PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว25พ.ค.58

รัฐธรรมนูญ

สปช. นัดประชุมพิจารณาวาระปฏิรูปที่ดิน จับตาส่งร่างแก้ไข รธน. ให้ กมธ.ยกร่าง วันสุดท้าย มีการเสนอแก้ไขเรื่องใดบ้าง

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา เช้านี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สั่งนัดสมาชิกประชุม สปช. ในเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน

เรื่อง โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร) และพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วาระปฏิรูปที่ 11 ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน

ขณะเดียวกัน ในวันนี้ เป็นวันครบกำหนดที่ สปช. คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะต้องส่งคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง

จะต้องจับตาดูว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีการปรับลดในหลักการ เนื้อหาสาระในแต่มาตราหรือไม่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนในประเด็นที่หลายฝ่ายมีความกังวล อาทิ เรื่องที่มานายกรัฐมนตรี ส.ส. -

ส.ว. องค์กรอิสระที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ต่างๆ และการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับผู้ตรวจการเข้าด้วยกัน
------------
"ยงยุทธ" บอก ครม.นัดพิเศษวันนี้ คุยเรื่องเสนอแก้ รธน.อย่างเดียว คาดถกหนัก ม.181, 182 ฝากทุกฝ่าย ระวังหลงทางปฏิรูป

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ ในวันนี้จะเป็นการ
พิจารณาข้อเสนอแนะในการที่จะส่งคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ไปยังกรรมาธิการยกร่างฯ ซึ่งจะเป็นการหารือต่อจากที่ค้างไว้
ในการประชุม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องของการปรับแก้ถ้อยคำในภาคทั่วไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตีความ รวมถึง
การปรับแก้ให้ครอบคลุมมากขึ้นและไม่ยาวจนเกินไป เช่น ในหมวดปฏิรูป ที่กำหนดเนื้อหา ที่อาจจะเป็นปัญหาในการบริหารประเทศ
ในอนาคต

นอกจากนี้ นายยงยุทธ ยังกล่าวด้วยว่า เรื่องที่น่าจะมีการหารือกันมาก คือ มาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจรัฐบาลเสนอต่อสภา
ขอความไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินจากสภา ก่อนที่จะมีการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ พร้อมกับฝากทุกฝ่ายช่วยกัน
ไม่อยากให้เกิดการหลงทาง ในการที่จะเดินหน้าการปฏิรูปประเทศ
------------
"อลงกรณ์" ระบุ สปช. ส่ง 8 คำขอ อนุฯ กมธ. ทบทวน ตรวจทานรายละเอียดแล้ว มั่นใจส่งก่อน 16.00 น. แน่นอน

ความไหวที่รัฐสภาล่าสุด ได้เริ่มประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้ว โดยมีวาระในการพิจารณาเพื่อรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน เรื่อง โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่าง

เสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร) ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เปิดเผยว่า วันนี้จะไม่มีการหารือเรื่อง

ประเด็นการยื่นคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจาก กรรมาธิการแต่ละคณะ ได้ส่งมาให้คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดทำประเด็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ในคณะ

กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ เป็นผู้รวบรวมประเด็นทั้งหมด แต่จะเป็นการตรวจทานก่อนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งใน 8 คำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น มี

สมาชิก สปช. เป็นผู้รับรองคำขอละประมาณ 26 คน หรือทั้งหมด 208 คน ซึ่งแต่ละคำขอจะมีสมาชิกรับรองมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 25 คน

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประเด็นที่หลายฝ่าย มีความกังวล ซึ่งจะมีความครอบคลุมทั้งหมด และคาดว่าจะส่งก่อนเวลา 16.00 น.
----------
"บวรศักดิ์" แจง ที่ประชุม สปช. เร่ง ส่งคำขอแก้ไขร่าง รธน. ภายใน 16.30 น. วันนี้

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ในวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่ สปช. จะต้องส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ

ภายในเวลา 16.30 น. โดยนำส่งได้ที่ฝ่ายเลขาฯ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง 1 คำขอแก้ไขเพิ่มเติม จะต้องมีผู้เสนอเพียง 1 คน หากมากกว่านั้น อาจผิดข้อกฎหมาย และจะต้องมีผู้รับรองคำ

ขอแก้ไข 25 คน โดยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน เป็นต้นไป จะเชิญตัวแทนจากแต่ละคำขอกลุ่มละ 5 คน เข้าชี้แจงรายละเอียดต่อกรรมาธิการยกร่าง ฯ กลุ่มละ 3 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ สปช. สามารถส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ได้ทั้งหมด 8 คำขอแก้ไข
---------------
สปช. ปฏิรูปการเมืองยื่นคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้นายกฯ มาจาก ส.ส.-ส.ว.ทั้งหมด

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองและคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้เสนอประเด็นที่ขอ

ยื่นแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น โดยไม่ต้องมีการบัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลถึงนายกรัฐมนตรีคนนอกหากเกิดวิกฤตการ

เมือง เพราะได้ระบุให้ปลัดกระทรวงรักษาราชการแทนทันทีหากมีการยุบสภา พร้อมยืนยันว่าระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศจึงเสนอให้

ใช้ระบบสัดส่วนคู่ขนาน โดยกำหนดให้รัฐสภา ประกอบด้วย ส.ส.จำนวน 500 คน ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ตลอดจนให้ กกต.

เป็นผู้กำกับและจัดการเลือกตั้ง รวมถึงมีอำนาจแจกใบเหลือง-แดง แก่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ต้องตั้งคณะกกรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.)

----------
กมธ.ยื่นขอแก้ไขเพิ่มร่าง รธน. 129 ประเด็น ยึดหลักรัฐธรรมนูญต้องกระชับ ย้ำลงมติเห็นชอบเป็นสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละคน

คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง และคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แถลงการส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม

ร่างรัฐธรรมนูญในกลุ่มการเมืองและกฎหมายยื่นแก้ไข 129 ประเด็น โดยยึดหลักรัฐธรรมนูญจะต้องสั้น กระชับ ไม่ยาวจนเกินไป เน้นสร้างรัฐบาลให้เข็มแข็ง ยึดหลักถ่วงดุลอำนาจที่มีประสิทธิภาพ

และการใช้อำนาจต้องเชื่อมโยงกับประชาชน รวมถึงสร้างสมดุลของอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

โดย นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอแนะเท่านั้น จะแก้ไขหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญ

พร้อมย้ำว่าการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบนั้นเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละคน
------------------
นายกฯ เป็น ปธ.ประชุม ครม.นัดพิเศษ สรุปความเห็นแก้ไขร่าง รธน. ก่อนส่ง กมธ.

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อสรุป

ความเห็นร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี ก่อนเสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปรับแก้ โดยมีบรรดารัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวร่วมกับ นายโจเซเอีย โวเรเก ไบนีมารามา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฟิจิภายหลังหารือข้อราชการ ว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อกระชับ

ความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือในหลายสาขาระหว่างสองประเทศ ซึ่งไทยมีความตั้งใจส่งเสริมให้การค้าของทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าสูงขึ้น ทั้งนี้ ยังมีการจัดทำความตกลงร่วมกันว่าด้วย
บริการเดินอากาศ ความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างกัน ซึ่งไทยหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากฟิจิ ในการที่ไทยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น

สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเภทไม่ถาวร นอกจากนี้จะต้องทำให้ประเทศอาเซียนและหมู่เกาะแปซิฟิก เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ผลิตและแหล่งอาหารของโลก
////////////////////

"พล.อ.อุดมเดช" ยัน จนท.ไม่ได้ใช้ความรุนแรงกับ น.ศ. เชิญชวนทุกฝ่าย ร่วมเวทีแสดงความเห็นกับ คสช. ปลาย พ.ค.นี้

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีการจับกุมนักศึกษา ที่แสดงออกถึง

การต่อต้าน คสช. เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง แต่จำเป็นต้องเชิญตัวมาปรับความเข้าใจ ทำให้สถานการณ์นิ่ง ราบรื่น ไปสู่โรดแมปโดยเร็ว แต่อาจมีภาพบางมุม
ที่อาจทำให้เข้าใจผิดเท่านั้น

พร้อมกันนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังกล่าวด้วยว่า ใครที่ต้องการแสดงออก แสดงความเห็น ก็เชิญร่วมแสดงความเห็นเวทีร่วมของ คสช.ที่จะเชิญ พรรคการเมือง นักการเมือง กลุ่มต่างๆ หลายฝ่าย มาแสดง

ความเห็นกันเป็นครั้งที่ 2 ในช่วง ปลาย พ.ค. หรือ มิ.ย.นี้ ถือเป็นช่องทางที่ถูกต้อง โดย คสช. จะรับฟังความเห็น และส่งให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการปฏิรูป และใช้ประโยชน์ต่อไป
----------------
มาสเตอร์โพล ปชช. ร้อยละ 97.1 ไว้วางใจ คสช. แก้ปัญหาประเทศต่อไป มั่นใจแก้ค้ามนุษย์-ประมงผิดกฎหมาย-คุมราคาหวยได้

ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพล เรื่อง “1 ปี คสช.กับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย”
โดยศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,083 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22-24 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชน
มีความไว้วางต่อ คสช. ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และประชาชน มากถึง ร้อยละ 97.1 มีเพียง ร้อยละ 2.9 ที่ระบุ
ไม่ไว้ใจแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะมีอำนาจเบ็ดเสร็จมากเกินไป/ กดดันประชาชนมากเกินไป ไม่เป็นประชาธิปไตย กลัวว่า ทหารจะ
เหลิงอำนาจ

นอกจากนี้ ยังพบว่า ในช่วงเวลา 1 ปี ที่ คสช. ควบคุมอำนาจ แกนนำชุมชุน ร้อยละ 55.2 ระบุ มีความสุขค่อนข้างมาก-มาก ขณะที่
ร้อยละ 28.6 มีความสุขมากที่สุด, ร้อยละ 15.3 ระบุปานกลาง  และร้อยละ 0.6 ระบุค่อนข้างน้อย-น้อย

ทั้งนี้ แกนนำชุมชน ร้อยละ 72.2 เชื่อมั่นว่า รัฐบาล และ คสช. จะแก้ปัญหาค้ามนุษย์ได้, เช่นเดียวกับ ร้อยละ 63.5 เชื่อจะแก้ปัญหา
ประมงผิดกฎหมายได้ ตลอดจนร้อยละ 52.9 มั่นใจว่าจะควบคุมราคาลอตเตอรี่ ใบละ 80 บาทได้
-------------
รัฐบาล ชมผลงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องนโยบายรัฐ เผย ปฏิรูปโครงสร้าง ตร. อาจเกิดหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงประเด็นการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรตำรวจ ว่า
ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสนับสนุนนโยบายจัดระเบียบสังคม การปราบปรามการทุจริต
การปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด และขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งสร้างที่ผลงานดีต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินงาน
ที่ผ่านมาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือว่าสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ปัญหาหลักหลายประการ ซึ่งรัฐบาลรู้สึก
ชื่นชมตำรวจทุกคนที่มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อประโยชน์ของประชาชน
โดยส่วนรวม

ทั้งนี้ สำหรับการปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งระบบ
เป็นส่วนที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีฝ่ายตำรวจซึ่งเป็น
ผู้ปฏิบัติหลักและมีความเข้าใจองค์กรตำรวจมากที่สุดเป็นหลักสำคัญในการวางแนวทางการปฏิรูป ควบคู่ไปกับร่างแผนการปฏิรูป
ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่จัดทำไว้แล้ว เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
และประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น: