PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

ชี้สัดส่วนเชื้อเพลิงก๊าซมากเกินไป อันตรายต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้า


ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภาชี้สัดส่วนเชื้อเพลิงก๊าซมากเกินไป อันตรายต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้า

วันที่ 5 เม.ย.56 นี้เป็นวันแรกที่แหล่งก๊าซในพม่าจะปิดปรับปรุง และหยุดจ่ายก๊าซมายังไทย ในช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เมษายน โดยบริษัท ปตท. ในฐานะผู้จัดหาก๊าซ เปิดเผยว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติ
ในพม่าจะเริ่มหยุดจ่ายในช่วงเวลาเที่ยงวันที่5 เม.ย.56 โดยทยอยลดปริมาณก๊าซในท่อลง จนหยุดจ่ายในที่สุด และกลับมาจ่ายก๊าซอีกครั้งในช่วงเที่ยงวันที่ 14 เมษายนนี้ ปตท.ระบุว่า ระหว่างนี้ หาก
แหล่งก๊าซอื่นมีปัญหา จะมีก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) สำรองไว้ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต นำมาใช้ทดแทน

ในด้านการเตรียมความพร้อม กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัทปตท. รวมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วงระหว่างวันที่ประเมินว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงสูงจะอยู่ระหว่างเวลา 14.00 น. -15.00 น.

ก่อนหน้านี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ประสานภาคอุตสาหกรรม เพื่อขอความร่วมมือลดใช้ไฟฟ้า โดยมีโรงงานบางส่วนปิดทำการในวันนี้ ขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กจะเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า ทำให้มีปริมาณไฟฟ้าสำรองเพิ่มขึ้นระหว่าง 1,600 - 1,700 เมกะวัตต์ นอกจากนี้หน่วยงานอื่น ๆ ของภาครัฐและเอกชน เช่นห้างสรรพสินค้าร่วมประหยัดไฟฟ้า ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมั่นใจว่าจะมีปัญหาไฟตกไฟดับ

เมื่อเร็วๆ นี้เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชนได้สัมภาษณ์นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ในประเด็นความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ...

นายสุรเดชระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จากการศึกษาของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภาก็คือ ประเทศไทยพึ่งพาสัดส่วนก๊าซธรรมชาติในการเป็นเชื้อเพลงผลิตไฟฟ้ามากเกินไปถึงประมาณ 70%
โดยมีสัดส่วนก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากพม่า 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งหากพม่าหยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าก็ไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ในหลักการของทุกประเทศต้องมีการแบ่งสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสมให้มีสเถียรภาพและมีความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องมีการซ่อมบำรุงอยู่แล้ว

ในด้านการเพิ่มสัดส่วนพลังงานนั้น สำหรับประเทศไทยการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ๆ ก็มักจะถูกปฎิเสธจากคนในพื้นที่ รวมทั้งโรงไฟฟ้าเก่า ก็จะต้องมีการปลดระวางในอนาคต ซึ่งมันสวนทางกัน แต่ทั้งนี้ต้องมีการกระจายสัดส่วนของโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ และทำให้ประชาชนยอมรับในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้การสร้างโรงไฟฟ้าปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีผลกระทบมากหรือน้อย และถึงเวลาหรือยังที่เราควรมาดูว่าประโยชน์ของอะไรมันจะมากกว่ากัน ซึ่งเราต้องเลือกกันแล้ว

นอกจากนี้คนไทยยังมีลักษณะที่เรียกได้ว่า "ขาดไฟฟ้าไม่ได้" เปิดสวิทซ์ต้องมีไฟ แต่ถ้าเราไปดูที่อื่นเช่น พม่า หรืออินเดีย ที่ดับทีละหลายๆ ชั่วโมง แต่บ้านเราดับ 30 นาทียังดับไม่ได้ แต่เมื่อจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ก็จะถูกต่อต้าน แบบว่าไปสร้างที่ไหนก็ได้แต่ไม่ใช่บ้านฉัน ปฎิเสธหมด ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย อะไรเสียมาก เสียน้อย ก็ต้องมาชั่งน้ำหนักกันว่าอันไหนต้องทำ ต้องตัดสินใจว่าจะทำอะไร

ซึ่งแหล่งพลังงานก็มีหลายชนิด เช่นพลังงานทดแทนที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล พลังงานหมุนเวียนอย่างลม แสงแดด ข้อดีมีและข้อเสียก็มีด้วยนั่นก็คือไม่มีความสเถียรภาพ เช่นพลังงานแสง
อาทิตย์ก็มีข้อจำกัดในตอนที่ไม่มีแสงแดด ดังนั้นหากจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็ต้องมีโรงไฟฟ้าพลังงานหลักอีกอันควบคู่กันด้วย แต่ทั้งนี้ก็กลายเป้นการลงทุนที่สูงกว่าเดิมและอาจจะต้อง
ผลักภาระค่าไฟฟ้าให้ประชาชน

นอกจากนี้นโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลช่วยเหลือประชาชน เช่น การจำนำข้าว รถคันแรก รัฐบาลก็ช่วยเหลือหมดโดยใช้เงินภาษี แต่เรื่องพลังงานนั้นรัฐบาลแทบจะไม่ได้ช่วยเลย แค่เป็นคนกลางเท่านั้น ภาระต่างๆ อยู่กับประชาชน เช่น เรื่องน้ำมัน ทำมันก๊าซ LPG ทำไมถึงมีราคาถูกคือแค่ 18 บาท ทำไมน้ำมันเบนซินถึงราคาลิตรละเกือบ 50 บาท ก็เป็นเพราะรัฐบาลเอาเงินจากคนเติมเบนซินไปอุดหนุนคนใช้ก๊าซ LPG เป็นแค่การนำเงินจากกระเป๋าซ้าย ไปใส่กระเป๋าขวา

เช่นเดียวกันในเรื่องไฟฟ้า นโยบายให้คนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยฟรี แต่สุดท้ายก็เอาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้าฟรีนั้นมาใส่ตะกร้าแล้วหารรวมกับผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งย้อนกลับไปถึงเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะเป็นกรณีคล้ายกันคือเอาต้นทุนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะถูกรวมเป็นค่าใช้จ่ายรวม แล้วหารรวมกันเป็นค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะมองได้ว่าในเรื่องของพลังงานนั้น รัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรเลย

แต่ทั้งนี้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนสูงในปัจจุบัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะมีราคาถูกลงในอนาคต ดังนั้นในตอนนี้เราต้องเรียนรู้ควบคู่ไปให้ถึงจุดที่ที่คุ้มทุน ก็ต้องส่งเสริมให้มีการใช้อย่างจริงจังให้คุ้มค่า

ในด้านพลังงานชีวมวล ชีวภาพนั้น หากเราไปเร่งมากก็จะเป็นการใช้พลังงานมาก เราไปปลูกหญ้า ปลูกมัน ปลูกอ้อย เพื่อผลิตไฟฟ้าฟ้านั้นอาจจะทำไม่ทันต่อความต้องการ ส่วนเรื่องพลังงานจากเชื้อเพลิงขยะนั้นมีอุปสรรคที่คนไทยขาดการบูรณาการเรื่องขยะ ไม่มีวัฒนะธรรมการแยกขยะ ทำให้ต้นทุนในการเผาไหม้มีราคาสูง

ในด้านพลังงานหลัก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มีความกลัว โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ไม่เอาโดยกลัวมลพิษ พลังงานน้ำก็ไม่สามารถสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้แล้ว เหล่านี้เมื่อไม่เอาก็เลยหันไปใช้ก๊าซเพราะมีความง่ายกว่าทุกอย่าง เอาง่ายไว้ก่อนซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่หลากหลาย และในอนาคตอันใกล้นี้ก๊าซในอ่าวไทยของเราเองก็จะหมดแล้ว โดยก๊าซในอ่าวไทยกิโลกรัมละ 8 บาท ส่วนจากพม่าเรารับซื้อมากิโลกรัมละ 12 บาท ซึ่งเราใช้ก๊าซจากพม่าเป็นจำนวนหนึ่งในสาม แต่ก็ที่จะเริ่มไม่พอแล้วจึงต้องมีการนำเข้าก๊าซ LNG ราคากิโลกรัมละ 18 บาท เพราะต้องนำเข้าจากแหล่งอื่น

ทั้งนี้เราต้องมาพูดกันอย่างจริงจังในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าแบบอื่นๆ เพราะในการก่อสร้างแต่ละโรงนั้นต้องใช้เวลา 5-10 ปี ตอนนี้เราไม่คิดกันเพราะเราเหมือนว่ามีไฟฟ้าใช้อยู่เลยไม่เดือดร้อน รอให้ไฟฟ้าหมดถึงมาพูดกัน แต่เวลา 5-10 ปีในตอนนั้นเราจะรอได้ไหม ต้องสังวรณ์ไว้

ในด้านการวางแผนจัดการด้านพลังงานของประเทศนั้น นายสุรเดชระบุว่าต้องมองภาพรวมเป็นประชาคมอาเซียน เอาจุดแข็งด้านการผลิตของเราเป็นตัวตั้ง และประเทศเพื่อนบ้านของเรามี

ทรัพยากรรวมทั้งพลังงาน อย่าลาวและพม่า ตอนนี้เราซื้อไฟฟ้าจากลาวถึง 7,000 เม็กกะวัตต์ ดังนั้นเราต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เรามีอุตสาหกรรม ส่วนเพื่อนบ้านขายพลังงานให้เรา เราเอาทรัพยากรเขามาแล้วสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเราต้องให้ความร่วมมือในระหว่างประเทศ

ส่วนเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ ตัวอย่างจากต่างประเทศอย่างในอเมริกาและยุโรปก็ยังมีการใช้กันอยู่ และมีการเฉลี่ยสัดส่วนเชื้อเพลิงแต่ละประเภทไม่ให้เกิดความเสี่ยง แต่บ้านเรายังใช้ก๊าซสูงถึง 70% และบ้านเรายังคงเหมือนมีความกลัวเรื่องผีนิวเคลียร์ ปฎิเสธไปหมดโดยไม่ฟังว่าเทคโนโลยีในด้านนี้ไปถึงไหนแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น: