PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันประวัติศาสตร์......วันขึ้น 10ค่ำ เดือน10

วันประวัติศาสตร์......วันขึ้น 10ค่ำ เดือน10 เวลา10.30 น.31สค.2560
เปิด ตึกภักดีบดินทร์
ตึกที่ ก่อกำเนิด ในยุค พลเอกประยุทธ์ ในยุครัฐบาล คสช. โดยมี บิ๊กอ้อ พลเอกวิลาส อรุณศรี เลขาฯนายกฯ เป็น แม่งานหลัก ที่ทำให้ ตึกนี้เกิดขึ้น พร้อมๆกับ การ ใส่เสื้อ ให้ตึกต่างๆในทำเนียบฯ เพื่อให้เป็น สถาปัตยกรรม แบบ Neo Venetian Gothic เหมือนกันหมด เพราะทำเนียบรัฐบาล เป็นอีกหน้าตาของประเทศ
แถม บิ๊กตู่ ตั้งชื่อตึกเอง
เลยแซวกันว่า สร้างเอง และคงได้ใช้เอง ไปอีกนาน นั่นเอง

"นายกฯ"ประเดิม ถก ผบ.เหล่าทัพ "ตึกภักดีบดินทร์

"นายกฯ"ประเดิม ถก ผบ.เหล่าทัพ "ตึกภักดีบดินทร์".....คาด คุยเรื่อง การหลบหนีของ "ยิ่งลักษณ์"
"นายกฯ"ประเดิม ใช้ห้อง "ทองธารา" เรียก
บิ๊กช้าง พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกลาโหม บิ๊กปุย พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผบ.ทหารสูงสุด บิ๊กเจี๊ยบ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. บิ๊กณะ พลเรือเอกณะ อารีนิจ ผบ.ทร. บิ๊กจอม พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผบ.ทอ. และ บิ๊กแป๊ะ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. หารือเป็นการส่วนตัว ราว 15 นาที หลัง เสร็จพิธีเปิด ตึกภักดีบดินทร์ ....บิ๊กเจี๊ยบ เผย คุย "เรื่องลับ"...แฮะๆๆ
แต่คาด มีคุยเรื่อง ความคืบหน้า เกี่ยวกับการหลบหนีของ "ยิ่งลักษณ์"

"นายกฯ"นำครม.-ผบ.เหล่าทัพ ทำบุญและเปิด "ตึกภักดีบดินทร์"

10-10-10‬
‪"นายกฯ"นำครม.-ผบ.เหล่าทัพ ทำบุญและเปิด "ตึกภักดีบดินทร์" ตึกใหม่ ในทำเนียบรัฐบาล ....ใช้ฤกษ์ ขึ้น10ค่ำ เดือน10 เวลา10.30น.31สค.2560‬....นายกฯตั้งชื่อ "ภักดีบดินทร์" แสดงความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่10 ...ห้อโดยภายใน มี ห้อง"ทองธารา" เฉลิมพระเกียรติ "ร.9" และห้อง "วนาสิริ" เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

สมาชิกใหม่ แห่ง บ้านนรสิงห์..."ตึกภักดีบดินทร์"

ต้อนรับ สมาชิกใหม่ แห่ง บ้านนรสิงห์..."ตึกภักดีบดินทร์"
อาคารเรือนรับรอง"ภักดีบดินทร์" 137 ล้าน ทำเนียบรัฐบาล หลังตึกไทยคู่ฟ้า....เสร็จสมบูรณ์แล้ว ...แม้เป็นอาคารรับรอง แต่ก็เรียกว่า"ตึกภักดีบดินทร์".....นายกฯบิ๊กตู่ขอขนานนาม ตั้งชื่อเอง สะท้อนความจงรักภักดี ต่อกษัตริย์ ต่อ ร.10....ส่วนห้องรับรอง "ทองธารา" เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ส่วน ห้อง"วนาสิริ" เฉลิมพระเกียรติ พระราชินีนาถฯ....มี แก้วน้ำ "ตึกภักดีบดินทร์ " ด้วย สุดคลาสสิค
นายกฯจะ ทำบุญ พระ10รูป เปิดใช้ 31สค.60‬

'ทางนรก-ทางสวรรค์' ของพงศ์พร

เวลา "ผู้ใหญ่" ที่เราเคารพนับถือเสียชีวิต โบราณห้ามลูกหลานร้องไห้
ถ้าร้อง...........
น้ำตาจะพันแข้ง-พันขาท่านไว้ จะไปเกิดในภพภูมิใหม่ก็ไม่ได้ เพราะห่วง
"พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์" กำลังตกอยู่ในลักษณะนี้!
เมื่ออังคาร (๒๙ ส.ค.๖๐)
ครม.มีมติย้ายท่านจากตำแหน่ง "ผอ.สำนักพุทธ" ไปเป็น "ผู้ตรวจราชการสำนักนายกฯ"
"พ่อยก-แม่ยก" ตกใจ ว่าท่านกำลังปราบปลวกในดงเหลืองมีผลสัมฤทธิ์ "ตายยกรัง" เห็นๆ ประทับใจญาติโยมเหลือหลาย
แล้วทำไม "นายกฯ ลุงตู่" ใจร้าย...........
นายังไม่ทันเสร็จดี เชือดโคถึกทำลาบเลือดซะแล้ว!
ก็เอะอะ-โวยวาย "ด้วยรักและห่วงใย" พ.ต.ท.พงศ์พรกันขนานใหญ่
ไปถึงขั้นว่า..........
รัฐบาลทนแรงกดดัน "มาเฟียสงฆ์" ไม่ไหว
จำต้องให้ย้ายออกไป เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่าง "ปลวกเหลือง" กับ "มือปราบเงินทอน"
ตอนนี้ "พ่อยก-แม่ยก" พ.ต.ท.พงศ์พร ไปถึงขั้นล่าชื่อ เพื่อยื่นให้นายกฯ ลุงตู่ทบทวนการย้าย!
ก็ "ภูมิใจ" แทนมือปราบเงินทอนนะ อย่าว่าแต่ชาวบ้านรัก ไม่ต้องการให้ย้ายท่านเลย ผมก็ไม่อยากให้ย้าย
เห็นมติ ครม.ออกมาทีแรก ยังตกใจ
แต่พอทบทวน ก็เข้าใจ.............
เห็นเหตุผลในการย้ายตามเส้นทางราชการและตาม "ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธี" ทหาร
เพื่อบรรลุเป้าหมายในภารกิจ
ผู้บังคับบัญชาย่อมรู้ ควรเลือกใช้คนไหน-ในกาลไหน งานจึงจะไม่ติดขัด?
ฉะนั้น พวกเรา ก็เหมือนคน "ดูหนัง-ดูละคร" ก็จินตนาการไปตามที่เห็นเฉพาะ "หน้าฉาก"
แต่หลังฉาก.........
เราก็ไม่รู้ว่า เรื่องปลวก-ด้วง-แมง ที่แทะไชพระพุทธศาสนาอยู่ในวงการคณะสงฆ์มานมนาน
เสร็จขั้นตอน "รื้อพื้นหน้า" ให้เห็นฝูงปลวกในดงเหลืองชั้นใน ว่ายุ่บยั่บอยู่ตรงไหน-ต่อตรงไหนแล้ว
ก็ถึงขั้นตอนปราบ เยียวยารักษา บูรณะ-ฟื้นฟู ให้คืนสภาพ
จะให้ พ.ต.ท.พงศ์พร เป็นทั้ง ช่างรื้อ-ช่างซ่อม-ช่างสร้าง-ช่างรักษา คนเดียวเบ็ดเสร็จ สไตล์ "วัน สตอป เซอร์วิส" คงไม่ใช่
ฉะนั้น "รอซักครู่" ดีกว่า............
คือรอดู นายกฯ ลุงตู่ จะเอาใครมา "เก็บงาน-สานต่อ" ในตำแหน่ง ผอ.สำนักพุทธ จากที่ พ.ต.ท.พงศ์พรเปิดหน้าปลวกไว้ให้
คนทั่วไป มักมอง "ตำแหน่งผู้ตรวจราชการ" เป็นตำแหน่งลอย ไม่มีงาน ไม่มีอำนาจอะไร ถูกเรียกเข้าไปเก็บกรุ
ก็มีส่วนถูก ระบบบริหารราชการงานเมือง มักเป็นเช่นนั้น แต่อย่าลืม ระบบราชการเป็นขั้นๆ จึงมีคำว่า "ไต่เต้า"
หมายถึงเติบโตขึ้นไปตามลำดับชั้นน่ะ!
พ.ต.ท.พงศ์พร นั้น ตอนอยู่ดีเอสไอ แค่ระดับ ๙ ธรรมดา
แต่ด้วย "เพชรมีค่าในตัว"..........
นายกฯ มองเห็นแสง จึงเอามาเป็น "มือปราบเงินทอน" ในขณะที่กลุ่มปลวกในวงการสงฆ์กับคนสำนักพุทธร่วมอร่อยในถังคูถ
มาเป็นผู้บริหารชั้นสูง "ระดับ ๑๐" ในตำแหน่ง ผอ.สำนักพุทธ เมื่อกุมภา ๖๐
และนั่น พ.ต.ท.พงศ์พร ก็ไม่ทำให้ทั้งนายกฯ ทั้งญาติโยม พ่อยก-แม่ยก และสงฆ์บริสุทธิ์ทั้งหลาย ต้องผิดหวัง
ภารกิจที่รัฐบาลมอบหมาย
ให้ไป "รื้อ-ล้าง" ปลวก
ไม่ได้ให้ไป "รื้อ-ล้ม" คณะสงฆ์!
๖-๗ เดือน ก็บรรลุ "การรื้อ-ล้าง" ปลวกระดับหนึ่ง ถึง พ.ต.ท.พงศ์พรย้ายไป
เรื่องฉาวคาวสงฆ์เกี่ยวกับเงินทอนที่รื้อไว้ ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะล้ม
เพราะแต่ละเรื่อง เข้าสู่กระบวนการคดีความแล้ว
หมายถึงว่า ไม่มี พ.ต.ท.พงศ์พร ก็ไม่มีปัญหา เรื่องเลยขั้นตอนสำนักพุทธ สู่คดีความ ที่ใครจะฉุดไม่ให้ไปถึงศาลไม่ได้แล้ว!
ควรต้องรู้............
สำนักพุทธเป็นหน่วยงานราชการระดับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี นายกฯ ประยุทธ์ "เป็นผู้บังคับบัญชา"
ตอนนี้ "นายออมสิน ชีวะพฤกษ์" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รับมอบหมายเป็นผู้ดูแล
ก็คงพอมองเห็น ว่าที่ย้าย พ.ต.ท.พงศ์พรไปเป็นผู้ตรวจสำนักนายกฯ นั้น ไม่ใช่ให้มาจำศีล หรือพ้นขาดงานสำนักพุทธ
พูดกันตรงๆ..........
ว่าที่ระดับ ๑๑ ขึ้นมาคุม "ผอ.สำนักพุทธ" ซึ่งแค่ระดับ ๑๐ อีกชั้นด้วยซ้ำ!
ในมุมมองผม ผิด-ถูกไม่รู้นะ
ด้วยศิลปบริหาร การย้าย พ.ต.ท.พงศ์พร ตอนนี้ ถือว่าถูกกาล-ถูกเวลา
ต้องไม่ลืม ผอ.สำนักพุทธ ในที่นี้ หมายถึง พ.ต.ท.พงศ์พร มีหน้าที่เป็น "เลขาธิการมหาเถรสมาคม" ด้วย
แต่ทีนี้ คงทราบ...........
ที่ผ่านมา "ด้วง-ปลวก-แมลง" กัดแทะคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา ไม่มีเพียงเดียรถีย์-อลัชชี ระดับล่างๆ เท่านั้น
ระดับใหญ่ "เป็นลูกพี่คุม" ก็เยอะ!
ยิ่ง พ.ต.ท.พงศ์พร รื้อให้เห็นรังปลวกในระบบเงินทอน เผยหน้า-จาระไนชื่อ-สมณศักดิ์-วัดวา ออกมา
อื้อฮือ.............
เสาหลักคณะสงฆ์ "หลายเสา"....คือตัวการ!
ถ้าติดตามข่าว จะพบว่า การประชุมมหาเถรฯ หลายครั้ง เลขาฯ คือ พ.ต.ท.พงศ์พร ไม่ได้เข้าไปทำหน้าที่
คือ ครม.สงฆ์ประชุม............
แต่เลขาฯ ครม.ไม่เข้าทำหน้าที่ ด้วยเข้าหน้ากันไม่สนิท ประสานงาน กลายเป็นประสานงา
เพราะรัฐมนตรี "หลายคน" ใน ครม.นั้น
โยงใยอยู่ใน "กลุ่มปลวก" เงินทอน!?
ไปดูรายชื่อคณะกรรมการมหาเถรสมาคม แล้วเทียบกับรายชื่อที่ตกเป็นข่าวพัวพันแก๊งเงินทอนดูก็ได้
ว่ารูปไหน-วัดไหน............
และบางราย โกรธแค้น ถึงขั้นประกาศ "คว่ำบาตร" พ.ต.ท.พงศ์พรก็มี!
ยังไม่ต้องพูดถึง "บริวารปลวก" ที่เคลื่อนไหวขับไล่ ยื่นเงื่อนไขให้นายกฯ ย้าย ผอ.สำนักพุทธคนนี้ออกไป
ในเมื่อเลขาฯ ครม.กับรัฐมนตรีหลายคน "ทำงานร่วมกันไม่ได้" ดังกล่าว ปล่อยไปอย่างนั้น จะเสียหายในทางบริหารราชการงานเมือง
ถ้าเป็น ครม.อาณาจักร ........
นายกฯ ต้องแก้ปัญหา คือต้องตัดสินใจเลือกเอาว่า
จะเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี หรือจะเปลี่ยนตัวเลขาฯ เพื่อระงับปัญหา เรื่องส่วนตัวทำลายเรื่องส่วนรวม?
แต่นี่เป็น ครม.พุทธจักร.............
ทั้งกฎหมาย ทั้งธรรมเนียมปฏิบัติ "รัฐมนตรีสงฆ์" เป็นเรื่องของสงฆ์ รัฐบาลจะไปยุ่มย่ามนอกกรอบ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ไม่ได้
โบราณก็บอกแล้ว "ชั่วช่างชี-ดีช่างสงฆ์"
ดังนั้น ส่วนที่ฝ่ายรัฐบาลจะยุ่งได้ คือ "ตัว ผอ.สำนักพุทธ" ที่เป็นเลขาฯ "ครม.สงฆ์" นั่นแหละ
ถ้าผมเป็น ผอ.พงศ์พร ผมก็อยากย้ายเหมือนกัน!
มีหน้าที่ทำงานกับพระ ...........
แต่บางพระเป็นเสียเอง นำไปสู่ความ "ไม่ชอบหน้า" ถึงขั้นงานการสะดุด
ในเมื่อสวรรค์ไปทางไหน นรกไปทางไหน ต่างรู้ทางไปด้วยกัน แต่เมื่อเดินไปทางเดียวกันไม่ได้
"หลีกทาง" ให้พระคุณเจ้าดีกว่า!
ไปเป็นผู้ตรวจฯ คอยไปตรวจงานสำนักพุทธ ผ่าน ผอ.คนใหม่ ดีซะอีก จะได้........
"ได้หมด ถ้าสดชื่น" ทั้ง ๓ ฝ่าย!
คือฝ่ายข้าราชการสำนักพุทธ, ฝ่ายคณะสงฆ์ และฝ่ายบ้านเมือง
นี่...ผมก็ว่าไปตามมุมมองผม ส่วนจะ ใช่-ไม่ใช่ ก็ตรองกันเอง
รู้จักคำว่า "กินตัว" ใช่มั้ย?
เรื่องศาสนา เรื่องพระสงฆ์องคเจ้า ก็ประมาณนั้น
เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ต้องปล่อยตามระยะ ให้การกระทำ "กินตัว" ไปเอง!
ตบท้าย เลียนแบบ "ท่านขุนน้อย" ซะหน่อย
"มงแต็สกีเยอ" กล่าวว่า...........
"ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือในนามของกระบวนการยุติธรรม"
"แม้วแต๊สกีเยอ" กล่าวว่า......
"ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่นายกฯ เลือกตั้งกระทำโดยอาศัยอำนาจรัฐบาลประชาธิปไตย 'โกงเอาไปแบ่งกัน' ".

อย่าลืมความน่าเชื่อถือ

อย่าลืมความน่าเชื่อถือ

จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขณะนี้ ถ้ามีโพลถามความเห็นประชาชน เชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการหนีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คนส่วนใหญ่คงจะตอบว่า “ไม่เชื่อ” แม้รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงจะยืนยันไม่รู้ไม่เห็น และนายกรัฐมนตรีตอบคำถามของสื่อว่า “ใครจะไปปล่อย จะปล่อยได้ยังไง ทำไมคิดแบบนี้ ไม่มีใครเขาบ้าทำ”

เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไม่เชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงจะสามารถหนีไปได้ เนื่องจากนับแต่วันที่ศาลฎีกาฯรับฟ้องคดี ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกกล่าวหาปล่อยปละละเลยโครงการรับจำนำข้าว และถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนๆ จะมีทั้งทหารและตำรวจติดตาม ทั้งในและนอก เครื่องแบบ แต่จะปล่อยหละหลวมให้คลาดสายตาในช่วงสำคัญได้อย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองส่วนใหญ่เชื่อว่า การหลบหนีออกนอกประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม จะเป็นผลดีต่อทุกฝ่ายในทางการเมือง ผู้หลบหนีไม่ต้องเสี่ยงติดคุก ขณะเดียวกันรัฐบาล คสช.ก็ได้ประโยชน์ไม่ต้องถูกมวลชนกลุ่มเสื้อแดงกดดันหรือก่อความวุ่นวาย หากจำเลยถูกพิพากษาว่าทำผิด จริงตามฟ้อง และถูกจำคุก

ในทางการเมือง เชื่อกันว่าการหนีศาลของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงจะทำให้พรรคเพื่อไทยอ่อนแอลงมาก ขณะเดียวกันพลังทางการเมืองของ คสช.จะเข้มข้นยิ่งขึ้น เป็นผลดีต่อการต่อสู้ทางการเมืองในวันหน้า ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์จะขาดความเชื่อถือศรัทธา แม้แต่ในกลุ่มผู้สนับสนุนที่เคยยกย่องเป็นวีรสตรีนักต่อสู้ประชาธิปไตย เทียบได้กับอองซาน ซูจีของพม่า

แต่ในที่สุด อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และคนเดียวของประเทศไทย ก็ตัดช่องน้อยแต่พอตัว หนีคดีไปต่างประเทศ ปล่อยให้อดีตรัฐมนตรี 2 นาย ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก คนละ 36 และ 42 ปี ในความผิดเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้เป็นพี่ชายเป็นนโยบายที่อ้างว่าไม่อาจเลิกหรือปรับเปลี่ยน

แต่รัฐบาลก็อาจได้รับผลกระทบ ไม่มากก็น้อย เสี่ยงต่อการขาดความเชื่อถือของประชาชนบางส่วนที่อาจไม่เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์หนีไปได้ด้วยตัวเอง ความเชื่อถือของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารประเทศของรัฐบาล เคยมีตัวอย่างสหรัฐอเมริกาที่ต้องแพ้สงครามเวียดนาม สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้แพ้ เพราะประชาชนขาด ความเชื่อถือรัฐบาล

รัฐบาลมีอำนาจหน้าที่สำคัญ คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุใดๆ นายกรัฐมนตรีย้ำอย่างหนักแน่นและต่อเนื่องให้คนไทยเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย และประกาศว่ารัฐบาลทำทุกอย่างตามกฎหมาย จึงต้องไม่เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความสงสัยในคดีสำคัญ และจำเลยสำคัญระดับอดีตนายกรัฐมนตรี.

รีบเคลมเกมเข้าทาง

รีบเคลมเกมเข้าทาง

“ประทัด” ดอกแรกถูกโยนออกมาท่ามกลางความเงียบ

ล่าสุดอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ทวีตข้อความยกคำพูดของ “มงแต็สกีเยอ” นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส

“ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือในนามของกระบวนการยุติธรรม”

เป็นรหัสให้แปรความหมายเป็นนัย โยงกับปรากฏการณ์ที่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กำลัง “ล่องหน” หลังไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหายในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จนถูกศาลฯออกหมายจับประทับตราผู้ต้องหาหนีคดีซ้ำรอยพี่ชาย

ตามเหลี่ยม “นายใหญ่” ต้องขยับยื้อความชอบธรรมให้น้องสาวไว้ก่อน

อีกทางหนึ่งก็ต้องขยับประคองกระแสหลังอาฟเตอร์ช็อก “ปูล่องหน” ล่าสุดพรรคเพื่อไทยรีบชิงออกแถลงการณ์เรื่อง “การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยใน อนาคต” หลังอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ไม่มาปรากฏตัวต่อศาลเพื่อฟังคำพิพากษาในคดีจำนำข้าว

โดยยืนยันจะยังคงดำรงความเป็นพรรคการเมืองเพื่อประชาชน ที่จะสร้างความเข้มแข็ง และโอกาสในชีวิตให้แก่ประชาชนต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ อุดมการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง แสดงพลังความพร้อมในการขับเคลื่อนต่อไป

ท่ามกลางเครื่องหมายคำถามถึงการยกเครื่องใหญ่ จุดเปลี่ยนของพรรคเพื่อไทย

ตระกูล “ชินวัตร” จะยังยื้อระบบบริหารแบบ “บริษัทจำกัด” ไว้หรือไม่ แล้วจะกล้า ส่งใครมาเป็นเหยื่อชะตากรรมย่ำรอย “ทักษิณ–ยิ่งลักษณ์”

“เจ๊แดง” นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะลุ้นสามีอย่างนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ปลดเปลื้องพันธนาการทางคดี มีคุณสมบัติที่จะลงสนามเลือกตั้ง ไปแก้ตัวในสถานะนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เข้าทำเนียบฯหรือไม่

ยี่ห้อ “ทักษิณ” อยู่ในภาวะเสียอาการทรงตัวอย่างแรง

ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์ที่หักมุมกันเลยกับอาการคึกคักของ “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ที่ประกาศดังๆ วันนี้ทุกอย่างกำลังไปด้วยดี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเขียวทั้งกระดาน เป็นยังไงบ้าง เคยมีบ้างไหม อยากให้บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ตลอดไป
ในอารมณ์ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ชี้เลยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เนื่องมาจากนักลงทุนต่างชาติมองเห็นว่าโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของไทยล่าสุดได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย มีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมที่มีความกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้น แต่ขณะนี้เมฆหมอกก็เริ่มกระจายตัวแล้ว

ตามแนวโน้มสัญญาณเชิงบวกทางเศรษฐกิจที่ออกมาต่อเนื่อง จากที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ของปี 2560 ขยายตัว 3.7 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในรอบ 17 ไตรมาส ขณะที่สถานการณ์ส่งออกเดือนกรกฎาคม โตร้อยละ 10.5 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ในรอบ 7 เดือน สูงสุดในรอบ 6 ปี ตลาดหุ้นบวกทะลุ 1,600 จุด

สะท้อนว่านักลงทุนประเมินการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดี

ตามเงื่อนไขสถานการณ์ที่รัฐบาล คสช.รีบตีธงเดินหน้ายุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ “ประชารัฐสวัสดิการ” ให้ความช่วยเหลือผ่าน “บัตร สวัสดิการแห่งรัฐ” ตามที่กระทรวงการคลังเสนอวงเงินเริ่มต้น 41,940 ล้านบาท

ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยกว่า 11.6 ล้านคน

เป้าหมายเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ทั้งค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตรจากร้านค้าประชารัฐ และร้านอื่นๆที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด อีกส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง ได้แก่ รถเมล์ รถไฟฟ้า รถโดยสาร บขส.และรถไฟ

โดยเริ่มแจกจ่ายบัตรได้ในวันที่ 21 กันยายน เพื่อให้ทันใช้บัตรได้ในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป

ในจังหวะตีเหล็กกำลังร้อน เหลี่ยมการตลาดที่เปิดตัวได้แรง รัฐบาล คสช.ชิงกระตุกกระแสประชารัฐสวัสดิการซื้อใจประชาชนฐานราก

ตามรูปการณ์ที่เห็น “ยิ่งลักษณ์” ล่องหน แนวรบด้าน “ทักษิณ” แผ่วเบา

เป็นบวกกับ คสช.ในระยะยาว ค่อนข้างชัดเจน.

ทีมข่าวการเมือง

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

"ชูวิทย์"พูดถึง"สรยุทธ"

Tanakorn Ritu และ ThairathTV ได้แชร์โพสต์ของ ชูวิทย์ I'm Back
ชูวิทย์ I'm Back
2 ชม.
ผมเริ่มรู้จักสรยุทธตั้งแต่สิบกว่าปีก่อนในรายการ “ถึงลูกถึงคน” ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูง เพราะสรยุทธมีวิธีการซักถามที่ไม่เหมือนใคร มีทั้งรุกและถอย ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาซักจนแขกที่มาร่วมรายการเสียความรู้สึก
นี่เป็นบุคลิกที่ดีของผู้ทำรายการประเภทเชื้อเชิญแขกมาร่วมสนทนา เพราะต้องควบคุมประเด็นไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง บางครั้งผู้ร่วมรายการพูดเลอะเทอะและยืดยาวจนทำให้รายการน่าเบื่อ สรยุทธสามารถตัดทอนและซักถามให้เกิดความหลากหลาย ครบถ้วนทุกประเด็นในเวลาสั้นๆ
จะจัดรายการตามใจหรือปล่อยให้เลยเถิดมากไปไม่ได้
ความที่สรยุทธนั้นแตกต่างจากพิธีกรคนอื่นๆ มีบุคลิกที่โดดเด่นและมีวินัยในการทำงาน ยืนหยัดอยู่บนจอทีวีมากว่าสิบปีโดยไม่ขาดเลยแม้แต่วันเดียว เหมือนแบรนด์สินค้าที่ตอกย้ำให้คนดูเห็นอยู่ทุกวี่ทุกวัน เป็นเหตุให้เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง หากไม่มีกรณีที่เป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล เขาจะพุ่งไม่หยุดฉุดไม่อยู่
ผมเชื่อว่าสรยุทธมีเพื่อนอยู่ไม่มาก แม้สรยุทธเป็นคนเข้มแข็ง มีตัวตนที่ชัดเจน แต่ยามที่เพื่อนตกต่ำถึงขนาดติดคุกติดตะรางจะไม่ไปเยี่ยมให้กำลังใจนั้น คนอย่างผมทำไม่ได้
ยิ่งเคยผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นนักโทษมาก่อน วันนี้ก็อดไม่ได้ที่จะไปเยี่ยม แนะนำการปรับตัวปรับใจที่ต้องบอกเสียก่อนว่าไม่ได้ทำกันง่ายๆ
โลกเรานี้หมุนเวียนเปลี่ยนไป วันก่อนสรยุทธอ่านข่าวชูวิทย์ แต่วันนี้กลายเป็นชูวิทย์อ่านข่าวสรยุทธ
วันก่อนพูดไปใครจะเชื่อ แต่วันนี้ดันเกิดขึ้นจริงๆ

มงแต็สกีเยอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งแบรดและมงแต็สกีเยอ (ฝรั่งเศสCharles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (ฝรั่งเศสMontesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา เกิด ณ ปราสาทลาแบรด ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส บิดามีนามว่าฌัก เดอ เซอกงดา เป็นนายทหารซึ่งเกิดในตระกูลผู้ดี ย่าของชาร์ลนามว่ามารี-ฟร็องซวซ เดอ แป็สแนล ซึ่งเสียชีวิตเมื่อบิดาของชาร์ลมีอายุได้เพียง 7 ขวบ เป็นผู้รับมรดกทางการเงินก้อนใหญ่และเป็นผู้ทำให้ตระกูลเซอกงดาได้รับบรรดาศักดิ์ ลาแบรด ของขุนนางบารอน ภายหลังได้เข้ารับการศึกษาจากวิทยาลัยคาทอลิกแห่งฌุยยี ชาร์ลได้แต่งงานกับหญิงชาวโปรเตสแตนต์นามว่าฌาน เดอ ลาร์ตีก ซึ่งได้มอบสินสอดให้แก่ชาร์ลเมื่อเขาอายุได้ 26 ปี ในปีถัดมาชาร์ลได้รับมรดกจากการที่ลุงของเขาที่เสียชีวิตลงและยังได้รับบรรดาศักดิ์ บารงเดอมงแต็สกีเยอ รวมถึงตำแหน่ง เพรซีด็องอามอร์ตีเย ในรัฐสภาเมืองบอร์โดอีกด้วย ในช่วงเวลานี้เองที่อังกฤษประกาศว่าตนเองเป็นประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (ค.ศ. 1688–1689) และได้รวมเข้ากับสกอตแลนด์จากพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ในการก่อตั้งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ถัดมาในปี ค.ศ. 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานสวรรคตและได้รับการสืบทอดราชบัลลังก์โดยโอรสพระชนมายุ 5 พรรษา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของชาติครั้งนี้เองที่มีผลอย่างมากต่อตัวของชาร์ล และกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นี้จะถูกกล่าวถึงในงานเขียนของชาร์ลมากมายในเวลาต่อมา
เวลาต่อมาเพียงไม่นานเขาก็ประสบความสำเร็จทางด้านวรรณกรรมจากการตีพิมพ์ แล็ทร์แปร์ซาน (จดหมายเหตุเปอร์เซีย–ค.ศ. 1721) งานเขียนเสียดสีซึ่งสมมติถึงชาวเปอร์เซียผู้เขียนจดหมายตอบโต้ระหว่างเดินทางมายังปารีส ชี้ให้เห็นถึงความไร้สาระของสังคมร่วมสมัย ต่อมาเขาได้ตีพิมพ์ กงซีเดราซียง ซูร์ เล โกซ เดอ ลา กร็องเดอร์ เด รอแม็ง เอ เดอ เลอร์ เดกาด็องส์ (ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่และความเสื่อมถอยของชาวโรมัน–ค.ศ. 1734) ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าเป็นผลงานที่เชื่อมระหว่าง แล็ทร์แปร์ซาน กับผลงานชิ้นเอกของเขา เดอแล็สพรีเดลัว (จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย) ซึ่งแต่แรกในปี ค.ศ. 1748 ถูกตีพิมพ์โดยไม่ระบุชื่อผู้เขียน และได้กลายมาเป็นงานเขียนซึ่งมีอิทธิพลมหาศาลต่อสังคมภายในเวลาอันรวดเร็ว ในฝรั่งเศสการตอบรับต่องานเขียนนี้ไม่ค่อยจะเป็นมิตรมากนักทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านระบอบการปกครองปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1751 โบสถ์คาทอลิกทั่วประเทศประกาศห้ามเผยแพร่ แล็สพรี–รวมไปถึงงานเขียนชิ้นอื่นของมงแต็สกีเยอ–และถูกบรรจุอยู่ในรายชื่อหนังสือต้องห้าม แต่ในส่วนอื่นของยุโรปกลับได้การตอบรับอย่างสูงโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร
มงแต็สกีเยอได้รับการยกย่องอย่างสูงจากอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาเหนือ ในฐานะผู้สนับสนุนเสรีภาพแบบอังกฤษ (แม้จะไม่ใช่ผู้สนับสนุนเอกราชของอเมริกา) นักรัฐศาสตร์ โดนัลด์ ลุตซ์ พบว่ามงแต็สกีเยอคือบุคคลทางรัฐศาสตร์และการเมืองที่ถูกเอ่ยถึงมากที่สุดบนแผ่นดินอเมริกาเหนือช่วงก่อนเกิดการปฏิวัติอเมริกา ซึ่งถูกอ้างอิงมากกว่าแหล่งอื่น ๆ โดยผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา เป็นรองก็แต่เพียงคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น[1] ตามมาด้วยการปฏิวัติอเมริกา งานเขียนของมงแต็สกีเยอยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อเหล่าผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะเจมส์ แมดิสันแห่งเวอร์จิเนีย , บิดาแห่งรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ปรัชญาของมงแต็สกีเยอที่ว่า "รัฐบาลควรถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อที่จะได้ไม่มีมนุษย์ผู้ใดระแวงกันเอง" ได้ยั้งเตือนแมดิสันและผู้อื่นในคณะว่ารากฐานที่เสรีและมั่นคงของรัฐบาลแห่งชาติใหม่นั้นจำเป็นจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจที่ถ่วงดุลและถูกกำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
นอกจากการประพันธ์งานเขียนเกี่ยวกับการเมืองและสังคมแล้ว มงแต็สกีเยอยังใช้เวลาหลายปีในการเดินทางไปทั่วยุโรป เช่น ออสเตรียและฮังการี ใช้ชีวิตหนึ่งปีเต็มในอิตาลีและอีก 18 เดือนในอังกฤษ ก่อนที่เขาจะกลับมาพำนักในฝรั่งเศสอีกครั้ง เขาทุกข์ทรมานจากสายตาที่ย่ำแย่ลงจนกระทั่งบอดสนิทในช่วงที่เขาเสียชีวิตจากอาการไข้สูงในปี ค.ศ. 1755 มงแต็สกีเยอถูกฝัง ณ สุสานของโบสถ์แซ็ง-ซูลปิสในกรุงปารีส

ปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์[แก้]

หลักปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์ของมงแต็สกีเยอได้ลดบทบาทของเหตุการณ์ย่อยและปัจเจกบุคคลลง ซึ่งเขาได้อธิบายทรรศนะนี้ไว้ใน กงซีเดราซียง ซูร์ เล โกซ เดอ ลา กร็องเดอร์ เด รอแม็ง เอ เดอ เลอร์ เดกาด็องส์ ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แต่ละครั้งล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนโดยกระบวนการความเป็นไปของโลก
มันไม่ใช่โชคชะตาที่กำหนดความเป็นไปของโลก ถามชาวโรมันสิ, ผู้ซึ่งประสบกับความสำเร็จสืบเนื่องกันหลายครั้งหลายคราในช่วงที่พวกเขาถูกชักนำโดยแผนการอันชาญฉลาด ในทางกลับกัน, พวกเขาก็เผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายและความเสื่อมถอยเมื่อดำเนินตามอีกแผนการหนึ่ง มันอธิบายได้ว่ามีสาเหตุทั่วไปทั้งทางด้านศีลธรรมและรูปธรรมซึ่งส่งผลต่อกษัตริย์โรมันทุกพระองค์ ทั้งการยกระดับบารมี, การดำรงอยู่ของพระราชอำนาจ หรือแม้แต่การทำให้พระบารมีของกษัตริย์เองนั้นตกต่ำจรดดิน แม้แต่อุบัติเหตุเองก็ถูกควบคุมโดยสาเหตุตัวแปรเหล่านี้ และถ้าหากการรบเพียงครั้งเดียว (ซึ่งเป็นสาเหตุ) ได้นำพารัฐไปสู่ความล่มสลาย ก็จะอธิบายได้ว่าเหตุผลโดยทั่วไปเป็นตัวที่ทำให้ประเทศนั้นถึงกาลสูญสิ้นจากการรบครั้งนั้น ทำให้แนวโน้มความเป็นไปของโลกจึงถูกรังสรรค์ขึ้นจากเหตุการณ์ที่อุบัติสืบเนื่องต่อ ๆ กันมา[2]
ในข้ออภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโรมันจากสาธารณรัฐไปสู่จักรวรรดิ มงแต็สกีเยอได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า หากจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ไม่ได้กระตือรือร้นที่จะช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลสาธารณรัฐแล้ว อย่างไรก็ดีจะต้องมีบุคคลผู้อื่นมากระทำการนี้แทนเขาสองคนอย่างแน่นอน ชี้ให้เห็นว่าต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เกิดจากตัวจูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ หากแต่เกิดจากความทะเยอทะยานของมนุษย์ชาวโรมันนั่นเอง

ทรรศนะทางการเมือง[แก้]

มงแต็สกีเยอถือว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาแถวหน้าของมานุษยวิทยาร่วมกับเฮโรโดตุสและแทซิทัส ที่เป็นหนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ตีแผ่ข้อเปรียบเทียบของกระบวนการจำแนกรูปแบบทางการเมืองในสังคมมนุษย์ อันที่จริงแล้วนักมานุษยวิทยาการเมืองชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่ายอร์ช บาล็องดิแยร์ พิจารณามงแต็สกีเยอว่าเป็น "ผู้ริเริ่มองค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งเคยมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อวงการมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมและสังคม"[3] ตามคำกล่าวอ้างของดี.เอฟ. โพคอค นักมานุษยวิทยาทางสังคม "จิตวิญญาณของกฎหมายของมงแต็สกีเยอคือความพยายามครั้งแรกในการที่จะสำรวจความหลากหลายของสังคมมนุษย์, เพื่อที่จะจำแนกและเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาระบบการทำงานระหว่างสถาบันในสังคม"[4] และหลักมานุษยวิทยาทางการเมืองนี้เองได้นำเขาไปสู่การคิดค้นทฤษฎีว่าด้วยรัฐบาลในเวลาต่อมา
ผลงานเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของเขาได้แบ่งแยกฝรั่งเศสออกเป็นสามชนชั้นได้แก่ พระมหากษัตริย์อภิสิทธิ์ชน และประชาชนทั่วไป แล้วเขายังมองเห็นรูปแบบอำนาจของรัฐออกเป็นสองแบบคืออำนาจอธิปไตยและอำนาจบริหารรัฐกิจ ซึ่งอำนาจบริหารรัฐกิจประกอบด้วยอำนาจบริหารอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ โดยแต่ละอำนาจควรเป็นอิสระและแยกออกจากกัน ทำให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่สามารถก้าวก่ายอีกสองอำนาจที่เหลือหรือรวมกันเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จได้ หากพิจารณาในแบบยุคสมัยของมงแต็สกีเยอแล้ว แนวคิดนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นแนวคิดหัวรุนแรง เพราะหลักการของแนวคิดดังกล่าวเท่ากับเป็นการล้มล้างการปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้นที่ยึดถือฐานันดรแห่งราชอาณาจักรอย่างสิ้นเชิง โดยฐานันดรแห่งรัฐประกอบด้วยสามฐานันดรคือ เคลอจี, อภิสิทธิ์ชนหรือขุนนาง และประชาชนทั่วไป ซึ่งฐานันดรสุดท้ายมีผู้แทนในสภาฐานันดรมากที่สุด และท้ายที่สุดแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่ทำลายระบบฟิวดัลในฝรั่งเศสลง
ขณะเดียวกันมงแต็สกีเยอได้ออกแบบรูปแบบการปกครองออกเป็นสามแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกสนับสนุนด้วย หลักการทางสังคม ของตัวมันเอง ได้แก่
  • ราชาธิปไตย (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลอันสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ เช่น กษัตริย์, จักรพรรดิ หรือราชินี) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของเกียรติยศ
  • สาธารณรัฐ (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของคุณธรรม
  • เผด็จการ (รัฐบาลกดขี่ที่มีประมุขเป็นผู้นำเผด็จการ) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของความยำเกรง
ซึ่งรัฐบาลอิสระจะขึ้นอยู่กับการเตรียมการทางกฎหมายอันเปราะบาง มงแต็สกีเยอได้อุทิศเนื้อหาสี่บทใน จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย ในการอภิปรายประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศรัฐบาลอิสระร่วมสมัยที่ซึ่งเสรีภาพคงอยู่ได้ด้วยการถ่วงดุลอำนาจ และมงแต็สกีเยอยังกังวลว่าอำนาจในฝรั่งเศสที่อยู่กึ่งกลาง (เช่น ระบบขุนนาง) ที่ทัดทานกับอำนาจของราชวงศ์นั้นกำลังเสื่อมสลายลง แนวคิดการควบคุมอำนาจนี้เองที่บ่อยครั้งมักถูกนำไปใช้โดยมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดที่มงแต็สกีเยอระบุไว้ในจิตวิญญาณแห่งกฎหมายในการสนับสนุนการปฏิรูประบบทาสนั้นค่อนข้างจะล้ำหน้ากว่ายุคสมัยที่เขามีชีวิตอยู่ เขายังได้นำเสนอข้อโต้แย้งสมมติเชิงเสียดสีเกี่ยวกับความเป็นทาสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในข้อสนับสนุนของเขาไว้ด้วย อย่างไรก็ดีทรรศนะของมงแต็สกีเยอหลายหัวข้ออาจถูกโต้แย้งและถกเถียงในปัจจุบันเช่นเดียวกับทรรศนะอื่น ๆ ที่มาจากบุคคลยุคเดียวกับเขา เขายอมรับถึงบทบาทของตระกูลขุนนางและราชวงศ์ไว้อย่างเหนียวแน่นเช่นเดียวกันกับการยอมรับถึงสิทธิของบุตรหัวปี ในขณะเดียวกันเขาก็รับรองแนวคิดของการมีสตรีเป็นประมุขของประเทศ แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวได้

อ้างอิง[แก้]

  1. กระโดดขึ้น "The Relative Influence of European Writers on Late Eighteenth-Century American Political Thought," American Political Science Review 78,1(March, 1984), 189-197.
  2. กระโดดขึ้น Montesquieu (1734), Considerations on the Causes of the Greatness of the Romans and their Decline, The Free Press, สืบค้นเมื่อ 2011-11-30 Ch. XVIII.
  3. กระโดดขึ้น G. Balandier, Political Anthropology, Random House, 1970, p 3.
  4. กระโดดขึ้น D. Pocock, Social Anthropology, Sheed and Ward, 1961, p 9.