PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

ว่าด้วย ประธานปปช.

30042559  อยากเป็น "ไผ่ตายด้วยหน่อ" หรือ?     : เปลว  สีเงิน
ก็รู้กันแล้วนะ...........!
เมื่อวาน (๒๙ เม.ย.๕๙) "ศาลทหาร" ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ๘ ผู้ต้องหา ทีมงาน "นายตู่-จตุพร"
ที่ถูกจับในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๖ ฐานยั่วยุปลุกปั่น และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

ศาลพิจารณาแล้วบอกว่า..........

"พฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง จึงไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาทั้ง ๘ ได้รับการประกันตัว"!

นอนเกาสะดือไปก่อน ๑๒ วัน แล้ว ๑๐ พฤษภา.ค่อยมาดูกันว่า ศาลจะให้ประกันหรือไม่ให้ ในฝากขังนัดสอง?

บรรดาหนูๆ ทั้งหลาย....โปรดสังเกต!

แมวตะปบจริงแล้วนะ เดี๋ยวจะว่าไม่บอก ที่คิดกันว่า ออกไปกวนตีนยังชีพ จับแล้วเขาก็ปล่อย อย่างที่ผ่านมาน่ะ

คิดชะล่า ตอนนี้ คิดฉลาดได้แล้ว.......

เว้นแต่อยากทัวร์ "ห้องกรง" ยาวเป็นอาทิตย์ และนายใหญ่จ่ายเพิ่มพิเศษ แบบนั้นละก็ เชิญเข้าสู่รายการกวนตีนเพื่อ "เข้าคุก" ได้ตามสบาย!

รัฐบาล คสช.น่ะ ถ้าจะพูดถึงเรื่องพัง 

ไม่พังเพราะลูกพันตีนของทักษิณ หรือของ "ตู่-เต้น" หรอก

แต่จะพังเพราะคนที่ "อุ้มสม" เข้ามาซุกไว้ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะจะให้เข้ามามากกว่า!

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ นั้น......

เกษียณจากตำรวจ ก็มาเป็น ป.ป.ช. แถมนั่งเก้าอี้ประธาน ท่ามกลางความหวาดระแวงแสลงใจคนทั้งเมืองเมื่อปีที่แล้ว

การเอาตำรวจมาเป็นประธานปราบทุจริตคอร์รัปชัน ยิ่งเป็นตำรวจที่มีปูมประวัติความเป็นมาอย่าง พล.ต.อ.วัชรพล

ต่างกับ "เอาแมวมาเฝ้าปลาย่าง" ตรงไหน?!

ก็รู้กันทั้งโลก.......

พล.ต.อ.วัชรพล เป็นคน "ใต้ใบบุญ" พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ซึ่งปัจจุบัน เป็น ๑ ใน ๔ จำเลย ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

ในคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ โดยไม่ปฏิบัติตามหลักสากล สั่งตำรวจสลายการชุมนุมชนิดโหดเหี้ยมอำมหิต จนตาย-เจ็บมากมาย ที่หน้ารัฐสภาและลานพระบรมรูปฯ เมื่อ ๗ ตุลา.๕๑ 

ในสมัย "นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์" เป็นนายกฯ นอมินีทักษิณ!

และกับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ "พี่ใหญ่" ของรัฐบาล คสช. พล.ต.อ.วัชรพล ก็คือเลขาฯ ของพลเอกประวิตร

ดังนั้น การได้เข้ามาเป็นประธาน ป.ป.ช.ในยุคคณะ คสช.เข้าควบคุมอำนาจปกครองประเทศ

"โดยนิตินัย" ก็พูดได้........

เมื่อคุณสมบัติครบ คณะกรรมการสรรหาเขาเลือก และ สนช.ปรู๊ฟแล้ว โอเค จะมาว่าอะไรกัน

แต่ "โดยพฤตินัย"

ถ้าไม่ด้วย คสช.โดยพี่ใหญ่ประวิตร ไม่ต้องพูดถึงตำแหน่งประธานหรอก เอาแค่จะผ่านคณะกรรมการสรรหาหรือไม่ 

นั่น...ก็ยังสงสัยอยู่?

แต่ก็เอาล่ะ คิดในแง่บวก ควรให้โอกาสและให้เวลาพิสูจน์คน แล้วมันก็พิสูจน์ให้เห็นธาตุแท้ฉับพลัน-ทันใดจริงๆ

เข้ามาปุ๊บ งานหลัก-งานแรก ที่ประธาน ป.ป.ช.ทำคือ ขมีขมัน เตรียมกระบวนการ "ถอนฟ้องคดีสลายการชุมนุมพันธมิตรฯ" ทันที!

ทั้งที่ คดีขึ้นสู่การพิจารณาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองแล้ว และเมื่อวาน (๒๙ เม.ย.๕๙) ยังไต่สวนพยานโจทก์นัดที่ ๒ อยู่ด้วยซ้ำ

เหตุที่จะถอนฟ้อง พล.ต.อ.วัชรพลอ้าง..........

"จำเลยคดีสลายชุมนุมฯ ยื่นขอความเป็นธรรมเข้ามา เพราะมีพยานหลักฐานใหม่ ส่งมาให้ ป.ป.ช.พิจารณาอีกครั้ง

เพื่อความเป็นธรรม เขาจึงขอให้ ป.ป.ช.ถอนฟ้องคดีออกจากศาลฯ เสียก่อน"

ก่อนจะคุยกัน ควรทราบ จำเลยในคดีมีใครบ้าง ประธาน ป.ป.ช. ซึ่งดูเหมือน "เข้ามาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ" จึงวิจิตรบรรจงสร้างเหลือหลาย?

ก็มี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ จำเลยที่ ๑ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกฯ ที่ ๒ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ที่ ๓ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น.จำเลยที่ ๔

เห็น ๔ ชื่อ แจ่มแจ้งกว่า ๔ ล้านคำอธิบาย ว่าทำไม พล.ต.อ.วัชรพลจึงต้องทำลายยี่ห้อ ป.ป.ช.ที่สังคมเชื่อถือ ด้วยการจ้องถอนฟ้องคดี!

จริงอยู่ การถอนฟ้องนั้น ถอนได้หรือไม่ได้ ในกฎหมาย ป.ป.ช.และระเบียบปฏิบัติไม่ได้บอก

แต่มนุษย์เหนือสัตว์ ตรงที่ มนุษย์มีสำนึกในผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี มีหิริ โอตตัปปะ ส่วนสัตว์ โดยทั่วไป ไม่มี

กฎหมายจึงมีที่มา ๒ แบบไง แบบหนึ่งก็จาก ศีลธรรม จารีต ประเพณี ดังนั้น เมื่อกฎหมายไม่ได้บอก กรณีเช่นนี้ 

ด้วยสำนึกมนุษย์ ย่อมบอกกับแต่ละตัวคนได้ว่า อะไรควร-อะไรไม่ควร?
แค่นี้ คนเป็นประธานควรมีดุลยธรรม "ชี้ขาด" ได้แล้ว กับเรื่องที่ "พวกเดียวกัน" ที่เป็นจำเลย ร้องขอความเป็นธรรมเข้ามา

แต่นี่....ทั้งที่ "จิตสำนึก" รู้ ทั้งกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจโดยตรง แต่จิตซ่อนร้อน หาช่องจะทำ

จึงสร้างภูมิคุ้มกัน ไปถามฝ่ายกฎหมาย...เขาบอกทำได้ เอาให้ดูแน่นหนา ประชุม ป.ป.ช. ที่ประชุมวันนั้นมี ๗ คน ปรากฏว่า ๖ คน คือ 

พล.ต.อ.วัชรพล, นายปรีชา เลิศกมลมาศ, นายวิทยา อาคมพิทักษ์, นางสุวณา สุวรรณจูฑะ, นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์

มีมติเห็นด้วย คือถอนฟ้องได้

มี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ คนเดียว ที่ไม่เห็นด้วย! 

ส่วนอีก ๒ ป.ป.ช.ที่ไม่ได้ประชุมวันนั้น คือ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง กับ นายณรงค์ รัฐอมฤต

เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย พล.ต.อ.วัชรพลก็มอบให้นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาฯ ป.ป.ช. ตั้งคณะทำงานพิจารณาว่า...เห็นควรถอนฟ้องคดีหรือไม่?

ควรถอนฟ้อง หรือ ไม่ควรถอนฟ้อง..........

มีเหตุผลว่าอย่างไร ให้ส่งให้ที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.พิจารณา เพื่อลงมติสุดท้ายภายในเดือนพฤษภา.นี่แหละ!

ทีนี้มาถึงความเห็นผมบ้าง......

ปี ๒๕๔๒ ธัมมชโยถูกอัยการฟ้องในความผิดฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริต คือคดีที่ดินวัดนั่นแหละ 

ปี ๒๔๔๙ ในรัฐบาลทักษิณ ใกล้ที่ศาลอาญาจะตัดสินคดี ธัมมชโยต้องเข้าคุกอยู่รอมมะร่อ ปรากฏว่าอัยการไปขอถอนฟ้องคดี

เป็น "จุดด่าง" ทางการบริหารและกระบวนการยุติธรรมมาถึงทุกวันนี้!

และนี่...ในรัฐบาล คสช.กำลังจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย 

ป.ป.ช.ฟ้องคดีแก๊งระบอบทักษิณต่อศาลอาญาฯ มีอดีต ผบ.ตร.น้องชายรองนายกฯ ในรัฐบาล คสช.รวมอยู่ด้วย

จู่ๆ ป.ป.ช.ชุดใหม่ ที่เข้ามาแทนชุดเก่าซึ่งหมดวาระไป ก็จ้องจะถอนฟ้อง!?

พล.ต.อ.วัชรพลโปรดสำเหนียก.......

คดีนี้ เดิมอัยการบอกไม่สมบูรณ์ โยนไป-โยนมา จน ป.ป.ช.นำมาฟ้องเอง และศาลอาญาฯ รับคดีเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาอยู่ขณะนี้

อีกทั้งผู้เสียหายเคยฟ้องศาลปกครองกลาง และศาลตัดสินเมื่อปี ๕๕ ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ "ใช้อำนาจเกินควร" ให้จ่ายค่าเสียหายไปแล้ว

อีกอย่าง ที่ ป.ป.ช.ชุดเดิม ฟ้อง "สมชาย-ชวลิต-พัชรวาท-สุชาติ" นั้น

ฟ้องในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ 

และตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.๒๕๔๒ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๙๕ และ ๓๐๒ 

ไม่เกี่ยวกับ "ข้อมูลใหม่" ที่อ้างเลอะเทอะนั่นเลย!

ดังนั้น ไม่มีเหตุผลอะไรที่ประธาน ป.ป.ช.จะต้องถากถางสร้างความชอบที่ไม่เป็นธรรม เพื่อหาช่อง "ถอนฟ้อง" ให้พวกเจ้าบุญ-เจ้าคุณเหล่านั้น

การ "สร้างอำนาจเสริม" นอกกฎหมาย ป.ป.ช.ให้ตัวเอง เพื่อ "ถอนฟ้อง" ได้ลักษณะนี้

เอาแค่ขั้น "ยื่นขอถอนฟ้อง" แค่นั้น ไม่ต้องรอว่าศาลจะพิจารณาอย่างไรหรอก 

ทั้ง ป.ป.ช. ทั้ง คสช. "พินาศพร้อมกัน" ไม่เชื่อก็...ลอง!.

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ทหารส่งตัว ‘บุรินทร์ อินติน’ พลเมืองโต้กลับ ให้ ปอท.แจ้งข้อหา ‘112-พ.ร.บ.คอมพ์’



ทหารส่งตัว ‘บุรินทร์ อินติน’ พลเมืองโต้กลับ ให้ ปอท.แจ้งข้อหา ‘112-พ.ร.บ.คอมพ์’
พ.อ.บุรินทร์ เปิดเผยว่า ทหารเฝ้าติดตามพฤติกรรมนายบุรินทร์ หลังจากสายข่าวพบการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวชื่อ “Burin Intin”ในลักษณะต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลและคสช.รวมทั้งมีการแชตพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยมีข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 กระทั่งวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 12.13 น.นายบุรินทร์โพสต์คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 40 นาที พร้อมข้อความ “นู๋อยากโดนอุ้ม#ปล่อยเพื่อนเราที่โดนอุ้ม” ก่อนจะมีบุคคลเข้ามาแสดงความคิดเห็นในคลิปดังกล่าว และนายบุรินทร์ตอบความคิดเห็นในลักษณะหมิ่้นเบื้องสูง หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ช่วงเวลา18.00น.นายบุรินทร์ เดินทางมาร่วมกิจกรรม”ยืนเฉยๆ”ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ก่อนจะเป็น1ใน16รายที่ถูกตำรวจสน.พญาไทควบคุมตัว

รัฐบาล"ปู" อยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง

รัฐบาล"ปู" อยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง

“นายกฯบิ๊กตู่” พูดชัด ครั้งแรก ไม่ได้ต้องการ "พูดคุยสันติสุข" แต่เพราะรัฐบาลที่แล้วเริ่มไว้ ต้องมาตามแก้ไข  ชี้แก้ปัญหาไม่ได้ แต่รัฐบาลเก่า รั้นที่จะทำ เลยต้องมาตามแก้ให้ ยัน ไม่ยอมรับ ไม่เรียกชื่อ Marapatani ไม่รับรองสถานะใคร ยัน รับไม่ได้เหตุการณ์รุนแรง ยันผู้ก่อเหตุต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม ลั่น เราเอากม.ประเทศเราไปรองรับ ไม่ได้ ประกาศถ้าไม่ยอมรับ หรือ คุยไม่รู้เรื่องก็กลับมา

 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ที่มีกระแสจะไม่เป็นผลสำเร็จว่า อยากจะเตือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูล ก็เขียนกันอยู่นั่น แก้ปัญหาไม่สำเร็จ พูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จบ้าง มันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าอีกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่ตรงกัน ก็จะแก้ได้ 
ผมเห็นที่สื่อมวลชนเขียนระบุว่า ทำไมไม่จริงใจในการแก้ปัญหา มันยอมรับกระบวนการได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการสร้างอาชญากรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ 

กลุ่มผู้เห็นต่างที่เอาปืนมายิงกันนั้นผิดกฎหมาย องค์กรที่มีชื่อขึ้นตามทะเบียนต่างๆเหล่านั้นก็ผิดกฎหมายทั้งหมด 

รัฐบาลไม่สามารถที่จะนำกฎหมายในประเทศไปต่อรองได้ ประเทศไทยเจรจากับผู้กระทำความผิดไม่ได้ เอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาว่ากัน ซึ่งต้องดูตรงนี้ 

"คณะพูดคุยก็จะนำเรื่องไปหารือว่าเขาจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็กลับมา"
 
“ทำไมเราต้องไปยอมรับกติกาในการให้เรียกชื่อ ไม่เห็นใครเขาจะสนใจ แล้วมันมีกี่กลุ่มรู้ไหม แล้วรู้ไหมทำไมเขาต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ 

รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นมันถึงต้องไปคุยนอกประเทศ และจะไปดึงเขาเข้ามาในประเทศอีก ไม่เข้าใจกันซักเรื่อง แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ส่งเดชไปเรื่อย หลายคนนะ ผมดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย อยากนี่อยากโน่นแต่ไม่เคยเข้าใจ 

เราหลีกเลี่ยงอยู่แล้วเรื่องการพูดคุย รัฐบาลที่แล้วอยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง แล้วมันจะจบไหมล่ะคุยกัน 

เจตนาวันแรกก็ไม่ตรงกันแล้ว ที่จะขอให้ผมเรียกชื่อกลุ่มเขา ผมรับรองชื่อเขาได้ไหม ถ้ามันมีชื่อขึ้นก็จะมีกลุ่มอื่นตามมาเรื่อยๆ แล้ววันหลังก็ขึ้นทะเบียนไป รัฐก็ผิด ฉะนั้นใครไปคุยในประเทศเมื่อไหร่ก็ผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น” 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เข้าใจให้ตรงกันด้วย ทำให้คนเขาสงบ อย่าไปเพิ่มศักยภาพในการพูดคุยว่า ถ้าหากพูดคุยแล้วจะกดดันจากการใช้ความรุนแรง และอาวุธ ผมให้ไม่ได้ ดังนั้นการที่ขอให้เป็นพื้นที่ปิดเพื่อดูแลกิจกรรม ดูแลครู เด็กนักเรียน ก็ค่อยๆทำ ถ้าคิดว่าจะพูดคุยกัน ถ้าพูดคุยแล้วจะเร่งรัดให้เรียกชื่อ ให้แสดงความจริงใจ ให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นวาระแห่งชาติ มันอะไรกัน การแก้ปัญหาภาคใต้ก็เป็นวาระแห่งชาติอยู่แล้ว
 
“เขียนให้ดีนะ ผมจะติดตาม เพราะฝ่ายความมั่นคงแจ้งมา เขาบอกว่ารับไม่ได้ การแก้ปัญหาวุ่นวายสับสนไปหมด เพราะการสร้างกระแสในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตรงกันหมด ไอ้นี่พูดอย่าง ไอนั่นพูดอย่าง รัฐบาลเขาตั้งหลักไว้แล้ว มีเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาของชาติให้เป็นธรรม เท่าเทียม ใครบอกไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็ร้องมาจะสอบให้ ใครจะกลับบ้านก็มีกระบวนการมาตรา21 เขามีไว้หมดแล้วมันจะอะไรกันอีก ก็เริ่มกันไม่ได้แล้วมันจะไปตรงอื่นได้อย่างไร 

บางอย่างในตำรา ก็คือตำรา วิชาการ ก็คือวิชาการ มันอยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างในการทำงาน ไม่ใช่เอาปัญหาทุกปัญหามาตีกันมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น” นายกฯ  กล่าว

บิ๊กตู่ โวย พวกกล่าวหา ทหารจะโกงประชามติ แอบหย่อนบัตร

"ปัดโธ่! ใครจะขโมยใคร ย้อนกลับไปดูพฤติกรรมตัวเองบ้าง" บิ๊กตู่ โวย พวกกล่าวหา ทหารจะโกงประชามติ แอบหย่อนบัตร ลั่น "ไอ้คนโกง ไม่ใช่ผม ไปดูว่าอยู่ฝ่ายไหน มันจะโกงกันแน่"

"นายกฯ"ยัน มีประชามติ แน่ อย่าพูดส่งเดช.  ยัน ไม่ห้ามนานาประเทศ สังเกตการณ์ ข้างคูหา แต่ไม่เชิญเป็นทางการ ยันทหารไม่เข้าในคูหาแน่ ยันไม่เลือกปฏิบัติ ใครผิดก็จับ ห้ามแสดงออกVote No เปรย ดูใบหน้าแต่ละคน ก็หน้าเดิม ซ้ำอยู่ที่เดิม 10 ปี มาแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึงการต่อต้านรัฐธรรมนูญ โดยมีการชักชวนให้Vote No ว่า เรื่องนี้จะห่วงหรือไม่ มีกฎหมายอยู่แล้ว 

และจากการที่ห่วงนี้ ถึงมีกฎหมายออกมา อย่ามาบอกว่า เป็นการแสดงความคิดเห็น

 ถามว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต และบิดเบือนหรือไม่ ถ้าเอารัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับออกมาคลี่ดู จะเห็นว่าส่วนไหนที่ทำเพื่อส่วนรวม และส่วนไหนที่เป็นการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องคุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ต้องไปดูตรงนั้น อย่ามาบอกว่ารับ หรือไม่รับมันไม่ใช่

"ถ้าเป็นห่วงก็หยุดการเคลื่อนไหว บอกเขาอย่างนี้ ผมบอกแล้ว ให้ชี้แจงในทางสร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่มาล้มรัฐธรรมนูญ มันผิดกฎหมาย และคนพูดก็จะโดนด้วย"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ถามว่า เรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด อย่างเช่นการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันมีกฎหมายหลายฉบับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  เขาเขียนมาอย่างไร พ.ร.บ.ประชามติ เขียนอย่างไร คำว่าโดยสุจริต และไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง ถ้าบิดเบือนก็ผิด ไม่บิดเบือนก็ไม่ผิด คำง่ายๆ ทำไมไม่เข้าใจ แล้วอย่างนี้จะปกครองบ้านเมืองต่อไปกันอย่างไร ไม่ต้องมาตีความกฎหมาย 

ที่ผ่านมาทะเลาะกันเพราะตีความรัฐธรรมนูญ ตีกันอยู่นั่น อันนี้เดี๋ยวก็ตีกันอีก ตีความรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็ตีความรัฐธรรมนูญเข้าข้างตัวเอง ที่ผ่านมาตีความกันได้มาก เพราะไม่มีกฎหมายลูก แต่วันนี้รัฐธรรมนูญจะมีกฎหมายลูกตามมาทั้งหมด
 
"ถ้าเป็นคนดีจะกลัวอะไร กลัวตำรวจจับเหรอ คุณกลัวไหม ถ้าคุณไม่ทำความผิด ก็ไม่ต้องกลัว จะไปขยายเป็นปากเป็นเสียงให้คนที่ชอบทำความผิดทำไม แล้วคุณไม่รู้เหรอเขาทำอะไรมาบ้าง รู้ไหม"นายกฯ กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอว่า ถ้ายังเกิดความวุ่นวายช่วงทำประชามติ อาจเสนอให้ไม่ต้องทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าอย่างไร พูดส่งเดชกันไปเรื่อย สื่อก็ขยายความกันไป เขาเจตนาดี ผมไม่ได้ว่าเขาพูดส่งเดช แต่ต้องดูว่ารัฐธรรมนูญเขียนอย่างไร

" ถ้าไม่มีการทำประชามติ มันจะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ได้อีก แล้วจะไปทางไหนกันคิดว่าทางกรธ. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  และประชาชนก็มีเจตนาดี และที่มาพูดกันทุกวันเชื่อว่าทุกคนมีเจตนาดี มีบางคนเท่านั้น ที่เจตนาไม่ดี นั่นแหละ

กฎหมายเขียนไว้ตรงนี้ ถ้าดีแล้วใครจะไปทำอะไร ก็เชิญเป็นกันต่อไปได้ ถ้าไม่ผิดกฎหมาย

 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เห็นด้วยก็ผิดกฎหมาย ไม่เห็นด้วยก็ไปกาตอนลงประชามติ ไม่ใช่มาเดินเคลื่อนไหวล้มไม่ล้ม มันคนละเรื่อง 

ถามอย่าให้งงตัวเอง ผมจะได้ตอบไม่งง เขาเขียนแล้วว่าให้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่มีใครว่า แต่ถ้าจะไปชักจูงคนมาVote No หรือใส่เสื้อ ทำผิดกฎหมายก็ต้องโดนจับ ไม่ใช่ว่าผมไปปิดกั้น แล้วอีกฝ่ายทำหรือไม่ 

"ผมเลือกปฏิบัติเหรอ วันนี้คนที่ออกมาด่าอยู่ข้างไหน ข้างใคร ผมพยายามไม่ดูฝ่ายแล้วนะ ดูใบหน้าแต่ละคนซึ่งก็หน้าเดิม ซ้ำอยู่ที่เดิม 10 ปี มาแล้ว"

เมื่อถามว่า ความพยายามเรียกร้องให้นานาประเทศเข้ามาสังเกตการณ์ทำประชามติ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผมไม่สนใจ. อยากจะมาก็มา แต่ไม่เป็นทางการ ผมไม่ได้ห้าม ไปเดินดูตามจุดที่ทำประชามติว่า สุจริตหรือไม่ 

ตอนเลือกตั้งก็ให้เขามาดูว่าจะเป็นอย่างไร ผมไปห้ามเข้าไม่ได้ ใครไปใครมาประเทศไทย ห้ามไม่ได้อยู่แล้ว 

และวันนี้ตนห้ามเขาพูดกับสื่อเหรอ ในโทรทัศน์ก็ไม่เคยห้าม เห็นพูดกันโครมๆ ถ้าผมใช้กฎหมายจริงๆ จับได้หมดอยู่แล้ว ทำไมไม่ดูตรงนี้
 
เมื่อถามว่า ถ้านานาประเทศเข้ามาสังเกตการณ์จริงมีข้อกังวลอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะเจตนาของผมบริสุทธิ์ในการทำประชามติ ไม่เว้นแต่ใครทำให้ไม่บริสุทธิ์ ผมทำให้ประเทศของตนเอง
 
เมื่อถามว่า ในส่วนของฝ่ายการเมือง นายกฯ ได้ย้อนถามทันทีว่า ฝ่ายไหนให้พูดมา 

ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า ฝ่ายพรรคเพื่อไทยตั้งข้อสังเกตการทำประชามติอาจมีการขโมยหย่อนบัตร อยากให้ฝ่ายการเมืองสามารถสังเกตการณ์ข้างคูหาได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามกฎหมายสามารถสังเกตการณ์นอกคูหาได้ ก็เป็นอย่างนี้มาตลอดทำไมจะต้องวุ่นวาย แล้วผมห้ามเขามาเหรอ 

"ที่กลัวว่าจะมีการขโมยหย่อนบัตรนั้น ปัดโธ่! ใครจะขโมยใคร ย้อนกลับไปดูพฤติกรรมตัวเองบ้าง ที่ผ่านมาไปถามชาวบ้านดู แม้แต่ทหาร ผมยังไม่ให้เข้าไป ให้แต่เจ้าหน้าที่เข้าไป ทหารต้องอยู่ข้างนอกดูแลความสงบเรียบร้อย ที่ผ่านมาทหารขอไปนั่งในคูหา ผมยังไม่ให้เข้าเลย แล้วมันก็เกิดเหมือนเดิม"
 
" ไอ้คนโกง ไม่ใช่ผม ไปดูว่าอยู่ฝ่ายไหน มันจะโกงกันทั้งสองฝ่าย ให้มันรู้ไป ฝ่ายสนับสนุน หรือฝ่ายไม่สนับสนุน ผมไม่รู้"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรี มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมไม่มั่นใจด้วยกฎหมาย แต่ผมมั่นใจในความดี และเจตนารมณ์ของพวกผม ที่ทำงานในวันนี้ ฉะนั้นผมก็จะมีประชาชนส่วนหนึ่งที่เขาอยากให้ประเทศชาติเดินหน้า หากใครไม่เห็นชอบ ก็ไปแสดงความคิดเห็นมาโดยบริสุทธิ์ ผมก็ฟังทั้งหมดแล้วค่อยไปแก้กันวันหน้า"
 
เมื่อถามว่า แต่วันนี้ดูเหมือนฝ่ายการเมืองจะดื้อยาในเรื่องกฎหมายจะทำอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สื่อก็ไปเขียนบอกให้เขาเลิก บอกเขาว่าควรจะทำอย่างไรให้เขาสงบกันบ้างเพื่อบ้านเพื่อเมืองอะไรก็แล้วแต่ เยอะแยะไปหมดบ้านเรามีหลักหลายอย่าง. กลับเข้ามาสู่หลักการเหล่านี้ ไม่ใช่มาต่อต้าน. ถ้าปมจะย้อนกลับไปถามว่าคนเหล่านี้สร้าง ปัญหาอะไรให้กับประเทศไทยบ้าง ต้องถามเขาจะมาพูดอะไรในวันนี้ ถ้าเขาไม่ทำในวันนั้น. ผมก็คงไม่มายืนในวันนี้ 

และที่เข้ามากำลังจะแก้ปัญหาที่เขาทำไว้ ซึ่งเขาก็จะต้องเข้ามาอีกในวันข้างหน้า สื่อต้องพูดกับเขาแบบนี้ ถ้าทำแบบเดิมก็ไม่ต้องเข้ามา ประชาชนก็คิดเอาเองจะเลือกหรือไม่เลือก

บิ๊กตู่ไม่หนุนเจรจาดับไฟใต้ ชี้แก้ปัญหาไม่ได้ อัดรบ.เก่าจะทำเลยต้องตามเช็ด

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 13:26 น.
จำนวนคนอ่านล่าสุด 37542 คน
 เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ที่มีกระแสจะไม่เป็นผลสำเร็จว่า อยากเตือนว่าการวิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่มีข้อมูลก็เขียนกันอยู่นั่น แก้ปัญหาไม่สำเร็จ พูดคุยสันติภาพไม่สำเร็จบ้างมันจะแก้ได้อย่างไร ถ้าอีกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่ตรงกันก็จะแก้ได้ ตนเห็นที่สื่อมวลชนเขียนระบุว่าทำไมไม่จริงใจในการแก้ปัญหา มันยอมรับกระบวนการได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการสร้างอาชญากรรมที่ร้ายแรงหรือไม่ กลุ่มผู้เห็นต่างที่เอาปืนมายิงกันนั้นผิดกฎหมาย องค์กรที่มีชื่อขึ้นตามทะเบียนต่างๆ เหล่านั้นก็ผิดกฎหมายทั้งหมด รัฐบาลไม่สามารถที่จะนำกฎหมายในประเทศไปต่อรองได้ ประเทศไทยเจรจากับผู้กระทำความผิดไม่ได้ เอากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาว่ากัน ซึ่งต้องดูตรงนี้และคณะพูดคุยก็จะนำเรื่องไปหารือว่าเขาจะยอมรับได้หรือไม่ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็กลับมา

 “ทำไมเราต้องไปยอมรับกติกาในการให้เรียกชื่อ ไม่เห็นใครเขาจะสนใจ แล้วมันมีกี่กลุ่มรู้มั๊ย แล้วรู้มั๊ยทำไมเขาต้องไปคุยที่ต่างประเทศ เพราะเจรจากับใครไม่ได้ รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นมันถึงต้องไปคุยนอกประเทศ และจะไปดึงเขาเข้ามาในประเทศอีก ไม่เข้าใจกันซักเรื่อง แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ส่งเดชไปเรื่อย หลายคนนะ ผมดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็วิจารณ์กันไปเรื่อย อยากนี่อยากโน่นแต่ไม่เคยเข้าใจ เราน่ะหลีกเลี่ยงอยู่แล้วเรื่องการพูดคุย รัฐบาลที่แล้วอยากจะคุยก็เชิญ ผมก็ต้องมาตามแก้อยู่นี่ไง แล้วมันจะจบมั๊ยล่ะคุยกันน่ะ เจตนาวันแรกก็ไม่ตรงกันแล้วที่จะขอให้ผมเรียกชื่อกลุ่มเขา ผมรับรองชื่อเขาได้มั้ย ถ้ามันมีชื่อขึ้นก็จะมีกลุ่มอื่นตามมาเรื่อยๆ แล้ววันหลังก็ขึ้นทะเบียนไป รัฐก็ผิด ฉะนั้นใครไปคุยในประเทศเมื่อไหร่ก็ผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญเมื่อนั้น” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวและว่า เข้าใจให้ตรงกันด้วย ทำให้คนเขาสงบ อย่าไปเพิ่มศักยภาพในการพูดคุยว่าถ้าหากพูดคุยแล้วจะกดดันจากการใช้ความรุนแรงและอาวุธ ตนให้ไม่ได้ ดังนั้นการที่ขอให้เป็นพื้นที่ปิดเพื่อดูแลกิจกรรม ดูแลครู เด็กนักเรียน ก็ค่อยๆทำ ถ้าคิดว่าจะพูดคุยกัน ถ้าพูดคุยแล้วจะเร่งรัดให้เรียกชื่อ ให้แสดงความจริงใจ ให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นวาระแห่งชาติ มันอะไรกัน การแก้ปัญหาภาคใต้ก็เป็นวาระแห่งชาติอยู่แล้ว
 
 หัวหน้าคสช. กล่าวอีกว่า “เขียนให้ดีนะ ผมจะติดตาม เพราะฝ่ายความมั่นคงแจ้งมาเขาบอกว่ารับไม่ได้ การแก้ปัญหาวุ่นวายสับสนไปหมด เพราะการสร้างกระแสในสังคมไม่เข้าใจ ไม่ตรงกันหมด ไอ้นี่พูดอย่าง ไอนั่นพูดอย่าง รัฐบาลเขาตั้งหลักไว้แล้ว มีเจตนารมณ์ที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาของชาติให้เป็นธรรม เท่าเทียม ใครบอกไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็ร้องมาจะสอบให้ ใครจะกลับบ้านก็มีกระบวนการมาตรา21 เขามีไว้หมดแล้วมันจะอะไรกันอีก ก็เริ่มกันไม่ได้แล้วมันจะไปตรงอื่นได้อย่างไร บางอย่างในตำรา ก็คือตำรา วิชาการ ก็คือวิชาการ มันอยู่ที่การปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างในการทำงาน ไม่ใช่เอาปัญหาทุกปัญหามาตีกันมันไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น”

ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว 8 แอดมินเพจล้อการเมือง

อัพเดทเนื้อหา 16.09 น.
ศาลทหารไม่ให้ประกันตัว 8 แอดมินเพจล้อการเมือง อีกด้านศาลอาญามีคำสั่ง การเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่กระทำอย่างเปิดเผยสุจริตไม่ถือว่าผิดแต่ประการใด
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัว 8 ผู้ต้องหา ซึ่งประกอบไปด้วย น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ นายชัยธัช รัตนจันทร์ นายนพเก้า คงสุวรรณ นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์ นายโยธิน มั่งคั่งสง่า นายธนวรรธน์ บูรณศิริ นายศุภชัย สายบุตร และนายหฤษฏ์ มหาทน ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามความผิดในมาตรา 116 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไปฝากขังที่ศาลทหารกรุงเทพในช่วงเช้าวันนี้ 29 เม.ย. ทางทนายของทั้ง 8 ผู้ต้องหาคือนายอานนท์ นำภาได้ยื่นขอประกันตัวรายละ 100,000 บาท แต่หลังจากที่ศาลได้รับเรื่องไว้พิจารณา ล่าสุดทนายความได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเมื่อเวลา 15.50 น.ว่า ศาลตกลงไม่ให้ประกันตัวบุคคลทั้งแปด
บุคคลที่ถูกจับและดำเนินคดีทั้งหมดถูกกล่าวหาว่ามีส่วนจัดทำเพจในเฟซบุ๊กเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นภัย ด้านนายอานนท์ ทนายความของพวกเขาได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวเปิดเผยว่า ในคำร้องขอฝากขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า เพจ “เรารักพล.อ.ประยุทธ์” มีภาพตัดต่อล้อเลียนนายกรัฐมนตรี ขณะที่ทนายความคัดค้านโดยระบุว่า การล้อเลียนไม่ถือว่าเป็นความผิดในเรื่องของความมั่นคงตามมาตรา 116 ต่อมานายอานนท์โพสต์ด้วยว่า ศาลทหารได้อนุญาตให้ฝากขังพวกเขาไว้ในระหว่างสอบสวน 12 วัน ขณะนี้ทนายความรอคำสั่งศาลในเรื่องการประกันตัว

ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลในเพจของกลุ่มว่า ในขณะที่ไปศาล นายหฤษฎ์ มหาทน ผู้ต้องหาที่ 8 แถลงต่อศาลเพื่อประกอบการคัดค้านการฝากขังว่า ในช่วงที่อยู่ในค่ายทหารนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารผลัดกันสอบสวนตลอดเวลาและเจ้าหน้าที่ได้กล่าวกับนายหฤษฏ์เองว่า ได้สอบสวนหมดสิ้นแล้ว จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องฝากขังเพิ่มเติม ตลอดจนกลุ่มตนก็ไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนีแต่อย่างใด พร้อมทั้งยินดีร่วมมือหากจะมีการสอบปากคำเพิ่มเติม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวในเพจของกลุ่มว่า ผู้ต้องหาหนึ่งในแปดระบุว่า แม้เพจที่ทำขึ้นมาจะเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่ไม่ควรถูกกล่าวหาว่ามีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องที่ควรทำได้ในสังคมประชาธิปไตย

ส่วนที่ศาลอาญาซึ่งทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ร้องต่อศาลว่าการควบคุมตัวบุคคลทั้งแปดเป็นไปโดยมิชอบและขอให้ปล่อยตัว เนื่องจากพฤติกรรมการเข้าจับกุมไม่มีหมายจับ ประกอบกับการตรวจค้นเป็นไปอย่างอุกอาจ 

วันนี้ศาลอาญาพิจารณาไต่สวนแล้วระบุว่า การจับกุมตัวบุคคลทั้งแปดของเจ้าหน้าที่กระทำในเวลากลางวัน เป็นไปอย่างเปิดเผยและสุจริต อีกทั้งเป็นการเข้าควบคุมตัวในด้านความผิดด้านความมั่นคงที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจกระทำได้ตามคำสั่งของคสช.ที่ 3/58 อย่างไรก็ตาม น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนผู้ยื่นเรื่องกล่าวว่า ทางทนายความจะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาเพิ่มเติมว่า จะอุทธรณ์คำสั่งหรือไม่ พร้อมกันนั้นชี้ว่า การที่ทนายความและญาติยื่นเรื่องร้องเรียนเชื่อว่ามีผลให้เจ้าหน้าที่ปรับวิธีการทำงานอยู่บ้าง สังเกตเห็นได้จากที่มีการขอหมายจับหนึ่งวันหลังจากที่มีการจับกุมและญาติร้องเรียนทันที ทั้งๆที่การขอหมายจับนี้สามารถทำได้ล่วงหน้า เชื่อว่าหากไม่มีความเคลื่อนไหวจากทีมทนาย บุคคลทั้งหมดอาจยังอยู่ในการควบคุมโดยที่ยังไม่มีขั้นตอนใดๆ

นี่เป็นภาพของพวกเขาช่วงก่อนเข้าสู่ศาล สองภาพหลังเป็นภาพหลังจากออกมาจากศาล











หิ้ว8มือโพสต์-ส่งศาลทหาร ทนายจ่อประกันคนละแสน


หิ้ว8มือโพสต์-ส่งศาลทหาร ทนายจ่อประกันคนละแสน 
Cr:เดลินิวส์
เมื่อวันที่29เม.ย. ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจกองปราบปรามกว่า20นายทำการควบคุมตัว 8 ผู้ต้องหาในคดีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และผิดกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยง ปลุกปั่น ออกจากกองบังคับการปราบปราม เพื่อเตรียมส่งตัวฝากขังผัดแรกที่ศาลทหาร ประกอบด้วย 
1.น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์
2.นายนพเก้า คงสุวรรณ 
3.นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์ หรืออ้วน
4.นายโยธิน มั่งคั่งสง่า หรือโย
5.นายธนวรรธน์ บูรณศิริ
6.นายศุภชัย สายบุตร หรือตั๋ม
7นายหฤษฏ์ มหาทน และ
8.นายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา หรือที 







ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 8 คน ได้เดินทางมาด้วยรถของกองบังคับการปราบปราม จำนวน 5 คัน และมาถึงที่ศาลทหารในเวลา 09.15 น. ซึ่งทุกคนมีสีหน้าเรียบเฉย ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารที่ดูแลพื้นที่โดยรอบศาลทหารฯและกระทรวงกลาโหม ด้าน นายวิญญัติ ชาญมนตรี กล่าวว่า ในคดีดังกล่าวนี้ตนจะเป็นทนายความให้กับ 8 ผู้ต้องหา ร่วมกับทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เบื้องต้นจะขอยื่นประกันตัวทั้ง 8 คน ในวงเงินหลักทรัพย์คนละ 1 แสนบาท.

ศาลยกคำร้องขอปล่อย 4 มือโพสต์ ‘เพจเรารัก พล.อ.ประยุทธ์’

ศาลยกคำร้องขอปล่อย 4 มือโพสต์ ‘เพจเรารัก พล.อ.ประยุทธ์’ ชี้ทหารมีอำนาจตามคำสั่ง คสช. ‘เปิดเผย-สุจริต’
วันที่ 29 เมษายน เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ห้องพิจารณา 902 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางมาฟังคำสั่งขอให้ปล่อยตัวนายนพเก้า คงสุวรรณ, นายศุภชัย สายบุตร, น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ และนายหฤษฎ์ มหาทน กลุ่มโพสต์เพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” มีเนื้อหาโจมตีรัฐบาล หลังจากยื่นคำร้องว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวไปที่ มทบ.11 โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาตรา 90
คำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 06.00 น.เจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวบุคคลทั้ง 4 ในสถานที่ต่างกันในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและ จ.ขอนแก่น โดยไม่มีการแสดงหมายจับหรือหมายค้น เป็นการเข้าคุมตัวในที่พักอาศัยขณะที่บุคคลทั้ง 4 กำลังพักผ่อนอยู่ หลังจากควบคุมตัวแล้วไม่มีการระบุว่านำตัวบุคคลทั้ง 4 ไปคุมขังยังสถานที่ใด การควบคุมตัวดังกล่าวนั้นไม่มีทนายความหรือญาติของบุคคลทั้ง 4 ทราบถึงสถานที่คุมขัง ถือเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ทราบชะตากรรม ไม่รู้ว่าผู้ถูกควบคุมตัวมีความปลอดภัยในร่างกายและจิตใจหรือไม่ เพียงแต่รับทราบในภายหลังจากที่มีการแถลงข่าวจากเจ้าหน้าที่ทหารว่าบุคคลทั้ง 4 คนถูกคุมขังอยู่ที่ มทบ.11 โดยญาติของผู้ถูกควบคุมตัวมีการติดต่อเพื่อขอเยี่ยมแต่ไม่ได้รับการอนุญาต ผู้ร้องจึงมาร้องต่อศาลเนื่องจากเห็นว่าอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐย่อมสามารถถูกตรวจสอบได้โดยศาล มิเช่นนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จและเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุมควบคุมตัว ผู้ร้องจึงขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายเรียกเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวมาซักถามถึงการควบคุมตัวและมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดตามคำร้องด้วย

ต่อมาเวลา 11.20 น. ศาลอ่านคำสั่งโดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การเข้าจับกุมตัวกระทำในเวลากลางวัน มีเจ้าหน้าที่ทหารเป็นเป็นผู้จับกุม และอยู่ระหว่างประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า คสช. และจากการไต่สวนทราบว่าผู้ถูกจับกุมมีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เมื่อนับวันยื่นคำร้องการควบคุมตัวยังไม่เกิน 7 วัน ตามคำสั่ง คสช. แสดงว่าการจับกุมและคุมตัวกระทำตามกฎหมายโดยเปิดเผยและสุจริต จึงไม่ถือว่าการควบคุมตัวบุคคลทั้ง 4 เป็นการควบคุมตัวที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

หวั่น โพสต์แล้ว คนคล้อยตาม ปลุกปั่น ต่อต้าน!!



หวั่น โพสต์แล้ว คนคล้อยตาม ปลุกปั่น ต่อต้าน!!
โฆษกคสช. แจง 9คนโพสต์ โซเชียลฯหวังผลจิตวิทยา ทำบุคคล-องค์กร-รัฐ ขาดความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ อาจทำคนคล้อยตาม นำไปสู่การปลุกปั่น ต่อต้าน ขับไล่ ระบุผิดพรบ.คอมฯ-ม.116 ยังไม่ยืนยัน โยงนปช.หรือไม่ แจงAmnesty องค์กรสิทธิ์ ยันว่าควบคุมตัว ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ และยึดประโยชน์คนส่วนใหญ่ ส่งฟ้องศาลทหาร8 คน เผย อีก1 คน อยู่ ต่างประเทศ ยันเน้นบังคับใช้กม. ตามขั้นตอน
จากกรณีที่ คสช,ควบคุมบุคคล 8 คน ที่มีการโพสต์ ข้อความและภาพ ในโซเชี่ยล มีเดีย ทำให้ นายกฯ และรัฐบาล เสียหาย เสื่อมเสีย และทำให้เกิดความเข้าใจผิด. ทั้งที่กทม.และเชียงใหม่ นั้น
พันเอกวินธัย สุวารี โฆษก คสช.ชี้แจงว่า บุคคล 8 คน นี้ ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาและเตรียมส่งฟ้องศาลทหารแล้ว เนื่องจากมีพฤติกรรมต้องสงสัยเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีความผิดตามมาตรการ 116 เกี่ยวกับการยุยงปลุกปั่น และยังมีอีก 1 คน อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่ามีเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน

พันเอก วินธัย ระบุว่า บุคคลกลุ่มนี้ ได้โพสต์โซเชียลมีเดีย มีลักษณะที่หวังผล
ทางจิตวิทยาและเพื่อให้บุคคล องค์กร หรือรัฐบาล ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่ได้รับความไว้วางใจ และขัดต่อการบริหารราชการ การรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งอาจนำไปสู่การต่อต้าน ขับไล่ หน่วยงานรัฐ ได้

โฆษก คสช. ยืนยันว่า การดำเนินงานของทหารโดยส่วนใหญ่ จะเป็นการขอความร่วมมือ แต่คดีนี้มีความฺผิดชัดเจน ตามหลักฐานการใช้งานโซเชียลมึเดีย
แต่อย่างไรก็ตาม พัยเอกวินธัย กล่าวว่า ยังไม่ได้ชี้ชัดว่า มีการเชื่อมโยงทางคดีกับกลุ่มนปช. หรือไม่ เพียงแต่บางคนมีพฤติกรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงส่วนบุคคลระหว่างแกนนำนปช.เท่านั้น

ยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการดำเนินการของทหารที่เกินกว่าเหตุ ไม่มีกสร"อุ้มหาย" แบบที่มีความพยายามจะปลุกปั่น และ อาจจะมีบางคนที่ใช้ความรู้สึกตัดสินการทำหน้าที่ของจนท.ทหาร

โฆษก คสช. ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการทุกอย่าง เพื่อปกป้องคนส่วนใหญ่ และการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นไปตามขั้นตอน บริสุทธิ์ยุติธรรมและเปิดเผย

ทั้งนี้ พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. และ เลขาฯ คสช. สั่งการให้ มรการบังคับใช้กม. อย่างเข้มข้น แต่ให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อ รักษากฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกคน

ส่วนกรณีองค์กรแอมเนสตี้ และองค์กรอื่นๆ ที่ออกมาวิจารณ์คสช.ในการเข้าควบคุมตัวบุคคลนั้น พันเอกวินธัย กล่าวว่า อาจจะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน และไม่ได้อยู่กับข้อเท็จจริง ซึ่งการออกมาวิจารณ์ดังกล่าวเข้าข่ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ ทำให้สังคมเคลือบแคลงเจ้าหน้าที่ได้ จึงขอให้ตรวจสอบข้อมูลก่อน และ อาจทำให้องค์กรนี้ถูกสังคมตั้งคำถาม เสียเอง เริ่องการออกมาแสดงความเห็น

พันเอกวินธัย กล่าวว่า การจับกุม บุคคลต่างๆทั้ง8 คนนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่รักษากฎหมายบ้านเมือง ดำเนินการไปตามหลักฐานไม่อยากให้ใช้คำว่า เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการตามอำเภอใจ
ซึ่งเป็นเหมือนการดูหมิ่นดูแคลนการทำหน้าที่และจะเหมือนจงใจทำลายความน่าเชื่อถือในตัวเจ้าหน้าที่รัฐ

ทั้งนึ้ การจะให้ข้อมูลอะไรควรมีข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนมิฉะนั้นสังคมจะสับสนและเคลือบแคลงต่อการ
ทำหน้าที่ต่อองค์กรในภาคประชาสังคมเอง
เชื่อว่ากฎหมายเป็นกลไกหลักในการปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับคนในสังคมซึ่งการไม่ทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในแบบที่ควรจะเป็น. อาจส่งผลให้บางบุคคลในสังคมมีการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันได้
"จึงขอความร่วมมือองค์กรทางสังคมต่างๆได้มีความเป็นธรรมต่อการแสดงออกเชิงความรู้สึกต่อเจ้าหน้าที่ด้วย" โฆษก คสช. ระบุ

‘คสช.’แฉ 9 มือโพสต์ทำเป็นขบวนการ-มีคนอยู่เบื้องหลัง เมินแอมเนสตี้จี้ปล่อยตัว


เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากลุ่มผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โพสต์ข้อความลงโซเชียลมีเดียว่า ขณะนี้ได้แจ้งข้อกล่าวหา 9 คน ในจำนวนนี้อยู่ต่างประเทศจำนวน 1 คน โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา มีการควบคุมตัว 10 คน แต่ได้ปล่อยตัวไปแล้ว 2 คนเพราะไม่มีความเชื่อมโยง โดย 1 คนถูกควบคุมมาจากจ.ขอนแก่น สำหรับข้อกล่าวหาทั้ง 9 รายคือมีการกระทำความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และผิดกฎหมายอาญา มาตรา 116 มีการยุยง ปลุกปั่น ทั้งนี้ไม่ใช่การกระทำในลักษณะของบุคคลแต่เป็นขบวนการ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ประกอบกับคำให้การ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตั้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดีได้ โดยพนักงานสอบสวนจะขออนุมัติศาลทหารในการฝากขังต่อไป
พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ส่วนพฤติกรรมจะมีความสัมพันธ์จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่นั้น หากมองการเชื่อมโยงทางคดียังไม่ชัดเจน การที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช.ระบุว่า เป็นผู้บริหารเพจของเขานั้น เป็นเพียงความเชื่อมโยงส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่การเชื่อมโยงทางคดี ทั้งนี้ตนมองว่าการกระทำของขบวนการนี้มีบุคคลอยู่เบื้องหลัง แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ในการสืบสวนและขยายผลต่อไป และขอยืนยันว่า เมื่อเจ้าหน้าที่พบผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องสงสัยนั้น ได้ปฏิบัติด้วยแนวทางสุภาพและเปิดเผย ไม่ได้เป็นไปตามที่มีการกล่าวหาว่าดำเนินการในรูปแบบกระทำต่อคนที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมายังไม่พบเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ ยกเว้นคนที่ใช้ความรู้สึกตัดสิน
“สำหรับกรณีที่องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือ แอมเนสตี้ เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนั้นถือว่าเป็นองค์กรที่อยู่ในต่างประเทศ ไม่ได้เข้ามาสัมผัสข้อเท็จจริงเพียงพอ ทั้งยังได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน แต่คสช.ไม่รู้สึกกังวล เพราะเป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ที่แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มองการกระทำเจ้าหน้าที่ในแง่ลบ เจ้าหน้าที่พร้อมสร้างความเข้าใจ แต่ยืนยันว่าเรายึดตามกรอบกฎหมาย ดำเนินการตามหลักฐาน ไม่ใช่ความรู้สึก” พ.อ.วินธัย กล่าว

กฎหมายผิดซอง

“ผมเพียงแต่เตือนว่ากฎหมายมีแล้ว คนต้องทำตามกฎหมาย ถ้ามีกฎหมายแล้วไม่ทำตาม จะเขียนไว้ทำไม ผมไม่จำเป็นต้องสั่ง เพราะเป็นหน้าที่ คสช.และรัฐบาลที่ต้องทำให้ทุกหน่วยงานเคารพกฎหมายของตัวเอง แล้วก็รับผิดชอบกันไป”  

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 27 เม.ย.59
ที่มา : ประยุทธ์ สั่ง ตร.-ไอซีทีจัดการกรณีโพสต์โจมตีรัฐบาล http://prachatai.org/journal/2016/04/65487
------

"บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง"

มาตรา ๔๘ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ที่มา : เปิด48มาตรา'รัฐธรรมนูญชั่วคราว2557' http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/00/594624/ หรือ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF

วัฒนาโพสต์fbไทยผู้ป่วยรายใหม่

"ผู้ป่วยรายใหม่ของโลก"

โฆษก คสช. แถลงยืนยันว่าทหารได้ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 คน ส่งตัวไป มทบ. 11 เพื่อปรับทัศนคติโดยจะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ไม่เกิน 7 วัน แต่คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ที่ให้นายทหารตั้งแต่ยศร้อยตรีขึ้นไปสามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน เพื่อ "สอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการกระทำอันเป็นความผิด" นั้น ไม่รวมความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ดังนั้น การที่ทหารควบคุมตัวบุคคล 10 คนไม่ว่าเพื่อการใดก็ตามถือเป็นการกักขังบุคคลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังขัดกับข้อ 9 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติว่า "บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้" (No one shall be subjected to arbitrary arrest, detention or exile.)

ประชาคมโลกกำลังกังวลกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ดังปรากฏตามหนังสือของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หนังสือจากสถานทูตสหรัฐอเมริกา และรายงานการประชุมของรัฐสภาอาเซียน ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาไทยมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราเคยเป็นเจ้าภาพเจรจาสันติภาพให้เขมรสามฝ่ายในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชายฯ แต่ปัจจุบัน ส.ส. จากกัมพูชาถึงกลับอภิปรายถึงสถานการณ์ในไทยว่า "ประชาชนไม่ควรถูกโยนเข้าคุกเพียงเพราะแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราได้เห็นคนวิจารณ์รัฐธรรมนูญถูกกักขังตามอำเภอใจและปรับทัศนคติ" ไม่นับรวมสมาชิกจากอาเซียนรายอื่นๆ ที่มีความเห็นทำนองเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นเป็นปัญหาของโลกในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ รัฐสมาชิกจะต้องยอมรับข้อตกลงที่ระบุไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติและนำเอาพันธะในองค์กรไปปฏิบัติ ประเทศไทยได้รับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" (The Universal Declaration of Human Rights) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 จึงเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่บัญญัติว่า "พันธะกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้" ดังนั้น เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งถือเป็นเรื่องของมนุษยชาติ จึงทำให้นานาชาติสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ที่น่าสังเกตคือข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ และรัฐสภาอาเซียนได้พูดถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ว่าเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อสร้างความหวาดกลัวและปิดกั้นการโต้เถียง เท่ากับสหประชาชาติและรัฐสภาอาเซียนเห็นตรงกันว่ากฎหมายประชามติมีบทบัญญัติที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน จึงวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายของเราได้โดยไม่ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน

http://aseanmp.org/2016/04/25/regional-mps-concerned-thailands-draft-constitution-planned-referendum/

 http://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=19859&LangID=E

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
28 เมษายน 2559

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

องค์กรสิทธิออกแถลงการณ์ให้ยุติการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ

+++ องค์กรสิทธิออกแถลงการณ์ให้ยุติการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ +++

สืบเนื่องจากช่วงเช้าวันนี้ (27 เมษายน 2559) มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าทำการจับกุมควบคุมตัวบุคคลทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่นอย่างน้อย 10 ราย โดยมีการบุกค้นตรวจยึดทรัพย์สินไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและสาเหตุของการควบคุมตัว และไม่แจ้งว่าจะนำตัวไปควบคุมไว้ ณ สถานที่ใด จนปรากฏข้อมูลในเวลาต่อมาว่ามีการควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวไว้ยังมณฑลทหารบกที่ 11 และสืบเนื่องจากเหตุการณ์การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลดังกล่าว ในช่วงเย็นของวันเดียวกันนั้นได้มีนักกิจกรรมและประชาชนจำนวนหนึ่งทำการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์บริเวณพื้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวไว้เมื่อช่วงเช้า แต่ต่อมากลุ่มบุคคลที่แสดงออกดังกล่าวก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวไปอีกกว่า 16 คน

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นไปตามหลักการพิจารณาที่เป็นธรรม (Fair trial) โดยเฉพาะการจับกุมโดยไม่มีหมายที่ออกโดยศาล ไม่แจ้งข้อกล่าวหาและเหตุผลในการจับกุม และไม่มีการแจ้งสถานที่ที่ใช้ในการควบคุมตัว ซึ่งการใช้อำนาจโดยพลการในลักษณะเช่นนี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการรัฐประหารแม้บางกรณีเจ้าหน้าที่ทหารจะอ้างอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกโดยอำนาจของหัวหน้า คสช. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐ (Rule of Law) เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ออกมาอย่างไร้เหตุผลหรือตามอำเภอใจ ไม่สอดคล้องกับหลักแห่งความจำเป็นและหลักสัดส่วน (necessity and proportionality) การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจในลักษณะดังกล่าวจึงขัดต่อหลักการสิทธิมนุษยชนที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง

สิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคล และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2557 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง พ.ศ. 2509 ตลอดจนอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี พ.ศ. 2527 (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีซึ่งรัฐมีหน้าที่เคารพ คุ้มครองและส่งเสริมให้สิทธิตามพันธกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและไม่อาจจำกัดหรือละเมิดได้ไม่ว่าในสภาวะไม่ปกติหรือสภาวะฉุกเฉินใด

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติเคารพต่อรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยปล่อยบุคคลที่ถูกควบคุมตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และต้องยุติการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจและยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 อันเป็นที่มาของการใช้อำนาจที่ขาดการตรวจสอบ และยกเว้นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา

ประมวลสถานการณ์

ประมวลสถานการณ์และความเห็นศูนย์ทนายต่อกรณีทหารควบคุมตัวบุคคล 8 ราย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้(27 เม..2559) ตลอดช่วงเช้ามีการส่งต่อข้อมูลทางโซเชียลมีเดียร์ว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวบุคคลทั้งในกรุงเทพและขอนแก่นรวมอย่างน้อย ราย ตั้งแต่เวลาประมาณ 5.00ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลจนสามารถยืนยันตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวและพฤติการณ์การควบคุมตัวได้เพียง ราย และทราบชื่อจากข่าวอีก 1 ราย ได้แก่

1. นพเก้า คงสุวรรณ สำเนียง ผึ้งผาย ยายของนพเกล้าให้สัมภาษณ์ว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารราว 10 นาย เข้ามาควบคุมตัวเมื่อเวลาประมาณ 7:00 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ที่ห้องนอนได้ยินเสียงเหมือนมีคนกำลังงัดแงะประตูบ้าน จึงออกมาดูเห็นว่ากำลังงัดประตูบ้านทั้งด้านหน้าและประตูมุ้งลวดด้านหลัง เมื่อขอดูหมายค้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่า การบุกค้นในครั้งนี้ทำตามหน้าที่โดยมีอำนาจรองรับ เป็นการบุกจับโดยที่ไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับแต่อย่างใด จากนั้นทหารก็ค้นบ้านและงัดเข้าไปในห้องของนพเก้าแล้วควบคุมตัวเขาออกมาจากห้องแล้วคุมตัวออกไป ทหารบอกว่าจะนำตัวนพเก้าเข้าไปควบคุมที่ มทบ.11 ทั้งหมดนี้ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาและหมายค้นแต่อย่างใด ในตอน 14.00สำเนียงได้เดินทางไปที่ มทบ.11 เพื่อขอเข้าเยี่ยมนพเก้า แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทหารไม่อนุญาตให้เข้าเยี่ยม 

พวกเขาบุกมาราวกับว่า กลุ่มโจรกำลังจะปล้นบ้าน ตกใจมากไม่คิดว่าในชีวิตจะต้องพบเจออะไรแบบนี้ พวกเขาบุกเข้ามาโดยไม่แจ้งเตือน ไม่นัดหมายและบุกปีนรั้วเข้ามาและพยายามงัดประตูบ้านเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากตัวเอง ถือว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายมาก แต่ก็มีทหารคนหนึ่งพยายามพูดคุยด้วยท่าทีสุภาพและแจ้งกับยายว่า หลายชายจะไปที่ มทบ.11” ยายของนพเก้ากล่าว 

2. ศุภชัย สายบุตร ช่างภาพ ถาวร สายบุตร พ่อของนายศุภชัยเล่าว่า ในตอนเช้าหลังกลับเข้ามาที่บ้านนายศุภชัยถูกเอาตัวไปจากบ้านแล้ว ตนจึงทราบเรื่องจากคนแถวบ้านว่ามีทหารและตำรวจมาที่บ้านตอน 05.30 โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่ามาจับตาม พ...คอมฯ และจะนำตัวศุภชัยไป มทบ.11 จากนั้นในช่วงสายถาวรได้ไปเยี่ยมที่มทบ.11 แล้วแต่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ให้เข้าเยี่ยม แต่แจ้งว่ามีการควบคุมตัวไว้ที่นี่

3. วรารัตน์ เหม็งประมูล(สงวนชื่อนามสกุลจริงแม่ของวรารัตน์ให้ข้อมูลว่ามีทหารในเครื่องแบบ นายและนอกเครื่องแบบอีกประมาณ 5-6 คน พร้อมรถยนต์บุคคลโตโยต้า คันและรถกระบะสี่ประตูติดแค็บสีดำติดฟิล์มดำ มาจับกุมขณะที่วรารัตน์และตนยังนอนอยู่ เจ้าหน้าที่เข้ามากดกริ่งรัวๆ จึงรีบมาดูแต่เนื่องจากหากุญแจเจอจึงเปิดไม่ได้ในทันที และมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบนายหนึ่งปีนเข้ามาจากหลังบ้านโดยงัดบานเกร็ดเข้ามา เมื่อวรารัตน์เปิดประตูให้แล้วทหารได้ต่อว่าวรารัตน์ว่าทำไมจึงเปิดช้า และถามว่ามีการทำลายเอกสารหรือเปล่า เจ้าหน้าที่เข้าค้นบ้านทั้งสองชั้น และจับกุมตัววรารัตน์ไป พร้อมยึดโทรศัพท์มือถือ 2เครื่องและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไป 4 เครื่อง ตลอดกระบวนการเจ้าหน้าที่ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา หมายจับและหมายค้นแต่อย่างใด

ภายหลังจากที่วรารัตน์ถูกควบคุมตัวไปได้ราวชั่วโมงครึ่ง แม่ของวรารัตน์ได้รับการติดต่อจาากเพื่อนของวรารัตน์ว่าวรารัตน์ได้ใช้โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาแจ้งว่า ไม่ทราบวาตนเองถูกควบคุมตัวอยู่ที่ไหนเพราะถูกปิดตาหลังถูกนำตัวขึ้นรถไป

4. หฤษฏ์ มหาทน 25 ปี อดีตนักข่าว นักเขียน และนิธิ กุลธนศิลป์ อายุ 26 ปี ซึ่งทั้งสองร่วมหุ้นเปิดร้านราเมงในจังหวัดขอนแก่น ได้ถูกทหารประมาณ 20 นาย พร้อมอาวุธ บุกไปที่บ้านพักในจังหวัดขอนแก่น ในเวลาประมาณ 06.00 พร้อมค้นบ้าน และยึดโทรศัพท์ โน้ตบุ๊ค หนังสือเดินทางของหฤษฏ์ไป โดยไม่แจ้งว่า ควบคุมตัวจากสาเหตุอะไร และจะนำตัวไปที่ใด จนกระทั่งในตอนบ่ายทางศูนย์ทนายความฯ ได้ติดตามกรณีของทั้งสองคนที่ค่ายศรีพัชรินทร์ มทบ.23 .ขอนแก่น พ..พิทักษ์พล ชูศรีให้ข้อมูลว่าตนเองก็ไม่ทราบว่าทั้งสองคนถูกควบคุมตัวมาด้วยเรื่องอะไรเนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ.11 และเจ้าหน้าที่ ICT ดำเนินการ และทั้งสองคนถูกนำตัวเข้าไปที่ มทบ.11 ตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว

5. ธนวรรธ บูรณศิริ ซึ่งปรากฏตามที่พ.อ.วินธัย สุวารีให้สัมภาษณ์ว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวจากห้องพักย่านบางนา โดยนายธนวรรธให้การขั้นต้นยอมรับว่าเป็นแอดมินเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” มีเนื้อหากล่าวโจมตีรัฐบาลและตกแต่งรูปล้อเลียนนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.1

ในกรณีของหฤษฎ์และนิธิ ปรากฏข่าวจากฝ่ายรัฐเมื่อเวลา 14.10..สมชาย ครรภาฉาย รอง ผบ.มทบ.23 กล่าวว่า กำลัง กกล.รส.จว.ขอนแก่น ได้สนธิกำลังร่วมทหารฝ่ายความมั่นคง จากคสชทำการเชิญตัวบุคคลทั้ง มาพูดคุยและทำความเข้าใจ และได้ทำบันทึกประจำวันและลงในเอกสารหลักฐานจากชุดปฏิบัติการจากส่วนกลางทั้งหมด ซึ่งในการเชิญตัวดังกล่าวนั้น ทั้ง มีข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อ พ...คอมพิวเตอร์ หลังจากคณะทำงานตรวจพบว่ามีการโพสต์ข้อความในเชิงต่อต้านการทำงานของ รัฐบาล2 

ทั้งนี้เวลา 15.30ยังปรากฏข่าวว่าพ..วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงข่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน 10 คน ซึ่ง รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23) .ขอนแก่น ว่าทหารจะควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวตาม มาตรา44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราวและยังไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ3แต่ไม่ปรากฏว่าโดยละเอียดว่ามีบุคคลที่ถูกควบคุมตัวเข้าค่ายทหารทั้งสองแห่งมีใครบ้าง 

การควบคุมตัวบุคคลทั้ง 8รายนั้นเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในการควบคุมตัวได้เลย และการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่มีหมายจับ ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่ได้รับสิทธิในการเข้าถึงญาติและทนายความ และไม่สามารถฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 ศูนย์ทนายความฯ ได้ยืนยันมาโดยตลอดว่ากระบวนการเหล่านี้ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม การใช้อำนาจในลักษณะนี้ได้สร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวแก่ประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราอยู่ในช่วงการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการยืนยันได้ว่าขณะนี้ประเทศไทยไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเลย จึงขอเรียกร้องให้คสช.ปล่อยตัวทั้ง 8คนในทันที หากมีการกระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาปกติที่ไม่ใช่ศาลทหาร” เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าว

นายกหัวใจสีม่วง

หัวใจสีม่วง.....
บิ๊กตู่ เหน็บ บางคน โกหกจนตาย เปรียบ หัวใจสีม่วง ของคนใกล้ตาย จะพูดแต่ความจริง เช่น ทหารเสือราชินี ที่"พระราชินี"พระราชทาน หัวใจสีม่วง ให้ เผยคนไทยไม่เคยตีกันหนักขนาดนี้ ไม่ใช่เพราะทหาร เคลียร์ กระชับพื้นที่ปี53 ถามว่าอย่างผม อย่างทหารนี่หรือจะไปยิงพี่น้องประชาชน เพราะทหารลูกหลานท่านทั้งนั้น  ผมทำไม่ได้หรอก ใครทำ ผมต้องลงโทษ ไม่เคยสั่งลูกน้องไปทำร้ายคน ถามใครยิงทหาร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานสักขีพยานในการมอบหนังสืออนุญาตให้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 16 จัดที่ดินให้ชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่า วันนี้ที่ผมมาอยู่กับท่านคือทำปัจจุบัน เอาประวัติศาสตร์มาเรียนรู้ แก้ไขปรับเปลี่ยน อันไหนไม่ดีก็ไม่ทำ เพื่อวางพื้นฐานให้กับประเทศ แค่นี้จริงๆ

" ที่ผ่านมาคนไม่เคยตีกันขนาดนี้ เพราะอะไร เพราะทหารหรือ ผมว่าไม่ใช่ ถ้าย้อนกลับไปดู ปี 53 กับ ปี 57 การชุมนุมมันต่างกันอย่างไร รู้หรือไม่ ทำไมเขาต้องใช้กำลังเพื่อยุติ ก็เพราะมีการใช้อาวุธ มีการยิงส่วนราชการ เผาศาลากลางจังหวัด ผมไม่รู้ว่าใครทำ ท่านไปหามา แต่เพราะมีความรุนแรงทหารจึงต้องไปรักษาความเรียบร้อย ในอดีตคนใช้อาวุธยิงใส่ทหาร 

ผมถามว่าทหารไม่มีชีวิตจิตใจเลยหรือ อยากจะพูดกับท่านมานานแล้ว ท่านฟังผมและอยากให้ไปคิดและแยกแยะเอา ถามว่าเผาศาลากลางจังหวัดถูกต้องหรือไม่ ประท้วงไม่ชอบใจรัฐบาลแล้วเผาศาลากลางเล่นหรือ วันหน้าไม่มาเผาสภากันเลยหรือ ยิงทหาร ใครทำ ฝ่ายไหน ไม่รู้เหมือนกัน แต่อย่าให้เขามาบิดเบือน ปี 53 ปี 49 ใครทำ มันก็ค่ายเดียวกัน มันยิงทั้งคู่ 

"ถามว่าอย่างผม อย่างทหารนี่หรือจะไปยิงพี่น้องประชาชน เพราะทหารลูกหลานท่านทั้งนั้น  ผมทำไม่ได้หรอก ใครทำ ผมต้องลงโทษ ไม่เคยสั่งลูกน้องไปทำร้ายคน มีแต่ช่วยประชาชน 

เพราะคติพจน์ของกองทัพ คือเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน ตนทำอย่างอื่นไม่ได้ เป็นความซื่อสัตย์ที่ต้องรักษาไว้ 

"สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานหัวใจสีม่วงให้แก่ทหารเสือ ทรงตรัสว่า หัวใจสีม่วงคือ คนที่ใกล้จะตายแล้ว ส่วนใหญ่จึงจะไม่โกหก แต่วันนี้ไม่แน่ใจแล้ว หลายคนมันจะโกหกจนตาย ตายไปแล้วยังโกหก เพราะยังพูดโกหกทุกวัน แล้วจะไปเชื่ออีกหรือ จะให้คนเหล่านี้มาสู้กับผมหรือ คนที่มีคดีความ ต้องยอมรับคำตัดสินของศาล ประเทศจึงจะอยู่ได้"

“บุคคลในประเทศทะเลาะกันเอง เอาโน่นเอานี่ ถามว่าทุกอย่างกลับไปที่เดิมไหม ตีกันเหมือนเดิม เลือกตั้งมา อีกพวกก็ตี ใครสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดขึ้น ท่านสัญญากับผมก็แล้วกัน ว่าท่านจะไม่เข้าไปกรุงเทพฯอีก ใครจะเอารถมารับ มันตายเปล่า ตายไปเยอะแล้ว ตอนนี้ยังตอบยมบาลไม่ได้ว่าตายเพราะอะไร เพราะเขาเกณฑ์ไง คนไทยโรแมนติกอยู่แล้วเขาพูดอะไรก็เชื่อ ตายไม่รู้ตัว แต่ไอ้คนพาไปไม่ตายสักคน วันนี้ยังพูดเย้วๆ แต่เอาล่ะ ผมคิดว่าเวรกรรมมีจริง”นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวว่า ผมไม่ได้ปิดกั้น เพราะยังมีการพูดกันอยู่เลย อาจจะเรียกไปเตือน ก็หาว่าข่มขู่ เขาเรียกขู่อะไร  ผมไม่ชอบขู่ ถ้าทำก็ทำเลย แต่ยังไม่ได้ทำ เรื่องประชามติแค่ขอให้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ได้บอกว่าให้รับหรือไม่รับ แต่วันนี้ยังพูดกัน ก็อย่าลืม ระมัดระวังกฎหมายด้วย ใครจะจ้างให้มาบอกใครต่อใครเรื่องนี้ระวังติดคุกแล้วกัน กฎหมายคือกฎหมาย มันจะโดนเท่าไรแค่นั้นเอง

นายกฯ กล่าวตอนท้ายว่า วันนี้ขอเวลา 2 ปีเพื่อให้ประเทศเดินหน้าให้ได้ และมีการเลือกตั้งในปี 60 จากนั้นจึงมีส.ว.เพื่อดูแลสถานการณ์ในช่วง 5 ปีแรก จากนั้นหากสถานการณ์ดีขึ้น เรียบร้อยขึ้นก็จะปรับลงเรื่อยๆ หรือค่อยปรับส.ว.ออก ซึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับทุกคน ต่อไปนี้ต้องบังคับใช้กติกาอย่างจริงจัง การทำประชามติอย่าตีกัน เพราะจะทำให้เลือกตั้งไม่ได้ หน้าที่ตามประชาธิปไตยคือ การลงประชามติและเลือกตั้งภายใต้ความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งฟังความเห็นต่าง รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ และดูแลคะแนนเสียงส่วนน้อยอย่าให้ใครมาบิดเบือน

 ทั้งนี้ คนดีไม่มีวันตาย หมายถึงไม่ตายจากประวัติศาสตร์ที่ทำให้ประเทศไทยก้าวหน้า ตนใจร้อนอยากให้การดำเนินการรวดเร็ว แต่ทำคนเดียวคงไม่ไหว คงต้องขอความร่วมมือจากทุกคน ขอมือทั้งสองข้าง สมองและเท้าด้วยเพื่อร่วมเดินหน้าประเทศไปด้วยกันแบบStronger Together

คุม น.ศ.ยืนเฉยๆที่อนุสาวรีย์ชัยฯ

กรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวประชาชน 10 คน ซึ่ง 8 รายในพื้นที่กรุงเทพมหานครในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และอีก2รายที่ค่ายมณฑลทหารบกที่ 23 ( มทบ.23) จ.ขอนแก่น โดยขณะนี้ อยู่ในระหว่าการสอบพฤติกรรมในการใช้สื่อว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ2559 หรือไม่นั้น
.


ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 18.00น. กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้บางส่วน นำโดยนายอานนท์ นำภา ได้มารวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และเพื่อ "ยืนเฉยๆ" แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับกรณีทหารบุกจับพลเมือง
.
โดยต่อมา "นัชชชา กองอุดม" นักศึกษา ที่มาร่วมยืนประท้วง ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญตัวออกไปขึ้นรถตู้ออกไปจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปพร้อมประชาชนอีกประมาณ 6-7 คน


ทนายกนส. ร้องศาลอาญา ชี้ ทหารคุม 10 ปชช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายวิญญัติ ชาติมนตรี กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) กล่าวถึงการบุกควบคุมตัวประชาชน 10 ราย ของเจ้าหน้าที่ทหาร ช่วงเช้ามืด ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ 8 ราย และที่จ.ขอนแก่น 2 ราย ญาติของผู้ถูกจับกุม ที่ กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ช่วงเช้ามืดระหว่างอาศัยอยู่ในบ้าน ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบจำนวนหนึ่งบุกเข้ามา ตรวจค้น และจับกุมตัว โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา อ้างแต่เพียงว่า อาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือไป สถานการณ์ตอนนี้ทั้ง 10 คน ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ มทบ.11 โดยทั้งหมดยังไม่ให้เข้าเยี่ยม เพียงแต่ให้โทรศัพท์แจ้งญาติทุกคนว่า ปลอดภัย ส่วนทางทีมทนายกนส.ขณะนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา รัชดา กรุงเทพฯ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อขอให้มีการไต่สวน วินิจฉัยว่า การควบคุมตัวของทหารไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรธ.แปลกใจ ‘สมชัย’ แจ้งความเอาผิดกองทุนขอนแก่น ชี้ ต้องมีมติกกต.ตามกม.ประชามติก่อน

เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่รัฐสภา นายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า ช่วงการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ตนได้ทำหน้าที่ฐานะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงดังกล่าว พบว่า กกต.ไม่มีข้อห้ามที่จะให้องค์กรใดเข้ามาสังเกตการณ์เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ กกต.จะเปิดพื้นที่มากน้อยแค่ไหนนั้น ต้องไปสอบถาม กกต.ชุดปัจจุบัน ส่วนการดำเนินงานของ กรธ.ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในระเบียบกกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญนั้น กรธ. ยังไม่ได้กำหนดว่าจะให้กรรมการคนใดเข้าประสานต่อการจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์
ด้านนายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ.กล่าวว่า การประสานงานร่วมกับกกต. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลาออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่ระเบียบ กกต.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ในข้อ 17 ว่า ก่อนหน้านั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. เคยให้ข้อมูลกับกรธ. ถึงการออกอากาศดังกล่าว ว่าจะมีทั้งหมด 10 ครั้ง และแบ่งให้ กรธ.จำนวน 2 ครั้ง และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 1 ครั้ง ส่วนที่เหลือกกต. จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งครั้งที่คุยกันดังกล่าวยังไม่ได้กำหนดเนื้อหาว่าจะมีรายละเอียดอย่างไร แต่ทราบว่าจะไม่มีลักษณะของการดีเบตแน่นอน ส่วนการเผยแพร่เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญนั้น เบื้องต้นคาดว่า กรธ. ไม่ต้องหารือร่วมกับกกต. อีก เพราะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 กำหนดหน้าที่ไว้ชัดเจน ไม่มีข้อบังคับให้ 2 องค์กรทำงานร่วมกัน สำหรับประเด็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติที่ กกต. จะเป็นผู้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการแสดงความเห็นว่าสิ่งใดทำได้หรือไม่ได้นั้น กรธ. คงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะเป็นอำนาจของกกต.
“ผมแปลกใจกับสิ่งที่คุณสมชัยไปแจ้งความดำเนินคดีกับองค์กรกองทุนในจังหวัดขอนแก่น เพราะโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กว่า มีความผิดตามกฎหมายประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ทำได้โดยตัวบุคคลหรือไม่ เพราะตามกฎหมายประชามตินั้น กรณีจะวินิจฉัยว่าผู้ใดทำผิดกฎหมายนั้นต้องทำในรูปแบบของคณะกรรมการและต้องมีมติของกรรมการกกต. ซึ่งขณะนี้ ทางกรธ. ได้หารือต่อการดำเนินการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญในองค์กรสื่อมวลชน โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. เตรียมทำหนังสือไปยังองค์กรสื่อ เพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สื่อมวลชนได้รับความคุ้มครองในการนำเสนอรายละเอียดที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าหากไม่ทำ อาจทำให้สื่อมวลชนไม่ได้รับคุ้มครองและเข้าข่ายทำผิดตามกฎหมายประชามติได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวยังต้องอยู่บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนด้วยว่า ต้องไม่บิดเบือน และเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมทะเลาะกัน” นายอุดม กล่าว