PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"พลเอก อักษรา"ติงบทบาทสื่อในการพูดคุยสันติสุขฯ เป็นกระบอกเสียง ให้ฝ่ายผู้เห็นต่าง


"พลเอก อักษรา"ติงบทบาทสื่อในการพูดคุยสันติสุขฯ เป็นกระบอกเสียง ให้ฝ่ายผู้เห็นต่าง ระบุสิ่งที่สื่อของเราเข้าไปสนับสนุนการใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว แค่เพราะ ต้องการแสดงว่า รู้ลึก รู้จริง รู้ก่อน วอนเข้าใจ ร่วมมือแก้ปัญหา ช่วยกันทำงาน ไม่ใช่แย่งกันทำ ความรุนแรงที่ลดลง แนวโน้มที่ดีขึ้น ไม่ใช่ผลงานของใครทั้งสิ้น แต่เป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเดียวเท่านั้น ตำหนิปัญหาเกิดจากผู้ก่อเหตุ รุนแรงที่ยังคงมีความคิดสุดโต่ง และผู้ที่รับเคราะห์กรรม คือ ประชาชน ฉะผู้เห็นต่างฯ และมักอ้างเสมอว่าฝ่ายรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อดึงองค์กรต่างประเทศเข้ามา ยันการปฏิบัติการในพื้นที่ไม่พอ ต้องมีกระบวนการพูดคุยสันติสุข ความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ได้รับการยอมรับในทางสากล เป็นที่รับรู้ของ OIC และประชาคมโลก ด้วย เผย กลุ่มผู้เห็นต่างฯ ยังไม่มีความชัดเจน นอกจากการรวมตัวของเขาเอง และต้องพิสูจน์ ความไว้วางใจ เผยเหตุที่ฝ่ายผู้เห็นต่างฯ มาเลเซีย ช่วยจัดทำร่างกรอบกติกา หรือแนวทางการพูดคุย Guideline เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ทุกฝ่ายยึดถือปฏิบัติตาม ที่คณะทำงานทางเทคนิคร่วมกำลังดำเนินการอยู่ แนะภาคประชาสังคม เป็นผู้บอกความต้องการ ไม่ต้องการความรุนแรงในพื้นที่

พลเอก อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ได้เขียนบทความแสดงความเห็น ส่งถึงสื่อมวลชน โดยระบุการพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ มีความก้าวหน้ามาโดยลาดับ นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการพูดคุยในปี ๒๕๕๘ จึงส่งผลให้สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ลดลงอย่างชัดเจนในปี ๒๕๕๙
แต่อย่างไรก็ดี ผู้ก่อเหตุฯ ไม่ว่ากลุ่มใดก็ตามยังคงมีขีดความสามารถและยังดำรงความริเริ่มในการก่อเหตุความรุนแรงได้ทุกพื้นที่ ทั้งการ ลอบโจมตี ลอบสังหาร การลอบวางเพลิง และการใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งการก่อกวนในรูปแบบต่างๆ
"โดยมาตรการระวังป้องกันของภาครัฐ ร่วมกับประชาชนนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะยุติเหตุความรุนแรงอย่างยั่งยืนได้ จำเป็นต้องใช้กระบวนการพูดคุยสันติสุข ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่ได้รับการยอมรับในทางสากล เป็นที่รับรู้ของ OIC และประชาคมโลก"

ยืนยันได้ว่าความรุนแรงไม่ได้เกิดจากภาครัฐ แต่ในทางตรงกันข้าม เกิดจากผู้ก่อเหตุ รุนแรงที่ยังคงมีความคิดสุดโต่ง และผู้ที่รับเคราะห์กรรม คือ ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ ทุกเพศ ทุกศาสนาในพื้นที่ จชต. รวมทั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่มักถูกกล่าวอ้างเสมอ

ในขณะที่ภาครัฐพยายามใช้กระบวนการยุติธรรม ต่อทุกฝ่ายอย่างเต็มความสามารถ แต่ก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้เห็นต่างฯ และมักอ้างเสมอว่าฝ่ายรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อดึงองค์กรต่างประเทศเข้ามา

" นี่คือจุดอ่อนสาคัญที่ต้องขอร้องให้สื่อมวลชนร่วมกับภาคประชาชนช่วยกันปฏิเสธการใช้ความรุนแรง ทุกรูปแบบในพื้นที่ จชต. ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดก็ตาม และประกาศอย่างชัดเจนที่จะต่อต้านการก่อการร้าย โดยร่วมมือกันสนับสนุนภาครัฐในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียมกัน และนำการพัฒนาที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เข้ามาสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ และ อนาคตให้กับเยาวชนในพื้นที่ จชต."

พลเอกอักษรา กล่าวว่ าในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสื่อมวลชนบางสานักยังพยายามไปสะท้อนข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ทั้งๆ ที่เขาไม่มีช่องทางสื่อสารใดๆ นั่นคือสิ่งที่สื่อของเราเข้าไปสนับสนุนการใช้ความรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพียงแต่ต้องการอยากนำเสนอในสิ่งที่แตกต่างในลักษณะรู้ลึก รู้จริง รู้ก่อน เท่านั้น แต่ไม่บังเกิดผลดีต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ จชต. แต่อย่างใด

ผมต้องขออภัยด้วยครับที่ต้องพูดตรงๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับสังคม และต้องขอเน้นย้าอีกครั้งว่า สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. ที่ดีขึ้นนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจาก กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ที่พยายามสร้างความเข้าใจ กับกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ทุกกลุ่ม อันส่งผลมาสู่การลดเหตุความ รุนแรงในพื้นที่ เพราะเราทำงานเป็นทีม มีท่าน แม่ทัพภาค๔ และท่าน รอง เลขาธิการศอ.บต., ปลัดกระทรวงยุติธรรใ และผู้แทนหน่วยงาน ความมั่นคงอยู่ในคณะพูดคุยด้วยทั้งหมด ไม่ใช่มีผมทำงาน คนเดียว และผมกับท่าน พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาค4 คนปัจจุบัน ก็คุยกันตลอด

รวมทั้งได้พบปะ ผบ.หน่วยกาลังในพื้นที่ จชต. ทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า ขณะนี้ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันปฏิเสธความรุนแรง ไม่ยอมรับการก่อการร้าย และต้องการพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้เห็นต่างฯ หลายกลุ่มได้ยุติการใช้ความรุนแรง และให้ความร่วมมือ เข้าสู่โครงการพาคนกลับบ้านมาสู่การดูแลของภาครัฐ และกระบวนการยุติธรรมที่ตามมา

นี่คือกรอบการทำงานตั้งแต่ ระดับนโยบายจนถึงหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ไม่ใช่แยกกันทำหรือทำแข่งกัน อย่างที่สื่อบางสานักเข้าใจ ในทำนองว่า “การพูดคุยไม่มีความก้าวหน้า แต่พื้นที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก เพราะผลงานของคนนั้น คนนี้ เป็นต้น”

"ผมขอเรียนว่าไม่ใช่ผลงานของใครทั้งสิ้น แต่เป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเดียวเท่านั้น ทุกหน่วยก็ปฏิบัติตามทุกขั้นตอนจนถึงระดับพื้นที่ และส่งผลให้สถานการณ์ดีขึ้นมา โดยลำดับ"

สาหรับความก้าวหน้าของการพูดคุยฯ ในปัจจุบันคณะทางานด้านเทคนิคร่วม ๓ ฝ่าย เพิ่งเดินทาง ไปคุยทำข้อตกลงเรื่องกรอบแนวทางการพูดคุย เพราะมีรายละเอียดเรื่องถ้อยคำที่ต้องคำนึงถึงกฎหมายไทย และหลักสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแตก็มีความก้าวหน้าด้วยดี

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาฝ่ายเรา คณะพูดคุยมีความชัดเจนอยู่แล้วในทุกเรื่อง ทั้งการมีคำสั่งสานักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีการทางานทั้งสามระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับการพูดคุย และการประสานงานในระดับพื้นที่

สรุปคือทุกสิ่งที่ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. และ ศอ.บต. ทำทั้งหมดก็เพื่อสนับสนุนกระบวนการพูดคุย และ การพูดคุยฯ ก็จะสง่ ผลกลับมาลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่นั่นเอง

จากการที่ฝ่ายเราคณะพูดคุยฯ มีความชัดเจนในทุกเรื่อง สามารถพบพูดคุยกับ OIC ได้อย่างเป็น ทางการ แต่เป็นเพราะกลุ่มผู้เห็นต่างฯ ยังไม่มีความชัดเจน นอกจากการรวมตัวของเขาเอง และต้องพิสูจน์ ความไว้วางใจ

ดังนั้น ฝ่ายผู้เห็นต่างฯ จึงขอให้ทางผู้อำนวยความสะดวก คือ ประเทศมาเลเซีย ช่วยจัดทำร่างกรอบกติกา หรือแนวทางการพูดคุย Guideline เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ทุกฝ่ายยึดถือปฏิบัติตาม นี่คือสิ่งที่คณะทำงานทางเทคนิคร่วมกำลังดำเนินการอยู่

ผมขออธิบายแนวทางการดำเนินการของคณะพูดคุยฯ ในขั้นตอนการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งเป็น ระยะแรกที่มีความยาก และสำคัญที่สุดให้ทุกท่านเข้าใจดังนี้ (ตามภาพ)

ผมขอเรียนว่าในเมื่อทุกฝ่ายล้วนอ้างว่าทำเพื่อประชาชนในพื้นที่ จชต. สรุปสุดท้ายคือความ ต้องการของภาคประชาสังคมและประชาชนทุกกลุ่ม อาชีพ อายุ เพศ และศาสนา จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่สุดที่จะยุติเหตุความรุนแรงทั้งปวง โดยไม่มีใครสามารถแอบอ้างแทนได้

ไม่มีความคิดเห็น: