PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ทบทวน 3 ขั้นตอน การคำนวณคะแนน 500 ส.ส. จากบัตรใบเดียว

ทบทวน 3 ขั้นตอน การคำนวณคะแนน 500 ส.ส. จากบัตรใบเดียว

อย่างที่ทราบกันดีว่า #รัฐธรรมนูญ ฉบับพ.ศ. 2560 กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
หรือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง มีทั้งหมด 500 คน โดยแบ่งเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน 
ส่วนการเลือกตั้งและวิธีนับคะแนนนั้น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
จากเดิมมาใช้ ระบบที่เรียกว่า "จัดสรรปันส่วนผสม" หรือที่รู้จักกันว่าเป็น "การเลือกตั้งบัตรใบเดียว" โดยให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ทั้ง 350 เขตเลือกตั้ง อย่างเดียว แต่คะแนนรวมกันทั้งหมดนั้น จะไม่ถูกทิ้งน้ำให้เป็นคะแนนเสียเปล่า
อีกต่อไป 

เมื่อคะแนนจากการเลือกบัตรใบเดียวของ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทุกท่านนั้น จะถูกนำไปใช้คำนวณ
หา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อีก 150 คนด้วย ซึ่งวิธีการคำนวณ หาส.ส.ทั้ง 500 คน จาก "การเลือกตั้ง
บัตรใบเดียว" มีวิธีง่ายๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. หา "คะแนนเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน" ด้วยการนำคะแนนที่ "ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง" 
ทุกคนที่มาลงคะแนนเลือก "ผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" ทั้ง 350 เขตเลือกตั้งมารวมกันทั้งหมด แล้วนำมาหารด้วย 500 ซึ่งเป็นจำนวนส.ส.ทั้งหมด

เช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิลงคะแนน เลือกผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละ
พรรคการเมือง ทั้ง 350 เขตเลือกตั้ง ทั่วประเทศ รวม 29.5 ล้านเสียง ก็นำไปหารด้วยจำนวน ส.ส. 
ทั้งหมดคือ 500 คน ผลลัพธ์คือ คะแนนเฉลี่ยต่อส.ส.1คน = 59,000 คะแนน
ขั้นตอนที่ 2. หา "จำนวนส.ส.ที่แต่ละพรรคการเมืองพึงมี" ด้วยการรวมคะแนนที่แต่ละ
พรรคการเมืองได้รับ จากผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 350 เขต ตาม
พรรคการเมืองที่สังกัด จากนั้นจึงนำมาหารกับ "คะแนนเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน" ตามข้อ 1
เช่น พรรคก. ได้รับคะแนนจากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 350 เขต
จากทั่วประเทศ จำนวน 13.1 ล้านเสียง ก็ให้นำมาหารกับ "คะแนนเฉลี่ยต่อส.ส. 1 คน" ตามข้อ 1 
คือ 59,000 ผลลัพธ์คือ จำนวนส.ส.ที่พรรคก.พึงมีคือ 222.03 คน เมื่อปัดเศษแล้วก็คือ 222 คน 
 (การปัดเศษทศนิยม จะปัดขึ้นบวก1ให้แก่ พรรคการเมืองที่หารค่าเฉลี่ย”จำนวน ส.ส. 
ที่แต่ละพรรคพึงมี"แล้วมีเศษทศนิยมสูงสุด 7 อันดับแรก)
ขั้นตอนที่ 3.หา "จำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและส.ส.แบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละ
พรรคการเมือง" ด้วยการนำ "จำนวนส.ส.ที่แต่ละพรรคการเมืองพึงมี" ลบด้วย “จำนวน ส.ส. เขต
ที่แต่ละพรรคการเมืองชนะเลือกตั้ง" ก็จะได้ผลลัพธ์คือ “จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละ
พรรคการเมือง"
เช่น "จำนวนส.ส.ที่พรรคก.พึงมี" คือ 222 คน แล้ว พรรคก. มี"จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ชนะเลือกตั้ง" แล้ว 187 คน ก็ให้นำ "จำนวนส.ส.ที่พรรค ก. พึงมี" คือ 222 คน - (ลบ) 
"จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่พรรค ก. ชนะ" คือ 187 คน ก็จะได้ผลลัพธ์คือ “จำนวน ส.ส. 
แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ก.” คือ 35 คน ( 222 คน - 187 คน = 35 คน)
กลับกันถ้า พรรค ก. มี “จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ชนะเลือกตั้ง” คือ 223 คน 
ก็ให้นำ “จำนวนส.ส.ที่พรรค ก. พึงมี” คือ 222 คน” - (ลบ) “จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 
ที่พรรค ก. ชนะ” คือ 223 คน ก็จะได้ผลลัพธ์คือ “จำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ก.” 
คือ ไม่ได้เลยสักคน (222 คน - 223 คน = -1 คน) แปลว่า พรรค ก. จะได้รับจำนวน ส.ส. 
แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่พรรค ก. ชนะ เกินกว่า “จำนวน ส.ส. ที่พรรค ก. พึงมี” คือ 222 คน นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น: