PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สัญญาประชาคม



สัญญาประชาคม
"พลเอกประวิตร” ถก"คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง"ครั้งแรก/ ดักคอนักการเมือง ห้ามเสนอนอกกรอบ รธน. /ชี้ทำเป็น "สัญญาประชาคม" จะลงนาม หรือ ไม่ลงนาม ก็ได้/ยันทหารไม่ต้องทำสัญญาประชาคม ว่าจะ"ไม่รัฐประหาร" เพราะทหารไม่อยากทำปฏิวัติ. เพราะถ้าทำไม่สำเร็จ ปชช.ไม่เอาด้วย ก็ถูก"ยิงเป้า"

ไล่ไปดู รูปบิ๊กตู่ สมัยก่อนกับตอนนี้ สิผิดกันเลย ไม่ได้หลับไม่ได้นอนมากกว่า2ปี/เพิ่มความขลัง ตั้งผู้นำกองทัพ เป็นประธานอนุกรรมการ/ปลัดกลาโหม-ผบ.สส.-ผบ.ทบ./ดึง"ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์"รวม10ด๊อกเตอร์ ร่วมทีม"บิ๊กเจี๊ยบ"ผบ.ทบ. ร่างข้อเสนอ "สัญญาประชาคม" ให้นักการเมือง ยึดปฏิบัติทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังเลือกตั้ง

ที่กลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ได้เรียกประชุมครั้งแรก

พลเอกประวิตร ตั้ง พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีต ผบ.สส. เป็นเลขานุการ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเตรียมการสร้างสามัคคีปรองดอง ในฐานะที่เป็น ผอ.ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ความมั่นคงฯ และเป็นเพื่อน ตท.16 ของ พลเอกประวิตร และจบจากWestpoint

พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการ ทั้ง 4 ฝ่าย ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อความปรองดอง ที่มีพลเอกชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน
2.คณะอนุกรรมการพิจารณาบูรณาการข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง มีพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานอนุกรรมการ
3. อนุกรรมการจัดทำข้อเสนอกระบวนการ เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง มี พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน
4.คณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง มี พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน

โดยมี พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน เป็นเลขานุการ คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อความ สามัคคี ปรองดอง

ที่น่าสนใจคือ คณะอนุกรรมการ ชุดที่ 3 คือ คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอ เพื่อสร้างความความสามัคคีปรองดอง ที่มี บิ๊กเจี๊ยบ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ.เป็นประธาน ร่วมด้วย
ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ดร.นันทวัฒน์ ปรมานันท์ เป็นที่ปรึกษา และมีนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ อีก 9 คน ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ดร.จรัล มะลูลีม ดร.อมรา พงศาพิชญ์ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์
ในคณะที่ 2 คณะอนุกรรมการพิจารณาบูรณาการรับฟังความคิดเห็น ที่มี บิ๊กปุย พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานร่วมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน คือ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.ผาสุข พงษ์ไพจิตร นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร ศ.สุภางค์ จันทวานิช. ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ นายตระกูล มีชัย ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์

พล.อ.ประวิตร แถลงผลการประชุมว่า ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ การปรองดองต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงประชาชน ทุกคนต้องมีส่วนร่วม และการดำเนินการของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ไม่ใช่เพียงคณะเดียว ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือ

โดยการทำงานจะดำเนินการควบคู่กันไปตั้งแต่ระดับบน คือ เชิญพรรคการเมือง ภาคธุรกิจ จนถึงระดับล่าง จะมอบหาให้แม่ทัพภาค ผู้บัญชาการตำรวจ และผู้ว่าราชการจังหวัดรับฟังข้อคิดเห็น และจะทำคู่ขนานไปกับคณะใหญ่

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรามีการตั้งกรอบไว้ ในการรับฟังความคิดเห็นประมาณ 3 เดือน จนถึงเดือนเมษายน เมื่อได้ความคิดเห็นแล้ว จะส่งไปคณะกรรมการชุดที่ 2 เพื่อจับประเด็น วิเคราะห์บูรณาการ ส่งต่อไปคณะที่ 3 บูรณาการ ทั้งหมด

ส่วนเหตุผลที่ให้ ผบ.เหล่าทัพ เข้ามาเป็นอนุกรรมการนั้น เนื่องจากมีความเหมาะสม เพราะเป็นผู้ใหญ่และเป็นผู้นำหน่วย มีทั้งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผบทบ.
โดยไม่ห่วงในการจะเชิญพรรคการเมืองมาแสดงความคิดเห็น เนื่องจากการเสนอความคิดเห็นต่างๆต้องอยู่ในกรอบ ที่กำหนดไว้ ว่าควรจะพูดในเรื่องใดบ้าง ใน 10 ข้อ ซึ่งใน 10 หัวข้อนี้จะนำเสนอไปทุกๆฝ่ายที่จะเชิญมาแสดงความคิดเห็น

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองครั้งแรก เพื่อมาตกลงกันว่า ที่วางกรอบเอาไว้ และที่อยู่ในคณะกรรมการทั้งหมดมีความคิดเห็นอย่างไร หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อรับฟังเพื่อจะไปสู่การออกคำสั่งต่อไป

ทุกฝ่ายต้องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ไม่ควรเสนอนอกกรอบรัฐธรรมนูญ เพราะจะไม่เกิดความปรองดองในอนาคต หรือเสนอขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือผิดกฎหมาย ก็ไม่รู้จะเสนอทำไม ไม่ใช่เสนอกันเลยเถิด
ส่วนการนำไปสู่การปฏิบัตินั้นอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งจะเป็นสัญญาประชาคมร่วมกันว่าเราจะยึดมั่นในสัญญาประชาคมนี้ เพราะทุกคนมาร่วมกันหมด และทุกคนก็จะต้องยึดตาม สัตยาบัน ที่เป็น สัญญาประชาคมที่ทำไว้
"สัญญาประชาคมนี้ จะลงนามถึงไม่ลงนามก็ได้ เพียงแต่ขอให้ได้ข้อสรุปในการเดินหน้าปรองดองร่วมกัน เพื่อให้ประเทศมีความสงบ และอยู่อย่างสันติ ในอนาคตเพื่อให้เกิดความชัดเจน "
ส่วนกรณีหากไม่มีการลงนามในสัญญาประชาคมจะทำให้บางกลุ่มบางฝ่ายไม่ทำตามนั้น ประชาชนรับรู้อยู่แล้ว ว่าตกลงกันไว้อย่างไร และใครที่ทำนอกเหนือจากสัญญาประชาคม ถือเป็นเรื่องของประชาชน ที่ต้องไปตัดสิน

เมื่อถามว่าส่วนตัว คาดหวังร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแต่เป็นเรื่องส่วนรวมทั้งหมดเฉพาะตนคนเดียวทำคนเดียวไม่ได้ ต้องทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม

เมื่อถามว่า การทำสัญญาประชาคมจะมีข้อตกลงห้ามทหารทำรัฐประหารหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับทหาร ทหารไม่ทำรัฐประหาร ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาประชาคม หากทหารทำรัฐประหารก็ต้องถูกยิงเป้า หากประชาชนไม่เอาด้วย ยกเว้นประชาชนเรียกร้อง ยืนยันว่าทหารไม่อยากทำ จะทำไปเพื่ออะไร ให้ไปถามนายกรัฐมนตรีที่ทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ไม่เคยได้หลับได้นอนมา 2 ปีกว่าแล้ว ให้ไปดูรูปของนายกฯ ก่อนทํารัฐประหารกับหลังทำรัฐประหาร มีความแตกต่างกันอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น: