PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

ประวัติศาสตร์การเมืองสืบเนื่องจาก"หมุดคณะราษฎร์"


เรื่องหมุดๆ ของคณะราษฎรอีกครั้ง การร่วมตัวกันอย่างง่ายดายของกลุ่มผู้ก่อการคณะราษฎรนั้น เป็นเพราะในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงทำเหมือนเอาพระกรรณไปนา เอาพระเนตรไปไร่ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ทั้งฝ่ายทหาร (ทหารบก และทหารเรือ ไม่มีทหารอากาศในตอนนั้น เป็นเพียง กรมอากาศยานทหารบก ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2480 แต่มีทั้งส่วนสนับสนุนฝ่ายกบฏและฝ่ายรัฐบาลคณะราษฎร ในกรณีกบฏบวรเดช 11 ตุลาคม พ.ศ.2476 มีภารกิจการใช้อาวุธและทิ้งใบปลิวอีกด้วย) และฝ่ายพลเรือน ต่างเป็นข้าราชการสนองพระราชโองการพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น และส่วนใหญ๋ได้ทุนหลวงตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ไปเรียนที่ต่างๆ ในต่างประเทศ หรืออยู่ในตระกูลที่รับใช้ใกล้ชิดพระราชวงศ์ก็มี
แต่ก็มีหลายสิบ หลายร้อยคน ไม่ร่วม และไม่เห็นด้วย เช่นพ.อ.พระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน ท่านหนึ่งล่ะ ที่ปฏิเสธไม่เข้าร่วม หรือคุณพ่อผมก็ไม่รับการชักชวนให้เข้าร่วม (อาจเป็นเพราะว่ายศยังน้อย แต่ตอนนั้นท่านก็เป็นนายร้อยเอกแล้ว และจบโรงเรียนเสนาธิการเป็นที่ 1 น่าจะได้รับการชักชวน หรือเพราะสายตระกูลใกล้ชิดกับราชวงศ์มาก ไม่ทราบแน่)
ในกลุ่มคณะราษฎรนั้น มีหลายแนวคิดทางการเมืองปะปนกัน แต่ประเด็นที่สำคัญ ทั้งหมดเหมือนกันตรงที่ว่า ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะเกือบทุกคนคิดว่าล่าช้าไปแล้ว ไม่ทันกับหลายประเทศที่กำลังเรียกร้องอิสรภาพและประชาธิปไตยจากประเทศเจ้าอาณานิคม เช่นจีน ซึ่งล้มสลายเพราะระบอบกษัตริย์ เพราะอ่อนแอและเอาแต่ได้ เกิดนักปฏิวัติ เช่น ซุนยัดเซ็น เป็นนักสาธารรัฐนิยม เริ่มการปฏิวัติจีนตั้งแต่ปี พ.ศ.2438 ก่อนคนไทย 37 ปี จึงนับว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยจีน และเป็นต้นแบบการปฏิวัติแบบ เสรีประชาธิปไตย เสรีสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ อันนำสู่การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
หรือ มหาตมะ คานธี ซึ่งเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพและการปกครองแบบประชาธิปไตยลัึทธิสาธาราณรัฐ เพราะอินเดียมีการปกครองแบบนครรัฐมีกษัตริย์ปกครองมาก่อนอังกฤษครอบครอง ซึ่งการปกครองของพระราชาแบบนครรัฐล้มเหลว เพราะอ่อนแอ และแย่งชิงอำนาจกัน จนแม้เพียงนักเผชิญโชคและนักธุรกิจบุกเบิกอังกฤษ สามารถยึดและกุมอำนาจและในที่สุดก็อังกฤษก็ปกครองอินเดียทั้งหมด
นักเรียนไทยที่เรียนกฏหมาย หรือรัฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ ในยุโรป โดยเฉพาะที่อังกฤษและฝรั่งเศส รู้เรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง ทั้งยังมีลัทธิเปรียบเทียบอื่นๆ เช่น ยูโทเปีย ของโทมัส มัวร์ ในยุคศตวรรษที่ 17 (เป็นแม่บทส่วนหนึ่งของลัทธฺคอมมิวนิสต์ก็ว่าได้) หรือมีเรื่องราวการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ต้องอ่านอย่างจริงจัง จึงมีหนทางเลือกมาก ว่าจะคลั่งไคล้ลัทธิไหน หรือเอาแม่บทไหนดีที่เหมาะสมกับประเทศไทย
หลักการประชาธิปไตยที่มีบ่อเกิดจากความคิดของพลาโต (ยุคก่อนศตวรรษที่ 4 นั้นแตกมวลอนูออกหลากหลายทฤษฎี ตามวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี และสังคม ของคนแต่ชาติ จนเกิดเป็นประชาธิปไตย ซึ่งแฝงไว้ด้วยหลัก ระบอบกษัตริย์ภายใต้หลักประชาธิปไตยหรือรัฐธรรมนูญ เสรีนิยมประชาธิปไตย เสรีสังคมนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ (หลายตำรับ เช่นกัน มาร์กซิสต์ มาร์กซ์-แองเกิล มาร์กซ์-เลนินนิสต์ เลนินิสต์ สตาลินนิสต์ เมาเจ๋อ ตุงนิยม เป็นต้น)และอนาธิปไตย
หากวิเคราะห์แนวคิดของคณะราษฎร แต่ละคน แต่ละกลุ่มแล้ว ก็คงมีความหลากหลายเช่นกัน แต่คงจะเรียบเรียงเป็นกลุ่มหลักๆ คือ กล่าวได้ว่าน้ำหนักฝ่ายขวาถึงซ้ายนั้นเรียงตามนี้ กลุ่มประชาธิปไตยนิยมกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มสาธารณรัฐนิยม และกลุ่มอนาธิปไตย
เราอาจจะสรุปได้ว่า มีผู้ประสานงานของคณะราษฎร ระหว่างฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายหลายคน แต่ละคนก็มีพลังเสียงและตรรกะมากพอในความเชื่อว่าการปกครองแบบไหนจึงจะเหมาะกับคนไทยและประเทศไทย
หนึ่งในกลุ่มผู้ประสานหลายฝ่ายนั้น อาจจะเป็นบุคคลเหล่านี้ นายทวี บุญเกตุ นายวิลาศ โอสถานนท์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) พ.ต.หลวงพืบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) นายควง อภัยวงศ์
ฝ่ายการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น คงเป็นกลุ่มนักเรียนเก่าอังกฤษ ที่เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุข และกลุ่มประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญปกครอง เช่น กลุ่มประเทศ เบเนลักซ์ หรือสแกนดิเนเวีย เช่น นายทวี บุญเกตุ ซึ่งชักชวนนาย วิลาศ โอสถานนท์ ที่เขียนในบันทึกส่วนตัวว่า "ต้องการเห็นบ้านเมือง เป็นประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แบบอังกฤษ ทั้งสองเป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ ซึ่งเป็นพวกนิยมความมีเสรีในการคิด ยอมปฏิรูปรับสิ่งใหม่ๆ อดทนต่อความคิด และพฤติกรรมที่มีความต่าง เปิดใจกว้างรับแนวคิดใหม่ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมได้ในระดับหนึ่ง
ส่วน พ.ต.หลวงพิบูลสงครามและนายควงอภัย วงศ์นั้น น่าจะเป็นคนกลางระหว่างกลุ่มนี้กับพวกสังคมนิยมประชาธิปไตย พวกสาธารณรัฐนิยม พวกคอมมิวนิสต์และพวกอนาธิปไตย (พวกนี้เชื่อมโยงกับกรณีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ) ทั้ง 3 กลุ่มนี้ไม่ต้องการระบอบกษัตริย์ ซึ่งมี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ประสานงานและความคิด
จากการโต้เถียงอย่างรุนแรงและล่อแหลมที่จะทำให้เกิดเหตุสู้รบกัน แต่ฝ่ายทหารซึ่งมีอาวุธในมือ เข้าข้างพวกเสรีนิยมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะกลัวพวกอนาธิปไตยจะเข้าปกครองบ้านเมือง อาจจะทำให่เกิด สภาพไร้รัฐบาล ไร้ขื่อแป ต่างคนต่างยึดอัตตาตนเป็นใหญ่ ต่อต้านการปกครองที่ตนไม่พอใจ หรือต่อต้านระบบที่ขัดใจพวกเขา ทั้งนิติประเพณี นิติบัญญัติ หรือการถือสันโดษ ไม่เคารพกฎเกณฑ์สังคมส่วนรวม
สรุปได่ว่าในกลุ่มคณะราษฎร ก็มีกลุ่มบุคคลที่ยังต้องการระบอบกษัตริย์ปกครองประเทศอยู่ หากคนไทยได้กลุ่มคอมมิวนิสต์ หรือพวกอนาธิปไตยผสมผสานกันแล้ว ชาติบ้านเมืองนี้คงสูยสลายไปแล้ว หรือมีทุ่งสังหารก่อนใครๆ ในเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้ นี่ก็เป็นความโชคดีของคนไทย ที่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญยังคงอยู่ ทามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงครับ

ไม่มีความคิดเห็น: