PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

พุทธศาสนาในรธน.

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้ #พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาว่าต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"

อ่านต่อที่ http://ilaw.or.th/node/4080

สำหรับประเด็นการคุ้มครอง #เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงที่อ่อนไหวในสังคมไทยมานานหลายปีนั้น กรธ.เขียนสองประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้ 

"มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน"

"มาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 แล้วจะพบข้อแตกต่างที่น่าสนใจมากมาย โดยเรื่องหน้าที่ของรัฐที่เพิ่มการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและเผยแร่พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยไม่ได้กล่าวถึงศาสนาอื่น หรือพุทธศาสนานิกายอื่น และยังตัดหน้าที่ของรัฐที่ห้ามลิดรอดสิทธิบุคคลเพราะการนับถือศาสนาแตกต่างกัน และหน้าที่ของรัฐในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา

#ร่างรัฐธรรมนูญ #ศาสนา #พระพุทธศานา #มีชัย

ไม่มีความคิดเห็น: