PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โผ ครม.ประยุทธ1

30/8/57 โผครม.

รายชื่อ ครม.(ไม่เป็นทางการ)

1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ควบ รมว.กระทรวงกลาโหม

2.หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี คุมงานเศรษฐกิจ

3.พล.อ.ธนะศักดิ์ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ควบ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ

4.นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ควบ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์

5.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

6.นายสมหมาย ภาษี รมว.กระทรวงการคลัง

7.นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม

8.นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.กระทรวงพลังงาน

9.พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.กระทรวงพาณิชย์

10.นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11.พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.กระทรวงแรงงาน

12.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.กระทรวงมหาดไทย

13.นายสุธี มากบุญ รมช.กระทรวงมหาดไทย

14.พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

15.พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.กระทรวงคมนาคม

16.พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.กระทรวงศึกษาธิการ

17.พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.กระทรวงยุติธรรม

18.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมฯ

16.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.ประจำสำนักนายกนายกรัฐมนตรี

19.นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.กระทรวงพาณิชย์

20.นายพรชัย รุจิประภา รมว.กระทรวงไอซีที 

21.นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

22.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.กระทรวงสาธารณสุข

23.นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.กระทรวงต่างประเทศ

24.พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รมช.ศึกษาธิการ

25.นายอภินันท์ โปษยานนท์ รมว.วัฒนธรรม 

26.นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.กระทรวงสาธารณสุข

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ความเป็นมาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
                นโยบายการแทรกแซงกลไกราคาน้ำมันในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 เนื่องจากในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น และเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินการการออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
                จนกระทั่งในปี 2520  กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลโดยใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516   เรื่องการกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา
            ในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้ผู้นำเข้าน้ำมันได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลเห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงาน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น
 ในปี พ.ศ. 2522 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นเพราะ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง  ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ ไม่ให้ผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และรัฐบาลต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นกองทุนเดียว จึงได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 โดยรวมกองทุนรักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับ กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน
ปี 2546 เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นมาอีกครั้งโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
1.การทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
2.ปัญหาทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจากปัญหาดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้
3.น้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาลดระดับลง
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ไม่ต้องการให้ความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งมาตรการครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพราะความผันผวนมีระยะสั้นราคาน้ำมันก็กลับสู่ภาวะปกติ
ในปี 2547 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง รัฐบาลจึงออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547) เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการตรึงราคาน้ำมัน

การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนเชื้อเพลิงมีดังนี้
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทําหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของ ประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กําหนดหลั กเกณฑ์และเงื่อนไขในการกําหนด ราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนา พลังงานของประเทศ รวมทั้งติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุ นและเร่งรั ด การดําเนินการของคณะกรรมการทั้ งหลายที่ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ พลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาพลังงานของประเทศ
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน  ทําหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์ ในการคํานวณราคา กําหนดราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง และกําหนดนโยบายอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ อัตราเงินชดเชยของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหาร นโยบายพลังงาน จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของนโยบายของกองทุน เท่านั้น
คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อพลิง  ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการใช้จ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่ พิจารณาปรับอัตราเงินส่ง เขัากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซ และค่า ขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาคตามที่ได้รับมอบหมาย
กรมสรรพสามิต  รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมั นเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิต ภายในประเทศ
กรมศุลกากรรับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นําเข้า
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่ วนของก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ถ้ามี)
สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีสภาพคล่องเพียงพอกับรายรั บและรายจ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดหา เงินทุนให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการดําเนินงานต่างๆ (ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์ การมหาชน) พ.ศ. 2546)


รายรับและรายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
 




           

               
















รายรับของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายรับที่เป็นรายได้หลักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากภาษีสรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และมาจากภาษีศุลกากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากผู้นำเข้าน้ำมันโดยทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าวจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนเชื้อเพลิง ขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีหน้าที่เก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานก๊าซแต่เนื่องจากราคาที่แท้จริงของก๊าซหุงต้มสูงกว่าที่รัฐกำหนดมาเป็นเวลานานทำให้ไม่มีการเก็บเงินส่วนนี้จากผู้รับสัมปทาน
โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงานจะนำรายได้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชําระดอกเบี้ยและไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งรายได้ของกองทุนจะขึ้นอยู่กับ อัตราเงินส่ง เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับอัตราเงินส่ง เข้ากองทุน โดยกำหนดอัตราสูงสุดที่สามารถเรียกเก็บได้ไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ และสถานการณ์ราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก
 




















รายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
                หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกผันผวนโดยมีราคาสูงขึ้นก็จะกระทบกับราคาขายปลีกของน้ำมันในประเทศให้สูงขึ้นตามดังนั้นกองทุนน้ำมันจะทำการแทรกแซงราคาให้ราคาน้ำมันต่ำกว่าที่ควรจะเป็นโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่าย ค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาที่ควรจะเป็นและราคาที่กําหนดให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขาย เพื่อช่วยรักษาระดับราคาขายปลีกเพื่อบรรเทาความผันผวนของราคาน้ำมันไม่ให้มากเกินไป โดยผู้ขอรับเงินชดเชยจะแจ้งผ่านมายังกรมสรรพสามิต และ/หรือ กรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ซึ่ง ทั้งหน่วยงานจะรายงานไปยังสถาบันบริหารกองทุนพลังงานและเป็นตัวกลางในการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ขอรับเงินชดเชยซึ่ง
เงินชดเชยสำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและผู้นําเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจัดเป็นรายจ่ายหลักของกองทุนโดยในปีงบประมาณ 2544-2546 เงินชดเชยดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 95-98 ของรายจ่ายรวมของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนรายจ่ายอื่นๆของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบด้วย
               (1)
ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
               (2)
ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
               (3)
ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
               (4)
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานหรือคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เห็นชอบ









การประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง



















การลำดับเหตุการณ์การแทรกแซงราคาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

เดือน
เหตุการณ์

 10 ม.ค.2547
รัฐบาลกําหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดเพดานราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ระดับ 16.99 บาทต่อลิตร เบนซินออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 16.19 บาทต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ระดับ 14.59 บาทต่อลิตรโดยวิธีการที่รัฐนำมาใช้เพื่อตรึงราคาน้ำมัน จะใช้หลักการเดียวกับเมื่อครั้งเกิดสงคราม คือ การนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยราคาให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อรักษาเพดานราคาตามที่รัฐกำหนด จนกระทั่งเมื่อราคาน้ำมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และต่ำกว่าเพดาน รัฐจึงจะเรียกเก็บเงินคืนเข้ากองทุนน้ำมัน

16  เมษ 47
ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มียอดคงเหลือประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีการขอเปิดวงเงินกู้อีกประมาณ 8,000 ล้านบาท (OD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการตรึงราคาน้ำมันต่อไป

พ.ค.47
น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์

ก.ค.47
น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์

ส.ค.47
มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดขึ้น 4 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร( วันที่ 6 11 17 24)

20 ต.ค.47
 มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 60 สตางค์

21 ต.ค.47
รัฐบาลจึงได้ยกเลิก นโยบายตรึงราคาน้ำมันเบนซินในขณะที่ยังคงการตรึงราคาน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซหุงต้มไว้ต่อไป

พ.ย.47
มีการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน 3 ครั้ง ๆ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 4 12 14)


ธ.ค. 47
น้ำมันเบนซินปรับลดลง 5 ครั้ง รวม 1.90 บาท/ลิตร (วันที่ 4 8 10 14 และ 17 ธ.ค.)

21 ก.พ.48
 เพื่อเป็นการลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันให้กับประเทศได้มีการปรับราคาขึ้นอีก 60 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 15.19 บาทต่อลิตร

4 มี.ค.48
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระเงินชดเชยตามมาตรการตรึงราคาที่ได้จ่ายไปนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2547 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น 68,616 ล้านบาท แบ่งเป็น ดีเซล ประมาณ 61,641 ล้านบาท เบนซินออกเทน 95 ประมาณ 2,673 ล้านบาท และเบนซินออกเทน 91 ประมาณ 4,302 ล้านบาท  แม้ว่าจะช่วยลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลลงอีก 60 สตางค์/ลิตร แต่รัฐยังคงต้องชดเชยดีเซลอีกกว่า 3 บาทต่อลิตร หรือประมาณวันละ 180 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการปรับราคาน้ำมัน รัฐจะมีหนี้ในการตรึงราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีหนี้รวมกันแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท

มี.ค.48
น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 3 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 1 5 และ 11)

8 พ.ค. 48
 แม้จะมีการลอยตัวน้ำมันเบนซินแล้ว ( เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 )  กองทุนน้ำมันยังคงมีหนี้ในการตรึงค่าน้ำมันรวมทั้งสิ้นประมาณ 47,285 ล้านบาท แยกเป็นเบนซิน จำนวน 6,975 ล้านบาท และดีเซล จำนวน 40,310 ล้านบาท

พ.ค.48
มีการปรับราคาเบนซินลง 2 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 5 17 พ.ค.)






1 มิ.ย.48
สํานักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ประกาศให้ยกเลิ กการตรึงราคาน้ำมันดีเซล โดยผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถกําหนดราคาขายน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามกลไกตลาดและการแข่งขัน
แต่จัดว่าเป็นการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ในรูปแบบ "การบริหารจัดการของรัฐ (Manage Float)" โดย รูปแบบบริหารจัดการ คือ การทำให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่สูงขึ้นตามราคาตลาดโลกทันที เพราะปัจจุบัน กองทุนน้ำมัน ต้องจ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.86 บาทต่อลิตร แต่เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ที่ระดับเท่าเดิม รัฐได้ปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลจำนวน 1.10 บาทต่อลิตร แบ่งเป็นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จำนวน 1 บาทต่อลิตร และภาษีเทศบาลจำนวน 10 สตางค์ต่อลิตร ทำให้เหลือการชดเชยจำนวน 1.76 บาทต่อลิตรส่วนดีเซลหมุนช้าอยู่ที่ 1.96 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นอัตราเงินชดเชยสูงสุดที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะรับภาระจ่ายชดเชยราคาน้ำมัน ดีเซลให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันดีเซลและนําเข้าน้ำมันดีเซล  ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 14,000 ล้านบาท







20  มิ.ย. 48
ที่ประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และสํานักงบประมาณได้กําหนดให้สถาบันฯ ดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจ่ายชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อสถาบันฯ ออกพันธบัตรครบ 85,000 ล้านบาทแล้ว แต่ภาระการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สิ้นสุด และให้สถาบันฯ ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในวงเงิ นไม่ เกิน 12,000 ล้านบาท ในรูปเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย ทยอยเบิกจ่ายเงินตามความจําเป็นในช่วงที่ สถาบันฯ มี ภาระในการชําระคืนหนี้ พันธบัตร และให้สถาบันฯ ชําระคื นเงินยืมนี้ให้แก่รัฐบาลเมื่อสถาบันฯ ไถ่ถอนพั นธบัตรครบถ้วนแล้ว โดยให้สถาบันฯ ตั้งเรื่องขอใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2550 แต่หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่องในช่วงก่อนปีงบประมาณ 2550 ให้สถาบันฯ นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับเงินอุดหนุนในรูปเงินยืมจากงบกลาง



25 มิ.ย.48

คณะกรรมการบริหาร นโยบายพลังงานได้ลดอั ตราเงินชดเชยสูงสุดสําหรับน้ำมันดี เซลหมุนเร็วไว้ที่ 1.36 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนช้าไว้ที่ 1.56 บาทต่อลิตร

มิ.ย.48
น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 7 ครั้ง รวม 2.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 8 ครั้ง รวม 3.20 บาท/ลิตร




13 ก.ค.48
รัฐบาลได้ประกาศให้มีการลอยตัวน้ำมันดีเซลกลับไปเหมือนเดิมอย่างสมบูรณ์แบบ โดยได้ยกเลิกการชดเชยน้ำมันดีเซลจาก 1.36 สตางค์ต่อลิตร (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ให้เป็น 0  ทําให้ภาระการจ่ายเงินชดเชยของ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสําหรับน้ำมันดีเซลหมดไปในที่สุด และได้สรุปภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดจากการตรึงน้ำมันเบนซินและดีเซลไว้ที่ระดับ 92,070 ล้านบาท รัฐบาลจึงจัดหาเงินกู้จากสถาบันการเงินเข้ามาช่วยเหลือถึง 71,000 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินรายได้จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำมัน


ก.ค.48
 น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 2 ครั้ง รวม 0.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 4 ครั้ง และ ลง 2 ครั้ง รวม 1.20 บาท/ลิตร ปตท. ปรับขึ้นดีเซลหมุนเร็วขึ้น 4 ครั้ง ลง 1 ครั้ง รวมเป็น 1.6 บาท/ลิตร และสิ้นสุดการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 13 ก.ค.48



20 ก.ย.48
มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. สามารถจัดหาเงินกู้โดยการออกตราสารหนี้เสนอขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบัน และหรือประชาชนทั่วไป และให้ สบพ. สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อนำไปชำระหนี้เดิม จ่ายดอกเบี้ย และเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนรวมทั้งหมดไม่เกิน 85,000 ล้านบาท และให้ชำระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วนภายในปี 2554 ทั้งนี้สบพ. ประมาณการแล้วพบว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความต้องการเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท














วันใหม่ ของ อภิสิทธิ์ สุเทพ

เปลว สีเงิน

Friday, 29 August, 2014 - 00:00
วันใหม่ของ "อภิสิทธิ์-สุเทพ"
    แหม..."ถาม-ตอบพลังงาน" กันรอบเดียว ราคาน้ำมันทุกประเภท "ลดพรวด" ชนิดคอต้านพลังงานขูดรีดหาประเด็นด่าต่อแทบไม่ทัน 
    สไตล์นายกฯ ประยุทธ์เค้าก็ แบบนี้แหละ....
    ชอบทำอะไรที่ยากต่อการคาดเดาจากคนอื่นเสมอ!
    แต่อยากให้อ่านข่าวคราวกันให้ครบถ้วนก่อนสรุป เพราะถ้าฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด พอบอกว่า "น้ำมันลดราคา"
    ก็ตบเข่าฉาด......
    "นั่นไง กูว่าแล้ว พอถูกจับได้-ไล่ทัน พ่อค้าน้ำมันอย่าง ปตท.ก็รีบ "คายกำไร" ที่ขูดรีดไปแล้วมั้ยล่ะ?"
    ก็อยากบอกให้ตรงตามประเด็นว่า การลดครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับ ปตท.หรือพ่อค้าพลังงานเจ้าไหน "คาย-ไม่คายกำไร" หรอก 
    ข้อเท็จจริงคือ นายกฯ ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.สั่งให้คลัง "คายภาษี" ที่รัฐบาลก่อนๆ บวกซับ-บวกซ้อนเข้าไปในราคาเนื้อน้ำมัน ที่เรียกว่า
    "ภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาล"! 
    การบวกภาษีเข้าไปในแต่ละหยด-แต่ละลิตร แต่เวลาประกาศราคาหน้าปั๊มออกมาก็ไม่ได้แยกให้เห็นว่า 
    ที่ราคาน้ำมันเท่านั้น-เท่านี้แต่ละลิตร...
    ไหนราคาน้ำมัน ไหนบวกภาษี และไหนบวกอะไรมิต่ออะไรทางการค้า-การตลาดเข้าไป จนยอดออกมาเป็น "น้ำมันเมืองไทย" แพงเวอร์อย่างที่เป็น?
    ตอนนี้ พอมองเห็นกันแล้วนะครับ ว่าที่แพงเวอร์ ส่วนหนึ่งมาจาก "ภาษี" ที่เก็บซับ-เก็บซ้อนด้วย
    ฟังชัดๆ จาก "หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ" คสช. "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" ก็จะเข้าใจในกลไกราคาน้ำมันทุกวันนี้...ท่านบอกว่า
    "เป็นการปรับอัตราจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลใหม่" ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ส.ค.๕๗ นี้เป็นต้นไป 
    ผลจากการ "ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่" นี้ ทำให้น้ำมันขายปลีกในท้องตลาด "แต่ละชนิด" จะเป็นดังนี้ 
    - เบนซิน ราคาขายปลีก ลดลง ๓.๘๙ บาท/ลิตร 
    - แก๊สโซฮอล์ 95 ลดลง ๒.๑๓ บาท/ลิตร 
    - แก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง ๑.๗๐ บาท/ลิตร 
    - E20 ลดลง ๑ บาท/ลิตร 
    - E85 ราคาคงเดิม 
    - ดีเซล ราคาปรับเพิ่ม ๐.๑๔ บาท/ลิตร แต่ยังคงไม่เกิน ๓๐ บาท/ลิตร
    ด้วยผลจากลดภาษี จะทำให้น้ำมันแต่ละชนิดตามปั๊มเหลือราคาลิตรละเท่าไหร่  
    วันนี้ คงได้รู้จากที่ "แต่ละยี่ห้อ" ประกาศ!
    เป็นการ "ลด" เพื่อลดกระแส หรือลดตามเป็นจริงด้วยเหตุและผลควรเป็น นั่นก็ช่างเถอะ เอาเป็นว่า "ขอบคุณท่านนายกฯ" ก็แล้วกัน ที่เห็นหัวอกชาวบ้าน
    คิดว่ารัฐบาลคง "ขาดรายได้" โขทีเดียว ดูๆ ในภาพรวมก็เป็นห่วง เห็นแต่ควักออก จ่ายโน่น-จ่ายนี่ทุกวัน 
    แต่ไม่เห็นมีรายได้เข้ามาทางไหน...นอกจาก (รีด) ภาษี?
    แต่อ้อ...มีตรงขายข้าวเน่า ที่รับจำนำมาเกวียนละหมื่นห้า แต่โละขายเกวียนละพัน-สองพัน ขาดทุนบรรลัยนั่นแหละ!
    เรื่องจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์นี่ ได้ยินว่าคลังจะปิดบัญชีแล้ว ที่เคยประมาณว่าเสียหายไม่หนี ๒-๓ แสนล้านนั้น เอาเข้าจริง มันจะปาเข้าไปกว่า ๕ แสนล้านด้วยซ้ำ
    เฮ้อ...เห็นแล้วก็ช้ำใจ จะไปทวงเอากับใครล่ะ ที่พูดกันว่า "เงินหลวง ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้" น่ะ
    พิสูจน์ให้เห็นจริงทีเถิ้ดดดด...เจ้าประคู้นนนนน!
    ก็จำคร่าวๆ ได้ว่า ป.ป.ช.ส่งสำนวนคดีที่ชี้มูลความผิดยิ่งลักษณ์ไปให้อัยการสูงสุดประมาณต้นเดือนสิงหา วันที่ ๓ หรือที่ ๕ สิงหา ก็ลืมไปแล้ว
    อัยการสูงสุดมีเวลาตรวจสอบสำนวนตามกรอบกฎหมาย ๓๐ วัน นี่ก็ใกล้แล้ว ช่วยกันจับตาดูด้วยว่า อัยการท่านจะออกหัว-ออกก้อย?
    จะสั่งฟ้อง-สั่งไม่ฟ้อง....? 
    นำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองหรือไม่ ลิฟต์ลับตึกชินมีอภินิหารจริงหรือไม่
    สัปดาห์หน้าก็คงรู้?
    แต่เมื่อวาน (๒๘ ส.ค.๕๗) รู้กันไปเรื่องหนึ่งแล้ว คือเรื่องที่ดีเอสไอ ณ ธาริต ส่งให้อัยการฟ้อง "อภิสิทธิ์-สุเทพ" สั่งสลายม็อบ นปช.จลาจลเมือง เมื่อปี ๕๓
    ศาลอาญาท่านว่าอย่างไร...?
    ผมจะยกจากข่าว "กรุงเทพธุรกิจ" ออนไลน์ มาให้อ่านกันเลย เรื่องสำคัญอย่างนี้ ต้องอ่านกันเต็มๆ สรุปนิด-สรุปหน่อย จะขาดสาระไป
    ก็ขออนุญาต "กรุงเทพธุรกิจ" ออนไลน์นะครับ ข่าวที่เผยแพร่มีดังนี้
    ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 28 ส.ค.57 เวลา 09.30 น. ศาลนัดประชุมคดีและฟังคำสั่งการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมาย คดีหมายเลขดำ อ.4552/2556 และ อ.1375/2557 
    ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อายุ 50 ปี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี 
    และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือพระสุเทพ ปภากโร อายุ 64 ปี เลขาธิการ กปปส. อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1-2 
    ในความผิดฐาน ร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83, 84 
    สืบเนื่องจากการออกคำสั่ง ศอฉ. ให้เจ้าหน้าที่เข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน และแยกราชประสงค์ จากกลุ่ม นปช. ที่ชุมนุมตั้งแต่เดือน เม.ย. - 19 พ.ค.53 
    กระทั่งนายพัน คำกอง ชาว จ.ยโสธร อายุ 43 ปี คนขับแท็กซี่ และ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือน้องอีซา อายุ 14 ปี เสียชีวิตบริเวณใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ สถานีราชปรารภ วันที่ 15 พ.ค.53 
    และนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ ถูกกระสุนยิงมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่ที่รักษาการในพื้นที่ย่านราชปรารภ ที่มีการประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส
    ขณะที่ศาลพิจารณาพฤติการณ์จำเลยทั้งสองตามคำฟ้องของอัยการโจทก์ ประกอบข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่า 
    แม้อัยการโจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองได้ออกคำสั่ง ศอฉ.ที่ให้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่ อาวุธและกระสุนจริง รวมทั้งพลแม่นปืนในการผลักดันผู้ชุมนุม หรือกระชับพื้นที่ หรือสลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2553 ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 19 พ.ค.53 โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตก็ตาม 
    แต่การกระทำดังกล่าวนั้นก็เกี่ยวพันกับการที่จำเลยทั้งสองใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ราชการในฐานะนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ผอ.ศอฉ. ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ด้วย 
    ไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัวหรือนอกเหนือหน้าที่ราชการ 
    ดังนั้น จึงเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งราชการด้วย ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวที่ควรพิจารณาไปในวาระเดียว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) มีอำนาจไต่สวน 
    และหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ก็ต้องยื่นฟ้องคดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 66 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) และประกาศ คสช. ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ที่ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 
    โดยคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลนี้ จึงพิพากษายกฟ้อง ญาติผู้ตายที่เป็นผู้เสียหายไม่อาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
    อย่างไรก็ดี ในคดีนี้ นายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ยังได้มีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนด้วย 
    โดยเห็นว่า ศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และญาติผู้ตายที่เป็นผู้เสียหายไม่อาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมูลเหตุที่นำมาฟ้องคดีซึ่งเกิดจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา จากเหตุสลายการชุมนุม และพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้ดำเนินการสอบสวนมากระทั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง ก็เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย 
    ขณะที่ในการฟ้อง หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็จะมีเฉพาะข้อหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น 
    ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองในความผิดอาญา ฐานร่วมกันมีเจตนาฆ่าผู้อื่น กรณีจึงไม่ใช่เรื่องศาลทั้งสองมีอำนาจขัดแย้งกัน อีกทั้งปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกล่าวหาจำเลยทั้งสอง ก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 66 ซึ่ง ป.ป.ช.ยังไม่ได้มีคำสั่งไปทางหนึ่งทางใด 
    ซึ่งหากไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ก็ย่อมมีผลเฉพาะต่อข้อกล่าวหาทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อความผิดใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่นตามฟ้องอัยการโจทก์นี้ จึงเห็นควรว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
    ครับ...ที่ลอกมาลงทั้งหมดนี้ เจตนาผมมีอย่างเดียวคือ....
    อยากให้ "นายธาริต" อ่าน!.

คำนูน:ปัญหา กระเปาะ ปตท.ที่ไม่กระเปาะ

ปัญหา 'กระเปาะ' ที่ไม่ใช่เรื่องกระเปาะ ๆ !

ประเด็นสำคัญที่สุดที่ควรต้องเถียงกันให้รู้เรื่องอย่างอารยะในปัญหายุทธศาสตร์ปิโตรเลียมของประเทศไทยนับจากนี้ไปก็คือ ความยากง่าย จำนวนเงินลงทุน และอัตราเสี่ยง ทั้งในขั้นตอนการสำรวจและขั้นตอนขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว สูงกว่า ต่ำกว่า หรือเท่ากัน หรือพูดง่าย ๆ ว่าเหตุผลที่อธิบายกันมาตั้งแต่เมื่อกว่า 40 ปีก่อนว่าทรัพยากรปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่ใช่แหล่งใหญ่หากแต่เป็น 'กระเปาะ' ขนาดเล็ก ๆ กระจายแยกกันไป ขุดเจาะยาก ต้นทุนสูง ยังจริงอยู่หรือไม่ในวันนี้

ปัญหากระเปาะเล็กกระจายหรือไม่นี้เป็นปัญหาสมุฏฐานที่ใหญ่มาก ไม่ใช่ปัญหากระเปาะ ๆ เลย

เพราะเป็นที่มาของ 'ระบบสัมปทาน' ! 

วันเวลาผ่านมา 43 ปีนับจากปี 2514 เราใช้และฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 6 ฉบับ แต่หลักการสำคัญของการผลิตปิโตรเลียมของประเทศนี้ตามพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยม พ.ศ. 2514 ที่ใช้เวลาร่างกันหลายปี ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง เสมือนนี่คือรัฐธรรมนูญถาวรของประเทศนี้เลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะพรรคไหนขึ้นมารวมทั้งพรรคทหารกี่ชุดต่อกี่ชุดต่างยังไม่เคยคิดเปลี่ยนแปลง มีแต่ทำให้เข้มข้นขึ้น

1. เป็นการให้สัมปทานในทรัพยากรปิโตรเลี่ยมของประเทศให้เป็นกรรมสิทธิของเอกชนไปเลยตลอดระยะเวลาที่ยาวนานมาก จนวันนี้ก็ยังไม่หมดเวลา

2. เป็นไปเพื่อการส่งออกสถานเดียว ถ้าจะขายในประเทศก็ให้ขายในราคาตลาดโลก

3. ทำให้คนไทยต้องใช้น้ำมันสำเร็จรูปในราคาตลาดโลกสถานเดียว ไม่ว่าจะผลิตเองได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไร

หัวใจของระบบสัมปทานคือการยกความเป็นเจ้าของหรือกรรมสิทธิ์ทั้งหมดที่เกี่ยวปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ในข้อมูล กรรมสิทธิ์ในการจัดการผลิต และกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การผลิต ให้แก่เอกชนผู้รับสัมปทาน 

เอกชนในที่นี้ในอดีตเป็นเอกชนต่างชาติ

แต่ในปัจจุบันเอกชนหรือบริษัทมหาชนสัญชาติไทยก็เข้ามามีส่วนร่วมในผลประโยชน์นี้อย่างมาก คงไม่ต้องเอ่ยชื่อหรอกนะ

เราเขียนกฎหมายปิโตรเลียมของเราขึ้นมาบนพื้นฐานข้อมูลที่ว่าทรัพยากรปิโตรเลียมของเราเป็นกระเปาะเล็ก สำรวจยาก ขุดเจาะยาก ต้นทุนสูง จึงต้องสร้างแรงจูงใจและหลักประกันให้บรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุน

43 ปีผ่านไปเราให้สัมปทานไปมหาศาล

และกำลังจะให้สัมปทานรอบที่ 21 มาตั้งแต่สองสามปีก่อน

ติดแต่ภาคประชาชนมีความรู้มากขึ้น จึงมีความเห็นต่าง ว่าควรระงับไว้ก่อน และหันมาทบทวนว่าควรปรับเปลี่ยนระบบสัมปทานไปเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (สำหรับแหล่งใหม่) และระบบจ้างผลิต (สำหรับแหล่งเก่าที่ยังเหลืออายุสัมปทานอยู่) อันจะทำให้ประเทศไทยมีรายได้มากขึ้น มีเงินงบประมาณมาพัฒนาประเทศได้มากขึ้นโดยไม่ต้องกู้สถานเดียว ขณะเดียวกันประชาชนในประเทศก็อาจได้ใช้พลังงานในราคาต่ำลงบ้าง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว

ภาคประชาชนที่หาข้อมูลได้ยากลำบากได้มีข้อมูลจากเอกสารของบรรษัทน้ำมันต่างชาติสวนทางกับความเชื่อเดิม ๆ ว่าต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยไม่ได้สูงกว่ามาตรฐาน และแหล่งปิโตรเลี่ยมในประเทศไทยก็ไม่ใช่กระเปาะขนาดเล็กกระจายกัน

โดยเฉพาะแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย

แต่ภาครัฐก็ยังคงยืนยันในความเชื่อเดิม และโต้แย้งข้อมูลภาคประชาชน

ถ้าเถียงกันให้รู้เรื่องได้อย่างอารยะในประเด็นกระเปาะหรือไม่ ลงทุนสูงกว่าเสี่ยงกว่าหรือไม่ เราจะตกผลึกกันในประเด็นสำคัญที่สุดที่จะสามารถยกระดับทิศทางการปฏิรูปพลังงานได้อย่างก้าวกระโดด

ก่อนจะตกผลึกก็อย่าเพิ่งด่วนเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็แล้วกัน

ภาคประชาชนเขาเห็นว่าระบบสัมปทานเคยเป็นระบบที่ประเทศเจ้าอาณานิคมใช้กับประเทศอาณานิคมทั้งหลายในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่เมื่อประเทศเหล่านั้นได้รับเอกราชแล้วก็หันมาใช้ระบบใหม่ที่เรียกว่าระบบการแบ่งปันผลิตโดยการเจรจาอย่างสันติ บริษัทต่างชาติก็ยินยอมแต่โดยดี เพราะไม่ใช่เป็นการไปยึดเอามาอย่างที่บางฝ่ายสร้างวาทกรรมให้น่าตกอกตกใจกัน

อย่าลืมว่าสำหรับประเทศไทยวันนี้ เอกชนผู้รับสัมปทานไม่ใช่มีแต่ต่างชาติ หากเป็นบริษัทมหาชนสัญชาติไทยที่คงมีความเป็นรัฐวิสาหกิจติดตัวอยู่รวมอยู่ด้วย

หากตกผลึกกันแล้วก็น่าจะเจรจากันโดยสันติเป็นตัวอย่างให้บรรษัทต่างชาติได้

นี่พูดจากใจจริง ไม่ได้เสียดสี ไม่ได้กระทบกระแทกแดกดัน

เราเป็นประเทศที่สร้างระบบเผด็จการของพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาประเทศแรกและประเทศเดียวในโลกมาแล้ว 

อย่าให้ประเทศไทยตัองเป็นประเทศกลุ่มท้าย ๆ ในโลกที่คงระบบสัมปทานไว้โดยไม่ปรับเปลี่ยนเลย

ครม.ประยุทธ1สมคิดVsหม่อมอุ๋ย

ครม. ประยุทธ์ 1 “ดร.สมคิด” ปะทะ “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร” ชื่อ รมว.คลัง พลิกเพราะพิษ”ทักษิณ” ลุ้น 22 ชื่อ ร่วมคณะรัฐมนตรี

Date: 28 สิงหาคม 2014

ปัจจัยชี้ขาด เสถียรภาพของรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” อาจไม่ใช่ปมปัญหาการเมือง-ความมั่นคง แต่เป็นประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ วาระร้อน ที่รอชงขึ้นโต๊ะคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในอีกไม่เกิน 7 วัน ข้างหน้านี้

ทั้งปมปัญหาการบริหารสต็อกสินค้าเกษตร บุกตลาดการส่งออก การสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างประเทศ และฟื้นฟูการท่องเที่ยว บริหารฐานะการเงิน-การคลังของประเทศ และการออกแบบนโยบายประชานิยม ให้สอดคล้องกับบริบททางการเมือง-เศรษฐกิจ ก่อนจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปี 2558 และมีรัฐบาลใหม่ในภาวะประเทศคืนสู่ความปกติ ในช่วงต้นปี 2559

ทั้งหมดนี้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “คณะรัฐมนตรี” จำนวน 35 คน ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับหน้าตา-ภาพลักษณ์ และสไตล์การบริหารประเทศ ในนามของ “ทีมเศรษฐกิจ” ทั้งองคาพยพ ซึ่งเข้าร่วมเป็นทั้งบุคคลเบื้องหน้า-เบื้องหลัง ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศ

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงต้องเร่งแปรรูปขบวน บริหารงานบุคคล สับเปลี่ยนโยกย้ายกำลังคนใหม่อีกครั้ง นอกจากขยับบรรดาคณะนายพล คสช. พาเหรดเข้าสู่คณะรัฐมนตรี ยังมีการขยายฐานจากทีมก่อตั้ง ที่มีคณะที่ปรึกษา คสช. 10 คน เปลี่ยนถ่ายอำนาจสู่การเป็นคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยประธาน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์, นายณรงค์ชัย อัครเศรณี, นายวิษณุ เครืองาม, นายยงยุทธ ยุทธวงศ์, พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์, พล.อ.นพดล อินทปัญญา และ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ


นอกจากนี้ยังมี “ทีมเศรษฐกิจ” ที่เป็น “แบ็คอัพ” ให้กับ “ครม. ประยุทธ์ 1” ภายใต้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอร์บอร์ด 17 คน ซึ่งในองค์คณะนี้ มีชื่อระดับ นายบัณฑูร ล่ำซำ, นายบรรยง พงษ์พานิช, นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล, นายรพี สุจริตกุล และนายวิรไท สันติประภพ และปลัดกระทรวงด้านเศรษฐกิจ รวมทั้ง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ในฐานะฝ่ายเสนาธิการด้านเศรษฐกิจ จากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ฯ ซึ่งทีมนี้ มีการประชุมอย่างใกล้ชิดกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เปล่งวาจาต่อสาธารณะว่า จะทูลเกล้าฯ รายชื่อคณะรัฐมนตรี ตามโรดแมปเดิม คือภายในเดือนกันยายน และจัดทีมทหารเข้าร่วม “ตรวจสอบคุณสมบัติ” ว่าที่รัฐมนตรี ร่วมกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำให้บุคคลเบื้องหลังที่มีบทบาทการบริหารประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจรัฐประหารในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมี 2 ทีม 2 แนวคิด ชัดเจน เป็น 2 ขั้ว มาโดยตลอด จึงเร่งเครื่องในการเดินหน้า ผลักดันคนของฝ่ายตนเองเข้าไปนั่งในคณะรัฐมนตรี

ชื่อในโผคณะรัฐมนตรีที่ผันผวนมากที่สุด จึงเป็น “ทีมเศรษฐกิจ” ที่ฝ่ายหนึ่งผลักดันโดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้มีเครือข่ายหนาแน่นกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และอีกฝ่ายหนึ่งผลักดันนำเสนอโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่แนบแน่นกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก ขุนพลคู่ใจ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี

โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จะเคลื่อนตัวจากที่ปรึกษา คสช. เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ขณะที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จะปักหลักเป็น 1 ใน 15 คณะ คสช. ที่ทำงานควบคู่กับคณะรัฐมนตรี

ตำแหน่งที่ชัดเจนที่สุด และเป็นความขัดแย้งแบบคลื่นใต้น้ำมากที่สุด ระหว่างฝ่าย “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร” กับฝ่าย “นายสมคิด” คือ เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ฝ่าย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ต้องการผลักดัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุค “ยิ่งลักษณ์ 1” ที่เมื่อพ้นจากตำแหน่ง ได้มีการวิจารณ์รัฐบาลเพื่อไทยอย่างเข้มข้น ฝ่ายนายสมคิดต้องการผลักดันนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

เบื้องหลังชื่อของบุคคลทั้งสอง จึงผลัดกันพลิกขึ้นพาดหัวหนังสือพิมพ์ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวร้าวลึก เมื่อมีอีเมลฉบับหนึ่งส่งตรงถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ มีข้อความทำนองว่า ในช่วงที่ผ่านมา นายอภิศักดิ์และเจ้าสัวหมายเลขต้นๆ ของเมืองไทย ได้เดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ฮ่องกง ทำให้ชื่อ”อภิศักดิ์”หลุดจากโผไป 2 วัน แต่หลังจากนั้นมี “ข้อมูลใหม่” พิสูจน์ว่าอีเมลลึกลับดังกล่าวเป็นอีเมลที่ถูกเซ็ตขึ้นและเป็นเรื่องที่ไม่มีมูล ชื่อ”อภิศักดิ์”จึงกลับมาอยู่ในโผอีกครั้ง พร้อมข่าวที่ว่า นายพลคนสำคัญได้โทรศัพท์ไปขอโทษนายอภิศักดิ์ และชักชวนให้กลับเข้าสู่ตำแหน่ง แต่”อภิศักดิ์”ซึ่งไม่ปราถนาตำแหน่งตั้งแต่ต้นได้ตอบปฏิเสธ

ชื่อนายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในยุค พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงมาปรากฏในโผคณะรัฐมนตรีล่าสุด แทนที่ทั้ง 2 ชื่อ

ข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม 57 รายชื่อบุคคล ที่อยู่ในโผคณะรัฐมนตรี “ประยุทธ์ 1” จึงประกอบด้วย

1. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ควบกระทรวงการต่างประเทศ
2. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี
3. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ควบกระทรวงคมนาคม
4. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองนายกรัฐมนตรี
5. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ
6. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7.พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
8. นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
9. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
10. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
11. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
12. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
13. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
14. นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
15. นางกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
16. นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
17. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
18. นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
19. นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ทั้งนี้ ในเช้าวันที่ 28 สิงหาคม 2557 มีข้าราชการและนักธุรกิจ ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ถึง 4 คน ประกอบด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร และ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน

ขณะที่ นายพรชัย รุจิประภา ผู้มีชื่ออยู่ในโผ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการ ประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการลงทุนของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก้ มีผลวันที่ 28 สิงหาคม 2557

และมีข้าราชการระดับปลัดกระทรวง ลาออกจากบอร์ดรัฐวิสาหกิจ 1 คน คือ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานกรรมการบริหาร อสมท ได้ยื่นใบลาออกจากคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) อสมท แล้ว

โดยจะมีการแต่งตั้ง นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) มาทำหน้าที่แทน

รายชื่อที่อยู่ในโผคณะรัฐมนตรีทั้ง 19 ชื่อ และข้าราชการระดับปลัดกระทรวง ที่ลาออกจาก สนช. และลาออกจากบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ลาออกจากองค์กรธุรกิจ วันที่ 28 สิงหาคม 2557 ทั้ง 22 ชื่อ ต้องลุ้นการปรากฏเป็นชื่อจริง-ตัวจริง ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านี้…โปรดรออีกครั้งหนึ่ง!