PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ขุมทรัพย์กองสลากกลุ่มโควต้าใครเป็นใครบ้าง?

ขุมทรัพย์โควต้าสลากฯ ทำขายเกินราคา เปิดสารพัดสูตรแก้ปัญหาเรื้อรัง

เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 10:58 น.
เขียนโดย
ทีมข่าวอิศรา

 PIC-kongslak-1

จากนโยบายของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการให้ประชาชนได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ในราคา 80 บาทอันเป็นราคาขายที่แท้จริง ไม่ใช่การซื้อเกินราคา 110 บาท บ้างก็ 120 บาท แบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งเป็นมาหลายสิบปี โดยที่ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหนแก้ปัญหาได้ทั้งที่เป็นสินค้าของรัฐ แต่ภาครัฐกลับปล่อยให้ขายสินค้าของตัวเองเกินราคาเอาเปรียบผู้บริโภคมาหลายสิบปี โดยไม่มีใครคิดแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

ท่ามกลางข้อกังขาและเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่า เป็นเพราะเรื่องหวย-สลากกินแบ่ง มันเป็น "สินค้ากินแบ่ง" สมชื่อ และทำกันมาเป็นขบวนการตั้งแต่ระดับฝ่ายการเมืองจนถึงผู้บริหารในสำนักงานสลากฯ จนถึงยี่ปั้ว –ซาปั้ว ทั้งหลาย ทำให้ต้นทุนการจำหน่ายถูกบวกเข้าไปเป็นทอดๆ ผลก็เลยทำให้ต้องขายเกินราคาอย่างที่เห็น ทั้งที่การพิมพ์ของสำนักงานสลากฯแต่ละงวดก็ไม่ใช่น้อย อย่างสลากฯปกติงาดหนึ่งๆก็ร่วม 50 ล้านฉบับ

จึงเป็นที่รู้กันว่า สำนักงานสลากฯ คือขุมทรัพย์ก้อนใหญ่ที่พรรคการเมือง นักการเมืองทุกยุคสมัย ต่างจ้องกันตามเขม็งที่จะเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์กันแบบเป็นล่ำเป็นสัน

แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว เคยมีการศึกษาและเสนอแนะกันมาหลายแล้วครั้ง แต่ก็ไม่เคยมีรัฐบาลชุดไหน หรือบอร์ดสำนักงานสลากฯชุดไหนให้ความสำคัญนำไปศึกษาและทำแผนปฏิบัติ เมื่อคสช.ลงมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้หลายคนจึงจับตามองไม่น้อยว่าจะทำได้สำเร็จหรือไม่

ผลการศึกษาของคณะทำงานหรือคณะกรรมการชุดต่างๆที่ศึกษาเรื่องการจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล และการแก้ปัญหาจำหน่ายสลากกินแบ่งเกินราคา ที่ "ทีมข่าวปฏิรูป" ได้รับมาและเห็นว่าน่าสนใจไม่น้อย มีด้วยกันหลายคณะ แม้บางชุด จะเป็นรายงานผลการศึกษาที่อาจผ่านมาแล้วหลายปี แต่ก็จะพบว่ายังเป็นข้อเสนอที่ทันสมัยอยู่ เนื่องจากผ่านมาแล้วหลายปี ปัญหาการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบไม่เป็นธรรม และการขายสลากฯเกินราคาก็ยังไม่เคยได้รับบการแก้ไขแม้แต่น้อย

เช่น รายงานผลการดำเนินการและข้อเสนอแนะของ "คณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดสรรสลาก" ที่เป็นคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นโดยมติบอร์ดสำนักงานสลากฯในปี 2550 ในช่วงรัฐบาลคมช. ที่มีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ โดยบอร์ดฯสำนักงานสลากฯได้ตั้งคณะกรรมการจัดสรรสลากฯ เมื่อกุมภาพันธ์ 57 มี ศาตราจารย์ หิรัญ รดีศรี ซึ่งมีชื่อเสียงในแวดวงข้าราชการ-นักวิชาการและวงการธุรกิจมาตลอดหลายสิบปีพร้อมด้วยกรรมการอีกหลายคนเช่น พีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย-เข็มชัย ชุติวงศ์ บิ๊กอัยการสายวิชาการ เป็นต้น โดยกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่หลายอย่างเช่น ไปกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเสนอต่อบอร์ดสำนักงานสลากฯ

จากเอกสารที่ "ทีมข่าวปฏิรูป" ได้รับพบว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้มีการตั้ง "คณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดสรรสลากกินแบ่งรรัฐบาล" โดยมีรศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นประธาน โดยคณะทำงานชุดนี้ ได้มีการศึกษาข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในระบบการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลและศึกษาผลกระทบของภาวะทางการตลาดของสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีต่อระบบการจำหน่าย

ซึ่งคณะทำงานได้มีการเชิญตัวแทนผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงและให้ข้อมูล จากหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนจังหวัด ที่ส่วนใหญ่เป็นระดับ เสมียนตรา ตัวแทน สมาคมพิการรวม 13 คน เช่น มณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย และอดีตสว.-นายอำนวย กลิ่นอยู่ นายกสมาคมคนพิการผู้ค้าสลากแห่งประเทศไทย

แล้วก็ยังมี ตัวแทนจำหน่ายนิติบุคคลคือนายอุทัย ปุณยกนก กรรมการผู้จัดการบริษัทรัชฏาสัมพันธ์ จำกัด ,ตัวแทนจำหน่ายรายย่อยรวม 8 ราย ผู้บริหารสำนักงานสลากฯ ,ตัวแทนสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย-องค์การทหารผ่านศึก เช่น พลเอกทสรฏ เมืองอ่ำ ผอ.องค์การฯ-กรมบัญชีกลาง เป็นต้น

จนสุดท้าย คณะกรรมการจัดสรรสลากฯ ได้ข้อมูลอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสลากฯถึงการจัดสรรโควต้าสำนักงานสลากฯ ในช่วงปี2548-2549 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการผลิตสลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 49-50 แต่จะพบว่า รูปแบบการจัดสรรโควต้าดังกล่าวก็ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก คือ สลากกินแบ่งฯที่มีการทำกันออกมา ในแต่ละงวด จะแบ่งโควตา “ผู้ได้รับการจัดสรร” ออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

1.ผู้พิการและผู้ค้าสลากรายย่อย(รับตรง)ส่วนกลาง จำนวน 9,521 ราย จำนวนเล่ม 120,374 คิดเป็นร้อยละ 26.17

2.มูลนิธิสำนักงานสลาก มี 1,702 ราย จำนวนเล่มคือ 30,032 คิดเป็นร้อยละ 6.53

3.กระทรวงมหาดไทย-ผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวนราย 20,139 จำนวนเล่ม 162,644 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 35.36

4.กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จำนวน 2,388 ราย จำนวนเล่มคือ 30,000 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.52

5.นิติบุคคล จำนวน 1,163 ราย จำนวนเล่มคือ 28,000 คิดเป็นร้อยละ 6.09

6.สมาคม องค์กรการกุศล จำนวนราย 11,494 ราย จำนวนเล่มคิดเป็น 88,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.34

ผลการศึกษาเรื่องการจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลดังกล่าว หลังได้รับข้อมูลและฟังความจากหลายหน่วยงานแล้ว ทำให้คณะกรรมการจัดสรรสลากฯ มีข้อเสนอแนะรวม 11 ข้อ เพื่อให้การจำหน่ายสลาก ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม และประเทศได้รับผลประโยชน์มีอาทิเช่น

-เพื่อแก้ปัญหาสลากรวมชุดสมควรให้สำนักงานสลากกินแบ่ง กำหนดจำนวนครั้งของการออกรางวัลที่ 1 ตาจำนวนชุดที่จัดพิมพ์สลาก (เช่นเมื่อพิมพ์ 46 ล้านชุด ก็ให้ออกรางวัลที่ 1 จำนวน 46 ครั้ง) หรือสำนักงานสลากควรนำสลากจำนวนหนึ่งจากจำนวนทั้งสิ้น 46 ล้านฉบับ มาจัดพิมพ์และจำหน่ายแบบรวมชุดไว้ในใบเดียวกัน โดยมีการกำหนดราคาหน้าสลากเป็นชุดกำกับไว้ เช่น รวม 2 ชุด ราคา 160 บาท หรือรวม 4 ชุด ราคา 320 บาท เป็นต้น

-ควรจัดสรรโควต้าสลากใหม่ โดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ค้ารายย่อยให้มากขึ้น โดยลดหรือยกเลิกโควต้าของหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อทำให้การรวมสลากชุดยากลำบากขึ้น และควรมีการสลับหมวดหมู่ของสลาก เพื่อมิให้ตัวแทนจำหน่ายสลากชุดได้โดยสะดวก

-ปัญหาขายสลากเกินราคา อาจทำได้โดยการเพิ่มปริมาณสลาก ให้พอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือเพิ่มราคาสลากเพื่อลดอุปทานผู้บริโภค แต่หากไม่ต้องการเพิ่มจำนวนการพิมพ์สลาก อาจใช้การพิมพ์สลากในปริมาณที่สอดคล้องกับอุปสงค์ของตลาดตามฤดูกาลต่างๆ เช่นในเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วง “ตลาดตาย”ควรลดปริมาณการพิมพ์สลาก แต่ไปพิมพ์สลากเพิ่มในช่วงปลายปีหรือในช่วงเทศกาล

-รัฐบาลสมควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ ปี 2517 มาตรา 22 โดยเพิ่มค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักงานสลาก จากเดิม 12 % เป็นไม่น้อยกว่า 15%1 (โดยเพิ่มส่วนลดให้แก่ตัวแทนจำหน่าย )และลดส่วนที่เป็นรายได้ของรัฐจากเดิม 28 % เหลือไม่เกิน 25%

-สำนักงานสลากควรทำข้อตกลงกับตัวแทนจำหน่าย ให้ควบคุมเครือข่ายของตนเองอย่าให้จำหน่ายเกินราคา หากตรวจพบให้ยึดโควต้าคืน และหากตัวแทนจำหน่ายหรือหน่วยราชการที่รับสลากไปจัดสรร นำสลากไปจัดสรรให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ค้าจริง ให้มีการยึดโควต้าคืนด้วย

-สำนักงานสลากควรหาแนวทางเพิ่มช่องทางการจัดส่งสลากให้ถึงมือผู้ค้ารายย่อยทั้งส่วนกลางและภูมิภาคโดยตรง ด้วยการใช้ระบบ Logistics ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารหรือบริษัทจัดส่ง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับสลาก เป็นต้น

ที่น่าสนใจ คณะกรรมการจัดสรรสลากฯ ยังได้เสนอแนวทางจัดสรรสลากกินแบ่งฯให้กับองค์กรต่างๆ ใหม่เช่น ผู้พิการและผู้ค้าสลากรายย่อย (รับตรง)จากส่วนกลาง เห็นควรให้เพิ่มโควต้าให้ผู้ค้ารายย่อย ในเวลานั้น จาก 26.17 เป็น 39.77 % หรือเพิ่มให้อีก 62,561 เล่ม โดยต้องมีการกำหนดคุณสมบัติในเบื้องต้นและกำหนดปริมาณสลากที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ หากรายใดขาดคุณสมบัติให้ตัดสิทธิ์การรับสลาก โดยมีการตรวจสอบผู้ค้าว่ามีการรับสลากซ้ำซ้อนและเป็นผู้ค้าจริงหรือไม่ หากพบว่าไม่เป็นผู้ค้าจริงก็ให้ยกเลิกโควต้าทั้งหมด

ส่วน “มูลนิธิสำนักงานสลาก” และ กรมบัญชีกลาง ให้ยกเลิกโควต้าทั้งหมด เนื่องจากไม่เป็นธรรม และเข้าข่ายขัดหลักแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ที่จะทำให้สำนักงานสลากฯ สามารถลดค่าใช้จ่ายเปอร์เซ็นต์ส่วนลดที่ต้องจ่ายให้กับทั้งสองหน่วยได้อีกด้วย ส่วน กระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ลดโควต้าลงร้อยละ 20 จาก 162,644 เล่มเหลือ 130,115 เล่ม

นอกจากนี้ยังเสนอให้ลดโควต้าของนิติบุคคลลง ร้อยละ 50 แล้วไปเพิ่มโควต้าให้แก่สมาคมและองค์กรการกุศล โดยองค์กรที่จะได้สิทธิดังกล่าวต้องเป็นองค์กรที่เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณกุศล โดยให้ตรวจสอบจากเอกสารผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปีโดยตรวจสอบกับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นองค์กรเพื่อสาธารณะประโยชน์จริง ไม่เป็นหน่วยงานของราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสมาคมและมูลนิธิที่จะได้โควต้าจะต้องแสดงรายชื่อสมาชิกที่จะรับสลากไปจำหน่ายพร้อมระบุแผนที่ในการจำหน่ายสลากไว้ด้วย

ข้อเสนอดังกล่าวทางกรรมการจัดสรรสลากฯ ยังได้กำหนดกลุ่มผู้ค้าจำหน่ายสลากออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.คนพิการและผู้ค้าสลายรายย่อย 2.สมาคมและมูลนิธิต่างๆ 3.นิติบุคคล

ซึ่งกรรมการจัดสรรสลากฯ ได้ระบุคุณสมบัติของทั้ง 3 กลุ่มไว้ด้วยเช่น คนพิการและผู้ค้าสลากรายย่อย มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีความสามารถค้าสลากได้ด้วยตนเองตามราคาที่กำหนดและสถานที่ ณ จุดที่ แจ้งต่อสำนักงานสลากฯ เอาไว้ ส่วน นิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติคือ มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป มีเงินในบัญชีธนาคารของนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ต้องมีแผนการจัดจำหน่ายสลากของบริษัทและเป้าหมายในการทำตลาดที่ชัดเจน

ทั้งหมดข้างต้นคือ กรอบแนวทางที่กรรมการจัดสรรสลากฯได้ศึกษาและเสนอไว้เมื่อช่วงปี 50 ที่หลายข้อเสนอยังสามารถนำมาศึกษาและอาจนำมาใช้ได้ในช่วงต่อจากนี้ เพื่อแก้ปัญหาขายสลากกินแบ่งเกินราคา หาก “คสช.”คิดจะนำมาสานต่อ เพราะข้อเสนอข้างต้น จะพบว่าก็มุ่งเน้นให้การจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งฯของรัฐบาลเป็นไปอย่างโปร่งใส ทั่วถึง เป็นธรรม ไม่ได้ให้สำนักงานสลากฯมุ่งค้ากำไร เพื่อนำไปสู่ปลายทางคือ ประชาชนซื้อสลากได้ในราคาซื้อขายจริงไม่ใช่ซื้อเกินราคา

นอกจากแนวทางของกรรมการจัดสรรสลากฯดังกล่าวแล้ว ก็ยังมี ข้อเสนอล่าสุด เมื่อช่วงไม่ถึง 2 ปีมานี้ ที่ศึกษาเรื่องปัญหาจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลขายเกินราคาโดยตรงและได้มีข้อเสนอออกมา โดยพบว่าสภาผู้แทนราษฏรชุดที่แล้วที่โดนยุบไปเมื่อ 9 ธ.ค. 56 ก็มีการศึกษาเรื่องการจำหน่ายสลากกินแบ่งฯเกินราคาเช่นกัน อันเป็นการศึกษาโดย”คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฏร”ที่ตั้ง”คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษากรณีการจาหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา”มี สุชาย ศรีสุรพล อดีตส.ส.ขอนแก่น หลายสมัย จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน

โดยพบว่าหลังคณะอนุกรรมาธิการฯชุดดังกล่าว มีการประชุมศึกษาปัญหาดังกล่าวแล้วก็ได้มีข้อเสนอแนะต่อการแก้ปัญหาเรื่องนี้ออกมาหลักๆ ดังนี้

1.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ควรที่จะพิจารณายกเลิกระบบการจัดสรรโควตาในการจำหน่ายสลาก ทั้งสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงการกุศล อีกทั้งต้องศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการนำระบบการจาหน่ายสลากด้วย”เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ”มาใช้ในท้องตลาดอย่างจริงว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ แทนการจำหน่ายแบบปัจจุบันเพื่อป้องกันมิให้สลากรวมอยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ลดปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคาจากพ่อค้าคนกลาง และยังเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับประชาชนที่จะได้เลือกซื้อสลากได้ตามที่ต้องการในราคาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ขณะเดียวกัน สำนักงานฯ ต้องรณรงค์ไม่ให้ประชาชนซื้อสลากเกินราคา เพื่อไม่ให้พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบผู้บริโภค

2.ปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคา มีสาเหตุสาคัญมาจากผู้ค้าสลากรายย่อยรับซื้อสลากจากพ่อค้าคนกลางมาจำหน่ายในราคาที่สูง จึงทำให้ราคาขายสูงตามไปด้วย จึงต้องหาแนวทางให้ผู้ค้ารายย่อยสามารถ รับซื้อสินค้าสลากได้โดยตรงจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อป้องกันปัญหาพ่อค้าคนกลาง หรือยี่ปั๊ว ซาปั๊ว มิให้เอาเปรียบผู้บริโภค

3.ควรปรับปรุงโทษตามพรบ.สำนักงานสลากฯปี 2517 มาตรา 39 (เป็นเรื่องการเอาผิดกับผู้ขายสลากเกินราคา ต้องระวางโทษปรบับไม่เกิน2 พันบาท)เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมาย

สารพัดข้อเสนอ-แนวทางที่มีการเสนอออกมาในเรื่องการจัดสรรโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลดังกล่าว จะพบว่าหลายข้อเสนอน่าสนใจไม่ใช่น้อย ที่แน่นอนว่า หากคสช.และผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล คิดจะเอาไปทำ ก็คงเป็นการไปทุบหม้อข้าว ผู้ได้รับผลประโยชน์ จากธุรกิจจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีคนเกี่ยวข้องจำนวนมาก และหากินกับเรื่องนี้มาหลายสิบปีจนสร้างเครือข่ายผลประโยชน์เป็นล่ำเป็นสันแน่นอน

คำถามคือ”คสช.”จะเอาจริงและกล้าไหมหรือแค่สร้างกระแส ชิงพื้นที่ข่าว เรียกเรตติ้ง แล้วก็จบ ?

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คสช.ย้ายระนาวข้าราชการระดับสูงปลัดกระทรวงยันฝ่ายปฏิบัติการ

คสช.ย้ายระนาวข้าราชการระดับสูงปลัดกระทรวงยันฝ่ายปฏิบัติการ

สื่อข่าวรายงานว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ออกคำสั่งหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และหน.คสช. ออกรายการ "คืนความสุขให้ประชาชน" โดยสั่งให้ข้าราชการระดับสูงหลายกระทรวงที่ถูกโยกย้ายก่อนหน้านี้ พ้นจากตำแหน่ง และตั้งผู้ที่รักษาการในตำแหน่งที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่ง อาทิ  พล.อ.นิพันธ์ ทองเล็ก พ้นจากปลัดกระทรวงกลาโหม ไปเป็นประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม โดยให้ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม ธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากอธิบดีกรมสบสวนคดีพิเศษ ไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกฯ พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง พ้นจาก เลขาธิการ ศอ.บต. ไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกฯ, นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากปลัดกระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี อรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่งอัยการสูงสุด นายธงทอง จันทรางศุ พ้นตำแหน่งเดิม

ทั้งนี้  โดยมีคำสั่ง ให้ -อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นปลัดพลังงาน -นาง ชุติมา บุณยประภัศร เป็นปลัดพณ. -นางเมธินี เทพมณี ปลัด ICT  -พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม  -นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด  -ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี -นายอภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม -นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขา ศอ.บต.  -นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร-นายกำจร ตติยกวี เป็น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา -นายสมชัย สัจจพงษ์  เป็น อธิบดีกรมศุลกากร -นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


ส่วน

-ศสช.สั่งปลดระนาวมี นิพันธ์ ทองเล็ก, อรรถพล ใหญ่สว่าง,ธาริต เพ็งดิษฐ์, ธงทอง จันทรางศุ, ทวี สอดส่อง,สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย
-คสช.ออกประกาศย้ายข้าราชการล็อตใหญ่ เช่น
-พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ให้พ้นจากเลขาธิการ ศอ.บต.
-ตั้ง บิ๊กเต่าพล.อ.สุรศักดิ์ เป็นปลัดกลาโหม เต็มตัว ย้าย บิ๊กแป๊ะ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก เข้ากรุประธานที่ปรึกษาสำนักปลัดกห.
-ตำแหน่งสำคัญที่ คสช.สั่งย้ายใหม่ คือ ปลัดพาณิขย์ ไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งเปิดใหม่

- คสช.ปลดปลัดกระทรวงพาณิชย์-วัฒนธรรม-พลังงานแล้ว

road map ชัดเจน ตค.2558 จะมีเลือกตั้ง

“หัวหน้าคสช.” เผย รัฐธรรมนูญชั่วคราว เสร็จแล้ว เตรียมเสนอ ที่ประชุม คสช.สัปดาห์หน้า ยัน รัฐธรรมนูญ เสร็จใน กค.2558 แล้วอีก 3เดือน จะมีเลือกตั้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ในตอนหนึ่งเรื่อง โรดแมพ ว่า เราแก้เป็น 3 ระยะ Road map/กำหนดเวลาในการบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในวันนี้ ขอเรียนอีกครั้งคงจะแน่นอนมากยิ่งขึ้น

ระยะที่ 1 มองกลับไปวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ถึงวันนี้นับได้ 37 วัน (นับถึงวันที่ 27 มิถุนายน 2557) วันนี้ได้ดำเนินการคู่ขนานการแก้ปัญหา นั้นคือสิ่งที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ได้จัดทำรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) เพื่อใช้ในการบริหารประเทศตามหลักนิติรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในการทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศในทุกด้าน และนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยยึดถือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นหลักการสำคัญ

“การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนั้น ได้จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และผ่านการพิจารณาตรวจแก้โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายอยู่ในขณะนี้ และสัปดาห์หน้าจะเป็นการพิจารณาของ คสช. ว่าจะต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าไม่มีการแก้ไขหรือแก้ไขอะไรมากก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นจะดำเนินการให้รวดเร็ว หากมีการแก้ไขข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการบริหารประเทศซึ่งต้องใช้อำนาจพิเศษให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้มีผลบังคับใช้ภายในเดือน กรกฎาคม ศกนี้ นี่คือขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ระยะต่อไป (ระยะที่ 2 ) หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าวในเดือนกรกฎาคมแล้ว ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 1 เดือน หรือเกินกว่านั้นเล็กน้อย ในการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในเดือนกันยายน 2557

ส่วนสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น เนื่องจากต้องใช้กระบวนการในการสรรหา เพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีประสบการณ์จากทุกภาคส่วน จากทุกจังหวัด มาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป จึงต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คาดว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ในต้นเดือนตุลาคม 2557

การปฏิรูปโดยสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กำหนดให้มีการปฏิรูปในทุกๆ ด้าน ทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พลังงาน กระบวนการยุติธรรม และอื่น ๆ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะจัดทำข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

“จะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาในการปฏิรูประยะที่ 2 ประมาณ 10 เดือน ต้องใช้เวลาในการจัดตั้ง 2 เดือน หลังจากวันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ ทั้งหมดคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 12 เดือน นับจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คือเดือนกรกฎาคม 2558

ระยะที่ 3 เมื่อรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรมีผลบังคับใช้ ย่อมถือได้ว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าคณะรัฐบาลของ คสช. จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา แต่ก็ถือว่าเป็นการบริหารประเทศในกรอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้าน และ คสช. ก็ต้องการให้มีการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อจะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งของระบอบประชาธิปไตยไทยที่สมบูรณ์ เป็นระบบการเมืองที่สร้างสรรค์ มีความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศ ไม่ใช่การเมืองที่มีแต่ความขัดแย้งดังที่ผ่านมา ภายในปี 2558 ใจเย็น ๆ เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิรูป ทุกอย่างน่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2558 ท่านจะได้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยสมบูรณ์ ต้องช่วยกัน ในช่วงที่ผ่านมานั้น คสช. พยายามที่จะแก้ไขปัญหา พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าด้วย ในเวลาเดียวกันและมุ่งสู่อนาคต
ฉะนั้นเราทุกคนต้องคิดเหมือนที่ผมคิด เหมือนที่ คสช. คิดว่า เราต้องอยู่เพื่อปัจจุบัน โดยนำอดีตมาเป็นบทเรียน และเดินไปสู่อนาคตที่คาดหวังว่าเราจะมีประชาธิปไตยกันอย่างไร และมุ่งหวังที่จะให้ประเทศชาติดำเนินการไปได้อย่างไรในอนาคต วันนี้คงจะเป็นเรื่องที่ผมต้องการเรียนให้บรรดาพ่อแม่ พี่น้องต่าง ๆ ได้ทราบไปแล้วตามลำดับ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

“บิ๊กตู่” เรียกหา “ยิ้มสยาม” แนะคนไทย ยิ้มให้กันเอง ไม่มช่ยิ้มให้แต่ฝรั่ง


“บิ๊กตู่” เรียกหา “ยิ้มสยาม” แนะคนไทย ยิ้มให้กันเอง ไม่มช่ยิ้มให้แต่ฝรั่ง เพราะคนไทยมีแต่ละทะเลาะกัน แนะเอาอย่างต่างชาติในบางเรื่อง แต่ยังคงแบบไทยๆที่เก่าแก่ ประเพณีสวยงามไว้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ตอนหนึ่งว่า ต้องการ พัฒนาบุคลากร ทั้งข้าราชการ ประชาชนทุกภาคส่วน เราก็จำเป็น เพราะปัจจุบันโลกเราเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศเราเป็นแหล่งทรัพยากรและเป็นแหล่งที่ประเทศเพื่อนบ้านมุ่งหวังจะเข้ามาหางานทำ มาหาเงินกลับประเทศ หาเงินกลับไปดูแลครอบครัว
“ฉะนั้นเราจะต้องพัฒนาบุคลากรของเรา ทั้งการศึกษา การเรียนรู้ รับรู้ ปรับปรุงพัฒนาตนเอง โดยดูตัวอย่างจากนานาอารยประเทศ มาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต ดูจากทีวี ข่าว เคเบิ้ลทีวี และท่านต้องดูสารคดีเหล่านี้บ้าง ท่านจะได้เห็นว่าต่างประเทศที่มีความเจริญแล้ว เขาทำอย่างไร บ้านเมืองเขาสะอาดอย่างไร คนมีระเบียบอย่างไร เข้าคิว เข้าแถวอย่างไร คูคลองบ้านเมืองเขาสะอาดอย่างไร ผู้คนเขามีระเบียบวินัย
“บ้านเมืองเราคงไม่ต้องทำขนาดนั้น เนื่องจากบ้านเรามีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ มีประเพณีที่งดงามและคนไทยเป็นคนที่อยู่ง่าย ๆ ซึ่งต่างชาติอยากจะมาดูความเป็นอยู่ง่าย ๆ ของไทยเช่นกัน ไม่ได้หมายความถึงว่า เราต้องรื้อ จัดระเบียบใหม่ สร้างใหม่ทั้งหมดซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะเรามีวัฒนธรรมเก่าแก่สวยงาม ฉะนั้นคนต่างชาติต้องการที่จะมาท่องเที่ยว แต่จะทำอย่างไรเขาถึงจะมาปลอดภัย ทำอย่างไรบ้านเมืองเราจะสะอาด”
“ ทำอย่างไรคนไทยถึงจะมีระเบียบวินัย เรื่อง “รอยยิ้มสยาม” เลื่องลือไปทั่วโลก วันนี้ต้องนำกลับคืนมาให้ได้ ทำให้คนไทยยิ้มให้กันและกัน ไม่ใช่ยิ้มแต่กับชาวต่างชาติอย่างเดียว แต่กับคนไทยไม่ยิ้ม ไม่ได้ ทะเลาะกันไม่ได้ เราจะดึงคนเข้ามาสู่เราด้วยรอยยิ้มและมาตรการการบริหารประเทศทำให้เกิดความสนุกสนาน ไม่มีอะไรที่ทำให้เสียชื่อเสียง อะไรที่ผิดกฎหมาย ไม่ใช่ต่างชาติอยากจะมาเมืองไทยเพราะได้ทำอะไรที่สามารถทำผิดกฎหมายได้ง่าย ๆ ต่อไปนี้ต้องไม่ใช่ ต้องเข้ามาเพราะต้องการอยากจะมาดูชีวิตง่าย ๆ ของคนไทย ดูรอยยิ้มของคนไทย ไม่ใช่เหมือนช่วงที่ผ่านมา ผมคิดว่าอะไรน่าจะดีขึ้นมาบ้างสำหรับในอนาคตนี้”

แถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ ต่อการคุกคามพลเมืองอังกฤษโดยผู้นำทหารไทย

แถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ ต่อการคุกคามพลเมืองอังกฤษโดยผู้นำทหารไทย
Asia Provocateur, 26 มิถุนายน 2557
Asia Provocateur – บล็อก Asia Provocateur รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพของรัฐบาลอังกฤษ แสดงท่าทีเป็นทางการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอส่ง ฉัตรวดี อมรพัฒน์ (โรส) เพื่อให้กองทัพไทยทราบว่าพวกเขาจะไม่ทนต่อการเพิ่มเติมใด ๆ การกำหนดเป้าหมายของชาวอังกฤษหรือคนอื่น ๆ ในแผ่นดินอังกฤษ
โฆษกกระทรวงต่างประเทศได้ส่งข้อความมาให้ Asia Provocateur ข้อความดังกล่าวมีดังนี้
เรามีความตระหนักในกรณีนี้และขอทำความเข้าใจกับตำรวจที่ดำเนินการกับบุคคลนี้
สหราชอาณาจักรมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องเสรีภาพในการพูดและสิทธิของบุคคลที่จะแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ต้องมีการคุกคามของการข่มขู่หรือการล่วงละเมิด
ทุกคนในสหราชอาณาจักรที่รู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกคุกคามในทางใดควรแจ้งตำรวจ
เราได้ทำให้ชัดเจนไปยังกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเทพฯและสถานทูตไทยในกรุงลอนดอนว่า เราจะไม่ทนต่อความพยายามที่จะบังคับใช้ในนามของกองทัพไทยในสหราชอาณาจักรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เสรีภาพในการแสดงออก
แถลงการณ์ของโฆษกกระทรวงต่างประเทศ เกิดขึ้นหลังจาก คสช.ได้พยายามขอให้ทางการอังกฤษส่งตัว ฉัตรวดี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

"บิ๊กตู่":เตือน"กินข้าวเย็นลุงกำนัน"ปูดเจรจาลับทหาร ถ้าทำอีกจะถูกเรียกตัวทุกคนที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี ฐานะผู้ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.

27 มิถุนายน
ลุงตู่พูดถึงลุงกํานัน!!
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.กล่าวในงาน "กินข้าวเย็นกับลุงกำนัน" ว่าเคยเจรจาลับๆ กับ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนที่จะมีการประกาศกฎอัยการศึก
พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงว่า ในระหว่างนั้น 6 เดือนที่ผ่านมา ได้มีบทบาทหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง บังคับใช้กฎหมาย และปฏิบัติตาม และะปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลในขณะนั้น ไม่ได้ไปร่วมคิดร่วมปฏิบัติกับฝ่ายใดทั้งสิ้น ตนไม่ทำให้กองทัพเสียหายแบบนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่มีความจำเป็น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงต้องมี คสช. วันนี้หลายฝ่ายหรือบางฝ่ายได้ทำไปแล้ว และจะพยายามจะทำต่อ
ขอห้ามไว้ตรงนี้ว่า ห้ามการจัดงานลักษณะเช่นนี้อีก เช่น การจัดการพูดคุยทางการเมือง รับประทานอาหารระดมทุน ไม่ว่าจะไปช่วยเหลือใคร สิ่งนี้ยังไม่ถึงเวลา
"ถ้ามีการระดมได้เมื่อไหร่ พูดคุยได้เมื่อไหร่ เป็นกลุ่มเรื่องการเมืองก็จะไปหารือว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งต้องมา ต้องมาทุกพวก ทุกฝ่าย ต้องกลับไปสู่วงจรเก่าๆ อีก ซึ่งขอความร่วมมืออย่าทำอีก ฉะนั้นถ้าอยากพูดคุยต้องไปคุยที่บ้านเงียบๆ สองคน ถ้าออกมาจัดการชุมนุมหรือจัดงานเลี้ยงข้างนอกไม่ได้ เพราะผิดข้อกำหนดของ พรบ.กฎอัยการศึก ถ้าทำอีกจะถูกเรียกตัวทุกคนที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดี ฐานะผู้ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. สื่อก็จะต้องพิจารณาตรวจสอบให้ดีก่อนลงข่าว ต้องตรวจสอบกับทาง คสช. ก่อน"

"บิ๊กตู่” วอนไทยอย่าประณามกันเอง ให้ต่างชาติรู้เลย ยันไม่ต่อต้าน “สหรัฐฯ-EU”

"บิ๊กตู่” วอนไทยอย่าประณามกันเอง ให้ต่างชาติรู้เลย ยันไม่ต่อต้าน “สหรัฐฯ-EU” แจงหากจัดเลือกตั้งใน สภาวะแวดล้อมเดิม ก็จะกลับสู่วังวนเดิม ทุจริต คอรัปชั่นของกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง เตือนอย่าให้ถึงขั้น แบบต่างประเทศ จับอาวุธฆ่าฟันกัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และหัวหน้าคสช. กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ถึงท่าทีนานาชาติในปัจจุบันที่พวกเราทุกคนเป็นห่วง ไม่ว่าจะเป็น ที่ประชุมคณะมนตรีต่างประเทศของ EU ประจำเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศไทย และได้พิจารณาทบทวนความร่วมมือกับไทยบางประการ เพื่อมุ่งหวังให้ไทยเดินหน้าจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว ผมได้เรียนให้ทราบถึงปัญหาว่า ปัญหาของเราคืออะไร การเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์นัก จะเป็นอันตรายต่อทั้งเราและเขาด้วย เราพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำตามที่สังคมโลกจับตามองอยู่ให้ดีที่สุด
“วันนี้การจัดการเลือกตั้งในปัจจุบัน ถ้าหากเรายังจัดอยู่ จะเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และประเทศชาติจะกลับไปสู่วังวนเดิม ในเรื่องของการขัดแย้งกัน ใช้ความรุนแรงต่อกัน ทุจริต คอรัปชั่นของกลุ่มผู้มีอำนาจทางการเมือง การก่อการร้าย การใช้อาวุธสงคราม เราคงยอมตรงนั้นไม่ได้อยู่แล้ว ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่คงเข้าใจ และไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น”
“ถ้าเราดูต่างประเทศวันนี้ หลายประเทศในโลกมีการสู้รบกัน มีการใช้อาวุธสงคราม มีการแบ่งพวก แบ่งฝ่าย รบกันในเมือง และต่างชาติก็เข้าไปแก้ไข ผมคิดว่าเราไม่น่าจะไปถึงจุดนั้น ต้องระมัดระวังให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะปฏิรูปให้ได้โดยเร็ว และทำให้ประเทศไทยนั้นเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า EU หรือสหรัฐอเมริกา จะมีความเข้าใจที่เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศในปัจจุบัน ที่เข้าใจสถานการณ์ดี และมีความพึ่งพอใจในการแก้ไขปัญหาของพวกเราในวันนี้” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าวันนี้สมาคมผู้ประกอบการและนักธุรกิจจากกลุ่มประเทศ EU เอง จากสหรัฐอเมริกาเอง ก็ได้มีการพบปะพูดคุยกันอยู่แล้ว และวันนี้ยังคงดำเนินความสัมพันธ์ในเรื่องการค้าการลงทุนกับไทยอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน
“ในส่วนมาตรการต่าง ๆ ของสากล หรือประชาคมโลก ผมอยากให้พี่น้องคลายกังวล เราจะพยายาม เราไม่อยากจะไปแก้ตัว หรือไปโต้ตอบให้เกิดความรุนแรงต่อกัน เราเป็นมิตรประเทศกันมา บางประเทศเป็น 100 กว่าปี บางประเทศก็ 50 ปี 30 ปี ตามลำดับ เราต้องสร้างความเข้าใจให้เขา และให้เขารู้ว่าเรามีความมุ่งหมายอย่างไร มีเจตนารมณ์ในการบริหารครั้งนี้อย่างไร เราไม่อยากจะไปประณามเรากันเอง ให้ต่างชาติเขารู้ว่าเรามีข้อบกพร่องต่าง ๆ มากมายอย่างไร แต่บางครั้งมีความจำเป็นเหมือนกัน เพราะเขาไม่เข้าใจ” หน.คสช. กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อที่ 23 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ทางหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ให้การต้อนรับท่านทูตสหรัฐฯ ในการเข้าหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน รับทราบแนวทางโรดแมป หรือการบริหารงานของ คสช. ในขั้นต้นไปแล้ว ท่านก็ได้กล่าวว่ามียินดีที่ไทยมีแนวทางชัดเจน และแก้ไขในเรื่องของการปราบค้ามนุษย์ ท่านก็เห็นดีด้วย ขณะเดียวกันก็จะแก้ปัญหาในระบบของเราอื่น ๆ ไปด้วย
นอกจากนี้ เมื่อ วันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ได้พบปะพูดคุยกับสภาหอการค้า กลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ ของต่างประเทศ และรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะ ตลอดจนแนวทางแก้ไข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบจากมาตรการดังกล่าว ของอียูและของสหรัฐอเมริกาด้วย และผู้ประกอบการเหล่านั้น จากต่างประเทศก็มีความเข้าใจ ในสถานการณ์ของเราดีขึ้น และพยายามจะช่วย คสช. แก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทุกคนต้องช่วยกันในองค์กรแต่ละระดับ ทางภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ก็ต้องดำเนินการในส่วนของเขาไปด้วย
“หากเราแก้ไขทุกอย่างได้ ในระยะเวลาอันสั้น มาตรการต่าง ๆ เหล่านั้น ก็น่าจะลดลำดับลงในอนาคต” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

"บิ๊กตู่"เล็ง แก้กฎหมาย กว่า๔๐๐ ฉบับ จัดการ “ขบวนการฟอกเงิน และหมายจัดการ “นักการเมืองท้องถิ่น” เพิ่มอำนาจ ปปช.-ปปท.


"หน.คสช.” เล็ง แก้กฎหมาย กว่า๔๐๐ ฉบับ จัดการ “ขบวนการฟอกเงิน และหมายจัดการ “นักการเมืองท้องถิ่น” เพิ่มอำนาจ ปปช.-ปปท.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. กล่าวว่า เรื่องกฎหมายเร่งด่วน วันนี้เราได้แก้โดยการเชิญ ผู้แทน 20 กระทรวง ประชุมเพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเร่งด่วนที่ค้างอยู่ วันนี้ผมเรียนให้ทราบว่า ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีมากกว่า 400 เรื่อง เช่น กฎหมายฟอกเงิน ในเรื่องการอนุญาตการนำเงินเข้า-ออกประเทศ
รวมทั้งการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุมัติการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านทุจริต ปีพ.ศ.2546 ที่เสนอโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งเรายังไม่เรียบร้อย ถ้าหากเราทำได้ก็จะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามหลักกฎหมายสากล
นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาทบทวนการมีกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริต ประจำจังหวัด วันนี้ก็มีการหารือกันว่าจะเดินกันอย่างไรต่อไป ผมเกรงว่าหลาย ๆ มักจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่น และเพิ่มภาระด้านงบประมาณ หลายหน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะ ปปช. อย่างเดียว วันนี้จะต้องเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น ใครทำที่ไหน อย่างไร และมีในทุกพื้นที่อันนี้ต้องแก้ไขในระยะที่ 2

"พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ยินดีกับ ผลสำรวจประชาชนพอใจ “คสช.”

ความสุข...บนความทุกข์ คสช.
"พล.อ.ประยุทธ์” ไม่ยินดีกับ ผลสำรวจประชาชนพอใจ “คสช.” เปรย ประชาชนมีความสุข แต่มาทุกข์มาอยู่ที่ คสช. แต่ยินดีทุกข์ ยันจะทำอย่างเต็มที่ ในเวลาจำกัด/ ระบุ เร่งรัดการปฏิรูปให้เสร็จ ไม่เกิน ๓๐๐ วัน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และ หัวหน้าคสช. รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ถึงผลการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ว่า พี่น้องประชาชนบางท่าน ได้แสดงความห่วงใยและเป็นกังวลว่า คสช. จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไรในหลาย ๆ ด้าน เช่น มีความสลับซับซ้อนหลายมิติ ซึ่งครอบคลุมเชื่อมโยง ทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง จิตวิทยาและอื่น ๆ และเป็นปัญหาที่สะสมมายาวนานหลายปี หลายรัฐบาล ก็เป็นห่วงว่าเราจะทำได้สำเร็จหรือไม่
“วันนี้ คสช. จะมาเรียนให้ทราบว่า เราจะพยายามทำอย่างเต็มที่โดยใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ให้เกิดผลโดยเร็วที่สุด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
โดย เรามีแผนการในการปฏิบัติหน้าที่อยู่หลายขั้นตอนด้วยกัน มีการนำปัญหามาจัดอันดับ จัดความเร่งด่วน จัดได้เป็นระยะ ดังนี้
--ระยะแรก คือระยะเฉพาะหน้า เราจะดำเนินการภายในห้วง 3 เดือนของการดำเนินการ ซึ่งเราได้ดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยทันที แก้ไขรายวัน เช่น เรื่องการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การพนัน ยาเสพติด การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การปราบปรามจับกุมอาวุธสงคราม การปราบปรามกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ ผู้ประกอบการรถรับจ้างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าว มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องค่าครองชีพ การช่วยเหลือเกษตรกร การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อปลดล็อคปัญหาอุปสรรคในด้านการค้า การลงทุน
ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 โดยได้มีการการตรวจสอบมาตามลำดับ ในทุกโครงการที่เป็นของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ในด้านความจำเป็น ความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ก่อนการอนุมัติจะต้องผ่านการตรวจสอบ กลั่นกรอง อีกชั้นหนึ่ง
ในส่วนของการดำเนินการระยะแรก อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ เรื่องของการเตรียมการในการปฏิรูปเพื่อเข้าสู่การ ปรองดอง สมานฉันท์ และการปฏิรูปในระยะที่สอง
พล.อ.ประยุทธ์ ระบุด้วยว่า ระยะสั้น นั้นมีระยะเร่งด่วน ซึ่งมีความเดือดร้อนโดยตรง ระยะสั้น เราจะใช้ระยะเวลาประมาณไม่เกิน 300 วัน เพื่อดำเนินการปฏิรูปในทุกด้าน ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เช่น ปัญหาการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น การปฏิรูปการเมือง กระบวนการการเข้าสู่อำนาจ การใช้อำนาจ กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ การปฏิรูปพลังงาน สื่อสารมวลชน การศึกษา ระบบคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ลดความเลื่อมล้ำ การเข้าถึงทรัพยากร และอื่น ๆ อีกมากมาย ในขั้นนี้เราจะดำเนินการเมื่อมีรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และสภาปฏิรูป
สำหรับปัญหาสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณาทบทวนละเอียด และคำนึงถึงผลได้ผลเสีย ที่จะกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนใหญ่ในวงกว้าง
3.ในระยะยาว คงหลังจากการเลือกตั้ง จะนำปัญหาจากระยะที่ 1 และ 2 ไปสู่ระยะที่ 3 ปัญหาใดที่ยังไม่แล้วเสร็จ คงต้องไปดำเนินการให้ต่อเนื่อง และแก้ไขโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้การปฏิรูปที่เราทำมาทั้ง 2 ระยะนั้น มีความสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์สุขของคนทุกกลุ่มทุกฝ่ายต่อไป
เรื่องประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการบริหารประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ คสช. มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วน ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน
“วันนี้เรารับฟังนโยบายและเสียงจากประชาชน และได้เสนอแนะนโยบายต่าง ๆ ที่ประชาชนได้เสนอมา นำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว”
พล.อ.ประยุทธ์ ยกตัวอย่าง เช่น การพบปะพูดคุยกับสภาหอการค้าไทย สภาหอการค้าต่างประเทศ เร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ ลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ และเน้นย้ำให้กระทรวงต่าง ๆ เร่งรัด แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน
ทั้งนี้เราจะรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะของทุกกลุ่ม เพื่อให้การบริหารงานเหล่านั้น เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ ให้ทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดช่องทางในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ วันนี้ได้มีการจัดตั้งหลายหน่วย เพื่อจะนำคำร้องทุกข์และคำแนะนำต่าง ๆ มาสู่การพิจารณาแก้ไขในทั้ง 3 ระยะ
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ของโพลล์เมื่อไม่นาน ได้ระบุว่าความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ 8.82 เต็ม 10 ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม คสช. ไม่ได้นิ่งนอนใจหรือยินดีกับผลสำรวจมากนัก ผมเห็นว่างานต่าง ๆ ยังมีอยู่อีกมากมาย
“เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องทำให้ทุกคนมีความสุข ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ความทุกข์กลับมาอยู่ที่ คสช. เราก็ยินดีและเต็มใจที่จะทำให้กับพวกท่าน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ ระบุด้วยว่า เราจะต้องแก้ไขอีกมาก หลายเรื่อง หลายประการ วันนี้ได้เร่งให้กระทรวง ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ไปจัดหาและจัดทำความคิดเห็นของประชาชน ความคาดหวังต่าง ๆ เพื่อนำมาพิจารณาดำเนินการต่อไปทั้งหมด
เรื่องของการจัดกลุ่ม จัดระเบียบ วันนี้ดำเนินการมาเป็นลำดับ วันนี้เรารู้ว่าต้องทำอะไรในระยะที่ 1 และอะไรต้องไประยะที่ 2 และต้องเตรียมอะไรในระยะที่ 3 เราทำทั้ง 3 อย่างไปในเวลาเดียวกัน มีคณะทำงานมากมายในขณะนี

"พล.อ.ประยุทธ์” แฉ แม้ระบบการท่องเที่ยว ก็มี “มาเฟีย” วอนคนไทยทุกคน มีส่วนช่วยดูแลความมั่นคง

"พล.อ.ประยุทธ์” แฉ แม้ระบบการท่องเที่ยว ก็มี “มาเฟีย” วอนคนไทยทุกคน มีส่วนช่วยดูแลความมั่นคง ทั้งภายในและชายแดน เผยแนวทางในการสร้างรั้วชายแดน และติดกล้อง และอุปกรณ์ เซนเซอร์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.และหัวหน้าคสช. กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ถึงงานด้านความมั่นคง ว่า เป็นสิ่งสำคัญ ความเร่งด่วน เราจะต้องนำความมั่นคงเข้ามาบูรณาการ เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกมิติ ในทุกด้าน ในส่วนของงานปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา หรืออื่น ๆ ยังขาดมิติงานทางด้านความมั่นคง จะทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมายในอนาคต
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งกันทางการเมือง จนนำไปสู่ความแตกแยก การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่เน้นในเรื่องผลกำไร แรงงานราคาถูก ส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรง เกิดแรงงานนอกระบบ ผิดกฎหมาย ปัญหาค้ามนุษย์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน
หัวหน้าคสช. แฉด้วยว่า แม้แต่เรื่องของการท่องเที่ยว โดยมองที่ปริมาณเป็นหลัก มีรายได้อย่างเดียว จะทำให้เกิดปัญหามาเฟียและกลุ่มก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ถ้ามุ่งหวังอย่างเดียว ก็จะเกิดการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการพัฒนาการค้าการลงทุน ตามแนวชายแดน ระเบียบประเทศเพื่อนบ้านตลอดระยะทาง 5,800 กิโลเมตร ถ้าหากเราไม่คำนึงถึงความมั่นคง ปัญหาเขตแดน ปัญหาเรื่องการหลั่งไหลของอาชญากรรม แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายก็จะเข้ามา เพราะว่าเราไม่ได้มีรั้ว วันนี้ก็ต้องเพิ่มวิธีการ ทำอย่างไรเราจะเฝ้าระวังให้เต็มที่ในพื้นที่แนวชายแดน
“สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลงานด้านความมั่นคงด้วย และเสริมด้วยทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น กล้อง หรืออุปกรณ์ในการดักจับความเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่เป็นที่รกทึบ” ผบ.ทบ. กล่าว
ผบ.ทบ. กล่าวว่า การสร้างความมั่นคง นอกจากเราจะมีความเข้มแข็งของทหาร หรือกองกำลังที่เข้มแข็งแล้ว ผมว่าสิ่งที่สำคัญวันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วน ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ประชาชน ภาคประชาสังคม นิสิตนักศึกษา นักเรียนที่ต้องมีจิตสำนึก ในเรื่องความมั่นคง มีความรับผิดชอบ มีวิสัยทัศน์ว่า เราจะทำอย่างไรให้ประเทศชาติปลอดภัย
“ทุกคนต้องถือว่าเป็นงานของทุกคน จะต้องยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวม กฎหมายว่าอย่างไร ผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้นสำคัญแค่ไหน อันนี้ต้องยึดถือเป็นที่ตั้ง ปัญหาต่าง ๆ ก็จะได้ลดลำดับลงไป ถ้าหากเราเข้มแข็งเพียงพอ ปัญหาเหล่านั้นจะไม่สามารถลุกลามบานปลายได้ในระยะต่อไป” หน.คสช. กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ต้องร่วมมือกัน เราก็พยายามสร้างความเข้าใจ มีการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทุกได้มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผู้ที่เห็นต่างกันก็จะได้รับรู้ความเป็นไป และเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ยอมรับกันได้ เห็นต่างแค่ไหนก็ตาม แต่ต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และมีกติกาของสังคม คือกฎหมายที่จะทำให้สังคมนั้น เป็นสังคมที่ปลอดภัย ร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศชาติ ให้ต่างชาติเขายอมรับเรา ปัญหามากมายในเรื่องของต่างชาติในปัจจุบัน เพราะเรายังพึ่งพาในเรื่องของการส่งออกเป็นหลัก รายได้ของประเทศในปัจจุบันประมาณ 70% เราต้องพึ่งพาการส่งออกทั้งสิ้น และเป็นการส่งออกในส่วนของวัตถุดิบ ที่มีมูลค่าต่ำเป็นจำนวนมาก ก็ต้องแก้ไขกันต่อไปในเรื่องนี้

ไขปริศนา..ที่แท้รัฐบาลเผาไทย เวนคืนวังสระปทุมพระเทพฯ ทำทางด่วน


ที่มา FB: Tee Terapong 
วันที่ 27 มิ.ย.57 ไขปริศนา..ที่แท้รัฐบาลเผาไทยปูเน่า เวนคืนวังสระปทุมพระเทพฯ ทำทางด่วน
พลันที่ พล.ต.ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา เผยแพร่ข้อความผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวร์ค ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงปลูกบ้าน โดยเป็นการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการซื้อที่ดินแปลงนี้
ข้อความดังกล่าว ความว่า “ ผมได้รับทราบเรื่องจากผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระเทพฯ มาว่า ท่านทรงซื้อที่ดินแปลงเล็ก ในจังหวัดเชียงใหม่ และท่านทรงรับสั่งว่า จะปลูกบ้านหลังเล็ก ๆ , ขอย้ำนะครับ ปลูกบ้าน ท่านรับสั่งว่า ไม่ปลูกวัง เพราะต่อไปเขา ( เขา??? ) จะไล่ฉัน ไม่ให้อยู่วังแล้ว จึงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อเอง , เหตุที่สมเด็จพระเทพฯ ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดิน ท่านรับสั่งว่าเขาจะได้มายึดไม่ได้ ผมได้ฟังแล้วรู้สึกตีบตันในลำคอ ขอบตาร้อนผ่าว
สงสารท่านเหลือเกินแล้ว พระบิดาทรงงานหนักเพื่อชาติและประชาชนมาตลอด แต่สุดท้ายจะไม่มีอะไรเหลือ ผมในฐานะปวงชนชาวไทย ขอกล่าวคำสัตย์สาบาน ด้วยชีวิต ณ ที่นี้ว่า ผมจะไม่ยอมให้มัน ไอ้ อี ผู้ใด มากระทำต่อพระองค์เยี่ยงนั้นได้ สถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องธำรงอยู่คู่ประเทศไทย ตราบนานเท่านาน..ใครเล่าเหวยจะร่วมสู้กับกูบ้าง “..
ก็เกิดคำถามขึ้นในใจคนไทยทุกคน ว่าที่มาที่ไปเรื่องนี้เป็นอย่างไรกันแน่ ใครกลุ่มไหนกัน ที่กล้าอาจหาญกระทำการมิบังควรเช่นนี้ ก่อนจะมีคำเฉลยปริศนานี้ มาดูประวัติความเป็นมา “ วังสระสระปทุม “ ที่เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อนว่ามีความสำคัญต่ออารยธรรมประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างไร
วังสระปทุม ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พระรามที่ 1 และถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยอาณาเขตทางด้านทิศเหนือ ติดคลองแสนแสบ ทิศตะวันออกติดคลองอรชร ริมวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ทิศใต้ติด ถ.พระรามที่ 1 และทิศตะวันตกติดถนนพญาไท ปัจจุบันอยู่กลางย่านเศรษฐกิจที่คึกคัก ในเขตปทุมวัน
สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระราชดำริ จะพระราชทานที่ดินบริเวณถนนปทุมวัน หรือถนนพระรามที่ 1 ให้เป็นสถานที่สร้างวัง ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
แต่เนื่องจากในขณะนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จึงยังไม่มีการสร้างพระตำหนักขึ้น ตราบกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงได้พระราชทานสิทธิ์ในที่ดินให้เป็นของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ในเวลาต่อมา
หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้เสด็จออกมาประทับภายนอก พระบรมมหาราชวัง พระองค์โปรดฯ ที่ดินบริเวณนี้มาก ถึงแม้ว่าในขณะนั้นบริเวณประทุมวัน ถือว่าเป็นที่ดินที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ รวมทั้งการคมนาคมก็ลำบากมาก
พระองค์ทรงเตรียมการปลูกพระตำหนัก เพื่อจะเสด็จมาประทับอยู่เป็นการถาวร โดยพระองค์ทรงคิดผังพระตำหนักเอง ทั้งเรื่องทิศทางการวางตำแหน่งของอาคาร เนื่องจากทรงมีความรู้เรื่องทิศทางลมและฤดูกาลเป็นอย่างดี ทรงใช้ก้านไม้ขีด หางพลูเรียงเป็นรูปร่างห้อง และให้หม่อมเจ้าจันทรนิภา เทวกุล เขียนร่างเอาไว้ และส่งให้สถาปนิกออกแบบถวายตามพระราชประสงค์
พระตำหนักใหญ่นี้จึงได้รับแสงแดดและมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ห้องทุกห้องได้รับลมเสมอกัน ในระหว่างการก่อสร้างพระตำหนักนั้น พระองค์ได้เสด็จมาประทับ ณ พลับพลาไม้ริมคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นที่ประทับชั่วคราวบ่อย ๆ เมื่อพระตำหนักสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้เสด็จเข้าประทับ ณ วังสระปทุมเป็นการถาวรตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2498
บริเวณโดยรอบวังในสมัยนั้นเดิมเป็นที่สวน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น กล้วย มะม่วง ขนุน เป็นต้น โดยทรงนำผลผลิตต่าง ๆ ที่ได้นั้นสำหรับตั้งโต๊ะเสวย รวมทั้งพระราชทานผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้นไปยังวังเจ้านายต่าง ๆ ส่วนที่เหลือ เช่น ใบตอง เชือกกล้วย กล้วยสุก ได้นำออกจำหน่ายได้รายได้ปีหนึ่ง ๆ เป็นเงินหลายร้อยบาท โดยส่วนหนึ่งพระองค์ ทรงใช้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชบริพารและทะนุบำรุงวังสระปทุม
หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ทรงสำเร็จการศึกษากลับมายังประเทศไทยแล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดให้สร้างพระตำหนักขึ้นอีกหลังเพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระราชโอรส โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ได้ประทับอยู่พระตำหนักนี้จนสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2472
วังสระปทุมยังคงใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อยมาจนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2538 หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสระปทุมให้เป็นที่ประทับของ “ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “ จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน พื้นที่ของวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นพื้นที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นที่สงบเงียบ ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่นานาชนิด ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ให้เช่าทำศูนย์การค้าห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เช่น สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน สำหรับพื้นที่ส่วนที่เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเทพฯ นั้น ประกอบด้วยพระตำหนักและเรือนต่าง ๆ ดังนี้
พระตำหนักใหญ่เป็นตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลืองทั้งองค์พระตำหนัก โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ฝาผนังใกล้เพดานชั้นบนซึ่งเป็นปูนปั้นรูปดอกไม้ ตั้งอยู่เกือบกลางของวังสระปทุม สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักเขียว เป็นพระตำหนักแรก ที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับภายในวังสระปทุม สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 พระองค์จึงได้เสด็จประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้ พระตำหนักเขียวตั้งอยู่บริเวณริมคลองแสนแสบ เป็นพระตำหนักก่ออิฐถือปูน ทาสีเขียว เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์
เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระมเหสีและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาประทับเมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดียังทรงพระเยาว์
พระตำหนักใหม่ หรือ พระตำหนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์
หลังจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงสำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่วังสระปทุมเป็นการถาวร ดังนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้สร้างพระตำหนักแห่งนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของพระราชโอรส
โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรซึ่งทรงเคยรู้จักเมื่อประทับอยู่ต่างประเทศเป็นสถาปนิก โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 รูปแบบของพระตำหนักมีลักษณะเป็นแบบอังกฤษ สร้างอย่างประณีตและอยู่สบาย
พิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ (พระยศขณะนั้น) และคุณสังวาลย์ ตะละภัฏ (พระยศขณะนั้น) จัดขึ้น ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานและพระราชทานน้ำสังข์ นอกจากนี้ ยังมีการจดทะเบียนเป็นหลักฐานตามแบบแผนของทางการราชสำนักด้วย
หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินี"
หลังจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จประทับ ณ วังสระปทุมแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงพระราชปรารภ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชดำริว่าวังสระปทุมเป็นสถานที่สำคัญแห่งพระราชวงศ์และชาติ สมควรที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระองค์จึงทรงจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" ขึ้นภายในวังสระปทุม
เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอย่างถูกต้อง และครบถ้วน โดยทรงใช้พระตำหนักใหญ่ เป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ โดยสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินไปในการเปิด “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
ภายใน “พระตำหนักใหญ่” หรือ “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” ได้จัดแสดงเป็นห้องต่างๆ ไว้เป็น 3 ช่วงเวลา ห้อง “ยุววัฒน์รัชกรณีย์” ภายในจัดแสดงอ่างสรงของในหลวง ที่ใช้สรงเมื่อทรงพระเยาว์ จดหมายลายพระหัตถ์ของพระบรมราชชนก จดหมายของสมเด็จย่า โทรเลขของสมเด็จพระพันวัสสา เป็นต้น
ต่อมาเป็นห้องที่จัดแสดงถึงช่วงแรก ซึ่งเป็นช่วงของการสร้างพระตำหนักแล้วเสร็จ และสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จฯ กลับจากต่างประเทศมาประทับอยู่ ซึ่งจัดแสดงใน “ห้องพิธี” และ “ห้องรับแขก” โดยในช่วงนี้ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอันเป็นมงคลยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ห้องที่จัดแสดงในช่วงที่สอง “ราชประดิพัทธภิษิต” เป็นช่วงที่สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเสกสมรสและมีพระราชธิดาแล้วหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จฯ กลับจากประเทศอังกฤษและมาประทับอยู่ที่วังสระปทุมอีกวาระหนึ่ง การจัดสิ่งของเครื่องใช้ในห้องแสดงของพิพิธภัณฑ์ในช่วงนี้ ได้แก่ “ห้องเทา” และ “ห้องทรงพระอักษร”
ส่วนจัดแสดงในช่วงสุดท้าย “ราชกฤตย์กตัญญุตา” จัดแสดงใน “ห้องทรงพระสำราญ” “ห้องทรงนมัสการ” และ “ห้องพระบรรทม” เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกมีพระราชโอรสเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์ เสด็จกลับจากสหรัฐอเมริกาพร้อมครอบครัว
นอกจากนี้บริเวณ “เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน” ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดที่จะประทับตรงเฉลียงบนหน้าห้องพระบรรทม ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นห้องทรงนมัสการ เมื่อทรงตื่นบรรทมแล้วจะเสด็จออกมาประทับที่เฉลียงตลอดทั้งวัน และเสวยพระกระยาหาร ณ ที่นี่ด้วย ซึ่งบริเวณนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างยิ่ง
เนื่องจากเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีอันเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า คือ ทรงเป็นประธานในพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงรับดอกไม้ธูปเทียนแพ และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และเจิมพระนลาฏแก่ทั้งสองพระองค์ ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรลงนามในทะเบียนนั้น
ตรงข้ามวังสระปทุม เคยมีวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์สยาม โดยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 กลุ่มคณะราษฎร ได้ตั้งใจทุบทำลายวังกลางทุ่งทิ้ง เพียงเพื่อต้องการสร้างสนามกีฬา ทั้งที่ห่างออกไปอีกไม่มากเป็นทุ่งนาแต่หลวงศุภ ไม่ยอม จงใจจะเอาวังนี้ให้ได้ สร้างความโทมนัส แก่พระพันวัสสาฯ ยิ่งนัก
ด้วยวังนี้ถือเป็นตัวแทนของพระราชโอรสของพระองค์ที่สวรรณคตขณะยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ยินเสียงทุบวังทุกวัน ทุบวังก็เหมือนทุบตี รังแกหัวใจของพระองค์ จะเห็นได้ว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เป็นต้นมา นักการเมืองมีแต่รังแกเชื้อพระวงศ์ตลอดมา
แต่แล้ว สิ่งที่ไม่คาดฝันในยุคนี้ก็เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก เมื่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลเลือกตั้งที่แล้ว มีการอ้างว่า เคยมีกรณีพิพาทกันตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2539 ได้มีการจัดทํา ประชาพิจารณ์
เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับประชาชนชุมชนบ้านครัว อันเนื่องมาจากโครงการทางด่วนแยกอุรุพงษ์ – ราชดำริ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยชาวชุมชนบ้านครัวได้ร่วมกับชุมชนเพื่อนบ้านใกล้เคียง ต่อสู้คัดค้านโครงการดังกล่าวมานานตั้งแต่สมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ให้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพิจารณาถึงความสมประโยชน์และความจำเป็นของโครงการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยให้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นชุดหนึ่ง ทําหน้าที่ดำเนินการไต่สวนหา ข้อเท็จจริง และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ประกาศชี้แจงแผนงาน เอกสารข้อเท็จจริง พร้อมทั้งขอมีส่วนร่วมในการไต่ถามและเสนอพยานหลักฐานและข้อมูลโต้แย้ง ตลอดจนให้การดำเนินการดังกล่าวกระทํา โดยเปิดเผยต่อสาธารณชน
หลังจากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 243/2536 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประโยชน์ของถนนรวมและกระจายการจราจรต่อระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ขึ้น โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย 27 คณะกรรมการชุดนี้ได้ได้สรุปผลส่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536
โดยคณะกรรมการมีมติชี้ขาดว่า โครงการดังกล่าว “ ไม่เป็นประโยชน์กับการจราจร และไม่เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนบ้านครัว โดยภาระที่เกิดจะตกแก่ชุมชนบ้านครัวมากจนไม่เป็นธรรม “
ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ยอมรับความเห็นของคณะกรรมการ โดยอ้างว่าข้อมูลที่คณะกรรมการนำมาพิจารณาเป็นข้อมูลเก่า จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวได้ ทําให้ต้องมีการรับ ฟังความคิดเห็นรอบที่ 2 คณะกรรมการได้ยืนยันในมติเดิมว่า “ ควรยกเลิกโครงการ”
แต่คณะรัฐมนตรี กลับมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้างต่อไปได้ โดยเลี่ยงลงไปในคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ รัฐบาลจะมีมติแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์
มอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีการปรับปรุงชื่อเสียใหม่เป็น “ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับ ฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. ….” มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
ระเบียบฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดงความคิดเห็นในปัญหา สำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับ เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงาน อันมีผลกระทบต่อประชาชนและยังไม่มีข้อยุติ
และเรื่องดังกล่าวก็ชะลอเงียบหายไป 16 ปี ผ่านมาหลายรัฐบาล จนต่อมาจู่ๆ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 สมัยรัฐบาลที่แล้วที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ได้ฉวยโอกาสช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ต่อเนื่องปี 2555 ที่ประชาชนกำลังสาละวนกับความเดือดร้อนน้ำท่วม แอบให้สภาออกกฎหมายเวณคืนที่ดิน โดยได้ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ว่านั้น คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ
สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา บทบัญญัติและ มาตราสำคัญ มีดังนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี
มาตรา 4 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่
มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุดหกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
โอ้..อะไรนี้รัฐบาลประชาธิปไตย อ้างว่ามาจากการเลือกตั้ง แอบงุบงิบออกกฎหมายเวณคืนที่ดิน ไม่เว้นแม้แต่วังสระปทุม ของสมเด็จพระเทพฯ เป็นที่ดินพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
วังที่เคยประกอบพิธีทางประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก เช่น พิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ (พระยศขณะนั้น) และคุณสังวาลย์ ตะละภัฏ (พระยศขณะนั้น) เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานและพระราชทานน้ำสังข์
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พระยศขณะนั้น) และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศขณะนั้น) จัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์ประธาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในทะเบียนสมรส และโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรลงนามในทะเบียนนั้น
เป็นที่ประทับของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ในราชวงศ์จักรี และปัจจุบันยังเป็นที่ตั้ง “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา อีกด้วย
นี่ยังไม่นับประวัติศาสตร์ทางความทรงจำ ที่ทรงคุณค่าต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินีนาถ และเชื้อพระวงศ์อีกมากมาย ที่มิอาจพระเมินคุณค่าได้ ที่พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกายมาตลอด เพื่ออุทิศทรงงานให้กับราษฎร์ของพระองค์กว่า 64 ปี
จู่ๆ รัฐบาลเผาไทย ออกกฎหมายฉบับเดียว เพื่อเวณคืนวังสระปทุมเก่าแก่ และสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนอีกจำนวนมาก เพียงแค่เอาไปสร้างทางด่วนให้รถวิ่ง ให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ดำเนินการ เป็นการรังแกเบื้องสูงที่ทรงงานหนักเพื่อราษฏรมาทั้งชีวิต
แม้จะเปลี่ยนแนวทางด่วนก็ยังมิบังควรเลย และจริงๆ ไม่ควรเฉียดใกล้แต่แรกด้วยซ้ำ แล้วรัฐบาลที่อ้างว่ามาจากเลือกตั้งจากประชาชน กระทำมิบังควรกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินแบบนี้ มันดีตรงไหน ?
@ เสธ น้ำเงิน3
https://www.facebook.com/topsecretthai
หมายเหตุ โปรดงดโพสลิ้งใดๆ ทุกชนิด / บทความจากแหล่งอื่นที่ทำให้เกิดความสับสนในเนื้อหากับผู้อ่าน / ออกความเห็นในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความตอนนี้ / โพสคำหยาบและภาพที่เกิดความแตกแยก / ให้ร้าย คสช./ นำข่าวลือจากที่อื่นมาโพส ฯลฯ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกพิจารณาบล็อคเข้าเพจนี้