PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เหตุการณ์์การเมืองช่วงร.๗

ความดื้อของรัชกาลที่ 7

สภาวะหวาดระแวงระหว่างรัชกาลที่ 7 กับคณะราษฎรได้ดำรงอยู่ตลอดมา มีการจัดตั้งสมาคมการเมืองของคณะราษฎรโดยเปิดรับสมาชิกและคัดเลือกคนส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นกองนักสืบคอยสอดส่องความเคลื่อนไหวของคนสำคัญในระบอบเก่า ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกไปเมื่อมีการปรับปรุงกรมตำรวจโดยมีกองสันติบาลทำหน้าที่สืบข่าวการเมืองแทน

ขณะที่ทางด้านรัชกาลที่ 7 ก็ดำเนินการจัดตั้งหน่วยสายลับตามพระราชประสงค์เช่นกัน สายลับส่วนพระองค์คนหนึ่งภายใต้การดูแลของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง ในนาม รหัส พ. 27 หรือพโยม โรจนวิภาตเป็นผู้มีความใกล้ชิดกับวงการหนังสือพิมพ์ เห็นว่าผู้ก่อการปฏิวัติ แม้จะไม่ถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏเนื่องจากทำการสำเร็จ แต่ก็ยังถือว่าเป็นโจรปล้นราชบัลลังก์

พวกเชื้อพระองค์ต่างก็แสดงความไม่พอใจคณะราษฎรว่าช่วงชิงทำการเปลี่ยนแปลงและโจมตีเจ้านายให้เสียหาย ม.จ.นักขัตรมงคลพ่อของมรว.สิริกิติ์ถึงกับพูดว่าวงศ์จักรีจะแก้แค้นคณะก่อการฯตัดหัวเอาเลือดล้างตีนวงศ์จักรี บรรดาเชื้อพระวงศ์และพวกนิยมกษัตริย์ยังได้เข้าไปแทรกซึมและจัดตั้งเครือข่ายนักหนังสือพิมพ์เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงต่อต้านการปฏิวัติ 2475

ตามมาด้วยการดิ้นรนต่อสู้ของพวกต่อต้านการเปลี่ยนแปลง หรือพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ ในปี 2476 จากพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจของนายปรีดีที่ต้องการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ

จากการที่นายปรีดีผู้เป็นมันสมองของคณะผู้ก่อการปฏิวัติ 2475 ได้ย้ำเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพื่อจะทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของชาติ นำความสุขสมบูรณ์มาสู่ราษฎรและประเทศ มิใช่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมอย่างที่เป็นอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

นายปรีดีได้เสนอการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มุ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือครองที่ดินและกำหนดให้รัฐเข้าประกอบการทางเศรษฐกิจ โดยประชาชนมีฐานะเป็นข้าราชการและรัฐมีหน้าที่สร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชนตามแนวทางสหกรณ์ครบรูปที่ประชุมคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เห็นพ้องและสนับสนุนความคิดของนายปรีดี พระยามโนปกรณ์ประธานคณะกรรมการราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดีเป็นผู้เขียนเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาตินำขึ้นถวายรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระองค์ก็ทรงเห็นชอบด้วย สมาชิกคณะราษฎรส่วนมากก็เห็นชอบด้วย แต่ก็มีผู้คัดค้านรุนแรงคือพระยาทรงสุรเดชและพวกทหารบางส่วน พระยามโนปกรณ์ได้กราบทูลชี้แจงแก่รัชกาลที่ 7 จนพระองค์ทรงลังเล พอมีการพิมพ์เค้าโครงเศรษฐกิจแจกจ่าย พระยามโนปกรณ์ไม่เห็นด้วยโดยอ้างว่าได้ไปเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 7 มาแล้ว พระองค์ก็ไม่เห็นด้วย นายปรีดีได้นำเสนอคำชี้แจงเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 มีนาคม 2476 และชี้แจงต่อกรรมาธิการในวันที่ 12 มีนาคมโดยอธิบายว่าโครงการที่ตนเสนอนั้นไม่ใช่คอมมิวนิสม์ แต่ใช้หลักสังคมนิยมและทุนนิยมผสมผสานกัน

เสียงส่วนใหญ่ก็สนับสนุน แต่พระยามโนปกรณ์และพระยาทรงสุรเดชคัดค้านตลอดการประชุม ต่อมาที่ประชุมผู้ก่อการมีมติสนับสนุน แต่พระยาทรงสุรเดชได้ประชุมนายทหารกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ พระยามโนปกรณ์ก็ได้แพร่ข่าวไปในหมู่พ่อค้าและราษฎรว่าเค้าโครงการณ์ฯ ของนายปรีดีเป็นคอมมิวนิสม์ และคณะราษฎรจะนำโครงการคอมมิวนิสม์มาใช้ดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ พระยามโนปกรณ์ได้ส่งพระบรมราชวินิจฉัยให้นายปรีดีอ่านในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม กล่าวหาว่าโครงการณ์เศรษฐกิจของนายปรีดีเหมือนกับโครงการของสตาลินแห่งรัสเซียทุกประการ เป็นแผนเศรษฐกิจของพวกคอมมิวนิสต์ ควรเลิกล้มความคิดเพราะจะนำความเดือดร้อนจนสร้างความหายนะแก่ประเทศชาติ นายปรีดีจึงขอลาออกจากรัฐมนตรีแต่พระยาพหลให้ระงับการลาออกไว้ก่อน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับเอาแนวทางเศรษฐกิจของพระยามโนปกรณ์เป็นนโยบายของรัฐบาลแทน

แต่ความขัดแย้งทางการเมืองก็รุนแรงขึ้นโดยพระยามโปกรณ์ได้ทำการยึดอำนาจโดยการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ด้วยการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในวันที่ 1 เมษายน 2476 และได้รีบออก พรบ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ 2476 ในเช้าวันถัดมา พระยามโนปกรณ์ได้เขียนโคลงโจมตีนายปรีดีลงหนังสือพิมพ์ มีการเผยแพร่พระบรมราชวินิจฉัยสู่สาธารณะโดยรัชกาลที่ 7 ทรงออกเงินทุนให้พิมพ์เผยแพร่โหมการโจมตีว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ ถึง 3000 ฉบับ มีความยาว 50 หน้ากระดาษ แสดงว่ารัชกาลที่ 7 ไม่ได้เขียนเองเพราะพระองค์เขียนบทความภาษาไทยยาวๆไม่ได้ เนื่องจากพระองค์ใช้ชีวิตที่เมืองนอกตั้งแต่เด็กนานเกือบสิบปี จึงทรงเขียนเรื่องขนาดยาวด้วยภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การเผยแพร่คำชี้แจงเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจฯของนายปรีดีออกแจกจ่ายแค่ในหมู่คณะรัฐมนตรี สมาชิกคณะราษฎรและอาจรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นายปรีดีจึงต้องรีบลี้ภัยออกนอกประเทศ

รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ได้สั่งควบคุมการเสนอข่าวและความคิดเห็นเรื่องเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจ โดยห้ามพิมพ์เอกสารซึ่งแสดงไปในทางการเมืองหรือนโยบายรัฐบาลหรือเหลื่อมไปในทางลัทธิคอม มิวนิสม์หากมีข้อสงสัยในเอกสารใดให้นำเสนอต่อทางการพิจารณาก่อน มิฉะนั้นอาจสั่งปิดโรงพิมพ์ทันที
วันรุ่งขึ้นหลังจากนายปรีดีออกนอกประเทศไปแล้ว พระยามโนปกรณ์ได้เรียกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เข้าพบ โดยตำหนิหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าพูดจาว่าร้ายตนเอง เสียดสีรัฐบาลและสนับสนุนนายปรีดี พร้อมทั้งประกาศห้ามสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจอีก มิฉะนั้นจะจัดการอย่างเด็ดขาด

ต่อมารัฐบาลได้สั่งปิดหนังสือ พิมพ์ หลักเมืองในข้อหาแสดงความ นิยมต่อเค้าโครง เศรษฐกิจ ของนายปรีดีโดยได้ตีพิมพ์บทความว่าเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดีไม่ใช่เรื่องที่จะนำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ และประชาชนไทยยังคงหวังที่จะได้เห็นเศรษฐกิจและอุตสาหรรมที่นายปรีดีจักได้เลือกเฟ้นเอามาใช้ให้เหมาะกับประเทศชาติต่อไป การตีพิมพ์บทความของหนังสือพิมพ์หลักเมืองดังกล่าวเป็นการขัดหลักการของรัฐบาลและเป็นความผิดตามพรบ.คอมมิวนิสต์

รัชกาลที่ 7 ได้มีหนังสือต่อว่าพระยามโนปกรณ์ที่ไม่จัดการคณะราษฎรให้เด็ดขาด โดยที่พระองค์เคยลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการไว้ล่วงหน้าให้ประหารชีวิตคณะราษฎรในวันที่ 24 มิถุนายน 2476 โทษฐานก่อการกบฏต่อราชวงศ์จักรี โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากนั้นให้นำหัวของพวกกบฏเสียบประจานแก่ประชาชน เพื่อมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่างที่ท้องสนามหลวง แต่ทว่าแผนการประหารหมู่ตามพระราชประสงค์นั้นต้องประสบความล้มเหลว เนื่องจากพระยาพหลฯได้ทำการยึดอำนาจคืนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และได้เรียกตัวนายปรีดีกลับประเทศ สภาผู้แทนได้ดำเนินการไต่สวนและลงความเห็นว่านายปรีดีมิได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามที่ถูกกล่าวหา

พระยาพหลฯได้ขอร้องมิให้หนังสือพิมพ์รื้อฟื้นเรื่องความขัดแย้งโดยย้ำว่ารัฐบาลอยากให้ลืมเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจและพระบรมราชวินิจฉัย เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมือง บรรยากาศทางการเมืองจึงเริ่มผ่อนคลาย แทบไม่มีการนำความขัดแย้งในประเด็นนี้ขึ้นมาโต้แย้งกันอีกเลย
แต่การเคลื่อนไหวต่อต้านปฏิวัติก็ยังคงดำเนินต่อไปถึงขั้นมีการยกทัพเข้ามาจากเมืองโคราช ราชบุรีและเพชรบุรี ภายใต้การนำของพระองค์เจ้าบวรเดช หมายจะปราบปรามคณะราษฎรในวันที่ 11 ตุลาคมปีเดียวกัน..............

ไม่มีความคิดเห็น: