PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งยกร่างของทหารไทย

ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งยกร่างของทหารไทย
............
ในปี 2540 กองทัพได้จัดทำวิสัยทัศน์ 2030 หรือ 30 ปีที่จะนับจากปี 2543-2573 หรือปี ค.ศ. 2000 นั่นเอง
เอกสารที่ได้มาลงวันที่ 27 มีนาคม 2540 คือเวลา 5 ปีหลังทหารกลับเข้ากรมกองหลังเหตุการณ์ พฤษภา 2535 และ 4 เดือนก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
บริบทนี้ก็เพียงที่จะบอกว่าในห้วงเวลาดังกล่าวคือ "ยุคมืด" ของกองทัพแต่เป็นช่วงที่ประชาธิปไตยกำลังทำงาน หลังจากไม่มีกองทัพมาแทรกแซงทางการเมือง
สิ่งที่น่าสนใจคือวิสัยทัศน์ด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งบรรดานายทหารได้กล่าวไว้ว่า
"ภาพโดยรวมของระบบการเมืองการปกครองไทยใน 3 ทศวรรษข้างหน้า (2543-2573) ยังคงเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตริย์เป็นองค์พระประมุข แต่อำนาจอธิปไตยจะเน้นถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น รัฐธรรมนุญกำหนดให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนมีผลบังคับได้อย่างแท้จริง และประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น " (หน้า49)
ทางด้านอำนาจนิติบํญญัตินั้น วิสัยทัศน์ 30 ปีคือการที่ รัฐสภาได้ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างแท้จริง และปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจอื่น
(แน่นอนว่าไม่มีวุฒิสภามาจากการแค่งตั้ง ไม่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 20 ปี และหมีมีผู้นำเหล่าทัพมานั่งทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย)
ในส่วนการปกครองท้องถิ่นดูจะก้าวหน้าไปมาก กล่าวคือวิสัยทัศน์ 30 ปี คือการยกเลิกระบบราชการส่วนภุมิภาค อันประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทางออกคือการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นคือ อบต.
ขณะที่ศาลนั้นดูเหมือนว่าจะก้าวหน้าไปมาก ข้อเสนอ 5 ปีคือให้ ประธานศาลฎีการต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา และวิสัยทัศน์ 30 ปี นั้นก็รวมถึงตำแหน่งอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการตรวจสอบ ถ่วงดุลจากประชาชน
.............
อย่างที่ทราบว่า วิสัยทัศน์ทั้งหมดต้องถูกฉีกทิ้งเมื่อมีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่บรรดา "ทหารพระราชา" ได้กลับเข้ามา แทรกแซงทางการเมือง พวกเขาได้ทำตรงข้ามกับวิสัยทัศน์ของตัวเองที่อำนาจทหารตกต่ำเมื่อทศวรรษ 2540
อำนาจนิติบัญญัติไม่เพียงแต่ไม่ถึงมือประชาชน แต่ทหารและระบบราชการยังเข้ามาแทรกแซงทุกขั้นตอน
ขณะที่การกระจายอำนาจก็ไม่เกิดขึ้นจริงหลังรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา เพราะมีการรื่อฟื้นอำนาจกำนันผู้ใหญ่บ้าน ความพยายามคุมกำเนิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่้นเช่นอบต. ขณะที่อำนาจกระทรวงมหาดไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังรัฐประหาร
ในส่วนอำนาจตุลาการนั้นเล่า ไม่เพียงแต่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบศาลเท่านั้น ศาลหลังรัฐประหาร 2549 ยังมาเล่นการเมืองย่างเต็มตัว องค์กรอิสระต่าง ๆ มีคนของศาลเดินเพ่นพ่านเต็มไปหมด และที่เลวร้ายที่สุดคือศาลคือเครื่องมือรับรองอำนาจคณะรัฐประหาร จนกลายเป็น ศาลรัฐประหาร
.......
แต่ถ้าการเมืองในรอบ 10 ปีมานี้ผลิกผันได้ การเมืองอีก 10 ปีข้างหน้าก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่ามันจะไม่พลิกกลับมาอีก
แต่ทั้งหมดจะบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งกร่างของทหารไทย ไม่มีใครรับประกันได้หรอกว่าอำนาจนี้จะอยู่ยั้งยืนยงตลอดไป

cr : 
Thanapol Eawsakul

ไม่มีความคิดเห็น: