PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว5ก.พ.58

Jab05Feb15

ความมั่นคง

"วินธัย" คาด จนท. ใช้เวลาซักถามสอบสวนผู้ต้องหาปลอมแถลงการณ์ 7 วัน ไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว

พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ในฐานะโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีความคืบหน้าในการดำเนินการกับผู้ต้องหาปลอมแปลงแถลงการณ์สำนักพระราชวังฉบับที่

13 ว่า ขณะนี้ผู้ต้องหาอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการในขั้นตอนการสอบสวนซักถาม ซึ่งอาจใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งไม่เกิน 7 วัน เนื่องจากเป็นคดีที่ละเอียดอ่อน มีผลกระทบต่อจิตใจ

คนไทย เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ความระมัดระวังและใช้เวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ตัวผู้ที่กระทำผิด และผู้เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย ส่วนสถานที่ที่ใช้ในการ

ควบคุมตัวนั้นส่วนโฆษกฯ ยังไม่มีข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ แต่มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่จะมีการดูแลให้อย่างเหมาะสม เหมือนกรณีอื่น ๆ ที่ผ่านมา และถ้ายังไม่มีการแจ้งข้อหา ก็จะไม่

มีการปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุม ในลักษณะของผู้ทำความผิด ซึ่งก็เป็นตามแนวทางเหมือนปกติที่ผ่านมา
---------------------
"ดุสิตโพล" ปชช. 48.81% เชื่อ ระเบิดพารากอนเกี่ยวกับการเมือง 80.46% ต้องการให้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ คิดอย่างไร? กับ เหตุการณ์ระเบิดหน้าสยามพารากอน จำนวน 1,209 คน ระหว่างวันที่ 2-5

กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า ร้อยละ 77.21 หวาดกลัว ไม่มั่นใจในความปลอดภัย มาตรการรักษาความปลอดภัยยังไม่ดีพอ ร้อยละ 73.58 เป็นการสร้างสถานการณ์ ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย อาจเกี่ยว
ข้องกับการเมือง ร้อยละ 69.23 รู้สึกตกใจ ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นอีกในใจกลางเมือง ร้อยละ 64.14 กระทบต่อภาพลักษณ์และเสถียรภาพของประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อถามว่า "คิดว่ามีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่" ประชาชน ร้อยละ 48.81 เชื่อมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเหตุเกิดในช่วงที่มีประเด็นสำคัญทางการเมือง เช่น การถอดถอนยิ่ง

ลักษณ์ สหรัฐฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก ขณะที่ ร้อยละ 31.53 ไม่แน่ใจ เพราะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงในการก่อเหตุ ต้องรอเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลให้แน่ชัดก่อน และ ร้อยละ 19.66 ไม่น่าจะมี
เรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง          

นอกจากนี้ ร้อยละ 80.46 ต้องการให้รัฐบาล เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ให้มากขึ้น ร้อยละ 78.97 เร่งติดตามตัวคนร้ายมาลงโทษและสืบสวนข้อเท็จจริงโดยเร็ว และ

ร้อยละ 74.91 เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ คอยดูแลเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก
-----------------------
โฆษก ตร. เผยได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดย้อนหลังตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุเพื่อตามหามือบึ้ม BTS สยาม เชื่อคนร้ายยังอยู่ในพื้นที่ 

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าคดีระเบิดบริเวณทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างตรวจ

สอบกล้องวงจรปิดย้อนหลัง ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุเพื่อหาจุดที่ผู้ก่อเหตุขึ้นรถ ไปจนถึงต้นทาง ขณะเดียวกัน ฝ่ายสืบสวน ยังเฝ้าระวังและตรวจสอบกลุ่มผู้ต้องสงสัยอีกหลายกลุ่ม ซึ่งเคยมีประวัติ
เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธและวัตถุระเบิด รวมถึงผู้ต้องหาในคดีเก่า เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากการประกอบระเบิดแล้ว เชื่อว่า คนร้ายน่าจะมีความชำนาญพอสมควร อีกทั้งจะต้องมีมาดูลาดเลาก่อน

โดยยังไม่ทราบตัวบุคคลที่ชัดเจน แต่เชื่อว่า ยังหลบหนีอยู่ในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน อยู่ระหว่างตรวจสอบลายนิ้วมือแฝงที่พบบริเวณจุดเกิดเหตุ แต่

เนื่องจากต้องตรวจสอบกับฐานข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

อย่างไรก็ตาม โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับกระแสข่าวลือต่าง ๆ ในขณะนี้ เพราะจะกระทบการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการดำเนินคดีจะพิจารณาไป

ตามพยานหลักฐาน และหากประชาชนทราบเบาะแสของคนร้าย สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที
--------------------
โฆษก ตร. พร้อมกำลัง ออกตรวจทางเดิน skywalk แยกราชประสงค์ ถึงแยกชิดลม เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำตำรวจท่องเที่ยว และกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ออกตรวจเพื่อป้องกันอาชญากรรม บริเวณทางเดิน skywalk ระหว่าง

เส้นทางแยกราชประสงค์ไปถึงแยกชิดลม ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน พร้อมเปิดเผยว่า การตรวจตราครั้งนี้เพื่อความเชื่อมั่นด้าน
ความปลอดภัยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว หลังเกิดเหตุระเบิดที่บริเวณหน้าพารากอน และทางเชื่อม bts โดยจะเพิ่มการตรวจตราอย่างเข้มข้นในจุดเสี่ยง กว่า 100 จุด ใน กทม. ซึ่งจะมีการจัดเจ้า

หน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ตำรวจพื้นที่ ประจำตามจุดต่าง ๆ เพื่อเฝ้าระวัง

นอกจากนี้ จะสุ่มตรวจผู้ต้องสงสัย โดยจะใช้กำลังตำรวจในเครื่องแบบ พร้อมขอความร่วมมือ รปภ.ของห้างสรรพสินค้า ในการเฝ้าระวัง ซึ่งทางการข่าวด้านความมั่นคงยังไม่มีรายงานก่อเหตุร้ายใน

ช่วงนี้แต่ไม่ประมาท

สำหรับเหตุระเบิดที่ผ่านมาเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวาย ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ซึ่งตำรวจได้เพิ่มมาตรการอย่างเข้มข้นแล้ว หากประชาชนได้เบาะแส แจ้ง 191 หรือ 1155

ตำรวจท่องเที่ยวได้ตลอด 24 ช.ม.
----------------------
โฆษก ตร. ชี้ได้เบาะแสใกล้ถึงตัว คนทำแถลงการณ์ปลอมแล้ว ยันผู้จัดทำอยู่เมืองไทย ลั่นหากพบเผยแพร่อีกถูกจับแน่

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าการติดตามจับกุมตัวผู้จัดทำแถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอม ซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อค่ำวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ว่า จากการไล่ตรวจสอบเส้นทางที่มาข้อการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าว ได้เบาะแสใกล้ถึงตัวคนจัดทำแล้ว ซึ่งมีหลักฐานยืนยันได้ว่าคนจัดทำอยู่ประเทศไทย และมีการพิมพ์แล้ว
แสกนเอกสาร ส่งต่อไปมาทางโซเชียลมีเดียทั้งไทยและต่างประเทศ คาดมีความชัดเจนมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ส่วนที่แกนนำเสื้อแดงหลายคนออกมาปฏิเสธว่า นายกฤษณ์ บุดดีจีน อายุ 25 ปี ซึ่งเป็นผู้

ต้องหาที่จับกุมมาได้ ไม่ใช่ นปช. หรือเป็นแดงเทียมนั้น ยืนยันว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพเองและจากการตรวจสอบประวัติ หรือเพจของผู้ต้องหารายนี้ มีการเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมร่วมกับคน

เสื้อแดงมาตลอด ส่วนตัวผู้ต้องหาขณะนี้อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตามกฎอัยการศึก ซึ่งยังไม่สามารถประกันตัวได้

พร้อมกันนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังกล่าวด้วยว่า หากพบว่าบุคคลใดยังเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวอยู่หากตรวจสอบพบจะต้องถูกดำเนินคดี แต่ยอมรับว่าหลังจากที่รู้ว่าแถลงการณ์ดัง

กล่าวเป็นของปลอมส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือและหยุดเผยแพร่ทันที
---------------------------------
โฆษก ตร. เผยเร่งตรวจสอบ CCTV ย้อนหลังหาเบาะแสคนร้าย จับตากลุ่มต้องสงสัย - ลงตรวจ Skywalk เรียกความเชื่อมั่นต่างชาติ

พลตำรวจโท ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าของชายผู้ต้องสงสัยวางระเบิดบริเวณทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้า BTS ว่า ผู้ก่อเหตุนั้นน่าจะมีมากกว่า 2 คน และมี

ความชำนาญการพอสมควร เนื่องจากว่าก่อนเกิดเหตุนั้นได้มีการดูลาดเลาก่อนที่จะวางระเบิด ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มใดคาดว่าทำเป็นขบวนการ โดยชาย 2 คนอาจจะถูกจ้าง
มาอีกทอดหนึ่ง ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เร่งตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดเพื่อมาเปรียบเทียบภาพพื้นที่ว่าผู้ต้องหานั้นมาจากสถานที่ใดรวมไปถึงการตรวจสอบจากลายนิ้วมือของคนร้ายที่ทิ้งร่อง

รอยไว้และเช็กดูประวัติผู้ก่ออาชญากรรมเหตุการณ์ประมาณนี้รายเก่าซึ่งอาจจะย้อนประวัติไปถึง 10 ปี ทั้งนี้ คดีนี้ยากพอสมควร เนื่องจากว่าต้องตรวจสอบหลายอย่างและคาด
ว่าคนร้ายน่าจะยังหลบหนีอยู่ในประเทศไทย

ทั้งนี้ ภายหลังการให้สำภาษณ์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังได้นำตำรวจท่องเที่ยว เดินทางตรวจตราดูแลความปลอดภัยบนทางเดิน Skywalk สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอ็สสยามไปจนถึงสถานีชิดลม

หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลความปลอดภัยของประชาชนพร้อมทั้งขอความร่วมมือ รปภ.ของห้างสรรพสินค้าในการเฝ้าระวังด้วย
-------------------------
ผบช.น. เผย คืบคดีวางระเบิด คืบไปมากแล้ว ยันคนทำมีมากกว่าสองคนแน่นอน ขอประชาชนให้เบาะแส

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยหลังการประชุมความคืบหน้าร่วมกับเจ้าหน้าที่
ชุดคลี่คลาย คดีลอบวางระเบิดบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งการ
ติดตามตัวผู้ต้องสงสัยตามหมายจับในขณะนี้อยู่ในขั้นดำเนินการ ส่วนชื่อหรือข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ต้องสงสัย ยังไม่
สามารถเปิดเผยได้ กรณีการออกหมายจับผู้ต้องสงสัยที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบและสอบปากคำพยาน เชื่อการ
ก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวจะต้องมีผู้ร่วมกระบวนการมากกว่าสองคนแน่นอน

ซึ่งในวันนี้ ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็ได้มีการเปิดเผยภาพชายต้องสงสัยที่พบในกล้องวงจรปิดให้กับสื่อมวลชน
เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่พบเห็นผู้ต้องสงสัยดังกล่าวแจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป
ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-354-8226

ซึ่งภาพดังกล่าวค่อนข้างชัดเจนเป็นชายรูปร่างสูง สวมเสื้อเชิ้ตสีเหลือง กางเกงยีนส์ ตัดผมทรงสกินเฮด และอีกคน
สวมเสื้อยืดคอกลมสีขาว กางเกงยีนส์ขายาว ผิวสองสี

โดย พล.ต.ท.ศรีวราห์ ยังกล่าวอีกว่า ยืนยันขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่มีการจับกุมผู้ใด มีเพียงการเรียกพยาน และผู้ต้องสงสัย
มาสอบถามข้อมูลเท่านั้น
------------------------
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยัน ยังจับมือวางระเบิดสยามพารากอนไม่ได้ ชี้ แค่กระแสข่าวลือเท่านั้น

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง กล่าวถึงกระแสข่าวเจ้าหน้าที่
มีการรวบตัวผู้ต้องหาคดีวางระเบิด 2 จุด บริเวณทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสยามกับห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ที่ จ.ภูเก็ต
ว่า กรณีดังกล่าวเป็นเพียงกระแสข่าว ขณะนี้ยังไม่สามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ที่ถูกออกหมายจับได้ แต่ยืนยันว่าขณะนี้
ชุดสืบสวนกำลังเร่งติดตามตัวคนร้ายอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าจะได้ตัวมาดำเนินคดีอย่างแน่นอน
-------------------------------
ทนายความ นปช. รับมอบหมายจาก "จตุพร" ติดตามคดี หนุ่มปลอมแถลงการณ์ฉบับ 13 ร้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย

นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. เปิดเผย ว่า ในวันนี้ได้รับมอบหมายจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.
ให้มาติดตามคดีและขอพบ นายกฤษณ์ บุดดีจีน ที่ถูกควบคุมตัวไว้ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ หลังถูกกล่าวหาว่า
เผยแพร่เอกสารพาดพิงสถาบันเบื้องสูง ซึ่งตนในฐานะที่เป็นทนายของ นปช. และได้รับการประสานจากญาติของ นายกฤษณ์
เนื่องจากเห็นว่า นายกฤษณ์ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงได้ประสานนายทหารพระธรรมนูญติดต่อ เข้าพบ นายกฤษณ์ ในวันนี้
แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบ โดยนายทหารพระธรรมนูญ ระบุว่า นายกฤษณ์ ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกไดั 7 วัน พร้อม
ย้ำด้วยว่า สถานการณ์ขณะนี้อยู่ในช่วงการประกาศกฎอัยการศึก จึงถือเป็นกฎหมายหลักที่บังคับใช้

ทั้งนี้ ขอเรียกร้องผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่า แม้จะบังคับใช้กฎอัยการศึก แต่ผู้ต้องหาก็ต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน
และตามรัฐธรรมนูญกำหนด

ด้าน นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. กล่าวว่า กรณีนี้ควรต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ด้วยว่า เข้าองค์ประกอบความผิดตาม
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ เพราะเป็นการโพสต์จากการแชร์ต่อกันมา แต่กลับเลือกจับกุมตัวเฉพาะ
ผู้ที่เป็นเครือข่ายประสานงานของ นปช. จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทบทวนอีกครั้งว่า มีเจตนากลั่นแกล้งทางการเมืองกับ
คนเสื้อแดงหรือไม่
//////////
กมธ.พิจารณารายมาตราต่อเนื่อง เห็นตรงกัน ใช้ชื่อหมวด 7 ตามที่เสนอ "การกระจายอำนาจและการบริหารส่วนท้องถิ่น"

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยจะพิจารณาร่างรัฐ

ธรรมนูญเป็นรายมาตราในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 7 กระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 6 มาตรา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการอภิปรายในส่วนชื่อหมวด

โดยสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่มองไปถึงเรื่องของการใช้ความหมายให้ครอบคลุม

ทั้งนี้ สมาชิกส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ให้ใช้ชื่อหมวดตามที่ร่างที่คณะกรรมาธิการฯ เสนอ โดยใช้ชื่อหมวดว่า "การกระจายอำนาจและการบริหารส่วนท้องถิ่น"
----------------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา ม.1 รัฐต้องเป็นอิสระในการปกครองท้องถิ่น ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึงในทุกส่วน 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

เป็นรายมาตราในหมวด 7 กระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในมาตรา 1 รัฐต้องเป็นอิสระในการปกครองท้องถิ่น ให้มีการบริหารที่หลากหลายและ

ต้องมีการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึงในทุกส่วน และต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการนำความเห็นของ สปช. ที่เสนอว่าควรกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน เพิ่มอำนาจให้ประชาชนให้มีส่วนร่วมใน

การบริหาร รวมถึงรัฐต้องกระจายอำนาจ ส่งเสริมให้ประชาชนและท้องถิ่นมีอำนาจในการดูแลตนเอง และการดูแลของรัฐให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ให้มีองค์กรระดับชาติในการส่งเสริมการปกครอง

ส่วนท้องถิ่น และความเห็นของ สนช.ที่เสนอให้ รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นทั้งหมด จัดเก็บรายได้เพื่อบริการที่ดีแก่ประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึง มีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง

ท้องถิ่นของตนเองภายใต้แนวนโบายแห่งรัฐ เข้ามาพิจารณา ในที่ประชุมด้วย

นอกจากนี้ สมาชิกเห็นควรให้บัญญัติเรื่องของอำนาจหน้าที่ของรัฐให้ชัดเจนในเรื่องของการปกครองท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นได้บริการที่ตรงตามความต้องการ และสะดวกรวดเร็ว
-------------------
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำว่ารัฐธรรมนูญร่างแรกที่จะต้องส่งภายในวันที่ 17 เมษายนนี้ เสร็จทันอย่างแน่นอน พร้อมปฏิเสธว่า นากรัฐมนตรีกดดันการทำงาน ขณะเดียวกัน ต้อง

เร่งเดินหน้าออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้ง

โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า ไม่ได้กดดันในการทำงาน หลังนายกรัฐมนตรี ออกมาแถลงผลการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า รัฐธรรมนูญอาจจะเสร็จเร็ว

กว่ากำหนด ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ มั่นใจว่าจะเสร็จทันเวลา แต่อาจมีความเป็นไปได้ ที่จะเสร็จก่อนกำหนด อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถบอกกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะยกร่างเสร็จเมื่อใด

เพราะหลังจากร่างแรกที่เสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ 17 เมษายน จะทราบว่าฝ่ายใดจะมาดำเนินการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งต้องทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้น โดยหลังวันที่ 6

ส.ค.ซึ่ง สภาปฏิรูปจะลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงจะเดินหน้าออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้

ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ ยังย้ำว่า จะต้องทำประชามติก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ แต่ต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ก่อน โดยจะต้องให้ ครม. และ คสช เป็นผู้เสนอร่าง และ สนช. จะทำหน้าที่

พิจารณาให้ความเห็นชอบ ส่วนการเลือกตั้งจะเลื่อนขึ้นมาเร็วขึ้นหรือไม่ ต้องดูหลายปัจจัย ทั้งการทำประชามติ และการออกกฎหมายลูก

(ภาพห้องประชุม สนช.) ขณะที่การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันนี้ มีการพิจารณาวาระสำคัญหลายเรื่อง อาทิ การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ

และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประเภทผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้ และ

ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ทางด้านกฎหมาย แทนตำแหน่งที่ว่าง ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา) คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
------------
เวทีสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ภาคใต้ตอนบนเริ่มแล้ว "ทัศนา" ปธ.เปิด ปชช.สนใจเข้าร่วมคับคั่ง

บรรยากาศเวทีประชาเสวนาหาทางออก "สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ที่โรงแรมร้อยเกาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วม

และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ล่าสุด ได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยมีตัวแทนของภาคประชาชน

จาก 7 จังหวัด เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วย ตัวแทนจากจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ รวมถึงตัวแทนจาก สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐ

ธรรมนูญ สถาบันพระปกเกล้า และสื่อมวลชน จำนวน 350 คน ซึ่งในวันนี้ รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่สอง ได้เดินทางมาเป็นประธานในการเปิดเวทีเสวนาครั้งนี้
--------------
ประธาน สปช. หารือ ป.ป.ช. แนวทางปฏิรูปโครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่ รองรับ พ.ร.บ.ประกอบ รธน.ฉบับใหม่ ย้ำไม่ยุบแน่นอน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวภายหลังการหารือกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า การหารือในวันนี้เป็นวาระปกติที่ทำ

ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบและเมินผล ป.ป.ช. ซึ่งเป็นการหารือในวาระทั่วไป โดยตนได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. หาแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กร ทั้งอำนาจหน้าที่

และแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะจะต้องมีการประสานงานกับองค์กรอิสระหลายองค์กร แต่ก็เป็นเพียงการวางกรอบเท่านั้น ส่วนราย

ละเอียด ป.ป.ช. จะเป็นผู้คิดทั้งหมด

โดยให้เน้นการแก้ไขการจุดอ่อนเรื่องประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการยุบ ป.ป.ช. อย่างแน่นอน เพราะเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ใน

การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นอกจากนี้ นายเทียนฉาย ยังกล่าวว่า การหารือกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ที่มีนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมด้วยแต่อย่างใด
----------------------
"สรรเสริญ" ระบุ หารือ "เทียนฉาย" แค่กรอบแนวคิดเบื้องต้น รอที่ประชุมสรุปอีกครั้งใน 2 ประเด็นหลัก

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปรายปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการหารือร่วมกับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า เป็น

การเข้ามาดูแนวคิดการทำงานของ ป.ป.ช. ว่าเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ เป็นเพียงข้อเสนอและหารือกันเท่านั้น ส่วนรายละเอียดยังไม่ชัดเจน ต้องรอให้กรรมการ ป.ป.ช. คุยกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งประเด็นหลักที่คุยจะเป็นการปฏิรูป 2 ส่วน คือ การอนุวัฒน์กฎหมาย

ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันการทุจริต (UNCAC) ที่ประเทศไทยจะต้องทำอย่างจริงจัง และแก้ไขกฎหมายนี้ อีกส่วนคือการเพิ่มประสิทธิภาพ หากเราไม่ได้เสนอตอนนี้
ก็ต้องเสนอตอนฉบับที่แก้ไข ซึ่ง ป.ป.ช. มองว่าเป็นอุปสรรคและชะลอประสิทธิภาพ
--------------------
"ถวิลวดี" หวังได้รับฟังความคิดเห็นที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นประโยชน์ สำหรับการยกร่าง รธน.

นางถวิลวดี บุรีกุล กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวภายในการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออก สานพลัง

ประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ที่ โรงแรมร้อยเกาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่า ในวันนี้คาดหวังที่จะได้รับฟังความคิดเห็นที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งประเด็นต่าง ๆ ก็คงจะมีทั้งที่

เหมือนกันและต่างกันกับเวทีอื่น ๆ ในพื้นที่อื่นที่ได้จัดมาก่อนหน้านี้ และเชื่อว่าบรรยากาศของการเสวนาในครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความคึกคักเนื่องจากพื้นฐานของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้นั้นได้มี

ความสนใจในเรื่องของการเมืองอยู่แล้ว จึงขอให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และเมื่อมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราเสร็จสิ้นในช่วงเดือนเมษายน ก็จะมีการเปิดเวที

รับฟังความเห็นอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน พร้อมทั้งสอบถามความพอใจรวมถึงข้อเสนอแนะที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรบ้าง
---------------------
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาเป็นรายมาตราต่อเนื่อง โดยวันนี้พิจารณาหมวด7 การกระจายและการบริหารท้องถิ่น ซึ่งรัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรบิหารท้องถิ่น

ตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ขณะเดียวกัน สนช. มีมติเห็นชอบให้ร่าง พรบ.สวนป่า ประกาศใช้เป็นกฎหมาย  พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความ

คืบหน้าการพิจารณาร่างบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญรายมาตราของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้พิจารณาตั้งแต่หมวด7 การกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น โดยรัฐต้องให้ความ

เป็นอิสระแก่องค์กรบริหารท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชานในท้องถิ่น โดยมีรูปแบบองค์กรท้องถิ่นที่หลากหลาย เหมาะสมกับการบริหารจัดการตามภูมิสังคม

แต่ละพิ้นที่ รวมทั้งต้องกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และต้องส่งเสริมให้องค์กรบริหารท้อวถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน

การร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การจัดทำบริการสาธารณะใดที่ชุมชน หรือบุคคล สมารถดำเนินการได้โดยมีมาตรฐาน คุณภาพ และ

ประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าองค์กรบริหารท้องถิ่น รัฐหรือองค์กรบริหารท้องถิ่น ต้องกระจายภารกิจ ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม

ขณะที่การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด ได้ให้ความเห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยมติ 185 ต่อ 2 งดออกเสียง 5 เสียง ในร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่คณะ

กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างกฎหมายนี้ กำลังถูกต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง เนื่องจากในร่างได้กำหนดให้การตัด โค่น และเคลื่อนย้ายไม้ยางพารา จะต้องได้

รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ก่อน จากเดิมที่กฎหมายไม่ได้บังคับเอาไว้ โดยสมาชิกอภิปรายเน้นประเด็นการกำหนดให้ลดอัตราโทษผู้ที่ทำสวนกระทำการฝ่าฝืน แจ้งบัญชีการทำสวนเป็นเท็จ

/ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมจัดโครงการสัมมนา เรื่องหลักการใหม่เกี่ยวกับระบอบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง ในวันที่ 16กพ.
----------------------
พล.อ.เลิศรัตน์ เผย ยกร่างหมวดผู้นำทางการเมือง และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น คาดได้ข้อสรุปในวันพรุ่งนี้

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยความคืบหน้า การดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยในวันนี้เป็นการพิจารณารายมาตราภาค 2 ผู้นำการ

เมืองที่ดี และสถาบันการเมือง ในหมวด 7 เรื่องการกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น ซึ่งการประชุมตลอดทั้งวัน คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาเสร็จสิ้นในมาตรา 1 ที่ระบุว่า รัฐต้อง
ให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรบริหารท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้มีรูปแบบองค์กรบริหารท้องถิ่นที่หลากหลาย เหมาะสมกับการบริหาร

จัดการตามภูมิสังคมแต่ละพื้นที่ รวมทั้งต้องกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบและต้องส่งเสริมให้องค์กรบริหารท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ ตลอดจน
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 2 เรื่องอำนาจหน้าที่ของการบริหารท้องถิ่น คาดว่าจะได้ข้อสรุปในวันพรุ่งนี้
///////////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ เยือน ญี่ปุ่น กระชับความสัมพันธ์ ผลักดันร่วมมือทางเศรษฐกิจ ย้ำ นักธุรกิจญี่ปุ่น ไม่ได้กดดันคืนประชาธิปไตย

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงกำหนดการเยือนญี่ปุ่น ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี และภริยา ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2558 ตามคำเชิญ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดย
สำนักพระราชวังญี่ปุ่น ได้จัดให้คณะเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งการเยือนครั้งนี้ จะเป็นการกระชับความ
สัมพันธ์ทั้งในระดับราชวงศ์ ประเทศชาติ และประชาชน

ทั้งนี้ การเดินทางเยือนญี่ปุ่น ในครั้งนี้ เพื่อผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญกับญี่ปุ่น คือ การพัฒนาความร่วมมือ
ด้านระบบรางของไทย การพัฒนาโครงการทวาย และการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ให้เกิดความคืบหน้าเป็นรูปธรรม
รักษาดุลยภาพของความสัมพันธ์กับทั้งจีนและญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งมีความ
สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย รวมทั้งต่อประชาคมระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี จะร่วมหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และจะได้หารือกับประธานกลุ่มมิตรภาพรัฐสภา
ญี่ปุ่น-ไทย การพบปะกับภาคเอกชนของญี่ปุ่น คือ ประธานและผู้บริหารระดับสูงของสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น เคดันเรน
ที่กรุงโตเกียว ประธานและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตคันไซ ที่นครโอซากา รวมถึงประธาน
และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต่างๆ ในญี่ปุ่น เช่น ฮอนด้า และ มิตซุย

ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มนักธุรกิจได้ออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี คืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน โฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน ซึ่งกลุ่มนักธุรกิจที่ได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรี ไม่ได้
มีการพูดคุยในเรื่องนี้ และได้ชื่นชมเสถียรภาพทางการไทย ที่เป็นอยู่ในขณะนี้อีกด้วย
---------------------
"ยงยุทธ" เผย ทูตพิเศษจีน เข้าใจสถานการณ์ไทย ร่วมผลักดันเส้นทางรถไฟซื้อสินค้าเกษตร กระชับความสัมพันธ์ 40 ปี

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลัง นายเมิ่ง เจี้ยนจู้ กรรมการกรมการเมืองกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เลขาธิการฝ่ายกฎหมายและการเมืองส่วนกลางของจีน ใน

ฐานะทูตพิเศษของ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ โดยนายกรัฐมนตรี ได้มี

การพูดคุยเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านต่าง ๆ พร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ฝากความปรารถนาดีไปยัง นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีจีน ได้ฝากความประทับใจครั้งนายกรัฐมนตรีไปเยือนจีนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้จีน

พร้อมเดินหน้าในการพัฒนาในเรื่องของรถไฟ พลังงาน เศรษฐกิจ และการศึกษา พร้อมผลักดันเส้นทางรถไฟ และซื้อสินค้าเกษตรทั้งข้าวและยางพารา

อย่างไรก็ตาม จีนมีความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทย พร้อมชื่นชมการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินการตามโรดแมป และไม่ได้มีการพูดถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโลก
-------------------------------------
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ 185:2 ให้ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า ประกาศใช้เป็นกฎหมาย

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด ได้ให้ความเห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยมติ 185 ต่อ 2 งดออกเสียง 5 เสียง ในร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ที่คณะ

กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างกฎหมายนี้ กำลังถูกต่อต้านอย่างหนักจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง เนื่องจากในร่างได้กำหนดให้การตัด โค่น และเคลื่อนย้ายไม้ยางพารา
จะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ก่อน จากเดิมที่กฎหมายไม่ได้บังคับเอาไว้

โดยสมาชิกอภิปรายเน้นประเด็นการกำหนดให้ลดอัตราโทษผู้ที่ทำสวนกระทำการฝ่าฝืน แจ้งบัญชีการทำสวนเป็นเท็จ จากนั้น เข้าสู่การพิจารณากระทู้ถาม เรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่าง

กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเรื่องที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2558
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558

ไม่มีความคิดเห็น: