PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โปรดเกล้าฯ พรฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557

ในหลวงโปรดเกล้าฯ ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 มาตรา 30 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. 2557 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/059/2.PDF


//////
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

หน้า ๒
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา
ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“คณะกรรมการสรรหา” หมายความว่า คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔
“คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด” หมายความรวมถึงคณะกรรมการสรรหาประจํากรุงเทพมหานครด้วย “จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔ ให้มีคณะกรรมการสรรหาทําหน้าที่สรรหาบุคคลด้านต่างๆ เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
(๑) คณะกรรมการสรรหาด้านการเมือง หน้า ๓ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
(๒) คณะกรรมการสรรหาด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(๓) คณะกรรมการสรรหาด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(๔) คณะกรรมการสรรหาด้านการปกครองท้องถิ่น
(๕) คณะกรรมการสรรหาด้านการศึกษา
(๖) คณะกรรมการสรรหาด้านเศรษฐกิจ
(๗) คณะกรรมการสรรหาด้านพลังงาน
(๘) คณะกรรมการสรรหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๙) คณะกรรมการสรรหาด้านสื่อสารมวลชน
(๑๐) คณะกรรมการสรรหาด้านสังคม
(๑๑) คณะกรรมการสรรหาด้านอื่น ๆ
(๑๒) คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคณะ
มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) แต่ละคณะ ประกอบด้วยกรรมการสรรหาจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในด้านที่ได้รับการแต่งตั้ง ทําหน้าที่สรรหาบุคคลเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติบุคคลใดจะเป็นกรรมการสรรหาเกินหนึ่งคณะมิได้

ให้กรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา
ให้ประธานกรรมการสรรหาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา

ให้นําความในวรรคห้าและวรรคแปดของมาตรา ๖ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา ๖ ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตําบลในระดับจังหวัดของจังหวัดนั้นครั้งล่าสุด และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัด เป็นกรรมการสรรหา ในจังหวัดใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดด้วย

ให้กรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดเลือกกันเองเพื่อให้ได้คนหนึ่งเป็นกรรมการสรรหาแทนประธานกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดในจังหวัดใดมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลายคน ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดซึ่งมีอาวุโสสูงสุดเป็นกรรมการสรรหา

ให้คณะกรรมการสรรหาประจํากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้แทนสภาองค์กร
ชุมชนเขตในระดับจังหวัดของกรุงเทพมหานครครั้งล่าสุด และประธานกรรมการการเลือกตั้งประจํา
กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการสรรหา หน้า ๔ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ กรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่จะแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นทําการแทนมิได้
ผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ให้หมายความรวมถึงผู้รักษาราชการแทนผู้ดํารงตําแหน่ง
ดังกล่าวด้วย

ให้กรรมการสรรหาประจําจังหวัดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสี่เลือกกรรมการสรรหาประจําจังหวัด
คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหาประจําจังหวัดของคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดนั้น
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาประจําจังหวัดในตําแหน่งใด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่า
ด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเท่าที่มีอยู่
จนกว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรให้เป็นกรรมการสรรหาประจํา
จังหวัดแทน

ให้ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัด

มาตรา ๗ วิธีการประชุมและการลงมติของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามที่ที่ประชุม
คณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะกําหนด

มาตรา ๘ ให้สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งรับผิดชอบงานเลขานุการและงานธุรการ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดําเนินการสรรหาและของคณะกรรมการสรรหา เพื่อการนี้ให้สํานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ต้อง
ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชกฤษฎีกานี้

ให้กรรมการสรรหาได้รับค่าตอบแทนการประชุมครั้งละสองพันบาท และให้กรรมการสรรหา
ซึ่งเป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนได้รับค่าพาหนะเหมาจ่ายอีกคนละสามพันบาท

มาตรา ๙ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) สรรหาบุคคลซึ่งสมควร
ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติคณะละไม่เกินห้าสิบคน แต่ต้อง
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรายชื่อที่ได้รับมาตามมาตรา ๑๐ ในด้านนั้น ๆ

ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดตามมาตรา ๔ (๑๒) สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับ
การเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบุคคลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดนั้น จังหวัดละห้าคน

การสรรหาตามมาตรานี้ ให้คํานึงถึงบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านต่าง ๆ จากภาครัฐ  ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ และการให้โอกาสแก่
ผู้ด้อยโอกาส

มาตรา ๑๐ ในการสรรหาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาบุคคล
จากชื่อที่เสนอโดยนิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากําไรมาแบ่งปันกันที่อยู่ในภาคต่าง ๆ
ตามมาตรา ๙ วรรคสาม โดยแต่ละนิติบุคคลเสนอได้ไม่เกินสองชื่อหน้า ๕ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ให้นิติบุคคลที่ประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่ง เสนอชื่อต่อหน่วยงานที่สํานักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑)

มาตรา ๑๑ ในการเสนอชื่อบุคคลของนิติบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนราชการ ให้เสนอชื่อตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม แล้วแต่กรณี
(๒) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
หรือองค์การมหาชน
(๓) หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้เสนอชื่อตามมติ
ของคณะกรรมการดังกล่าว ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้หัวหน้า
หน่วยงานเป็นผู้เสนอชื่อ
(๔) นิติบุคคลที่มีลักษณะเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือสภา ให้เสนอชื่อตามมติของคณะกรรมการ
สมาคมหรือมูลนิธิ หรือคณะกรรมการของสภา
(๕) นิติบุคคลอื่นที่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้เสนอชื่อตามมติ
ของคณะกรรมการของนิติบุคคลนั้น
(๖) สถาบันการศึกษา ให้เสนอชื่อตามมติของสภาหรือคณะกรรมการสถาบัน
(๗) นิติบุคคลใดไม่มีคณะกรรมการเป็นผู้กํากับดูแลหรือบริหารงาน ให้ผู้มีอํานาจทําการแทน
นิติบุคคลนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ
มาตรา ๑๒ ให้นิติบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง เสนอชื่อตามแบบที่สํานักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด และต้องแนบเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) สําเนาทะเบียนบ้าน และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือสําเนาบัตรประจําตัวอื่น
ของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้
(๒) เอกสารที่บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อแสดงความประสงค์ว่าจะเข้ารับการสรรหาในด้านใด
ด้านหนึ่งตามมาตรา ๔
(๓) หนังสือยินยอมให้เสนอชื่อ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อจะทําหนังสือยินยอมให้มี
การเสนอชื่อเกินหนึ่งฉบับมิได้
(๔) คํารับรองของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่
รัฐธรรมนูญกําหนด
เอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อลงลายมือชื่อเพื่อรับรอง
ความถูกต้องด้วยหน้า ๖
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
แบบการเสนอชื่อที่สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมี
รายการที่กําหนดให้ผู้เสนอต้องระบุถึงความรู้ความสามารถอันเป็นที่ประจักษ์ของบุคคลซึ่งได้รับ
การเสนอชื่อด้วย
มาตรา ๑๓ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการ
การเลือกตั้งมอบหมาย ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ รวมทั้ง
ตรวจสอบว่าการเสนอชื่อเป็นไปโดยชอบด้วยพระราชกฤษฎีกานี้หรือไม่ แล้วส่งให้คณะกรรมการสรรหา
ภายในสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลาตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง เพื่อดําเนินการต่อไป
มาตรา ๑๔ ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการคัดเลือก
ให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามจํานวนที่กําหนดในมาตรา ๙ ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ภายในสิบวันนับแต่วันที่พ้นระยะเวลาตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๑๕ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้รับบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับ
การคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจาก
บัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน
(๒) พิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชี
รายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านตามมาตรา ๔ (๑) ถึง (๑๑) เสนอ ตามจํานวนที่เห็นสมควร
แต่เม่อรวมก ื ับจํานวนตาม (๑) แล้ว ต้องไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน
ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินํารายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง
ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๑๔ เพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
เมื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ให้ประกาศรายชื่อนั้นในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๖ ในกรณีที่ตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือมีเหตุ
อันสมควรที่จะแต่งตั้งเพิ่ม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะดําเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งบุคคลจาก
บัญชีรายชื่อตามมาตรา ๑๔ เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นหรือเพิ่มขึ้นก็ได้
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหรือการสรรหา หรือมีปัญหาอื่นใดเกี่ยวกับ
การดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติวินิจฉัย และเมื่อได้
ดําเนินการตามคําวินิจฉัยของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วย
พระราชกฤษฎีกานี้และกฎหมาย
ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อให้การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจประกาศเปลี่ยนแปลงระยะเวลา กําหนดให้ดําเนินการหรืองดเว้นหน้า ๗
เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
การดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามที่กําหนดไว้ใน
พระราชกฤษฎีกานี้ได้
มาตรา ๑๘ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

หน้า ๘ เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๕๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ บัญญัติว่า องค์ประกอบและจํานวน

กรรมการในคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหา จํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นที่จําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

โปรดเกล้าฯ 200 สนช.แล้ว ทหารพรึ่บ ตามคาด ห้าเสือ แม่ทัพ นายกอง อดีต ผบ.เหล่าทัพ

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ 200 สนช.แล้ว ทหารพรึ่บ ตามคาด ห้าเสือ แม่ทัพ นายกอง อดีต ผบ.เหล่าทัพ พร้อมโปรดเกล้าฯตราพระราชกฤษฏีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 7สค. 
2557

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จำนวน 200 คน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พร้อมโปรดเกล้าฯตราพระราชกฤษฏีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 7สค. 2557

ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ที่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้ง 200 คน มีบุคคล ที่มีชื่อเสียง และมีบทบาททางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา อาทิ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก, นายกล้าณรงค์ จันทิก,นาย
สมชาย แสวงการ, นายณรงค์ชัย อัครเสนณี,พล.ท.ปรีชา จันทร์ โอชาน้องชายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  มีทั้งนายทหารตั้งแต่ละดับห้าเสือ ทบ. แม่ทัพ  และอดีตผบ.เหล่าทัพ และอดีตนายทหาร มากถึง 105 นาย ตำรวจ  11 นาย ที่เหลือเป็น อดีตรัฐมนตรี อดีตผู้บริหารระดับสูง อดีต สว. สรรหา กลุ่ม ๔๐ สว.  บุคคลในภาคธุรกิจ และองค์กรอิสระที่มีชื่อเสียงหลายท่านเข้าร่วมด้วย.

/////
ประกาศ
แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้

๑. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน ๒. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช ๓. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก๕. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร ๖. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ ๗.นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ๘. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ ๙. นายกิตติ วะสีนนท์ ๑๐. พลโท กิตติ อินทสร ๑๑. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย ๑๒. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ๑๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ๑๔. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ๑๕. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ๑๖. พลเอก คณิต สาพิทักษ์ ๑๗. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง ๑๘. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์

๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ๔๖. นายตวง อันทะไชย๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชค
คณาพิทักษ์๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ๔๖. นายตวง อันทะไชย

๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ ๕๑. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ๕๒. พลเอก ทวีป เนตรนิยม ๕๓. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ ๕๔. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ๕๕. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร ๕๖. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ๕๗. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ๕๘. นายธานี อ่อนละเอียด๕๙. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ๖๐. นายธํารง ทัศนาญชลี ๖๑. พลโท ธีรชัย นาควานิช ๖๒. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ ๖๓. พลเอก ธีรเดช มีเพียร ๖๔. พลเอก นพดล อินทปัญญา ๖๕. พลเรือเอก นพดล โชคระดา ๖๖. นายนรนิติ เศรษฐบุตร ๖๗. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ๖๘. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๖๙. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ๗๐. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ ๗๑.พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ ๗๒. นางนิสดารก์ เวชยานนท์ ๗๓. นายนิเวศน์ นันทจิต ๗๔. นายบุญชัย โชควัฒนา ๗๕. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ๗๖. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข ๗๗. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ๗๘. พลตํารวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์ ๗๙. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ ๘๐. นายประมุท สูตะบุตร ๘๑. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ๘๒. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา

๘๓. นายปรีชา วัชราภัย ๘๔. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต ๘๕. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร ๘๖. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ๘๗. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ๘๘. คุณพรทิพย์ จาละ๘๙. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ๙๐. นายพรศักดิ์ เจียรณัย ๙๑. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ๙๒. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร ๙๓. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์ ๙๔. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง ๙๕. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร ๙๖. นายพีระศักดิ์ พอจิต ๙๗. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ๙๘. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ ๙๙. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ๑๐๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร ๑๐๑. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง ๑๐๒. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย ๑๐๓. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง ๑๐๔. นายภาณุ อุทัยรัตน์ ๑๐๕. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ ๑๐๖. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล

๑๐๗. นายมณเฑียร บุญตัน ๑๐๘. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ๑๐๙. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ๑๑๐. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ ๑๑๑. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ๑๑๒. นายยุทธนา ทัพเจริญ ๑๑๓. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม ๑๑๔. พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา ๑๑๕. นายรัชตะ รัชตะนาวิน ๑๑๖. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ๑๑๗. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ๑๑๘. พลโท วลิต โรจนภักดี ๑๑๙. พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ๑๒๐. นายวันชัย ศารทูลทัต

๑๒๑. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๑๒๒. พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล ๑๒๓. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ๑๒๔. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ ๑๒๕. นายวิทยา ฉายสุวรรณ ๑๒๖. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
๑๒๗. พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ ๑๒๘. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ๑๒๙. พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน ๑๓๐. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ๑๓๑. พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ๑๓๒. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ ๑๓๓. นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ๑๓๔. นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร ๑๓๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย ๑๓๖. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ๑๓๗. นายศิระชัย โชติรัตน์ ๑๓๘. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ๑๓๙.นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๑๔๐. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ ๑๔๑. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ๑๔๒. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร ๑๔๓. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ๑๔๔. พลเอก สกล ชื่นตระกูล ๑๔๕. นายสถิตย์ สวินทร ๑๔๖. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา

๑๔๗. นายสนิท อักษรแก้ว ๑๔๘. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ๑๔๙. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ๑๕๐. นายสมชาย แสวงการ ๑๕๑. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ๑๕๒. นายสมพร เทพสิทธา ๑๕๓. นายสมพล
เกียรติไพบูลย์ ๑๕๔. นายสมพล พันธุ์มณี ๑๕๕. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ๑๕๖. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ๑๕๗. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ๑๕๘. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม ๑๕๙. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว ๑๖๐. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ๑๖๑. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ ๑๖๒. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ๑๖๓. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล ๑๖๔. นายสีมา สีมานันท์ ๑๖๕. พลโท สุชาติ หนองบัว ๑๖๖. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ๑๖๗. นายสุธรรม พันธุศักดิ์ ๑๖๘. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ๑๖๙. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ๑๗๐. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ๑๗๑. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ๑๗๒. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ๑๗๓. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์ ๑๗๔. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ๑๗๕. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ๑๗๖. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล ๑๗๗.นางสุวิมล ภูมิสิงหราช ๑๗๘. นางเสาวณี สุวรรณชีพ

๑๗๙. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์ ๑๘๐. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ๑๘๑. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ ๑๘๒. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ ๑๘๓. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์ ๑๘๔. พลโท อนันตพร
กาญจนรัตน์ ๑๘๕. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ๑๘๖. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ๑๘๗. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง ๑๘๘. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช ๑๘๙. พลเอก อักษรา เกิดผล ๑๙๐. พลอากาศ
เอก อาคม กาญจนหิรัญ ๑๙๑. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ๑๙๒. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ ๑๙๓. นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ๑๙๔. นายอําพน กิตติอําพน ๑๙๕. พลโท อําพล ชูประทุม ๑๙๖. พล
ตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๑๙๗. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ๑๙๘. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ๑๙๙. พลเอก อู้ด เบื้องบน ๒๐๐. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทหาร พล.ม. 2 รอ. แจ้งความ "เสธ.เจมส์" และพวก ฐานกรรโชกทรัพย์

ทหาร พล.ม. 2 รอ. แจ้งความ "เสธ.เจมส์" และพวก ฐานกรรโชกทรัพย์ / ขณะที่ผู้ค้าพัฒน์พงศ์ บุกร้อง 'หน.คสช.' ขอความเป็นธรรม ป้อง 'เสธ.เจมส์'

พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) และกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ (ม.พัน.3 รอ.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว พล.ต.เจนณรงค์ เดชวรรณ หรือ “เสธ.เจมส์” ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม กับพวกรวม 5 คนที่ถูกร้องเรียนว่ามีส่วนพัวพันกับการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการย่านซอยพัฒน์พงศ์ เขตบางรัก ว่าแม้จะเป็นนายทหารระดับสูงแต่ถ้าพบว่าทำความผิดจริงก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและดำเนินการเอาผิดทางวินัย กองทัพจะไม่ปกป้อง เพราะถ้าคิดจะช่วยเหลือกันก็คงไม่เข้าจับกุม
ขณะที่ผู้ค้าย่านพัฒน์พงศ์ จำนวนหนึ่งเดินทางไปกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับเสธเจมส์ โดยระบุว่ากลุ่มมาเฟียเรียกเก็บเงินจากผู้ค้า จึงได้ไปร้องขอให้เสธเจมส์ช่วยแก้ปัญหา แต่กลับถูกกลุ่มมาเฟียกลั่นแกล้งโดยแจ้ง คสช. ให้วางแผนจับกุม โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
นอกจากนี้ยังอ้างว่าพวกตนได้ส่งเงินให้กับนายตำรวจ สน.บางรัก บางนาย โดยจะนำรายชื่อนายตำรวจไปมอบให้กับ คสช. ที่กองบัญชาการกองทัพบกด้วย

รวบ“หาสัน สะแต” หัวหน้ากลุ่ม RKK พัวพันบึ้มตลาดบ่อนไก่ โคกโพธิ์

กองกำลัง 5 ฝ่าย สนธิกำลัง จับกุม “นายหาสัน สะแต” อายุ 36 ปี หัวหน้ากลุ่ม RKK ผู้ต้องสงสัย ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุลอบวางระเบิดบริเวณตลาดบ่อนไก่ บ้านห้วยเปรียะ ม.3 ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อ 23 ก.ค.
นอกจากนี้ยังเคยก่อเหตุ โจมตีฐานปฏิบัติการหน่วยพัฒนาสันติที่ 42-1 ในพื้นที่บ้านเกาะแลหนัง ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 24 ส.ค.54 และ ผู้ต้องหาหมายจับตาม ป.วิอาญา คดีความผิดฐานก่อการร้าย
อย่างไรก็ตามจากการสอบปากคำผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า เป็นสมาชิกกลุ่มก่อเหตุรุนแรง รับผิดชอบเขตพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งการข่าวเจ้าหน้าที่สืบทราบว่าแนวร่วมก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่หนองจิกมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุคาร์บอมที่ เบตง ด้วย / ยอมรับว่าเป็นมือระเบิดตลาดบ่อนไก่ชน โคกโพธิ์ ปัตตานี
cr.manageronline

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สามีสวิสยิง"กฤตยา ล่ำซำ"ดับฆ่าตัวตาม

ช็อกวงการประกันภัย"กฤตยา ล่ำซำ"ถูกยิงดับคาคอนโดหรู
วันศุกร์ที่ 25 กรกฏาคม 2557 เวลา 23.04 น.

เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 22 ก.ค. ร.ต.ท.บุญลือ ทางตรง ร้อยเวร สน.ทุ่งมหาเมฆ รับแจ้งเหตุยิงกันตายใน คอนโดมิเนียมหรูส่วนตัว ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ รีบไปตรวจสอบพร้อมด้วยเจ้าหน้ามูลนิธร่วมกตัญญูจากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่า ผู้เสียชีวิตชื่อ นางกฤตยา ล่ำซำ อายุ 48 ปี กรรมการในคณะอำนวยการบริหาร และกรรมการเมืองไทยประกันภัย บริษัทมหาชน ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาดเข้าที่กราม นอนเสียชีวิตจมกองเลือดในห้องนอน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่พบศพ นายเรโด้ กาสเทลลาซซี่ สามี ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นอนเสียชีวิตในห้องน้ำ ถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาดเดียวกันที่ใบหน้า สมองกระจายเต็มพื้นเป็นที่น่าสยดสยอง เบื้องต้นพบอาวุธปืนขนาด 11 มม. ในห้องน้ำ คาดว่า จะเป็นการยิงตัวตาย

จากการสอบสวนแม่บ้านที่ดูแลห้องดังกล่าว ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุทั้งคู่ออกไปว่ายน้ำ และกลับมารับประทานอาหารตามปกติ โดยตัวแม่บ้านรีดผ้าอยู่อีกห้องหนึ่ง จนได้เสียงปืนดังขึ้นหลายนัด เมื่อออกไปดูจึงเห็นว่าทั้งคู่เสียชีวิตแล้ว ทั้งนี้ไม่เคยทราบว่าทั้งคู่มีเรื่องราวขัดแย้งกันมาก่อน

อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ สันนิษฐานว่า ฝ่ายหญิงอาจมีเหตุขัดแย้งบางอย่างกับสามี จนถึงขั้นตัดสินใจเก็บเสื้อผ้าเดินทางออกจากบ้าน แต่ยังไม่ทันเก็บสัมภาระเสร็จ ก็ถูกฝ่ายชายที่กำลังโมโห ต่อว่าอย่างรุนแรง ก่อนคว้าอาวุธปืนยิงภรรยารักเสียชีวิต จากนั้นจึงคิดได้ ตัดสินใจเดินเข้าห้องน้ำ หันปากกระบอกปืนจ่อในปาก ลั่นไกฆ่าตัวตายอย่างสยดสยองดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิษณุ เครืองาม :แม่น้ำ5สาย

ดร.วิษณุ เครืองาม กับแม่น้ำ5สาย

รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ นี้เป็นเหมือนกับต้นสายแม่น้ำอีก 5 สายที่จะหลั่งไหลพรั่งพรูนับจากนี้

สายที่ 1 คือ การเกิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. สมาชิกไม่มีการสมัคร คสช. จะคัดเลือกโดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่จัดทำไว้แล้ว ให้ครอบคลุม สาขา อาชีพ ภูมิภาค เพศ วัย คุณสมบัติ คือ อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นผู้ไม่มีตำแหน่งในพรรคการเมือง เช่น หัวหน้าพรรค (ไม่ห้ามการเป็นสมาชิกพรรค) มีอำนาจ 4 ประการ คือ ออกกฎหมาย ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี การควบคุมการทำงานของรัฐบาล โดยทำได้เพียงการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี โดยไม่มีอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำไดก้เพียง อภิปรายบทั่วไปโดยไม่ลงมติ ให้ความเห็นชอบบางเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่สภา เช่น แต่งตั้งบุคคลขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

สายที่ 2 คณะรัฐมนตรี กำหนดเป็นครั้งแรกให้มีอำนาจเพิ่มขึ้นจากอำนาจบริหารราชการแผ่นดินอีก 2 อย่าง คือ อำนาจปฏิรูปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเริ่มเอง หรือ มีการเสนอมาจากส่วนอื่นๆ และ อำนาจสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น

สายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่เกิน 250 คน สมาชิกมาจากการสรรหา จากจังหวัดต่างๆ 77 คน ส่วนอีก 173 คน มาจากทั่วประเทศ โดยกำหนดด้านต่าง 11 ด้าน (เช่น การเมือง การปกครองท้องถิ่น การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม พลังงาน สื่อสารมวลชน และด้านอื่นๆ) โดยมีองค์ต่างๆ เป็นผู้เสนอชื่อเข้ามา องค์กรละ 2 คน ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาคัดเลือก ด้านละไม่เกิน 50 คน รวมแล้ว 11 ด้าน 550 คน และส่งรายชื่อไปคัดเลือกขั้นตอนสุดท้ายอีกครั้ง ทั้งนี้ ไม่มีข้อห้ามการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือ เป็นข้อราชการ เพราะถือว่า การปฏิรูปเป็นเรื่องของประเทศ ข้อจำกัดจึงน้อยที่สุด

อำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ (1) เสนอแนวทางปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ถ้าปฏิบัติได้เลยหน่วยงานเกี่ยวข้องจะรับไปดำเนินการ แต่หากต้องมีกฎหมายรองรับต้องยกร่างกฎหมายและนำเสนอ สนช. ต่อไป (2.) ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีคณะกรรมาธิการไปยกร่าง

สายที่ 4 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีเวลาทำงานยกร่าง 120 วัน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง 3 ปี ย้อนหลัง ห้ามบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และ ในอนาคตจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปอีก 2 ปี เมื่อร่างเสร็จอาจมีการแปรญัตติได้ ก่อนจะส่งให้ สภาปฏิรูปให้ความเห็นชอบ การร่างต้องร่างภายใต้กรอบ โดยเฉพาะ กรอบตาม รธน. มาตรา 35

สายที่ 5 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่

1. ให้ข้อเสนอแนะ ครม. ไปพิจารณาปฏิบัติ ซึ่ง ครม. มีสิทธิ์ ไม่ดำเนินการตามนั้นได้

2. เชิญ ครม. หารือร่วมกับคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ คสช. ไม่มีอำนาจปลด นายกรัฐมนตรี หรือ ครม. และไม่ได้เป็นพี่เลี้ยงหรือเปลือกหอย ไม่มีอำนาจบังคับ ครม. หรือ ข้าราชการใดๆ ทั้งสิ้น คสช. มีอยู่เพื่อแบ่งเบา ครม. ในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ในช่วงเวลา 1 ปี นี้ เพื่อไม่ต้องใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญอื่นใดอีก ซึ่งอำนาจนี้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 44

นายวิษณุ กล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้จะมี 48 มาตรา ยาวกว่าฉบับชั่วคราวในอดีต แต่เพื่อให้ครอบคลุมเรื่องต่างๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่เห็นว่า รธน.ฉบับนี้ มีปัญหาที่ควรแก้ไขให้สมบูรณ์ ให้ ครม. และคสช. เสนอ สนช. แก้ไขได้

11เดือน รธน.เสร็จ


“บวรศักดิ์” ชี้ยกร่าง รธน.ต้องไม่ลอกต่างชาติ ใครโกงถูกตัดสิทธิ คาด 11 เดือนเสร็จ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2557 12:28 น.



คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (แฟ้มภาพ)


“บวรศักดิ์” แจงอำนาจหน้าที่ 5 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ชั่วคราว สนช.-สภาปฏิรูปฯ ไม่มีสิทธินั่งเป็น กมธ.ยกร่าง รธน. ส่วนการยกร่าง รธน.ต้องเหมาะกับสังคมไทย ห้ามลอกต่างชาติ วางกลไกป้องกันการคอร์รัปชัน ใครโดนคดีทุจริตหมดสิทธิเล่นการเมือง ห้ามใช้ประชานิยมที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศมาเป็นนโยบายหาเสียง ส่วนปฏิทินร่าง รธน.ใหม่คาดใช้เวลา 11 เดือน 
       
       นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปประเทศไทย : การเข้าสู่อำนาจของสมาชิกรัฐสภา” ภายใต้โครงการสัมมนาสู่ทศวรรษที่เก้า ก้าวใหม่ของระบอบประชาธิปไตย ที่จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับกระทรวงกลาโหม ว่า ในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ได้ออกแบบให้มี 5 องค์กร คือ 1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 220 คน มีหน้าที่สำคัญ คือ เลือกคนเป็นนายกฯ และร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2. คณะรัฐมนตรี มีจำนวน 36 คน โดยกำหนดอำนาจเพิ่มเติมนอกจากการบริหารราชการแผ่นดิน คือ การปฏิรูป และส่งเสริมความสามัคคี สมานฉันท์ของคนในชาติ โดยการกำหนดดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และไม่ให้การยึดอำนาจเสียเปล่า จึงทำให้หน้าที่ ครม.มีหน้าที่เสนอความเห็นต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และรับความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปปฏิบัติ
       
       3. สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือที่ตนขอใช้ตัวย่อว่า สปร. เพราะฟังดูดีกว่า สปช. ที่จะแปลความคล้ายกับหลักสูตรการสอนเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต ที่ให้มีจำนวน 250 คน ทำหน้าที่ปฏิรูป 11 ด้าน เช่น การเมือง, การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย และกระบวนยุติธรรม, การศึกษา, สื่อสารมวลชน สำหรับที่มาของ สปร.จะมาจากการสรรหาระดับจังหวัด โดยมีคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด, หัวหน้าศาลประจำจังหวัด เลือกตัวแทนจังหวัดละ 5 คน จากนั้นให้ คสช.เลือกเหลือจังหวัดละ 1 คน รวมเป็น สปร.ชุดแรกจำนวน 77 คน ส่วนที่เหลือจะตั้งคณะกรรมการสรรหา รวม 11 ด้าน โดยเปิดโอกาสองค์กรที่เป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่องค์กรที่แสวงหากำไร เสนอชื่อบุคคลเข้ามาสู่การสรรหา และส่งให้ คสช.เลือกให้เหลือ 173 คน ประกอบเป็น สปร.
       
       สำหรับหน้าที่หลัก คือ 1. ทำข้อเสนอการปฏิรูปด้านต่างๆ อย่างน้อย 11 ด้าน ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 27 กำหนด จากนั้นเสนอข้อเสนอไปยัง สนช., ครม. หรือ คสช. เพื่อพิจารณาออกกฎหมาย และ 2. ให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณายกร่าง และให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่มีอำนาจในการทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยตนเอง ดังนั้นประเด็นที่เกี่ยวกับรัฐธรมนูญ สปร. มีสิทธิ 3 ประการ คือ 1. อภิปรายเสนอแนะ กรอบหรือแนวคิดหลักเพื่อให้ กมธ.ยกร่างฯ นำไปพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ 2. เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ กมธ.ยกร่างฯ ต้องนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญให้กับ สปร.และรับฟังความเห็น 3. ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
       
       4. กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน โดยเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีตำแหน่ง สนช., สปร. เข้าร่วมทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กำหนดกรอบไว้ 10 ประเด็น อาทิ กำหนดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ตนขอเน้นคำว่าที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย คือแปลว่าไม่เห็นด้วยกับการลอกรัฐธรรมนูญต่างประเทศมาใช้ แต่ต้องยกร่างบทบัญญัติที่เหมาะสมกับสังคมไทย, กำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อต้องการกำกับการทุจริตในภาคเอกชนที่เสมือนเป็นผู้ให้
       
       กำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันบุคคลที่ทุจริต ซื้อเสียง เข้าดำรงตำแหน่งการเมืองอย่างเด็ดขาด ดังนั้นบุคคลที่คิดจะซื้อเสียง หรือทำทุจริตในอนาคตมีความเสี่ยงที่จะถูกตัดออกจากระบบการเมืองไปตลอดชีวิต, กำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากการชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ไม่ให้มีหุ่นเชิดทางการเมือง
       
       กำหนดกลไกที่ป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนระยะยาว ทั้งนี้มีความหมายถึงโครงการประชานิยม แต่ไมได้ห้ามโครงการประชานิยมทุกประเภท แต่ห้ามในโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบอบเศรษฐกิจระยะยาว, กำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า เท่ากับว่าหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เงินที่อยู่นอกงบประมาณในหน่วยงานต่างๆ ต้องได้รับการตรวจสอบ
       
       สำหรับตารางเวลาทำงานของอค์กรต่างๆ จะเริ่มนับ 1 จากการเรียกประชุม สปร.นัดแรก โดยมีกรอบปฏิทินคือ จากการประชุมนัดแรก ภายในระยะเวลา 15 วันต้องตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ, ภายใน 60 วัน สปร.ต้องให้ความเห็นต่อและกรอบคิดต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปยกร่างรัฐธรรมนูญ, ภายใน 180 วัน กมธ.ยกร่างฯ ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จ, ภายใน 10 วันต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปยัง สนช., สปร. และ คสช.เพื่อเสนอความเห็น จากนั้นภายใน 30 วันสปร. ต้องพิจารณาและเสนอญัตติเพื่อขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อ กมธ.ยกร่างฯ โดย กมธ.ยกร่างจะแก้ไขหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้รวมเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จ ประมาณ 11 เดือน

สมาคมธนาคารไทยตรวจสอบคนไทยเพื่อสหรัฐ?

สมาคมธนาคารไทยตรวจสอบคนไทยเพื่อสหรัฐ? 

ล่าสุดปรากฏว่า ธนาคารพาณิชย์ของไทยรุกล้ำตรวจสอบคนไทยเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา


1) สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปเป็นลูกค้าเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ปรากฏว่าต้องกรอกเอกสารยุบยับ ตอบคำถามผ่านแบบฟอร์มชนิดหนึ่ง อ้างว่า เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันการปลีกเลี่ยงภาษี สหรัฐอเมริกา หรือFATCA (Foreign Account Tax Compliance Act) ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา สมาคมธนาคารไทยขอความร่วมมือธนาคารทุกแห่งในประเทศไทย ให้ลูกค้าที่มาเปิดบัญชีใหม่ทุกคน จะต้องกรอกเอกสารเกี่ยวกับสถานะความเป็นบุคคลของลูกค้าว่าเป็นบุคคลของอเมริกันหรือไม่ โดยจะต้องตอบคำถามเช่นว่า เป็นพลเมืองอเมริกันหรือไม่ มีกรีนการ์ดหรือไม่? มีถิ่นที่อยู่ในอเมริกาหรือไม่? ตลอดจนมีธุรกรรมการเงินต่างๆนานาเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกาหรือไม่ เป็นต้น แถมยังต้องเซ็นต์ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลการเงินต่างๆทั้งจำนวนเงินและความเคลื่อนไหวทางบัญชี ข้อมูลส่วนตัว เลขประจำตัวผู้เสียภาษีฯลฯให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ FATCA แถมต้องยินยอมหักเงินจากบัญชี ต้องยินยอมให้ยุติความสัมพันธ์ทางการเงินได้โดยฝ่ายเดียวฯลฯ ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีของสหรัฐอเมริกา


2) เรื่องของเรื่องคือ ทางการของสหรัฐอเมริกาต้องการหาเงิน พยายามหาทางจัดเก็บเงินภาษีเข้าคลัง
ของประเทศสหรัฐอเมริกา พูดง่ายๆว่ากำลังถังแตกว่างั้นเถอะ จึงต้องพยายามดิ้นรนหาช่องจะรีดภาษีเอากับทุกคนที่คิดว่าตนเองสามารถทำได้ พลเมืองอเมริกันหรือใครที่อยู่ในข่ายจะถูกรีดภาษีได้ ก็จะต้องถูกตรวจสอบติดตามเพื่อหาทางเรียกเก็บภาษีต่อไป แต่ความซวยกลับมาตกที่คนไทยด้วย กลับกลายเป็นคนไทย ทำมาหากินในประเทศไทย(แถมบางคนไม่ชอบอเมริกาเสียอีก) จะเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารสัญชาติไทย ตั้งอยู่บนแผ่นดินไทยภายใต้กฎหมายไทย อยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของไทย ต้องรับภาระถูกตรวจสอบ ถูกซักถาม ถูกรอนสิทธิสำคัญหลายประการ โดยอ้างกฎหมายต่างชาติที่ออกโดยนักการเมืองของสหรัฐอเมริกาฝ่ายเดียว!


3) ถ้าคนไทยคนไหนไม่ยอมร่วมมือ ไม่ยอมตอบคำถามและไม่ยอมเซ็นต์ ยินยอมก็อาจจะถูกตัดสิทธิ ทำให้ไม่สามารถจะใช้บริการสถาบันการเงินของไทยเองได้


4) งานนี้ผลประโยชน์ตกแก่ทางการของสหรัฐอเมริกาโดยฝ่ายเดียว จะอ้างว่าเป็นความร่วมมือของไทยก็คงไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏว่าประเทศไทยโดยเฉพาะลูกค้าของธนาคารไทยจะได้ประโยชน์อะไรเลย มีแต่เสีย ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกส่งไปยังกรมสรรพากรสหรัฐ (Internal Revenue Service หรือ IRS) เพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในการตรวจสอบภาษีของชาวอเมริกันและบริษัทอเมริกันที่มีรายได้จากนอกสหรัฐ และจะถูกนำไปใช้อย่างอื่นหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศไทยเลย


5) กฎหมายของประเทศสหรัฐ แต่ออกมาเพื่อบังคับสถาบันการเงินนอกสหรัฐ แล้วสถาบันการเงินของไทยโดยสมาคมธนาคารไทย ก็นำมาบังคับเอากับลูกค้าคนไทยในประเทศไทย ลิดรอนสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยเอง ที่น่าเจ็บใจคือ คนที่รับงานหรือรับดำเนินการให้สหรัฐอเมริกา คือ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารไทยอาจจะอ้างว่า ธนาคารต้องดำเนินการเพื่อมิให้ถูกลงโทษด้วยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายจากรายได้ทุกประเภทที่เกิดจากการทำธุรกรรมในสหรัฐ เช่น การฝากเงิน การลงทุนหรือการปล่อยสินเชื่อฯลฯ แต่การมาลงโทษเอากับลูกค้าสัญชาติไทยเช่นนี้ เป็นการกระทำที่สมควร ถูกต้องหรือไม่


6) อยากตั้งคำถามเพื่อให้ได้คิดว่า หากประเทศไทยจะออกกฎหมายหรือกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษีคนไทยในสหรัฐ โดยขอให้ธนาคารทุกแห่งในสหรัฐ ให้คนอเมริกันที่เปิดบัญชีธนาคารต้องกรอกแบบฟอร์มและยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลเช่นเดียวกับที่ธนาคารไทยทำเช่นนี้ คนอเมริกันจะยอมทำไหม?


อยากจะตั้งคำถามว่า สหรัฐอเมริกาขอความร่วมมือกับประเทศไทย สร้างภาระให้คนไทยอย่างนี้ เขาจะทำกับชาติอื่นๆอีก 200กว่าชาติหรือไม่ และจะมีคนชาติไหนยอมสหรัฐอเมริกา?


สงสัยว่า หากประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ลาว เขมร พม่า ซึ่งมีคนมีรายได้ในประเทศไทยมาก จะมาขอความร่วมมือเช่นเดียวกัน สมาคมธนาคารไทยเราจะยอมเขาหรือไม่? และคนไทยจะต้องรับภาระในการกรอกแบบสอบถาม รับรองความไม่ใช่คนของประเทศนั้นๆอีกกี่สิบกี่ร้อยครั้ง? สหรัฐอเมริกาไม่มีวิธีอื่นที่จะตรวจสอบเก็บภาษีคนอเมริกันที่ฉลาดกว่านี้หรือ?


7) การตรวจสอบการเงินคนไทยในกรณีนี้ ถือเป็นการขืนใจบังคับให้คนไทยทุกคนต้องรับภาระ เป็นภาระไม่ใช่เพื่อชาติไทยแต่เพื่อชาติอเมริกาโดยกฎหมายภายในของอเมริกา เพื่อประโยชน์ของอเมริกา
ประเทศไทยไม่ใช่เมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา!


ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

อภิสิทธิ์ เตือนสมาชิกห้ามเกี่ยวข้องสนช.


"พี่มาร์คห้าม สมาชิก ปชปเข้าไปยุ่งกับ สนช.และสภาปฏิรูป ไม่ฟังโดนเชือด...."

"คุณหญิงกัลยา"เผยหน.พรรคฯ หวั่นถูกครหาปชป.มีส่วนได้ส่วนเสีย สั่งห้ามเป็น"สนช."เด็ดขาด เตือนไม่ฟังจะไม่ส่งสมัครส.ส.

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันแล้วว่าจะไม่มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการปฏิรูป ทั้งนี้หากสมาชิกพรรคคนไหนต้องการที่เข้าไปเป็น สนช.ก็ถือเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ต้องมีการขอความเห็นชอบจากนายอภิสิทธิ์ก่อน ที่สำคัญคือ ต้องรับเงื่อนไขว่าหากเข้าไปเป็น สนช.แล้ว จะต้องไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเชื่อว่านายอภิสิทธิ์คงไม่อนุญาต เนื่องจากจะถูกครหาว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งนี้ และในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็คงทำได้เพียงแสดงความคิดเห็นเท่านั้น

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

"ในหลวง" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวหน้า คสช.เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทาน รธน...

"รัฐธรรมนูญชั่วคราว 48 มาตรา" โดยสรุป คือ

"รัฐธรรมนูญชั่วคราว 48 มาตรา" โดยสรุป คือ
>> ตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 220 คน, สภาปฏิรูป 250 คน, กำหนดคุณสมบัตินายกฯ+รัฐมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใน 3 ปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้ง และต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ให้อำนาจ สนช.ชงชื่อนายกฯ, ขีดเส้น กมธ.ยกร่าง รธน.ถาวรเสร็จใน 120 วัน, ให้คงประกาศ+คำสั่ง คสช.ไว้ต่อไป, ปิดท้ายด้วย ม.48 นิรโทษฯผู้เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจ
>> สรุปรายละเอียดเพิ่มเติม
- การแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 220 คน โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ถวายคำแนะนำ ในส่วนมีคุณสมบัติ สนช.ที่น่าสนใจ อาทิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกไล่ออกจากราชการ และต้องไม่เคยถูกพิพากษาให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สนช. ประธาน สนช. และรองประธาน สนช.
- สำหรับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีทั้งสิ้น 250 คน โดย คสช.เป็นผู้ถวายคำแนะนำ ซึ่งต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี สำหรับคุณสมบัติต้องห้ามเช่นเดียวกับ สนช. นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ประธาน กมธ. 1 คนโดย คสช.เป็นผู้เสนอ ที่เหลือให้ สปช.เสนอจำนวน 20 คน อีก 15 คนให้ สนช. คณะรัฐมนตรี และ คสช.เสนอฝ่ายละ 5 คน ทั้งนี้ได้กำหนดให้ กมธ.ยกร่างให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน รวมไปถึงกำหนดห้าม กมธ.ยกร่างรัฐรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระยะเวลา 2 ปีหลังจากพ้นตำแหน่ง
- การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี+คณะรัฐมนตรีนั้น ได้กำหนดให้ สนช.ลงมติเพื่อทูลเกล้าฯผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกฯแก่พระมหากษัตริย์ รวมไปถึงรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน โดยได้กำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่มาเป็นนายกฯและรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมไปถึงต้องไม่เป็น สนช. สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ กรรมการในองค์กรอิสระต่างๆด้วย
- นอกจากนี้ยังได้บัญญัติเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองของ คสช.ไว้ในมาตรา 42 โดยให้คงอำนาจ คสช.ไว้ตามประกาศเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 ไว้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ส่วนมาตรา 47 ได้ระบุถึงประกาศและคำสั่งทั้งหมดของ คสช.ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
และในมาตรา 48 ได้กล่าวถึงการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง โดยระบุ “บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โปรดเกล้า รธน.ชั่วคราว2557(เนื้อหา)












เปิด รธน.ชั่วคราว

เปิด รธน.ชั่วคราว 48 มาตรา ตั้ง สนช. 220 คน สภาปฏิรูป 250 - นิรโทษฯ คสช.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กรกฎาคม 2557 20:56 น.  

       ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมี 48 มาตรา ตั้ง สนช. 220 คน - สภาปฏิรูป 250 คน กำหนดคุณสมบัตินายกฯ - รัฐมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใน 3 ปี ก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้ง และต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้อำนาจ สนช. ชงชื่อนายกฯ ขีดเส้น กมธ.ยกร่าง รธน. ถาวรเสร็จใน 120 วัน พร้อมให้คงประกาศ - คำสั่ง คสช. ไว้ต่อไป ปิดท้ายด้วย ม.48 นิรโทษฯผู้เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจ

       
       วันนี้ (22 ก.ค.) เมื่อเวลา 19.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำสำเนารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาแจกให้กับสื่อมวลชน โดยกล่าวว่า ในวันที่ 23 ก.ค. คณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะมีการชี้แจงถึงรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้งในเวลา 10.00 น.
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีเนื้อหาทั้งหมด 48 มาตรา โดยมีสาระสำคัญในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 220 คน โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ถวายคำแนะนำ ในส่วนมีคุณสมบัติ สนช. ที่น่าสนใจ อาทิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกไล่ออกจากราชการ และต้องไม่เคยถูกพิพากษาให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สนช. ประธาน สนช. และรองประธาน สนช.
       
       สำหรับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีทั้งสิ้น 250 คน โดย คสช. เป็นผู้ถวายคำแนะนำ ซึ่งต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี สำหรับคุณสมบัติต้องห้ามเช่นเดียวกับ สนช. นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ประธาน กมธ. 1 คนโดย คสช. เป็นผู้เสนอ ที่เหลือให้ สปช. เสนอจำนวน 20 คน อีก 15 คนให้ สนช. คณะรัฐมนตรี และ คสช. เสนอฝ่ายละ 5 คน ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ กมธ. ยกร่างให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน รวมไปถึงกำหนดห้าม กมธ. ยกร่างรัฐรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระยะเวลา 2 ปีหลังจากพ้นตำแหน่ง
       
       ในส่วนของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีนั้น ได้กำหนดให้ สนช. ลงมติเพื่อทูลเกล้าฯผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกฯแด่พระมหากษัตริย์ รวมไปถึงรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน โดยได้กำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่มาเป็นนายกฯ และรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมไปถึงต้องไม่เป็น สนช. สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ กรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ด้วย
       
       นอกจากนี้ ยังได้บัญญัติเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองของ คสช. ไว้ในมาตรา 42 โดยให้คงอำนาจ คสช. ไว้ตามประกาศเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 ไว้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ส่วนมาตรา 47 ได้ระบุถึงประกาศและคำสั่งทั้งหมดของ คสช. ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป และในมาตรา 48 ได้กล่าวถึงการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง โดยระบุ “บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
       
       สำหรับรายละเอียดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีดังนี้ 
       
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
       
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
       
       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยคณะทหารและตํารวจได้นําความกราบบังคมทูลว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จนลุกลามไปสู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ ขาดความสามัคคีและมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
       
       แม้รัฐจะแก้ไขปัญหาด้วยกลไกและมาตรการทางกฎหมาย เช่น นํากฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะต่าง ๆมาบังคับใช้ ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และฝ่ายที่ไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น องค์กรธุรกิจภาคเอกชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภา ได้พยายามประสานให้มีการเจรจาปรองดองกัน แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ กลับจะเกิดข้อขัดแย้งใหม่ในทางกฎหมายและการเมือง เป็นวังวนแห่งปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ความขัดแย้งได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น
       
       จนถึงขั้นจลาจลได้ทุกขณะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของประชาชนผู้สุจริตกระทบต่อการทํามาหากินและภาวะหนี้สินของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศการป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความเชื่อถือในอํานาจรัฐ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติทั้งยังเปิดช่องให้มีการก่ออาชญากรรมและความไม่สงบอื่นเพิ่มขึ้น อันจะเป็นการทําลายความมั่นคงของชาติและความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด
       
       คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ โดยได้กําหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้สามระยะคือระยะเฉพาะหน้า เป็นการใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวงและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ที่สะสมมากว่าหกเดือนให้คลี่คลายลง
       
       เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤตให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย ความรู้รักสามัคคี และความเป็นธรรม แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จําเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่นๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาการเมืองให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป
       
       ในการดําเนินการดังกล่าวนี้จะให้ความสําคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตยเพียงประการเดียว จึงจําเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนําความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง ไม่ชัดเจน ไร้ทางออกในยามวิกฤติ ขาดประสิทธิภาพหรือไม่เป็นธรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชนในชาติ ซึ่งควรใช้เวลาไม่ยาวนาน หากเทียบกับเวลาที่จะต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ผันแปรไปตามยถากรรม
       
       จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทําขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
       
       มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
       
       มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภาให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
       
       มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางสภานติิบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
       
       มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
       
       มาตรา ๕ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุดจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
       
       มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
       
       มาตรา ๗ การถวายคําแนะนําเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คํานึงถึงความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       มาตรา ๘ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       
       (๑) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       (๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
       
       (๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
       
       (๔) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
       
       (๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
       
       (๖) เคยต้องคําพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
       
       (๗) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
       
       (๘) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก
       
       (๙) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้
       
       มาตรา ๙ สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อ
       
       (๑) ตาย
       
       (๒) ลาออก
       
       (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       
       (๔) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๒
       
       (๕) ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม
       
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
       
       มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       มาตรา ๑๑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
       
       มาตรา ๑๒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
       
       มาตรา ๑๓ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอํานาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภารองประธานสภา และกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถามการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
       
       มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอไดก้ ็แต่โดยคณะรัฐมนตรีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากรการจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงินการค้ําประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตราในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นคณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
       
       มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
       
       มาตรา ๑๖ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกําหนดองค์ประชุมให้แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ก็ได้เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้
       
       มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาสําคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
       
       มาตรา ๑๘ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผ้นู ั้นในทางใดมิได้เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคําสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดหากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี
       
       มาตรา ๑๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่างๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคําดังต่อไปนี้
       
       “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” 

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคําแนะนําตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนําการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และให้นําเอกสิทธิ์ตามมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การชี้แจงแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม

       มาตรา ๒๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       
       (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
       
       (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
       
       (๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
       
       (๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
       
       และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       
       (๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่าง
       
       รัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
       
       (๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง
       
       ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
       
       ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ
       
       ต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)
       
       มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติเมื่อได้ประกาศใช้พระราชกําหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกําหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกําหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกําหนดดังกล่าวตกไปการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา ๒๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย พระราชอํานาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอํานาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
       มาตรา ๒๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพสัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศหนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องหนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติเมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
       
       มาตรา ๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวงอธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย
       
       มาตรา ๒๕ บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
       
       มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
       
       มาตรา ๒๗ ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ
       
       ดังต่อไปนี้
       
       (๑) การเมือง
       
       (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
       
       (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
       
       (๔) การปกครองท้องถิ่น
       
       (๕) การศึกษา
       
       (๖) เศรษฐกิจ
       
       (๗) พลังงาน
       
       (๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
       
       (๙) สื่อสารมวลชน
       
       (๑๐) สังคม
       
       (๑๑) อื่น ๆ
       
       ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
       
       มาตรา ๒๘ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติคนหนึ่งและเป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ

       มาตรา ๒๙ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔)(๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และให้นําความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอํานาจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       
       มาตรา ๓๐ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดําเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
       
       (๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ ด้านละหนึ่งคณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดนั้น ๆ
       
       (๒) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความร้และประสบการณ ู ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
       
       (๓) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ และมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน แล้วจัดทําบัญชีรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองมิได้
       
       (๔) การสรรหาบุคคลตาม (๓) ให้คํานึงถึงความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส
       
       (๕) ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยบุคคลตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       
       (๖) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) เสนอ ไม่เกินสองร้อยห้าสิบคนโดยในจํานวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคนจํานวนกรรมการในคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหาจํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นท่จีําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       
       มาตรา ๓๑ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       
       (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
       
       ตามมาตรา ๒๗ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       
       (๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
       
       (๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้นในการดําเนินการตาม (๑) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไปให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรกให้นําความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
       
       มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้
       
       (๑) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรกษาความสงบแห ั ่งชาติเสนอ
       
       (๒) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จํานวนยี่สิบคน
       
       (๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอฝ่ายละห้าคนการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรกในกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ แต่ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตําแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งให้นําความในมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม



       
       ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมี 48 มาตรา ตั้ง สนช. 220 คน-สภาปฏิรูป 250 คน กำหนดคุณสมบัตินายกฯ - รัฐมนตรี ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใน 3 ปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้ง และต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้อำนาจ สนช.ชงชื่อนายกฯ ขีดเส้น กมธ.ยกร่าง รธน.ถาวรเสร็จใน 120 วัน พร้อมให้คงประกาศ-คำสั่ง คสช.ไว้ต่อไป ปิดท้ายด้วย ม.48 นิรโทษฯผู้เกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจ
       
       วันนี้ (22 ก.ค.) เมื่อเวลา 19.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำสำเนารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาแจกให้กับสื่อมวลชน โดยกล่าวว่า ในวันที่ 23 ก.ค. คณะทำงานร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะมีการชี้แจงถึงรายละเอียดเนื้อหาอีกครั้งในเวลา 10.00 น.
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มีเนื้อหาทั้งหมด 48 มาตรา โดยมีสาระสำคัญในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 220 คน โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ถวายคำแนะนำ ในส่วนมีคุณสมบัติ สนช.ที่น่าสนใจ อาทิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, ต้องไม่เป็นผู้ที่เคยถูกไล่ออกจากราชการ และต้องไม่เคยถูกพิพากษาให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน โดยให้หัวหน้า คสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สนช. ประธาน สนช. และรองประธาน สนช.
       
       สำหรับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีทั้งสิ้น 250 คน โดย คสช.เป็นผู้ถวายคำแนะนำ ซึ่งต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี สำหรับคุณสมบัติต้องห้ามเช่นเดียวกับ สนช. นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มี คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ประธาน กมธ. 1 คนโดย คสช.เป็นผู้เสนอ ที่เหลือให้ สปช.เสนอจำนวน 20 คน อีก 15 คนให้ สนช. คณะรัฐมนตรี และ คสช.เสนอฝ่ายละ 5 คน ทั้งนี้ได้กำหนดให้ กมธ.ยกร่างให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน รวมไปถึงกำหนดห้าม กมธ.ยกร่างรัฐรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระยะเวลา 2 ปีหลังจากพ้นตำแหน่ง
       
       ในส่วนของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีนั้น ได้กำหนดให้ สนช.ลงมติเพื่อทูลเกล้าฯผู้ที่เหมาะสมเป็นนายกฯแก่พระมหากษัตริย์ รวมไปถึงรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน โดยได้กำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้ที่มาเป็นนายกฯและรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง รวมไปถึงต้องไม่เป็น สนช. สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ กรรมการในองค์กรอิสระต่างๆด้วย
       
       นอกจากนี้ยังได้บัญญัติเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองของ คสช.ไว้ในมาตรา 42 โดยให้คงอำนาจ คสช.ไว้ตามประกาศเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 ไว้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ส่วนมาตรา 47 ได้ระบุถึงประกาศและคำสั่งทั้งหมดของ คสช.ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป และในมาตรา 48 ได้กล่าวถึงการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง โดยระบุ “บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
       
       สำหรับรายละเอียดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มีดังนี้ 
       
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
       
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
       
       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยคณะทหารและตํารวจได้นําความกราบบังคมทูลว่าตามที่ได้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน จนลุกลามไปสู่แทบทุกภูมิภาคของประเทศ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ ขาดความสามัคคี
       
       และมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ
       
       การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้รัฐจะแก้ไขปัญหาด้วยกลไกและมาตรการทางกฎหมาย เช่น นํากฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในภาวะต่าง ๆมาบังคับใช้ ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และฝ่ายที่ไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น องค์กรธุรกิจ
       
       ภาคเอกชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภา ได้พยายามประสานให้มีการเจรจาปรองดองกัน แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ กลับจะเกิดข้อขัดแย้งใหม่ในทางกฎหมายและการเมือง เป็นวังวนแห่งปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น ในขณะที่ความขัดแย้งได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น
       
       จนถึงขั้นจลาจลได้ทุกขณะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของประชาชนผู้สุจริตกระทบต่อการทํามาหากินและภาวะหนี้สินของเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศการป้องกันปัญหาจากภัยธรรมชาติ ความเชื่อถือในอํานาจรัฐ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
       
       ทั้งยังเปิดช่องให้มีการก่ออาชญากรรมและความไม่สงบอื่นเพิ่มขึ้น อันจะเป็นการทําลายความมั่นคงของชาติและความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงจําเป็นต้องเข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
       
       สิ้นสุดลง ยกเว้นความในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ โดยได้กําหนดแนวทางการแก้ปัญหาไว้สามระยะคือระยะเฉพาะหน้า เป็นการใช้อํานาจสกัดการใช้กําลังและการนําอาวุธมาใช้คุกคามประชาชน ยุติความหวาดระแวงและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง ที่สะสมมากว่าหกเดือนให้คลี่คลายลง
       
       เพื่อเตรียมเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทําหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ ฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย ความรู้รักสามัคคี และความเป็นธรรม แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จําเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาการเมือง
       
       ให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ในการดําเนินการดังกล่าวนี้จะให้ความสําคัญแก่หลักการพื้นฐาน
       
       ยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตยเพียงประการเดียว จึงจําเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนําความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง ไม่ชัดเจน ไร้ทางออกในยามวิกฤติ ขาดประสิทธิภาพหรือไม่เป็นธรรม
       
       ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชนในชาติ ซึ่งควรใช้เวลาไม่ยาวนาน หากเทียบกับเวลาที่จะต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าปล่อยให้สถานการณ์ผันแปรไปตามยถากรรม จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทําขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป
       
       มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
       
       มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญนี้และภายใต้บังคับมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ที่ใดในบทบัญญัติดังกล่าวอ้างถึงรัฐสภาหรือประธานรัฐสภาให้หมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี
       
       มาตรา ๓ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางสภานติิบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
       
       มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
       
       มาตรา ๕ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ประเพณีการปกครองดังกล่าวต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หรือเมื่อมีกรณีที่เกิดขึ้นนอกวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา หรือศาลปกครองสูงสุดจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ แต่สําหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
       
       มาตรา ๖ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยยี่สิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
       
       มาตรา ๗ การถวายคําแนะนําเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คํานึงถึงความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       มาตรา ๘ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       
       (๑) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       (๒) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
       
       (๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
       
       (๔) เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
       
       (๕) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
       
       (๖) เคยต้องคําพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
       
       (๗) อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
       
       (๘) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพนันในฐานความผิดเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก
       
       (๙) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือรัฐมนตรีในขณะเดียวกันมิได้
       
       มาตรา ๙ สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อ
       
       (๑) ตาย
       
       (๒) ลาออก
       
       (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       
       (๔) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๒
       
       (๕) ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเกินจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม
       
       ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย
       
       มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       มาตรา ๑๑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ต้องอุทิศตนให้แก่การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
       
       มาตรา ๑๒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
       
       มาตรา ๑๓ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอํานาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภารองประธานสภา และกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถามการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และกิจการอื่นเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่
       
       มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอไดก้ ็แต่โดยคณะรัฐมนตรีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากรการจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงินการค้ําประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตราในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นคณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
       
       มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
       
       มาตรา ๑๖ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สําคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ ในกรณีนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะตราข้อบังคับกําหนดองค์ประชุมให้แตกต่างจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ก็ได้เมื่อมีปัญหาสําคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด จะเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจมิได้
       
       มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีปัญหาสําคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
       
       มาตรา ๑๘ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใด ๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผ้นู ั้นในทางใดมิได้เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคําสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดําเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคําในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดหากถ้อยคําที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคํานั้นมีลักษณะเป็นความผิดอาญา หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยเมื่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี
       
       มาตรา ๑๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐมนตรีอื่นอีกจํานวนไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนํา ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคําดังต่อไปนี้
       
       “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติถวายคําแนะนําตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคําแนะนําการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และให้นําเอกสิทธิ์ตามมาตรา ๑๘มาใช้บังคับแก่การชี้แจงแสดงความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามมาตรานี้ด้วยโดยอนุโลม
       
       มาตรา ๒๐ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       
       (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
       
       (๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
       
       (๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
       
       (๔) ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
       
       และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
       
       (๕) ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่าง
       
       รัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
       
       (๖) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง
       
       ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
       
       ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ
       
       ต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง หรือเมื่อมีกรณีตามมาตรา ๙ (๑) หรือ (๒)
       
       มาตรา ๒๑ เมื่อมีกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติเมื่อได้ประกาศใช้พระราชกําหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกําหนดนั้นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้พระราชกําหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่พระราชกําหนดนั้นใช้บังคับ เว้นแต่พระราชกําหนดนั้นมีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกําหนดดังกล่าวตกไปการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกําหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่ไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
       
       มาตรา ๒๒ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย พระราชอํานาจในการพระราชทานอภัยโทษ และพระราชอํานาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
       มาตรา ๒๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพสัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศหนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องหนังสือสัญญาที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางตามวรรคสอง หมายถึง หนังสือสัญญาเกี่ยวกับการค้าเสรี เขตศุลกากรร่วม หรือการให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือทําให้ประเทศต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติเมื่อมีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นกรณีตามวรรคสองหรือวรรคสามหรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
       
       มาตรา ๒๔ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวงอธิบดี และเทียบเท่า ผู้พิพากษาและตุลาการ ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และข้าราชการฝ่ายอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และทรงให้พ้นจากตําแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตําแหน่งเพราะความตาย
       
       มาตรา ๒๕ บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใด ๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
       
       มาตรา ๒๖ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
       
       มาตรา ๒๗ ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ
       
       ดังต่อไปนี้
       
       (๑) การเมือง
       
       (๒) การบริหารราชการแผ่นดิน
       
       (๓) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
       
       (๔) การปกครองท้องถิ่น
       
       (๕) การศึกษา
       
       (๖) เศรษฐกิจ
       
       (๗) พลังงาน
       
       (๘) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
       
       (๙) สื่อสารมวลชน
       
       (๑๐) สังคม
       
       (๑๑) อื่น ๆ
       
       ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ําและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
       
       มาตรา ๒๘ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่าสามสิบห้าปี ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติคนหนึ่งและเป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกินสองคน ตามมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       
       มาตรา ๒๙ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ (๒) (๓) (๔)(๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) และให้นําความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติโดยอนุโลม แต่การวินิจฉัยตามมาตรา ๙ วรรคสอง ให้เป็นอํานาจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       
       มาตรา ๓๐ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติดําเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
       
       (๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ ด้านละหนึ่งคณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลําเนาในจังหวัดนั้น ๆ
       
       (๒) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้านจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความร้และประสบการณ ู ์เป็นที่ยอมรับของบุคคลในด้านนั้น ๆ
       
       (๓) ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ และมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในแต่ละด้าน แล้วจัดทําบัญชีรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองมิได้
       
       (๔) การสรรหาบุคคลตาม (๓) ให้คํานึงถึงความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ การกระจายตามจังหวัด โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส
       
       (๕) ให้คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดประกอบด้วยบุคคลตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       
       (๖) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติคัดเลือกบุคคลที่เห็นสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) เสนอ ไม่เกินสองร้อยห้าสิบคนโดยในจํานวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจําจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคนจํานวนกรรมการในคณะกรรมการสรรหาแต่ละคณะ วิธีการสรรหา กําหนดเวลาในการสรรหาจํานวนบุคคลที่จะต้องสรรหา และการอื่นท่จีําเป็น ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       
       มาตรา ๓๑ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       
       (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
       
       ตามมาตรา ๒๗ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       
       (๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
       
       (๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้นในการดําเนินการตาม (๑) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไปให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (๒) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรกให้นําความในมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
       
       มาตรา ๓๒ ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการจํานวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคลดังต่อไปนี้
       
       (๑) ประธานกรรมาธิการตามที่คณะรกษาความสงบแห ั ่งชาติเสนอ
       
       (๒) ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จํานวนยี่สิบคน
       
       (๓) ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอฝ่ายละห้าคนการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นครั้งแรกในกรณีที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยให้ถือว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่าที่เหลืออยู่ แต่ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนตําแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตําแหน่งให้นําความในมาตรา ๑๘ มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม
       
       มาตรา ๓๓ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปีและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
       
       (๑) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เว้นแต่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       
       (๒) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
       
       (๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙
       
       (๔) เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดํารงตําแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒)แล้วเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนําความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ (๒) ความเห็นของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความเห็นของประชาชนรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด้วย
       
       มาตรา ๓๕ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
       
       (๑) การรับรองความเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
       
       (๒) การให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย
       
       (๓) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งกลไกในการกํากับและควบคุมให้การใช้อํานาจรัฐเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
       
       (๔) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทําการอันทําให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม เข้าดํารงตําแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
       
       (๕) กลไกที่มีประสิทธิภาพที่ทําให้เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือดําเนินกิจกรรมได้โดยอิสระ ปราศจากการครอบงําหรือชี้นําโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       
       (๖) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ
       
       (๗) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
       
       (๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
       
       (๙) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทําลายหลักการสําคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้
       
       (๑๐) กลไกที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปเรื่องสําคัญต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ต่อไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาถึงความจําเป็นและความคุ้มค่าที่ต้องมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่จําเป็นต้องมี ให้พิจารณามาตรการที่จะให้การดําเนินงานขององค์กรดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วย
       
       มาตรา ๓๖ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทําเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติจัดให้สภาปฏิรูปแห่งชาติประชุมกันเพื่อพิจารณาเสนอแนะหรือให้ความเห็นให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสร็จสิ้นการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง คําขอแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ยื่นคําขอหรือที่ให้คํารับรองคําขอของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคําขอหรือรับรองคําขอของสมาชิกอื่นอีกมิได้ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วย และคณะรัฐมนตรีหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเสนอความคิดเห็นหรือยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในสามสิบวันนบแต ั ่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญคําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
       
       มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาคําขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดยื่นคําขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง ในการนี้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งแล้วให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นทั้งฉบับ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องมีมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความของร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดที่มิใช่สาระสําคัญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าจําเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้นเมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสองแล้ว ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้โดยให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป
       
       มาตรา ๓๘ ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนด หรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไปตามมาตรา ๓๗ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการดําเนินการเพื่อแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้น เพื่อดําเนินการแทนตามอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามมาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะเป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี ชุดใหม่มิได้
       
       มาตรา ๓๙ เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จําเป็น ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จําเป็นก็ได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น
       
       มาตรา ๔๐ เงินเดือน เงินประจําตําแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
       
       มาตรา ๔๑ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการดํารงตําแหน่งทางการเมือง มิให้นําบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
       
       มาตรา ๔๒ ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไปและมีอํานาจหน้าที่ปฏิบัติการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดํารงตําแหน่งใดในคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้ แต่ในกรณีเพิ่มเติมเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าคน และจะกําหนดให้หน่วยงานใดทําหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้ตามที่เห็นสมควร
       
       ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้ในมาตรา ๑๙ ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
       
       เพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไปในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาใด ๆอันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้
       
       มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การดําเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบหรือรับทราบจากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาให้เป็นอํานาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการให้ความเห็นชอบหรือรับทราบแทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภาก่อนที่คณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้จะเขาร้ ับหน้าที่ ให้บรรดาอํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       มาตรา ๔๔ ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
       
       มาตรา ๔๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๕ และมาตรา ๔๔ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกําหนดให้เป็นอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สําหรับผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีอํานาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้การพิจารณาและการทําคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัยที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อวรรคหนึ่งหรือรัฐธรรมนูญนี้
       
       มาตรา ๔๖ ในกรณทีี่เห็นเป็นการจําเป็นและสมควร คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีมติร่วมกันให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ โดยจัดทําเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมิได้ เว้นแต่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะเห็นชอบด้วยมติให้ความเห็นชอบต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และให้นําความในมาตรา ๓๗วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       มาตรา ๔๗ บรรดาประกาศและคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคําสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคําสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคําสั่งนั้น ไม่ว่าจะกระทําก่อนหรือหลังวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เป็นประกาศหรือคําสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ประกาศหรือคําสั่งดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือคําสั่ง แล้วแต่กรณี แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคําสั่งให้บุคคลใดดํารงตําแหน่งหรือพ้นจากตําแหน่งใดที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๔ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้บุคคลนั้นดํารงตําแหน่งนั้นหรือทรงให้บุคคลนั้นพ้นจากตําแหน่งนั้นด้วย
       
       มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
       
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000082991