PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว13พ.ย.57

มติ ปปช. ส่งสำนวน 38อดีตสว.

มติ ปปช. ส่งสำนวน 38 อดีต ส.ว. ให้ สนช. พิจารณาถอดถอน ยืนยัน มีอำนาจตาม รธน. ชั่วคราว 

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสำนวนคดีถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 ราย ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมิชอบ ประเด็นที่มาวุฒิสภาว่า ที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากให้ส่งรายงานการไต่สวนขอเท็จจริงพร้อมเอกสาร และความเห็นในคดีดังกล่าวไปยังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จะสิ้นสุดลง แต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศ ฉบับที่ 24/2557 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ยังมีผลบังคับอยู่ อีกทั้ง มาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ได้บัญญัติให้ สนช. ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ซึ่ง สนช. ได้ตราข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ.2557 กำหนดให้ สนช. มีอำนาจหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ได้
------------
ทนาย ระบุ "ยิ่งลักษณ์" อาจเดินทางเข้าชี้แจง สนช. คดีถอดถอนด้วยตนเอง ยันตรวจสำนวนทัน 28 พ.ย. แน่นอน

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา ภายหลังจากทีมทนายความ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำโดย นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง พร้อมทีมเข้าตรวจสำนวนคดีถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ จากกรณีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งสำนวนดังกล่าวมีจำนวน 10 ฉบับ มากกว่า 3 พันหน้า และจากนี้ทีมทนายจะเดินทางมาขอตรวจสำนวนทุกวันจนกว่าจะครบ เพื่อให้เข้าใจถึรายละเอียดและเนื้อหาของสำนวนคดีรวมถึงข้อกล่าวหาทั้งหมด ก่อนที่จะนำกลับไปหารือกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ จัดเตรียมเรื่องการเพิ่มเติมพยานหลักฐานในการเข้าชี้แจงต่อที่ สนช. ทั้งนี้ หากมีการกำหนดวันแถลงเปิดคดีแล้ว มีแนวโน้มที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะมาชี้แจงด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า จะสามารถตรวจสอบทันก่อนเปิดการประชุมนัดแรกในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้

นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได้มีการกำชับอะไรเป็นพิเศษในการดำเนินการ เพียงขอให้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่เท่านั้น อีกทั้งส่วนตัว นางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ยืนยันว่า ตนเองบริสุทธิ์ ไม่ได้มีเจตนาในการทุจริตแต่อย่างใด
---------
"หมอวรงค์" มอง ทนายยิ่งลักษณ์ ขอเลื่อน ยื้อเวลา ขณะเชื่ออนุกรรมการฯ ปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ได้ในวันนี้

น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกับ สำนักข่าว INN ถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเลื่อนการพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต

นายกรัฐมนตรี กรณีละเว้นปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ตามที่ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นคำร้อง เป็นวันที่ 28 พ.ย. 57 นั้น มองว่า ฝ่ายผู้ถูกร้อง ต้องการยื้อเวลา แต่ทั้งนี้

ถือเป็นข้อดี ที่จะได้มีเวลาศึกษาความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าวอย่างจริงจัง และคดีดังกล่าว อยู่ในความสนใจของประชาชนมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว จะสามารถสรุปตัวเลขและปิดบัญชีโครงการในวันนี้ได้
----------
"วัชระ" เผย พบทุจริตหลายโครงการ ร้อง ปฏิรูป สผ. ด้าน รองเลขาธิการสภาผู้แทนฯ เผย ส่งนิติกรแจ้งความ ขรก. บริษัทโกง แล้ว

นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสมัยที่ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า มี

การทุจริตในโครงการต่าง ๆ อาทิ ทุจริตห้องน้ำ 15 ล้าน อาคารกษาปณ์ ถนนประดิพัทธ์ และห้องผู้สื่อข่าว วงเงิน 5 ล้าน การทุจริตห้องออกกำลังกาย 40 กว่าล้าน

นอกจากนี้ นายวัชระ ยังต้องการถามถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ย้าย นายสุวิจักขณ์ ไปอยู่ที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แต่เหตุใดปัจจุบันยังเป็นประธานสหกรณ์ออม

ทรัพย์ของข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พร้อมขอให้มีการปฏิรูปสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และขอให้ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ

ด้าน นายคุณวุฒิ ตันตระกูล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ความคืบหน้าทางคดีมีการส่งนิติกร ไปร้องทุกข์แจ้งความข้าราชการและบริษัทแล้ว ซึ่งร้องเรียนไปยัง สน.ดุสิต และ ส่งเรื่องไป

สน.บางซื่อ ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ ส่วนความคืบหน้าของตัวบุคคล มีการสอบสวนวินัยร้ายแรงไปบ้างแล้ว รวมทั้งสาเหตุที่ไม่รับนาฬิกา เพราะยังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี
-----------
"วัชระ" ยื่นหนังสื่อถามคืบทุจริตจัดซื้อนาฬิกา สผ. 15 ล้าน อ้าง "จเร" เคยรับเรื่อง พร้อมตั้ง คกก.สอบสวนใน 3 เดือน 

นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นหนังสื่อเพื่อทวงถามกรณีทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างนาฬิกาแขวนผนังของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ในช่วงที่

นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่า ต้องการทราบผลความคืบหน้าการสอบสวนทุจริตนาฬิกา

จำนวน 15 ล้านบาท ซึ่งได้เชิญสื่อไปส่องไฟนาฬิกาที่สโมสรสภา หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการยืนยันว่า นาฬิกาดังกล่าวทำงานตลอด เวลาตรงกันทุกเรือน แต่ปรากฏว่า ขณะนี้นาฬิกาหยุดเดิน

อีกทั้ง นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการรับเรื่องดังเอาไว้ พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวนสอบสวนวินัย และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน แต่ขณะนี้ล่วงเลยมานาน

แล้ว นอกจากนี้ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน ยังได้ทำหนังสือ ถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ให้ตรวจสอบ นายสุวิจักขณ์ และพวก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

///////////
กมธ.ยกร่างรธน.

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ตั้ง 11 อนุกรรมาธิการ เดินหน้าจัดทำร่าง คาด 20 ธันวาคมนี้ เขียนเป็นรายมาตรา พร้อมยืนยันรับฟังความเห็นทุกขั้นตอน

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า วันนี้ ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการรวม 11 คณะ

แบ่งเป็นด้านเนื้อหาร่างรัฐธรรม 10 คณะ และอีก 1 คณะ จะเตรียมการจัดทำข้อเสนอแนะรวมถึงการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 10 คณะ มีประธานประจำคณะอนุ

กรรมาธิการเรียบร้อยแล้ว ส่วนสัดส่วนสมาชิกแต่ละคณะเปิดโอกาสให้ สปช. ไม่เกิน 5 คน สนช. 1 คน โดยวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ สามารถเริ่มประชุมได้ทันที โดยกระบวนการทำงานจะทำควบคู่

ทั้งด้านเนื้อหาและการรับฟังความเห็นที่ขอย้ำว่า ยังคงมีทุกขั้นตอนของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ส่งข้อเสนอแนะการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญมายังคณะกรรมาธิการยกร่าง

ตามกรอบเวลาภายใน 60 วันหลังประชุม สปช. นัดแรก คือภายในวันที่ 19 ธันวาคม จากนั้นวันที่ 20 ธันวาคม จะประชุมลงรายละเอียดเขียนเป็นรายมาตรา
----------
"คำนูณ" ระบุ เชิญพรรคการเมือง ให้ความเห็น รธน. ทำได้ ไม่ขัด คสช. ยัน เสร็จทันกรอบ 17 เม.ย. 58

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผย สำนักข่าว INN ว่า การเชิญพรรคการเมือง มาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการยก

ร่างรัฐธรรมนูญนั้น มองว่า ไม่ขัดต่อคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เพราะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ คสช. และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 และ

การยกร่างฉบับถาวร จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย รวมไปถึงพรรคการเมือง เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และให้ประเทศเดินหน้าไปได้

ขณะที่ในสัปดาห์นี้ จะประชุมกรรมาธิการยกร่างฯ ให้ได้รายชื่อคณะอนุกรรมาธิการ 10 คณะ รวมถึงประธานด้วย และการดำเนินงานของอนุกรรมาธิการฯ ขณะนี้ จะยังไม่ใช่การยกร่างรายมาตรา

แต่จะเป็นการหารือหลักการ ก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่กรรมาธิการยกร่างฯ อีกครั้ง จากนั้น เมื่อได้ข้อสรุป จึงจะเขียนเป็นรายมาตรา

ทั้งนี้ ยืนยันว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะดำเนินการเสร็จสิ้นตามกรอบในวันที่ 17 เม.ย. 2558 แน่นอน ก่อนส่งให้ที่ประชุม สปช. ให้ความเห็นต่อไป
---------
"วิษณุ" ปัดตั้งธงร่าง รธน. แนะพรรคการเมือง ขอ คสช. หากต้องการจัดประชุม เมินคนไม่ร่วม ยัน กมธ.รับฟังทุกฝ่าย

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงข้อกังวลของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ในการส่งตัวแทนเข้าเสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า อาจขัดต่อข้อบังคับ

พรรค เพราะต้องประชุมพรรค เพื่อระดมความคิดเห็นให้เป็นข้อเสนอพรรค ว่า สามารถหารือเป็นการภายในได้ แต่หากไม่สบายใจ ก็สามารถทำหนังสือขออนุญาตคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (

คสช.) ในการจัดประชุมพรรค แต่ส่วนตัวเห็นว่า ทุกพรรคมีหัวหน้าที่สามารถเป็นตัวแทนได้อยู่แล้ว ส่วนที่มีบางพรรค ระบุไม่ขอเข้าร่วมเสนอความเห็น เพราะเชื่อว่า สุดท้ายคณะกรรมาธิการมีธง

ของร่างรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ซึ่งหากคิดเช่นนั้น ก็ไม่ต้องเข้าร่วม ซึ่งไม่ใช่การท้าทาย แต่ทั้งหมดคณะกรรมาธิการต้องการฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ทุกสี และทุกกลุ่มความขัดแย้ง เพื่อให้รัฐธรรมนูญมี

ความครอบคลุมมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ยอมรับ มีการพูดคุยกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ให้คำแนะนำใด ๆ เพราะเชื่อว่าคณะกรรมาธิการ ทั้ง 36 คน สามารถดำเนินการยก

ร่างได้ เพราะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด
----------
"วินธัย" แจง พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง สามารถระดมความเห็นเพื่อเสนอ กมธ.ยกร่าง รธน. ได้ หากติดขัด สามารถขออนุญาติเป็นกรณีพิเศษได้

พันเอกวินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า กรณีกระแสข่าวจากการที่คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมแลกเปลี่ยน แต่บางกลุ่มบางพรรคอาจต้องการที่จะระดมความคิดเห็นสมาชิกเกรงกระทบเงื่อนไขเรื่องการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

ซึ่งจากการที่ได้ติดตามข่าวสารในกรณีดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ในบางกลุ่มหรือบางพรรค สามารถดำเนินการได้เลย เพราะอาจมีช่องทางการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกผ่านเครือข่ายภายในองค์กรนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ในลักษณะที่ไม่ขัดกรอบกฎหมาย โดยเฉพาะข้อมูลหรือข้อคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ที่องค์กรนั้น ๆ ได้เคยมีการรวบรวมไว้ และเตรียมจะเสนอในโอกาสที่เหมาะสม

แต่สำหรับในบางกลุ่ม อาจต้องมีวิธีการใด ๆ เสริม เพื่อให้ได้มาในเรื่องของข้อมูลข้อเสนอต่าง ๆ อาจต้องการดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติม ถ้าไม่แน่ใจ เกรงว่าการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ จะเข้าข่ายผิดเงื่อนไขจากการที่ได้เคยขอความร่วมมือกันไว้ ก็สามารถขออนุญาตบอกกล่าว หรือปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ได้เป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งเจ้าหน้าที่จะพิจารณาดูในรายละเอียดวัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ ถ้าการดำเนินการนั้น ๆ ไม่ขัดต่อแนวทางการรักษาความสงบเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติจริง ไม่ได้มีเจตนาใด ๆ แอบแฝง ก็จะพิจารณาให้ทุกครั้ง

--------
พล.อ.อนุพงษ์ ระบุ เป็นเรื่องดี คู่ขัดแย้งร่วมแสดงความเห็น กมธ.ยกร่างฯ มั่นใจ รธน.ใหม่ ลดขัดแย้งได้ เชื่อ คสช. ไม่มีปัญหา ขอทำกิจกรรมระดมความเห็น

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคการเมืองและคู่ขัดแย่งตอบรับการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ถือเป็น

เรื่องที่ดีมาก เพราะหากผู้ที่อยู่ในส่วนของการเมืองเข้ามาร่วมมือจะเกิดความชอบธรรมและความยอมรับของประชาชนมากยิ่งขึ้น ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปจะสามารถลดความขัดแย้งได้หรือไม่นั้น

หากช่วยกันหาทางให้รัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญที่เข้ากับบริบทของสังคมไทย ความขัดแย้งอาจจะดีขึ้น

นอกจากนี้ สำหรับกรณีที่บางพรรคการเมืองบางพรรคต้องการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่อนคลายในคำสั่งเรื่องการงดจัดกิจกรรมเพื่อที่สามารถประชุมพรรคได้นั้น เป็นข้อเสนอที่น่า

รับฟัง หากมีเจตนาที่ดี ซึ่ง คสช. จะต้องไปประชุมเพื่อพิจารณาว่าหากมีการผ่อนปรนแล้วจะเกิดเหตุอะไรหรือไม่
---
พล.อ.อนุพงษ์ มั่นใจ ไร้ปัญหาขัดแย้ง ใน กมธ. เชื่อการมีคู่ขัดแย้งช่วยทำให้เข้าใจกันมากขึ้น

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ประธานกรรมาธิการวิสามัญในหลายคณะ เป็นคู่ขัดแย้งเพียงฝ่ายเดียวนั้น ตนเองเคยได้ยินคนพูดกันในเรื่องของความขัดแย้ง บางคนก็คิดว่า ถ้าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ก็จะมีแต่ความขัดแย้ง แต่ถ้ามีการพูดคุยกันขึ้นก่อน ผลที่ออกมาก็จะจบ และไม่มีความขัดแย้ง เพราะถือว่ามีการพูดคุยกันแล้ว ถือว่าดีจะขัดแย้งกันอย่างไรคณะไหนก็ไปทำให้จบ ดังนั้นอยากให้มาร่วมกันทุกฝ่าย แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่ออีกฝ่ายไม่ยอมมาสมัครกันตั้งแต่แรก ซึ่งเมื่อผลออกมาก็อาจนำไปอ้างได้ว่าไม่ชอบธรรม เพราะว่าไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป
------------
หลวงปู่พุทธะอิสระ เข้าเสนอแนะ "เทียนฉาย-บวรศักดิ์" พร้อมหนุนทำประชามติ จ่อชง นายกรัฐมนตรี ปมปฏิรูปพลังงาน

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด หลวงปู่พุทธะอิสระ เดินทางเข้าพบ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อ

เสนอแนะข้อคิดเห็นในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะให้ผลักดันสถาบันการเมืองแห่งชาติ ในการดูแลจริยธรรมนักการเมือง การออกกฎหมายคนรวยห้ามแย่งอาชีพคนจน รวมถึงข้อเสนอปฏิรูปพลังงาน

90 ข้อ ทั้งนี้ จะนัดหมายไปทางเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งข้อเสนอทั้ง 90 ข้อ ให้นายกรัฐมนตรี ด้วย ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เชิญพรรคการเมือง และกลุ่มคู่ขัดแย้งเข้าร่วม

เป็นเรื่องดี หากปฏิเสธถือเป็นการไม่ให้เกียรติประชาชน และไม่เห็นแก่ประโยชน์ของชาติ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวสนับสนุนให้ทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
---------
หลวงปู่ ยื่นหนังสือ ปธ.สปช. เสนอความเห็นปฏิรูปประเทศ พร้อมขอทบทวนแบ่งปันผลประโยชน์สัมปทาน 

พระพุทธะอิสระ ยื่นหนังสือต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. โดย พระพุทธะอิสระ ระบุถึงการเข้าพบว่า ต้องการนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการ

ปฏิรูปประเทศ ทั้งในเรื่องการผลักดันสถาบันการเมืองแห่งชาติ เพื่อดูแลจริยธรรมนักการเมือง ผลักดันเรื่องการออกกฎหมายห้ามคนรวยแย่งอาชีพคนจน และเรื่องพลังงาน ที่ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้ว 90

ข้อ โดยจะขอให้พิจารณาทบทวนเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับบริษัทที่ได้รับสัมปทาน จาก 50:50 เป็น 60:40

นอกจากนี้ จะมีการเสนอเรื่องการศึกษา โดยให้ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา เน้นเรื่องโตไปไม่โกง พร้อมจะเสนอให้คดีคอร์รัปชั่นไม่หมดอายุความ และประชาชนสามารถร้องเรียนด้วยตนเอง
----------
"พระพุทธะอิสระ" ยื่นหนังสือ "บวรศักดิ์" ชงตั้ง 3 สภาหลัก ขอทุกฝ่ายร่วมปฏิรูป อย่านำอัยการศึก เป็นข้ออ้าง ยัน หนุนประชามติ

พระพุทธะอิสระ ยื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยขอให้ นายบวรศักดิ์ ตั้ง 3 สภาหลัก

คือ สภาศีลธรรมคุณธรรม สภาเพื่อเกษตรกรชาวนา และสภาพลังงาน พร้อมมองว่า ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหนังสือให้พรรคการเมือง และกลุ่มเห็นต่างเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นนั้น

เป็นเรื่องที่ดี ที่จะให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนพรรคการเมือง ที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วม ควรคำนึงถึงประชาชนที่ให้เกียรติเลือกเข้ามาเป็นตัวแทน ดังนั้น ควรทำประโยชน์ให้ประเทศ และจะได้ไม่

ถูกมองว่า เข้ามาด้วยประโยชน์ส่วนตัว เพราะเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ และขออย่านำเรื่องการประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นข้ออ้าง ส่วนการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

และ สปช. นั้น จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกคน

นอกจากนี้ พระพุทธะอิสระ ยังย้ำว่า การทำประชามติ เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อทุกอย่างชัดเจน ก็ควรจัดให้มีประชามติ
-------------------------
หลวงปู่พุทธอิสระ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเชิญพรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งมาร่วมเสนอความเห็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นเรื่องดีที่ให้ทุกพรรคการเมืองเข้ามามีส่วน

ร่วม หากพรรคใดปฏิเสธเข้าร่วมกระบวนการแสดงว่า ไม่เห็นประโยชน์ของประชาชน มุ่งแต่ประโยชน์ของพรรคตัวเอง ขอให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะได้ไม่ต้องมาพูด

ว่าเป็นผลไม้พิษ หรือกฎหมายจากการรัฐประหาร ทำให้การแก้ปัญหาไม่จบ หากใครไม่ให้ความร่วมมือ ปฏิเสธการเข้าร่วมกระบวนการแสดงความเห็นว่า มีเจตนาทำให้ประเทศชาติมีปัญหา มีเป้า

หมายให้เกิดความไม่สงบในประเทศ น่ารังเกียจมากๆ

          ส่วนที่พรรคการเมืองอยากให้ยกเลิกกฎอัยการศึก เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการแสดงความเห็นนั้น แม้จะมีกฎอัยการศึก ก็สามารถแสดงความเห็นได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาใดๆ ถ้ากฎอัยการศึกมี

ความศักดิ์สิทธิ์จริง ทำไมวัดอ้อน้อยจึงถูกยิงอยู่เป็นประจำ อย่ามาอ้างกฎอัยการศึกส่งเดชว่า ทำให้ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนการทำประชามติภายหลังการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่า สมควรทำ

เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมเต็มที่

-------------
////////////////////
ทำเนียบฯ

ปชช. ร้องศูนย์บริการ ปชช. จี้ คสช. ช่วยเหลือ กรณีถูกบริษัทเอกชนหลอกลวง

บรรยากาศที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว สำนักงาน ก.พ. นายยิ่งยศ จาดเปรม พร้อมด้วยประชาชนจำนวนหนึ่งที่ได้รับความเดือดร้อน ได้มาติดตามทวงถามความคืบหน้า หลังเคยมายื่นหนังสือปี

2556 แล้ว กรณี บริษัท ดิจิตอล คราวน์ โฮลดิ้ง จำกัด ปิดบริษัทหนี ทำให้ชาวบ้านที่ร่วมลงทุนได้รับความเสียหาย ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทดังกล่าวได้ชักชวนชาวบ้านให้ลงทุนขายน้ำมันหอมระเหย

โดยผู้เดือดร้อนบางส่วนได้นำโฉนดที่ดินไปจำนอง เพื่อนำเงินมาลงทุนรายละประมาณ 2-4 แสนบาท ซึ่งต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้เข้าไปจับกุม และอายัดเงินในบัญชีกว่า 500

ล้านบาท โดยเป็นเงินของชาวบ้าน กว่า 200 ล้านบาท

โดยล่าสุด ดีเอสไอ ได้เพิกถอนอายัดบัญชีเงินฝากบริษัทตามที่ผู้เสียหายร้องขอเพื่อนำเงินมาจ่ายให้กับชาวบ้าน แต่บริษัทกลับเพิกเฉย ดังนั้น กลุ่มชาวบ้านจึงมาขอให้ คสช. ช่วยเหลือ โดยทางเจ้า

หน้าที่ตำรวจได้เจรจาไกล่เกลี่ยโดยจะตั้งคณะกรรมการและนำเสนอให้ ครม. พิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป
------------------

/////////////
คสช.

ผบ.พล.1 รอ. ประชุมสรุปและติดตามจัดระเบียบ จยย.รับจ้าง ระยะที่ 3 เริ่มแจกเสื้อวิน ธ.ค. ขณะ 5 ธ.ค. จัดคาราวานเทิดพระเกียรติ

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ จัดประชุมสรุปผลและติดตามการจัดระเบียบรถจักรยานต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในห้วงที่ผ่านมา โดยมี พล.ต.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์ ผู้บัญชาการ

กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นประธาน และมีกองบัญชาการตำรวจนครบาล กรมการขนส่งทางบก และเจ้าหน้าที่เทศกิจกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม ซึ่งการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างในขณะนี้

อยู่ในช่วงระยะที่ 3 ที่จะเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบทุกด้านอย่างยั่งยืน ซึ่งต่อจากนี้ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างทุกคน จะต้องมีการจดทะเบียนถูกต้องครบ 100% ส่วนการแจกเสื้อวิ

นใหม่นั้น คาดว่าภายในเดือนธันวาคม นี้ จะสามารถแจกได้จำนวน 3 หมื่นตัว และจะแจกได้ครบภายในต้นปี 58

นอกจากนี้ ในวันที่ 5 ธันวาคม นี้ จะมีการจัดขบวนคาราวานวินรถจักรยานยนต์เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะให้ผู้ขับขี่ทุกคนใส่เสื้อวินตัวใหม่ที่ได้รับแจก
///////////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ หารือทวิภาคี เลขาฯ UN ขอบคุณ เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทย ย้ำ ยึด ปชช. เป็นสำคัญ นำพาประเทศสู่ ปชต.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ นายบัน กี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา วานนี้

โดยหลังเสร็จสิ้นการหารือ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการหารือ ว่า เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวยินดีที่ได้พบนายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้พบกับ

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ทำให้เข้าใจสถานการณ์การเมืองไทยมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณเลขาธิการสหประชาชาติ และได้อธิบายสถานการณ์ไทย ถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเข้ามาบริหารประเทศ และรัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะดูแลความสงบเรียบร้อย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนที่ 2 ของแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน อีกทั้ง ยังยึดมั่นและพร้อมที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาที่มีกับนานาประเทศและระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน

ไม่มีความคิดเห็น: