลก ซึ่งพวกเขานับว่าอยู่แนวหน้าในความชำนาญ ด้านการจัดการเชิงยุทธ์ การวางยุทธศาสตร์ และการปรับตัวเชิงยุทธศาสตร์เพื่อรองรับกับ สังคมธุรกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

นี่คือสิ่งที่ธนินท์มีมากกว่านักธุรกิจรุ่น เดียวกับเขาหรือรุ่นต่อๆ มา ที่ให้ความสำคัญ ในเรื่อง "สายสัมพันธ์" กับอำนาจรัฐแบบเดิม อย่างเข้มข้น แม้ว่าซีพีและธนินท์จะให้ความ สำคัญในสิ่งนั้นอยู่ไม่น้อย (โดยให้ความสัมพันธ์กว้างขึ้นในระดับภูมิภาค) แต่เขาก็มีสิ่งที่มากกว่าสิ่งนั้นในเชิงสาระของความ เป็นธุรกิจอีกมาก" ข้อความบางตอนจาก 50 ผู้จัดการ ปีที่แล้ว)

อย่างไรก็ตาม ธนินท์ได้พัฒนา "การ บริหารสายสัมพันธ์" ในระดับสูงไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจาก "สายสัมพันธ์" ในระบบอุปถัมภ์ นั่นคือ การเข้าถึงนโยบายการปรับตัวเข้ากับยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศ

ธนินท์ได้ส่งตัวแทนเข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐอย่างต่อ เนื่อง กระจายตามจุดต่างๆ ในขณะที่โมเดล การพัฒนา การบริหารประเทศที่ดำเนินอย่าง ไร้ทิศทาง

แต่กลับค้นคิดโมเดลใหม่ ที่เป็นระบบครั้งแรกซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นผู้นำธุรกิจใหญ่ คนแรกๆ ที่เข้าถึง และเดินหน้าเข้าสู่กระบวน การสร้างโมเดลนั้นด้วยตนเอง ด้วยการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก

นี่ถือว่าเป็นความสามารถเชิงผู้นำองค์กรใหญ่ที่สำคัญ และต่อเนื่องที่สุดของสังคมไทยเลยทีเดียว

ประวัติ

ธนินท์ เจียรวนนท์ แต่งงานแล้วและมีบุตร 5 คน นายธนินท์เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมื่ออายุได้ 19 ปี โดยทำงานในตำแหน่งแคชเชียร์ หลังจากนั้นได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย และบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด (ตามลำดับ) จนเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารระดับสูงของเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบบริหารงานในตำแหน่งประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของไทย มีกลุ่มธุรกิจในเครือฯรวม 10 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร,กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร, กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย, กลุ่มธุรกิจพลาสติก, กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม, กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมทั่วไป กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร และกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง

ลำดับเศรษฐีของนายธนินท์

ในปี พ.ศ. 2549 นายธนินท์ ได้รับการจัดอันดับเป็นเศรษฐีอันดับ 390 ของโลก โดยเป็นคนไทยอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจาก นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเบียร์ช้าง และ นายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลังกระทิงแดง จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บ

  • เศรษฐีของโลกอันดับ 390 ในปี พ.ศ. 2549
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 387 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐของประเทศไทยอันดับ 3 ในปี พ.ศ. 2548
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 342 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 15 ในปี พ.ศ. 2547
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 329 ในปี พ.ศ. 2546
  • เศรษฐีของโลกอันดับ 351 ในปี พ.ศ. 2545
 

ไม่มีความคิดเห็น: