PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

6ปี ผลพวงจากการอุดหนุนแอลพีจีและดีเซลสูงถึง 5.5แสนล้านบาท

6ปี ผลพวงจากการอุดหนุนแอลพีจีและดีเซลสูงถึง 5.5แสนล้านบาท
ข้อมูลที่คุณ มนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน อดีตผู้บริหารบริษัทบางจากปิโตรเลียม รวบรวมไว้ แสดงให้เห็นถึง ความพยายามที่จะอุดหนุนราคาแอลพีจีและดีเซล ที่ต้องแลกกับเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ที่รัฐควรจะได้จากภาษี และที่ผู้ใช้เบนซินต้องกลายเป็นผู้แบกภาระเอาไว้ ในระยะ6ปี (2551-2556) สูงถึง 5.5แสนล้านบาท นั่นหมายถึงว่า หากเราปล่อยให้ราคาพลังงานสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง เราจะมีเม็ดเงินไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ได้อีกหลายสายเลยทีเดียว
เฉพาะการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปชดเชยส่วนต่างราคาแอลพีจีนำเข้า ที่ราคาตลาดโลกอยู่ระหว่าง600-1,200 เหรียญสหรัฐต่อตัน แต่รับควบคุมราคาขายที่หน้าโรงแยกก๊าซเอาไว้ที่333เหรียญสหรัฐต่อตัน ใช้เงินรวมทั้งสิ้น ประมาณ180,000 ล้านบาท โดยเฉพาะปี2555 ปีเดียว ใช้ไปเกือบ50,000 ล้านบาท
ราคาก๊าซที่ปากหลุม ซึ่งผู้รับสัมปทานขายให้ปตท. อยู่ที่ประมาณ360เหรียญสหรัฐต่อตัน ในปัจจุบัน จากที่ปี2551 อยู่ที่ราคาประมาณ 236เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นมา52.5% แต่ ราคาหน้าโรงแยกก๊าซ ยังคง333เหรียญสหรัฐต่อตันเท่าเดิม ส่วนต่างตรงนี้ คิดออกมาเป็นเงินประมาณ34,600 ล้านบาท
กองทุนน้ำมัน ยังต้องไปชดเชยราคาแอลพีจีให้กับโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อให้โรงกลั่นผลิตแอลพีจีออกสู่ตลาด (เพราะยังถูกกว่าแอลพีจีนำเข้า) คิดเป็นเงินรวมประมาณ 13,700 ล้านบาท
ในฝั่งของการเข้าไปอุดหนุนราคาดีเซลเอาไว้ ไม่ให้เกิน ลิตรละ 30บาท โดยการลดภาษีสรรพสามิต จากที่เคยเก็บ 5.30บาทต่อลิตร ลงเหลือ 0.005บาทต่อลิตร ตั้งแต่ วันที่21เม.ย.2554 จนถึงปัจจุบันนี้ รัฐสูญเสียรายได้จากภาษี ปีละ108,000 ล้านบาท หรือรวม3ปีเศษ คิดเป็นเงินประมาณ 333,000 ล้านบาท
ยังมีเงินที่กองทุนน้ำมันเคยอุดหนุนราคาในบางช่วงเพื่อไม่ให้ราคาดีเซลทะลุเกิน 30บาทต่อลิตรอีก 23,000 ล้านบาท
***ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คุณมนูญ เสนอให้รัฐบาล คสช. ปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่ง ที่ยังอยู่ 21.38บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นมาให้เท่ากับราคาแอลพีจีครัวเรือน ที่ยังตรึงเอาไว้ อยู่ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม หลังจากที่ปล่อยให้ปรับราคาขึ้นมาจาก18.13บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กลุ่มคุณรสนา เสนอตรงกันข้ามคือให้ปรับราคาแอลพีจีครัวเรือน ลงมาให้เท่่ากับแอลพีจีภาคขนส่ง
กลุ่มผู้ใช้เบนซินและแก๊สโซฮอล์ อี10 ควรจะต้องผสานเสียงให้ดังกว่านี้ ในการเรียกร้องการปรับขึ้นแอลพีจี เพราะภาระในช่วง6ปีที่ผ่านมากว่า 5.5แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินของผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ในขณะที่ผู้ใช้แอลพีจีและดีเซล ยังทำตัวเป็นเด็กที่ไม่ยอมโต ต้องให้คอยอุ้มอยู่ตลอดเวลา และร้องเสียดังกว่า เมื่อจะมีใครประกาศจะปรับราคาขึ้น
***โครงสร้างพลังงานไทยถูกนโยบายรัฐทำให้บิดเบือนไปนานจนคนหลงคิดไปว่าเรามีแอลพีจีและดีเซลราคาถูก ในช่วง6ปีที่ผ่านมา การทำให้แอลพีจีราคาถูกกว่าต้นทุน ทำให้คนหันมาใช้แอลพีจีเพิ่มขึ้นถึง128%
มองถึงประโยชน์ของประเทศโดยรวม หวังว่า คสช.จะกล้าพอที่จะลงมือสางภาระเรื่องโครงสร้างที่บิดเบือนนี้ให้จบในช่วงที่ยังอยู่ในอำนาจ ‪#‎ความไม่รู้พลังงานไทย‬

ไม่มีความคิดเห็น: