PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เสียงวิจารณ์ กรรมการสิทธิ์ฯ


ถ้าการสรรหา “กรรมการสิทธิฯ” ถูกตรวจสอบจากหน่วยงานรับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ ก็คงได้รับ “ธงแดง” เหมือนกรมการบินพลเรือน เมื่อต้นปี ICC กลไกของ UN OHCHR โดย Sub-Committee on Accreditation (SCA) เพิ่งประเมินผลการทำงานของกสม. และเสนอให้ “downgrade” กสม.ลงไปหนึ่งขั้น เพราะละเมิดหลักการ Paris Principles (1) ICC วิจารณ์กระบวนการสรรหาว่าไม่หลากหลาย ไม่มีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม (2) กสม.ทำงานไม่ตอบสนองกับเหตุการณ์ละเมิดสิทธิที่รุนแรง อย่างกรณี “ขอคืนพื้นที่ปี 53” กสม. ใช้เวลารวบรวมข้อมูลสามปี และ (3) ขาดความเป็นอิสระ เจ้าหน้าที่ของกสม. แสดงความเห็น-จุดยืนทางการเมืองขณะปฏิบัติหน้าที่ พูดง่าย ๆ “ลำเอียงและไม่เป็นกลาง”

มีการแก้ไขอย่างไรบ้างในแง่กระบวนการสรรหา? มีการลดจำนวนกรรมการสรรหาเหลือ 5 คนคือ ประธานศาลฎีกา + ศาลรธน.+ สนช. ที่เพิ่มเข้ามา แทนที่จะเป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคมเหมือนที่กสม.เสนอทาง ICC กลับเป็นอาจารย์และอดีตผู้พิพากษาทั้งคู่ (คุณเพ็ง เพ็งนิติและคุณเฉลิมชัย วสีนนท์) ซึ่งไม่มีผลงานกับภาคประชาสังคมหรือผลงานด้านสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ผลลัพธ์ของกระบวนกา/กรรมการรสรรหาที่พิกลพิการ เราจึงได้กรรมการสิทธิฯ หน้าตาประหลาด ๆ (ด้วยความเคารพ ยกเว้นคุณอังคณา นีละไพจิตร) โดยเฉพาะ “บวร ยสินทร” เจ้าพ่อกระทิงแดงเนี่ย “เป็นกลาง” “ไม่ลำเอียง” หรือ? เอะอะก็จะกำจัดขยะแผ่นดิน ใครเขาจะไปกล้าร้องเรียนกับคุณ? น่าสมเพชเวทนา ความจริงองค์กรนี้จะถูกยุบไป คงไม่มีคนโหยหาอะไร เปลืองเงินเปล่า ๆ
ปล. สิ่งที่กสม.รับปากจะแก้ไขในแง่กระบวนการสรรหาคือการเพิ่มตัวแทนสองคนเข้าไปในกรรมการสรรหา แล้วเป็นไงล่ะ?
“NHRCT had acknowledged concerns about the lack of participation in the selection process and indicated that it is advocating that the General Meeting...(to) select two members from civil society.”


ไม่มีความคิดเห็น: