PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

สมช.พร้อม ใช้พรก.ฉุกเฉิน หาก การชุมนุมยกระดับความรุนแรง

บอร์ดกอ.รมน. มีมติ ใช้ พรบ.ความมั่นคง รับม็อบ ยันสถานการณ์ยังไม่เข้าข่ายใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ เผยกำลังทหาร 20 กองร้อย-ตร.2หมื่น พร้อมสั่ง ตร.-ทหาร ทำแผนใช้กำลัง รองรับสถานการณ์รุนแรง พร้อมให้เจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมหาทางออก จี้ผู้ว่าการประปา-การไฟฟ้า เคลียร์สหภาพฯอย่าตัดน้ำ – ตัดไฟ

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กอรมน.ได้มีการพูดคุยในเรื่องการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลกลุ่มผู้ชุมนุม โดยให้ตำรวจและทหาร ไปพูดคุยวางแผนร่วมกันและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด พร้อมมอบหมายให้ พล.อ.อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก ในฐานะ เลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(ลธ.รมน.) และ พล.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม ผช.ผบ.ตร. ไปหารือร่วมกัน ทั้งนี้ ที่ประชุมยืนยันตรงกันว่ายังไม่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ และยังคงยืนยันที่จะใช้ พรบ.ความมั่นคง ฯ ต่อไป

ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะร้องขอกำลังจากเจ้าหน้าที่ทหารก็ให้ไปตกลงพูดคุยกัน โดยร้องขอผ่านกระทรวงกลาโหม ขณะนี้มีการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ทหาร 20 กองร้อย เจ้าหน้าที่ตำรวจ 20,000 นาย

เมื่อถามว่า หากมีการยกระดับกฎหมายพิเศษโดยออกเป็น พรก.ฉุกเฉิน จะมอบให้ใครเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกฉฺน( ผอ.ศอฉ.) พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้พูดถึงตรงนั้น เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ รองผอ.รมน. ได้ยกตัวอย่างเมื่อปี 2553 พร้อมชี้แจงรายละเอียดที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต บทสรุปคือยังไม่ต้องยกระดับกฎหมาย และให้ใช้ พรบ.ความมั่นคงตามเดิม

ทั้งนี้ที่ประชุม เป็นห่วงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จึงได้สั่งการให้ทุกส่วนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจ หากมีช่องทางใดที่สามารถเข้าไปพูดคุยกับผู้ชุมนุมได้ก็ต้องช่วยกัน เพราะแนวทางของเจ้าหน้าที่ยังยึดแนวทางสันติวิธีเป็นหลัก รูปแบบการใช้กำลังจะเป็นไปตามขั้นตอนตามหลักสากล แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังให้มากที่สุด และเน้นการปฏิบัติในเชิงสันติวิธี

สำหรับการประเมินสถานการณ์ในช่วงที่ผู้ชุมนุมจะปิดพื้นที่ 20 จุดสำคัญในกรุงเทพ ฯนั้น พล.ท.ภราดร กล่าวว่า สำหรับพื้นที่สำคัญที่จะใช้กำลังทหารและตำรวจดูแลร่วมกัน ให้ทั้งสองส่วนไปประเมินสถานการณ์ร่วมกัน โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยข่าวเป็นหลัก

หากสถานการณ์วันที่ 13 ม.ค.นี้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นก็จะไม่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ใช่หรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าว่า ณ ตอนนี้ ยังมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ยังไม่ถึงจุดนั้น เพราะเรามีการระวัง ป้องกัน ระงับ ยับยั้ง โดยการพูดคุย สร้างความเข้าใจกับประชาชน ให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อที่จะได้ไม่นำไปสู่ความุรนแรง

ส่วนเหตุการณ์รุนแรงในระดับใดจึงจะประกาศ พรก.ฉุกเฉิน พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ความจริงแล้วตัวกฎหมายที่ให้ความรุนแรงไว้ตรงจุดนั้น ตอนนี้ยังไปไม่ถึง ซึ่งกฎหมายได้ระบุไว้ว่าหากเกิดเหตุที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย หรือเรียกว่าเกิดข้อจำกัด และ ลามไปถึงการก่อการร้าย รวมถึงการประทุษร้ายต่อชีวิต และทรัพย์สิน หากถึงจุดนั้นแล้วถึงจะยกระดับเป็น พรก.ฉุกเฉินฯ แต่ตนเชื่อว่าสถานการณ์จะยังไปไม่ถึงจุดนั้น

ถามว่า มีการเตรียมพร้อมในการเลือกผอ.ศอฉ. หากประกาศพรก.ฉุกเฉินหรือไม่ พล.ท.ภราดร กล่าวว่า หากผ่านตรงนั้นต้องผ่านคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งผใ เลขาธิการ สมช.เป็น เลขานุการคณะกรมการ

สำหรับการเตรียมรับมือการตัดน้ำ –ตัดไฟในสถานที่ราชการนั้น พล.ท.ภราดร กล่าว่า ได้มีการพูดคุยกันในที่ประชุม และได้มีการประสานไปยังสหภาพรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้า และ การประปา และได้มอบหมายให้ผู้ว่าการฯ ทั้ง 2 องค์กรไปพูดคุยทำความเข่าใจกับกลุ่มสหภาพแล้ว ซึ่งบรรยากาศจะเน้นการพูดคุยสื่อสารกันเป็นหลัก

ส่วนกรณีที่ นปช.จะออกมาชุมนุมในวันที่ 13 มค.นั้น ได้มีการสืบสภาพแล้วว่า จะไม่มีการจัดให้เผชิญหน้า และจะไม่เข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ซึ่งคิดว่าตรงนี้จะไม่มีการเผชิญหน้ากัน
21

ไม่มีความคิดเห็น: