PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

เรื่องมิบังควรของ 'ทษช.'


ศาลรัฐธรรมนูญจะยุบ
    หรือไม่ยุบ     
    หรือจะลงโทษเฉพาะกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ 
    มีสิ่งหนึ่งที่พรรคการเมืองทุกพรรคต้องพึงตระหนัก นั่นคือ....
    "พระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ทรงดำรงสถานะอยู่เหนือการเมือง" 
    การนำพระนามไปเพื่อ "การเมือง" นั้นกระทำมิได้
    ทีนี้เริ่มมีคนตั้งตนเป็นศาสดา เธอคือ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง บอกว่า
    "หากจะมีใครนำพระราชโองการมาอ้างอิงใช้เสมือนเป็นกฎหมาย จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อหลักการนิติรัฐของประเทศไทย 
    พฤติการณ์ของคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยเลย 
    การเสนอชื่อใครเป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรคใด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ระบุไว้ชัดเจน ถ้าขาดคุณสมบัติเสมือนไม่ได้เสนอชื่อ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นปฏิปักษ์กับการปกครอง"
    เป็นการแสดงความเห็นที่ขาดความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง 
    และคำพูดนี้จะถูกเครือข่ายพวกเดียวกันไปขยายต่อว่า พระราชโองการ ไม่ใช่กฎหมาย จะนำมาใช้มิได้ 
    จริงอยู่ พระราชโองการ นี้ไม่มีผู้รับสนองพระราชโองการ ตามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตไว้ 
    แต่....พระราชโองการ, พระบรมราชโองการ นั้นมีความหมายที่สัมพันธ์กับบริบททางประวัติศาสตร์ ประเพณีการปกครองประเทศไทย
    ถ้าตีความโดยไม่สนใจรากเหง้าของประเทศ ก็จะเป็นอย่างที่ น.ส.ณัฏฐา ตีความ 
    จารีตหรือธรรมเนียมปฏิบัติ มีผลเป็นตัวเสริมให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ขึ้น
    ให้ศึกษาจากการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยในกรณีเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมือง 
    คือการแต่งตั้ง "สัญญา ธรรมศักดิ์" เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
    ลองเทียบเคียงดูแล้วจะเข้าใจ 
    และเมื่อพระราชโองการ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า 
    "การนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม  จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง"
    จึงไม่ควรมีผู้ใดละเลย และกระทำการที่มิบังควรซ้ำอีก.

ไม่มีความคิดเห็น: