7พ.ย.57
"ชวน"เชื่อ 36 อรหันต์ยกร่างรธน.จะนำพาประเทศเดินหน้า ไม่ถอยหลัง ชี้ ส.ส. ต้องมาจากประชาชน วอนอย่าเอาบ้านเมืองเป็นของทดลอง "สมบัติ" เผย จุดอ่อนรัฐสภาเกิดจากประชาชนอ่อนแอ พรรคเป็นของนายทุน แนะเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัด ส่วน"เอนก" ยอมรับไทยขัดแย้งกันตั้งแต่ปี 2475 แต่ก็อยู่ร่วมกันได้ เสนอออกแบบรัฐบาลแบบผสม ดึงทุกฝ่ายร่วม ตั้งระยะเวลาเฉพาะกาล ลั่นพร้อมเขียนรธน.ให้ออกมาดีที่สุด
เวลา 10.45 น. ได้มีการแสดงทัศนะ หัวข้อ"บทเรียนสู่อนาคตเพื่อประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ" โดยมีนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมแสดงทัศนะ ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ส่วนตัวเชื่อว่ากรรมาธิการยกร่างชุดนี้ จะสามารถนำพาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้โดยที่ไม่พาประชาธิปไตยถอยหลัง ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องกำหนดให้ประชาธิปไตยต้องเป็นไปตามมาตราฐานที่ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้แทนราษฎรเองและต้องยอมรับในประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ทั้งนี้ รูปแบบที่มาของนักการเมืองนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากการแต่งตั้ง สุดท้ายก็จะได้ทั้งคนดีและคนไม่ดีเข้ามาปะปนกันและ อย่าหวังว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนให้คนที่เข้ามาใช้อำนาจเป็นคนดีได้ทั้งหมด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดการจัดการดุลอำนาจ คนที่จะมาเล่นทางการเมืองต้องเป็นมืออาชีพทางการเมืองอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นที่เป็นมืออาชีพในทางอื่นเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง จนเกิดปัญหา พร้อมย้ำว่าขณะนี้การเมืองไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่น เพียงแต่เป็นการสะดุดล้มลงชั่วคราวเท่านั้น
เวลา 10.45 น. ได้มีการแสดงทัศนะ หัวข้อ"บทเรียนสู่อนาคตเพื่อประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ" โดยมีนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมแสดงทัศนะ ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ส่วนตัวเชื่อว่ากรรมาธิการยกร่างชุดนี้ จะสามารถนำพาประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้โดยที่ไม่พาประชาธิปไตยถอยหลัง ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญนั้นต้องกำหนดให้ประชาธิปไตยต้องเป็นไปตามมาตราฐานที่ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้แทนราษฎรเองและต้องยอมรับในประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ ทั้งนี้ รูปแบบที่มาของนักการเมืองนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากการแต่งตั้ง สุดท้ายก็จะได้ทั้งคนดีและคนไม่ดีเข้ามาปะปนกันและ อย่าหวังว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนให้คนที่เข้ามาใช้อำนาจเป็นคนดีได้ทั้งหมด ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการตรวจสอบ เพื่อให้เกิดการจัดการดุลอำนาจ คนที่จะมาเล่นทางการเมืองต้องเป็นมืออาชีพทางการเมืองอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นที่เป็นมืออาชีพในทางอื่นเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง จนเกิดปัญหา พร้อมย้ำว่าขณะนี้การเมืองไทยไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่น เพียงแต่เป็นการสะดุดล้มลงชั่วคราวเท่านั้น
"ประเทศไทยเราไม่ด้อยกว่าที่อื่น ประชาธิปไตยเราก้าวหน้ากว่า แต่เรามีอุบัติเหตุ หากผ่านไปได้เชื่อว่าเราจะไปไกลกว่าทุกประเทศ อย่าไปตำหนิว่าแย่กว่าประเทศใด ฝ่ายตุลาการต้องเข้มแข็ง อย่าเอาบ้านเมืองไปทดลอง บ้านเมืองไม่ใช่ของทดลอง ความมั่นคงของประเทศไม่ใช่ของทดลอง จากบทเรียน 82 ปี เรารู้จุดอ่อนแล้ว ถ้าหาทางแก้ไขเหตุการณ์ยึดอำนาจก็คงไม่เกิดขึ้น "
ด้านนายสมบัติ กล่าวว่า การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงไม่ใช่เป็นระบบประธานาธิบดี เพราะนายกรัฐมนตรีเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศอย่างเดียวไม่ได้เป็นประมุข โดยให้จำกัดอำนาจที่ชัดเจนไม่ให้สามารถละเมิดได้ และยังถือว่าเป็นการปกครองระบบรัฐสภา แต่จุดอ่อนของระบบรัฐสภาในปัจจุบัน เกิดจากกลไกภาคประชาชนอ่อนแอไม่ใช่เกิดปัญหาจากตัวบทกฎหมาย เพราะ หากการเลือกตั้งของไทยประชาชนไม่สามารถเลือกคนที่ดีเข้ามาทำหน้าที่ได้ สุดท้ายระบบเลือกตั้งก็จะไม่ใช่ระบบที่ดี ดังนั้นความเป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากยังมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพราะประชาชนขาดวัฒนธรรมทางประชาธิปไตย
นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันพรรคการเมืองส่วนใหญ่กลายเป็นของนายทุน หากนักการเมืองยังสังกัดพรรคก็จะเป็นเหยื่อให้กับนายทุน ดังนั้นการทำให้พรรคการเมืองรอดจากนายทุน ก็ควรกำหนดให้ประชาชนจ่ายภาษีให้กับพรรคการเมือง จะทำให้พรรคการเมืองดำเนินงานด้วยตนเองไม่พึ่งนายทุน ขณะเดียวกัน การจัดตั้งพรรคต้องกำหนดให้มีสมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นและให้กรรมาการสาขาพรรคเข้ามามีบทบาท ทำให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนวิธีการลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้ คือการให้ประชาชนเลือกฝ่ายบริหารขึ้นมาโดยตรง โดยให้เลือกส.ส. บัญชีรายชื่อจังหวัด ถือจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ขณะที่นายเอนก กล่าวว่า เราขัดแย้งกันตั้งแต่ 2475 แต่ก็อยู่กันได้ในสังคมอย่างประหลาด ขัดแย้งแต่รอมชอมกันได้ แม้แต่การยึดอำนาจครั้งที่ผ่านมา เรียกใครไปรายงานตัวก็ไปกันหมด ฝ่ายที่ยึดอำนาจก็กำลังรอดูว่ารัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร และคิดว่าตัวเองจะกลับมามีอำนาจอีกครั้ง เมืองไทยมีดุลอำนาจมาก จนไม่มีใครเป็นนายกรัฐมนตรีได้นาน ทหารก็อยู่ได้ไม่นาน เมืองไทยมีสิทธิเสรีภาพสูงมาก แต่บางช่วงเราพร้อมขาดสิทธิเสรีภาพ แต่อย่านานมากไม่อย่างนั้นจะมีการบ่น ซึ่งคิดว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ทราบจุดนี้จึงไม่ให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญนาน เรามีวิธีคิดได้หลายแบบ และต้องคิดเชิงบวก มีหลายอย่างอยากเสนอ เป็นไปได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญเราให้ใครชนะแล้วชนะหมด แพ้เป็นฝ่ายค้านตลอดกาลเลย แต่เนเธอร์แลนด์เป็นรัฐบาลผสม ไม่ได้ผลักดันใครเป็นฝ่ายค้านตลอดกาล
นายเอนก กล่าวว่า อยากเสนอว่าควรจะออกแบบให้รัฐบาลต้องมีเสียง 2ใน3 แต่อยากให้มี 3ใน 4 รัฐธรรมนูญจะช่วยบีบให้สองฝ่ายมาร่วมกัน ฝ่ายขัดแย้งต้องร่วมกันเป็นรัฐบาลผสม อาจเขียนระยะเฉพาะกาล 5-10 ปี แต่การควบคุมรัฐบาลต้องใช้องค์กรอิสระ การพิจารณาเกี่ยวกับนักการเมืองต้องสำเร็จรวดเร็ว องค์กรอิสระควรมีไว้ แต่ต้องมีประสิทธิผล ตนไม่เชื่อมั่นฝ่ายค้านจะตรวจสอบรัฐบาลได้มาก ถ้าคิดจะปฏิรูปการเมืองต้องกล้าคิดใหม่ๆ ต้องเขียนรัฐธรรมนูญจากปัญหาของเรา เพราะปัญหาเราไม่เหมือนปัญหาของคนตะวันตก จะลอกเขาไม่ได้ ต้องเข้าใจสังคมไทยแท้ และออกแบบรัฐธรรมนูญมาให้สอดคล้อง เรามีปัญหามากคือระบบอุปถัมภ์ แต่คนไทยขาดไม่ได้ รัฐธรรมนูญจะยอมรับได้อย่างไร ให้ระบบอุปถัมภ์มีหลักการ อย่าให้ก้าวไปสู่คอร์รัปชันได้ออกมาแบบ รัฐธรรมนูญให้ทุนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้น้อย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเริ่มคิด สปช.กมธ.ไม่กีดกันพรรคการเมืองต่างสี เรายินดีฟังปัญหาและให้ท่านช่วยคิดว่าจะสร้างการเมืองอย่างไรไม่ทำลายอีกฝ่าย แต่ผิดก็คือผิดไม่ใช่สามัคคีจนมีนรู้ผิดถูก ขอให้มาช่วยกันแล้วเราจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมาให้ดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น