PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

สิ่งดี อันงดงาม

สิ่งดีๆมีอยู่รอบตัว คิดดี ทำดี จะได้พบเจอแต่สิ่งดี

ความงดงามของโลก_

เมื่อเธอเป็นสมาชิกของโลกใบนี้เธอจงช่วยดูแลเป็นหูเป็นตา_เป็นธุระ

อย่าบอกว่าเธอไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ธุระ หากพบเห็น"ความผิดปกติ"ใดเกิดขึ้นะทำท่าจะเป็นภัยต่อ สังคมโลกใยนี้ เพราะยังไรเสีย เธอก็เป็นผู้ที่จะได้รับผลของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้

สิ่งต่างๆ รวมไปถึงเรื่องราวความเป็นไปของ มนุษย์โลก ด้วย ก็เป็นสิ่งที่เธอจะช่วยกันดูแล ไม่ให้เกิดความผิดทางศีลธรรม การเห็นแก่ตัว การเบีดเบียน เบียดบัง ผลประโยชน์ ส่วนรวม มาเป็นส่วนตน

หากโลกปราศจากการแก่งแย่งช่วงชิงกัน สังคมทุกสังคมโลกมีแต่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่มีใคร ทำร้าย เอารัดเอาเปรียบกัน

จากภายนอกสู่ภายใน สังคมโลก สู่ประเทศ สู่สังคมชุมชน สู่ครอบครัว พ่อ แม่ ลูก

จากมนุษย์ สู่ สรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิตบนโลก ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ลำธาร สายลม แสงแดด ขุนเขา พืชพันธุ์ สัตว์ป่า

หากทุกคน ทุกสรรพชีวิต มีความเข้าใจในตรรกะ อยู่ในวัตรปฏิบัติ ซึ่งความพอเพียง พึ่งพาอาศัยและการอยู่ร่วมไม่เบียดเบียนกัน

สันติสุข ความสงบสุข ความยั่งยืนในการดำรงอยู่ร่วมของทุกเผ่าพันธุ์ จะบังเกิดและคงอยู่ยาวนาน

25/3/56

ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ดูภาพโป๊ไม่ผิด


วันที่ 27 มีนาคม 2556 (go6TV) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังคณะอนุกรรมการตรวจสอบจริยธรรมได้เสนอผลการตรวจสอบเพื่อให้ลงมติเห็นชอบ อาทิ เรื่องร้องเรียนนายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
ที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ร้องเรียนมีพฤติกรรมขัดต่อประมวลจริยธรรม กรณีดูภาพไม่เหมาะสมในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ซึ่งคณะอนุกรรมการมีมติเห็นว่าไม่ขัดต่อประมวลจริยธรรม เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจและขาดเจตนา โดยที่ประชุมคณะกรรมการจริยธรรมมีมติให้ยกคำร้องเรื่องดังกล่าว เพราะเห็นว่านายณัฏฐ์ไม่มีเจตนาในการกระทำดังกล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติไม่รับคำร้องกรณีที่ให้ตรวจสอบเรื่องนายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ด่าทอ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่อภิปรายพาดพิงนายกรัฐมนตรีเรื่อง ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ แม้คณะอนุกรรมการจะเห็นว่าเป็นการกระทำผิดจริยธรรม เนื่องจากเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 จึงทำให้ต้องจำหน่ายเรื่องนี้ออกไป

ขณะเดียวกันที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีที่นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย กล่าวหาผู้ว่าฯกทม.เรื่องทุจริตติดตั้งกล้องซีซีทีวีและการติดตั้งกล้องดัมมี่ รวมทั้งให้รับเรื่องร้องเรียนที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก่อเหตุความวุ่นวายปาแฟ้มเอกสารในที่ประชุมสภา เมื่อครั้งที่มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ไว้พิจารณาด้วย


http://www.go6tv.com/2013/03/blog-post_5911.html

การทำข่าว


style guide สำหรับ Collaborative Journalism (การทำข่าวแบบร่วมกันทำ)

โดย Paul Bradshaw

This article is the translation version of A style guide for collaborative journalism: what I’ve learned from the first weeks of Help Me Investigate: Networks. Thanks to useful article from Paul Bradshaw from onlinejournalismblog.com

Paul Bradshaw ได้ดำเนินการทำโปรเจ็ค Help Me Investigate: Networks project เพื่อหาวิธีการืที่จะสร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างผู้สื่อข่าว และ community ในการทำข่าวสืบสวนสอบสวน จากโปรเจ็คดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่ Paul Bradshaw สรุปออกมาได้คือ "แนวทางการเขียนที่จะดึงดูดให้คนอยากมามีส่วนร่วมกับกระบวนการทำข่าวแบบมีส่วนร่วม" ซึ่งเป็นการเขียนข่าวที่แตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิม แต่ใกล้เคียงกับการเขียน blog ที่ดี โดยเขาสรุปไว้ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1 เขียน "ข่าวที่สามารถนำไปใช้ได้"

นำเสนอมุมของเรื่องที่ใช้งานได้จริง ถ้าเป็นการโพสต์ link ไปยังบทความที่ต่างๆ ก็ควรมีการดึง quote ข้อเท็จจริงที่มีประโยชน์ออกมาด้วย ถ้าเขียนเรื่องที่เป็นเชิงสืบสวนสอบสวน ก็ควรบอกว่า ขั้นตอน กระบวนการในการทำคืออะไร link ไปยังข้อมูลทั้งหมด แปลเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สิ่งสำคัญก็คือ ทำให้ข้อมูลที่เราเขียนนั้นมีประโยชน์สำหรับคนอ่าน นั่นจะทำให้คนอ่านต่อยอดหรือนำเสนอสิ่งอื่นๆ จากสิ่งที่เราเริ่มกลับมาให้เราได้

2. จบท้ายข้อความที่เขียนด้วยการส่งต่อความคิด / ข้อมูล / ประเด็นที่คนอื่นสามารถนำไปตามต่อได้

ถ้าเป็นเรื่องที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเด็น หรือเรื่อง คุณควรร่างคำถามทั้งหมดที่คุณต้องการหาคำตอบไว้ มันจะช่วยให้เราไม่หลงประเด็น และไม่ออกนอกทางที่เราต้องการทำ ถ้าเป็นการเขียนที่ลิ้งไปยังสิ่งอื่นๆ ต้องให้ความสำคัญกับช่องว่างของข้อมูลที่ยังต้องการการค้นคว้าทำเพิ่มเติม ซึ่งนี้จะทำให้สามารถต่อยอดไปสู่เรื่องใหม่ๆ มุมมองอื่นๆ ได้จากสิ่งที่เราเริ่มเขียนในตอนต้น

Paul Bradshaw บอกว่า การเขียนบทความออนไลน์ที่เป็นบทความที่ไม่จบ คือมีสิ่งที่คนอ่านต่อยอดได้ ก็จะเกิดการร่วมกันพัฒนาเรื่อง ทิศทางของเรื่อง และข้อมูลนั้นเพิ่มเติมจากของแต่ละมุมมองได้

3 สร้างสมดุลด้วยการเริ่มจากโพสต์ที่ละน้อยๆ แต่บ่อย เพื่อค่อยๆ พัฒนาให้เข้าสู่เป้าหมายของเรื่องที่วางไว้

ในการเขียนออนไลน์ แทนที่เราจะรอให้บทความ หรือ รายงานสืบสวนของเราเสร็จแบบสมบูรณ์ เราควรค่อยๆ เขียนข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ออกมาและเผยแพร่สู่สาธารณะ ทำแบบนี้จะเพิ่มโอกาสในการที่จะมีคนค้นมาเจอผลงานของเรา และเพิ่มช่องทางที่จะเข้ามาสู่เนื้อหาของเราจากความสนใจในประเด็นที่ต่างกัน และในเวลาที่ต่างกันนั่นเอง

นอกจากนั้น การทำแบบนี้ ยังทำให้เห็นชัดเจนว่า การสืบสวนในประเด็นนั้นๆ กำลังค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง คนอ่านจะรู้สึกอยากติดตาม และอยากช่วยแชร์ข้อมูล และร่วมกันทำข่าวกับเราในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในที่สุด

http://onlinejournalismblog.com/2011/12/13/style-guide-collaborative-journalism/

อุดมการณ์ โจเซฟ พูลิตเซอร์

โจเซฟ พูลิตเซอร์


"ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า โพสต์ ดิสแพตช์ จะต้องดำเนินต่อไปตามอุดมการณ์ที่วางไว้ คือจะต่อสู้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความดีงามและสนับสนุนให้อยู่แล้วดีเยี่ยมยิ่งๆขึ้นอีก โพสต์ ดิสแพตช์ จะถวายหัวกำจัดการทุจริตคิดมิชอบฉ้อราษฎร์บังหลวงกินโกงจนถึงที่สุดและจะเป็นปากเสียงให้กับความยุติธรรมแก่ประชาชนย่างแท้จริง หนังสือพิมพ์นี้จะไม่ค้อมศรีษะให้พรรคการเมืองใด แต่จะรับใช้สาธารณชนโดยเฉพาะคนยากจน เพื่อความเจริญขอบ้านเมือง อย่างเป็นอิสระและบริสุทธิ์ใจ"

โจเซฟ พูลิตเซอร์
10เม.ย.1907

@@@


"รางวัลพูลิตเซอร์" นับเป็นรางวัลอันทรงเกียรติในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โดย ผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ ก็คือ นายโจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ ชาวฮังการี - อเมริกัน อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งรางวัลดังกล่าวนั้น ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่เขาเสียชีวิต ไปแล้ว คือ เป็นไปตามพินัยกรรมของเขาที่ได้มอบเงินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ ทางมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำหรับการตั้งรางวัลนี้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนสำหรับก่อตั้ง สถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของทางมหาวิทยาลัย ในการมอบรางวัลครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ก่อนที่จะปรับ เปลี่ยนมาเป็นช่วงเดือนเมษายน อันเป็นเดือนเกิดของนายพูลิตเซอร์ โดยผู้รับรางวัลนอก จากได้เกียรติบัตรแล้วก็ยังได้รับเงินจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ

             อีกด้วย ปัจจุบัน รางวัลมีทั้งสิ้น 21 ประเภทด้วยกัน เช่น รางวัลข่าวสอบสวนสืบสวน เป็นต้น สำหรับประวัติของนายพูลิตเซอร์นั้น เกิดในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2390 หรือ วันนี้เมื่อ 162 ปีที่แล้ว ที่เมืองมาโก ประเทศฮังการี ก่อนอพยพมายังสหรัฐฯ ตั้งรกราก เมืองเซนต์หลุยส์ และมาทำงานด้านหนังสือพิมพ์จนมีฐานะคนหนึ่ง โดยแนวทางการทำ หนังสือพิมพ์ของเขานั้น เน้นข่าวอื้อฉาวและตื่นเต้นเร้าใจ พูลิตเซอร์เสียชีวิตเมือวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2454 สิริรวมอายุ 64 ปี

ให้-รับ



ให้-รับ

โดย Sakda Ji (บันทึก) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2012 เวลา 1:09 น.
เหล่าบรรดา..สิ่งมีชีวิตอันวุ่นวาย..แห่งโลก..
กำลังเคลื่อนผ่านวันเวลาอันทุรน..
ความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้าย..ในห้วงกาล...
การเดินทางอันเคว้งคว้างใจ"จุดหมาย"ของหลายชีวิต..

อาการทุรนทนทุกข์ของสรรพสัตว์..
บทดำเนินแห่งมุนษย์..ดำเนินต่อ
ก้าวเดินของเหล่าผู้กล้า..กับกร้าวกร้านของผู้ทน..
เส้นตรงของ จุดหมาย..กับเส้นโค้งอันไร้หมายหมุด..

เหล่าปุถุชน..ครุ่นคิด..คำนึงถึง"อำนาจ"...ผลประโยชน์การดำรง..
วัตถุฉาบฉวย..มุมมองจากกว้างไกลจากหัวใจของ"ผู้ให้"หดแคบสั้น..
หลงเหลือเพียง..ความว่างเปล่าจากใจอันแห้งผาก ของเหล่าบรรดา"ผู้รับ"..

กรุงเทพฯ พ.ศ.2506

กรุงเทพมหานคร | Bangkok
ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1963 (พ.ศ.๒๕๐๖)
Photographer: Burt Glinn
Image Source: Magnum Photos

คันกั้นน้ำมีชีวิต..

คันกั้นน้ำมีชีวิต..ภาพทหาร ชาวบ้านช่วยกันใช้ตัวกันน้ำหลังกระสอบทรายพัง..ในช่วงเหตุการณฺน้ำท่วมใหญ่

ปรองดอง(ชั่วคราว)..มาร์ค ปู


ภาพความร่วมมือเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ ที่น่าจะเห็นได้ยากสหลังจากนี้ำสำหรับการเมืองแบ่งขั้วแยกฝ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

'ปู'ชูทุกโครงการโปร่งใส 'มาร์ค'ค้านวิธีกู้แบบนี้! 'จง'หยิบศก.พอเพียงสอน แนะให้ทำ'ประชามติ'


'ปู'ชูทุกโครงการโปร่งใส 'มาร์ค'ค้านวิธีกู้แบบนี้! 'จง'หยิบศก.พอเพียงสอน แนะให้ทำ'ประชามติ'

"ปู" ยอมแจงกู้ 2 ล้านล้าน อ้างทุกโครงการ "โปร่งใส" ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์เชื่อม AEC ด้าน "มาร์ค" ค้านวิธีการกู้แบบนี้ เพราะกระทบวินัยการเงินการคลัง ขณะที่ "บุญจง" ชู "เศรษฐกิจพอเพียง"
สอนรัฐบาล เชื่อขัดรธน.แน่ แนะให้ทำ "ประชามติ" ถามปชช.ก่อน

วันที่ 28 มี.ค. 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระที่จะพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยนายกิตตัรัตน์ ณ ระนอง รองนากยรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นผู้นำเสนอรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ซึ่งมี 19 มาตรา

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจงเพิ่มเติมในความจำเป็นในการออกร่างพ.ร.บ.ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ตามที่กำหนดไว้ในนโยบาย
ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จนไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่มาเป็นเวลานาน กระทั่ง WEF จัดให้ประเทศ
ไทยเป็นที่ลงทุนด้านโครงสร้างเป็นลำดับที่ 49 จากเดิมซึ่งอยู่ที่ลำดับ 42 โดยมีลำดับตามหลังสิงคโปร์และมาเลเซีย"แนวคิดนี้ต้องเป็นการลงทุนที่ตอบโจทย์การวางยุทธศาสตร์ได้มากขึ้น ต้องรองรับการเชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการลงทุนเพื่อเชื่อมโยง

สู่งAEC เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน"นายกฯกล่าวและว่า จะมีการพัฒนาระบบรางออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.ระบบรถไฟรางคู่ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินการขนส่งสินค้าหลัก 2.

รถไฟความเร็วสูง เพื่อขนส่งสินค้าที่มีการเน่าเสียง่าย และเพื่อตอบสนองการเติบโตการค้าตามแนวชายแดน โดยจะเกิดความร่วมมืออย่างไร้พรมแดนกับประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาความเจริญมาอยู่แต่ในส่วนกลาง การดำเนินการโครงการนี้เพื่อลดการแออัดในส่วนกลาง และขยายความเจริญไปสู่ส่วนท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์ของประเทศว่าด้วยการลดความ

เหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ประชากรไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ ให้มีโอกาสมากขึ้น จากเดิมที่นำนักท่องเที่ยวจาก กทม.ไปสู่เมืองใหญ่

แต่ไม่มีการเชื่อมต่อไปยังเมืองเล็กๆ ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลวางตามพ.ร.บ.นี้ก็คือ เชื่อมต่อจากเมืองใหญ่ไปยังเมื่องเล็กๆ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงธรรมชาติมากขึ้น อันจะทำให้รายได้

กระจายลงไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้นด้วย

"หลายคนคงสงสัยว่า ทำให้ต้องออกเป็นพ.ร.บ.เงินกู้ ไม่นำไปไว้ในงบประมารประจำปี เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โครงการใหญ่ๆ ที่น่าสนใจถูกยกเลิกหรือชะลอการ

ลงทุน ทำให้การลงทุนไม่ต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติไม่เกิดความเชื่อมั่น การดำเนินการตามแนวทางนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ"นายกฯกล่าว

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวย้ำว่า การดำเนินการตามพ.ร.บ.ในทุกโครงการ จะมีความโปร่งใสมากกว่าโครงการเงินกู้หรือโครงการตามงบประมาณที่ผ่านๆ มาอย่างแน่นอน รัฐบาลกำหนดให้มีการประกาศ

ราคากลางไว้ในทีโออาร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส รวมทั้งดำเนินการประกาศในอินเตอร์เน็ตตาม กฎหมายป.ป.ช. เพื่อต้องการให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุดด้วย

@@"มาร์ค" ย้ำปชป.หนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ค้านวิธีการกู้เงินแบบนี้

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เห็นด้วยในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นความจำเป็นของประเทศ พรรคประชาธิปัตย์

ให้การสนับสนุนเรื่องนี้ แต่ไม่สามารถรับหลักการได้ กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมายที่จะบอกว่าจะเกิดหรือลงทุนในโครงการเหล่านี้หรือไม่ แต่สิ่งเหล่านี้เกิดได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ จึงอยาก

ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า เราอยากให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ แต่เราจะอนุญาตให้ กระทรวงการคลังไปกู้เงิน 2 ล้านบ้านบาทหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราอยู่ในยุคที่มีความท้าทาย จะเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตทางธรรมชาติ การเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แต่ขีดความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ใน

การพัฒนาไม่ได้มีแค่การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานอยู่ลำดับที่ 49 ด้านการสาธารณสุขอยู่ลำดับที่ 70 หรือด้านการศึกษาลำดับที่ 90 การมีขีดความสามารถด้านคมนาคมไม่ได้หมายความว่าขีดความ

สามารถของประเทศจะดีขึ้น แต่ด้านอื่นๆ ก็มีความจำเป็นเช่นกัน

"ข้อจำกัดต่างๆ ไม่ได้อนุญาตให้รัฐบาลไปกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นๆ การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะของแต่ละรัฐบาล อย่างหอประชุมนานา

ชาติที่ภูเก็ต อนุมัติสมัยนายกฯชวน หลีกภัย พอถึงยุคคุณทักษิณก็ยกเลิก มาสมัยประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็มีมติให้ดำเนินการ มาถึงรัฐบาลนี้ให้ยกเลิก ขณะที่ศูนย์ประชุมนานาชาติที่เชียงใหม่

รัฐบาลประชาธิปัตย์เห็นว่าควรมี เราก็ให้ดำเนินการต่อจนเสร็จสิ้นโครงการ"นายอภิสิทธิ์ระบุ

ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวต่อไปว่า การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เคยดำเนินการเจรจากับรัฐบาลจีน โดยขออนุมัติจากสภาสมัยนั้น ปรากฎว่า สมาชิกพรรคเพื่อไทย

ไม่ยกมือสนับสนุนให้มีการดำเนินการแม้แต่คนเดียว แต่รัฐบาลก็สามารถไปเจรจาร่วมทุน ซึ่งไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินประชาชนแม้แต่น้อย ทำไมรัฐบาลถึงไม่ยอมดำเนินการตามที่รัฐบาลพรรคประชา

ธิปัตย์ดำเนินการไว้

ในเรื่องของวินัยการเงินการคลัง การที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ ไม่ใช่การคัดค้านโครงการ ไม่มีคนใดในพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่สนับสนุน

ให้รัฐบาลกู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะมันกระทบวินัยการเงินการคลัง ในเรื่องงบประมาณการดำเนินการรัฐบาลสามารถหาเงินได้โดยการลดต้นทุนโครงการฟุ่มเฟือยที่เรียกประชานิยม อย่างโครงการ

รับจำนำข้าวทุกเม็ดรัฐบาลประกาศตัวเลขออกมาว่าขาดทุน 2.2 แสนล้านบาท หรือราว 2%ของจีดีพี แต่หลังปี 2556 รัฐบาลประกาศว่าจะไม่ขาดทุน ถามว่ามันเป็นไปได้หรือไม่

"ถ้ารัฐบาลยอมที่จะลดขนาดโครงการนี้ ช่วยชาวนา 1 แสนล้าน ที่เหลืออีก 1 แสนล้านเอามาลงทุนในโครงการนี้ก็สามารถกระทำได้ ยิ่งไปกว่านั้น พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเนื้อหาอยู่แค่ 4 หน้า มีเอกสาร

ประกอบ 2 หน้า ส่วนอีก 200กว่าหน้านั้น ไม่มีผลผูกพันกับกฎหมาย ไม่สามารถแปรญัตติโครงการต่างๆ ได้ ซึ่งตรงนี้ต่างจาก ป.ร.บ.งบประมาณ เราจึงไม่สามารถรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้"

นายอภิสิทธิ์กล่าว

@@"บุญจง" จี้ทำประชามติถามปชช.ก่อน ชู "เศรษฐกิจพอเพียง" สอนรัฐบาล เชื่อขัดรธน.แน่

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า คิดแต่จะพัฒนาไปข้างหน้าโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง อาจจะเกิดปัญหาจนลามไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจได้ การกู้เงิน 2

ล้านล้านบาทของรัฐบาลเปรียบเป็นการเอาประเทศเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เอาประชาชน 64 ล้านคนเป็นนายประกัน ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ แต่ต้องคัดค้านเพราะเป็นการกู้เงินจำนวนมาก

มายมหาศาล

นายบุญจง กล่าวว่า เมื่อแถลงนโยบาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ประกาศที่จะดำเนินการโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งน่าชื่นชมยกย่องแต่การ

ติดตามรัฐบาล 1 ปี  7 เดือน กลับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนแทบทั้งสิ้น ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ทุกคนในประเทศอยากเห็นประเทศไทยก้าวหน้า แต่การกู้ 2 ล้าน

ล้านบาทไม่ใช่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่กลายเป็น “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ใครทำตามแบบนี้ล้มเหลวทั้งสิ้น

“วันนี้ก็รู้กันว่าประเทศไทยมีหนี้ การลงทุนต่างๆ ของรัฐบาลผมสนับสนุนแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป การขอกู้วันนี้มีกม.19 มาตรา กู้ 7 ปี 2 ล้านล้านบาท คืนหนี้ในอีก 50 ปี หนี้ไปจบปี 2606 ดอกเบี้ยใน

10 ปีแรก 1.6 แสนล้านบาท หากคิด อีก 20 ปี คิดเป็นดอกเบี้ย 1.52 ล้านล้านบาท และถ้า 50 ปี ดอกเบี้ยจะเท่ากับ 3.2 ล้านล้านบาท รวมทั้งต้นและดอกเท่ากับ 5.16 ล้านล้านบาท”นายบุญจงกล่าว

นายบุญจง กล่าวต่อว่า ในกฎหมายไม่ได้มีการระบุว่า จะเอาเงินส่วนไหนมาใช้หนี้ 5.16 ล้านล้านบาท เพราะหนี้ก้อนนี้อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่มีความชัดเจนในการหาเงินมาคืนหนี้ ต้องสรุปว่าไม่มี

ปัญญาหาเงินมาคืนหนี้จำนวนนี้ วิธีการก็คือ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7% เป็น 10-15% ไปจนถึง 21% นอกจากนี้ผมไม่เชื่อความสามารถของรมว.คมนาคม

“ผมมั่นใจว่า กฎหมายฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้รอดูกันต่อไป ผมคนหนึ่งที่ไม่อยากมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ ไม่อยากไปยุ่งกับป.ป.ช. คอยดูกันต่อไป”นายบุญจงกล่าวและว่า การทำโครงการควรจะมี

การศึกษาผลกระทบ และกำหนดไว้ในกม. ดังนั้นการพูดถึงการทุจริตแต่ละโครงการจึงเป็นเรื่องที่ชอบที่ถูกต้อง รัฐบาลจึงควรเป็นแบบอย่างมีรายละเอียดกำหนดไว้ชัดเจน ประชาชนจะได้ทราบว่า

รถไฟเส้นทางนี้ 1 กิโลเมตรใช้งบประมาณเท่าใด ช่วงหาเสียงรัฐบาลนี้ประกาศว่าจะล้างหนี้ให้กับประเทศไทย สร้างรายได้ให้ประชาชน จึงได้รับคะแนนความไว้วางใจท่วมท้น แต่ตรงข้ามรัฐบาล

กู้หนี้ยืมสินให้ประเทศไปแล้วถึง 3.5 แสนล้านบาท ทำไมจึงสร้างหนี้ใหม่ให้ประชาชนเพิ่มขึ้นอีก จึงอยากให้รัฐบาลถอนพ.ร.บ.ฉบับนี้ แล้วไปจัดทำประชามติก่อน

@@"กิตติรัตน์"ยันรัฐบาลไม่กู้มาโกง เหน็บ"มาร์ค"กลัวเพราะโครงการไทยเข้มแข็งเคยมีปัญหามาก่อน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง ชี้แจงต่อประเด็นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่แสดงความเห็นคัดค้านการออกให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน

เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ..... (พ.ร.บ.กู้เงิน) จำนวน 2 ล้านล้านบาท ว่า เป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่ผู้นำฝ่ายค้านฯแสดงความเห็นคัดค้านก่อนที่จะฟังในราย

ละเอียดของร่างพ.ร.บ.กู้เงินฯดังกล่าว ทั้งนี้ที่หลายฝ่ายกังวลว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะกู้มาโกง คงเป็นเพราะการขอกู้เงินช่วงที่ผ่านมามีความไม่โปร่งใส(หมายถึงโครงการไทยเข้มแข็ง) เช่น โครงการ

สร้างอาคารส่วนราชการบางแห่ง, โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ของสถานศึกษา ที่พบว่าเมื่อจัดซื้อแล้วนำไปใช้ไม่ได้ ส่วนที่การเสนอขอกู้เงินสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่ถูกคัดค้าน เป็นเพราะ

เป็นโครงการระยะสั้น กระจัดกระจาย รวมถึงไม่มีเอกสารรายละเอียด

"การเสนอร่างกฎหมายให้พิจารณา ที่ถูกมองว่ามีจำนวนน้อยหน้านั้น แต่ความจริงมีบัญชีท้ายพระราชบัญญัติอีก ซึ่งเนื้อหาไม่ได้น้อยกว่าฉบับเดิมๆที่เคยเสนอมา สำหรับสาระที่เสนอขอกู้เงิน เป็นไป

ตามกระบวนการพิจารณาอย่างรอบคอบรัดกุม ส่วนหนี้ที่จะเกิดขึ้นกับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่มองว่าใช้ระยะเวลานานถึง 50 ปี แต่เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำโครงการจะมีอายุยืนยาว

นานนับศตวรรษ ส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่เอาใจใส่การชำระหนี้ที่ค้างมาตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง ที่มียอดดอกเบี้ย และยอดเงินรวมกันมากถึง 7.5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ใช่เป็นการกู้มาโกง และจะดำเนินการให้รอบคอบ เพราะที่ผ่านมาเห็นความไม่รอบคอบ และรัดกุมมาแล้ว" นายกิตติรัตน์ ชี้แจง

@@"ชัชชาติ"ยันพรบ.กู้เงิน2ล้านล้านจำเป็น ทำประเทศสมบูรณ์แบบ

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ชี้แจงพร้อมทั้งเปิดวีดิทัศน์ ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 2020 โดยอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องทำโครงสร้างพื้นฐานประเทศเพื่อการแข่งขันในเวทีโลกว่า ขณะ

นี้เราใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักของประเทศ ที่ทั้งแพงสุดและเกิดมลภาวะมากที่สุด การขนส่งทางรางจะถูกลงมาเกือบครึ่ง ขณะที่ทางน้ำมีราคาถูกสุด ซึ่งหากปล่อยไปอย่างนี้อนาคตเราจะแข่ง

กับเพื่อนบ้านและชาติอื่นลำบาก เราจะยิ่งถอยหลังและสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ส่วนทางอากาศนั้นเขาเข้มแข็งดูแลตัวเองได้ เราหวังว่าในอนาคตรถไฟจะเป็นเช่นนั้น แต่ตอนแรกเราต้อง

ดูแลเขาก่อน หากเอาจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นโอกาสได้เราจะพลิกประเทศ ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีเราลงทุนโครงสร้างพื้นฐานน้อยลงทุกปี ตัวเลขทั่วโลกงบลงทุนในงบรายจ่ายประจำปีอย่าง

น้อยต้อง 25% แต่ของไทยระยะ 4-5 ปีหลังมานี้เหลือเพียง 12-15%

"โจทย์ที่เราต้องทำคือ การปรับรูปแบบขนส่งไม่ให้มีคอขวด รถติด ต้องยกคุณภาพชีวิตประชาชน งบฯ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ เป็นกระดูกสันหลังประเทศ ส่วนงบฯปกติจะเป็นเส้น

เลือดฝอย เมื่อรวม 2 งบฯนี้ประเทศเราจะสมบูรณ์แบบ"นายชัชชาติกล่าว

@@สื้อแดงชุมนุมหน้าสภา หนุนพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน จี้ ป.ป.ช.เร่งชี้มูลคดีประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส.

ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 100 คน รวมตัวชุมนุมตั้งแต่เช้าโดยเปิดเวทีปราศรัยย่อยสนับสนุนและ

ให้กำลังใจรัฐบาลในการออกพ.ร.บ.กู้เงิน พร้อมกันนี้ยังได้โจมตีพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินการประมูลสินทรัพย์ของ ป.ร.ส. มูลค่าถึง 800,000

ล้านบาท ซึ่งคดีอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะหมดอายุความลงในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ โดยได้ยื่นหนังสือต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รอง

ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งขอให้เร่งรัด ป.ป.ช.พิจารณาคดีประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส.ก่อนจะหมดอายุ

สำหรับคดี ป.ร.ส.นั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ได้เคยแถลงไว้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยนำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูล

ขายเพียง 190,000 ล้านบาท และการดำเนินการของ ปรส. ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่มุ่งแก้ไข ระบบสถาบันการเงินด้วยการฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการ แต่ขั้นตอน

ดำเนินการของ ปรส. กลับไม่แยกหนี้ดี หนี้เสีย เพื่อแยกหนี้ดีไปให้กับธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) นำไปบริหาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติเข้า

มากอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ

@@ถกกู้ชะงักปชป.ไล่เจริญ ขวางแจง..กู้ไอเอ็มเอฟ กรณ์ฟันธงขัดรธน.ชัวร์ 'เหลิม'ได้ทีเชลียร์ป้องปู

ก่อนหน้านี้  นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อภิปรายว่า รัฐบาลสามารถหารายได้ทางอื่นมากกว่าสร้างภาระให้ประชาชน และเป็นการกู้นอกระบบงบประมาณ อาจ

เกิดปัญหาวินัยการคลัง และยังเสี่ยงที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญ ทำให้โครงการที่รัฐบาลจะดำเนินการเกิดสะดุดได้ ตนในฐานะอดีตรมว.คลัง รวมถึงอดีตรมว.คลัง อาทิ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือนาย

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ก็ยังคัดค้าน เพราะเห็นว่าเป็นการออกพ.ร.บ.แบบหลวมๆ ไม่รัดกุม ทำให้มีหนี้สูงถึง 65% ดังนั้นจึงไม่สมควรใช้เงินกู้ แต่ควรเน้นการลงทุนเพื่อรักษาวินัยการคลัง จากการ

ประเมินขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค พบว่าไทยอยู่ในลำดับที่ดีขึ้น โดยมีหนี้สาธารณะลดลง 42% แต่รัฐบาลกลับมีนโยบายที่บั่นทอนความเชื่อมั่นขีดความสามารถประเทศ ถือ

เป็นการพัฒนาที่ผิดตรรกะ สิ่งไม่เห็นด้วยคือการกู้นอกระบบ ทำให้ร่างพ.ร.บ.นี้สุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ สุดท้ายแล้วใช้เวลา 7 ปีทำได้จบหรือไม่ เพราะมีภาระหนี้และดอกเบี้ยมากมาย

"ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นสุดท้ายรัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้ได้ ดูได้จากการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทฟื้นฟูจากน้ำท่วม ก็โหนกระแสความกลัวประชาชน ถึงขั้นขู่ส.ส.ฝ่ายค้าน และศาลรัฐธรรมนูญต้องรับผิดชอบถ้าประชาชนถูกน้ำท่วม ขณะนี้ใช้ไปเพียง 6 พันล้านบาท"นายกรณ์กล่าว

นายกรณ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลควรมอบให้รมว.คมนาคมไปศึกษาโครงการก่อน และจัดหาคนมาร่วมทุนเพื่อลดภาระประเทศ รัฐบาลต้องพูดความจริงว่าแหล่งรายได้มาจากที่ใด หรือจะกลับมาปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจริงๆท่านไม่มีเจตนาที่จะรับผิดชอบในอีก 10 ปีข้างหน้า จะไม่คืนเงินต้นแม้แต่บาทเดียว เพราะอีก 10 ปีท่านไปไหนแล้วก็ไม่ทราบ เงินก็ใช้ไปหมดแล้ว ประชาชนต้องแบกรับภาระหนี้ ทราบหรือไม่ผลการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ทำให้ระบบเงินตึงขึ้น มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพราะมีการแย่งชิงเงินกู้ระหว่างรัฐกับเอกชน อัตราดอกเบี้ยในระบบของเราจะสูงขึ้น

หากดอกเบี้ยเพิ่มทุก 1 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นหนี้เพิ่ม 6 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลไม่ได้เตรียมความเสี่ยงไว้เลย หากโครงการอยู่ในภาวะขาดทุนจะทำอย่างไร ขนาดแอร์พอร์ตลิงค์รายได้ยังไม่พอ ต้องเป็นภาระของประชาชน และโครงการรถไฟความเร็วสูงใครเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถรับการกระทำของรัฐบาลได้

"ทำไมรัฐบาลไม่ทำแผนการเบิกจ่ายงบเงินกู้ของรัฐบาลสูงสุดที่สุดปี 59 เงิน 3.8 แสนล้านแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ทั้งที่รัฐบาลสามารถกู้ได้ตามปีงบประมาณ โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงินใดๆทั้งสิ้น

เพราะช่องว่างทางการคลังให้สิทธิกู้ได้อีกหลายโครงการ แต่รัฐบาลกลับหลีกเลี่ยงออกฎหมายพิเศษไปกู้นอกระบบ ทำไมต้องเอาไปเสี่ยงกับโครงการลงทุนครั้งสำคัญของประเทศ ซึ่งตนขอท้าว่าให้เอาทุกโครงการที่อยู่ในเอกสารลงไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย จะได้รู้ว่าโครงการไหนลงทุนอย่างไรบ้าง ถ้าโครงการไหนล่าช้าก็ขอให้หมดสิทธิในเงินกู้นี้เลย ถ้าโครงการไหนจะยกเลิกก็ไม่ให้นำเงินที่ตั้งไว้ ไปใช้ในโครงการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ ควรเขียนระเบียบการพัสดุลงไว้ในกฎหมาย เพื่อไม่ให้มีมติครม.จัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ ให้ภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอร์รัปชั่นเข้ามามีบทบาท โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาตรวจสอบ โดยให้เขียนไว้ในกฎหมายว่า ถ้าโครงการใดเกิดพบการทุจริต หรือเข้าไม่ถึงข้อมูล ให้โครงการนั้นหมดสิทธิไปในทันที ที่อ้างว่าหนี้สาธารณะจะไม่เกิน 50% หากเกินต้องถือเป็นโมฆะทันที และถ้าเกิดทำโครงการไปแล้วมีงบขาดดุลที่มากกว่าปัจจุบันให้ถือเป็นโมฆะ"นายกรณ์ กล่าว

@@"เหลิม"แถกู้เพื่อหนี้การลงทุน เหน็บบางพรรคกู้เงินตำพริกละลายแม่น้ำ ป้อง"ปู"ไม่โกง

เวลา 19.00 น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า รัฐบาลไม่ได้ทำงบประมาณโดยลำพัง แต่ได้หารือคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และคณะกรรมการกฤษฎีกามาตลอด การที่ไม่นำงบปกติมาลงทุนตามที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ สงสัย เพราะเราไม่มีงบ บ้านเมืองที่ไม่พัฒนาเพราะงบลงทุนน้อย แต่งบประจำมีมาก ดังจะเห็นได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ที่มีงบลงทุนเพียง 18.7 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยส่วนหนึ่งในนั้น

จะต้องนำมาเป็นงบประมาณใช้หนี้ 40,000 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องออกเป็นพ.ร.บ.เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องมีแหล่งเงินที่แน่นอน ส่วนที่บอกว่าจะไม่สร้างหนี้หมายถึงหนี้การทุจริต แต่หนี้ครั้งนี้คือ หนี้การลงทุน ถือเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างครั้งใหญ่ ไม่เหมือนบางพรรคที่กู้เงินมาตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่พรรคเพื่อไทยมีโครงการแล้วจึงกู้ ขอให้เปิดใจกว้าง

"แนวคิดการล้างหนี้ของพรรคเพื่อไทยคือ การหาเงินไปตามเงินกู้เพื่อขยายการลงทุน เมื่อเศรษฐกิจโตหนี้ก็หายไปเอง กฎหมายกู้เงินฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่กล้าบอกรายละเอียดมากขนาดนี้ ถ้าบอกว่า

ไม่โปร่งใสก็ไม่มีกฎหมายฉบับใดโปร่งใส และขอยืนยันว่านายกฯยิ่งลักษณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตทุกอย่าง" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

@@ประชุมชะงัก ส.ส.ปชป.ฟิวส์ขาดไล่ประธานลงจากบัลลังก์

ผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงหนึ่งได้เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น การอภิปรายต้องชะงัก หลังจากที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ไม่อนุญาตให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ใช้สิทธิ์อภิปรายพาดพิง หลังจากที่ถูกส.ส.พรรคเพื่อไทยพาดพิงถึงก่อนหน้านี้ กรณีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ โดยนายเจริญวินิจฉัยว่า นายพิเชษฐไม่เป็นบุคคลที่ถูกพาดพิง จึงไม่อนุญาต ทำให้นายพิเชษฐโต้แย้งว่าช่วงเวลาที่การก่อหนี้และใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ ตนเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่นายเจริญยังคงไม่อนุญาตให้ใช้สิทธิ์ และปิดไมโครโฟนของนายพิเชษฐ แต่นายพิเชษฐได้ตะโกนผ่านไมโครโฟนว่า "การวินิจฉัยของท่านประธาน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเป็นคำวินิจฉัยที่เลวทราม ถ้าหากมีคนพูดว่า อดีตกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปีก่อนๆ ที่ผ่านมาเป็นเลวทราม ถ้าพูดอย่างนี้ ท่านประธานจะถือว่าถูกพาดพิงและต้องใช้สิทธิชี้แจงหรือไม่ ถ้าประธานวินิจฉัยอย่างนี้ ผมขอให้ท่านลงจากบัลลังก์ แล้วออกไป"

จากนั้นทาง ส.ส.พรคประชาธิปัตย์ได้มีการลุกอภิปรายเพื่อขอให้นายพิเชษฐให้สิทธิชี้แจง ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับการอภิปรายถัดไป พูดขึ้นว่า "ตนไม่ติดใจที่นายพิเชษฐจะใช้สิทธิชี้แจงตนสามารถรอคิวอภิปรายถัดไปได้" ขณะที่นายเจริญ ได้กล่าวขึ้นว่า หากตนให้สิทธินายพิเชษฐชี้แจงต้องตัดเวลาที่นายพิเชษฐ จะอภิปรายในเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.กู้เงิน และจากนั้นจึงให้นายพิเชษฐชี้แจง

@@“อลงกรณ์”ข้องใจเร่งซื้อหัวรถจักรรถไฟเร็วสูงปีนี้ “สรรเสริญ”จี้ใส่เอกสารประกอบในพ.ร.บ.

ก่อนหน้านี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การดำเนินการครั้งนี้เร่งรัดดำเนินการไม่มีความรอบคอบ มีความเสี่ยงสูง โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นการล็อคสเปค ไม่เปิดให้ประชาชนมีทางเลือก ที่สำคัญยังมีการระบุว่าจะเร่งประมูลซื้อหัวรถจักรภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ทั้งที่ระบบรางยังทำไม่เสร็จ และไม่รู้ว่าจะสร้างได้จริงหรือไม่ ไม่อยากให้ต้องมีหัวรถจักรมากองไว้ไม่ได้ใช้งาน เหมือนกับเสาโฮปเวล หากรัฐบาลจะเดินหน้าก่อสร้างโครงการพื้นฐานจริง สามารถใช้วิธีการทำกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนำเงินมาใช้ก่อสร้างได้โดยไม่ต้องเป็นภาระ

หนี้ของประชาชน หรือจะใช้วิธีให้เอกชนร่วมลงทุน พีพีพีได้ อีกทั้งตัวอย่างประเทศจีนซึ่งมีรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดพบว่าขาดทุนเกือบทุกเส้นทาง

ขณะที่นายสรรเสริญ สมะลาภา ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า พ.ร.บ.กู้เงินไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน ในขณะที่ประชาชนต้องมาแบกรับภาระหนี้คำนวณคร่าวๆ เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ดอกเบี้ย 4% ตกเป็นเงิน 8 หมื่นล้านบาทต่อปี คิดเป็นหนี้เพิ่มขึ้นนาทีละ 1.5 แสนบาท หรือ วันละ 100 ล้านบาท ในเอกสารประกอบมีรายละเอียดโครงการที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของครม. 1.4 ล้าน

ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้ไปใช้ทำอะไรก็ได้ โดยรัฐบาลนี้ไม่ต้องชำระเงินกู้ แต่รัฐบาลชุดอื่นต้องรับภาระปีละ 1-3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ขอเรียกร้องรัฐบาล 1.ต้องระบุในกฎหมายว่า

รัฐบาลชุดนี้จะต้องชำระหนี้เงินต้น 2.จะไม่กู้เงินอีกแล้วหลังจากปี 2560 เป็นปี 2558  3.จะต้องนำเอกสารรายละเอียดโครงการมาไว้เป็นส่วนหนึ่งในพ.ร.บ.ให้มีผลผูกพัน และ  4.เรื่องการจัดซื้อจัด

จ้างในมาตรา 15  ที่ระบุว่าตามหลักเกณฑ์ที่ครม.กำหนดนั้น ต้องเพิ่มเนื้อหาให้ครม.ไม่มีอำนาจยกเว้นระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างในการใช้เงินตามพ.ร.บ.นี้

@@วิป 3 ฝ่ายเคาะถกแก้รธน.วาระแรก 3 วัน

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการประสานงาน 3 ฝ่ายหรือวิป ประกอบด้วยวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้านและวิปวุฒิสภา เพื่อกำหนดวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ใน 3 ฉบับ ในวาระที่หนึ่ง ภายหลังการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้ข้อยุติร่วมกันที่จะกำหนดวันอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมใน 3 ฉบับ ในระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย.นี้ จากที่กำหนดไว้เพียง 1 วัน

โดยวันที่ 1 เม.ย. จะเปิดประชุมตั้งแต่เวลา 10.30 - 22.00 น. ส่วนวันที่ 2-3 เม.ย .จะเปิดประชุมตั้งแต่เวลา 09.30 - 22.00 น. ทั้งนี้ วิป 3 ฝ่ายเห็นชอบให้สมาชิกแต่ละคนมีการอภิปรายรวมกันในทุกมาตรา แต่จะไม่มีการแยกอภิปรายทีละฉบับ ซึ่งส.ส.รัฐบาลมีเวลาอภิปราย 15 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน 11 ชั่วโมง วุฒิสภา 8 ชั่วโมง ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 3 เมษายนนี้แล้ว

ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาจะเรียกชื่อสมาชิกรัฐสภาเพื่อออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ โดยสมาชิกแต่ละคนจะขานชื่อลงมติ 3 ฉบับในครั้งเดียว เมื่อลงมติเสร็จสิ้นจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 3 คณะโดยใช้เวลาแปรญัตติ 15 วัน

@@ยิ่งลักษณ์แจงผ่านFBYingluck

การลงทุนในครั้งนี้จึงถือเป็นการวางรากฐานการพัฒนา สร้างอนาคต และเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยจะมีการเชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทาง บก น้ำ ทาง อากาศ อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะเกิดประโยชน์ต่อ ประชาชนและประเทศไทย โดยมีแนวคิดในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังนี้

1) Connectivity

เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนสู่อาเซียน ที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการเชื่อมฐานเศรษฐกิจเดิมต่อยอดแหล่งรายได้ใหม่ๆ จากฐานประชากร 600 ล้านคน โดยเน้นการพัฒนาระบบราง มี 2 ส่วนคือรถไฟรางคู่จะสามารถเชื่อมต่อประเทศ เพื่อนบ้านในระยะแรกและสามารถลดต้นทุนการส่งสินค้าประเภทหนัก สำหรับ ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงจะเน้นการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูงและ เน่าเสียง่าย และการเดินทางของประชาชนที่เน้นความรวดเร็ว

พัฒนาด่านเข้าออกประเทศ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อการเติบโตของ เศรษฐกิจแนวชายแดน เพื่อให้ความร่วมมืออย่างไร้พรมแดนของประชาคม อาเซียนเป็นความจริง

2) กระจายความเจริญและเพิ่มคุณภาพชีวิต

ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พร้อมทั้งการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่ รวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายและระยะในการเดินทาง ส่งเสริมความปลอดภัยเพิ่มขึ้น กระจายความเจริญจากหัวเมืองไปยังชานเมือง ลดความแออัดให้คนกรุง สร้าง ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ เติมเต็มความเจริญให้กับชนบท ตามยุทธศาสตร์ประเทศ ร่วมถึงการลดความเหลื่อมล้ำทั้งด้านการพัฒนาและกระจายรายได้ของประชาชน

3) เชื่อมอุตสาหกรรม – ส่งออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันใน ภาคอุตสาหกรรม - ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดการเชื่อมระหว่างต้นน้ำคือแหล่งวัตถุดิบ ผ่านแหล่ง อุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลางน้ำ ไปยังปลายน้ำ ก็คือการส่งออก การลดต้นทุนในการ ขนส่ง รวมถึงร่นระยะเวลาการเดินทางนั้นหมายถึง อาหารที่สดขึ้น ลดต้นทุนใน การสูญเสีย เกษตรกรจะสามารถขายผลผลิตได้ในราคาดี ในขณะที่คนไทยก็จะได้ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพดี พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดต้นทุนการขนส่งให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การเกษตร

4) การเชื่อมเมืองการท่องเที่ยว

เชื่อมสถานที่ท่องเที่ยวจากเมืองต่างๆ หลายแห่งทั่วประเทศ จากเหนือจรดใต้ เปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ยืดระยะเวลาที่นักท่องเที่ยว อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ทั่วถึง กว้างขวาง และยาวนานขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงรายได้จากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และทั้ง 4 ประการนี้ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในช่วงการลงทุนในช่วง 7 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม ในแต่ละปี คาดว่า มูลค่าของ GDP จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 1 การจ้างงานประมาณ 500,000 อัตรา อันจะส่งผลทั้งความแข็งแรง การหมุนเวียนของเงินทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจ ในประเทศต่อไปในอนาคต

กำเนิดและพัฒนาการของแนวคิด “เชื้อชาติมลายู” ในบริติชมลายา (1)


กำเนิดและพัฒนาการของแนวคิด “เชื้อชาติมลายู” ในบริติชมลายา (1)


บทนำ: ประวัติศาสตร์ของเชื้อชาติมลายู
“ความเป็นมลายู” หรือ  อัตลักษณ์ในการเป็นคนมลายูเป็นเรื่องราวที่มีการศึกษาค้นคว้าเป็นระยะเวลานานพอสมควร บ่อยครั้งในแวดวงวิชาการมลายูศึกษา จะค้นคว้าและตั้งคำถามเพื่อที่จะค้นหาอัตลักษณ์มลายู ความเป็นมลายูมีความลื่นไหลเป็นอย่างมา จึงทำให้มีการนิยามความเป็นมลายูที่มีความหลากหลายทั้งนักวิชาการตะวันตกที่เข้ามาศึกษาเรื่องราวของชาวมลายู และรวมไปถึงวิชาการและนักการเมืองที่เป็นชาวมลายู ในบทความนี้จะนำเสนอมุมมองบางประการที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด เชื้อชาติมลายู ในบริติชมลายา[1]ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และใครเป็นบุคคลสำคัญต่อแนวคิดดังกล่าวนี้
ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของชาวมลายู ความเป็นมลายูได้ถูกกล่าวอย่างชัดเจนในประวัติศาสตร์ว่าอาจจะมีความเป็นไปได้จากการสถาปนารัฐมะละกา เป็นบริเวณที่สามารถกุมความเป็นมลายูได้อย่างเด่นชัด  แต่ภายหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรมะลากาความเป็นมลายูถูกเคลื่อนย้ายไปสู่รัฐยะโฮร์ที่มีการอ้างว่าได้อ้างการสืบทอดอำนาจจากรัฐมะละกา 
อย่างไรก็ตามความชัดเจนในเรื่องของเชื้อชาติเริ่มเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นภายหลังการเดินทางเข้ามาของชาวตะวันตก  พร้อมด้วยแนวคิดเรื่องชาติ  และวิทยาการสมัยใหม่ที่จะสามารถแบ่งกลุ่มคนได้โดยอาศัยจากปัจจัยหลายอย่าง  ความคิดของชาวตะวันตกได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางคิดของชาวพื้นเมืองที่แต่เดิมมีความคิดเรื่องชาติเพียงแค่หลวมๆเท่านั้น และแนวคิดเรื่องชาติได้ส่งอิทธิพลกระทั่งมาถึงปัจจุบัน “ความเป็นมลายู” จึงได้กลายเป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาและทำความเข้าใจ  รวมไปถึงการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องเชื้อชาติจากชาวตะวันตกสู่ชาวพื้นเมือง
แนวคิด “ความเป็นมลายู” นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสภาพทางสังคมของรัฐที่อยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายู และได้มีการนิยาม “ความเป็นมลายู” ที่มีความหลากหลายและมีพัฒนาการอยู่ตลอดระยะเวลา  นับตั้งแต่การก่อตั้งมะละกาในช่วงศตวรรษที่  15  ทำให้ความเป็นมลายูถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเวลาดังกล่าว  ตามที่ปรากฏในเซอจาเราะห์ มลายู  (Sejarah Melayu) ซึ่งเป็นผลผลิตจากชาวตะวันตกที่ถ่ายทอดออกมาอย่างแพร่หลาย กับวิธีการจำแนกผู้คน  งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ในยุคจารีตของชาวมลายู เพราะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการนิยามความหมายของเชื้อชาติมลายู มะละกากลายเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรม
แต่หลังจากที่มะละกาล่มสลายลงในปี ค.ศ.1511 จากการพ่ายแพ้สงครามต่อโปรตุเกส  ส่งผลต่อการถูกยึดครองและทำให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามามีอิทธิพลเพิ่มสูงขึ้นภายในดินแดนแห่งนี้  โดยในการต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวตะวันตกได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่งคือ  การจำแนกผู้คนแยกจากกันเป็นกลุ่ม  ตามที่อัตลักษณ์ที่มีความคล้ายคลึงกันเป็นรวมเป็นคนกลุ่มเดียวกัน  และหลังจากนั้นมีการประดิษฐ์สร้างจิตสำนึกภายในกลุ่มนั้นๆ แนวคิดใน “ความเป็นมลายู  ที่เกิดขึ้นหลังจากการจำแนกโดยชาวตะวันตก  ส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของเชื้อชาติของตนในเวลาต่อมา  เมื่อมีการสืบย้อนไปในอดีตเกี่ยวกับที่มาของแนวคิด “ความเป็นมลายู”  ตามที่ปรากฏอยู่ในอยู่ในเซอจาเราะห์มลายู
อาณานิคมและแนวคิดเรื่องเชื้อชาติ
สังคมมลายูภายหลังการเข้ามาของชาวตะวันตก ได้กลายเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ การตอกย้ำถึงอัตลักษณ์เชื้อชาติมลายูในช่วงที่ลัทธิอาณานิคมตั้งมั่นในพื้นที่ของชาวมลายู  การหลั่งไหลเข้าสู่ บริติชมลายาของชาวจีนและอินเดียมีจำนวนมากขึ้น แนวคิดเรื่องเชื้อชาติที่เป็นความ รู้แบบตะวันตกได้เข้ามาโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่เข้ามาศึกษาชาวมลายูคนที่มีความสำคัญนั่นก็คือ John Grawfurd  มีการศึกษาว่าอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชาวมลายูนั้นเป็นอย่างไร  และอีกท่านคือ สแตมฟอร์ด แรฟเฟลล์ (Stamford Raffles)ได้กล่าวเอาไว้ว่า 
“ฉันไม่สามารถตัดสินคนมลายูหรือชาติมลายูเพียงคนเดียว จากการพูดหนึ่งภาษา  แม้ว่าจะกระจายกว้างขวางในช่วงเวลาหนึ่ง และคงสภาพไว้ซึ่งคุณลักษณะพิเศษและขนบธรรมเนียม ในรัฐใกล้ทะเลทั้งหมดระหว่างทะเลซูลูและมหาสมุทรตอนใต้ ”
ในช่วงเวลาศตวรรษที่ 19 สำนึกเรื่องเชื้อชาติดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวของชาวมลายู แต่มีชาวมลายูกลุ่มหนึ่งที่เริ่มเกิดสำนึกในเรื่องเชื้อชาตินั่นคือ กลุ่มยาวี เปอรานากัน
ยาวี เปอรานากัน มุนชี อับดุลลอฮ์ และคำอธิบายเรื่องเชื้อชาติมลายู

กลุ่มยาวี เปอรานากัน เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่เป็นลูกผสมระหว่างพ่อชาวอินเดียและแม่ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยูในบริเวณคาบสมุทรมลายู ส่วนใหญ่แล้วคนกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่บริเวณสเตรท เซทเทิลเมนต์ [2]  กลุ่มยาวี เปอรานากันเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถในการใช้ภาษาทั้งภาษามลายู ภาษาอาหรับรวมไปถึงภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงเข้ามามีบทบาทในด้านการพิมพ์สูง  แลพวกเขาเหล่านี้ยังมีการถ่ายทอดแนวคิดของเชื้อชาติมลายูให้แก่ชาวพื้นเมืองทั่วไปผ่านงานเขียนของพวกเขา
ชาวพื้นเมืองคนแรกๆ และเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มยาวี เปอรานากัน ที่ได้รับแนวคิดการสำนึกถึงเรื่องเชื้อชาติในอาณานิคมกลับไม่ใช่ชาวพื้นเมืองมลายูแท้แต่เป็นชาวมลายูลูกผสมนั่นคือ   อับดุลลอฮฺ บิน อับดุลกอเดร์ เป็นชาวมลายูเชื้อสายอาหรับ อินเดีย  เกิดที่มะละกา และใช้ชีวิตการทำงานทั้งมะละกาและสิงคโปร์  อับดุลกอเดร์ บิดาของอับดุลลอฮฺเป็นชาวอาหรับเดินทางมาเป็นครูสอนศาสนาและภาษาในมะละกาและได้สมรสกับชาวพื้นเมืองที่นั่น มุนชี อับดุลลอฮ  ได้อาศัยอยู่ท่ามกลาง ความหลากหลายทางเชื้อชาติและสังคมที่เป็นไปด้วยวิทยาการสมัยใหม่ของชาวตะวันตกความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องของเชื้อชาติได้ซึมลึกลงไปในความคิดเขา
อับดุลลอฮฺ บิน อับดุลกอเดร์ มุนชี หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า  มุนชี[3] อับดุลลอฮฺ   เป็นชาวมลายูที่มีเชื้อสายอาหรับและอินเดีย มุนชี อับดุลลอฮฺเกิดเมื่อ 1797 ที่มะละกาและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1854 ที่เมืองเจดดาห์, ซาอุดีอาระเบีย และได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวรรณกรรมลายูสมัยใหม่ เป็นปัญญาชนชาวพื้นเมืองคนแรกที่นำเสนอแนวคิด  “มลายูนิยม” โดยชูความยิ่งใหญ่ของชนชาติมลายู ตลอดเวลาเกือบทั้งชีวิต มุนชี อับดุลลอฮฺได้ใกล้ชิดกับชาวตะวันตก  จึงทำให้มุนชี อับดุลลอฮฺได้รับอิทธิพลทางด้านแนวคิดเรื่องเชื้อชาติจากทางตะวันตกอยู่สูงมากเลยทีเดียว  แต่ในขณะเดียวกันที่มุนชี  อับดุลลอฮฺได้ชูความยิ่งใหญ่ของชนชาติมลายู  จึงทำให้มุนชี อับดุลลอฮฺได้รับอิทธิพลทางด้านแนวคิดเรื่องเชื้อช และยังคงได้วิพากษ์ความเป็นอยู่แบบจารีตของสังคมมลายู  ที่มีความล้าหลังสังคมมลายูยังคงยึดติดกับจารีตแบบเดิม  และยังมีความกล้าหาญที่ได้กล่าววิพากษ์สุลต่านในระบอบเกอราจาอันที่เป็นต้นเหตุสำคัญของความอ่อนแอจนต้องและกลายเป็นอาณานิคมตะวันตกในที่สุด

จากแนวคิดดังกล่าวของมุนชี อับดุลลอฮฺ  ได้สร้างความไม่พอใจแก่ผู้คนมลายูและยังเป็นที่ไม่ได้รับความนิยมจากชาวพื้นเมืองเท่าใดนัก  มุนชี อับดุลลอฮฺ  ได้สร้างวลีหนึ่งที่มีความหมายเกี่ยวกับสังคมมลายูที่เขาได้พบเห็นในช่วงเวลานั้นที่ว่า
“โลกเก่ากำลังถูกทำลายลง โลกใหม่ถูกสร้างขึ้น และรอบๆ ตัวเรามีความเปลี่ยนแปลง”
จากประโยคดังกล่าวข้างต้นได้มีความครอบคลุมสังคมมลายูใน ช่วงศตวรรษที่ 19 ได้เป็นอย่างดีในการเปลี่ยนแปลงของสังคมมลายู  ที่สังคมเก่าเริ่มที่จะเปลี่ยน แปลงไปตามอิทธิพลของตะวันตก
พหุสังคมและการเกิดขึ้นของเชื้อชาตินิยม
สำหรับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่นำสังคมของ บริติช มลายาเข้าสู่ลักษณะที่เป็น  “พหุสังคม” นั่นเป็นผลจากนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของอังกฤษ ผลจากการที่อังกฤษได้สถาปนา สเตรท เซทเทิลเมนต์ โดยมีการรวมพื้นที่ของ  สิงคโปร์  มะละกา  ปีนัง โดยวัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมผลประโยชน์ของกิจการเดินเรือขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา  โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอังกฤษยังไม่แสดงท่าทีที่จะมีอำนาจทางการเมืองเหนือบรรดารัฐมลายูต่างๆ  ในตอนนั้น แต่อังกฤษใช้การปกครอง สเตรท เซทเทิลเมนต์  โดยมีข้าราชการโดยตรงจากอังกฤษมีอำนาจในการปกครองและการบริหารกิจการต่าง ๆ  ของสเตรท เซทเทิลเมนต์

จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านของการค้าและรวมไปถึงกิจการเหมืองแร่ดีบุกที่มีการขุดเจาะเป็นจำนวนมาก ทางการของอังกฤษมีความต้องการในการหาแรงงานเพื่อมาตอบสนองต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่น่าสังเกตุที่ว่าชาวพื้นเมืองมลายูส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเข้าเป็นแรงงานของกิจการเหมืองแร่  ทางการของอังกฤษจึงมีความจำเป็นที่จะนำเข้าแรงงานจากที่อื่นๆ โดยแรงงานที่มีความสำคัญต่ออังกฤษนั้นก็คือ  ชาวจีน และชาวอินเดีย โดยผู้คนทั้งสองเชื้อชาตินั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาตั้งถิ่นฐานโดยถาวรจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ  สเตรท เซทเทิลเมนต์
การเข้ามาของชนชาติอื่นในมลายาส่งผลต่อแนวคิดทางด้านเชื้อชาติของชาวมลายูในระดับหนึ่ง  นอกจากการนำประเด็นเรื่องเชื้อชาติเข้ามาโดยชาติอาณานิคมแล้ว  ด้วยสำนึกบางประการและจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของอังกฤษทำให้ปฏิสัมพันธ์ของชาวมลายูต่อชนชาติอื่นลดน้อยลงไปด้วย  ความแตกต่างของผู้คนแต่ล่ะกลุ่มจะมีความชัดเจนอยู่สูงมากความแตกต่างของคนในพื้นที่ สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนมากทั้งลักษณะทางด้านกายภาพ วัฒนธรรม  และการนับถือศาสนา ในการที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับผู้คนซึ่งมีความแตกต่างไปจากตนเอง

บรรณานุกรม
กรุณา  กาญจนประภากูล.  วิวัฒนาการของความคิดเกี่ยวกับคำว่า “เมอลายู” ในประวัติศาสตร์มลายู. สารนิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์, 2537.
ชุลีพร วุรุณหะ. ฮิกายัต อับดุลเลาะห์. ใน บุหงารายา ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่าของชาวมลายู. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2540.
เทิร์นบุลล์, ซี. แมรี่.  ประวัติศาสตร์มาเลเซีย สิงคโปร์และบรูไน. ทองสุก เกตุโรจน์, ผู้แปล.กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540. 
ไพลดา  ชัยศร, ผลกระทบของระบบการปกครองของอังกฤษต่อความคิดทางการเมืองของชาวมาเลย์ในรัฐมลายูที่เป็นสหพันธ์ ค.ศ.1896-1941 (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Hamzah Hamdani.  Hikayat Abdullah. Selangor: PTS Fotuna, 2007
Milner, Anthony. Invention of politics in colonial Malaya: contesting nationalism and the expansion of the public sphere. Cambridge ;New York: Cambridge University Press, 1995. 
................................................................................................
อธิบายภาพ
1. ภาพกริช อุปกรณ์สำคัญของชาวมลายู ภาพจาก http://talk.mthai.com/topic/127261
2. กลุ่มยาวี เปอรานากัน ภาพจาก http://mforum.cari.com.my/forum.php?mod=viewthread&tid=497813
3. มุนชี อับดุลลอฮ์ ภาพจาก http://thestar.com.my/metro/story.asp?file=/2007/9/15/central/18882527&sec=central
4.  สเตรท เซทเทลเมนต์ ภาพจาก http://th.wikipedia.org

[1] บริติชมลายา คือ อาณานิคมของอังกฤษบนคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร์ในปัจจุบัน
[2] สเตรท เซทเทิลเมนต์ หรือ อาณานิคมช่องแคบ คืออาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเประ) รัฐมะละกา สิงคโปร์ และลาบวนในปัจจุบัน
[3] มุนชีเป็นชื่อที่ใช้เรียกครูสอนภาษา


ที่มา : PATANI FORUM

แหม่มสาวกับสนธิสัญญาปางโหลงของพม่า


แหม่มสาวกับสนธิสัญญาปางโหลงของพม่า

นำเรื่องราวชีวิตของแหม่มฝรั่งตาน้ำข้าวที่ดุจเทพนิยายมาเล่าสู่กันฟัง จากคนธรรมดากลายเป็นมหาเทวีของผู้ครองนครที่มั่งคั่งไปด้วยลาภยศเงินทองและสุดท้ายก็หายสิ้นไปทุกสิ่งอย่างกลายเป็นคนธรรมดาดังเดิม

สมัยก่อน รัฐฉานของพม่ายังตกเป้นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ได้มีเจ้าฟ้าแห่งเมืองสีป้อมีพระนามว่าเจ้าจ่าแสงได้ไปศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พบรักกับสาวสามัญชนชาวออสเตรียที่ไปศึกษาวิชาการพยาบาลที่มีชื่อว่า "อิงเง เซอร์เจน"

ทั้งคู่ได้พบรักกันและได้แต่งงานกันที่แผ่นดินอเมริกาแต่เจ้าฟ้าจ่าแสงก็ไม่ได้บอกถึงฐานะที่แท้จริงของตัวเองให้กับแหม่มอิงแงได้ทราบ เมื่อศึกษาจบ เจ้าฟ้าจ่าแสงกับ"แหม่มอิงแง" ก็ได้เดินทางกลับไปยังแผ่นดินเกิดของเจ้าฟ้าจ่าแสง

เมื่อเดินทางถึงพม่าก็มีผู้คนจากเมืองสีป้อแห่งรัฐฉานมารอต้อนรับอย่างคับคั่ง จึงสร้างความแปลกใจให้กับแหม่มตาน้ำข้าว ว่า กลุ่มคนพวกนี้มารอตอนรับใครและคนผู้นั้นคงจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นแน่แท้ คนถึงได้ออกมารอคอยมากขนาดนั้นโดยที่หารู้ไม่ว่าคนที่เขามาคอยต้อนรับนั้นคือสามีของตนเอง ฝ่ายเจ้าฟ้าจ่าแสงก็ได้เฉลยว่าบุคคลผู้นั้นก็คือตนเองและได้เฉลยว่า ตนเองนั้นเป็นเจ้าฟ้าปกครองเมืองสีป้อแห่งรัฐฉานนั่นเอง เมื่อแหม่มฝรั่งได้ทราบความจริงก็ตกใจและงอนไปด้วยว่าทำไมถึงไม่ได้บอกให้ตนเองรู้บ้าง

 เมื่อกลับไปถึงงเมืองสีป้อ แหม่มฝรั่งอิงแงก็ได้รับการสถาปนาเป็น มหาเทวีแห่งสีป้อพระนามว่า "ทุซานดี้"

เมืองสีป้อนี้เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลรัฐฉานพอสมควร และไม่เจริญเทียบเท่า แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรณ์แร่ เช่น ทองคำ พลอย

เมือได้เป็นมหาเทวีแล้วชีวิตก็ราวกับฝันมีข้าทาสบริวารล้อมรอบชีวิตเป้นสุขและได้ให้กำเนิด ราชธิดา 2 พระองค์ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการช่วยเหลือประชาชน เจ้าฟ้าจ่าแสงก็ได้พัฒนาบ้านเมืองทางด้านต่าง ๆ เช่นการศึกษา การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ส่วนมหาเทวีทุซานดี้ ก็ได้ช่วยพัฒนาด้านสุขอนามัย การแพทย์ การพยาบาล ของชาวเมือง แต่ความสุขของชีวิตคนเรามันมักจะไม่สมบูรณ์แบบ ไปทั้งหมด

เมื่อ ประเทศอังกฤษได้ยอมปลดปล่อยพม่าเป็นอิสระ และชนกลุ่มต่าง ๆ ได้ทำ"สนธิสัญญาปางโหลง" ว่าด้วยรัฐต่าง ๆ ของพม่านั้นยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา 10 ปี เมื่อหลังจากครบสัญญาแล้วก็แยกตัวเป็นอิสระต่อกันได้

แต่เมื่อ ปี ค.ศ.1962 หรือ ปี พ.ศ.2505 ระบบที่ปกครองด้วยเจ้าฟ้าของเมืองต่าง ๆ ในรัฐไทใหญ่ก็มีอันต้องล่มสลายไป เมื่อนายพลเนวิน ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจและตั้งตัวเป็นรัฐบาลทหารและฉีกสัญญาไม่ยอมให้รัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ

ทางด้านเจ้าฟ้าเมืองต่างๆ ถูกรัฐบาลเนวินกำจัดเพราะไม่ต้องการให้รัฐฉานแยกไป ปกครองตัวเองตามที่ได้สัญญาไว้ และได้จับเจ้าฟ้าเมืองต่าง ๆ ของรัฐฉานรวมทั้งเจ้าฟ้าจ่าแสง ไปด้วยและก็ได้หายสาบสูญอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งคาดว่าน่าจะโดนสำเร็จโทษไปหมดนั่นและ

ส่วนทางราชเทวีทุซานดีกับพระราชธิดาก็ถูกคุมขังอยู่ในหอหลวงของเมืองสีป้อ ก่อนจะถูกผลักดันออกจากประเทศพม่าโดยทรัพย์สินทั้งหมดในราชวังนั้นได้ถูกทางการพม่ายึดไปหมดเหลือติดตัวเพียงแค่ไม่กี่ชิ้น เช่น แหวนที่ได้พระราชทานจากเจ้าจ่าแสง และนั้นคือชีวิตที่เหมือนฝันของ มหาเทวีทุซาดี้ หรือ อิงเง เซอร์เจน ผู้ที่เคยเป็นมหาเทวีของเมืองสีป้อแห่งรัฐฉาน รวมแล้ว อิงแง เชอร์เจน ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง สีป้อ รัฐฉาน ประเทศพม่า ประมาณ 8 ปี

เกร็ดความรู้

1.สมัยก่อนรัฐฉานของพม่ามีเมืองอยู่ 33 เมือง แต่ละเมืองจะมีเจ้าฟ้าปกครองอยู่
2.สนธิสัญญาปางโหลง มีผู้นำในการร่างคือ นายพล อ่องซาน หรือ อู อ่องซาน ผู้เป็น บิดาของนาง อ่องซ่าน ซูจี และได้ถูกลอบสังหารหลังจากการร่างสัญญาปางโหลง
3.สนธิสัญญาปางโหลง เป้นข้อตกลงที่ว่า รัฐ และ ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ จะมาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบ 10 ปีแล้ว แต่ละรัฐจะแยกไปปกครองตนเองได้ แต่ก็ถูกยกเลิกด้วยการยึดอำนาจทางการทหารของนายพล เนวิน และด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้ช่วงก่อนพม่ามีเหตุการไม่สงบมีการรบกันของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ กับรัฐบาลพม่า อยู่เป็นประจำ

อินเตอร์เน็ต"ช้าลง"ทั่วโลก ผลจาก"สงครามไซเบอร์"ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์


อินเตอร์เน็ต"ช้าลง"ทั่วโลก ผลจาก"สงครามไซเบอร์"ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15:45:47 น.
  


ระบบอินเตอร์เน็ตทั่วโลกเริ่มช้าลง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยกล่าวว่าอาจเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

การตอบโต้กันระหว่างกลุ่มต่อต้านการปล่อยไวรัสและบริษัทเจ้าของเครือข่ายก่อให้เกิดการโจมตีอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในวงกว้าง นอกจากนั้นยังกระทบต่อเว็บไซต์เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ที่เป็นผู้ให้บริการดูหนังแบบสตรีมมิงแบบถูกลิขสิทธิ์ ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และผู้เชี่ยวชาญกังวลว่ามันอาจลุกลามไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินและระบบอีเมล์




"สแปมเฮาส์" องค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีสำนักงานที่กรุงลอนดอน และนครเจนีวา ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ให้บริการแจ้งรายชื่อบัญชีดำหมายเลขที่อยู่ไอพีให้แก่เว็บไซต์ทั่วโลก เพื่อนำไปปรับปรุงระบบคัดกรองข้อความขยะ ระบุว่า กลุ่มแฮกเกอร์นิรนามกระหน่ำโจมตีระบบฐานข้อมูลของเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้ว

เนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้ สแปมเฮาส์ได้ทำการบล็อคเซิร์ฟเวอร์ที่กลุ่มไซเบอร์บังเกอร์ (Cyberbunker) เว็บโฮสต์ในเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ดูแล โดยเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว ถูกใช้เพื่อเก็บเนื้อหาทุกประเภท ยกเว้นแต่ภาพอนาจารเด็กและการก่อการร้าย

นายสเวน โอลาฟ แคมฟิส ที่อ้างตัวว่าเป็นโฆษกของกลุ่มไซเบอร์บังเกอร์เปิดเผยว่า สแปมเฮาส์ได้ละเมิดหน้าที่ และไม่สมควรได้รับอนุญาตให้เป็นผู้กำหนดว่าอินเตอร์เน็ตควรมีเนื้อหาอย่างไร ด้านสแปมเฮาส์กล่าวโต้ว่า กลุ่มไซเบอร์บังเกอร์ ได้ร่วมมือกับแก๊งอาชญกรรมข้ามชาติจากยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์

สื่อหลายแห่งรายงานโดยอ้างคำกล่าวของนายแคมฟิส ที่ไม่ได้ออกมายอมรับโดยตรงว่ามีส่วนในการโจมตีที่เกิดขึ้น แต่ยอมรับว่า เจ้าของเว็บไซต์หลายแห่งร่วมกันวางแผนเพื่อโจมตีสแปมเฮาส์มานานแล้ว โดยอ้างว่า สแปมเฮาส์เริ่มแสดงอำนาจที่เหนือกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการกล่าวหาเว็บไซต์หลายแห่งว่า เป็นตัวอันตราย แล้วออกคำสั่งให้เว็บไซต์นั้นปิดตัวลง ทั้งที่สแปมเฮาส์คือศัตรูตัวจริงในดลกอินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ดี นายสตีฟ ลินฟอร์ด ซีอีโอของสแปมเฮาส์ เปิดเผยว่า ขอบข่ายการโจมตีเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสแปมเฮาส์ต้องตกอยู่ในภาวะดังกล่าวนานกว่าสัปดาห์ อย่างไรก็ดี การโจมตีไม่สบความสำเร็จ เนื่องจากวิศวกรสามารถกอบกู้ระบบกลับมาได้อีกครั้ง และหน่วยงานตำรวจไซเบอร์ของ 5 ประเทศได้ดำเนินการสอบสวนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ดี เขาอ้างว่า ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมได้ เนื่องจากหน่วยตำรวจแสดงความกังวลว่าตนอาจตกเป็นเป้าการโจมตีระบบภายในเช่นกัน

ทั้งนี้ มีแนวโน้มว่า ไซเบอร์บังเกอร์อาจร่วมมือกับกลุ่มแฮกเกอร์โดยใช้เทคนิค "ดีดีโอเอส" (DDoS) ที่จงใจเพิ่มทราฟฟิกของการใช้อินเตอร์เน็ต ที่อาจมีความรุนแรงสูงสุดถึง 300 กิกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่การโจมตีระบบธนาคารปกติจะมีความรุนแรงเพียง 50 กิกะไบท์ต่อวินาที ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของระบบโดเมนเนมได้รับความเสียหาย ซึ่งก็คือระบบพื้นฐานที่เชื่อมโดเมนเนมเข้าไว้ด้วยกัน

จบการเจรจาBRNวันแรกขอลบบช.ดำแลกความสงบ



จบการเจรจาBRNวันแรกขอลบบช.ดำแลกความสงบ

(28/3/56)การเจรจาในประเทศมาเลเซีย ของวันนี้ได้จบลงแล้วและจะมีการเจรจากันต่อวันพรุ่งนี้(29/3/56) โดยทางแกนนำ BRN ตกลงจะหยุดเหตุรุนแรง พร้อมขอให้ฝ่ายความมั่นคงไทย ลบรายชื่อในบัญชีดำ และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


“ภราดร”ยันสถิติป่วนใต้ลดลงเพราะเจรจา

              ก่อนหน้าใันวันเดียวกัน พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาลเซีย ถึงเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อเช้าวันที่ 28 มี.ค.ซึ่งเป็นวันพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการนัดแรกระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นจากต่างรัฐ นำโดยขบวนการบีอาร์เอ็นว่า เหตุรุนแรงเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย และอาจเป็นเพราะกลุ่ม
ที่พูดคุยกับรัฐบาลไทยยังไม่สามารถสื่อสารไปยังระดับปฏิบัติทุกกลุ่มในพื้นที่ได้ แต่เชื่อว่าเมื่อการพูดคุยเดินหน้าไป สถานการณ์จะดีขึ้น

              พล.ท.ภราดร กล่าวต่อว่า สถานการณ์ความไม่สงบตลอดเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ภายหลังลงนามในข้อตกลงริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพกับขบวนการบีอาร์เอ็น มีแนวโน้มลดความถี่และความรุนแรงลง แม้จะมีการกระจายตัวของเหตุการณ์บ้าง แต่เป้าหมายก็ยังเป็นเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้ถืออาวุธ ไม่ใช่ประชาชนทั่วไปที่เป็นเป้าหมายอ่อนแอ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าเป็นผลมาจากกระบวนการสันติภาพ

              สำหรับการพูดคุยกับแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นและกลุ่มอื่นๆ ในวันที่ 28 มี.ค.คาดหวังว่าจะมีการกำหนดรูปแบบการพูดคุยที่ชัดเจน ตลอดจนประเด็นต่างๆ ที่จะต้องพูดคุยกันในระยะต่อไป โดยอาจจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยเข้าไปทำงาน และประชุมกันบ่อยครั้งขึ้น

              โอกาสนี้ พล.ท.ภราดร ยังคาดหมายว่าการพูดคุยสันติภาพในครั้งต่อไป น่าจะได้พบปะกับแกนนำคนอื่นของขบวนการ โดยเฉพาะแกนนำที่มีสถานะสูงกว่า นายฮัสซัน ตอยิบ

              สำหรับภารกิจในช่วงเช้าที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของคณะทำงานพูดคุยสันติภาพฝั่งตัวแทนรัฐบาลไทยนั้น ช่วงเช้า คณะทำงานทั้ง 9 คนได้รับประทานอาหารร่วมกันที่โรงแรมเจดับบลิวแมริออต ซึ่งใช้เป็นสถานที่พัก จากนั้นได้ประชุมนอกรอบเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วจึงเดินทางโดยรถยนต์ไปยังสถานที่จัดประชุม ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นโรงเรียนฝึกตำรวจมาเลเซีย สถานที่เดิมที่เคยใช้จัดประชุมเมื่อ 28 ก.พ.หรือไม่

            ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ทีมพูดคุยสันติภาพชาย แดนใต้ 15 คนฝ่ายไทย เจรจาที่มาเลย์ กับกลุ่มขบวนการ นำโดย"ฮัสซัน ตอยิบ" แห่งบีอาร์เอ็น มี "รอซี" แกนนำ พูโล และเบอร์ซาตู ร่วมเวทีด้วย เลขาฯ สมช. หัวหน้าคณะไทย ย้ำมุ่งเน้นเรื่องลดสถิติการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ยังไม่มีเรื่องเขตปกครองพิเศษ รองโฆษกเพื่อไทยสวนกลับปชป.อย่ากวนน้ำให้ขุ่น ไม่ต้องห่วงการเจรจา ไม่เสียดินแดนแน่นอน

         เลขาฯ สมช.กล่าวว่า สำหรับภาคประชาสังคม และภาคประชาชนนั้น ตัวแทนเหล่านี้แจ้งความประสงค์ว่าไม่ต้องการให้เปิดเผยชื่อ เพื่อความปลอดภัย จึงไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ สำหรับรูปแบบการเจรจาบนโต๊ะนั้น ยังไม่สามารถกำหนดหัวข้อและตัวบุคคลได้ เพราะต้องรอดูฝั่งตัวแทนบีอาร์เอ็น ก่อนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และมีใครบนโต๊ะเจรจาบ้าง จึงจะกำหนดหัวข้อและตัวบุคคล เพื่อให้มีความสมดุลกันได้

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีมีข่าวว่า นายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนบีอาร์เอ็น ไม่พอใจที่ฝ่ายไทยนำภาคประชาชนในพื้นที่ไปพูดคุยด้วย พล.ท. ภราดรกล่าวว่าเป็นเพียงกระแสข่าวที่ออกมาจากฝั่งที่ไม่เห็นด้วย

กับการเจรจาครั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เมื่อถามถึงกรณีที่บีอาร์เอ็นเตรียมยื่นข้อเสนอ 9 ข้อต่อฝ่ายไทย เลขาฯ สมช. กล่าวว่าไม่เป็นความจริงอีกเช่นกัน เป็นเพียงรายงานข่าวที่ปล่อยมาจากกลุ่ม
ที่ไม่เห็นด้วยกับการเจรจา และเป็นกลุ่มที่มีความเห็นต่าง อีกทั้งการเจรจาครั้งนี้ไม่มีการพูดคุยเรื่องเขตปกครองพิเศษ แต่ไปคุยเพื่อให้ลดสถิติการก่อเหตุ

"แนวทางของรัฐบาลคือต้องการให้เกิดความสงบสุข ประชาชนเดินทางได้อย่างสะดวก และประกอบอาชีพได้อย่างปลอดภัย ไม่ทำร้ายกันอีก เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วทางฝ่ายเขาจะให้เราทำอะไรก็
บอกมา แต่ยืนยันว่าไม่มีเรื่องเขตปกครองพิเศษ ไม่แน่นอน ทำไม่ได้ ขอให้เลิกคิดเรื่องนี้"

"การสร้างสันติภาพชายแดนใต้ อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญไทย ไม่เสียดินแดนแน่นอน เพราะการเจรจาครั้งนี้จะไม่พูดคุยเรื่องเขตปกครองพิเศษ เป็นห่วงก็แต่กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่จะกลัว เพราะเห็นว่าสันติภาพกำลังจะเกิดขึ้นจากการเจรจา เรื่องนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ผู้หลักผู้ใหญ่ต่างเห็นด้วยกับการเจรจา แล้วนายถาวรเป็นใคร ถึงดิ้นรนกวนน้ำให้ขุ่นขนาดนี้

สำหรับประวัติและภูมิหลังในเบื้องต้นของแต่ละคนนั้น นายฮัสซัน ตอยิบ หรือฮาซัน ตอยิบ หรืออาแซ เจ๊ะหลง อายุ 68 ปี เกิดที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จบการศึกษาจากปอเนาะพ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยปาจาจารัน ประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันอยู่ที่รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย เมื่อปีพ.ศ.2519 หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรี กลับมาเปิดปอเนาะที่ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส แต่ถูกทางการไทยเพ่งเล็ง จนต้องปิดปอเนาะ และหลบหนีไปอยู่มาเลเซีย ต่อมาปี 2538 ร่วมก่อตั้งบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต และปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาองค์กรนำ หรือดีพีพี มีตำแหน่งรองเลขาธิการ รับผิดชอบฝ่ายต่างประเทศ และปลูกฝังอุดมการณ์ของบีอาร์เอ็น

ส่วนนายมะโฉลง หรืออับดุลลาห์ บิน อิสมาแอล อายุ 63 ปี เกิดที่บ้านโฉลง หมู่ 1 ต.ปุโรง อ.กรงปินัง จ.ยะลา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐกิจการเมือง มหาวิทยาลัยแบกแดด ประเทศอิรัก ปัจจุบันเปิดร้านอาหารอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย นายมะโฉลงเป็นประธานบีอาร์เอ็น คองเกรส และยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือเบอร์ซาตู แทนนายวันการ์เด เจ๊ะหมาน อีกด้วย และทางการข่าวยังทราบอีกว่า นายมะโฉลงเป็นผู้ติดต่อประสานงานต่างประเทศของบีอาร์เอ็น เพื่อส่งสมาชิกไปฝึกที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง

ขณะที่ นายรอซี ลูโบ๊ะโต๊ะเป็ง อายุ 39 ปี เกิดที่บ้านลูโบ๊ะโต๊ะเป็ง อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศาสนา จากประเทศอียิปต์ เคยทำงานอยู่ที่สถานทูตอิรัก ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ก่อนลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ปัจจุบันเปิดร้านอาหารอยู่ในมาเลเซีย

วันเดียวกัน ที่โรงแรมปาร์ควิว รีสอร์ต อ.เมือง จ.ปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาฯ ศอ.บต. พร้อมด้วยนายเสรี ศรีหะไตร และนายขวัญชาติ ศุภรานันท์ รองผวจ.ปัตตานี ร่วมรับฟังข้อสรุปผลการหารือร่วมกัน ระหว่างผู้นำชุมชนพื้นที่ที่เกิดเหตุซ้ำซากและบ่อยครั้ง โดยผู้นำชุมนุมสะท้อนปัญหาหลายเรื่อง เริ่มตั้งแต่การโยกย้ายข้าราชการในพื้นที่ ไม่ได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชน ทำให้ข้าราชการที่ทำงานเข้ากับประชาชนได้อย่างดี ต้องถูกย้ายออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุอันควร ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน

นอกจากนี้ มีพบปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติกับผู้ต้องสงสัยอย่างไม่เป็นธรรม มักใช้ความรุนแรง หรือกระทำเกินกว่าเหตุ อีกทั้งการปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านทราบก่อน แสดงถึงการไม่ให้เกียรติ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้นำท้องที่กับเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งผลให้ชาวบ้านมองผู้นำท้องที่ในภาพลบ ส่วนการจับกุมคุมขังนั้น ก็ซ้อมทรมาน ทำให้เกิดความคับแค้นใจ หรือเป็นการสร้างเงื่อนไข ในบางครั้งกักขังหน่วงเหนี่ยวบีบบังคับด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม เมื่อศาลตัดสินว่าไม่ได้กระทำผิด ทำให้คนเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจที่เคยอยู่ในห้องขังโดยที่ไม่ได้กระทำผิด

พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า จะนำข้อสรุปไปแก้ไขและปรับแก้ต่อไป หากพบว่าปัญหาไหนมาจากเจ้าหน้าที่รัฐก็จะแก้ไข สิ่งสำคัญคือต้องคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน อยากฝากดูแลให้ความเป็นธรรมกับคนที่มีรายชื่อในบัญชีดำ คนพวกนี้ลำบากมาก โดยเฉพาะคนที่ติดหมายจับคดีความมั่นคง ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงอยากให้กลับไปดูว่าพวกเขามีความเดือดร้อนด้านไหนบ้าง ทั้งอาชีพและการศึกษาบุตร เพื่อลดความรู้สึกและบาดแผล จะทำอย่างไรที่จะหยุดเลือด และหยุดความสูญเสีย



'ประยุทธ์'ลั่น9ข้อเสนอBRNเป็นไปไม่ได้

'ประยุทธ์'ลั่น9ข้อเสนอบีอาร์เอ็นเป็นไปไม่ได้ เชื่อพวกค้านเจรจาบึ้มชายแดนใต้ ชี้ไฟใต้ยังไม่จบถ้ารัฐไม่ตอบสนองโจร มองแง่ดีคุยโจรยังดีกว่าถือปืนไล่ล่า

               เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 28 มี.ค.2556 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะของพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เดินทางไปพูดคุยกับแกนนำบีอาร์เอ็นที่ประเทศมาเลเซียว่า คงต้องรอผลการพูดคุยว่าจะออกมาอย่างไร ซึ่งการพูดคุยครั้งนี้เป็นการไปแนะนำตัวและสร้างความเข้าใจ โดยทางเลขาสมช.พูดไว้ว่า การพูดคุยในครั้งนี้เพื่อให้สถานการณ์ลดความรุนแรงขึ้น

               ส่วนเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา คิดว่าส่วนหนึ่งอาจมาจากการคัดค้านการเจรจาเพราะผู้ก่อความไม่สงบมีหลายกลุ่ม ย่อมมีกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าก่อนหรือหลังพูดคุยก็มีเหตุระเบิดมาตลอด ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่การกดดันเจ้าหน้าที่ในการเจรจา เพราะทุกวันกดดันเจ้าหน้าที่อยู่แล้ว แต่เราต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความสงบ

ทั้งนี้การพูดคุยเป็นเพียงทำให้เหตุการณ์ลดลง แต่จะลดลงได้หรือไม่ยังไม่รู้ ซึ่งมองว่าการบังคับใช้กฎหมาย การสร้างความเข้าใจ การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ถือว่า ยังเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ากลุ่มนี้พูดกันไม่ได้ก็หากลุ่มอื่นมาพูด ส่วนกรณีที่มีการติดแผ่นป้าย”รัฐปัตตานี”ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ถือเป็นการแสดงบทบาทของเขา และเขาพยายามใช้ความรุนแรงมาต่อสู้
เพื่อให้ได้สิ่งที่เขาเรียกร้อง

               “การพูดคุยดีกว่าไม่ได้พูด การให้เขาออกมายังดีกว่า ถือปืนไปไล่ล่ากัน การพูดคุยต้องคุยทุกกลุ่มไม่ใช่เฉพาะกลุ่มนี้กลุ่มเดียว ให้ตกลงกันมาให้ได้แล้วค่อยมาคุยกันต่อ ซึ่งเป็นเรี่องของสมช. ทั้งนี้การพูดคุยต้องเป็นภาพใหญ่และคนในท้องถิ่นต้องได้รับผลประโยชน์ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ การรักษาอำนาจรัฐไว้ให้ได้ การบังคับใช้กฎหมายและแผ่นดินนี้แบ่งแยกไม่ได้ ส่วนประชาชน คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และต้องเป็นกลุ่มคนที่พึงพอใจ ตราบใดที่ยังมีความรุนแรงอยู่ก็ต้องพูดคุยเพื่อให้สถานการณ์ลดลง และประชาชนปลอดภัย การสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นที่ปลายด้ามขวานของเราประกอบด้วยหลายมิติ การไปพูดคุยครั้งนี้ เพื่อลดปัญหาความไม่เข้าใจกันในเรื่องประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ แต่ปัญหาอื่นยังไม่มีการพูดคุยกัน ทำให้ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงตราบใดที่กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ถ้าเขาต้องการอย่างนั้นก็ต้องลดความรุนแรง ทั้งนี้ในฐานะที่เราเป็น "รัฐ" และเจ้าหน้าที่จำเป็นที่เราต้องกำหนดทิศทางให้ได้”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

               พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่อยากให้พูดถึงข้อเสนอ 9 ข้อของบีอาร์เอ็น เพราะจากที่อ่านดูนั้นยาก และยังเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งต้องใช้เวลาและต้องมาพูดคุย พิสูจน์ทราบกันก่อน รวมถึงการลดความบาดเจ็บและสูญเสีย ต้องมาแก้กันทีละข้อ จะแก้ทีเดียว 9 ข้อเลยไม่ได้ ซึ่งเขาพยายามเรียกร้องให้มากเข้าไว้ เราต้องดูว่าอันไหนเรายอมรับได้บ้าง แต่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ส่วนข้อเสนอที่จะให้มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ คงยังไม่ได้ ถ้าจะถอนทหารออกมาได้นั้น ตนได้วางการแก้ปัญหาไว้แล้ว และเสนอไปยังรัฐบาลแล้วคือการแก้ปัญหา 3 ระยะที่มีอยู่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระยะที่สอง และได้ดำเนินการลดทหารถึง 6 กองพัน แต่เราได้เพิ่มกำลังประจำท้องถิ่นลงไป

               “เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นเราจะค่อยๆถอนทหารออก เหลือเฉพาะทหารในกองทัพภาคที่ 4 การทำงานในวันนี้เราทำภายใต้ยุทธศาสตร์เดียวกันรวมถึงกำหนดระยะเวลา และในวันนี้เรามีการทำงานด้านมั่นคง พัฒนา และการพูดคุย เดินคู่ขนานไปด้วยกัน แต่ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญ คือ ประชาชนยังอยู่ในอันตรายอยู่ จึงต้องสำนึกและระมัดระวัง รวมถึงทหารและตำรวจ เพราะวันนี้เราอยู่ในที่สว่าง เขาอยู่ในที่มืด จะทำอย่างไรให้เขาออกมาในที่สว่าง ซึ่งก็คือ การพูดคุย ทุกวันนี้เราทำงานภายใต้ 9 ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล และ 6 ยุทธศาสตร์ของกอ.รมน. จากการประเมินจาก 3 เดือนที่แล้ว เราได้ 79 % แต่ในเดือนนี้เราได้เพิ่มขึ้นเป็น 83% โดยได้เพิ่มจากความพึงพอใจของประชาชน แต่ในส่วนที่เรายังควบคุมไม่ได้ คือ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นตัวถ่วง ทำให้คะแนนรวมตกไป ส่วนการพัฒนาต้องใช้เวลา ซึ่งผมได้เสนอไปยังรัฐบาลผ่านกระทรวงกลาโหมคือ การพัฒนาเฉพาะหน้า ซึ่งต้องเรียนให้ผอ.ศอ.บต.เร่งพัฒนาในระดับตำบลสันติสุข และนำไปสู่การแก้ปัญหาในระดับกรรมการหมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า”ผบ.ทบ.กล่าว

ปัตตานีพบใบปลิวตำหนิรัฐเกลื่อนงานคุรุวีรชน

              ผู้สื่อข่าวปัตตานีรายงานว่า ในจัดงานรำลึกคุรุวีรชนชายแดนใต้ ครั้งที่ 5 เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของครูและบุคคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายภาคใต้ ที่ไม่ยอมย่อท้อต่อความยาก

ลำบาก ด้วยพลังใจที่เข้มแข็งตลอดระยะที่เกิดเหตุการณ์ที่ผ่านมา และจากสถานการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีครูที่เสียชีวิตรวม 159 ปีนั้น พบว่ามีใบปลิวที่มีข้อความตำหนิรัฐ

ถูกทิ้งไว้ภายในงาน เช่น  28 มีนาคม รัฐบาลสิ้นคิด ร้องขอโจร เจรจากันนะคุณโจร  นอกจากนั้นด้านหลัง ระบุอีกว่า เป็นบันทึก ที่กล่าวตำหนิและแช่งผู้ที่ทำลายแผ่นดิน  ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้นำเก็บไว้
เพื่อตรวจสอบลายนิ้วมือต่อไป

"สุกำพล"เรียกผบ.เหล่าทัพถก ห่วงสื่อเสนอข่าวมั่นคง 

"สุกำพล"เรียกผบ.เหล่าทัพถก ห่วงสื่อเสนอข่าวมั่นคง ด้าน"ประยุทธ์"วอนอย่าเสนอข่าวทำคนเข้าใจทหารผิด ขณะที่"ผบ.ทอ."ชี้ข่าวทหารละเอีดดอ่อน

ผู้สื่อข่าวรายงาน(28มี.ค.56)ว่า ก่อนการประชุมสภากลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ได้เชิญพล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้หารือนอกรอบ โดยได้มีการหารือถึงการทำงานของสื่อมวลชนกับความมั่นคงของประเทศ โดยพล.อ.อ.สุกำพล มีความเป็นห่วงจึงได้ฝากผู้บัญชาการเหล่าทัพทำความเข้าใจกับสื่อมวลชน โดยใช้เวลาพูดคุยประมาณ 30 นาที

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า สื่อมวลชนถือว่ามีความสำคัญสูงสุดในการทำให้ประเทศชาติเกิดความมั่นคง และทำให้เกิดความเข้าใจกันของคนภายในชาติ สิ่งสำคัญเราต้องทำความเข้าใจในทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นแก่นของคนในชาติ ทั้งนี้สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ถือเป็นสถาบันหลักที่จะทำให้การก้าวเดินไปสู่ความมั่นคงกับประเทศต่างๆในอาเซียนเกิดความเป็นระบบ ทั้งนี้รมว.กลาโหมได้กำชับในที่ประชุมสภากลาโหม โดยได้ชื่นชมการทำงานของสื่อทุกคนและได้กำชับกับผบ.เหล่าทัพว่าขอให้ช่วยคุยกับสื่อให้เข้าใจบทบาทความมั่นคง เพราะว่าการนำเสนอข่าวในบางครั้งอาจจะด้วยความปรารถนาที่แสดงข้อคิดเห็นในสิ่งที่มองเห็น คิดว่าต้องการเป็นปากเสียงให้กับประชาชน แต่บางครั้งอาจลืมไปว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่จะเกิดความเสียหายหรือไม่

"ไม่ต้องการให้สื่อปกป้องกองทัพ ขอแค่ป้องกันความเข้าใจผิดให้กับกองทัพ เพราะสิ่งที่ทำนั้นมีเจตนาดีทั้งสิ้น ตั้งแต่มีการตั้งกองทัพบกขึ้นมาตั้งแต่ร.5 ไม่เคยมีนโยบายทำให้ประชาชนเดือดร้อน และไม่มีนโยบายสร้างอำนาจ ผมไม่เคยคิด อำนาจทหารมีอย่างเดียว คือ ปกครองผู้บังคับบัญชา ถ้าไม่มีอำนาจตรงนี้ทหารจะไม่เป็นทหาร จะกลายเป็นโจรทั้งหมด"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ด้านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า เท่าที่ตนได้รับทราบนั้นรมว.กลาโหมมีความเป็นห่วง ซึ่งตรงกับที่กองทัพอากาศดำเนินการอยู่ 2ประเด็น คือประเด็นที่ 1 เรื่องสื่อกับความมั่นคง ที่สื่อจะต้องเข้าใจบทบาทของความมั่นคง โดยตนพยายามที่จะให้สื่อได้เห็นภาพว่าในอนาคตสื่อจะต้องมีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์

และประเด็นที่ 2 คือสื่อจะต้องเข้าใจในเรื่องการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับความมั่นคง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนดังนั้นจะต้องระวัดระวังเรื่องการนำเสนอข่าว ในส่วนของกองทัพอากาศพยายาม
ให้สื่อมวลชนด้านความมั่นคงเห็นการทำหน้าที่ในประเทศสากลในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือว่าเป็นกรอบใหญ่ที่กองทัพอากาศให้ความสำคัญ

///////////////////
(ข่าวปล่อบ9ข้อเรียกร้องBRN)
วันพุธที่ 27 มีนาคม 2013 เวลา 08:29 น.  
'BRN'ยื่น9ข้อเรียกร้อง ถอนทหาร-นิรโทษหมด เขตปค.-โมเดลอาเจ๊ะ 'วงใน'หยามเจรจาเหลว


เปิด 9 ข้อเรียกร้อง BRN จี้ถอนทหาร-ตั้งเขตปกครองพิเศษ 3 จว.ใต้-ยึดโมเดลอาเจ๊ะ-นิรโทษหมด พร้อมออกลีลา "ตั้งเงื่อนไข" ปัดรับภาคประชาชนเข้าร่วมถก อ้างไม่ใช่คู่ขัดแย้ง ขณะที่ "รอยเตอร์"
อ้างสัมภาษณ์ฝ่ายปฏิบัติการ BRN ไม่เชื่อเจรจาสร้างสันติได้ เหตุ "ฮาซัน ตอยิบ" คุมนักรบไม่ได้

แหล่งข่าวระดับสูงของมาเลเซีย เปิดเผยถึงการเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่ายไทยกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ที่ประเทศมาเลเซียว่า ฝ่ายขบวนการกำหนดบุคคลที่เจรจาครั้งนี้ 5 คน โดยมีนายฮาซัน ตอยิบ เป็นหัวหน้าคณะ มีบุคคลจากขบวนการบีอาร์เอ็น โคออดิเนต จำนวน 2 คน จากขบวนการพูโล 1 คนและจากการขบวนการ BIPP จำนวน 1 คน โดยข้อเรียกร้องที่ขบวนการบีอาร์เอ็นกำหนดไว้แบบไม่เป็นทางการ เบื้องต้นมี  9 ข้อ คือ

1.ผู้ที่จะมาเจรจาต้องเป็นตัวแทนจากรัฐบาลไทยเท่านั้น

2.รับรองในอัตตลักษณ์ ภาษา ชาติพันธุ์ มลายู

3.ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ชายแดนภาคใต้ พร้อมยกเลิกกฎหมายพิเศษ

4.ให้กองกำลังท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลแทน

5.จัดพื้นที่ชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ

6.ให้ประเทศมาเลเซียเป็นตัวกลางและสำนักนายกรัฐมนตรีของ 2 ประเทศในการเจรจา เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล (นายนายิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายอับดุลเลาะ บาดาวี

อดีตนายกรัฐมนตรี เท่านั้น)

7.การเจรจาครั้งนี้ไม่ต้องผ่านโอไอซีและองค์กรจากยุโรป

8.ให้นิรโทษกรรมผู้กระทำผิด

9.การปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยึดโมเดลของเขตปกครองพิเศษอาเจ๊ะ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งข้อเรียกร้องทั้งหมดจะต้องเสนอผ่านสันติบาลประเทศมาเลเซียก่อนส่งไปยังฝ่ายเจรจาของไทย

อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ว่า ขณะนี้นายฮาซัน ตอยิบ รองเลขาธิการ และคณะกรรมการของบีอาร์เอ็น แสดงความไม่พอใจกับการที่สภาความมั่นคงแห่งชาติของ
ไทยได้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน ในการกำหนดกรอบการพูดคุยสันติภาพ 2 ฝ่าย ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 มี.ค.ที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย โดยทางฝ่ายบีอาร์เอ็นได้ส่งสัญญาณถึงพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสมช.ว่า การพูดคุย 2 ฝ่ายเพื่อยุติความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ควรมีกรรมการจากภาคประชาชน

"กลุ่มบีอาร์เอ็นเห็นว่าคู่ขัดแย้งครั้งนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลกับบีอาร์เอ็น และบีอาร์เอ็นไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งหากมีปัญหาบีอาร์เอ็นสามารถที่จะสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ได้ ดังนั้นน่าจะทำให้การเดินทางไปพูดคุยสันติภาพรอบ 2 อาจต้องมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนตัวคณะกรรมการ"หน่วยข่าวระบุ

สำนักข่าวรอยเตอร์ โดย "แอนดรูว์ อาร์.ซี. มาร์แชล" เขียนรายงานพิเศษสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย เกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น ตอนหนึ่งในการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติการของบีอาร์เอ็นคนหนึ่ง ที่ใช้นามแฝงว่า "อับดุลเลาะห์" เชื่อว่า การเจรจาครั้งนี้คงไร้ความหมาย เนื่องจากฮาซัน ตอยิบ ที่อ้างเป็นหัวหน้า ไม่มีความสามารถที่จะควบคุมนักรบรุ่นใหม่ได้ และชาวมาเลย์-มุสลิมจำนวนอีกหลายหมื่นจะสู้ต่อ

วงถกสันติภาพจบแล้ว BRN ลั่น หยุดป่วน แลกรัฐลบชื่อบัญชีดำ ขณะ ปัตตานี ยังมีเหตุตัดต้นไม้-โปรยตะปูเรือใบ

(28/3/56)ได้เกิดเหตุ คนร้ายตัดต้นไม้ และโปรยตะปูเรือใบ บนถนนสาย 42 จากบ้านกะลาพอ ถึงบ้านตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้ว ในส่วนของ
การเจรจาในประเทศมาเลเซีย ได้จบลงแล้ว โดยทางแกนนำ BRN ตกลงจะหยุดเหตุรุนแรง พร้อมขอให้ฝ่ายความมั่นคงไทย ลบรายชื่อในบัญชีดำ และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้