PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สาธิต เตรียมเป็นทนายให้ชาวบ้าน แฉ ปตท. ผู้ว่า ระยอง ปกปิดข้อมูลน้ำมันรั่ว

สาธิต แฉ ปตท. ผู้ว่า ระยอง ปกปิดข้อมูลน้ำมันรั่ว เชื่อมากกว่า 70 ตัน ทำสถานการณ์บานปลาย เอาไม่อยู่ คราบน้ำมัน บุกเกาะเสม็ด การท่องเที่ยวยับ ใช้เวลาฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 6 เดือน อาสา เป็นทนายให้ประชาชน ฟ้อง ปตท. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จวก รัฐ เมินแก้ปัญหา ปชช. ยกตัวอย่างน้ำมันรั่วสหรัฐ โอบาม่า บัญชาการเอง แต่ของไทย ไร้เงารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปล่อย ปตท.จัดการเอง

นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ สถานการณ์ล่าสุดคราบน้ำมันทะลักเข้่สู่บริเวณชายหาดทั้งเกาะเสม็ด หาดแม่รำพึง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยตนพยายามประสานงานกับ ปตท.และผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ด้วยการปกปิดข้อมูลอ้างว่าแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพราะไม่ได้มีการระดมความคิดในการแก้ไขสถานการณ์อย่างทันท่วงทีจนทำให้สถานการณ์บานปลายคราบน้ำมันกระจายสู่ชายหาด จนไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้ และเชื่อว่าวันนี้คงไม่สามารถสรุปความเสียหายได้ เนื่องจากทิศทางลมและคราบน้ำมันยังไม่หมดไปจากทะเล อีกทั้งที่อ้างว่าประมาณการรั่วไหลอยู่ที่ 70 ตันหรือ 70,000 ลิตร จะเท่ากับรถสิบล้อ 5-6 คัน หากใช้สารเคมีเหมือนที่ทำอยู่ก็น่าจะสลายคราบน้ำมันดิบได้สำเร็จ แต่คราบน้ำมันกลับแผ่กระจายเป็นวงกว้างกระทบกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างมาก ทั้งหมดเกิดจากความไม่โปร่งใสของภาครัฐและการปกปิดความจริงของภาคเอกชน ดังนั้นทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ที่พยายามไม่ให้ตนพูถึงสถานการณ์นี้ และ ปตท.ที่ไม่ยอมให้ข้อมูลนั้น

นายสาธิต กล่าวว่า ปตท.ต้องให้ข้อมูลที่แท้จริงว่าน้ำมันรั่วไหลเท่าไหร่ ศักยภาพในการแก้ไขซึ่งต้องยืมเครื่องมือจากต่างประเทศ ยังขาดการบูรณาการ ไม่มีแผนเฉพาะหน้าที่จะสกัดกั้นปัญหา ดังนั้น ปตท.ต้องมีความโปร่งใสในการแก้ปัญหา ในขณะที่รัฐบาลโหลยโท่ยในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน มัวแต่แก้ปัญหาทางการเมือง ทั้งที่การรั่วไหลน้ำมันไม่ได้เกิดที่ไทยเป็นที่แรก แต่ที่อเมริกาประธานาธิบดีลงมาสั่งการด้วยตัวเอง แต่ประเทศไทยหารัฐมนตรีไปสั่งการไม่ได้เลย เพราะรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯอ้างว่าควบคุมได้โดย ปตท. แต่การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดก็พบว่ามีการพูดอย่างนี้ทุกครั้ง แต่สถานการณ์เลวร้ายลงทุกขณะ เพราะเหตุการณ์นี้เริ่มต้นตั้งแต่ 18.00 น.ของวันที่ 26 ก.ค.56 เกือบสามวันที่มีเวลาในการจัดการปัญหาแต่รัฐไม่ใช้อำนาจในการบูรณาการเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ดังนั้นรัฐบาลต้องเป็นมืออาชีพไปบัญชาการที่ระยอง อย่าให้ ปตท.ทำเพราะเป็นผู้สร้างความเสียหายจะมีการปกปิดข้อมูลเพื่อปกป้องบริษัทเนื่องจากเกรงว่าจะถูกประชาชนฟ้องร้อง จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปดูแล

ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า สมาคมประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายภาคประชาชน จะไปแจ้งความดำเนินคดีกับ ปตท. และถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังปกปิด เหมือนกรณีเหมืองคริตตี้ที่กาญจนบุรี ประชาชนจะฟ้องข้าราชการในฐานะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดเคยพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษต้องชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน และตนจะเป็นทนายความให้กับสมาคมประมงพื้นบ้าน และเครือข่ายประชาชน เพื่อฟ้อง ปตท.ต่อศาลปกครองและศาลแพ่งต่อไป ทั้งนี้หากรัฐบาลมีความจริงใจต้องตั้งกองทุนขึ้นมาชดเชยความเสียหายที่จะต้องใช้เวลาฟื้นฟูหลายปี เพราะการท่องเที่ยวพังแล้ว นักท่องเที่ยวเช็คเอ๊าท์ ต้องใช้เวลาฟื้นฟูอย่างน้อย 6 เดือน
///////////


ไม่มีความคิดเห็น: