PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สถานีคิดเลขที่12 : แนวรบเลือกตั้ง!

สถานีคิดเลขที่12 : แนวรบเลือกตั้ง!



เมื่อฝุ่นจาง มีการบังคับใช้ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ปลดล็อกพรรคการเมืองทำกิจกรรมเสรี เข้าสู่โหมดเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม
บรรยากาศการเมือง จะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน ที่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลอย่างแน่นอน
พรรคการเมือง นักการเมือง คงปรับขบวน พูดถึงสาระการต่อสู้ชิงมวลชนในเชิงเนื้อหามากขึ้น
นั่นก็คือ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นำเสนอนโยบายแก้ปัญหาประเทศ ยกระดับการพัฒนาบ้านเมืองในด้านต่างๆ
โน้มน้าวประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หันมาเทคะแนนเลือกผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายที่นำเสนอไปสู่ภาคการปฏิบัติ
ปัญหาเร่งด่วนประเทศไทยที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ในปัจจุบัน มีเรื่องหลักอย่างน้อย 2 เรื่อง คือการเมือง และเศรษฐกิจที่ผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง
ปัญหาความขัดแย้ง แตกแยกแบ่งฝักฝ่ายอย่างรุนแรง ที่ถูกกดทับ ปิดคลุมด้วยผ้าลายพรางเอาไว้ชั่วคราว เรื่องเศรษฐกิจปากท้องชาวบ้าน เนื่องจากราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ เม็ดเงินจากการเติบโตของเศรษฐกิจมหภาคกระจายลงไปไม่ถึงฐานราก นี่คือหัวข้อย่อยของภาพใหญ่ เศรษฐกิจและการเมือง
พรรคเพื่อไทย โดย จาตุรนต์ ฉายแสง แย้มว่า การเลือกตั้งครั้งที่จะถึง พรรคเน้นนำเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นจุดขายกว่าครึ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ใกล้ตัว ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน
นักการเมือง นักวิชาการฟันธง หากตัดเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องกติกา กำลังภายนอก กำลังภายในและอะไรต่อมิอะไรออก
การเลือกตั้งครั้งนี้ สู้วัดกันอยู่ไม่กี่เรื่อง
มีเรื่องเศรษฐกิจเป็นหัวข้อหลัก ซึ่งที่จริงปมงอกเพิ่มภายหลัง อย่างที่มองกัน ว่าเป็นการต่อสู้ ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยมนั้น
ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกัน ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน
ไม่ว่าจะนำเรื่องใดขึ้นมาก่อนหลังก็ตาม
แต่เหตุที่พรรคการเมืองใหญ่อย่างเพื่อไทย เน้นนำเสนอนโยบาย (แก้)
เศรษฐกิจนั้น
น่าจะเป็นเพราะ มั่นใจว่าเป็นจุดขาย จุดแข็ง ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ชนะเลือกตั้งมาแล้ว
อีกทั้งยังเท่ากับเป็นเปรียบเทียบ
ให้เห็นถึงความแตกต่างของการบริหาร ระหว่างรัฐบาลเลือกตั้งกับรัฐบาลทหาร โดยนำเสนอผ่านเรื่องราว สาระนโยบายเศรษฐกิจ

ในที่สุดแล้ว การนำเสนอโดยมุ่งเน้นนโยบายเศรษฐกิจ ก็ตีกระหน่ำไปถึงระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งก็คือฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยมนั่นเอง
แต่เรื่องพื้นๆ ตื้นๆ อย่างนี้ มีหรือ คนอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มองไม่ออก
มีหรือพรรคพลังประชารัฐอ่านไม่เป็น
รัฐบาลบิ๊กตู่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับปัญหาเศรษฐกิจปากท้องเช่นเดียวกัน นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มาตรการต่างๆ ที่ออกมา ช่วยเหลือคนจนเป็นระลอกแล้ว ยังมุ่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เมืองใหม่อีอีซี ยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคตระยะยาว เนื่องจากสภาพปัจจุบัน รองรับการแข่งขันของโลกยุคใหม่ไม่ได้
รัฐบาล คสช. ก็ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ
การส่งรัฐมนตรีเข้ามารับบทบาทหน้าที่สำคัญในพรรคพลังประชารัฐ ก็เท่ากับให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ
แต่มองต่างออกไป
เห็นว่า การจะทำอย่างนี้ได้ บ้านเมืองต้องสงบ ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น บรรยากาศเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างบ้านแปงเมือง
มองความขัดแย้งในระบอบประชาธิปไตย ด้วยสายตาที่ต่างจากออกไปจากสากล
การวางตัว พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในบัญชีชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรค ควบคู่กับการทำงาน วางตัวรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพรรคพลังประชารัฐ
จึงเท่ากับ ยืนยันว่าที่ทำมาถูกต้องแล้ว
นโยบายเศรษฐกิจก็เดินถูกทาง
รัฐบาลไม่สนใจ พรรคเพื่อไทย ที่ชี้ว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นจุดอ่อน แต่มองเสมอเป็นเพียงเรื่อง ดิสเครดิต เกมการเมืองเท่านั้น
พรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ พลังประชารัฐก็ให้ความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อน
ใครมองผิด ใครมองถูก เถียงต่อปากต่อคำมาหลายปี
ประชาชนมีคำตอบให้ ในวันเลือกตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: