
มีการฟ้องร้องนักกิจกรรมการเมือง ในข้อหาหมิ่นประมาท กล่าวหาว่าก่อความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย และฝ่าฝืนการห้ามการชุมนุม เป็นต้น ตัวอย่างเช่นที่จังหวัดเลย มีการใช้กฎหมาย 7 ฉบับฟ้องร้องดำเนินคดีชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมือง ทองคำ 38 คน เป็นคดีความ 21 คดี เรียกค่าเสียหาย 380 ล้านบาท
ในระดับการเมืองระดับชาติ แม้จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน บทบัญญัติต่างๆมีผลใช้บังคับแล้ว รวมทั้งเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการชุมนุม แต่ผู้นำรัฐบาลก็ส่งเสียงเตือนหรือ “ฮึ่ม” บ่อยครั้ง ทั้งต่อนักการเมืองที่แสดงความคิดเห็น และกลุ่มที่มาให้กำลังใจอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
มีเสียงฮึ่มเตือนแม้แต่กลุ่มพันธมิตรฯ ที่เรียกร้องให้ ป.ป.ช.อุทธรณ์คดีสลายการชุมนุม ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้อง 4 จำเลย เตือนว่าให้เคารพคำพิพากษาศาล กลุ่มพันธมิตรฯแถลงว่า “เคารพคำพิพากษาศาล” แต่ไม่เห็นพ้องด้วยหลายประเด็น จึงต้องการให้อุทธรณ์
การอุทธรณ์เป็นสิทธิที่ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้ รัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้บอกว่าคำพิพากษา “เป็นที่สุด” เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ แสดงว่าคดียังไม่ถึงที่สุด สามารถอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ แม้แต่ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ยังแนะนำกลุ่มพันธมิตรฯว่า หาก ป.ป.ช.ไม่อุทธรณ์ ให้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ คสช. แต่มีรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ แม้หัวหน้า คสช.จะยังมีอำนาจตามมาตรา 44 ตามบทเฉพาะกาล แต่ควรจะใช้แต่เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย ก่อนนำไปสู่การเลือกตั้ง
มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใด ที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นอันใช้บังคับมิได้ มีกรณีตัวอย่างเลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เตรียมร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าการออกกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่เปิดรับฟังความเห็นประชาชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น