PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว24ก.พ.58

ปปช.คดี268สส./สนช.38สว.

"พีระศักดิ์" ระบุ ขั้นตอนแถลงเปิดคดี 38 อดีต ส.ว. เหมือนกับคดี "นิคม-สมศักดิ์" คาดตั้งกรรมาธิการซักถาม 9 คน 

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ขั้นตอนในการแถลงเปิดคดีถอดถอน 38 อดีต ส.ว. กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการ

ป้องกันปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด นั้น จะเหมือนกับขั้นตอนในการแถลงเปิดคดีและพิจารณาของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฏร และ นายนิคม

ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ที่ผ่านมา โดยจะเริ่มจากฝ่าย ป.ป.ช.ก่อน และตามต้วย อดีต 38 ส.ว. เบื้องต้น จากการประสานล่าสุด จะส่งตัวแทนแถลง 4 คน จากนั้น ก็จะมีการตั้งกรรมาธิการ

ซักถาม ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ 9 คน เท่าเดิม เพื่อดำเนินการกระบวนการต่อไป  

หลังจากนั้น ที่ประชุม สนช.จะมีการพิจาาณาร่างกฎหมายใหม่ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนออีก 4 ฉบับ รวมถึงกระทู้ถามของ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่จะถามรัฐบาล เรื่อง ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐบาล

ว่าจะมีแนวนโยบายในการบรรจุเป็นข้าราชการหรือไม่
-----------------------
สุรชัย บอกแถลงเปิดคดี 38 อดีต ส.ว. ใช้เวลา 3 ชั่วโมง คาดลงมติถอดถอน 13 มีนาคม นี้ พร้อมเดินหน้าปม ส.ส.รอ ป.ป.ช. ส่งเรื่องมา

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 กล่าวถึงขั้นตอนในการพิจารณาถอดถอน ส.ว. 38 รายที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่มาของ ส.ว.โดยมิชอบว่า ตัวแทนของ ป.ป.ช. ที่จะมาแถลงเปิดคดี คือ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ขณะที่กลุ่ม 38 ส.ว.ที่ถูกกล่าวหา ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมแถลงเปิดคดี 4 คน โดยมี

นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี เป็นผู้แถลงสรุปช้อกล่าวหาทั้งหมด คาดว่าใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง และตั้งกรรมาธิการซักถามขึ้นมาจำนวน 9 คน เพื่อดำเนินการรวบรวมคำถามจากสมาชิก

จากนั้น จะลงมติถอดถอนได้ในวันที่ 13 มี.ค. สำหรับการลงมติสมาชิกจะมีเอกสิทธิ์ของตนเอง โดยจะให้ลงมติรวดเดียวทั้ง 38 คน เพื่อไม่ให้เสียเวลา มั่นใจว่า สมาชิกใช้วิจารณญาณตรวจสอบ
ข้อกล่าวหาทั้งหมด ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช. จะชี้มูลสำนวนที่ ส.ส. 269 คน ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ หาก ป.ป.ช. ส่งเรื่องถึง สนช. จะเริ่มพิจารณากระบวนการถอดถอนทันที
-------------------------
ป.ป.ช. ประชุม พิจารณา 3 สำนวนสำคัญ ใช้เวลาแล้วกว่า 4 ช.ม. ยังไร้วี่แววได้ข้อสรุป สื่อเกาะติดจำนวนมาก

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด ยังอยู่ในระหว่างการประชุมประจำสัปดาห์ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้า โดยจน

ถึงขณะนี้ ใช้เวลานานกว่า 4 ช.ม. แล้ว ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะพิจารณารายงานการแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อไมโครโฟน ติดตั้งห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ของสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นวาระ

แรก และจะมีการเปิดเผยผลการหารือต่อสื่อมวชน

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ยังมีวาระที่รอการพิจารณาอีก 2 สำนวน คือ สำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 258 ราย จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มีสมาชิกวุฒิสภาโดย

มิชอบ และพิจารณารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จากกรณีการสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มแนว

ร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปี 2553
--------------
มติ ป.ป.ช. ตั้ง คณะอนุกรรมการไต่สวน "มณฑล กับพวก" ปมไมโครโฟนทำเนียบฯ แล้ว ชี้ สำนวนมีความสมบูรณ์เพียงพอ

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ได้พิจารณากรณีที่คณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริง เรื่องร้องเรียน

ให้มีการตรวจสอบการจัดซื้อไมโครโฟนในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชั้น 5 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นั้น ล่าสุด คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาข้อมูลแล้วเห็นว่า มีความสมบูรณ์เพียง

พอ และมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กับพวก ได้แก่ คณะกรรมการคำนวณราคากลาง คณะกรรมการจัดซื้อ

โดยวิธีพิเศษ ซึ่งจะมีการแถลงข่าวในช่วงเย็นวันนี้
------------------
ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหา "อภิสิทธิ์-สุเทพ" กรณีสลายการชุมนุม นปช. ปี 53

นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีถอดถอน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กรณีสั่งการเข้าสลายการ

ชุมนุมขอบกลุ่ม นปช. เมื่อปี 2553 ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. รวบรวมพยานหลักฐานแล้วมีมติเอกฉันท์ว่า การใช้กำลังทหารเพื่อขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เม.ย. 53 ถึง 19 พ.ค. 53 ปรากฏข้อเท็จจริงว่า

มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จากการที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 2 เป็นผู้มอบนโยบายขอคืนพื้นที่ ซึ่งในคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลชั้นต้น ระบุว่า ความตายดังกล่าวเกิดจากการ
ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานทหาร คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นว่า บุคคลทั้ง 2 ราย มีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในฐานะผู้สั่งการ อันเป็นเหตุถอดถอนผู้ถูกกล่าว

หาทั้ง 2 ออกจากตำแหน่ง และมีมติให้มีหนังสือบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาให้ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ มาแก้ข้อกล่าวหา
--------------------------
ที่ประชุมศาลฎีกา เลือก 9 องค์คณะ ในคดีอดีตนายกฯ ปล่อยทุจริตจำนำข้าวแล้ว พิจารณาสำนวนในวันนี้ 

นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 170 คน เพื่อพิจารณาคัดเลือกองค์คณะผู้พิพากษา จำนวน 9 ท่าน ในการพิจารณาสำนวนคดีที่ นาย

ตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา

157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยวันนี้ มีผู้พิพากษาศาลฎีกา เข้าประชุม

จำนวน 146 ท่าน ใช้เวลา ในการพิจารณาและลงคะแนนเลือกองค์คณะประมาณ 2 ช.ม. โดยการลงคะแนนลับ ก็ได้องค์คณะ จำนวน 9 ท่าน เรียงตามลำดับคะแนน ประกอบด้วย

นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีและอากรในศาลฎีกา
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐในศาลฎีกา
นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา
นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา
นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา
นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา
นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา
และ นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

ซึ่งภายหลังจากได้รายชื่อครบทั้ง 9 ท่านแล้ว จะได้นำรายชื่อเสนอประธานศาลฎีกา ให้พิจารณาลงนามในคำสั่งแต่งตั้งองค์คณะผู้พิพากษา ทั้ง 9 ท่าน หากประธานศาลฎีกา ลงนามในคำสั่ง วันนี้ ก็

จะมีการติดประกาศรายชื่อองค์คณะในวันนี้ แต่หาก ยังไม่สามารถลงนามในวันนี้ ก็จะต้องดำเนินการติดประกาศภายใน 5 วัน ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกพิจารณาสำนวนคดีรับจำนำข้าววันนี้ จะมีการนัดประชุมกันอีกรอบ เพื่อคัดเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนต่อไป
------------------------
ทนายยิ่งลักษณ์รอตรวจสอบรายชื่อองค์คณะ 9 คน ที่ได้รับเลือกพิจารณาคดีรับจำนำข้าว ก่อนหารือว่าจะมีการยื่นคัดค้านผู้พิพากษาคนใด หรือไม่

นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทีมทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการตรวจสอบรายชื่อผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะคดีรับจำนำข้าว ว่า ขณะนี้เพียงแต่ทราบรายละเอียดจากสื่อมวลชนเท่า

นั้นว่าผู้พิพากษาท่านใดได้รับเลือกบ้าง ทีมทนายจะต้องรอให้มีการประชุมหารือกันก่อนพร้อมทั้งดูรายชื่อผู้พิพากษาที่ชัดเจนอีกครั้งจึงจะให้ความเห็นได้ว่ามีเหตุที่จะต้องยื่นคัดค้านหรือไม่

สำหรับองค์คณะที่พิจารณาคดีรับจำนำข้าว ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปรากฏว่ามีผู้พิพากษา 5 คนที่ก่อนหน้านี้ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีที่ ป.ป.ช. เป็น

โจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเครือญาติกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับพวก รวม 4 คน ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้

หนึ่งผู้ใดในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ปี 51

ขณะที่ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ เคยเป็นองค์คณะพิจารณาคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวก รวม 27 ราย ทุจริตที่ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (

มหาชน) และบริษัทในเครือ ส่วน นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เคยได้รับเลือกเป็นองค์คณะร่วมพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 4.6 หมื่นล้านบาท ด้วย
///////////
นายกฯ

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานประชุมร่วม ครม.-คสช. แล้ว ปัดใช้อำนาจเกินขอบเขต 


ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุด ในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะ

รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว

โดยภายหลังการประชุมร่วมดังกล่าวจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีต่อเนื่อง ซึ่งการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้มีวาระการประชุมที่น่าสนใจ อาทิ กระทรวงการคลัง เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุน

สำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่...) พ.ศ.... การลงนามในหนังสือยินยอมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการกู้ของธนาคารพัฒนาเอเชียโดยการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาเอเชีย ขณะกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ กระทรวงมหาดไทย เสนอแผนบูรณาการการจัดการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2558

อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์แจกเอกสารเผยแพร่ การจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2558

ระหว่างวันที่ 26 ก.พ. - 4 มี.ค. นี้ พร้อมระบุภายหลังร่วมกิจกรรมว่า ส่วนตัวไม่เคยใช้อำนาจบาตรใหญ่ แต่มีคนคอยยั่วยุให้ใช้
-------------
นายกฯ ตัดสินใจ ให้แก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ก่อนเดินหน้า สั่งเลื่อนเปิดสัมปทานออกไป รอ สนช. ออกกฎหมายเสร็จ คาดใช้เวลา 3 เดือน 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เปิดเผยว่า การพูดคุยเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา นั้น ถือเป็นการพูดคุยที่ดี

และสงบเรียบร้อย ซึ่งส่วนตัวได้ตัดสินใจให้มีการแก้ไขกฎหมายพลังงาน ก่อนที่จะมีการเดินหน้าเรื่องดังกล่าวต่อไป และเลื่อนการเปิดสัมปทานปิโตเลียมรอบที่ 21 ในวันที่ 16 มี.ค. นี้ออกไปก่อน

โดยรอให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เป็นผู้แก้กฎหมาย ซึ่งเร็วที่สุด คาดว่าไม่น่าจะเกิน 3 เดือน ส่วนคณะกรรมการร่วมที่มีการตั้งขึ้น ยังคงให้มีการพูดคุยหารือเพื่อหาแนวทางการ

ดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม หากเกิดความเสียหาย ต้องร่วมกันรับผิดชอบกับรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มีการหารือเรื่องดังกล่าวกับ คสช. แล้ว
--------------
นายกรัฐมนตรีย้ำเดินหน้าตามโรดแมป โยนฝ่ายความมั่นคงดูกลุ่มเคลื่อนไหว ปฎิเสธข่าว "พ.ต.ท.ทักษิณ" ติดต่อขอเจรจา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงการหารือเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองในที่ประชุมร่วม คสช. และคณะรัฐมนตรี ว่า ยังเดิน

หน้าตามโรดแมปและให้ฝ่ายความมั่นคงดำเนินคดีกับผู้ที่เคลื่อนไหวผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ พร้อมย้ำว่าตนเองไม่ใช่นักการเมืองและไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันที่ประชุม ครม. ใน

วันนี้ไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องโยกย้าย นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ติดต่อมาขอพูดคุยเจราจาแต่อย่างใด โดยย้ำว่าส่วนตัวได้ก้าวข้ามกับดักต่าง ๆ ไปแล้ว
----------------------
นายกรัฐมนตรี สั่งหน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ขออย่าก้าวล่วงความเชื่อของกันมากนัก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงปัญหาเรื่องความเห็นต่างของพระสงฆ์ขณะนี้ว่า อยากให้แยกกันในเรื่องของอาณาจักรและ

ศาสนจักร ซึ่งแต่ละองค์กรมีกฎหมายคุ้มครองอยู่โดยประเด็นดังกล่าวให้ว่ากันตามการปกครองของคณะสงฆ์ และให้คณะสงฆ์แก้ไข แต่ทางรัฐบาลจะดูแลในเรื่องของกฎหมาย และคดีต่าง ๆ
เช่น คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโดยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบตามกระบวนการแล้ว แต่ทั้งนี้มองว่าอย่าให้ก้าวล่วงกันมากนัก เพราะอาจจะเกิดปัญหา เนื่องจากเป็นความเชื่อของแต่

ละบุคคลและขอให้รับฟังกันอย่างมีสติ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดต่าง ๆ นั้น เพื่อช่วยกันดำเนินงานของรัฐบาล เพราะที่ผ่านการใช้กระบวนการปกติยังไม่เหมาะสมกับสถาการณ์ในช่วงนี้ ส่วน

เรื่องภาษีที่ดินนั้นขออย่าเพิ่งไปฟังข่าวลือต่าง ๆ โดยขอให้รับฟังจากทางรัฐบาลเท่านั้น
------------------
พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมนำ ครม. และ คสช. ประชุมนอกสถานที่ในวันที่ 13 มี.ค. นี้ ที่ประจวบคีรีขันธ์

พล.ต.สรรเสิญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมนำคณะคณะรัฐมนตรี

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประชุมนอกสถาน หรือ ประชุม ครม.สัญจรครั้งแรกในวันที่ 13 มี.ค. นี้ ที่สวนสนประดิพัทธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ในการ

ประชุมดังกล่าวจะมีกิจกรรมแข่วงขันกีฬาร่วมกันระหว่าง ครม. คสช. และทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอีกด้วย
----------------------
หัวหน้า คสช. กำชับไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มเติมและสร้างความขัดแย้งใหม่ จี้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ติดตามงาน เร่งรัดเบิกจ่ายงบฯ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในที่ประชุม ว่า แม้

ว่าวันนี้จะมีแม่น้ำ 5 สายเพื่อทำหน้าที่ แต่ส่วนที่ต้องรับผิดชอบหลัก ๆ คือ คสช. อย่างไรก็ตามที่ผ่านมารัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมยืนยันว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่าง

เต็มที่เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดย คสช. ต้องรับทราบการทำงานของรัฐบาล และที่สำคัญต้องดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มเติมและสร้างความขัดแย้งใหม่

ทั้งนี้ คณะกรรมการในการขับเคลื่อนมีทั้งหมด 5 คณะ ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนของรัฐบาล คณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. คณะขับเคลื่อนเพื่อติดตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในแต่ละ

หน่วยงาน คณะขับเคลื่อนระดับกระทรวง และคณะขับเคลื่อนระดับพื้นที่ โดยอยากให้คณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. ช่วยติดตามงานด้านต่าง ๆ พร้อมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณที่ติดขัด

นอกจากนี้ ยังต้องลงพื้นที่พบประชาชน และทำความเข้าใจในระดับภูมิภาค ท้องถิ่น และจังหวัด พร้อมจัดความสำคัญในพื้นที่ที่เกิดปัญหา
--------------------
ที่ประชุมร่วม คสช.-ครม. เห็นชอบขยายผลรับเด็กนักเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าเป็นนักศึกษาในโครงการเพชรในตม 

ร.อ.น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการขยายผลรับ

เด็กนักเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้เข้าเป็นนักศึกษาในโครงการเพชรในตม โดยมีงบบรรจุประจำปีตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป จำนวน 2.3 ล้านบาทต่อปี รวม 5 ชั้นปี ปีละ 15 คนหรือตามอัตราข้าใช้

จ่ายจริง ประกอบด้วย ค่าเทอม ค่ากิจกรรมนักศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บ

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้เปิดบรรจุอัตรารับนักศึกษาจากโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นข้าราชการครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานการปฐมศึกษาของสำนัก

งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน
---------------------
ครม.-คสช.เห็นชอบให้ไทยเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมในอาเซียน เตรียมตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวง

วัฒนธรรมวางกรอบการทำงานระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมในอาเซียน โดยมีภารกิจในการเป็นศูนย์กลางการอบรมด้านวัฒนธรรมและ

การแสดง ได้แก่ ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ศูนย์ฝึกอบรมโบราณคดีใต้น้ำภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี สมาคมระดับนานาชาติโบราณสถาน และศูนย์วัฒนธรรมแห่ง

ประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดศูนย์ศิลปกรรมวิจัยวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามันในจังหวัดพังงา เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับ 6 จังหวัดที่ติดกับทะเลอันดามันและมีการพัฒนาพิพิธภัณฑ์โบราณสถาน

ให้เท่ากับระดับนานาชาติ พร้อมจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งในหอศิลร่วมสมัย ราชดำเนิน

///////////////////////

กมธ.ยกร่าง

กมธ.ยกร่างฯ เริ่มพิจารณา หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี ผู้นำการเมืองที่ดี ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร รูปแบบการเลือกตั้ง งดสื่อสังเกตการณ์ 

บรรยากาศความเคลื่อนไหว ที่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ขณะนี้เริ่มประชุมแล้ว

โดยมีวาระในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถานบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดีและผู้นำการเมืองที่ดี ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการ

กำหนดรูปแบบการเลือกตั้ง สัดส่วน ส.ส. ที่มา และอำนาจหน้าที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก ซึ่งต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอหารือเป็นการภายในไม่อนุญาต

ให้สื่อเข้าสังเกตการณ์

อย่างไรก็ตาม จะมีการแถลงความคืบหน้าหลังที่ได้มีการหารือแล้ว
-----------------------

"เอนก เหล่าธรรมทัศน์" เยี่ยม 20 ผู้ต้องขัง เผย เตรียมร่างกฎหมายสร้างปรองดอง หลัง กมธ. ยกร่าง รธน. กลับจากพัทยา

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. พร้อมคณะ เข้าเยี่ยม 20 ผู้ต้องหาที่มีคดีเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม

ทางการเมือง เพื่อรับฟังและสอบถามความเป็นอยู่ โดย นายเอนก ระบุว่า การเดินทางมาวันนี้ เพื่อพูดคุยกับผู้ต้องขังอย่างเป็นกันเอง และไม่เจาะจงกับใครเป็นพิเศษ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของ
การสร้างความปรองดอง แต่เป็นสิ่งที่ควรทำด้วยความห่วงใยมากกว่า ส่วนขั้นตอนการสร้างความปรองดองจะนำไปสู่การนิรโทษกรรมเหมือนในอดีตหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะยังอยู่ใน

ขั้นตอนของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งล่าสุด ได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อทำหน้าที่ศึกษาและวางแผนการสร้างความสมานฉันท์

อย่างไรก็ตาม ได้เตรียมร่างกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความปรองดอง โดยเฉพาะ หลังจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กลับจากการประชุมที่จะงหวัดชลบุรี คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 2 เดือน
----------------------
กมธ.ยกร่างฯ ให้สื่อเข้าสังเกตการณ์ ถกหมวดรัฐสภาบททั่วไปเสร็จแล้ว ถอดถอนใช้เสียง 3 ใน 4 สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรค-กลุ่มการเมือง

บรรยากาศความเคลื่อนไหว ที่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยขณะนี้เปิดให้สื่อเข้า

ร่วมสังเกตการณ์แล้ว ซึ่งล่าสุด ที่ประชุมได้ผ่านการพิจารณาเนื้อหาของหมวด 3 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป มี 12 มาตรา โดยกำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยในการพิจารณาในส่วนของสภาผู้แทน
ราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งประเด็นสำคัญมีการกำหนดวิธีการลงมติถอดถอนกันเองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา หากพบว่ามีการกระทำที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของ ส.ส. ส.ว. จาก

เดิมกำหนดให้ลงมติโดยเสียงมาก แต่ได้เปลี่ยนให้เป็นมติ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกมั้งหมดแต่ละสภาแทน เพื่อป้องกันการใช้เสียงข้างมากกลั่นแกล้ง

ขณะที่ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า หมวดรัฐสภาในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ให้

สังกัดพรรคการเมือง หรือ กลุ่มการเมืองได้ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มภาคประชาชนเข้ามามีส่วนรวมทางการเมือง
-------------------
กมธ.ยกร่าง กำหนด รูปแบบการเลือกตั้งแบบผสม มี ส.ส. 450 ไม่เกิน 470 แบ่งเขต 250 บัญชีรายชื่อ 200 ไม่เกิน 220 

บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและ
สถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดีและผู้นำการเมืองที่ดีหมวดรัฐสภา ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุม
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบผสม หรือ MMP โดยต้องมีจำนวนสมาชิสภาผู้แทนราษฎร
ส.ส. 450 คน แต่ไม่เกิน 470 คน ประกอบด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 250 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 200 คน
แต่ไม่เกิน 220 คน

ทั้งนี้ ในการพิจารณากรรมาธิการได้มีความกังวลว่า จะมีนายทุนเข้ามาครอบงำพรรคการเมือง ทั้งในรูปแบบการสมัครและหนุน
หลัง จึงจะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อป้องกันในเรื่องนั้น อย่างไรก็ตาม สมาชิกส่วนใหญ่มองว่า จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้หลายพรรรคการเมือง มีที่นั่งในสภามากขึ้น
-----------------------
กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค แถลง โปรโมชั่นใหม่ 3 ค่ายมือถือใหญ่ อัตราค่าบริการที่แพงขึ้นกว่าเดิม 62% จี้ กสทช. กำกับดูแลอย่างจริงจัง

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค แถลงข่าวกรณีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั้งเครือข่าย DTAC, AIS และ TRUEMOVE ได้นำเสนอรายการส่ง

เสริมการขายที่คิดค่าโทรเป็นนาทีออกมาให้กับผู้บริโภค นั้น คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า โปรโมชั่นลักษณะดังกล่าวมีอัตราค่าบริการที่แพงขึ้นกว่าเดิม 62 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสิทธิประโย

น์ก็ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับแพ็คเกจเดิมที่ไม่คิดค่าโทรเป็นวินาที จึงขอย้ำให้ กสทช. เร่งประกาศหลักเกณฑ์กำกับดูแลอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค

นอกจากนี้ สปช. ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล กำลังพิจารณา พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อปรับปรุงกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจน และเสนอให้ กสทช. ใช้มาตรการ

ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด
---------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณารูปแบบการลงคะแนน-นับคะแนน การเลือกตั้ง กำหนดเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มี ส.ส. เขตละ 1 คน 

บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ในช่วงบ่ายล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณา

ร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดีหมวดรัฐสภา ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร

ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงคะแนนและนับคะแนน โดย สมาชิกกรรมาธิการ ได้เสนอให้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงแบบบัญชีรายชื่อด้วยการเขียนชื่อผู้สมัครในใบลงคะแนนเลย

ซึ่ง สมาชิกบางส่วน มองว่าหากใช้รูปแบบดังกล่าวจะทำเกิดความยุ่งยากและสับสนต่อการลงคะแนนและนับคะแนน ที่ไม่ได้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิม

อย่างก็ตาม ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมได้พิจารณา และกำหนดให้ ส.ส. มีเขตละ 1 คน โดยคำนวณจากจำนวนสัดส่วนของประชาชนที่สิทธิ์เลือกตั้ง
---------------
"ฑิฆัมพร" ขอบคุณ สปช.ที่เห็นชอบหลักการกรอบความคิดรวบยอด และสาระสำคัญการปฏิรูประบบหนุนชุมชนเข้มแข็ง

นางฑิฆัมพร กองสอน รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปสังคมฯ สภาปฏิรูปแห่งชาติ แถลงขอบคุณสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เห็นชอบหลักการกรอบความคิดรวบยอด และสาระสำคัญการปฏิรูประบบ

หนุนชุมชนเข้มแข็ง 4 เสาหลักเสริมพลังอำนาจชุมชน คือ สิทธิชุมชน ประชาธิปไตยชุมชน การจัดการทุนและทรัพยากรชุมชน สวัสดิการชุมชน บริการสาธารณะที่ดี เป็นธรรม ทั่วถึงและสัมมา
ชีพชุมชน การพัฒนาศักยภาพ ทุนคน การจัดการเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากเห็นตรงกันว่า การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น มีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน

การบริหารงานรวมศูนย์ รวบอำนาจ ชุมชนขาดภูมิต้านทาน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีคิดใหม่ ด้วยการปฏิรูประบบต่าง ๆ มุ่งมั่นให้ชุมชนเสริมความเข้มแข็ง มีระบบและกลไกสนับสนุนที่ดีจากรัฐ
และภายนอก
--------------------
"เอนก" เผยหลังเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ผู้ต้องขังสำนึกผิดหวังให้มีการอภัยโทษโดยเร็ว

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ คศป. เปิดเผยภายหลังเข้าพบผู้ต้องขังในคดีเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองในปี

2552 2553 และ 2557 รวม 19 คน พร้อมตัวแทนศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป หรือ ศปป. ว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ผู้ต้องขังอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดอง และคาดหวังให้ช่วยเหลือโดย

การผลักดันให้มีการอภัยโทษโดยเร็ว ซึ่งผู้ต้องขังที่เข้าพูดคุยต่างยอมรับ สำนึกในความผิด และยืนยันที่จะหยุดพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง โดยนายเอนก ยืนยันกับผู้ต้องขังที่จะเร่ง
ให้การช่วยเหลือ

นอกจากนี้ นายเอนก ยังเปิดเผยด้วยว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมปี 2556 ถึง 2557 เพิ่มเติม โดยใช้หลักเกณฑ์การเยียวยาตาม

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 7.5 ล้านบาท
------------
กมธยกร่าง กำหนดใช้ ระบบการเลือกตั้งแบบผสม หรือ MMP มีจำนวน ส.ส. 450 คนไม่เกิน 470 คน แบ่ง 250 คน มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว

ความเคลื่อนไหวที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินท์ พัทยา ตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมา มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐ

ธรรมนูญ เป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถานบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดีและผู้นำการเมืองที่ดีหมวดรัฐสภา ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร

โดยที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบผสม หรือ MMP โดยต้องมีจำนวนสมาชิสภาผู้ราษฎร 450 คน แต่ไม่เกิน 470 คน ประกอบด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขต

จำนวน 250 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คน ในขณะเดียวกัน  
กรรมาธิการมีความกังวลว่า  จะมีนายทุนเข้ามาครอบงำพรรคการเมืองทั้งในรูปแบบการสมัครและหนุนหลัง จึงจะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อป้องกันในเรื่องดังกล่าวให้รัดกุมด้วย

จากนั้น ที่ประชุม ได้กำหนดให้ ส.ส. มีเขตละ 1 คน โดยคำนวนจากจำนวนสัดส่วนของประชาชนที่สิทธิเลือกตั้ง ก่อนที่จะ พิจารณาเรื่องรูปแบบการลงคะแนและนับคะแนน โดยสมาชิก

กรรมาธิการฯ ได้มีการเสนอให้ใช้วิธีการลงคะเสียงแบบบัญชีรายชื่อ ด้วยการเขียนชื่อผู้สมัครในใบลงคะแนน ซึ่งสมาชิกบางส่วนมองว่า หากใช้รูปแบบดังกล่าวจะทำเกิดความยุ่งยากและสับสน ต่อ

การลงคะแนนและนับคะแนน ที่ไม่ได้มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิม

 ทั้งนี้ กมธ.ส่วนใหญ่ มั่นใจว่า รูปแบบการเลือกตั้งแบบผสม นี้ จะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้หลายพรรรคมีที่นั่งในสภามากขึ้น
------------
กมธ.ยกร่างกำหนด ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แบ่งเป็น 6 เขตตามภาค โดยให้ประชาชนเลือกผู้สมัครและนับตามคะแนนนิยม

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการเลือกตั้งระบบแบ่งเขตให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนได้เขตละหนึ่งคน การแบ่งเขตจะขึ้น

อยู่กับสัดส่วนจำนวนประชากรหนึ่งเขตต่อ 2.6 แสนคน ซึ่งหากประมาณการในส่วนของกรุงเทพมหานครจะมี ส.ส.แบบแบ่งเขตจำนวน 22 คน

ส่วนการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จะมีการแบ่งเขตออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานตอนเหนือ-ล่าง และภาคกลางตอนเหนือ-ล่าง โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีสิทธิ์ลงคะแนนบัญชีรายชื่อ

ที่พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองจัดทำขึ้น โดยให้เลือกพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง พร้อมเลือกผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ ซึ่งการนับคะแนนในส่วนของบัญชีรายชื่อจะไม่นับตามลำดับเช่นเดิม

แต่จะเป็นการนับตามคะแนนนิยม เนื่องจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้เลือกบุคคลด้วย

อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีนี้จะเป็นการสะท้อนถึงคะแนนนิยมของประชาชนอย่างแท้จริง
----------------------
ผบ.ตร.เปิดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปตำรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติการ 27 ก.พ. นี้ 

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบนโยบายให้ กองบัญชาการศึกษา ดำเนินการจัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบงานตำรวจ เพื่อรวบรวมแนวคิด ข้อ

เสนอแนะจากข้าราชการตำรวจระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะชั้นประทวนทุกสายงานจากทั่วประเทศ ดังนั้น กองบัญชาการศึกษา จึงได้จัด “โครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นการ
ปฏิรูปตำรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติการ ‘เสียงสะท้อนจากตำรวจของประชาชน’” ซึ่งกองบัญชาการศึกษา ได้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้อง

บุณยะจินดา 1 และ 2 สโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนารับฟังความคิดเห็นนั้นมาปรับใช้และกำหนดวางแนวทางเป็นยุทธศาสตร์ เสนอแนะแนวทางการปฏิรูประบบงานตำรวจและกระบวนการ

ยุติธรรมในประเทศไทยต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วย ข้าราชการตำรวจระดับปฏิบัติการชั้นประทวน ทุกสายงาน จากทั่วประเทศ

การจัดสัมมนาครั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาฯ จึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนข้าราชการตำรวจ ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อมวลชน ตลอดจนนักศึกษา

และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว
////////////

ความมั่นคง

พล.อ.ประวิตร แจง ไปเขมร คุยเปิดจุดผ่านแดนร่วม ยันไม่หารือข้อพิพาทเขาพระวิหาร

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผย ภายหลังการร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงการเดินทางเยือนประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า

เป็นการพูดคุยเรื่องการเปิดจุดผ่านแดนร่วมกัน พร้อมปฏิเสธว่า ไม่ได้พูดคุยเรื่องกรณีข้อพิพาทเขาพระวิหาร กับประเทศกัมพูชา แต่อย่างใด หลังจากนั้น พล.อ.ประวิตร ได้เดินทางไปร่วมประชุม

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่บ้านเกษะโกมล ต่อไป
---------------------
ผกก.สน.พญาไท เผยกรณีพบกล่องต้องสงสัย รถไฟฟ้าบีทีเอส ศาลออกหมายจับแล้ว เย็นนี้ประชุมคดีอีกครั้ง

พ.ต.อ.ชณาวิน พวงเพชร ผกก.สน.พญาไท เปิดเผยถึงกรณีพบกล่องวัตถุต้องสงสัย ตั้งทิ้งไว้ใกล้ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไทจนทำให้ประชาชนแตกตื่น เมื่อวันที่ 22 ก.พ.

ที่ผ่านมา และล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้ขออนุมัติศาลออกหมายจับชายต้องสงสัยตามภาพจากกล้องวงจรปิดดังกล่าวแล้ว ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามตัวผู้นำกล่องที่บรรจุอุปกรณ์กล้องถ่ายรูปดัง

กล่าวมาวางไว้ โดยไล่ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม และจากการตรวจสอบอุปกรณ์กล้องยี่ห้อนิคอน รุ่นดี 700 ดังกล่าวพบว่า หลังตรวจสอบกับทางสำนักงานใหญ่ของนิคอน เป็น
อุปกรณ์ประกอบกล้องถ่ายภาพที่มีลักษณะนำมาจากต่างประเทศ

ส่วนความผิดที่นำกล่องมาวางไว้นั้นเป็นความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 392 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการ ขู่เข็ญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน

บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.ชณาวิน กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะประชุมชุดสืบสวนในการติดตามความคืบหน้าดังกล่าวอีกครั้งในวันนี้ เวลา 16.00 น. ที่ สน.พญาไท
-----------------------
นายกรัฐมนตรี สั่งให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินงานดูแลในเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้

พล.ต.สรรเสิญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

และหัวหน้า คสช. ได้สั่งการการดำเนินงานดูแลในเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ขณะนี้สถิติเสียชีวิตน้อยลงแต่การก่อเหตุมีความรุนแรงมากขึ้น จึงขอให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ราชอาณาจักร (กอ.รมน) ภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ประสานงานดำเนินการในพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนาเป็นสามส่วน คือ พื้นที่เร่งรัดการ

พัฒนาโดยเร็ว พื้นที่พัฒนาปานกลาง และพื้นที่พัฒนาเต็มที่

ทั้งนี้ การดำเนินงานจะต้องพัฒนาด้วยกฎหมายที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

//////////
เครือข่ายพุทธ

เครือข่ายองค์กรชาวพุทธฯ ยื่นนายกฯ สั่งการให้ สปช.ยกเลิกแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา

เครือข่ายองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน ตามที่ นายเทียน

ฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีคำสั่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ 8/2558 แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ซึ่งมี นายไพบูลย์

นิติตะวัน เป็นประธานกรรมการ โดยเห็นว่าคณะกรรมการชุดนี้ที่จะทำหน้าที่ร่างกฎหมายเกี่ยวศาสนา แต่ไม่มีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ขณะเดียวกันยังแสดงพฤติกรรมล่วงละเมิดมหาเถรสมาคมและ

พระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ จึงขอให้นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ สปช.ระงับพฤติกรรมล่วงละเมิดของคณะกรรมการปฏิรูปฯ ชุดดังกล่าว โดยให้มีการพิจารณาดำเนินการภายใน 15 วัน หากพ้นจากวันที่กำหนดและยังไม่มี

การยกเลิก ทางเครือข่ายองค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทยจะดำเนินการเคลื่อนไหวภายใต้พระธรรมวินัยเพื่อปกป้องคุ้มครองมหาเถรสมาคมและพระพุทธศาสนาต่อกรณีดังกล่าวต่อไป
-----------------
"วิษณุ" เตรียมประสานข้อมูลทุกฝ่ายแก้ปัญหาขัดแย้งปมมติมหาเถรสมาคม ชี้ ปฏิรูปศานาต้องไม่เป็นชนวนขัดแย้ง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย เปิดเผยถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ดำเนินการกับกรณีที่มีผู้เห็นต่างกับมติของเถรสมาคมในการตัดสินให้ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัด

พระธรรมกาย ไม่ปาราชิก ว่า ได้ประสานข้อมูลกับนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลพระพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องในหลายมิติ ทั้งศาสนา

กฎหมาย และมวลชน จึงต้องประสานกระทรวงยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ช่วยเรื่องข้อมูล และได้ประสานให้สำนักพระพุทธศาสนามาหารือในช่วงบ่ายวันนี้

สำหรับแนวทางของรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ทั้งหมด แต่บางเรื่องรัฐบาลไม่สามารถทำได้เพราะถือเป็นอำนาจของหน่วยงานนั้น ขณะเดียวกันเรื่องของศาสนา มหาเถรสมาคมได้กำกับ

ดูแลอยู่แล้ว รัฐบาลจึงไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ส่วนการตรวจสอบการทำงานของมหาเถรสมาคม รัฐบาลก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เช่นกัน ซึ่งการตัดสินว่าปาราชิกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ

การตัดสินมหาเถรสมาคม

ทั้งนี้ การปฏิรูปศาสนาไม่ต้องการให้เป็นชนวนของความแตกแยก เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องทำควบคู่กับการสร้างความปรองดอง
///////////
ปิโตเลียม

นายกฯ เตรียม หารือ ครม. ขอความเห็นการเปิดสัมปทานรอบ 21 ก่อนตัดสินใจ หลังเปิดเวทีฟังความเห็นแล้ว

การประชุมร่วมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในส่วนของวาระเศรษฐกิจ มีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะนำ

ประเด็นเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 เข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป หลังจากรัฐบาลได้เปิดเวทีรับฟังความเห็นจากกลุ่มที่เห็น

ต่างไป เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาแล้ว

ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาระบุว่า จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาหาทางออกกรณีเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21

ไม่เกินวันที่ 25 ก.พ. นี้ พร้อมยืนยันรัฐบาลพยายามดำเนินการให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของชาติ
----------
รัฐมนตรีฯ พลังงาน เผย ยังไม่มีการเสนอรายชื่อคณะกรรมการพิจารณาการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบ 21 ใน ครม. วันนี้

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ยังไม่ได้มีการเสนอรายชื่อคณะกรรมการร่วมในการพิจารณาการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในที่ประชุมคณะ

รัฐมนตรี ซึ่งทาง ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะต้องเป็นผู้เสนอรายชื่อดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะไม่กระทบกับภาคเอกชนที่มีความสนใจยื่น
ขอสำรวจที่จะปิดรับในวันที่ 16 มีนาคม นี้ โดยทางกระทรวงพลังงาน ยังคงย้ำจุดยืนเดิมในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ
----------------------
ครม. รับทราบรายชื่อคณะกรรมการร่วมพิจารณาสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เตรียมหารือนัดแรก 26 ก.พ. นี้

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่ประชุม ครม. ว่าพร้อมตัดสินใจชะลอหรือเดินหน้าต่อในการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบ

21 หากคณะกรรมการร่วมหารือได้ข้อสรุปร่วมกัน เพราะรัฐบาลไม่ได้เดินหน้าตัดสินใจไปเพียงลำพัง

สำหรับคณะกรรมการร่วมในส่วนของรัฐบาล อาทิ นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน นายประภาส คงเอียด ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการคลัง นายมนูญ ศิริวรรณ สปช.ด้าน

พลังงาน นายไกฤทธิ์ นิลคูหา

และสำหรับคณะกรรมการร่วมฝ่ายภาคประชาชน อาทิ น.อ.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ, นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล โดยคณะกรรมการร่วมเตรียมหารือ

นัดแรกในวันพฤหัสบดีที่ 26 ก.พ. นี้

////////
เศรษฐกิจ
ธปท. เปิดตัวธนบัตร 100 บาทรุ่นใหม่ เริ่มใช้ 26 ก.พ. 58 โดยลอตแรกพิมพ์ 50-60 ล้านฉบับ

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ทาง ธปท. ได้เปิดตัวธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบใหม่ แบบ 16 ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่จะนำมา

หมุนเวียนทดแทนธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยธนบัตรใหม่จะเข้าหมุนเวียนสู่ระบบในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ โดยในลอตแรกที่จะพิมพ์ออกมา 50-60 ล้านฉบับ ซึ่ง
เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน ที่มีความต้องการใช้ธนบัตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6-7 ซึ่งประชาชนสามารถแลกได้ที่สถาบันการเงินทั่วไป โดยคาดว่าธนบัตรใหม่จะเข้าไปทดแทนธนบัตรเก่า

ได้ทั้งระบบได้ภายใน 1 ปีครึ่ง แต่ธนบัตรเดิมยังสามารถชำระได้ตามปกติ จนกว่าจะหมดจากระบบ

ทั้งนี้ ธนบัตร 100 บาท แบบ 16 ดังกล่าวนี้ ออกมาเพื่อใช้หมุนเวียนทดแทนธนบัตรเดิมที่ใช้มาแล้ว 9 ปี ที่มีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.2 พันล้านฉบับ ซึ่งถือเป็นการปรับปรับปรุงให้ทันสมัย

และต่อต้านการปลอมแปลงในเทคโนโลยีสมัยใหม่
-----------------
รัฐมนตรีฯ เกษตรและสหกรณ์ เผย ยังไม่เสนอแนวคิดพักหนี้เกษตรกร 1 หมื่นราย ใน ครม. วันนี้ รอ คลัง หารือหลักเกณฑ์ก่อน คุย ครม.ศก. สัปดาห์หน้า

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ยังไม่ได้มีการพิจารณาแนวคิดการล้างหนี้ให้กับเกษตรกร จำนวน 10,000 ราย วงเงิน 4,500 ล้านบาท ในที่

ประชุมคณะรัฐนตรี วันนี้ โดยทางกระทรวงการคลัง จะต้องหารือในหลักการร่วมกับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หรือ ธ.ก.ส. โดยคาดว่าจะหารือแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ พิจารณาสัปดาห์หน้า ถึงรายละเอียดในการช่วยเหลือเกษตรกรก่อนจะมีการนำเสนอในที่

ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
---------------------
แบงก์ชาติ มองนโยบายดอกเบี้ยร้อยละ 2 เอื้อเศรษฐกิจปี 58 ขยายตัว 4% ไม่ห่วงทุนไหลเข้า จับตาใกล้ชิด

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ทาง ธปท. ยังคงยืนยันตามแนวคิดเดิมในการที่จะสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจให้เต็มตาม

ศักยภาพที่ระดับร้อยละ 4 ในปีนี้ โดยไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านเสถียรภาพ พร้อมยืนยันว่า นโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยระดับร้อยละ 2 ในปัจจุบันยังสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ได้อย่างเต็มที่

ขณะที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกล่าสุดคงเป็นเรื่องของสถานการณ์ในประเทศกรีซ ซึ่งมีการขยายอายุการชำระหนี้ออกไปอีก 4 เดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกในปัจจุบันค่อนข้างจะตื่นตัว ซึ่งก็

ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากมองในภาพรวมในแง่ของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้าออกประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาก็ถือว่าปกติไม่ได้มีการเก็งกำไร ซึ่ง ธปท. จะดูแล และติดตามอย่างใกล้ชิด
-------------------
ส.อ.ท. เผย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ม.ค. 58 แตะระดับ 91.1 ลดลงจาก ธ.ค. 57

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือนมกราคม 2558 ว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาค

อุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ ระดับ 91.1 ลดลงจากระดับ 92.7 ในเดือนธันวาคม 2557 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนมกราคม ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรก หลังจากที่

ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไตรมาส 4 ของปี 2557 โดยเกิดจากปัจจัยความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ อีกทั้ง ภาค

รัฐยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเห็นว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการใช้จ่ายของภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม รวม

ถึงในปีนี้จะเริ่มเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน จะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกของไทย
-------------------------
ครม.เห็นชอบแก้กฎหมายเปิดทางให้ลูกจ้างส่งเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติม ส่งเสริมการออม

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกําเนิด รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามการเสนอของกระทรวงการคลังในการแก้ไขกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย

ปรับหลักเกณฑ์การนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน โดยเปิดทางให้พนักงานลูกจ้างจ่ายเงินสมทบได้มากกว่านายจ้าง และนายจ้างยังคงจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิม ทั้งนี้ เพื่อต้องการส่งเสริมการออมของ

ประชาชน และยังเปิดทางให้ผู้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่อายุ 55 ปี สามารถขอรับเงินใช้ในชีวิตประจำวันเป็นเงินงวดได้ และหากเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจพนักงานลูกจ้างสามารถ

หยุดนำส่งเงินสมทบเป็นการชั่วคราวได้อีกด้วย
//////////////
คดี สจล.ถวิล

ถวิล เดินทางมาถึงกองปราบฯ แล้ว เพื่อรับทราบข้อหาคดีโกง สจล. ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด ตั้งทนายสู้คดี

นายถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบปรามตามหมายเรียก เพื่อให้ปากคำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

คดีการยักยอกเงิน สจล. กว่า 1,600 ล้านบาท

เมื่อเดินทางมาถึง นายถวิล เปิดเผยว่า ตนเดินทางมาตามหมายเรียกเท่านั้น ส่วนกรณีพนักงานสอบสวนเตรียมแจ้งข้อหานั้น ขอปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี และเตรียมทนายพร้อมหลักทรัพย์

เพื่อประกันตัวไว้แล้ว

ด้าน พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันนี้ได้นัดอดีตผู้บริหาร สจล. มาให้ปากคำเพิ่มเติม 3 คน เบื้องต้นเตรียมแจ้ง 3 ข้อหา โดยเฉพาะความผิดฐานละเว้น

ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มาตรา 157

อย่างไรก็ตาม จะมีการแถลงข่าวหลังให้ปากคำช่วงเช้าวันนี้
---------------------------

โฆษก สตช. เผย คดียักยอกเงิน สจล. แจ้งข้อหา อดีตผู้บริหารเพิ่มอีก 3 คน รวม ถวิล ด้วย เชื่อ บอส อยู่ในกลุ่มนี้


พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าคดีลักทรัพย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ว่า ในวันนี้พนักงานสอบสวนได้เรียก

นายถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดี สจล. นายสรรพสิทธิ์  ลิ่มนรรัตน์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดี และ นายศรุต ราชบุรี อาจารย์ สจล. เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา จำนวน 5 ข้อหา

พล.ต.ท.โทประวุฒิ ระบุว่า เบื้องต้น นายถวิลยังให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่มีพยานหลักฐานชัดเจนโดยพบความผิดปกติว่านายถวิลมีการเซ็นเอกสารเปิดบัญชีก่อนดำรง

ตำแหน่งและมีการเซ็นเอกสารปิดบัญชีภายหลังออกจากตำแหน่ง ขณะที่ยังพบอีกว่ามีความสนิทสนมกับ นายทรงกลด ศรีประสงค์ ผู้ต้องหาในคดีนี้ รวมถึงมีการรับรองพฤติกรรมของนายทรงกลด

ทั้งที่ทราบว่านายทรงกลดมีปัญหากับธนาคารไทยพาณิชย์

นอกจากนี้ นายถวิลยังมีการเซ็นเอกสารไม่อนุญาตให้ธนาคารเข้ามาตรวจสอบบัญชีของสถาบันระหว่างดำรงตำแหน่งด้วย ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดจนนำไปสู่การออกหมาย

เรียกมารับข้อกล่าวหา โดยหลังจากนี้จะสอบปากคำนายถวิลก่อนนำตัวฝากขังศาลจังหวัดมีนบุรี

ทั้งนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชื่อว่าบอสอยู่ในกลุ่ม 3 คนนี้ ซึ่งขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง

ขณะที่มีรายงานว่าพนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับนายสรรพสิทธิ์ เนื่องจากไม่เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเอง ส่งเพียงทีมทนายเข้ามาเท่านั้น ส่วนนายศรุตยังไม่เดินทางเข้าพบ

พนักงานสอบสวน
--------------------
อาจารย์ สจล. พร้อมทนายความ พบ พงส. ในคดีถูกกล่าวหา ร่วมยักยอกเงิน สจล.แล้ว เตรียมหลักทรัพย์ 1 ล. เพื่อยื่นประกันตัว

นายศรุต ราชบุรี อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อม ทนายความส่วนตัว เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดียักยอก

ทรัพย์ สจล. โดย เจ้าหน้าที่ได้แจ้ง 3 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัท
จำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น,สนับสนุนพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงาน

ของรัฐ และร่วมกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ขณะที่ ทนายความของ นายศรุต เปิดเผยว่า ได้เตรียมหลักทรัพย์จำนวนกว่า 1 ล้านบาท เพื่อขอประกันตัว พร้อมนำเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นมายืนยันความบริสุทธิ์ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี

แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ นายสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดี ที่ถูกออกหมายเรียกในคดีเดียวกัน ได้ให้ทนายความประสานกับพนักงานสอบสวนว่าจะขอเข้ารับทราบขอหล่าวหาในวัน

พรุ่งนี้
---------------------------
เจ้าหน้าที่ คุมตัว 2 ผู้ต้องหาคดี ยักยอกทรัพย์ สจล. ไป ฝากขังที่ ศาล จ.มีนบุรี พร้อมค้านประกันตัว - "ถวิล" ให้การปฎิเสธ

เจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบควบคุมตัว นายถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดี และ นายศรุต ราชบุรี อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2 ผู้ต้องหาในคดียักยอกทรัพย์ของ

สจล. ไปขออำนาจศาลจังหวัดมีนบุรี ฝากขัง พร้อมคัดค้านการประกันตัวทั้ง 2 คน โดย นายถวิล ถูกแจ้ง 5 ข้อหา ร่วมกันลักทรัพย์, ปลอมและใช้เอกสารสิทธิ์ปลอม, เป็นเจ้าพนักงานในองค์การ

หรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ซื้อ ทำ หรือจัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์ไปนั้น, เป็นเจ้าพนักงานใน

องค์การหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและฟอกเงินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 พ.ร.บ.ว่าด้วย

ความผิดของเจ้าพนักงาน, และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ขณะที่ นายศรุต ถูกแจ้ง 3 ข้อหา ประกอบด้วย ร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ
อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัท จำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น, สนับสนุนพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม

พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ และร่วมกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้ นายถวิล ยืนยันยังคงปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาเช่นเดิม
-------------
ศาลจ.มีนบุรี อนุญาตให้ปล่อยตัวอดีตอธิการบดี และ อาจารย์ สจล. ชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ประกัน 5 ล้านบาท

พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม นำตัว นายถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. และ นายศรุต ราชบุรี อาจารย์แผนก

มนุษยศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำ สจล. ผู้ต้องหาในคดีลักทรัพย์ สจล. ขออำนาจฝากขังที่ศาลจังหวัดมีนบุรี พร้อมคัดค้านการ

ประกันตัว ภายหลังเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา โดยทนายของ นายถวิล และ นายศรุต ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดมีนบุรี โดยศาล
พิจารณาแล้วเห็นสมควรอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ โดยตีราคาประกันคนละ 5 ล้าน

ไม่มีความคิดเห็น: