PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ตารางเวลาการเมือง และความเห็นของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ตารางเวลาการเมือง และความเห็นของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
1. พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงหลังการประชุม ครม.กรณี สปช.มีมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า
รัฐบาลจะมีเวลาทำงานมากขึ้น แต่ไม่ได้ดีใจ เพราะเวลาที่ขยายไปต้องใช้อย่างคุ้มค่า
ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เป็นรูปธรรม ให้มีผลงานปรากฏให้เห็นชัดเจนเร็วขึ้นและมากขึ้น
โดยนายกฯ กำชับให้ทุกฝ่ายทำงานตามยุทธศาสตร์ใช้เวลา 6 เดือนในระหว่างยกร่างฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไม่ควรใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญ ลงประชามติ ทำกฎหมายลูก และหาเสียงยาวนานจนเกินไป
พล.ต.วีรชนยังกล่าวว่า นายวิษณุยังชี้แจงถึงลำดับขั้นตอนและปฏิทินของการร่างรัฐธรรมนูญว่า
๑. เริ่มต้นในเดือน ก.ย.-ต.ค.2558 จะตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
๒. จากนั้นเดือน ต.ค.2559-เม.ย.2559 อยู่ในช่วงการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
๓. เม.ย.-ส.ค.2559 เป็นขั้นตอนจัดทำประชามติ
และประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือน ก.ย.2559 และ
๔. ในเดือน ก.ย.-ต.ค.2559 เป็นช่วงของการยกร่างกฎหมายลูกภายใน 2 เดือน
จากนั้นเมื่อส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านร่างกฎหมายลูกภายใน 3 เดือน และ
๕. ในเดือน ก.พ.2560 ส่งกฎหมายลูกให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบภายใน 1 เดือน และ
๖. ต่อมาในเดือน มี.ค.2560 จึงเริ่มประกาศใช้กฎหมายลูกและเริ่มรณรงค์หาเสียงได้
๗. จากนั้น มี.ค.-มิ.ย.2560 มีการเลือกตั้ง
๘. จากนั้นจะตั้งรัฐบาลใหม่ภายในระยะเวลา 1 เดือนคือ ก.ค.2560
2. นายวิษณุกล่าวถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่า
กมธ.ยกร่างฯ ชุดเก่าก็เป็นได้ ไม่มีอะไรห้าม เพียงแต่สุดท้ายเขาจะได้เป็นหรือเปล่าไม่รู้ และเขาจะมาหรือไม่ก็ไม่รู้
ส่วนจะมีฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ คสช.
แต่คุณสมบัติของ กมธ.ยกร่างฯ ชุดที่แล้ว ระบุว่าต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองย้อนหลัง 3 ปี จึงต้องพิจารณาในส่วนนี้ก่อน
ส่วนบุคคลในองค์กรอิสระจะมาเป็นในขณะเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นลาออกแล้ว
“คนที่จะเข้ามาต้องคิดว่าหากทำแล้วต้องทำให้ดีและต้องไม่ล้ม ถือเป็นความรู้สึกกดดันอยู่ จึงทำให้หาคนมาร่วมยาก แต่เชื่อว่าสามารถหาได้ อาจมีบางคนที่ได้ปฏิเสธจากคราวที่แล้วอาจรับในคราวนี้ก็ได้ เพราะข้อขัดข้องที่เคยมีอาจหมดไปแล้ว”
3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เฟซไทม์สายตรงร่วมพูดคุยในรายการต้องถามทางสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่
ในกรณี สปช.มีมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญว่า
ถือว่ามีโอกาสดีในการทำให้ประเด็นเรื่องของการปฏิรูป หรือการแก้ไขปัญหาของการเมืองนั้นรอบคอบ
และมีเวลาเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมามีส่วนร่วม แล้วทำให้เกิดการยอมรับ
โดยขอให้ใช้เวลา 6 เดือนที่เพิ่มขึ้นเป็นโอกาสทองขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปที่แท้จริง พร้อมกับอยากเชิญชวนทุกฝ่ายพักเรื่องการวิพากษ์ วิเคราะห์กันทางเมืองในช่วง 6 เดือนนี้
เพื่อใช้เป็นเวลาของการวางระบบที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองในอนาคต
เมื่อทุกคนมาร่วมกันทำอย่างนี้อย่างสร้างสรรค์ เราจะได้เดินหน้าไปได้
“คนที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญน่าจะต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
ใจผมนั้นจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 ปี 2550 หรือฉบับที่เพิ่งถูกคว่ำไปเอามาผสมผสานกัน
หรือจะเติมคนใหม่เข้าไปก็ได้
ยังไม่อยากให้ไปคิดเรื่องเอาฝ่ายการเมือง เ
พราะว่ามันจะกลายเป็นประเด็นขึ้นมาอีก
ผลประโยชน์ทับซ้อนมั้ยถ้าเป็นฝ่ายการเมืองเข้าไป
เข้าไปแล้วเป็นตัวแทนกันได้จริงหรือเปล่า ครบทุกฝ่ายหรือไม่”

ไม่มีความคิดเห็น: