PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว8ธ.ค.57

Jab08Dec14
////////////
สปช.

"จรัส" คาด สัปดาหนี้ กรอบเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่ง วีธีการเลือกตั้งชัด ชี้ต้องวางแนวทางป้องกันซื้อเสียง-กินรวบให้ได้

นายจรัส สุวรรณมาลา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าว INN  ว่า กรอบเนื้อหาในส่วนตที่ตนเองรับผิดชอบในชุดที่ 4 เรื่องการคลังและการงบประมาณของรัฐ นั้น ซึ่งเบื้องต้นเป็นการทบทวนสาระของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ว่ามีปัญหาในระบบการคลังอย่างไรบ้าง ได้มีการวางกรอบเพื่อปิดช่องว่างนั้นเรียบร้อยแล้ว เช่นเรื่องของการตีความเงินแผ่นดิน, การกู้เงิน,การใช้เงินเกินวงเงินงบประมาณเป็นต้น

ส่วนเรื่องของ การเข้าสู่ตำแหน่ง วีธีการเลือกตั้ง ของนายกรัฐมนตรี และ สภา นั้น ยังไม่มีการพิจารณา ภายในสัปดาห์นี้ และมองว่าเรื่องดังกล่าว ยังถือว่าอยู่ในขั้นของต้นน้ำเท่านั้น เพราะยังต้องฟังความเห็นของอีกหลายฝ่าย ส่วนตัวเห็นว่า ข้อเสนอต่างๆ ที่มีตามสื่อนั้น ในทางปฏิบัติของการเลือกนายกฯโดยตรง หรือเ ลือกผ่านสภา ก็ไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางกลับกัน ปัญหาจริงๆ ที่จะต้องแก้ไข หรือออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นคือเรื่องของการซื้อเสียง และการกินรวบเท่านั้น
----------------
"บวรศักดิ์" บอกเลือกนายกฯ - ครม. โดยตรง ยังไม่ใช่มติ ย้ำ 26 ธ.ค. ชัดยกร่าง พร้อมยันความเห็นหลากหลายไม่นำไปสู่ปมขัดแย้ง

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ข้อเสนอเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยตรง ยังไม่ใช่มติของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะต้องนำเข้าที่ประชุมใหญ่ สปช. ระหว่างวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างจะเข้าร่วมรับฟังด้วย ก่อนนำมาพิจารณาขอมติ ระหว่างวันที่ 18-26 ธ.ค. ส่วนกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนที่ดำเนินการโดยคณะรัฐมนตรี สปช. สนช. และ คสช. จะยังคงดำเนินการควบคู่ไปกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาปรับแก้จนถึงกลางเดือนเมษายน ปี 2558 โดยจะเห็นความชัดเจนของร่างรัฐธรรมนูญฉบับจริงได้ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ก่อนส่งให้ สปช. ลงมติเห็นชอบหรือไม่ ในวันที่ 6 ส.ค. 2558

พร้อมกันนี้ มั่นใจว่า ความคิดเห็นที่หลากหลายในช่วงนี้ จะไม่ทำให้เกิดสถานการณ์ความวุ่นวายหรือขัดแย้ง เพราะทุกคนสามารถเสนอความเห็นได้
------------------
"ประสาร" เผย กมธ.ปฏิรูปการเมือง มติเสียงข้างมาก เสนอ เลือก ครม.โดยตรง แจงส่วนตัวเป็นเสียงข้างน้อย ชี้เพิ่มอำนาจให้นายกฯ มากเกินไป 

นายประสาร มฤคพิทักษ์ โฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการ มีมติให้เสนอต่อคณะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรีโดยตรง ใช้วิธีให้ประชาชน มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ 1 ใบเลือก ส.ส. และ 1 ใบเลือกคณะรัฐมนตรี โดยส่วนตัวเป็นเสียงข้างน้อย ที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว จึงมองว่า เป็นการเพิ่มอำนาจให้นายกรัฐมนตรี มากเกินไป โดยในปัจจุบันนี้ นายกรัฐมนตรี ก็ถือเป็นศูนย์รวมอำนาจในการทำงานอยู่แล้ว สำหรับเหตุผลที่เสียงข้างมาก ระบุว่า ข้อเสนอรูปแบบนี้ เนื่องจากต้องการให้ นายกรัฐมนตรี ทำงานครบ 4 ปี ถือเป็นเรื่องอันตราย รวมทั้งเหตุผลที่ระบุว่า การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน รวมถึงจะได้เห็นหน้าตาของคณะรัฐมนตรี และยังมีผลช่วยตัดระบบอุปถัมภ์ด้วย
-------------------
"สมบัติ" แจงหากที่ประชุมรับรองมติเสียงข้างมาก พร้อมนำเสนอต่อ สปช.ทันที ชี้ตรวจสอบต้องเข้มข้นมากขึ้น 

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึง มติของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ที่เสนอให้เลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง ว่า ในวันนี้ หากที่ประชุมรับรองมติ ก็พร้อมนำมติดังกล่าวส่งที่ประชุม สปช. โดยให้เหตุผลถึงข้อดีในการเลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง ว่า ประชาชนจะได้เห็นหน้าตาและรายชื่อของคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง และสามารถสืบค้นประวัติได้ก่อน เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจลงคะแนน ส่วนข้อกังวลในการตรวจสอบนั้น ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบเดิมนั้น ไม่ได้ผล แต่ครั้งนี้จะมีการประยุกต์ โดยให้คณะกรรมาธิการสามารถเรียกนักการเมืองที่ถูกกล่าวหามาไต่สวนได้ รวมถึงสามารถส่งฟ้องต่อศาลการเมือง เพื่อเอาผิดได้ทันที เช่นเดียวกับอำนาจในการถอดถอนยังเป็นของสมาชิกวุฒิสภา แต่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง จะต้องมีการหารือว่าจะทำอย่างไรให้การถอดถอนเป็นผลสำเร็จ
-------------
"ปานเทพ" ไม่ขัดข้อเสนอลดวาระ ป.ป.ช. บอกรอข้อสรุปที่ชัดเจน พร้อมแนะให้เหลือแค่ 4 ปี สามารถต่อได้อีก 1 สมัย

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงข้อเสนอที่จะลดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จาก 9 ปี เหลือเพียง 5 ปี ว่า เป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ยังไม่เป็นข้อสรุปใด ๆ ซึ่งส่วนตัวมองว่ารัฐธรรมนูญเดิมที่กำหนด 9 ปี เพื่อให้การทำงานของ ป.ป.ช. มีความต่อเนื่อง เพราะแต่ละคดีที่เข้าสู่ ป.ป.ช. เป็นคดีที่มีความสำคัญ และต้องใช้เวลาตรวจสอบ ข้อเท็จจริง แต่หากลดวาระจริง ตนเสนอให้ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และสามารถคัดเลือกต่อได้อีก 1 วาระ

นอกจากนี้ นายปานเทพ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุให้ทางองค์กรอิสระคิดวิธีป้องกันตัวเองเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ขณะนี้ทาง ป.ป.ช. ยังไม่มีปัญหาอะไร แต่เคยเรียนต่อนายกรัฐมนตรีในครั้งที่มีมวลชนมาล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. ก่อนหน้านี้ พวกองค์กรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่อย่างนี้มีความเป็นห่วง
----------------
พล.อ.เลิศรัตน์ เผย เพื่อไทย ส่ง "โภคิน" เข้าพบ 12 ธ.ค. นี้ - กมธ.ยกร่างฯ พิจารณารายงานสรุปกรอบเนื้อหาเรื่องกระจายอำนาจ และการปกครองส่วนท้องถิ่น

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ พรรคเพื่อไทยได้แสดงความจำนงให้ นายโภคิน พลกุล ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนเข้าให้ข้อเสนอแนะในฐานะพรรคการเมืองกับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในเวลา 09.00 น.

ส่วนการประชุมวันนี้ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะและกรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ 6 ในส่วนของ ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 7 การกระจายอำนาจ และการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีเป้าหมายในการเสนอแนะหลักการ เพื่อต้องการให้มีการลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน และกระจายอำนาจรัฐไปสู่ประชาชน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกรรมาธิการยังไม่มีการหารือถึงที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งหรือไม่
------------------
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุมต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ โดยงดวันที่ 10 ธันวาคม เนื่องจากเป็นวันหยุดรัฐธรรมนูญ

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ที่ประชุม กมธ. ได้นัดประชุมครั้งต่อไปใน วันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุ กมธ.พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ 10 ในส่วนของภาค 4 หมวด 2 การสร้างความปรองดอง ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ วันที่ 11 ธันวาคม เป็นการพิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุ กมธ.พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 3 ในส่วนของภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด 3 รัฐสภา และหมวด 4 คณะรัฐมนตรี ที่มี นายสุจิต บุญบงการ เป็นประธานอนุกรรมาธิการ

อย่างไรก็ตาม งดการประชุมวันที่ 10 ธันวาคม เนื่องจากตรงกับวันรัฐธรรมนูญ
--------------------
โภคินนำพท.พบกมธ.รธน.12ธค.คุยแนวทางยกร่าง

 โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันที่ 12 ธันวาคมนี้ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย แสดงควาจำนงเข้าให้ข้อเสนอแนะการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ นำโดยนายโภคิน พลกุล ทีมกฎหมายของพรรค ขณะที่ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้คณะรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

 พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ พรรคเพื่อไทยได้แสดงความจำนงให้ นายโภคิน พลกุล ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนเข้าให้ข้อเสนอแนะในฐานะพรรคการเมืองกับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในเวลา 09.00 น. ส่วนการประชุมวันนี้ ได้พิจารณาข้อเสนอแนะและกรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ 6 ในส่วนของ ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 7 การกระจายอำนาจ และการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีเป้าหมายในการเสนอแนะหลักการ เพื่อต้องการให้มีการลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน และกระจายอำนาจรัฐไปสู่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกรรมาธิการ ยังไม่มีการหารือถึงที่มาของผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งหรือไม่

 ขณะเดียวกัน นายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุม มีมติเห็นชอบข้อเสนอ ให้คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และให้ทำหน้าที่เฉพาะฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียว  ส่วนโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติ กำหนดให้มี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบฝ่ายบริหาร รวมถึงให้อำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ห้าม ส.ส. และ ส.ว. เป็นรัฐมนตรี

ขณะที่ลดจำนวน ส.ส. เหลือ 350 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยกำหนดให้ 1 เขต มี ส.ส.ไม่เกิน 3 คน  ส่วน ส.ว.ใหส่วน ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และอีกส่วนมาจากการเลือกตั้งขององค์กรวิชาชีพและกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
------------------
"เทียนฉาย" ขออย่ากังวลปมเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ชี้ยังไม่ใช่ข้อยุติ เชื่อประชาชนไม่สับสน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ระบุถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการการปฏิรูปการเมือง เสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ว่า อย่ากังวลกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของข้อเสนอดังกล่าว เพราะถือว่ายังไม่ใช่ข้อยุติ และต้องขอบคุณที่มีการให้ความเห็นและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ แม้ว่ามีความเห็นที่หลากหลาย เชื่อว่าประชาชนจะไม่สับสนสามารถแยกออกได้ว่า ใครให้ความเห็นหรือข้อสรุป ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ก็เปิดโอกาสให้เสนอความเห็นได้ และทุกคนที่เสนอต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่ความเห็นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ตนเองไม่สามารถให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวได้ เพราะต้องทำหน้าที่ประธาน สปช. แม้มีความเห็นส่วนตัวก็ต้องเก็บเอาไว้ ทำให้ต้องระมัดระวัง
--------------
มติ กมธ.ปฏิรูปการเมือง เสนอ ครม. มาจากเลือกตั้ง ขณะโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 สภาห้าม ส.ส.-ส.ว. นั่ง ครม. แก้ต่อรองตำแหน่ง

นายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม มีมติเห็นชอบข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และให้ทำหน้าที่เฉพาะฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียว โดยรูปแบบการเลือกตั้งให้พรรคการเมืองเสนอบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรีพร้อมนโยบายเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง

ส่วนโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติ กำหนดให้มี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบฝ่ายบริหาร รวมถึงให้อำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ห้าม ส.ส. และ ส.ว. เป็นรัฐมนตรี

ทั้งนี้ เชื่อว่าโครงสร้างที่เสนอจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างเดิม โดยเฉพาะการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจะทำได้ยากขึ้น และการบริหารงานของรัฐบาลที่จะไม่ยึดโยงกับ ส.ส. เนื่องจากประชาชนเป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง และจะสามารถแก้ปัญหาการต่อรองตำแหน่งและประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่าง ส.ส. และคณะรัฐมนตรี


///////
ปฏิวัติซ้ำ

"พล.อ.อุดมเดช" เมิน "บิ๊กจิ๋ว" เตือนรัฐบาลระวังปฏิวัติซ้ำ คาดกลาง ธ.ค. เริ่มวางกรอบคุยสันติสุข ยันเร่งช่วยเหลือชาวสวนยาง

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เตือนรัฐบาลว่า อาจจะมีการปฏิวัติซ้ำอีกครั้ง ว่า เป็นเรื่องความคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งรัฐบาลก็ยินดีรับฟัง แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลได้พยายามทำหน้าที่ทุกอย่างอย่างเต็มที่ และทำให้ดีที่สุด ส่วนความคืบหน้าในการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ นั้น พล.อ.อุดมเดช บอกกลางเดือนธันวาคม นี้ ทางทีมคณะทำงานอาจจะมีการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อพูดคุยหารือถึงกรอบของการปฏิบัติในการพูดคุย

นอกจากนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังได้มีความเป็นห่วงเรื่อง ปากท้องของประชาชนชาวสวนยาง โดยยืนยันว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่ ขอให้ประชาชนเข้าใจรัฐบาลด้วย
--------------
น้องชายนายกฯ มั่นใจไร้ปฏิวัติซ้อน ไม่ขอวิจารณ์ กฎหมายนิรโทษกรรม เพราะไม่รู้รายละเอียด ยังไม่มีการยื่นมายัง สนช.

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาเตือนให้รัฐบาลระวังจะมีการปฏิวัติซ้ำ ว่า เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่ยืนยันยังไม่มีข่าวเรื่องของการปฏิวัติซ้ำ และไม่กังวลว่าการออกมาเตือนของอดีตนายกรัฐมนตรีครั้งนี้จะทำให้เสียบรรยากาศการสร้างความปรองดองภายในประเทศ เนื่องจากขณะนี้ประเทศอยู่ในช่วงของการปฏิรูป ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง

ส่วนกระแสข่าวที่จะมีการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมเข้า สนช. นั้น พล.อ.ปรีชา บอกว่า ตอนนี้ยังไม่มีการเสนอมาที่ สนช. และไม่ขอแสดงความคิดเห็น ขอรอดูในส่วนของเนื้อหารายละเอียดก่อน ซึ่งหากมีการเสนอมาจริงสมาชิก สนช. ทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ได้
-------------------
พล.อ.ประยุทธ์ ไร้กังวลคำเตือน "บิ๊กจิ๋ว" บอกไม่ปฏิวัติตัวเองซ้ำแน่นอน ขณะ พล.อ.ไพบูลย์ เชื่อมั่นเหมือนนายกฯ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวสั้น ๆ ถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวเตือนให้ระวังเรื่องการปฏิวัติซ้ำว่า ส่วนตัวไม่ปฏิวัติตัวเองซ้ำแต่อย่างใด

ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องนี้ โดยระบุว่า มั่นใจตามที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้แล้วว่าไม่มีการปฏิวัติซ้ำ ส่วนกรณีที่มีแนวคิดเสนอให้ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อออกกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น มองว่าเป็นเพียงข้อเสนอ และเป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายที่จะพิจารณา ซึ่งหากคนส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมก็ว่ากันไปตามกระบวนการ

ส่วนความเห็นต่างของบุคคลบางกลุ่มนั้นถือเป็นเรื่องปกติ แต่ขอให้อยู่ตามกรอบของกฎหมายซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของการปฏิรูป
////
คดีพงษ์พัฒน์

ผบ.ทบ. รับมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ เอี่ยวน้ำมันเถื่อน ยาเสพติด ในจังหวัดชายแดนใต้ ส่งหลักฐาน "เสี่ยโจ้" ให้ ดีเอสไอ - ปปง. ตรวจสอบต่อ

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงเรื่องภัยแทรกซ้อนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ การค้าน้ำมันเถื่อน ยาเสพติด ว่า ได้กำชับไป

ยังเจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ควบคุมให้ได้ โดยยอมรับว่า มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็ต้องดูกันที่พยานหลักฐาน พร้อมกันนี้ ยอมรับว่า ภัยแทรกซ้อนบางอย่างนั้น ได้มีข้อมูล

เกี่ยวโยงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ด้วย เช่นเดียวกับ พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 ที่บอกว่า น้ำมันเถื่อนเป็นภัยแทรกซ้อนในพื้นที่ และยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หลายหน่วยงานเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนกรณีของ นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้ นั้น ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมหลักฐานส่งให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI และสำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แล้ว ส่วนผู้ที่ช่วยเหลือให้ เสี่ยโจ้ หลบหนีนั้น ขณะนี้ได้ดำเนินการลงโทษไปแล้ว 2 ราย

//////////////
นายกฯ

นายกฯ ชี้ความสุจริตโปร่งใสเป็นสิ่งสำคัญ ย้ำรัฐบาลเร่ง 3 งานหลัก ดูแล ปชช.-บริหารประเทศที่หยุดชะงัก-ปฏิรูปประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางมาที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อ

กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรของประเทศไทย” โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยจากเจ้า

หน้าที่ทหารและตำรวจอย่างเข้มงวดรอบพื้นที่

โดย นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาว่า ความสุจริตโปร่งใสถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ และจะต้องมีการแก้ไขในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และสร้างความรับรู้ทั้งใน

และต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ ทั้งนี้ การสร้างความโปร่งใสถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยการสร้างค่านิยมให้กับผู้ปฏิบัติและสังคม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง

และสิ่งสำคัญต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด พร้อมยืนยันว่า การที่รัฐบาลเข้ามาเพื่อดูแลกระบวนการต่าง ๆ ให้โปร่งใส ให้ประเทศเดินหน้าเพื่อรองรับอนาคต

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า รัฐบาลเข้ามาดำเนินการใน 3 เรื่องคือ การดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน การบริหารราชการแผ่นดินที่เคยหยุดชะงัก และการ

ปฏิรูปประเทศ ซึ่งการปฏิรูปประเทศขณะนี้มีกว่า 18 ประเด็น ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะมีการเดินหน้าในหนึ่งปีและส่งต่อในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จให้รัฐบาลชุดต่อไป
----------------------
นายกฯ เป็นประธานลงนามบันทึกความร่วมมือ การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานกล่าวเปิดงานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ "การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความ

เหลื่อมล้ำในสังคม" พร้อมมอบนโยบาย ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวรายงานถึงความเป็นมาการจัดทำบันทึกความร่วมมือ

ทั้งนี้ มีผู้ร่วมงานประกอบด้วย ผู้บริหารส่วนราชการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาชนจำนวน

มากเข้าร่วมงาน ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ยังคงเข้มงวดอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้มีความสอดคล้องกันในเชิงบูรณาการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้า

ถึงความยุติธรรมได้ง่าย รวดเร็ว และเสมอภาค
-----------------
ฉากเวทีจัดงานภายในทำเนียบ หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ล้มทับคนงาน ขณะกำลังรื้อถอน บาดเจ็บ 3 ราย 

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด เกิดเหตุฉากเวทีการแสดงบริเวณด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้าที่ใช้ในงานสโมสรสันนิบาต ล้มทับคนงานขณะดำเนินการรื้อถอน ส่งผลให้ นายเสนาะ ร่ำรวย เจ้าหน้าที่จากโรงเรียนช่างศิลป์ ได้รับบาดเจ็บเป็นแผลยาวบริเวณแผ่นหลัง และหัวไหล่ซ้าย

นายเสนาะ เปิดเผยว่า ขณะที่กำลังรือถอนฉากหลังได้เกิดลมพัดแรง ทำให้ฉากหลังล้มลงมาทับตนเองและเจ้าหน้าที่ที่ร่วมรื้อถอนอีก 2 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย โดยเป็นแผลถลอกพกช้ำตามร่างกายเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลประจำทำเนียบรัฐบาลได้ประสานรถกู้ชีพจากวชิรพยาบาลมารับตัว นายเสนาะ ไปตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาต่อไป
---------------------
นายกฯ ย้ำ ลดความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ ต้องปรับแก้กฎหมายให้ทันสมัย ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ "การอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม"

พร้อมมอบนโยบาย โดยระบุว่า การปฏิรูปทั้ง 11 ด้านนั้น เรื่องสำคัญเรื่องที่หนึ่งคือการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลได้เคยแถลงไว้ โดยการปรับแก้กฎหมายที่ไม่ทันสมัย และ

คุ้มครองผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว และเกิดความเป็นธรรม เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งจะต้องสร้างความรู้สึกให้ประชาชนเห็นว่า

กฎหมายเป็นที่พึ่ง พร้อมย้ำว่าการดำเนินการต่าง ๆ ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและการมีส่วนร่วมของประชาชน
--------------------
วิปรัฐบาลเตรียมชง กม. 2 ฉบับ เข้า ครม. วันพรุ่งนี้ พร้อมหารือร่างกฎหมาย ที่อยู่ในการพิจารณาของ สนช.

ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปรัฐบาล) ที่มี นายสุวพันธุ์ ตันยุววรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยในที่ประชุมมีมติเห็นชอบใน

หลักการร่างกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังนี้ 1.ร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.เดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

รวมถึงให้ตุลาการพระธรรมนูญและอัยการทหารได้รับเงินเพิ่มเติม 2.ร่าง พ.ร.บ.เหรียญพิทักษ์เสรีชน เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคง สามารถขอพระราชทานเหรียญ

พิทักษ์เสรีชนได้

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในสัปดาห์นี้ที่จะมีการรับหลักการร่างกฎหมายในวาระที่ 1 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศ

ไทย พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ. ..... และร่างกฎหมายที่จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2-3 จำนวน 7 ฉบับ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ..... ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม

ประมวลกฎหมายอาญา และร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน
/////////////////

ปัญหายาง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยัน รบ.เร่งแก้ราคายางเต็มที่ แจง 80 บาท/กก. ทำไม่ได้ตอนนี้ ชี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป เชื่อคุยม็อบได้ พรุ่งนี้ขออนุมัติวงเงินรับซื้อน้ำยางเพิ่ม 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวถึงข้อเรียกร้องของเกษตกรชาวสวนยางที่ต้องการให้รับซื้อยางพาราในราคา 80 บาทต่อกิโลกรัม ว่า รัฐบาลได้พยายามแก้ไข โดยขณะ

นี้อยู่ระหว่างการเร่งซื้อยางพาราเพื่อให้มีราคาสูงขึ้น โดยมีนโยบายการรับซื้อตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม แต่วงเงินที่ให้องค์การสวนยางซื้อ เพิ่งจะดำเนินการได้เมื่อ 10 วันที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ในวัน

พรุ่งนี้ (9 ธ.ค.) จะขออนุมัติวงเงินรับซื้อน้ำยางพาราข้น ซึ่งหากดำเนินมาตรการได้พร้อมกัน ก็จะสามารถเพิ่มราคายางได้ จึงต้องขอเวลาในการดำเนินงานระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวอีกว่า การปรับราคาเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม ทีเดียวไม่สามารถทำได้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป พร้อมยืนยันว่าจะต้องเร่งซื้อให้ยางมีราคาสูงขึ้น ส่วนการที่เกษตรกร

ชาวสวนยาง จะเดินทางมาเรียกร้องต่อรัฐบาลยังสามารถที่จะพูดคุยทำความเข้าใจกันได้
/////////////
ถอดถอน
ป.ป.ช. ยังไม่นัด อสส. ประชุมรอบใหม่ ปม "ยิ่งลักษณ์" คาด 16 ธ.ค. นี้ นำเรื่องเข้าหารือในระดับผู้บริหาร สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการหารือของคณะทำงานร่วม ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อ

พิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ในคดีโครงการของรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ทางคณะทำงานร่วมฝ่าย ป.ป.ช. ยังไม่ได้นัดหมายการประชุมของคณะทำงานร่วมครั้งต่อไป

แต่คาดว่าจะมีการนำเรื่องดังกล่าวมาพูดคุยและหารือร่วมกันในที่ประชุมระดับผู้บริหารระหว่าง ป.ป.ช. และ อสส. ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ ซึ่งจะเป็นการพูดคุยกันถึงเรื่องการทำงานในภาพรวมว่า มี

คดีที่ค้างอยู่ในคณะทำงานร่วม รวมถึงการวางแนวทางการทำงานร่วมกัน ซึ่ง ป.ป.ช. จะเสนอให้พูดคุยกันถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่มีร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ความไม่พร้อมในการ

นัดประชุม เป็นปัญหาที่ทำให้ทุกอย่างล่าช้า

อย่างไรก็ตาม นายปานเทพ กล่าวว่า สำหรับคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ป.ป.ช. จะเป็นผู้ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเองหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลงของ

คณะทำงานร่วมฯ ว่าจะมีข้อตกลงร่วมกันออกมาอย่างไร
-----------------
ป.ป.ช. จัดกิจกรรม “บทบาทของ ป.ป.ช. กับการต่อต้านการทุจริตระหว่างประเทศ” โชว์ผลงาน เปิดตัวเว็บไซต์ TACC ประสานคดีระหว่างประเทศ

บรรยากาศที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด มีการจัดกิจกรรม “บทบาทของ ป.ป.ช. กับการต่อต้านการทุจริตระหว่างประเทศ” โดยจะมีการ

แสดงนิทรรศการและหนังสือรวบรวมผลงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้านการต่างประเทศและศูนย์ประสานงานคดีระหว่างประเทศ พร้อมทั้งมีการเปิดตัวเว็บไซต์ TACC (Thailand Anti-Corruption
Coordination Center) และสาธิตการใช้งาน เพื่อประโยชน์ประสานงานคดีระหว่างประเทศกับการสืบค้นข้อมูล โดยมี นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เดินชมนิทรรศการด้วย

อย่างไรก็ตาม ภายในงานมีข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เดินชมนิทรรศการและทดลองใช้เว็บไซต์ TACC อย่างคึกคัก
/////////////
ท่าทีปชป.

"อภิสิทธิ์" FB จี้ คสช.-รัฐบาล ทบทวนนโยบาย ด้านพลังงาน หลังพบการเปลี่ยนแปลงราคาพลังงาน ขัดแย้งกับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการปฏิรูป

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva เรื่องปฏิรูปพลังงานแบบไหน ทำไมราคาน้ำมันโลกดิ่ง แต่ประชาชนซื้อก๊าซ-น้ำมันแพง ว่า การปฏิรูปพลังงานเป็นความคาดหวังที่สำคัญของประชาชน ในการปฏิรูปประเทศ แต่ที่ผ่านมา ประเด็นการปฏิรูปพลังงาน ยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งและสับสน และจนถึงขณะนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติยังไม่ได้กำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงาน แต่รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายราคาพลังงาน โดยมีแนวทางที่น่าจะขัดแย้งกับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการปฏิรูปพลังงานโดยสิ้นเชิง

โดยตัวอย่างที่ดีที่สุดของนโยบายพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน คือ กรณีของราคาก๊าซหุงต้ม และราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงของตลาดโลก และโครงสร้างราคาแล้วจะพบว่า มิได้เป็นไปตามคำโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งพยายามอ้างว่า นโยบายดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของการสะท้อนกลไกตลาด ราคาหรือต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล และ คสช. ต้องทบทวนนโยบายเรื่องนี้ หรืออย่างน้อย ควรเปิดเวทีให้ผู้ที่เห็นต่างสามารถให้ข้อมูลที่เป็นไปตามความเป็นจริง เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายให้ถูกต้อง มิใช่ปล่อยให้ภาคธุรกิจซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้บริหารในภาครัฐ กำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์ขององค์กรของตน โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและความเป็นธรรมกับประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: