PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

'วสันต์'ย้ำร่างแก้ไขรธน.ที่มาส.ว.สิ้นสุด

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 19:15

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อดีตประธานศาลรธน.ชี้ร่างแก้ไขรธน.ที่มาส.ว.ไปต่อไม่ได้ ย้ำไม่สามารถยก รธน.ม.151 มาใช้ได้ ระบุสำนักราชเลขาฯส่งคืน เพราะขัดรธน.


นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "ระบบยุติธรรมกับทางรอดของประเทศไทย" ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ยังมองไม่เห็นทางรอดของประเทศสักเท่าไหร่ คล้ายๆ
เกิดความขัดแย้งตลอดเวลาในรอบหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเวลานี้ใส่เสื้อสีอะไรก็ลำบาก ไม่ว่าสีเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง แม้กระทั่งเดินไปไหนขณะนี้ ถ้าเป็นฝ่ายรัฐบาล ก็จะถูกเป่านกหวีดใส่ ทำ
ให้มีหน่วยงานอย่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ออกมารับลูก คดีเป่านกหวีด นำมาเป็นคดีพิเศษ เห็นว่าเป็นแค่คดีลหุโทษ ที่ทางประมวลกฎหมายอาญา ไม่สามารถออกหมายจับหรือคุมขังได้
น่าแปลกใจว่าการเป่านกหวีด ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย แต่การขว้างปาก้อนหินใส่ กลับไม่เห็นมีใครดำเนินการ ทั้งที่เป็นคดีอาญา เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติของพนักงานสอบสวนหรือไม่

นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 นั้น ถึงวันนี้ก็ยังคงมีคนพูดอยู่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่มีอำนาจรับคำร้องนี้ ต้องผ่านอัยการ พูดเป็นแผ่นเสียงตกร่อง รวมถึงมีการพูดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับ เพราะผู้ถูกร้อง ไม่ใช่บุคคลหรือพรรคการเมืองตามความหมายของ มาตรา 68 แท้
จริงมาตราดังกล่าว อยู่ในส่วนของสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพของอัยการสูงสุด ดังนั้นจึงต้องแปลความให้ประชาชนยื่นตรงต่อศาลหรือ
อัยการ เพื่อเป็นการขยายพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนให้กว้างขว้าง อีกทั้งที่มีการโต้แย้งสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่ผู้ที่ถูกร้องตามมาตรา 68 นั้น ถามหน่อยว่าสมาชิกรัฐสภาไม่ใช่บุคคลหรือ

"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวานนี้ ก็ยังมีคนส่งสัยว่า ทำไมศาลไม่สั่งให้เลิกการกระทำ ตัดสินค้างลอยไปอย่างนั้น อยากบอกว่าจะให้เลิกการกระทำอะไร ในเมื่อวันนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว. เสร็จสิ้นกระบวนการไปแล้ว และร่างกฎหมายอยู่ในชั้นของการทูลเกล้าฯ จึงไม่เป็นเหตุผลที่ศาลสั่งให้เลือกการกระทำได้ และเมื่อศาลมีคำวินิจฉัยเช่นนี้ แนวทางขณะนี้ที่มีอยู่ คือ นายกฯ ต้องไปขอพระราชทานอนุญาตนำร่างกลับคืน หรือทิ้งไว้ และรอให้สำนักราชเลขาฯ ส่งกลับคืน ซึ่งผมเดาใจว่า สำนักราชเลขาฯ คงไม่ยอมทิ้งไว้เฉยๆ คงต้องส่งกลับมา" นายวสันต์ กล่าว

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า ถือว่าขณะนี้ร่างดังกล่าวไปต่อไม่ได้แล้ว และรัฐสภาไม่สามารถที่จะดึงดันโดยใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 151 เพราะไม่ใช่กรณีที่พระมหากษัตริย์ มีพระบรมราชวินิจฉัย ที่จะไม่ลงปรมาภิไธย เนื่องจากร่างกฎหมายกดังกล่าวอยู่ในชั้นการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของสำนักราชเลขาฯ เท่านั้น ส่วนเมื่อศาลมีคำวินิจฉัยแล้ว การดำเนินการเอาผิดกับผู้ถูกร้องนั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นของ ป.ป.ช. ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรมนูญผูกพันทุกองค์กร ส่วนที่พรรคเพื่อไทยเตรียมเดินหน้าโหวตวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ค้างอยู่ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ส่วนตนก็เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปีที่แล้ว ที่ให้ยกคำร้อง มีผลทำให้คำขอต่างๆ ตกไป ดังนั้นรัฐสภาก็สามารถผลักดันร่างดังกล่าวได้ เพราะคำว่าควรจะทำประชามติ หรือแก้ไขรายมาตรา เป็นเพียงคำแนะนำ แต่ทั้งนี้หากการแก้ไขรัฐธรมนูญ มีเนื้อหาสาระขัดรัฐธรรมนูญ ก็มีสิทธิที่จะถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญได้อีก

ไม่มีความคิดเห็น: