PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นิวยอร์คไทม์ตีข่าวการเมืองไทย

"นิวยอร์กไทมส์"แนะอียิปต์ยึดแนว"ปูโมเดล"-ยุติรุนแรงมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ-ยอมต่อรองเพื่อความสงบ

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สื่อชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์บทความชื่อ "อียิปต์จะเรียนรู้จากไทยได้หรือไม่?" เขียนโดยนายโจนาธาน เทปเปอร์แมน บรรณาธิการของนิตยสาร "ฟอเรนจ์ แอฟแฟร์ส" ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศ

นายเทปเปอร์แมนระบุในบทความดังกล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุคคลที่สามารถต่อรองกับกลุ่มต่างๆ ในการเมืองไทย และพลิกสถานการณ์จากสภาวะความไม่สงบต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนประเทศไทยกลับมาดำรงเสถียรภาพได้ ต่างจากประเทศอียิปต์ยังอยู่ในวิกฤตวุ่นวายจากการเดินหน้าปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาล

นายเทปเปอร์แมนกล่าวว่า ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยเริ่มขึ้นจากรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2549 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างกองทัพ กลุ่มนิยมสถาบัน และกระบวนการยุติธรรม ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างฝ่ายเสื้อเหลืองที่พยายามพิทักษ์ระบอบ "กึ่งศักดินา" ในไทย กับฝ่ายเสื้อแดง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากจนในต่างจังหวัดและเขตเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ

บทความระบุอีกว่า เกิดความวุ่นวายทางการเมืองมาตลอด จนกระทั่งเกิดการสลายการชุมนุมของฝ่ายเสื้อแดงในปี 2553 มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 90 ราย และน.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ชนะการเลือกตั้งในปีถัดมา
ซึ่งผลที่ตามมาคือไทยพลิกกลับมาอยู่ในความสงบ เศรษฐกิจเติบโต และการท่องเที่ยวก็คึกคักอีกครั้ง โดยความสำเร็จของน.ส.ยิ่งลักษณ์มาจากการปราบปรามพฤติกรรมทุจริต ต่อรองกับฝ่ายตรงข้าม
และมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

โดยนายเทปเปอร์แมนมองว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์เริ่มแผนการช่วยเหลือคนจนในประเทศจากการสร้างเสถียรภาพก่อน ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีรถคันแรก ขึ้นค่าแรง
ขั้นต่ำ 300 บาท ที่ทำให้ชนชั้นล่างและกลางพอใจ ขณะเดียวกันก็ลงทุนด้านสาธารณูปโภคและลดภาษี เพื่อเอาใจกลุ่มธุรกิจและคนร่ำรวย

"นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังต่อรองกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยไม่แตะต้องกองทัพซึ่งมีบทบาทในการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 และไม่แก้ไขมาตรา 112 แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้พ.ต.ท.
ทักษิณซึ่งเป็นบุคคลที่ชนชั้นสูงต่อต้านกลับมายังประเทศ ไทยเช่นกัน"

ผู้เขียนระบุด้วยว่า การยอมต่อรองกับฝ่ายตรงข้ามเช่นนี้ทำให้อำนาจไม่เป็นประชาธิป ไตยเข้ามาจำกัดบทบาทของรัฐบาล ขณะที่รัฐบาลก็ยอมให้มีการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออก ด้านครอบครัวของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ต่างไม่พอใจเพราะเห็นว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่จริงจังในการดำเนินคดีกับผู้สั่งการ ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบที่ย่ำแย่

นายเทปเปอร์แมนวิเคราะห์ว่า แต่สิ่งที่ดำเนินการทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะถ้ารัฐบาลมีเสถียรภาพ ไม่มีการต่อสู้กันบนท้องถนน ประเทศไทยก็มีโอกาสพัฒนาประชาธิป ไตยในระยะยาวได้ต่อไป

"ความไม่สมบูรณ์ของการต่อรองครั้งใหญ่ของน.ส.ยิ่งลักษณ์สะท้อนว่าเป็นการต่อรองที่ดี เพราะแสดงว่าทุกคนรู้สึกว่าตนไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งก็แปลว่าไม่มีใครได้สิ่งที่ตัวเองต้องการทุกอย่าง" นาย
เทปเปอร์แมนระบุ

บ.ก.ฟอเรนจ์ แอฟแฟร์ส สรุปว่า ถึงแม้การต่อรองนี้เป็นสันติภาพที่เปราะบาง เพราะอาจเกิดความวุ่นวายได้หากพ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับไทย และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในประเทศเพิ่มพูนขึ้นกว่านี้ แต่ก็ยังดีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เลือกที่จะเจรจาต่อรองกับฝ่ายตรงข้าม แทนที่จะเดินหน้าชนกับฝ่ายตรงข้ามท่าเดียว

"แน่นอนว่าการต่อรองนี้มีความยุ่งยากอยู่ แต่ก็เป็นความยุ่งยากที่ประเทศอื่นๆ อย่างอียิปต์ เวเนซุเอลา ซิมบับเว ได้แต่ฝันถึงในขณะนี้" นายเทปเปอร์แมนสรุป

http://www.nytimes.com/2013/08/23/opinion/tepperman-can-egypt-learn-from-thailand.html
/////////////////

วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เวลา 16:55 น.  ข่าวสดออนไลน์


"นิวยอร์กไทมส์" ตีข่าวทั่วโลก ชี้ปชป.ละทิ้งอุดมการณ์รัฐสภา - ปลุกระดมหยาบคาย นำม็อบประท้วงข้างถนน

 วันที่ 26 ส.ค. นิวยอร์กไทมส์ สื่อหนังสือพิมพ์ชื่อดังระดับโลกของสหรัฐอเมริกา รายงานบรรยากาศเวที “ผ่าความจริง” ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมบทวิเคราะห์ของนายโทมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคเอเชียของนิวยอร์กไทมส์

 บทวิเคราะห์ที่เขียนโดนนายฟุลเลอร์ชี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ละทิ้งแนวทางในรัฐสภา จากที่เคยย้ำว่าจะยึดมั่นในระบอบรัฐสภา และหันมาใช้วิธีปลุกระดมการประท้วงตามท้องถนนแทน โดยอ้างว่าเป็นการเลียนแบบ “อาหรับสปริง” ซึ่งท่าทีดังกล่าวทำให้หลายคนประหลาดใจ เพราะที่ผ่านมาพรรคนี้มีภาพลักษณ์เป็นพรรคที่มีความสุภาพ ไม่ก้าวร้าว และมีลักษณะเชิงปัญญาชน แต่ทุกวันนี้กลับกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่พยายามจุดชนวนการประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากที่เมืองไทยห่างเหินจากบรรยากาศการปะทะกันตามท้องถนนตั้งแต่เหตุการณ์การประท้วงเมื่อปี 2553

 รายงานนิวยอร์กไทมส์ ระบุต่อไปว่า สาเหตุสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์นำการประท้วงในครั้งนี้คือแผนการผ่านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคเพื่อไทย แต่อีก
สาเหตุหนึ่งคือความรู้สึกไร้ซึ่งอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ หลังพรรคนี้แพ้การเลือกตั้งเมื่อ 2 ปีก่อน จนปูทางให้กลุ่มการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาสู่อำนาจได้อีกครั้ง

 นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังถูกวิจารณ์อย่างหนักหลังนำพรรคของตนไปสู่ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และหัวหน้าพรรคดีกรีระดับออกซ์ฟอร์ดผู้นี้ ยังถูกวิจารณ์ว่าไม่สามารถเข้าถึงประชาชนรากหญ้าได้ โดยเฉพาะประชาชนในเขตภาคอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาและคนยากจน

 รายงานข่าวตั้งข้อสังเกตว่า ในการชุมนุมเวที “ผ่าความจริง” เมื่อวันที่ 24 ส.ค. มีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากขึ้นเวทีปราศรัย รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โดยมีการ
ใช้วาจาด่าทอน.ส.ยิ่งลักษณ์อย่างหยาบคาย และมีการปลุกระดมให้โค่นล้มรัฐบาลด้วย

 นอกจากนี้ รายงานของนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ปฏิเสธกระบวนการปรองดองของรัฐบาล และยังใช้วิธีก่อความปั่นป่วนมาใช้ในรัฐสภาเช่นกัน จนทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งถึงกับพาดหัวว่า “อัปยศ”

 อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวของนิวยอร์กไทมส์ มองว่า ยังไม่แน่ชัดว่าผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถชุมนุมยืดเยื้อเพื่อโค่นล้มรัฐบาลได้ดังที่แกนนำต้องการหรือไม่ เพราะการชุมนุมระยะยาว
ในประเทศไทยเป็นเรื่องยากลำบาก ต้องเจอกับทั้งสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวหรือพายุฝน อีกทั้งผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากเป็นคนชั้นกลาง ซึ่งผู้ประท้วงส่วนหนึ่งก็ให้สัมภาษณ์ในข่าวว่า ถ้าหากลำบากมาก ก็คงดูทีวีอยู่ที่บ้านดีกว่า

 รายงานข่าวนิวยอร์กไทมส์ ยังได้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอลงกรณ์กล่าวว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับยุทธวิธีของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ มองว่าพรรคจะไม่มีทางชนะใจประชาชน “ประชาธิปไตยแบบม็อบ” เพราะจะมีแต่สร้างความแตกแยกไม่สิ้นสุด โดยตนมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ควรเร่งปฏิรูปตนเองจะดีกว่า เช่น ใช้ระบบไพรมารีคัดสรรผู้สมัครเลือกตั้งที่ประชาชนต้องการ และเน้นการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนในขณะที่เศรษฐกิจของไทยและประเทศรอบข้างเริ่มส่อเค้าถดถอย

 ด้านนายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ให้สัมภาษณ์รายงานข่าวนิวยอร์กไทมส์ว่า พรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์ความรู้สึกของประชาชนผิดพลาด จึงจุดกระแสไม่ติด นอกจากนี้ นายสมบัติยังแสดงความผิดหวังที่เห็นพรรคประชาธิปัตย์ลงมาเล่นการเมืองบนท้องถนน โดยเปรียบเทียบว่าเหมือนเป็นมาราโดน่าลดตัวลงมาเล่นบอลข้างถนนเสียเอง

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056VXhNVEEyTmc9PQ%3D%3D&subcatid
//////////////////
The New York Times – International Herald Tribune แพร่ข่าวม๊อบ ปชป.ชี้อภิสิทธิ์ไฮปาร์คแข็งกร้าวหนัก ที่มา : http://www.naewna.com/

26 ส.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย Thomas Fuller ผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทมส์ หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลในสหรัฐ ได้นำเสนอรายงานเชิงข่าว 'Well-Mannered Thai Party Throws Down Its Gloves in Government Protests' โดยระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีชื่อเสียงว่า เป็นพรรคน้ำดี ใช้สติปัญญา ในสายตาของคนชั้นกลางกรุงเทพ และมุ่งมั่นแก้ปัญหาผ่านสภาผู้แทนฯได้ขู่ที่จะ'โค่นล้ม' รัฐบาล ด้วยการระดมผู้สนับสนุนออกมาประท้วงบนท้องถนน โดยนำมวลชนก่อการลุกฮือแบบอาหรับสปริง


พรรคประชาธิปัตย์กับรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมได้ขัดแย้งในเรื่องร่างกฎหมายหลายฉบับ รวมถึงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งพรรค ปชป. ถือว่าเป็นการลบล้างความผิดให้แก่ผู้ต้องหาที่กระทำความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่างๆ

เขารายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเกิดในอังกฤษ จบการศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ด ได้ถูกกดดันอย่างต่อเนื่องนับแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 2 ปีก่อน เขาถูกตั้งข้อหาก่อให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล สืบเนื่องจากการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 ระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังถูกวิจารณ์ว่า ไม่สามารถเชื่อมโยงกับคนรากหญ้าได้ โดยพรรค ปชป.พ่ายแพ้อย่างยับเยินในภาคอีสาน ซึ่งมีผู้ออกเสียงราว 1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

“ในการปราศรัยเมื่อวันเสาร์ นายอภิสิทธิ์ได้ใช้คำพูดแบบตีนติดดิน และแข็งกร้าวขึ้นกว่าแต่ก่อน ขณะที่ผู้ร่วมฟังการปราศรัยต่างตะโกนขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยขณะเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้จัดการประชุมเพื่อปฏิรูปการเมือง ซึ่งพรรค ปชป.บอกปัดคำเชิญเข้าร่วม”


นิวยอร์กไทมส์ บอกว่า ยังไม่แน่ชัดว่า ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์จะอดทนกับการชุมนุมที่ยืดเยื้อ ท่ามกลางแดดร้อนและฝนตกได้หรือไม่ ผู้ฟังปราศรัยเมื่อวันเสาร์บางรายบอกว่า ตนเองต่อต้านรัฐบาลชุดนี้ แต่ต้องขอดูก่อนว่าจะสะดวกเข้าร่วมประท้วงหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น: