PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไขอดีต..จอมพลผ้าขาวม้าแดง กับ จอมพล ป.ผู้ทรยศ บั้นปลายชีวิตที่แตกต่างราวฟ้ากับเหว

วันที่ 8 ธ.ค.57 ไขอดีต..จอมพลผ้าขาวม้าแดง กับ จอมพล ป.ผู้ทรยศ บั้นปลายชีวิตที่แตกต่างราวฟ้ากับเหว
Cr:แฉ..ความลับ @เสธ นํ้าเงิน
บุคคลสำคัญที่มีบทบาทค้ำบัลลังค์ ราชวงศ์จักรี ที่จะเล่าในตอนนี้ คือ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาเป็นบุตร พันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) มารดาชื่อ จันทิพย์ เป็นชาว มุกดาหาร ต่อมาบิดาของเขาได้ย้ายกลับมารับราชการ ที่กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 5
แม่เขาได้ให้กำเนิดพี่ชาย ด.ช.สวัสดิ์ และ ด.ช.สิริ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สฤษดิ์ ) ที่บ้านปากคลองตลาด ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร ต่อมาบิดาของเขา มีภรรยาอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามความนิยมในสมัยนั้น แม่ของเขาจึงได้ตัดสินใจ จะหลบหนีออกจากกรุงเทพฯ กลับมุกดาหาร
โดยนำบุตรชาย ทั้งสองคนคือ สิริ และ สวัสดิ์ กลับมาด้วย การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองมุกดาหาร สมัยรัชกาลที่ 5 ลำบากและทุรกันดารมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 เดือน เขาเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้น เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
พ.ศ.2462 เขา ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ในอีก 10 ปี ต่อมา เขาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ.2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ และในอีก 12 ปีต่อมา พ.ต.สฤษดิ์ ขณะรับราชการทหารอยู่ จังหวัดลำปาง เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
พ.ศ.2487 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง อำนาจของจอมพล ป. ได้เริ่มเสื่อมถอยลง หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบแล้ว จอมพล ป. ติดคุก ระหว่างการถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้ เพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาล และนายทหารไทยในยุคนั้น ไปให้ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน
ต่อมา ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัว จอมพล ป. เป็นอิสระ กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพ
พ.ศ. 2490 คณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ก่อการรัฐประหาร พันเอกสฤษดิ์ จึงเข้าร่วมคณะรัฐประหาร โค่นล้มอำนาจของ พลเรือตรีถวัลย์ และด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ เป็นการกลับคืนสู่อำนาจของ จอมพล ป.สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง โดยมีพันเอกสฤษดิ์ เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้น
พ.ศ. 2492 พลตรี สฤษดิ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1 และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ มีผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อปีเดียวกัน หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ในปีถัดไป
พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ในช่วงต้นรัชกาล เป็นช่วงที่ จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เขามีแนวคิดชาตินิยมอย่างรุนแรง และประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยปกครองแบบตะวันตก เขาในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีนโยบาย "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย"
โดยพยายามชูบทบาทของตนเองให้โดดเด่นกว่าพระมหากษัตริย์ และ ไม่สนับสนุนให้ในหลวง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และควบคุมการใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์
พ.ศ. 2495 พลเอก สฤษดิ์ ขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก และรับตำแหน่งเป็น รมต. ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลที่มี จอมพล ป. เป็นนายก ในอีก 2 ปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศ จอมพล
พ.ศ. 2500 ในโอกาสฉลองพุทธศตวรรษ รัฐบาลจอมพล ป. ได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธาน ซึ่งก็ทรงตอบรับ แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้ จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดพิธีเอง
เดือน กุมภาพันธ์ มีการเลือกตั้งที่สกปรก จอมพล ป. โกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลผู้กว้างขวาง ทำให้ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. ได้รับเสียงข้างมากจนสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก
มีการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษา และประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. และ พลตำรวจเอก เผ่า อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อสถานการณ์ลุกลาม เกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. ได้แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์
เดือน เมษายน 2500 กลุ่มอนุรักษ์นิยม และ กองทัพ ภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มเคลื่อนไหวเตรียม แผนรัฐประหาร โดยมีแกนนำสำคัญเข้าประชุมร่วมกับกองทัพ เช่น ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ฯลฯ
ไม่นานจากนั้นก็เริ่มเปิดฉากโจมตีรัฐบาลผ่านหนังสือพิมพ์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม (สยามรัฐ) และพรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรค ปชป. และ พรรคสหภูมิ ที่สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ โดยตรง ซึ่งแยกตัวมาจากพรรคมนังคศิลา
เดือนสิงหาคม 2500 จอมพล สฤษดิ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รมต.ว่าการกระทรวงกลาโหม และออกมาโจมตีรัฐบาลของ จอมพล ป. ว่าละเมิดพระราชอำนาจของในหลวง ทำให้สาธารณะชนเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาล จอมพล ป. มากขึ้น
จอมพลสฤษดิ์ สั่งการไม่ให้ทหาร ทำอันตรายประชาชน ที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง และยังเป็นผู้นำประชาชน เข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบอีก ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ"
จอมพลสฤษดิ์ มองว่า"การปฏิวัติที่เป็นแค่การยึดอำนาจรัฐบาลอย่างเดียวนั้น ไม่อาจแก้ปัญหาของประเทศอย่างยั่งยืนได้ จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปรื้อระบอบใหม่ทั้งหมดด้วย เขามองว่า ประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบตะวันตกนั้น ไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะนำมาซึ่งความโกลาหลไม่จบสิ้น
ระบอบสำหรับประเทศไทย ต้องเหมาะกับวัฒนธรรมไทย สังคมไทยไม่เหมาะกับการมีฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน คอยด่าทอกัน รัฐบาลน่าจะเป็น รัฐบาลแห่งชาติ ของคนทั่งประเทศ ไม่ใช่ของพรรคใดพรรคหนึ่ง จึงจะพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่มากกว่า
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป. ขาดความชอบธรรมที่จะปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ที่รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เพียง 10 วัน จึงประกาศลาออก คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว
จอมพล ป. ต้องการจะรักษาอำนาจต่อไป จึงทำให้มีทั้งนายทหาร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภท 1 และประเภท 2 ที่เคยสนับสนุนรัฐบาลบางส่วนลาออก บางส่วนแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยอมร่วมสังฆกรรมด้วยอีกต่อไป ต่างก็พากันไปร่วมมือกับจอมพลสฤษดิ์ มีเป้าหมายคือให้จอมพล ป. และ พลตำรวจเอกเผ่า ลงจากอำนาจ
ในวันที่ 13 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. ให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจากจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง
จอมพลสฤษดิ์ ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะ ถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"
วันที่ 15 กันยายน 2500 ประชาชนพากันลุกฮือ เดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบจอมพล ป. จึงพากันไปที่บ้านจอมพลสฤษดิ์ , ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. ก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล ถือเป็นวันที่มีการชิงไหวชิงปริบทางการเมืองอย่างมาก
วันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพล ป. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในหลวง เพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล ยังไม่ทันที่ จอมพล ป. ดำเนินการใด ๆ ในช่วงเย็นต่อเนื่องถึงกลางคืน จอมพลสฤษดิ์ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจการปกครอง โค่นล้มจอมพล ป. ออกจากตำแหน่งทันที
ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้สิ้นสุดอย่างสิ้นเชิงนับแต่นั้น สองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจมีการประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
จอมพล ป. ได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัว กับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าเคยมีบุญคุณ ที่เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. แล้ว จอมพลสฤษดิ์ เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งนายพจน์ อดีตฑูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน
มาเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภูมิ ของสฤษดิ์ได้ที่นั่งมากที่สุดแต่ยังไม่พอจัดตั้งรัฐบาลได้
สฤษดิ์ จึงได้ตั้งพรรคใหม่ขึ้นชื่อ ชาติสังคม โดยกวาด ส.ส.พรรคสหภูมิ รวมเข้ากับ สส.พรรคเล็กอีกหลายพรรคเมื่อบวกกับ ส.ส.ประเภทที่ 2 ที่แต่งตั้งขึ้น ก็มีเสียงมากเกินพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ และ จอมพลสฤษดิ์ ต้องไปรักษาอาการป่วยเกี่ยวกับตับ ที่ต่างประเทศ
** คดีปรีดี บงการลอบปลงพระชนม์ ร.8 ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง และ มีการแต่งตั้งให้ พล.ต.ต.พระพินิจชนคดี กลับเข้ารับราชการทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ สืบพยานตามระบบกฎหมายไทยขณะนั้น จนมีคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาในที่สุด ดูเรื่องเดิมตอนนี้ที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/296210377235663
พ.ศ. 2501 พลโทถนอม รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็น ส.ส. กับรัฐมนตรีขึ้น ในรัฐบาลพลโทถนอม และไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จอมพลสฤษดิ์ จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศ แล้วร่วมมือกับพลโทถนอม นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง
พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อรัฐบาลทหารของเขามีอำนาจแล้ว รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จออกเยี่ยมเยี่ยนประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จประภาสในถิ่นทุรกันดาร
ตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนา ที่พระองค์มีพระราชดำริริเริ่ม โดยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ เป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำการปรับปรุงวัง และรอบวังสวนจิตรลดา ที่รกไปด้วยหญ้าและน้ำครำ , ประกาศให้นำประเพณีหมอบกราบเข้าเฝ้า ซึ่งเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 กลับมาใช้ใหม่
ฟื้นฟูตามโบราณประเพณีของราชวงศ์จักรี เช่น การเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเพื่อถวายผ้าพระกฐิน , พิธีกรรมพืชมงคล , การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนิน ในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
ประกาศให้วันเฉลิมพระชนม์พรรษาในหลวงรัชกาลที่ 9 (วันที่ 5 ธันวาคม) เป็นวันชาติไทย แทนที่ วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง , กับทั้งประกาศให้สถาปนาพุทธศาสนาธรรมยุติ นิกายขึ้นซ้ำด้วย
ในช่วงที่บริหารประเทศ ใช้ธรรมนูญปกครอง เพียง 20 มาตรา เขาได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" ทั้งยังได้สร้างผลงาน ทั้งทางด้านการปฏิรูปปรับปรุงการบริหาร และการพัฒนาประเทศไว้มากมาย
เช่น การออกกฎหมายเลิกการเสพ และจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าว เป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"
จอมพลสฤษดิ์ มีฉายาว่า "จอมพลผ้าขาวม้าแดง" เพราะมีภรรยาจำนวนมาก ตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้ เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ
การใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 17 การปราบปราม ประหารชีวิต ผู้ยุยงปลุกปั่นอันเป็นคอมมิวนิสต์ในภาคอีสานอย่างเด็ดขาด , ช่วงนั้นประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน ในกรณีประสาทเขาพระวิหาร ในศาลโลก หลังจากทราบคำตัดสินของศาลโลกแล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเอง ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเยี่ยมจอมพลสฤษดิ์ ขณะป่วยหนัก บั้นปลายเขาต้องไปพักรักษาตัวที่บางแสน และเพื่อแสดงความจงรักภักดีเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความเป็นชายชาติทหารเขาถอดเข็มน้ำเกลือ ทำหน้าที่ประธานในพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณ ต่อธงไชยเฉลิมพล ต้องยืนท่ามกลางแดดนานถึง 3 ชั่วโมง
วันนี้เมื่อ 49 ปีที่แล้ว คือ วันที่ 8 ธันวาคม 2506 จอมพล สฤษดิ์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ถึงแก่อสัญกรรม ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค อายุได้เพียง 55 ปี
นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและคนเดียวตราบจนปัจจุบันนี้ ที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัย สำนักพระราชวังก็มีประกาศให้จัดการไว้ทุกข์ในพระราชวังเป็นเวลา 21 วัน
ศพของ จอมพล สฤษดิ์ ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น ซึ่งปรกติเป็นเครื่องยศของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า กางกั้นตลอดระยะเวลาไว้ศพ ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุด ที่ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพล สฤษดิ์ มาก่อนเลย , พิธีพระราชทานเพลงศพมีขึ้นอย่างสมเกียรติที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
---------------------------->
ตัดฉากไป วันที่ 11 มิถุนายน 2507 จอมพล ป.ที่พำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ถึงแก่กรรม ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว เมื่ออายุได้ 66 ปี ก่อนตายยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยง พร้อมกับครอบครัว และคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็น ก็ได้ทรุดลงและถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหัน
เชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แต่ทว่าในเวลานั้นทั้งคู่ต่างก็หมดอำนาจและต้องลี้ภัยในต่างประเทศ แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็มีการติดต่อกันทางจดหมาย
โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับแทนชื่อในการติดต่อกัน ซึ่งสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการคาดหมายว่า อีกไม่นานทั้งจอมพล ป. และนายปรีดีจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะนายปรีดี ในข้อหาปลงประชนม์รัชกาลที่ 8 สวรรคต
และทั้งคู่จะร่วมกันรื้อฟื้นอำนาจทางการเมืองทางสายของคณะราษฎรขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่หมดบทบาทไปเลยอย่างสิ้นเชิง จากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ร่างของ จอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเงียบๆ ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในปีเดียวกัน
---------------------------->
นายทหารที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล ที่เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะประจำหน่วยทหาร เป็นสิ่งชักนำความองอาจแห่งหมู่ทหารทั้งปวงให้มีชัยชนะต่อข้าศึกด้วยความกล้าหาญ ธงชัยเฉลิมพลยังประกอบด้วย สิ่งที่แสดงออกถึง ธงหมายถึง ชาติ , บนยอดธงบรรจุพระพุทธรูป หมายถึง ศาสนา และเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระมหากษัตริย์
ธงชัยเฉลิมพล เป็นธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของทหาร เป็นเกียรติยศของหน่วยทหารนั้นๆ เมื่อเวลาเข้าสู่สงครามทหารทั้งปวงต้องพิทักษ์รักษาธงชัยเฉลิมพลของหน่วยตนไว้ด้วยชีวิต
ธงชัยเฉลิมพล จึงเป็นเครื่องนำความองอาจ กล้าหาญ แห่งหมู่ทหารทั้งปวงให้เข้าต่อสู้ข้าศึก ศัตรู ให้ได้ชัยชนะกลับมา และเป็นสิ่งที่ทหารทุกคนต้องรักษาไว้ ยิ่งกว่าชีวิต และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นนายทหาร หรือพลทหารจะต้องผ่านพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลจึงจะถือว่าเป็นทหารอย่างสมบูรณ์แท้จริง
นายทหารคนใดที่รักษาคำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล ก็จะได้รับความเจริญก้าวหน้า และได้รับเกียรติสูงสุด จนถึงบั้นปลายชีวิตหาไม่ไปแล้ว แต่หากนายทหารคนใดทรยศต่อคำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล ผลกรรมร้าย ก็จะเกิดความวิบัติ ไม่ตายดี และไร้เกียรติยศ แม้ยามสิ้นลมไปแล้ว
ลองคิดดูเล่นๆ ว่า แนวคิดของ จอมพล สฤษดิ์ ในอดีต คล้ายๆ ใครในปัจจุบัน ??
@ เสธ น้ำเงิน3
http://www.facebook.com/topsecretthai


ไม่มีความคิดเห็น: