PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

๑๑ตรวจแถวทหารเช็กขุมกำลังเอ็กเซอร์ไซซ์๑๑

ท่ามกลางกลิ่น "ปฏิวัติรัฐประหาร" ฉุนกึก เมื่อมีความ เคลื่อนไหวการขนย้ายกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์จากหน่วยทหารทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเข้ามาในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์เพื่อสวนสนามในวันกองทัพไทย วันที่ 18 มกราคม 2557 ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีการสวนสนามยานยนต์ เพื่อเป็นการแสดงแสนยานุภาพ ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และความเข้มแข็งของกองทัพบก กองทัพไทย และถือเป็นสวนสนามวันกองทัพบกครั้งสุดท้าย ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนจะเกษียณ ก.ย.ปีนี้

สำหรับกำลังพลประกอบไปด้วย กำลังทหาร-รถถัง-รถเกราะ ทหารบูรพาพยัคฆ์-ทหารเสือราชินีฯ-รบพิเศษ-ทหารม้ารถถัง รถเกราะ ทหารพรานหญิงใต้ ทหารรักษาพระองค์ พล.1 รอ. พล.ปตอ. รวมทั้งหมด 20 กองพัน นี่จึงเป็นที่มาของข่าวลือ หรือหวาดวิตกว่า จะเกิดการรัฐประหาร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ เพราะสถานการณ์การเมืองแบบนี้ มีทหาร เข้ามามากมายแบบนี้

นั่นก็เป็นการคาดคะเนกันไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อมี "ควัน" ย่อมมี "ไฟ" ฉันใด เมื่อมี "เหตุให้ปฏิวัติ" ก็มีโอกาสเกิดการ "ปฏิวัติ" ได้ฉันนั้น

ทั้งนี้ เพื่อประมวลสัญญาณต่างๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผมจะขอนำเอาบทเรียนการปฏิวัติครั้งล่าสุด คือ 19 กันยายน 2549 มาเปรียบเทียบกับเงื่อนไข รวมทั้งขุมกำลัง ในกองทัพในปี 2553 ว่า มีโอกาสที่รถตีนตะขาบจะออกมาเพ่นพ่านกลางกรุงมากน้อยแค่ไหน

โดยเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่เร่งชนวนให้เกิดปฏิวัติปี 2549 คือ การข่าวที่แจ้งว่า มีนักการเมืองฮาร์ดคอร์ซีกรัฐบาลกำลังจะนำมวลชนฝ่ายสนับสนุนทักษิณมาชนกับม็อบพันธมิตรในวันที่ 20 กันยายน 2549 ซึ่งอาจทำให้เกิดการนองเลือดครั้งใหญ่

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) จึงตัดสินใจนำกำลังเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยมีรายงานว่า พล.อ.สนธิ มีคำสั่งให้พลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี จำนวน 3 กองร้อย เตรียมเคลื่อนกำลังเข้ากรุง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2549

ทั้งยังสั่งการให้ พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ในขณะนั้น) เตรียมกำลังจากกรมทหารราบ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และหน่วย รถถัง ม.พัน.4 ให้เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งรอรับคำสั่งปฏิบัติการ

ขณะที่ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 ได้สั่งการให้ทหาร 10 กองพัน เตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งกองพลทหาร ม้าที่ 1 เพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน โดยให้เบิกอาวุธและกระสุนเต็มพิกัด

เมื่อถึงวัน.. ว. เวลา.. น. ในค่ำวันที่ 19 กันยายน ก็มีข่าวทหารรบพิเศษจำนวน 3 กองร้อย เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ ก่อน ที่กำลังหลัก 3 กองพลที่ขึ้นตรงกับกอง ทัพภาคที่ 1 จะเคลื่อนพลยึดจุดยุทธศาสตร์ สำคัญในกรุงเทพฯ ไว้ได้ทั้งหมด

ส่วนกำลังพลจาก กองทัพภาคที่ 2 กองทัพภาคที่ 3 รวมทั้งอีก 2 กองพล ใน สังกัดกองทัพภาคที่ 1 คือ พล.2 รอ.ปราจีน บุรี และ พล.ร. 9 กาญจนบุรี รับผิดชอบตรึงกำลังเส้นทางสำคัญต่างๆ บริเวณ เขตปริมณฑลที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพฯ ทั้งหมด

กระนั้นเป็นที่ยอมรับกันมาทุกยุคทุกสมัยว่ากำลังที่สำคัญที่สุดในการปฏิวัติจะมาจาก 3 กองพลหลักในกรุง เทพฯ ทั้งสิ้น คือ 1.กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) 2.กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) 3.กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.)

โดยหน่วยหลักๆ ที่ใช้ในการปฏิวัติรัฐประหารแทบทุกครั้งก็คือ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) กรม ทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) และกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) กองพันทหารม้าที่ 4 (ม.พัน 4) กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ (ม.5 รอ.) กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 (ปตอ.1) กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้ อากาศยานที่ 2 (ปตอ.2) จะถูกเรียกใช้เป็นอันดับแรกหากเกิดสถานการณ์
บก.พันเอก
68

ไม่มีความคิดเห็น: