PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระหว่างเวที "ปฏิรูป" กับเวที "ผ่าความจริง"

พลันที่ "สภาปฏิรูปการเมือง" เริ่มตัดริบบิ้น ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ภาพเปรียบทางการเมืองก็เริ่มขึ้นระหว่างเวที "ปฏิรูป" กับเวที "ผ่าความจริง"

ระหว่างบทบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ บทบาทของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ขณะที่เวที "ปฏิรูป" เริ่มต้นจากความรัก ความปรารถนาดี

เวที "ปฏิรูป" มีคนอย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา มีคนอย่าง นายอนุทิน ชาญวีรกูล มีคนอย่าง นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ มีคนอย่าง นายสนธยา คุณปลื้ม นอกจากนั้น ยังมีคนอย่าง นายพิชัย รัตตกุล

มีคนอย่าง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีคนอย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

แต่เวที "ผ่าความจริง" หากไม่เป็นวาจาอันเสียดแทงจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นโวหารอันเกรี้ยวกราดจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

2 เวที เป้าหมายต่างกัน

มีความพยายามเป็นอย่างมากจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นับแต่เข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนสิงหาคม 2554

ความพยายาม 1 คือ การลดระยะห่างกับ "ผู้อาวุโส"

เห็นได้จากการเชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เข้าร่วมฟังคอนเสิร์ตที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น ก็เดินทางเข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์

ขณะเดียวกัน เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ความพยายาม 1 คือ การเยือนแต่ละเหล่าทัพเพื่อสมานความเป็นหนึ่งเดียว

ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่าง "รัฐบาล" กับ "กองทัพ"

เป็นการเข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เป็นการเข้าสู่เหล่าทัพก่อนการเปิดเวที "สภาปฏิรูปการเมือง" เพื่อก้าวเข้าสู่มิติใหม่ทางการเมือง

มิติแห่งความรู้จัก สามัคคี

การดึงคนอย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เข้าร่วมนับว่าสำคัญ การดึงคนอย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา ให้มามีบทบาทนับว่าสำคัญ

เพราะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน คือคนที่เคยทำรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เพราะนายบรรหาร ศิลปอาชา คือคนที่เคย "บอยคอต" การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2549

แปร "ศัสตรา" เป็น "แพรพรรณ"

การเคลื่อนไหวของรัฐบาล การเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกประเมินและตีความว่าเท่ากับโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ เท่ากับโดดเดี่ยว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เป็นเช่นนั้นจริงหรือ

เป็นเช่นนั้นหากว่าไม่มีคำเชิญชวนจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อพรรคประชาธิปัตย์และต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ในความเป็นจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกปากเชิญด้วยตัวเอง

ในความเป็นจริง คณะกรรมการดำเนินการโดย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โดย นายวราเทพ รัตนากร ได้มีหนังสือไปยังพรรคประชาธิปัตย์

แต่ได้รับการปฏิเสธ

เป็นการปฏิเสธทั้งๆ ที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตอบรับ เป็นการปฏิเสธทั้งๆ ที่ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตอบรับ เป็นการปฏิเสธทั้งๆ ที่ นายสนธยา คุณปลื้ม ตอบรับ เป็นการปฏิเสธทั้งๆ ที่ นายอนุทิน

ชาญวีรกูล ตอบรับ

แม้กระทั่ง นายพิชัย รัตตกุล ก็ตอบรับ

จึงมิใช่รัฐบาล จึงมิใช่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรอกที่โดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ หากแต่พรรคประชาธิปัตย์ หากแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่างหากที่โดดเดี่ยวตัวเอง

"โดดเดี่ยว" ใน "บ้านร้าง"

มีคำกล่าว 1 ว่า เมื่อนักการเมืองพูด ประชาชนจะฟัง เมื่อนักการเมืองลงมือทำ ประชาชนจะเชื่อ

พรรคการเมืองบางพรรคเก่งในการพูด นักการเมืองบางคนเก่งในเชิงโวหาร แต่พรรคการเมืองบางพรรคถนัดในการลงมือทำ นักการเมืองบางคนถนัดในการลงมือทำ

"เมื่อท่านพูด ประชาชนจะฟัง เมื่อท่านลงมือทำ ประชาชนจะเชื่อ"

( @ Matichononline)

ไม่มีความคิดเห็น: