PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

“นิวยอร์กไทม์ส” วิเคราะห์ตื้นบอก "ไทย" ประท้วงแปลก! “ต่อต้านประชาธิปไตย”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์17 ธันวาคม 2556 15:56 น.
“นิวยอร์กไทม์ส” วิเคราะห์ตื้นบอก ไทย ประท้วงแปลก!  “ต่อต้านประชาธิปไตย”
       นิวยอร์กไทม์ส – หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ส ซึ่งเป็นสื่อชั้นนำของสหรัฐฯ เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์การชุมนุมในไทยวานนี้(16) โดยข้อสังเกตว่า กรณีของไทยนั้นผิดแปลกจากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นอาหรับสปริงในตะวันออกกลาง, การปฏิวัติผ้าเหลืองในพม่า หรือการปฏิวัติสีส้มในยูเครน เพราะผู้ประท้วงไทยนั้นต้องการให้ประเทศ “ลด” ความเป็นประชาธิปไตยลงจากเดิม
     
       กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งปักหลักอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยต้องการให้ระบบรัฐสภาถูกแทนที่ด้วย “สภาประชาชน” ซึ่งเป็นการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากสาขาอาชีพเข้ามาทำหน้าที่ โดยไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งทั่วไป
     
       อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์นี้ละเลยที่จะอธิบายต่อว่า สภาประชาชนจะทำหน้าที่เพียงชั่วคราว เพื่อจัดทำแนวทางการปฏิรูปประเทศ แล้วค่อยจัดการเลือกตั้ง
     
       นิวยอร์กไทมส์ ระบุอีกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์เพื่อสลายความขัดแย้ง แต่ทางออกดังกล่าวก็ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ชุมนุม
     
       “ผมเป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น” สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสละตำแหน่งทางการเมืองเพื่อมาทำหน้าที่แกนนำขับไล่รัฐบาล กล่าวต่อกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว(12) พร้อมยอมรับว่า การประท้วงที่ยืดเยื้อ “อาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจบ้าง” แต่ก็ใน “ระยะสั้น” เท่านั้น
     
       ท่ามกลางสภาพสังคมไทยที่แตกแยก คนส่วนใหญ่ต้องการเห็นประเทศมีระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ทว่ายังมีคนกลุ่มเล็กๆโดยเฉพาะบรรดาเศรษฐีและผู้มีอำนาจที่ “หวาดหวั่น” สภาวการณ์เช่นนั้น
“นิวยอร์กไทม์ส” วิเคราะห์ตื้นบอก ไทย ประท้วงแปลก!  “ต่อต้านประชาธิปไตย”
       เนื่องจากแกนนำผู้ประท้วงบางคนมาจากตระกูลที่ร่ำรวย ผู้สังเกตการณ์จึงเปรียบเทียบการชุมนุมในไทยครั้งนี้ว่าเป็น “ภาพแย้ง” ของขบวนการ “อ็อคคิวพาย วอลล์สตรีท” ในสหรัฐฯ เพราะครั้งนี้คนไทย 1% กำลังลุกฮือต่อต้านคนอีก 99% ที่เหลือ
     
       อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงอาจจะสลับซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เพราะผู้ที่ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลมีทั้งคนรวยและคนจน ทั้งชาวกรุงเทพฯและคนจากจังหวัดภาคใต้ที่ไม่นิยมพรรคเพื่อไทย สิ่งที่เหนี่ยวนำพวกเขาเข้าไว้ด้วยกันก็คือเจตนารมณ์ที่จะโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือจะกล่าวให้ชัดก็คือ “พรรคของทักษิณ” ที่ชนะเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2001
     
       การที่กระแส “ต่อต้านประชาธิปไตย”ปรากฏขึ้นในเมืองไทยถือว่าน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อย เพราะไทยเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่เปลี่ยนมาสู่ระบอบประชาธิปไตย พลเมืองไทยทั้งชายและหญิงมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี 1897 (พ.ศ. 2440) หรือกว่า 20 ปีก่อนที่สหรัฐฯจะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 19 เพื่อห้ามการกีดกันทางเพศในการเลือกตั้งเสียอีก
     
       การชุมนุมต่อต้านประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยยังก่อให้เกิดคำถามว่า เมื่อประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นก็ย่อมต้องการความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นจริงหรือไม่? เพราะทุกวันนี้สังคมไทยมั่งคั่งกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน แต่คนกลับมีความคิดแตกแยกกันมากขึ้น
     
       แก่นแท้ของการชุมนุมดูเหมือนจะเป็นการต่อสู้ระหว่างประชาชนส่วนใหญ่กับคนส่วนน้อยที่เหลือจะทนกับความพ่ายแพ้ซ้ำซากในศึกเลือกตั้ง ซึ่งทำให้พวกเขาไม่มีอำนาจกำหนดนโยบายใดๆในระบบการเมืองแบบ “ผู้ชนะกินเรียบ” ที่เมืองไทยกำลังเป็นอยู่
“นิวยอร์กไทม์ส” วิเคราะห์ตื้นบอก ไทย ประท้วงแปลก!  “ต่อต้านประชาธิปไตย”
       อย่างไรก็ตาม วิกฤตการเมืองไทยมีหลากหลายแง่มุม และผูกพันอย่างแยกไม่ออกกับความศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเด็นสำคัญที่ปลุกเร้าให้คนไทยนับล้านๆ คนออกมาขับไล่รัฐบาลชุดนี้ก็คือความรู้สึกที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันเบื้องสูงกำลังถูกดูหมิ่นทำลายโดยกระแสนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นผู้นำตระกูลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของประเทศ
     
       เกษตรกรปลูกข้าวโพดวัย 64 ปีซึ่งมีนามว่า “หมวย” ให้สัมภาษณ์ระหว่างออกมาร่วมชุมนุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว(12)ว่า “นี่เป็นสงครามระหว่างทักษิณกับในหลวง... ทักษิณมันจาบจ้วงพระองค์ท่านมานานเกินไปแล้ว”
     
       แม้ตัว ทักษิณ เองจะไม่เคยให้ร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ทว่าพรรคพวกของเขาหลายคนก็ต้องคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง
     
       การที่กองทัพก่อรัฐประหารโค่นรัฐบาลทักษิณลงในปี 2006 กลับทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งมองเขาเป็นวีรบุรุษที่ถูกทำร้ายโดย “ระบอบอำมาตย์” และหันมาเชิดชูทักษิณโดยไม่ใส่ใจพฤติกรรมทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นในสมัยที่เขายังเรืองอำนาจ หรือแม้กระทั่งผลของ “สงครามต่อต้านยาเสพติด” ที่ทำให้มีการฆ่าตัดตอนเกิดขึ้นถึง 2,800 ราย ในเวลาเพียง 3 เดือน
“นิวยอร์กไทม์ส” วิเคราะห์ตื้นบอก ไทย ประท้วงแปลก!  “ต่อต้านประชาธิปไตย”
       ดร.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมาย ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้ความเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยว่า กลุ่มผู้มีอำนาจและบุคคลใกล้ชิดสถาบันเกรงจะถูกแทนที่โดย “ขั้วอำนาจใหม่” ซึ่งมีบุคคลอย่าง ทักษิณ เป็นสัญลักษณ์
     
       ดร.วีรพัฒน์ ยังอ้างถึงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นองค์กรที่ครอบครองที่ดินในกรุงเทพมหานครมากที่สุด และถือหุ้นอยู่ในบริษัทใหญ่ๆหลายแห่ง ซึ่งผู้จัดการทรัพย์สินเหล่านี้เองเป็นกลุ่มหนึ่งที่ “อยู่เบื้องหลัง” การชุมนุม
     
       ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสถาบันกษัตริย์ไทย เสนอข้อคิดว่า วิกฤตการเมืองไทยเวลานี้ถูกกระตุ้นโดยการสร้างภาพลักษณ์ที่แตกต่างระหว่างพระมหากษัตริย์ซึ่งถูกยกย่องเป็นดั่งสมมติเทพ กับนักการเมืองที่สกปรกและฉ้อโกง
     
       “เรามีภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่สะอาดบริสุทธิ์ไร้ที่ติในทุกๆด้าน... ก็ถ้าเราไม่สร้างภาพลักษณ์อย่างนี้ขึ้นมาเสียแต่ต้น สังคมจะไม่เกิดปัญหา และไม่มีการประณามด่าว่านักการเมืองมากมายเช่นนี้” สมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี 2010
     
       ช่วงไม่กี่วันมานี้ โฆษกผู้ประท้วงบางคนกล่าวว่า การที่ไทยยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปในปี 1932 ถือเป็น “ความผิดพลาด” ขณะที่แกนนำก็เรียกร้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อคลี่คลายวิกฤตชาติ
     
       อนุชิต สพันธุ์พงษ์ หรือ “โอ อนุชิต” นักแสดงชื่อดังของไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเมื่อเร็วๆนี้ว่า ตนเกลียดชังนักการเมืองฉ้อโกงเสียจนอยากกลับไปเกิดในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
     
       “ผมว่าเวลานี้เรายังไม่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตย... เรายังไม่เข้าใจประชาธิปไตยดีพอ แม้กระทั่งตัวผมเอง”

ไม่มีความคิดเห็น: