PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว20/2/60

ธรรมกาย

นายกฯ ติดตามตรวจค้นวัดพระธรรมกายใกล้ชิด ขอทุกฝ่ายเข้าใจ จนท. จำเป็นต้องทำ ขออย่ามีปะทะ แนะพระธัมมชโย มอบตัวสู้คดี 

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตรวจค้นวัดพระธรรมกาย ว่า นายกรัฐมนตรีได้ติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด ซึ่งขณะนี้ก็มีความชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ ว่า เจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการหลักในการเข้าตรวจค้นพื้นที่รอบวัดพระธรรมกาย ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารจะเป็นฝ่ายสนับสนุน ซึ่งขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าทางเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย มิเช่นนั้นจะกลายเป็นลัทธิตัวอย่าง ว่ามีพื้นที่ที่บังคับกฎหมายไม่ได้ แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและดีเอสไอมีความยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งมีความระมัดระวังไม่ให้เกิดการปะทะ จึงไม่จำเป็จต้องเป็นห่วง ส่วนการทางวัดมีการเชิญชวน และระดมลูกศิษย์เข้ามาภายในวัด กว่า 500,000 คน นั้น ก็จะเชื่อว่าไม่ทำให้สถานการณ์บานปลาย เพราะสังคมเข้าใจว่าไม่ใช่เรื่องของศาสนา แต่ต้องการใช้คนมาเป็นโล่กำบัง จึงขอให้พุทธศาสนิกชนพิจารณาว่าสมควรหรือไม่ แต่ทั้งนี้หากต้องการเข้ามาสวดมนต์ก็ไม่ได้ปิดกั้น แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็ต้องทำหน้าที่

อย่างไรก็ตาม โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังย้ำว่า การดำเนินการทั้งหมดไม่ตัดสินว่าพระธัมชโยมีความผิด แต่อยากให้เข้ามาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม
----
พล.อ.ประวิตร กำชับ จนท. ดำเนินการวัดพระธรรมกายเข้มงวด ตามกระบวนการกฎหมาย เร่งสอบ พระธัมมชโย ออกจากวัดเมื่อ 16 ก.พ.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน กับลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ว่า ไม่ได้ปะทะกันอย่างรุนแรง ตีกันจนหัวแตก เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจปลอดอาวุธ เข้าไปมือเปล่า และเข้าไปตามกระบวนการของกฎหมาย โดยยืนยันว่าไม่ได้รังแกประชาชน ขณะนี้เหลือเพียงประตู 5 และประตู 6 ที่เจ้าหน้าที่ยังเข้าไม่ได้โดยสั่งให้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม เร่งสร้างความเข้าใจกับพระและลูกศิษย์วัด

ส่วนกรณีที่ทางวัดประกาศให้เครือข่ายวัดพระธรรมกายทั่วโลก กดดันเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ทำร้ายพระนั้น พล.อ.ประวิตร ย้อนถามกลับว่า แล้วตอบได้หรือไม่ว่าขณะนี้พระธัมมชโยอยู่ไหน ซึ่งเจ้า

หน้าที่ก็มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ ส่วนที่มีพระลูกวัดออกมาเปิดเผยว่า พระธัมมชโย ออกจากวัด ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ก็ต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบความจริง เบื้องต้นจากการ
ตรวจค้นยังไม่พบอาวุธ แต่ต้องดูทุกที่และหาผู้ที่ถูกหมายเรียกหมายจับ โดยล่าสุดยังไม่มารายงานตัว ก็ให้เป็นเรื่องของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ดำเนินการต่อ ซึ่งอาจถึงขั้นออกหมายจับ
//////////
"วิษณุ" ยัน ยังไม่ยกเลิก ม.44 ควบคุมวัดพระธรรมกาย โยนถาม พล.อ.ประวิตร คำขู่ยกระดับชุมนุม โยนถาม พลังงาน ปม EHIA โรงไฟฟ้า 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึง กระแสข่าวว่าจะมีการยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาตรา 44 ควบคุมวัดพระธรรมกาย ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ส่วนกรณีที่วัดพระธรรมกายเรียกร้องให้มีการยกเลิกคำสั่งมาตรา 44 มิฉะนั้นจะมีการยกระดับการชุมนุมนั้น ขอให้ถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ส่วนตัวยังไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน

พร้อมกันนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ จ.กระบี่ ว่า ไม่ทราบว่าจะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีก
หรือไม่ ขอให้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
/////////
ถ่านหิน

พล.อ.ประวิตร ไม่ตอบโต้ นักวิชาการเสนอใช้ปาล์มแทนถ่านหิน ยัน รบ. ทำตามขั้นตอน วิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขอให้ไว้ใจ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการแนะนำการผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้ปาล์มแทนถ่านหิน ว่า ไม่ตอบโต้แนวคิดนี้ แต่ยืนยันว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอน ซึ่งหากไม่ทำตอนนี้ ในอนาคตภาคใต้ก็จะมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่เพียงพอ สำหรับการใช้ถ่านหินนั้นก็มีหลายระดับ ที่มีทั้งการเผาไหม้หมดด้วย จึงขอให้ไว้ใจรัฐบาล และเข้าใจในความจำเป็น ไม่ใช่โจมตีเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ ยังยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้ถอย แต่ต้องมีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EIA และ EHIA  ที่แน่นอน
------
พล.อ.ประวิตร ย้ำ รบ. ไม่มีแนวคิดเลื่อนโรดแมป เร่งเดินหน้าสร้างความปรองดอง จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้ยันยึดขั้นตอน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงโรดแมป โดยจะต้องมีการเลือกตั้งเพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าสู่ความปรองดอง อยู่ระหว่างระดมสมอง จากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนประเทศ ลดความขัดแย้ง ซึ่งการปรองดองนั้น ไม่ได้หมายถึงการมานั่งทานข้าวกัน เพียงแต่หมายถึงการหารือร่วมกัน วางยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ยังชี้แจงถึงแนวทางการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีถ่านหินนั้นไม่เหมือนเดิม ถ่านหินนั้นมีหลายระดับ โดยที่จะนำมาใช้นั้นมีการเผาไหม้ และเป็นเทคโนโลยีสะอาด 100% ทั้งนี้รัฐบาล มีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ร่วมกันหารือและศึกษาถึงผลกระทบ และสิ่งที่จะใช้ในการผลิตพลังงานเพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็นของรัฐบาล
-------------------
โฆษก รบ. ขออย่านำเรื่องทบทวน EIA - EHIA มาเป็นประเด็น ยันกลุ่มเห็นต่างไม่ได้คัดค้านก่อสร้างโรงไฟฟ้า  

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กลับไปทบทวนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และกระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ หรือ EHIA ซึ่งหลายฝ่ายเกิดความสับสนว่าเป็นการเริ่มทำใหม่ทั้งหมดหรือไม่ ว่า กลุ่มผู้เห็นต่างไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า หรือจะผลิตไฟฟ้าด้วยสิ่งใด เพียงแต่มองว่าขั้นตอนการประเมินกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วน

ร่วมตั้งแต่ต้น นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้ทบทวน EHIA อีกครั้ง แต่จะเป็นการเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น หรือการนำของเดิมมาปรับแก้ไขนั้นมองว่า ผลที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกัน จึงไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็น
////////
ปรองดอง
อนุฯ ปรองดอง หารือพรรคการเมืองวันที่ 5 พล.อ.ชัยชาญ ยัน พท. ตอบรับเข้าร่วมแล้ว เร่งกำหนดวันเข้าพูดคุย 

บรรยากาศการประชุมคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ที่มี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฯ ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันที่ 5 แล้ว และได้เชิญพรรคประชาธรรม และพรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน เข้ามาให้ความเห็นและข้อเสนอ ในการสร้างความสามัคคีปรองดอง

โดยยึดตามกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญและแนวทาง 10 ด้านที่คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)
ได้กำหนดไว้ รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหา และการหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติในอนาคตด้วย ซึ่งในวันนี้ทางพรรคประชาสามัคคี ไม่ได้เดินเข้ามาร่วมหารือในครั้งนี้ ตามที่นัดหมายไว้ แต่ยินดีที่จะเข้าร่วมหารือในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยนั้น ขณะนี้ได้รับหนังสือเชิญ และได้ส่งหนังสือตอบรับ มายังคณะอนุกรรมการฯ แล้ว โดยอยู่ระหว่างการกำหนดวันหาหรือต่อไป
------
"สุรพงษ์" เผย พรรคเพื่อไทย เตรียมหารือปรองดองพรุ่งนี้ พร้อมยืนยันร่วมเวที ป.ย.ป. แน่นอน

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ ที่พรรคเพื่อไทยจะมีการหารือคัดเลือกตัวบุคคล และกำหนดวัน เพื่อไปพูดคุยต่อคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในคณะกรรมการ ป.ย.ป. ที่กระทรวงกลาโหม โดยย้ำว่า พรรคเพื่อไทย จะไปร่วมเวทีนี้ด้วยอย่างแน่นอน พร้อมมองว่าหากทุกฝ่ายอยากเห็นบ้านเมืองมีความสงบสุข ทุกฝ่ายจะต้องหาทางยุติความขัดแย้ง และยอมถอยกันคนละก้าว เพราะไม่มีใครจะได้ทุกอย่าง ตามที่แต่ละฝ่ายต้องการได้เสมอไป

ขณะที่วันนี้ ตนเองเดินทางมารับทราบ และตรวจสอบเอกสารรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง ในกระบวนการถอดถอน ที่ สนช. จะมีการแถลงเปิดคดีในวันที่ 9 มีนาคมนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.
ชี้มูลความผิด ครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากกรณีการออกหนังสือเดินทางให้แก่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมิชอบ พร้อมยืนยันว่า การออกหนังสือ

เดินทางนั้น เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมการกงสุล และตนไม่เคยก้าวล่วงอำนาจ หรือไปก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ
-----
อนุฯปรองดอง สปท.เชิญ"ดิเรก"ให้ข้อมูล คาดสรุปเนื้อหาส่ง กมธ.ได้ภายในต้นเดือน มี.ค.นี้ ยันไม่มีข้อเสนอเกี่ยวกับนิรโทษกรรม 

พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ เลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษารวบรวมความเห็นวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเด็นการแก้ไขความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทางการเมือง สปท. และ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยกับสำนักข่าว INN  ว่า ในวันนี้ จะมีการเชิญ นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการศึกษาเรื่องการสร้างความปรองดอง เมื่อปี พ.ศ.2552 เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ ก่อนที่จะมีการยกร่างสรุปข้องมูลทั้งหมดจากการศึกษา โดยใช้รายงานชุดของ สปช.เดิม ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้เสนอ เป็นโครงร่าง และประกอบกับความเห็นของฉบับอื่นๆ ที่ได้เชิญมาให้ข้อมูล เสนอต่อ กมธ.ขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านการเมืองต่อไป ภายใน ต้นเดือน มี.ค.นี้


ทั้งนี้ พล.อ.เอกชัย กล่าวว่า ขณะนี้ มีหลายฝ่าย ได้เริ่มดำเนินการเรื่องของการปรองดองแล้ว ภายใต้กรอบร่วมกัน คือ เหตุการณ์ ในอดีต จะต้องหาสาเหตุ หาความจริง ที่เกิดขึ้น, ส่วนเรื่องในปัจจุบัน

ก็จะต้องดำเนินการให้เกิดการอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรม รวมถึง เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือเสียหาย ส่วนแนวทางในอนาคต จะต้องมีการวางกลไก  เพื่อป้องกันความขัดแย้ง

เกิดขึ้นอีก แต่ก็ไม่ได้มีการพูดคุยถึงแนวทางในการนิรโทษกรรมแต่อย่างใด แม้จะมีความคล้ายคลิงกับ มาตรา 66/23 เมื่อหลายปีก่อนก็ตาม
----------
สมาชิก สปท. ขอประธานให้รองประธาน ที่เข้าร่วม ป.ย.ป. รายงานคืบหน้าการทำงานทุกครั้ง - ถอน วาระ รายงาน กมธ. พลังงาน 

ที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท. เป็นประธานการประชุม แต่ก่อนเข้าสู่วาระ สมาชิก สปท. ได้ขอหารือ โดยเสนอให้รองประธาน สปท. ที่เข้าร่วมทำงานกับคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. ได้รายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนการปฏิรูปทุกครั้งก่อนการประชุม สปท. พร้อมเสนอว่า สมาชิก สปท. ควรมีส่วนร่วมในการทำงานกับคณะกรรมการ ป.ย.ป. อย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่รับการรับคำสั่งเท่านั้น ซึ่งประธาน สปท. ได้รับเรื่องไว้พิจารณา

จากนั้น ประธาน สปท. ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขอถอนรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เรื่อง การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ ออกจากวาระการประชุม สปท. ในวันนี้ เนื่องจากคณะกรรมาธิการฯ ต้องการนำรายงานเสนอต่อกระทรวงพลังงานโดยตรง จึงไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุม สปท. เพื่อส่งให้นายกรัฐมนตรีก่อน
-----------
คสช. กำชับทุกภาคส่วนติดตามคืบหน้า ป.ย.ป. ใช้กลไกที่มีอยู่สร้างความสามัคคีปรองดอง 

พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ในปัจจุบันรัฐบาลกำลังเร่งขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศภายใต้การทำงานของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน (กขป.) และสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (PMDU) ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันเพื่อบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นระบบใน 36 ประเด็นหลัก จึงได้กำชับให้ทุกส่วน โดยเฉพาะกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในระดับพื้นที่ ได้ติดตามข้อมูลข่าวสารและความคืบหน้าของการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ให้ใช้กลไกที่มีอยู่ดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับงานสร้างความสามัคคีปรองดอง คู่ขนานกับในระดับนโยบายอย่างต่อเนื่อง และ คสช. จะได้ใช้ทุกช่องทางในการนำเสนอข้อมูลที่เป็น

จริง รวมทั้งการติดตามและป้องกันมิให้มีการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน ซึ่ง คสช. มีความห่วงใย จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ใช้วิจารณญาณอย่างรอบด้านในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
-------
"พล.อ.ประวิตร" โต้ "จตุพร" อย่าขู่ ชี้ทำผิด กม. ต้องถูกดำเนินคดีแน่  แนะหากมีอะไรให้มาพูดคุยอย่างเปิดเผย 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ระบุหากภายในเดือนเมษายนนี้การปรองดองไม่มีผลออกมาเป็นรูปธรรมชัดเจนทางกลุ่มจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเอง ว่า ขออย่ามาขู่หรือจัดสร้างม็อบ เพราะบ้านเมืองต้องการความเจริญก้าวหน้า และการเดินหน้าสร้างความปรองดอง จะต้องมีความก้าวหน้าอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลได้วางแนวทางไว้แล้ว รวมถึงเปิดเวทีถึงระดับล่าง ที่สำคัญการปรองดองไม่ใช่เป็นการนั่งคุย แล้วแล้วกอดคอกัน แต่ต้องมีมาตรการร่วมกันที่จะทำให้บ้านเมืองเดินต่อ

อย่างไรก็ตาม หากกลุ่ม นปช. จะเปิดเวทีจะเปิดเวทีคู่ขนานกับรัฐบาล หากผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี เพราะรัฐบาลยังไม่อนุญาตให้กลุ่มการเมืองเคลื่อนไหว และหาก นายจตุพร มีข้อสงสัยใดก็ขอให้มาพบ และมาคุยกันอย่างเปิดเผย
--------
"จตุพร" ยัน ไม่ได้ข่มขู่เรื่องปรองดอง ไม่มีแนวคิดจัดเวทีแข่ง ขอให้ พล.อ.ประวิจร ฟังข้อเท็จจริง ยินดีเข้าร่วมพูดคุยตามที่เชิญ 

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟซบุ๊กไลฟ์ชี้แจง กรณีการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่พาดพิงตนเอง และระบุว่าหากปรองดองไม่คืบหน้าเป็นรูปธรรมใน 3 เดือน จะจัดเวทีแข่งนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พร้อมอธิบายว่าสิ่งที่พูดคือ การเปิดเผยถึงหนังสือเชิญไปร่วมให้ข้อมูลที่กระทรวงกลาโหม ส่วนเรื่องกรอบเวลานั้น เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร เป็นผู้กำหนดเองเท่านั้น และในโอกาสของการสร้างความปรองดอง ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยดีอยู่ในขณะนี้ จึงอยากให้ผู้รับผิดชอบ ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะหากเป็นข้อมูลเท็จจะยิ่งเป็นการขยายความขัดแย้งมากขึ้น

พร้อมกันนี้ นายจตุพร ยืนยันว่า นปช. จะให้ความร่วมมือในการสร้างความปรองดอง ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่นายกรัฐมนตรีน้อมรับมาปฏิบัติ ยืนยันจะไม่ขัดขวางอย่างแน่นอน เพราะรู้ดีว่าหากเลือกตั้งไปแล้ว แต่ยังไม่มีการปรองดอง ประเทศก็จะเดินหน้าไม่ได้ แต่ นปช. ขอให้ยึดหลักการในการปรองดอง ด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียม พร้อมย้ำว่า จะเข้าร่วมเวที ตามที่กระทรวงกลาโหมเชิญมาอย่างแน่นอน และหาก พล.อ.ประวิตร ต้องการให้เข้าพูดคุยเป็นการส่วนตัว ก็พร้อมตลอดเวลา
----------
"เพื่อไทย" ตอกย้ำ รัฐบาลสอบตกด้านเศรษฐกิจ มองยังคงเป็นขาลง แนะดูแผนของสิงคโปร์ ชี้หากแก้ไขไม่ได้ ควรเร่งจัดการเลือกตั้ง 

นางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 เติบโตเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งต่ำที่สุดใน 4 ไตรมาส ซึ่งเป็นไป
ตามที่คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ได้เคยเตือนไว้แล้วว่ามีแนวโน้มจะตกต่ำ แต่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลไม่ฟังและตอบโต้ ว่า ทั้งปีจะโตได้ 3.5% แต่จริง ๆ ขยายตัวได้แค่ 3.2% เท่านั้น แม้ว่าจะมี
การออกนโยบายลดแลกแจกแถม ช้อปและเที่ยวช่วยชาติ สามารถหักภาษีได้แล้วก็ตาม ซึ่งผลสำรวจล่าสุดก็พบว่ารัฐบาลสอบตกในการบริหารเศรษฐกิจ อยากให้รัฐบาลเปิดใจรับฟัง ทุกครั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยออกมาเตือน ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นจริงทั้งหมด

ทั้งนี้ นางสาวอนุตตมา ยังกล่าวว่า อีกทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังย่ำแย่ การว่างงานเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก หากเป็นไทยแลนด์ 4.0 จริง การว่างงานอาจจะเพิ่มอีกหลายล้านคนตามกระแสเทคโนโลยีที่จะทดแทนการจ้างงาน รัฐบาลควรต้องเตรียมการตั้งแต่ตอนนี้ และสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยมีความเห็นตรงกับ ดร.วีรพงษ์รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่ว่าปัจจุบันเป็นเศรษฐกิจขาลงและอาจจะลงเร็วมาก ไม่ได้เป็นเศรษฐกิจขาขึ้นอย่างที่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลพยายามจะทำการตลาดแต่อย่างไร และอยากให้รัฐบาลได้ไปดูแผนเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ที่ออกมาแล้ว ซึ่งต่างกับของยุทธศาสตร์ 20 ปี ของรัฐบาลไทยอย่างมาก

ดังนั้น หากรัฐบาลสอบตกทางเศรษฐกิจและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็ควรเร่งให้ประชาชนได้ตัดสินเลือกผู้บริหารประเทศที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาทำหน้าที่แทนจะเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่าที่จะอยู่ต่อไป และทำประเทศเสียหายเพิ่มมากขึ้น
------------
////////
ทุจริต

นายกฯ สั่ง ก.คลัง - สำนักงบฯ - สำนักบัญชีกลาง เร่งวางแนวทางการปฏิบัติจัดซื้อจัดจ้าง ระหว่าง รอ พ.ร.บ.ใหม่ ย้ำเน้นโปร่งใส

นายอำพน กิติอำพน ผู้อำนวยการสำนักบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี หรือ PMDU แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ครั้งที่ 2/2560 ว่า นายกรัฐมนตรีได้

สั่งการให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง วางแนวทางการปฏิบัติในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง ในระหว่างที่รอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ โดยเน้นในเรื่องของการกำหนดทีโออาร์ หรือข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง ให้มีความโปร่งใส และภาครัฐได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ รวมถึงกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้องทำ

ให้ได้ราคากลางที่ถูกต้อง แก้ปัญหาการสมยอมราคา รวมถึงการพิจารณาการจัดซื้อโดยตรงจากผู้ผลิต โดยไม่ผ่านคนกลาง

นอกจากนี้ ยังต้องดูเรื่องของผู้ประกอบการที่จะเข้ามาแข่งขันในโครงการของภาครัฐ ซึ่งจะให้บริษัทต่างชาติ สามารถเข้ามาดำเนินการได้ และเรื่องนี้จะต้องมีการกลั่นกรองกติกาต่าง ๆ อย่าง

รอบคอบ และเหมาะสม รวมถึงการเพิ่มจำนวนโครงการที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม ที่ปัจจุบันมีการดำเนินงานใน 35 โครงการแล้ว เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพของ

โครงการ รวมถึงการลดการใช้งบประมาณของภาครัฐ และที่สำคัญต้องเพิ่มกระบวนการการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน
--------
กรมบัญชีกลาง เสนอทำสัญญาคุณธรรมทุกโครงการของรัฐ พร้อมตั้ง คกก. ดูแลราคากลาง 

นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง ได้รายงานปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทศาสตร์ รับทราบ เพื่อ

ให้มีมาตรการบังคับโดยเร่งด่วนในระหว่างรอพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนกันยายน โดยได้เสนอให้เพิ่มการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมในโครงการ

ของรัฐเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมในทุกโครงการของรัฐและเริ่มต้นทำตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดราคากลางและการทำTOR ขณะเดียวกัน ขอให้มีการตั้ง

คณะอนุกรรมการข้อตกลงคุณธรรมขึ้นมาดูแลเรื่องการกำหนดราคากลางโดยเฉพาะ ซึ่งจะประกอบด้วยผู้ที่มีความเป็นกลางกับองค์กรวิชาชีพ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กลั่นกรองราคา

กลางด้านการก่อสร้างที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้รวบรวมไว้ และจัดทำราคากลางการจัดซื้อครุภัณฑ์เข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้าร่วมประมูลโครงการของรัฐ พี่มีงบลงทุน
5 พันล้านขึ้นไป แต่ที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้มี มีการกลั่นกรองกติกาให้มีความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงบประมาณ จะต้องจัดทำรายงานข้อเสนอทั้งหมดส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 1 มีนาคม นี้
--------------
"พีระศักดิ์" ยืนยัน เร่งสอบ 7 สนช. ขาดประชุม คาดสัปดาห์นี้ได้ข้อสรุป ขณะยังไม่ฟันผิดจริยธรรม

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรม สนช. กล่าวถึงกรณีการสอบจริยธรรม สมาชิก สนช. ทั้ง 7 คน ที่มีชื่อขาดการลงมติบ่อยครั้ง ว่า

ขณะนี้กำลังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นที่จับตามองของสังคม ประธาน สนช. จึงสั่งการให้เร่งพิจารณาให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว โดยเบื้องต้นจะพิจารณาแบ่งเป็น 2 เรื่อง

คือ การขาดประชุมเกินกว่า 1 ใน 3 ของการลงมติทั้งหมดภายในกรอบระยะเวลา 90 วัน ตามข้อบังคับการประชุม สนช. ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จะส่งผลให้ขาดการเป็น
สมาชิกภาพในทันที ซึ่งเรื่องดังกล่าวมีข้อเท็จจริงเป็นบันทึกการประชุมอยู่แล้ว โดยจะมีการนัดประชุมกรรมการจริยธรรมอีกครั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา 09.00 น. คาดว่า จะได้ข้อยุติ

ส่วนความผิดด้านจริยธรรม ต้องมีการตรวจสอบทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องก่อน เพราะการลาของสมาชิกทั้ง 7 คน มีลักษณะการลาเป็นช่วงเวลา ซึ่งการพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับมีจำนวนครั้งการลง

มติไม่เท่ากัน ดังนั้น ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลจึงจะได้ข้อสรุปว่ามีความผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ หากพบว่ามี จะต้องส่งให้ที่ประชุม สนช. เป็นผู้พิจารณาตามข้อบังคับการประชุมต่อไป
-------------
"พรเพชร" ปัดตอบ ตั้งกรรมการสอบ 7 สนช. ขาดประชุม เอี่ยวน้องนายกฯ ย้ำ อนุมัติใบลาถูกต้อง สับสนข่าวตัดงบบัตรทอง 30 บาท

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิเสธตอบคำถามว่า การตั้งกรรมการสอบจริยธรรม เปิดเผยว่า หลังมีคำสั่งให้คณะกรรมการจริยธรรมตรวจสอบ 7 สนช. ที่มีชื่อขาดการลง

มติบ่อยครั้ง เพราะเกี่ยวข้องกับหนึ่งใน สนช. เป็นน้องชายนายกรัฐมนตรี นั้น ตนไม่ทราบ แต่การแต่งตั้งกรรมการสอบครั้งนี้ เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามา

ส่วนกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เตรียมรวบรวมข้อมูลยื่นให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบ นายพรเพชร ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจากการอนุมัติใบลาให้กับสมาชิก สนช. โดยไม่ถูกต้อง นั้น นายพร

เพชร ยืนยันว่า ได้อนุมัติไปตามหลักการและข้อบังคับ ไม่ได้ละเลยหรืออนุมัติให้โดยง่าย และไม่อนุมัติใบลาย้อนหลัง ขณะที่สถิติของกลุ่มไอลอว์ที่ออกมาเป็นข้อมูลที่อยู่ในช่วงก่อน
เกษียณอายุราชการของ สนช. บางคนที่ถูกพาดพิง

นอกจากนี้ นายพรเพชร กล่าวถึงกระแสข่าว สนช. ตัดงบประมาณปี 2561 ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ของ สปสช. ไปกว่า 13,000 ล้านบาท โดยยืนยันว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่อง

จากงบประมาณประจำปี 2561 ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
-----------

ไม่มีความคิดเห็น: