PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กาแฟดำ:ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

08062558 สูตรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง กับ ‘รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน’
โดย : กาแฟดำ 

@ ความเห็น ของ " ฉันท์สหาย "
1. แค่โยนประเด็นถามสังคม
ก็ได้เห็น กรอบคิดของหลายฝ่าย
ส่วนใหญ่สะท้อนมาเพื่อตัวเองเป็นหลัก โดยเฉพาะฝ่ายการเมือง 
ฝ่ายนักวิชาการบางส่วน ก็ติด อคติ " เลือกตั้ง = ประชาธิปไตย "
รัฐบาลต้องแข็ง ประชาชนอ่อนแอ ก็ช่าง ไม่สนใจความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น
บางคน ก็ขอให้ได้ แสดงความเห็น มีชื่อโผล่หน้าสื่อ
2. มีพอมีประโยชน์บ้าง
ได้เห็นความคิดบางอย่าง โผล่ออกมาจากแม่น้ำ 5 สาย
ดูคล้ายๆกับ " พญานาค " โผล่ออกมาที่ผิวแม่น้ำโขง
3. ด้านสื่อ ก็สะท้อนความคิดแคบๆ ที่ยังไม่ได้ปฏิรูป
มีบางสื่อ ก็ยังพอไปวัดไปวาไปโบสถ์ได้ 
4. แต่ทั้งหมด ทำให้เห็นว่า
คนมีอุดมการณ์ ยังจะต้องเดินทางอีกยาวไกล
และต้องคิด เอาจริงเอาจัง ให้มากกว่านี้
ใครจะเอาด้วยตามมา 

..........................


จะบอกว่าเป็นความบังเอิญ หรือเป็นเรื่องทำให้เห็นว่าบังเอิญก็แล้วแต่ 
ความเคลื่อนไหวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

(สปช.) บางกลุ่มให้มีการ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง” กับคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “ถ้าจะให้อยู่ต่อก็ไปถามประชาชนกันเอง” ช่างสอดคล้องต้องกันอะไรเช่นนั้น

แรกเริ่มที่ได้ยินข้อเสนอ “ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้ง” ก็ยังงงๆ อยู่ว่า
ในทางปฏิบัติหมายถึงอะไร 
แปลว่า คสช., สปช. กับ สนช. และรัฐบาล
จะอยู่ต่ออีกสองปีแล้วจึงจะมีการเลือกตั้งใช่หรือไม่

ถ้าอย่างนั้น หัวหน้า คสช. และนายกฯจะต้องออกมาแก้ Roadmap 
ที่วางเอาไว้อย่างไร จะอ้างเหตุผลอันใด

และมีอะไรรับรองว่าสองปีจะเห็นผลการปฏิรูปอย่างแท้จริง

อะไรเป็นไม้วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิรูปในสองปี?

ยิ่งจะมีความงงงันมากขึ้นเมื่อมีข้อเสนอจาก สปช. บางท่านว่า
การจะให้ปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งนั้นควรจะถามความเห็นประชาชน 
และการถามความเห็นประชาชนก็ควรจะใช้วิธีทำประชามติ

ก็ไหนๆ จะทำประชามติเรื่องร่างรัฐธรรมนูญแล้ว 
ก็ใส่คำถามเรื่องปฏิรูปสองปีก่อนเลือกตั้งเข้าไปในประชามติเสียเลย

นี่คือข้อเสนอของ สปช. ที่ต้องการจะทำทั้งสองเรื่องควบคู่กันไป

เพราะ สปช. ที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่อยากจะเป็นคนเสนอเอง 
ต้องการให้เป็นเรื่องของประชาชน 
ซึ่งบางเสียงก็บอกว่าอาจจะมีการล่ารายชื่อของประชาชนเพื่อให้มีการทำประชามติเรื่องนี้

คนที่ผลักดันเรื่องนี้ไม่ต้องการจะได้ชื่อว่าพยายามจะให้ คสช. และรัฐบาลของ นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา “สืบทอดอำนาจ”

นักข่าวถามนายกฯ เรื่องจะอยู่ต่อ
นายกฯไม่ได้ปฏิเสธ แต่บอกว่าท่านไม่ได้ต้องการสืบทอดอำนาจ 
แต่ถ้าจะให้ทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง ก็พร้อม 
แต่ต้องให้ประชาชนส่งเสียงออกมาให้ชัดเจน

และยังบอกว่าใครก็ตามที่ผลักดันเรื่องนี้ 
ต้องไปช่วยอธิบายกับคนไทยและต่างประเทศให้เข้าใจเสียด้วย

เพราะแน่นอนว่าจะต้องมีคนที่คัดค้านเรื่องนี้ 
เพราะเท่ากับเป็นการทำผิดสัญญาที่เขียนไว้ใน Roadmap 
เดิมว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อรัฐธรรมนูญผ่านขั้นตอนทั้งหลาย 
ซึ่งตีความกันมาตลอดว่าเร็วที่สุดคือไตรมาสแรกของปีหน้า 
และช้าที่สุดก็คือไตรมาสที่สามของปีหน้า

แต่หากต้องทำการปฏิรูปสองปีก่อนแล้วจึงมีการเลือกตั้ง
ก็แปลว่าจะต้องมีการแก้ไขเรื่องใหญ่ๆ ทั้งหมด
โดยที่ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น
โดยได้รับฉันทามติของคนไทยส่วนใหญ่ได้อย่างไร

มีคำถามว่าถ้าจะทำอย่างนั้นก็เขียนระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร

คำถามต่อมาก็คือว่า
สองปีที่จะปฏิรูปให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้น 
ใครจะเป็นผู้ประเมินว่าการปฏิรูปทุกๆ ด้านของประเทศ
ได้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้หรือไม่อย่างไร

เพราะไม่มีใครตอบได้ว่า
การปฏิรูปที่จะทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้งนั้นจะวัดกันด้วยสูตรไหน 
ใครเป็นคนบอกว่าสองปีจะทำได้ และ
ใครจะเป็นคนฟันธงว่าสองปีแล้วการปฏิรูปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่อย่างไร

แน่นอนว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นห่วงว่าหากมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม นักการเมืองที่เข้ามาอาจจะเอาข้อเสนอเรื่องปฏิรูปทิ้งถังขยะเลยก็ได้ 
เพราะข้อเสนอปฏิรูปหลายข้อเป็นการปรับเปลี่ยนกฎกติกาที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนักการเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้

ความห่วงกังวลเรื่องนี้มีผลทำให้เชื่อกันว่าหากทำตาม Roadmap เดิม 
ความพยายามจะปฏิรูปบ้านเมืองก็จะไร้ผล 
และการรัฐประหารครั้งนี้ก็จะ “เสียของ” อีกรอบหนึ่ง 
ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ของประเทศชาติ
อย่างที่อ้างเป็นเหตุผลของการก่อรัฐประหารแต่อย่างใด

แต่การกระทำใด ๆ ที่ตีความได้ว่าเป็นการ “สืบทอดอำนาจ” ของ คสช. 
ก็จะเปิดจุดอ่อนให้มีการโจมตีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน

ดังนั้น จึงควรจะต้องมีสูตรของ “รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน” 
ที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงในการทำให้การปฏิรูปเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
เพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งที่โปร่งใส, ยุติธรรมและตรวจสอบได้อย่างเปิดเผย

สูตรที่ว่านี้เป็นอย่างไร 
ผมเชื่อว่าผู้รู้ในบ้านเมืองมีมากมาย 
หากมีจิตใจมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชาติที่แท้จริง 
ยอมเสียสละ และไม่ชิงความได้เปรียบทางการเมือง 
ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะถกแถลงเพื่อหาข้อสรุปได้

ไม่มีความคิดเห็น: