PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

กรมชลประทานประชุมบริหารจัดการน้ำ หลังอุตุนิยมวิทยาระบุ 26-29 ก.ย.59 จะมีฝนตกในภาคเหนือและอีสานล่าง



กรมชลประทานประชุมบริหารจัดการน้ำ หลังอุตุนิยมวิทยาระบุ 26-29 ก.ย.59 จะมีฝนตกในภาคเหนือและอีสานล่าง ก่อนที่วันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค.59 จะมีร่องฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคกลาง
ตรงนี้ทำให้ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.เป็นต้นไปจะปล่อยน้ำเพิ่มจากเขื่อนเจ้าพระยาที่ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากเดิม 1,800 และจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำเอาน้ำเข้าทุ่งรับน้ำที่ผักไห่ เสนา บางบาล พระนครศรีอยุธยา ซึ่งชาวนาจะเร่งเกี่ยวข้าวหมดสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อตัดน้ำรับน้ำเหนือช่วงฝนสุดท้าย 30-2 ต.ค.นี้ เพื่อเก็บไว้ใช้และไม่ให้เข้าท่วม และป้องกันน้ำท่วม
(กรมชลประทานยืนยันน้ำยังไม่วิกฤติ น้ำในเขื่อนยังเฉลี่ยน้อยเพียงร้อยละ60)
สถานการณ์น้ำเทียบเคียงปี 2554 เขื่อนหลัก 4 แห่ง น้ำเต็มความจุ ส่งผลให้ลุ่มเจ้าพระยาท่วมรวมถึง กทม. แต่ปี 2559 น้ำในเขื่อน 34 แห่งทั่วไทย เฉลี่ยร้อยละ 60 ของความจุ
และ 4 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำเทียบเคียงเดือนกันยายน คือ เขื่อนภูมิพล ปี 54 ปริมาณน้ำ 12,183 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 90 ของความจุ ปี 59 มีปริมาณน้ำเพียง 5,752 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุ
เขื่อนสิริกิติ์ ปี 54 ปริมาณน้ำ 9,376 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 98 ของความจุ ปี 59 มีปริมาณน้ำ 6,993 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปี 54 ปริมาณน้ำ 1,035 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 130 ของความจุ ปี 59 มีปริมาณน้ำ 730 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุ
เขื่อนแควน้อย ปี 54 ปริมาณน้ำ 899 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 96 ของความจุ ปี 59 มีปริมาณน้ำเพียง 680 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุ
เมื่อเทียบเคียงปริมาณน้ำไหลผ่าน ระหว่างปี 54 และ 59 จุดสถานี C.2 แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (น้ำเหนือ) 26 ก.ย.ปี 54 อยู่ที่ 4,686 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 26 ก.ย.59 อยู่ที่ 1,775 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จุดสถานี C.13 แม่น้ำเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท (เขื่อนเจ้าพระยา) 26 ก.ย.ปี 54 อยู่ที่ 3,721 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 26 ก.ย.59 อยู่ที่ 1,790 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จุดสถานี C.29A แม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา (จุดระดมมวลน้ำมุ่งตรงเข้า กทม.) 26 ก.ย.ปี 54 อยู่ที่ 3,860 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 26 ก.ย.59 อยู่ที่ 1,359 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
...พูดง่าย ปี 54 มากกว่า ปี59 เท่าหนึ่ง อย่าตกใจ...
ปล.ข้อมูลทั้งหมดจากกรมชลประทาน

ไม่มีความคิดเห็น: