PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

น.3คอลัมน์ : การเมืองยุค 62 ยืนซดหมัดกับ ‘คสช.’ ใต้กติกา‘คสช.’

น.3คอลัมน์ : การเมืองยุค 62 ยืนซดหมัดกับ ‘คสช.’ ใต้กติกา‘คสช.’



ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ว่าพรรครวมพลังประชาชาติไทย ไม่ว่าพรรคพลังธรรมใหม่ มีจุดร่วมที่แจ่มชัด
นั่นคือ สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ “คสช.”
เช่นเดียวกับ ไม่ว่าพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าพรรคประชาชาติ ไม่ว่าพรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าพรรคสามัญชน มีจุดร่วมที่แจ่มชัดในทางการเมือง
นั่นคือ ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ “คสช.”
นี่คือ สภาพการณ์ทางการเมืองที่เริ่่มก่อรูปขึ้นในการเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 และนับวันจะมีความแจ่มชัด
นี่คือ 2 แท่งแม่เหล็กสำคัญ
สภาพการณ์ทางการเมืองจะให้คำตอบที่แน่นอนจากแต่ละพรรค แต่ละกลุ่มทางการเมืองว่าจะเลือกเส้นทางแบบใด
เลือก คสช. หรือไม่เอา คสช.
ถามว่าแนวคิดแยกจำแนกระหว่าง 1 เอา คสช. กับ 1 ไม่เอา คสช. เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นความพยายามผลักดันโดยใคร
เป็นความต้องการของพรรคเพื่อไทยอย่างนั้นหรือ
เป็นความต้องการของพรรคประชาชาติ และเป็นความต้องการของพรรคอนาคตใหม่ รวมถึงพรรคสามัญชน อย่างนั้นหรือ
ไม่ใช่หรอก
การประพฤติปฏิบัติของ คสช.นับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นั่นแหละคือคำตอบ การผลักดันตั้งแต่ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 นั่นแหละคือคำตอบ
และที่สุด ก็รวมศูนย์อยู่ที่ “รัฐธรรมนูญ”

คสช.นั่นเองคือผู้กำหนดแนวรบและมีความแจ่มชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับเมื่อมีการจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย
เมื่อ คสช.ต้องการเช่นนี้ ก็ย่อมจะเกิด “แนวต้าน” ขึ้นเป็นธรรมดา
ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎของฟิสิกส์อัน เซอร์ไอแซค นิวตันแห่งอังกฤษ ได้เคยให้อนุสาสน์เอาไว้นานมาแล้วว่า
เมื่อมีแรงกด ก็ย่อมเกิดแรงต้าน
พลันที่แรงกดอันเนื่องแต่ คสช.ผนึกตัวรวมพลังเป็นแนวร่วมอันกว้างขวาง ประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคประชาชนปฏิรูป
ก็ย่อมเกิด “แรงต้าน” ขึ้นมา
จึงไม่เพียงแต่จะมีพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคสามัญชน หากแต่ยังแตกสาขาออกเป็น พรรคเพื่อธรรม พรรคเพื่อชาติ
ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของ 2 แนวรบประจันหน้ากัน
การแยกกลุ่ม รวมกลุ่มก็จะบังเกิดท่ามกลางการเคลื่อนไหวอันเข้มข้น แม้จะมีความพยายามจะเสนอแนวทางที่ 3 ออกมาประเภทต้านทั้ง คสช.และต้านพวกไม่เอา คสช.
ในที่สุดแล้ว สถานการณ์จะปรับแต่งให้คงเหลือเพียง 2 แนวเท่านั้น
สภาพการณ์การเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 จึงสะท้อนลักษณะพิเศษทางการเมืองอันดำรงอยู่ภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อย่างเป็นการจำเพาะ
เด่นชัดว่ามีการตั้ง 2 แนวรบประจันหน้า
แม้ว่าบทสรุปของท่านซุนวูจะอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “การศึกมิหน่ายเล่ห์” แต่ไม่ว่าเล่ห์จะปรากฏออกมาอย่างไรก็แทบมิได้เป็นความลี้ลับอะไรเลย
ความแหลมคมยิ่ง คือ เป็นการต่อสู้บนเกมที่ “คสช.” เป็นฝ่ายกำหนด จัดวาง

ไม่มีความคิดเห็น: