PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

การเมืองไต้หวัน จีนตึงเครียด

ว่าด้วยการเมืองในไต้หวัน

ไต้หวัน(2ม.ค.58)บรรยากาศในไทเปและอีกหลายเมืองมีการติดป้ายหาเสียงขณะที่สื่อทั้งหนังสือพิมพ์ และข่าวทีวีภาคค่ำที่ไต้หวันวันนี้(2ม.ค.58)เต็มไปด้วยข่าวการเกาะติดบรรยากาศ และการวิเคราะห์ข่าวช่วงโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวันระหว่างนายอีริค ชู ประธานพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง กับ นางไช่ อิง-เหวิน ผู้สมัครจากพรรคพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี)ที่ได้รับการคาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ 

นายชูเคยวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า หรือ ดีพีพี ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านว่า เป็นผู้ขัดขวางการทำข้อตกลงข้ามช่องแคบไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงว่าด้วยการค้าภาคบริการระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวันและข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าระหว่างสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ซึ่งเขาเห็นว่าควรมีการแยกระหว่างความขัดแย้งทางการเมือง และการแข่งขันทางเศรษฐกิจออกจากกัน  

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พรรคก๊กมินตั๋งเปลี่ยนตัวผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค จากนางฮุง ซิ่ว-ชู มาเป็นนายอีริค ชู ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นายชูและพรรคก๊กมินตั๋งเริ่มมีคะแนนนิยมตามหลังนางไช่ อิง-เหวิน ผู้สมัครจากพรรคดีพีพี ที่ได้รับการคาดหมายอย่างกว้างขวางว่าจะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ 

ขณะที่ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) เคยเปิดการแถลงข่าวโจมตีประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว ในประเด็นความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบไต้หวันเป็นเรื่องสำคัญประดับประเทศที่ควรอยู่เหนือผลตอบแทนทางการเมือง และไม่ควรถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อการเลือกตั้ง หลังจากที่โฆษกประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่วแถลงเมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนว่า นายหม่าจะพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้นำสองฝั่งช่องแคบไต้หวันจะพบกันหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมืองปี 2492 มาประจวบเหมาะกับที่ไต้หวันจะมีการเลือกตั้ง เช่นนี้แล้วจะไม่ให้ประชาชนคิดได้อย่างไรว่าเป็นการดำเนินการทางการเมืองเพื่อหวังผลต่อการเลือกตั้ง

ผลการหยั่งเสียงชาวไต้หวันพบว่า พรรคก๊กมินตั๋งของประธานาธิบดีหม่ามีคะแนนนิยมตามหลังพรรคดีพีพี นายหม่าชูเรื่องปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนเป็นนโยบายหลักตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในปี 2551 และไม่สามารถลงเลือกตั้งได้อีกเนื่องจากครบวาระ 2 สมัยแล้ว ขณะที่การแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่มีความคืบหน้าเท่าใดนัก.

การเลือกตั้งใหญ่ของไต้หวันจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่16มกราคม2558ที่จะถึงนี้ โดยถึงวันนี้พรรคชาตินิยมก๊กมินตั๋ง พรรครัฐบาลไต้หวันซึ่งกำลังมีคะแนนนิยมตามหลังพรรคฝ่ายค้านประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งมีน.ส.ไช่อิง-เหวินเป็นตัวเต็งในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งไต้หวัน ซึ่งหากเธอชนะก็จะได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวัน 

พรรคก๊กมินตั๋งกำลังพยายาต่อสู้เพื่อเรียกคะแนนนิยมกลับคืนมาหลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปีที่แล้วซึ่งนโยบายผูกมิตรกับจีนแผ่นดินใหญ่เป็นปัจจัยสำคัญภายใต้การนำของประธานาธิบดีหม่าอิง-จิว 

         นักวิเคราะห์มองว่าทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งผู้นำตั้งแต่เกาะไต้หวันได้กลายเป็นประชาธิปไตย จีนจะรู้สึกหวั่นไหวมากที่สุด ต้องเฝ้าดูแนวโน้มการมืองของไต้หวันแบบนาทีต่อนาที ไม่ว่าผลการเลือกตั้งปีหน้าจะออกมาอย่างไร มันกระทบกระเทือนท่าทีและนโยบายจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม

         ในช่วงที่ผ่านมา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีหม่า อิง จิ่ว จีนกับไต้หวันมีความสัมพันธ์ที่ดี ถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่มีอะไรตื่นเต้นถึงกับต้องขู่กรรโชกใช้กำลังแบบในอดีต หรือในช่วงที่มีอดีตผู้นำเฉิน สุย เปี่ยน ซึ่งชอบการประจันหน้ากับจีน (ขณะนี้ติดคุกอยู่ โดนข้อหาคอร์รัปชั่น) หม่าพยายามรักษาระยะห่างจีน-ไต้หวัน เพื่อเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การค้าขาย ลงทุนกับจีนเพิ่มขึ้นมหาศาล จนคนพื้นเมืองกลัวว่าจะถูกจีนแผ่นดินใหญ่ครอบครอง

         ในช่วงเวลานี้ รัฐบาลจีนได้เปิดพื้นที่ให้ไต้หวันเล่นมากขึ้นในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ที่ไม่กระทบกระเทือนการทูตจีนมากนัก เช่น ในองค์การยูนิเซฟ องค์การบินระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เป็นต้น ตอนนี้ไต้หวันพยายามกดดันรัฐบาลจีนเพื่อให้ประเทศตัวเองได้ขยายบทบาทการทูตในเวทีภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวข้องกับอาเซียน ไต้หวันอยากเป็นประเทศคู่เจรจาและเข้าร่วมกรอบการค้าเสรี RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ที่กำลังเจรจาอยู่

         ส่วนใหญ่สมาชิกอาเซียนยังเกรงใจและไม่อยากฝ่าฝืนข้อตกลง “หนึ่งจีน” ที่ได้สัญญาไว้กับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กำหนดนโยบายไทย ตามจริงสมาชิกอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พยายามเสริมสร้างสัมพันธ์การค้าการลงทุนให้มากขึ้น เพราะรู้ดีว่าทั้งจีนและไต้หวันมีข้อตกลงการค้าเสรีหลายรายการ เปิดโอกาสให้อาเซียนได้พัฒนาสัมพันธ์กับไต้หวันมากขึ้น

         ถึงแม้ไต้หวันมีสัมพันธ์การทูตเพียง 23 ประเทศเท่านั้น ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา ละตินอเมริกา และประเทศเล็กๆ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก แต่หนังสือเดินทางไต้หวันเข้าประเทศทั่วโลกได้ถึง 124 ประเทศ โดยไม่มีวีซ่า (ส่วนหนังสือเดินทางไทยไปได้ 47 ประเทศเท่านั้น)

         ส่วนผลกระทบกับกับเราประเทศไทยนั้น ขณะนี้สัมพันธ์ไทย-ไต้หวันเริ่มลดความสำคัญลงมาก เพราะว่านักลงทุนไต้หวันได้ย้ายทุนไปยังเวียดนามและอินโดนีเซีย แรงงานถูกกว่าและมีเสถียรภาพการเมืองที่ดีกว่าไทย นอกจากนี้ทั้งสองประเทศนี้ไม่กลัวจีน ประเด็นนี้ฝ่ายไทยต้องให้ความสนใจ เพราะไต้หวันมีบทบาทเหมือนกับญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทยเป็นเวลาช้านาน ได้ช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กในไทย มีการส่งผ่านประสบการณ์การจัดการและเทคโนโลยี


         ในปีหน้าถ้าคู่แข่งฝ่ายค้านพรรคดีพีพีของนางไช่ชนะการเลือกตั้ง มีแนวโน้มว่าสภาพยุทธศาสตร์ในเอเชียจะแข่งขันตึงเครียดมากขึ้น เพราะเธอต้องการเห็นไต้หวันเป็นเอกราช ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง มีท่าทีต่อไต้หวันที่ต่างจากผู้นำจีนคนก่อนๆ คือไม่ค่อยอดทนต่อการที่ไต้หวันออกไปเล่นการเมืองในลักษณะนี้ ต้องการให้มีการรวมประเทศโดยเร็วที่สุด สีเคยเป็นผู้นำพรรคที่มณฑลฝูเจี๋ยนและเจ้อเจียงสองจังหวัดอยู่ตรงข้ามไต้หวัน เข้าใจเกมการเมืองในเกาะนี้ดี

         ไทยเราต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะมีผลกระทบกระเทือนต่อภูมิภาคแน่.

ไม่มีความคิดเห็น: