PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

นายกฯแจง อนุโลม เก๋งเบาะหลังไม่ต้องคาดเบลล์ได้

นายกฯแจง อนุโลม เก๋งเบาะหลังไม่ต้องคาดเบลล์ได้ – ส่วนกระบะนั่งท้ายได้แค่ 6 คน·

 (7 เมษายน2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยกล่าวช่วงหนึ่งว่า

“ทุกคนทราบดี ที่ผ่านมา ทุกเทศกาลวันหยุดยาว เราจะได้พบเห็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นจำนวนมาก สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบัติเหตุใหญ่ๆ ที่ต้องมีคนเจ็บคนตายจำนวนมาก ไม่ว่าจะรถบัส – รถตู้ – รถกระบะที่มีคนนั่งท้าย พวกเมาแล้วขับ สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น พวกเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย พวกขับรถเร็วเกินไป คึกคะนอง และอีกมากมายทำไมเราต้องปล่อยให้เหตุการณ์แบบนั้น เกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ครับ ผมเข้าใจดี พี่น้องประชาชนจะต้องเดินทาง กลับภูมิลำเนา หรือไปเที่ยวตามที่ต่างๆ รวมถึง การฉลองเทศกาลสงกรานต์ จำนวนมากที่เดินทางโดยรถไฟ รถบัสโดยสาร รถตู้ และ จำนวนมากที่เดินทางด้วยรถส่วนตัว รถปิคอัพ นั่งท้ายบ้าง ไม่นั่งบ้าง จะให้ไปนั่งรถทัวร์ หรือรถโดยสาร ก็ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือ ตั๋วเต็ม หาไม่ได้ ก็ไม่ได้กลับบ้าน จริงๆ แล้ว ถ้าทุกคนเคารพกฎหมาย กฎจราจร ซึ่งมีบังคับใช้ตามปกติอยู่แล้ว การบาดเจ็บสูญเสีย ก็จะไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะรถอะไร หากทุกคนระมัดระวัง คิดถึงผู้อื่น จะรู้ได้เองว่า ควรจะป้องกันได้อย่างไร อย่าหวังพึ่งกฎหมายอย่างเดียว เจ้าหน้าที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ด้วยความเข้าอกเข้าใจประชาชน

ผมเข้าใจดีครับ หากบังคับใช้กฎหมายกันอย่างเต็มที่ ก็จะสร้างความเดือดร้อน ให้กับพี่น้องประชาชน มากเกินไป เจ้าหน้าที่ก็จะอะลุ่มอล่วยให้ ในบางส่วน ดังที่ทางตำรวจได้ชี้แจงไปแล้ว เช่น…เพื่อ
“สร้างวินัยการจราจร” ที่ถูกต้อง ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งเบาะหน้า ทั้งรถส่วนบุคคล และรถแท็กซี่จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ตามกฎหมาย แต่จะอนุโลมผู้ที่นั่งเบาะหลัง หรือที่ยังไม่มีเข็มขัดนิรภัย ส่วนรถโดยสารสาธารณะ -รถแท๊กซี่- รถตู้ – รถบัส ต้องคาดเข็มขัด ทุกที่นั่ง และรถกระบะ อนุโลมให้นั่งท้ายกระบะได้ ไม่เกิน 6 คน แต่ห้ามนั่งบนขอบ หรือ ท้ายกระบะ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ มีอยู่แล้วในอดีต แต่บังคับใช้ไม่ได้มาเป็นเวลานาน ค่อยๆ แก้ไขกันนะครับ ทั้งตัวเอง เจ้าหน้าที่ และรัฐบาล สิ่งที่ผมขอเน้นย้ำ คือ “ผู้ขับขี่” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุ “ทั้งปวง” ต้องไม่ดื่มสุรา ไม่ประมาท ไม่โทร ไม่แชท พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด และ รักษาวินัยจราจร “ผู้โดยสาร” ควรป้องกันตัวเอง ด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัย “ทุกคน” “รถทุกคันบนถนน” ทั้งรถจักรยานยนต์, รถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ ทุกประเภท ต้องตรวจสภาพให้พร้อม ก่อนออกเดินทาง”
/////////
เกิดผล แก้วเกิด

รถกระบะ นั่งแคป และ ท้ายกระบะได้หรือไม่
วันนี้ไปบันทึกเทป รายการ "เผชิญหน้า" ช่อง สปริงนิวส์
ในประเด็น เรื่อง รถกระบะ นั่งแคป และ นั่งกระบะหลังได้หรือไม่
โดยมี พล.ต.ต.สมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มาร่วมรายกายด้วย
ผมและ ผู้การทางหลวง มีความเห็นทางกฎหมายตรงกันดังนี้
1.กระบะบรรทุก ก็ดี กระบะส่วนบุคคลก็ดี สามารถใช้บรรทุกผู้โดยสาร และสิ่งของได้เหมือนกัน เพราะมีข้อยกเว้น ให้รถที่จดทะเบียนทั้งสองประเภทนี้ ใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกับขนส่งแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม ปี 2557 ในมาตรา 21(3/1)
ประเด็นนี้ ค่อนข้างชัดเจน ทั้ง 2 คน ว่า นั่งได้ 100 %
ตำรวจที่จับกุม คนนั่งแคป โดยไม่ศึกษามาตรา 21(3/1) อาจถูกฟ้องร้องข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ได้
ส่วนตำรวจที่จับกุมไปแล้ว และประชาชน เสียค่าปรับไปแล้ว ก็เอาเงินไปคืนประชาชนซะ
2. ประเด็นเรื่อง ประชาชนนั่งท้ายกระบะได้ หรือไม่
ในประเด็นนี้ ผมและ ท่านผู้การ เห็นตรงกัน ว่า กระบะท้าย ไม่ใช่ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร แต่ พรบ.จราจรทางบก มาตรา 20 อนุโลมให้นั่งได้ เพราะกฎหมาย 20 บัญญัติว่า
มาตรา ๒๐ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
ดังนั้น ถ้าคนขับรถจัดการป้องกันให้คน สัตว์ สิ่งของ ไม่ตกลงจากรถ เช่น ทำหลังคารถ ราวเหล็ก หรือคอกกั้น เพื่อป้องกันคนตกหล่น ย่อมไม่เป็นความผิด
ท่านผู้การทางหลวง พูดคุยในรายการว่า ได้สั่งการให้ตำรวจทางหลวงทุกคนทราบแล้ว ว่าห้ามจับกุม คนนั่งแคป และนั่งกระบะ ที่มีหลังคา หรือ คอก เด็ดขาด ซึ่งตำรวจทางหลวงรับทราบทุกนายแล้ว
ถ้าประชาชนคนไหนถูกตำรวจทางหลวงจับ ตามข้อ 1 และ 2 บอกผมนะครับ
ผมจะฟ้องกลับให้ และจะขอหมายเรียก พล.ต.ต.สมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มาเป็นพยานในคดีนี้ให้ และ เพื่อป้องกันท่านลืมคำพูด ผมจะขอหมายเรียกเทปบันทึกรายการ "เผชิญหน้า"ไปยันต่อท่านผู้การด้วย
รายการ "เผชิญหน้า ออกอากาศ คืนนี้ ที่ช่องสปริงนิวส์ อย่าลืมบันทึกเทป เอาไว้ให้ตำรวจทางหลวงดูด้วยนะครับ
/////////
จากการที่ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมแถลงข่าวพร้อม พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.สมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย พ.ต.อ.ทินกร ณัฏฐมั่งคั่ง รองผู้บังคับการตำรวจจราจรและ นายสนิท พรหมวง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เกี่ยวกับรายละเอียดใน ม.44 ฉบับที่14/2560 เกี่ยวกับกฎการบังคับใช้รถกระบะ ว่าห้ามนั่งบนท้ายกระบะหรือ แคปของรถกระบะ

จนทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากกับประชาชนส่วนใหญ่ ที่ใช้รถกระบะในชีวิตประจำวันเพราะได้รับผลกระทบโดยตรงกับกฎหมายนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 60 ทนาย เกิดผล แก้วเกิด ได้ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า “ในประเด็น เรื่อง รถกระบะ นั่งแคป และ นั่งกระบะหลังได้หรือไม่ โดยมี พล.ต.ต.สมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มาร่วมรายกายด้วย ผมและ ผู้การทางหลวง มีความเห็นทางกฎหมายตรงกันดังนี้ 1.กระบะบรรทุก ก็ดี กระบะส่วนบุคคลก็ดี สามารถใช้บรรทุกผู้โดยสาร และสิ่งของได้เหมือนกัน

เพราะมีข้อยกเว้น ให้รถที่จดทะเบียนทั้งสองประเภทนี้ ใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกับขนส่งแต่อย่างใด ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม ปี 2557 ในมาตรา 21(3/1) ประเด็นนี้ ค่อนข้างชัดเจน ทั้ง 2 คน ว่า นั่งได้ 100 % ตำรวจที่จับกุม คนนั่งแคป โดยไม่ศึกษามาตรา 21(3/1) อาจถูกฟ้องร้องข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ได้ ส่วนตำรวจที่จับกุมไปแล้ว และประชาชน เสียค่าปรับไปแล้ว ก็เอาเงินไปคืนประชาชนซะ 2. ประเด็นเรื่อง ประชาชนนั่งท้ายกระบะได้ หรือไม่ ในประเด็นนี้ ผมและ ท่านผู้การ เห็นตรงกัน ว่า กระบะท้าย ไม่ใช่ที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร แต่ พรบ.จราจรทางบก มาตรา 20 อนุโลมให้นั่งได้

เพราะกฎหมาย 20 บัญญัติว่า มาตรา ๒๐ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้ คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ดังนั้น ถ้าคนขับรถจัดการป้องกันให้คน สัตว์ สิ่งของ ไม่ตกลงจากรถ เช่น ทำหลังคารถ ราวเหล็ก หรือคอกกั้น เพื่อป้องกันคนตกหล่น ย่อมไม่เป็นความผิด

ท่านผู้การทางหลวง พูดคุยในรายการว่า ได้สั่งการให้ตำรวจทางหลวงทุกคนทราบแล้ว ว่าห้ามจับกุม คนนั่งแคป และนั่งกระบะ ที่มีหลังคา หรือ คอก เด็ดขาด ซึ่งตำรวจทางหลวงรับทราบทุกนายแล้ว ถ้าประชาชนคนไหนถูกตำรวจทางหลวงจับ ตามข้อ 1 และ 2 บอกผมนะครับ ผมจะฟ้องกลับให้ และจะขอหมายเรียก พล.ต.ต.สมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง มาเป็นพยานในคดีนี้ให้ และ เพื่อป้องกันท่านลืมคำพูด ผมจะขอหมายเรียกเทปบันทึกรายการ ดัง ไปยันต่อท่านผู้การด้วย”


ไม่มีความคิดเห็น: