PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กมธ.ร่างรธน. ตั้ง4คำถามให้นักการเมืองค้านร่างรธน.ตอบ

Chaiwat Suravichai

28082558 กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาอธิบายความ มีหมอชูชัย คุณคำนูญ พลเอกเลิศรัตน์ ดร.จรัส และดร.เอนก ฯ โปรดอ่าน
กมธ.ร่างรธน. ตั้ง4คำถามให้นักการเมืองค้านร่างรธน.ตอบ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กมธ.ร่างรธน. ตั้ง4คำถามให้นักการเมืองค้านร่างรธน.ตอบ
ปมสานต่อปฏิรูป-การแก้ปัญหา-ยอมรับผลประชามติหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการเปิดเวทีของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ พบสื่อมวลชน เพื่อชี้แจงและตอบข้อซักถามต่อประเด็นเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นที่เกี่ยวข้อง เป็นวันสาม
@ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หก
ได้ตั้งคำถามไปยังนักการเมืองและพรรคการเมืองที่มีความเคลื่อนไหวโจมตีร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนำเสนอให้กับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบว่า
ตนขอตั้งคำถามกลับไปยังนักการเมืองและขอให้ชี้แจงหรือตอบคำถามด้วย
1. หากประชาชนเห็นชอบกับร่างรัฐธรมนูญฉบับปฏิรูป ซึ่งมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ทำหน้าที่ติดตามงานปฏิรูปและแก้วิกฤตความขัดแย้งในบ้านเมือง จะถือว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปเป็นประชาธิปไตยหรือไม่,
2.ก่อนการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ยอมรับหรือไม่ว่าวิกฤตบ้านเมืองที่เกิดขึ้นเพราะคนกลุ่มหนึ่งพยายามผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นประชาธิปไตยหรือไม่,
3.รัฐบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ก่อนวันที่ 22 พ.ค. 2557 ได้ปฏิรูปในเรื่องที่ประชาชนเรียกร้องใดบ้าง ขอให้ยกตัวอย่างเพียงเรื่องเดียว
อย่างไรก็ตามในประเด็นดังกล่าวตนในฐานะคณะกรรมการติดตามการปฏิรูปตามมติของสมัชชาการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน และนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน
ได้ติดตามงานปฏิรูปที่ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ไม่ปรากฎว่าครม.จะนำประเด็นปฏิรูปเข้าที่ประชุมครม. แม้เพียงวาระรับทราบ
ดังนั้นกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีกลไกพิเศษเพื่อทำหน้าที่กำกับการปฏิรูป เพื่อเป็นหลักประกันว่าการปฏิรูปจะได้รับการปฏิบัติ ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยกว่าที่ผ่านมา และ
4.ร่างรัฐธรมนูญฉบับปฏิรูปมีกลไกที่กำกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดินของรัฐไปในทางที่ไม่รับผิดชอบ ด้วยการกำหนดให้การแปรญัตติปรับลดงบประมาณห้ามไปใช้เพื่อเป็นงบของส.ส.ถือเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่เคยเป็นหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเวทีซักถามมีประเด็นเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ
ต่อประเด็นกลไกการเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ระหว่างคู่ขัดแย้ง และให้อำนาจสั่งการในการดำเนินการระงับความขัดแย้งหรือรุนแรงที่เป็นการขัดขวางการปฏิรูป ซึ่งเป็นบทบัญญัติในมาตรา 261 (4) และ (5)จะมีหลักประกันว่าจะไม่เลือกปฏิบัติหรือแบ่งขั้นทางการเมือง
@ โดยกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ช่วยตอบคำถามดังกล่าว ได้แก่
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า
เป็นความพยายามของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องการตอบโจทย์ดังกล่าว
ด้วยการกำหนดกลไกหรือเครื่องมือที่ควบคู่กับระบอบการเมืองปกติ
ส่วนหลักประกันของกลไกจะสร้างความปรองดองได้จริง
ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนทุกฝ่ายที่เป็นตัวละครของความขัดแย้ง
ทั้งนี้ยอมรับว่าการปฏิรูปที่มีผลเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
และพรรคการเมืองไม่ทำ
เนื่องจากกระทบต่อฐานคะแนนเสียง
การปรองดองยากจะทำ
เพราะพรรคการเมืองมีจุดยืนของตนเอง
รวมถึงมีมวลชนของตนเองที่ต้องรักษาไว้
ดังนั้นกลไกของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เสมือนเป็นผู้ช่วยรัฐบาล
ในการดำเนินการปฏิรูปเรื่องยาก ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องบริหารของรัฐบาล

@ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษา และโฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ที่มีวาระทำงาน 5 ปี
โดยเริ่มนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ดังนั้นจะมีระยะปฏิบัติงานคือช่วง 1 รัฐบาลเท่านั้น อย่าลืมว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
อาทิ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีกลาโหม
หากนายกฯ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมก็จะเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง
ดังนั้นคาดหวังว่ากรรมการยุทธศาสตร์ฯ จะทำงานเพื่อบ้านเมือง
"ผมไม่อยากให้มองในแง่เลวร้าย หรือแง่ลบว่าจะห้ำหั่นหรือควบคุมกัน
เพราะจะไม่ทำให้บ้านเมืองขับเคลื่อนหรือเดินหน้าไปได้
ผมขอให้มองในแง่ดี ในกรณีที่จะมีกลไกช่วยรัฐบาลในการปฏิรูป
ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีเคยบทบัญญัติใดกำหนดไว้
ซึ่งการปฏิรูปเป็นเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ที่ผ่านมาและอนาคต
ดังนั้นอย่าไปมองเรื่องการทะเลาะ หรือแย่งกันทำงาน
ควรมองในสิ่งที่ดี ผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่บริหารบ้านเมืองทุกวันนี้
เขาหวังให้ประเทศเดินไปด้วยดี หากคนเหล่านี้จะมีส่วนในการดูแลการปฏิรูปประเทศต่อไป จ
ะไปทำให้ประเทศเสียหาย หรือจะรบราฆ่าฟันกับรัฐบาลใหม่ทำไม
ซึ่งคณะทหารที่เข้ามากี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็กลับไปบ้านทั้งนั้น" พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
@ นายจรัส สุวรรณมาลา กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงด้วยว่า
อำนาจในมาตรา 261 (4) และ (5) เป็นอำนาจในการขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศ
เนื่องจากเป็นวาระที่เสี่ยงที่รัฐบาลหรือใครที่เข้ามาจากการเลือกตั้งรับไปทำทั้งหมด
อย่างน้อยในช่วง 5 ปีแรก จึงต้องมีกลไกในการกำกับไว้
แต่หากช่วงเวลาดังกล่าวคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ใช้อำนาจเกินความจำเป็น
หรือใช้อำนาจที่ไม่เกี่ยวกับการผลักดันปฏิรูป ต้องถูกตรวจสอบผ่านทางศาลและรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่ากรณีที่กลุ่มที่มีความคิดตรงข้ามรัฐบาลหรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ และดำเนินการเคลื่อนไหว เช่น ตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง หรือโรงเรียนประชาธิปไตย อำนาจที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 261 จะใช้ดำเนินการได้หรือไม่
/@ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า
รัฐธรรมนูญไม่ใช่Hand Book ที่จะตอบอะไรได้ทั้งหมด
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักการเมืองยังมีและต้องทำงานให้ดี ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐธรรมนูญจัดการทั้งหมด
กรณีที่ถูกตั้งคำถามนั้นต้องสอบถามนักการเมืองด้วยเช่นกัน ว่ากรณีที่กลัวถูกคณะใดข่มเหง หากนักการเมืองทำดี จะเป็นพลังสนับสนุน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ไม่กล้าทำอะไร
ดังนั้นอย่าคิดประเด็นในทางขวา หรือ ดำ
ทั้งนี้การร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่ยกร่างด้วยการคิดประเด็นใดล่วงหน้า
หรือจัดการได้ทั้งหมด หรือทุกเรื่อง ขณะที่เนื้อหาในร่างรัฐธรมนูญไม่ได้ปิดกั้นพรรคการเมืองใด

ไม่มีความคิดเห็น: