PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์20พ.ย.57

กมธ.ยกร่าง

กมธ. 18 คณะ ของ สปช. เร่งทำงานเต็มที่ตามกรอบเวลา เบื้องต้น ยังไม่พบปัญหา เรื่องประชามติ ยังไม่หารือ    


รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คนที่ 2 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ขณะนี้ คณะกรรมาธิการ ทั้ง 18 คณะของ สปช. ซึ่งครอบลุมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน นั้น ได้มีการ

เร่งมือในการทำงาน รวบรวมข้อมูลอย่างเต็มที่ เพื่อสรุปความเห็นให้กับสภา ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะว่ามีเวลาน้อย ต้องทำให้แล้วเสร็จ ตามกรอบเวลาที่มี

กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในเบื้องต้น ยังไม่พบปัญหาหรือข้อติดขัดในการทำงานแต่อย่างใด

ทั้งนี้ รองประธาน สปช. ยังกล่าวถึงเรื่องประชามติ หลังยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จว่า ในส่วนของ สปช.ยังได้มีการหารือในเรืองนี้ ว่าจะมีการเสนออย่างไรหรือไม่ และในการประชุมร่วม 5 ฝ่าย นายก

รัฐมนตรีก็ได้พูดเรื่องนี้ชัดเจนแล้วว่า ยังไม่ต้องรีบตัดสินใจ รอฟังเสียงประชาชนก่อน รวมถึง รอดูการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอความเห็นในขั้นตอนการยกร่าง ด้วยนั่นเอง
-----
พรรคมาตุภูมิ ส่งตัวแทนเข้าเสนอความเห็น กมธ.ยกร่าง รธน. ไร้เงา "พล.อ.สนธิ" ขณะพรรครักประเทศ ยังไม่ตอบรับคำเชิญ

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด ทางพรรคมาตุภูมิ โดยไม่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรค เดินทางมาเข้าร่วม แต่ได้ส่ง ดร.อุดมศักดิ์ ศรีสุทิวา เลขาธิการพรรค และ พล.ต.วีระศักดิ์ นาทะสิริ รอง

เลขาธิการพรรค เป็นตัวแทนเข้าให้ข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ เสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่าง โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้อำนาจประชาชนและรัฐต้องยึดโยงกัน และกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม พรรครักประเทศไทย ยังไม่ตอบรับตามคำเชิญ แต่ในเวลา 11.00 น. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย จะมาทำกิจกรรมบริเวณหน้ารัฐสภา
----------
บวรศักดิ์ บอกเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญหลังปีใหม่ ย้ำ รัฐบาลไม่ล้วงลูก ขณะ มีชัย แค่ช่วยติดตามงาน

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในวันที่ 1 ธันวาคม นี้ คณะกรรมาธิการจะติดตามงานของคณะอนุกรรมาธิการทั้ง 11 คณะ และนัดประชุมเพื่อดูราย

ละเอียดในวันที่ 2-9 ธันวาคม จากนั้นรอรายงานสรุปจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จะส่งมายังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เกินวันที่ 19 ธันวาคม และคาดว่าปลายเดือนธันวาคมจะได้

ภาพรวมข้อเสนอทั้งหมด ทั้งจากพรรคการเมือง กลุ่มเห็นต่าง สภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงภาคประชาชน

โดยสามารถเริ่มดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญหลังเทศกาลปีใหม่ ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นด้วยให้มีการทำประชามติ ส่วนเรื่องการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังไม่มีการหารือแต่อย่างใด

นอกจากนี้ นายบวรศักดิ์ ยังกล่าวย้ำอีกว่า รัฐบาลไม่มีการล้วงลูกอย่างแน่นอน ซึ่งการแต่งตั้ง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นกรรมการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญนั้น

เพียงติดตามงาน ไม่ได้มาแนะนำต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
------------
พล.อ.เลิศรัตน์ บอก ปชป. เลื่อนถก 24 พ.ย. ไปก่อน, กปปส. มา 25 พ.ย. คาด พท. นปช. งดร่วม

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เชิญพรรคมาตุภูมิ มาให้ข้อเสนอแนะถึงการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยได้เสนอถึงกรอบที่ควรบรรจุไว้หลาย

ประเด็น อาทิ ทำให้สังคมเชื่อมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง สร้างกลไกป้องกันทุจริตแบบจริงจัง รวมถึงการสร้างความปรองดอง ไม่อคติฝ่ายใด

นอกจากนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ยังกล่าวอีกว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอเลื่อนการเข้าเสนอแนะความคิดเห็นจากวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ออกไปก่อน เนื่องจากหัวหน้าพรรคเพิ่งกลับจากต่างประเทศ จึงขอเวลา

เตรียมข้อมูล ส่วนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ตัวแทนจากกลุ่ม กปปส. จะเข้าพบคณะกรรมาธิการ เพื่อเสนอความคิดเห็น

ทั้งนี้ คาดว่า พรรคเพื่อไทย กลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตรฯ คงไม่เข้าร่วมแล้ว เนื่องจากยังมีทัศนคติที่ไม่ตรงกัน
---------
"ชูวิทย์" นำตะเกียงจุดไฟแสดงสัญลักษณ์เป็นทางสว่าง ซัด การเชิญพรรคการเมืองคู่ขัดแย้งแสดงความเห็นเป็นประชุมเถื่อน ปัดเข้าร่วม

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย นำตะเกียงจุดไฟแสดงสัญลักษณ์เป็นทางสว่าง เนื่องจากมองว่าบ้านเมืองในขณะนี้ค่อยข้างมืดมิด ประชุมพรรคการเมืองก็ไม่สามารถทำได้ เนื่อง

จากติดการประกาศใช้กฎอัยศึก

ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เชิญพรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งทางการเมือง เข้าร่วมเสนอความคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น นายชูวิทย์ กล่าวว่า เป็นการประชุมเถื่อน

เพราะพรรคการเมืองไม่ได้มีการประชุมหารือกันภายในพรรคมาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ก็จะมีการฉีกทิ้งทุกครั้ง พร้อมปฏิเสธเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นดังกล่าวและให้ฉายาร่างรัฐ

ธรรมนูญฉบับนี้ว่า "หน้าขาว ฟันเหยิน"

อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึกในขณะนี้ เพราะเชื่อว่ายังมีคลื่นใต้น้ำ และหากยก

เลิกจะมีความวุ่นวายอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ไม่มีปัญหากับการทำรัฐประหาร แต่ตั้งข้อสังเกตของโรดแมป คสช. ที่ตรงกับ กลุ่ม กปปส. ร่างเอาไว้
////////

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมพิจารณาวาระเร่งด่วน 13 เรื่อง ขณะพรรคมาตุภูมิ เข้าเสนอแนะต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เช้านี้

บรรยากาศที่รัฐสภา วันนี้ เวลา 10.00 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติยัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งนัดสมาชิกประชุม เพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วน 13 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีเสนอ 2

เรื่อง คือ พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 7 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน และการพิจารณาภาคผนวก 10 เงื่อนไขการขนส่ง ตามความตกลงว่าด้วย

การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ราช

อาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมถึงร่างกฎหมายที่คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จจำนวน 11 ฉบับ
----------------
สนช. เห็นชอบร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการแล้ว 178 ต่อ 1 

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ในร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและกรรมาธิการ พ.ศ. .... ด้วยคะแนน 178:1 เสียง พร้อมเห็นชอบพิธีการเพื่ออนุมัติข้อผูกพันชุดที่ 7 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วย

บริการของอาเซียน ด้วยคะแนน 179:0 เสียง และให้ความเห็นชอบภาคผนวก 10 เงื่อนไขการขนส่ง ตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน

ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ด้วยคะแนนเสียง

เห็นด้วย 179:0 เสียง

ล่าสุด อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอมา โดย นายแพทย์เจตน์ ศิรธานนท์ กล่าวว่า

ไม่ใช่แค่กรณีจัดศูนย์รับคำอนุญาตให้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างเดียว ควรให้มีศูนย์กลางในการรับร้องขอตามกฎหมาย ในการทำเอกสารในกระทรวงต่าง ๆ ด้วย

///////////
นายกฯ

พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางถึงทำเนียบแล้ว หลังเสร็จภารกิจ บรรยายหัวข้อวิชา บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ วปอ.

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางเข้าปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว ภายหลังจากเป็น

ประธานพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57 ประจำปีการศึกษา 2557-2558 และบรรยายหัวข้อวิชา บทบาทของภาครัฐและเอกชนในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ณ

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)

อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน)
-----------
พล.อ.ประยุทธ์ บรรยาย วปอ.รุ่น 57 ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน อึดอัดใช้ กม.พิเศษนาน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง บทบาทของภาครัฐ เอกชน และการเมือง ในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ว่า ปัจจุบันความมั่นคงไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่

รัฐเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของประชาชนทุกคนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งในส่วนของความมั่นคงทางทหารขณะนี้ การเสริมสร้างอำนาจของกองทัพก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง แต่ต้อง

ระมัดระวังในการใช้กำลังมากขึ้น เพราะอาจไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมโลกปัจจุบัน

ส่วนความมั่นคงด้านเศรษฐกิจนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งและสงครามทั่วโลก แต่ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ดูแลการออกแบบกฎหมายเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

และการลงทุนเท่าที่ควร ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาทหารจึงจำเป็นต้องเข้ามาจัดการเพื่อลดความรุนแรง ทั้งนี้ การที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ เพราะสถานการณ์ในประเทศไม่มั่นคง โดยส่วนตัวตนเป็น

คนที่ไม่ชอบใช้อำนาจ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็จำเป็นต้องใช้
------------------
พล.อ.ประยุทธ์ ชี้ ไทยติดกับดักประชาธิปไตยและเศรษฐกิจ ต้องเร่งปฏิรูปทันที ไม่โกรธกลุ่มต้านชู 3 นิ้วที่ขอนแก่น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยติดกับดักประชาธิปไตยและกับดักเศรษฐกิจ จึงต้องเร่งปฏิรูปทันที แต่แม้รัฐบาลอาสามาทำก็ยังมีคนจำนวนมากไม่ยอม จึงขอให้คน

ไทยอดทนในคืนวันศุกร์เพื่อฟังตนเอง เพื่อทำให้ประเทศเดินหน้า ซึ่งตนได้ใช้โอกาสต่าง ๆ ในการทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ประเทศในปัจจุบัน โดยเชื่อว่าประเทศเพื่อนบ้านขณะนี้ทุกประเทศรัก

ไทยแล้ว

พร้อมกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไม่รู้สึกโกรธกับการประท้วงที่จังหวัดจอนแก่นเมื่อวาน แต่เป็นความจำเป็นที่ตนต้องเป็นผู้นำการเดินหน้าประเทศ และขอกำลังใจในการทำงานต่อจากไป

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกนั้น ก็ถือเป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งเกิดกับกองทัพทุกประเทศก็เป็นกัน เพราะเฮลิคอปเตอร์แต่ละลำมีราคากว่า 4-5

ร้อยล้าน ดังนั้นก็เป็นหน้าที่ของกองทัพที่จะต้องพัฒนา
------------
ผบ.ทร. ไม่ห่วงคนเลียนแบบชู 3 นิ้ว ต้าน รบ. ชี้ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ยัน ร่าง รธน.ใหม่ ฟังเสียง ปชช. เชื่อ ฮ.ตก เป็นเหตุขัดข้อง

พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น แล้วมีกลุ่มนักศึกษาแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านจะต้องทำ

ความเข้าใจกับประชาชนเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ว่า ทางกองทัพเรือได้ดูแลประชาชนพื้นที่ตามปกติ ทั้งนี้ มองว่าความเห็นต่างมีทุกที่แม้คนในครอบครัวยังมีความคิดไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงต้องใช้เวลา
โดยคาดว่าสักระยะจะสามารถแก้ปัญหาไปได้ นอกจากนี้ ทางรัฐบาลเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นสำหรับแนวทางที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงขอให้เดินไปข้างหน้าเพื่อประเทศมากกว่าคิดถึงอดีต

พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่กลัวว่าจะมีคนเลียนแบบหรือไม่นั้น ตนเองไม่แน่ใจ แต่คิดว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจ เพราะผลงานของรัฐบาลนั้น มีผลสำรวจมาว่าดีหมด รวมทั้งสื่อมวลชนต้อง

ช่วยอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากกว่า

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ไกรสร ยังกล่าวถึงกรณีที่เฮลิคอปเตอร์รุ่น เบลล์ 212 ของคณะรองแม่ทัพภาคที่ 3 ตกนั้น คาดว่ามาจากเหตุขัดข้อง ซึ่งกองทัพเรือได้ใช้งานเฮลิคอปเตอร์รุ่นดังกล่าวเช่นกัน และ

ขณะนี้ได้สั่งเจ้าหน้าที่ตรวจเช็กอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
------------
พล.อ.ประวิตร ประชุม คกก.นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ชี้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2557 โดย

พล.อ.ประวิตร กล่าวเปิดการประชุมว่า เรื่องสภาพภูมิอากาศถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประเทศ เพราะเป็นพันธะสัญญาระหว่างประเทศให้ประเทศที่เข้าร่วมปรับประชาคมโลก ซึ่งไทยมีความ

พร้อมระดับนึง ที่เหลือเป็นหน้าที่ของภาคราชการ ภาคเอกชน และส่วนต่าง ๆ ที่ต้องร่วมมือดำเนินงานให้เสร็จสิ้น  การประชุมในวันนี้ต้องพิจารณาหลายวาระที่สำคัญ ตั้งแต่นโยบายการเจรจาที่

ประเทศไทยต้องเข้าร่วมประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเดือน ธ.ค. นี้ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม การประชุมในครั้งนี่มี พล.อ.ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายมนัสวี ศรีโสดาพล รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ พร้อมผู้ทรง

คุณวุฒิจำนวน 9 คนที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อปลายปีที่แล้วเข้าร่วมประชุมด้วย
-----------------
พล.อ.อนุพงษ์ ยันคนเห็นต่างไม่มีผลต่อการลงพื้นที่ เร่งเดินหน้าสร้างความเข้าใจ 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่มีคนเห็นต่างจะมีผลต่อการลงพื้นที่อื่น ๆ ในครั้งต่อไปหรือไม่ ยืนยันว่าคงเป็นไม่ได้ที่จะให้ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด

เพราะฉะนั้นการเห็นต่างจึงเป็นเรื่องปกติ การแสดงออกเล็กน้อยและอย่าไปถือสา ส่วนการลงพื้นที่นั้น ไม่น่าจะมีผล เพราะพื้นที่ไหนก็น่าจะมีคนเห็นต่างซึ่งร้อยคนย่อมเหมือนกันทั้งหมด แต่หน้าที่

เราต้องสร้างความเข้าใจว่าเราทำหน้าที่อะไรอยู่ เช่น ทำไปด้วยความมุ่งมั่นเพื่อจะให้ประชาชน ได้มีคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดี โดยไม่ได้ทำด้วยอคติ ตอนนี้ประเทศชาติจะต้องเดินตามโรดแมปเท่า

นั้น การเลือกตั้งก็เกิดไม่ได้เพราะยังไม่มีกฎหมาย ต้องรอให้คณะกรรมาธิการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญก่อน เสร็จแล้วจึงค่อยมาทำกฎหมายลูก จึงจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้

ส่วนกรณีที่คนที่เห็นต่างจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีการแสดงออกอย่างไรถึงจะยอมรับได้ เพราะการชู 3 นิ้วก็ยังไม่สามารถทำได้ นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ไม่ได้เกี่ยวกับการชู 3

นิ้ว นักข่าวไปลงกันเอง นัยที่เกิดขึ้น คือ นายกฯ ไปพบกับประชาชน ซึ่งประชาชนก็เรียบร้อยกันหมดทุกส่วน การมีคนเข้ามาจะให้ทำอย่างไร นอกจากการเอาตัวออกไป
----------------------
รัฐมนตรีมหาดไทย ประเมินลงพื้นที่ภัยแล้ง ทุกฝ่ายร่วมมือแก้ปัญหา บอกนายกฯ พอใจเตรียมการ

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การประเมินการลงพื้นที่ในเรื่องภัยแล้งและตรวจเยี่ยมศูนย์ดำรงธรรมโดยว่าออกมาดีเห็นชัดว่าทุกฝ่ายได้ร่วมมือกัน นายก

รัฐมนตรีก็พึงพอใจในการเตรียมการ สถานการณ์ภัยแล้งจะค่อยเป็นไปทีละพื้นที่ ไม่ได้แล้งพร้อมกันหมด และสำหรับเรื่องศูนย์ดำรงธรรม โดยหลักการทำงานจะต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา ไม่ว่าจะ

เป็นการแก้ปัญหา การเชื่อมโยงข้อมูลปัญหาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนเรื่องที่ได้ย้ำไปเมื่อวาน คือ เรื่องความสะดวก และสิ่งสำคัญคือต้องแก้ปัญหา พร้อมกับมีคำตอบให้กับประชาชนให้ได้

ดังนั้น การเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการตอบสนองต่อการแก้ปัญหาร่วมกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมาร่วมมือกับเราให้มากขึ้น เพราะการที่จะให้มี

คนเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาในศูนย์ดำรงธรรมคงเป็นไปไม่ได้
---------
พล.อ.อนุพงษ์ บอกพอใจข้อหารือข้าราชการ ลั่นอยากใช้เวลา 1 ปี ทำให้ดีที่สุด คาดนายกรัฐมนตรีไปภาคเหนือ

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการหารือข้อราชการในวันนี้ว่า ค่อนข้างพอใจและเข้าใจว่าเรื่องบางเรื่องก็ไม่สามารถเร่งการทำงานได้ เช่น เรื่องผังเมือง ซึ่งก็ทำ

งานกันอย่างเต็มที่ แต่ติดที่เงื่อนไขเวลาที่ไม่สามารถทำเร็วกว่านี้ เพราะต้องทำตามขั้นตอน จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอุปสรรค อยากจะใช้เวลา 1 ปีที่มีทำให้เกิดผลที่สุด ซึ่งเงื่อนไขเวลาทำให้
ต้องเร่งในทุกเรื่อง บางเรื่องที่หนักใจ มักจะเป็นความซับซ้อนของปัญหา โดยเฉพาะเรื่องขยะ เพราะยากที่จะแก้ปัญหาโดยหน่วยงานเดียว ทั้งนี้ เมื่อถามว่า หลังจากลงพื้นที่ครั้งนี้แล้ว ทางกระทรวง

มหาดไทยเตรียมจะให้นายกรัฐมนตรี ลงไปดูแลความเรียบร้อย ที่ใดอีกบ้าง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีระบุว่าคงภาคเหนือ แต่โดยสรุปคงจะไปทั่วประเทศ จะเป็นช่วงใดต้องดูอีกครั้ง

นอกจากนี้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีงานวิจัยเรื่องคอร์รัปชั่นในระบบราชการของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ร่วมจัดนั้น โดยกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่มีการเรียกสินบนจากประชาชนมากที่สุดว่า

ขณะที่ตนเองเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ก็เคยคุยเรื่องนี้กับอธิบดี และได้ขีดเส้นใต้ไว้ว่า ต้องไม่มีการทุจริต หรือพูดง่าย ๆ คือ ไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ส่วนที่เป็นเรื่องเก่าก็ว่ากันไปตาม

กฎหมาย
----------------
พล.อ.ประวิตร ชี้ กลุ่มต้านมีเพียงส่วนน้อย เชื่อไม่บานปลาย ขอเวลารัฐบาลทำงานปฏิรูป 1 ปี 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนออกมาแสดงสัญลักษณ์ในเชิงต่อต้านนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นเรื่อง

ปกติที่มีประชาชนเห็นต่าง ซึ่งกลุ่มเห็นต่างนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย โดยตนไม่หนักใจและไม่กังวลว่าจะบานปลาย เพราะมั่นใจว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

และคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำลังทำอะไรอยู่ พร้อมยืนยันว่า นายกรัฐมนตรี ยังสามารถไปได้ทุกจังหวัด

ทั้งนี้ รัฐบาลขอเวลาในการทำงาน 1 ปี ซึ่งหลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) วางแนวทางในการปฏิรูปสำเร็จ ก็จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ส่วนกรณีที่ นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

การคลัง ระบุว่า การหารือร่วมกันทั้ง 5 ฝ่าย สนับสนุนการทำประชามติในการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวไม่ทราบ ซึ่งการทำประชามติไม่ได้ระบุไว้นั้น รัฐธรรมนูญชั่วคราว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับสภา

นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช. แต่ส่วนตัวไม่ขอแสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น: