PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บิ๊กตู่คุยมหาธีร์

(24/10/61)ช่วยไทย ดับไฟใต้ เหมือนที่ไทย เคยช่วยมาเลเซีย ปราบโจรจีนคอมมิวนิสต์

“บิ๊กตู่”คุย  “Mahathir Mohamad” เดินหน้าช่วยไทยแก้ปัญหาชายแดนใต้ เป็น facilitator การพูดคุยต่อ อย่างตรงไปตรงมา /ย้ำ จังหวัดชายแดนใต้เป็น “ปัญหาภายใน “ของไทย  แต่ความร่วมมือจากต่างประเทศ จะทําให้แก้ได้ง่ายขึ้น ยันยึดหลัก รธน.ไทย/ นายกฯมาเลเซีย ลั่น “เราไม่มีปัญหาระหว่างกัน”ขอบคุณไทย เคยช่วย มาเลเซียแก้ปัญหา “จคม.”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  พบหารือ กับ นาย Mahathir Mohamad   นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่ ทำเนียบรัฐบาล ในการเยือยไมย 24-25 ตค.2561

พลเอกประยุทธ์. ระบุว่า นายมหาธีร์ ถือเป็นรัฐบุรุษ และเป็นผู้นำอาวุโสของภูมิภาคและของโลก และมีผลงานและคุณูปการมากมายในการพัฒนามาเลเซีย รวมถึงสร้างสัมพันธภาพระหว่างไทยกับมาเลเซีย

โดยจะสร้าง “ทศวรรษใหม่แห่งความสัมพันธ์” ระหว่างกัน อีกทั้งในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ไทยและมาเลเซียต้องร่วมมือกันสร้างเสถียรภาพความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน พร้อมขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ร่วมมือกันผลักดันความร่วมมือในกรอบอาเซียน

โดยได้หารือกันค่อนข้างลงลึกใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ และความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยผมได้เล่าถึงนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

โดยฝ่ายไทยถือว่าจังหวัดชายแดนใต้เป็นปัญหาภายใน 

แต่ขณะเดียวกันความร่วมมือจากต่างประเทศก็จะทําให้การแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายขึ้น 

ขณะเดียวกัน ผมได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยฯ ที่ฝ่ายมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกอย่างตรงไปตรงมา 

ซึ่งการพูดคุยจะดำเนินการต่อไปโดยมีมาเลเซียเป็นผู้ประสานงาน และทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานและกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

นอกจากนี้จะขยายความร่วมมือการเสริมสร้างความมั่นคงชายแดน การพัฒนาเศรษฐกิจและประเด็นความมั่นคงในภาพใหญ่ โดยเฉพาะการต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่ง การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติยาเสพติดและการค้ามนุษย์

2. การพัฒนาเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงตามแนวชายแดน โดยตนได้เสนอให้ทั้งสองประเทศยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นเป็น”หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจที่เข้มข้น” 

3. ความร่วมมือในกรอบอาเซียน โดยเฉพาะในปีหน้าที่ไทยจะทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนจึงมีเป้าหมาย ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และประเทศสมาชิกก้าวไปพร้อมกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

ไทยและมาเลเซียจะทำงานอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศมีความสงบสุขมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมีฐานะที่มั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการมีเสถียรภาพความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

Mahathir Mohamad กล่าวว่า ในการเยือนไทยเพราะอยากสร้างความคุ้นเคยกับอาเซียน หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 

ซึ่งต้องขอขอบคุณนายกฯและรัฐบาลไทยสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่น และการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา 

“เราไม่มีปัญหาระหว่างกันและ เรามีประวัติศาสตร์ความร่วมมือในอดีต ซึ่งมาเลเซียเคยมีปัญหา และไทยได้ให้การสนับสนุนเพื่อยุติปัญหานั้น
 ก็ขอขอบคุณไทยในด้านนี้ 

ทั้งนี้ปัจจุบันไทยมีปัญหาชายแดนใต้ เราก็ยินดีที่จะช่วยไทยในทุกด้านเพื่อแก้ไขความรุนแรงและก็มั่นใจว่า ด้วยว่าความร่วมมือของสองประเทศจะทำให้สามารถแก้ไขและลดปัญหานี้ได้ 

และเห็นว่าการแสดงมิตรภาพ ไม่ใช่แค่การพูดคุย แต่ต้องเป็นการปฏิบัติอย่างแท้จริงในฐานะมิตรที่ใกล้ชิด 

นอกจากนี้ในส่วนของการค้าระหว่างไทย-มาเลเซียใน ปี 2018 มีมูลค่าสูงขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์ มูลการค้า 14,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเราสามารถเพิ่มมูลค้าการค้าได้ เมื่อแก้ด่านศุลกากร ที่ปัจจุบัน มีจุดผ่านแดน 4 ด่าน ที่รัฐกลันตัน 2 ด่าน และรัฐเคดาห์ และรัฐเปอร์ลิส

นอกจากนี้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างลังกาวีและสตูล มีการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยว ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะสร้างความเจริญรุ่งเรืองของสองประเทศ เราควรพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกการไปมาหาสู่ของประชาชนทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะบรรลุตามเป้าหมายนี้ 

โดยเราจะเปิดด่านศุลกากร 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า และเราจะมีการสร้างสะพาน 2 สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่เชื่อมกับรัฐกลันตัน

 อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีปัญหาเส้นทางถนน เชื่อว่าแก้ไขปัญหานี้ได้ และเราพร้อมที่จะสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีอุปสรรค ในทุกทางที่เป็นไปได้ 

อย่างกรณีประชาชนถือ 2 สัญชาติ ต้องมีความพยายามแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดการค้ามนุษย์และการขนส่งสินค้าที่ผิดกฎหมาย

เราเห็นว่าประชาคมอาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีประชากรกว่า 600 ล้านคน และด้วยความต้องการทางทรัพยากรต่างๆ อาเซียนควรเป็นตลาดภายในของทุกประเทศ โดยเราจะหารือประเด็นดังกล่าวในการพูดคุยอาเซียนครั้งต่อไป 

เชื่อว่าในความพยายามจะบรรลุเป้าหมาย ด้วยการที่ผู้นำควรร่วมกันหารือบ่อยครั้ง และในระดับผู้แทนควรจะหารือเพื่อแก้ปัญหาเล็กๆน้อยๆระหว่างกัน เชื่อว่าเราจะสามารถยกระดับกระบวนการต่างๆในการข้ามพรมแดน 

ทั้งนี้ส่วนตัวยินดีอย่างยิ่งที่จะสร้างมิตรภาพกับ พล.อ.ประยุทธ์ เชื่อว่าผู้นำที่มีความใกล้ชิดระหว่างกันจะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น: