PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว27/11/57

Jab27Nov14
ตำรวจ

พล.อ.ประวิตร ระบุ คดี "พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์" เป็นเรื่องส่วนบุคคล ขออย่าเหมารวมทั้งองค์กรตำรวจ ชี้ ต้องเป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุถึงการปฏิรูปองค์กรตำรวจภายหลังการดำเนินคดีกับอดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางพร้อมพวก ว่า

เป็นเรื่องของบุคคล อย่าเหมารวมทั้งองค์กร เพราะทุกหน่วยงานมีทั้งคนดีและคนไม่ดี รวมทั้งต้องเป็นไปตามการสอบสวนทางกฎหมาย ขณะที่การปฏิรูปองค์กรตำรวจก็กำลังดำเนินการอยู่แล้ว

รวมไปถึงการแก้ปัญหาการซื้อขายตำแหน่ง โดยเน้นการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่ผู้บังคับบัญชาเสนอขึ้นมา พร้อมย้ำจะทำหน้าที่กำกับดูแลองค์กรตำรวจให้ดีที่สุด แต่ไม่ได้

ให้นโยบายเพิ่มเติมเป็นพิเศษ รวมถึงไม่ทราบว่ามีการแอบอ้างเรียกรับผลประโยชน์ในหน่วยงานอื่นอีกหรือไม่ โดยมั่นใจว่าตำรวจมีศักดิ์ศรีในการทำหน้าที่

//////////
สนช.ถอดถอน

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมพิจารณาสำนวนถอดถอน "นิคม-สมศักดิ์" ครั้งแรก เพื่อขอเพิ่มพยานและนัดวันแถลงเปิดคดี

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ การรักษาความปลอดภัยทั้งในและนอกอาคารเป็นไปอย่างเข้มงวด เนื่องจาก นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นัดสมาชิกประชุมในเวลา 10.00 น.

โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณาสำนวนถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.

ทั้งนี้ ที่ประชุมจะพิจารณา 2 เรื่อง คือ ให้ความเห็นชอบว่าจะอนุญาตให้ นายนิคม และ นายสมศักดิ์ เพิ่มเติมพยานหลักฐานตามที่ขอมาหรือไม่ และจะให้ตัวแทนของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงว่า

จะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ประชุม สนช. ว่าจะตัดสินใจอย่างไร จากนั้น จึงพิจารณากำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดี ซึ่งในเบื้องต้น วิป สนช. กำหนดในวันที่ 8 - 9 มกราคม 2558
-----------
สมาชิก สนช. ทยอยเตรียมตัวประชุมแล้ว ขณะ อภิสิทธิ์ พบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 10.00 น.

บรรยากาศก่อนการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ล่าสุด สมาชิก สนช. เริ่มทยอยเดินทางเตรียมตัวประชุมที่จะมีขึ้นในเวลา 10.00 น. แล้ว ซึ่งสมาชิกบางส่วนต้องประชุมกรรมาธิการชุดต่าง

ๆ อาทิ คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการ

บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ขณะในเวลาเดียวกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรม นัดประชุม โดยได้ประสานไปยังพรรคประชาธิปัตย์ ให้เข้าร่วมเสนอแนะข้อคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ

จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตอบรับเข้าร่วมในวันนี้
---------------
"พีระศักดิ์" แจงพิจารณาถอดถอน "สมศักดิ์-นิคม" วันนี้ แค่ตรวจหลักฐาน กำหนดแถลงเปิดคดี ชี้ หากเป็นตามวิปเสนอ มั่นใจ ทุกขั้นตอน จบเดือน ม.ค.ปีหน้า

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN  ว่า ในการประชุมวันนี้ จะมีการพิจารณาคดีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธาน

สภาผู้แทนราษฎร และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เป็นวาระแรก โดยขั้นตอนการพิจารณา จะให้ผู้ถูกกล่าวหาแถลงถึงหลักฐานที่ยื่นใหม่ ว่าเป็นอะไร มีลักษณะอย่างไร เคยยื่นใน

ชั้นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือไม่ และให้ผู้กล่าวหา ชี้แจงเกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าวเช่นกัน จากนั้น สนช. จะลงมติว่าจะรับหลักฐานใหม่ไว้

พิจารณาหรือไม่ และหลังจากนั้น สนช. ก็จะมีการลงมติเพื่อกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนต่อไป ส่วนหลักฐานใหม่ ก็จะส่งให้กับสมาชิกทุกคนศึกษา และหากมีข้อสงสัย ก็ให้ซักถามผ่าน กมธ.ซัก

ถามที่จะตั้งขึ้นมา ในการประชุมเพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ นายพีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังมีการกำหนดวันแถลงเปิดคดีแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ จะเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งหากเป็นไปตามที่วิปเสนอ แถลงเปิดคดีวันที่ 8 ม.ค. 58 นั้น ก็น่าจะแถลงปิด

คดีได้ภายในเดือน ม.ค. เช่นกัน และลงมติถอดถอน หลังจากแถลงปิดคดีภายใน 3 วัน
-------
"นิคม" ยื่นพยานหลักฐาน เพิ่มสู้คดีถอดถอนกรณีแก้ไขที่มา ส.ว. พร้อมขอคัดค้านอดีต 16 ส.ว. ที่ปฏิบัติหน้าที่ สนช. หวั่นมีผลประโยชน์ทับซ้อน

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้เดินทางมาใช้สิทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาในการเพิ่มเติมพยานหลักฐาน ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.

มาตรา 155 กรณีการถอดถอนตนเอง และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของ ส.ว. โดยได้นำหลักฐานเทปบันทึกการประชุมความ

ยาวกว่า 4 ชั่วโมง มายื่นต่อ สนช. เพื่อพิจารณา

นอกจากนี้ ยังขอคัดค้านผู้ที่ทำหน้า สนช. ทั้ง 16 คน ที่เคยเป็น ส.ว. เนื่องจากคาดว่าอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน และส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ สนช. นั้นไม่มีความเป็นกลาง พร้อมกันนี้ยังได้

ปฏิเสธการฟ้องกลับ สนช. ทั้ง 16 คน ถึงกรณีดังกล่าวด้วย

อย่างไรก็ตาม นายนิคม ยังกล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุม สนช. ว่า จะนำพยานดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาหรือไม่
-------------
ที่ประชุม สนช. พิจารณาการยื่นหลักฐานใหม่ของ "นิคม" และ คำคัดค้าน 16 อดีต ส.ส. ทำหน้าที่ในการลงมติ

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด ประธานได้แจ้งเรื่องที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ทำ

หนังสือคัดค้านการพิจารณาสำนวนของสมาชิก สนช. 16 คนที่เคยเป็นอดีต ส.ว. และยื่นคำร้องถอดถอน นายนิคม เพราะถือเป็นคู่ขัดแย้ง จึงเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปราย

โดย นายตวง อันทะไชย หนึ่งใน 16 สนช. ที่เคยทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา ยืนยันว่า ทั้ง 16 คนทำหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญครบถ้วน มีความเป็นกลาง บริสุทธิ์ใจในการทำหน้าที่ แต่เป็นเพราะ

ผู้ถูกร้องทำผิดจึงเข้าสู่กระบวนการถอดถอน ขณะที่ น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ยืนยันด้วยว่า ตนเองมีอิสระในความคิดและการลงมติ ขออย่าคาดการณ์ล่วงหน้าว่ามีธงถอดถอนไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมา
ต้องยอมรับการกระทำ เพราะไม่เคยมีประธานวุฒิสภาคนใดเข้าชื่อร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ
--------------
มติที่ประชุม สนช. ไม่ให้ "นิคม" เพิ่มพยานหลักฐานคดีถอดถอน นัดแถลงเปิดสำนวน 8 ม.ค. 58

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติ 82:96 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง ไม่เห็นชอบให้ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เพิ่มเติมพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีถอดถอน ส่วน นาย

สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ไม่ประสงค์ขอเพิ่มเติมพยานหลักฐาน แต่ขอยื่นเอกสารนำส่งการชี้แจง โดยก่อนหน้านี้ ภายหลังจาก นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานการประชุมได้เปิด

โอกาสให้สมาชิกอภิปรายถึงการคัดค้าน สนช. 16 คน ที่เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และยื่นคำร้องถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา เพราะถือเป็นคู่ขัดแย้ง จากนั้น ประธานการ

ประชุม ได้วินิจฉัยให้ สนช. ทั้ง 16 คน ร่วมพิจารณาและลงมติได้ ตามอำนาจหน้าที่ของ สนช. ในมาตรา 5 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการ

วินิจฉัยที่เกิดขึ้นในวงงาน สนช. ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนคดีของ ป.ป.ช. ในวันที่ 8 มกราคม 2558 เวลา 10.00 น.

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมวันนี้ ยังมีวาระพิจารณาร่างกฎหมายหลายฉบับในวาระ 2 และ 3 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
-----------
พรเพชร ยันกระบวนการถอดถอน นิคม-สมศักดิ์ ยึดตามขั้นตอน พร้อมเผย 9 มกราคม 2558 กำหนดแถลงเปิดคดียิ่งลักษณ์

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. กล่าวว่า ขั้นตอนการพิจารณากระบวนการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุ

รนนท์ อดีตประธานรัฐสภา เป็นไปตามขั้นตอน ส่วนมติที่ประชุมไม่เห็นชอบให้ นายนิคม เพิ่มเติมพยานหลักฐาน ได้ข้อเท็จจริงว่า แผ่นดีวีดี 2 แผ่นมีการตัดต่อย่อส่วนจากดีวีดี 91 แผ่น ซึ่งมีอยู่แล้ว

ในสำนวน ส่วนวันแถลงเปิดคดีก็เป็นวันที่ 8 มกราคม ปี 2558 ส่วนการพิจารณาคดีถอดถอนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีกำหนดนัดประชุมในวันพรุ่งนี้ ต้องดูว่าทีมทนาย

ความ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะมีการเสนอเพิ่มเติมเอกสารหรือไม่ เพราะหากมีการเพิ่มเอกสารก็ต้องใช้เวลาในการศึกษารายละเอียด ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. จะพิจารณา 2 เรื่อง คือ การกำหนดวันแถลง

เปิดคดี เบื้องต้นกำหนดเป็นวันที่ 9 มกราคม ปี 2558 และการพิจารณาคำขอพยานหลักฐานเพิ่มเติม

///////////
กมธ.รธน.

"อภิสิทธิ์" พบกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถกปฏิรูป หนุนนายกฯ มาจากการเลือกตั้ง แนะประชามติ เพื่อลดการโต้แย้ง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนเข้าพบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า วันนี้มาร่วมให้ข้อเสนอแนะในนามส่วนตัว ไม่ใช่ในนามพรรค ซึ่งตนเองอยากเห็นรัฐ

ธรรมนูญ สู่การปฏิรูป จึงขอเสนอใน 3 ข้อหลัก คือ รัฐธรรมนูญต้องมีความยั่งยืน จึงควรทำประชามติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน จะได้ไม่เกิดข้อโต้แย้งในภายหลัง รัฐธรรมนูญ ต้องมี

ประชาธิปไตยที่ไม่ควรลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชน และรัฐธรรมนูญตัองแก้ปัญหาหลักของระบบการเมือง โดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชันที่มีเป้าหมายเพิ่มกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล นอก

จากนี้จะเสนอแนวคิดที่แตกต่าง และการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เช่น การเลือกตั้งจะแก้ไขป้องกันอย่างไร ซึ่งต้องมีทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก นอกจากนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ยังระบุอีกว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง
------------
กมธ.ยกร่าง รธน. แถลง "อภิสิทธิ์" เสนอความเห็น 3 ประเด็น พร้อมตั้งคำถามทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีความยั่งยืน

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายธนา ชีรวินิจ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เข้าเสนอ

ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ได้เสนอมา 3 ประเด็นหลัก ทั้งนี้ ต้องมีการตั้งคำถามว่าทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีความยั่งยืน ซึ่งการทำประชามติถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้

ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และเป็นการซ้อมเลือกตั้งไปในตัว รวมถึงไม่ควรลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน

นอกจากนี้ ส.ส. และ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้ง ส.ว. ต้องมีความแตกต่างจากเลือกตั้ง ส.ส. ขณะที่องค์กรอิสระควรมีการกำหนดระยะเวลาในการทำงาน 6 เดือน และเลือกทำสิ่งที่

สำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า และไม่ต้องการให้ฝ่ายรัฐบาลแทรกแซงการทำหน้าขององค์อิสระ

อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างระบบการเมืองในภาพรวมเท่านั้น สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ปัญหาการจัดการเลือกตั้ง การป้องกันการทุจริต ตลอดจนข้อเสนอเกี่ยวกับการ

ปฏิรูปด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิรูปสื่อ สามารถนำเสนอเป็นลายอักษรได้
/////////////
ไทย-ลาว ย้ำเจตนารมณ์ ส่งเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ในทุกด้าน มั่นใจการเชื่อมทางรถไฟระหว่างกันจะปูทาง
ไปสู่การพัฒนาทั้งสองประเทศ

ภายหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พล.ท.จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศแห่ง

สปป.ลาว ในโอกาสเดินทางเยือนอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการหารือ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว กล่าวต้อนรับพร้อม
ถามถึงพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีความยินดีที่ทราบว่า ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง และขอถวายพระพรมา ณ โอกาสนี้

ทั้งนี้ ประธานประเทศแห่ง สปป. ลาว ยินดีที่ นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ ได้มีการหารือถึงความก้าวหน้าในความร่วมมือ และการลงทุนระหว่างสองประเทศ พร้อมเชื่อว่า การพัฒนาเส้นทาง

รถไฟที่จะเชื่อมต่อกันระหว่างไทยและลาว นั้น จะปูทางไปสู่การพัฒนาของทั้งสองประเทศร่วมกัน

ด้าน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความประทับใจต่อประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว ถือเป็นแบบอย่างของผู้นำประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ต่อการส่งเสริมความมั่นคงและการพัฒนา ส่วนการ

หารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย และนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว นั้น ก็ประสบความสำเร็จ โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับ และ 1 สัญญา

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้ย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์และร่วมมือกับ สปป.ลาว อย่างใกล้ชิดในทุกๆ ด้าน บนพื้นฐานของสังคมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ไทยให้

ความสำคัญแก่ความร่วมมือ โดยเฉพาะการส่งเสริมความเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย และ สปป.ลาว ซึ่งจะอำนวยความสะดวกต่อการไปมาหาสู่ระดับประชาชนและความร่วมมือทาง

เศรษฐกิจพร้อมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกด้วย
-------------
นายกฯ อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจเยือน ลาว-เวียดนาม ขณะที่ทำเนียบ "ยงยุทธ" เตรียมต้อนรับ คณะนักวิชาการชั้นนำด้านนาโนเทคโนโลยี เข้าเยี่ยมคารวะ

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเช้าวันนี้ยังคงเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ส่วนวาระการปฏิบัติของรองนายกรัฐมนตรี ในเวลา 11.30 น. คณะนักวิชาการชั้นนำด้านนาโนเทคโนโลยี จะ

เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ที่ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ขณะที่มาตรการในการรักษาความปลอดภัย ยังเป็นไปด้วยความเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่
ตำรวจประจำตามจุดตรวจทางเข้า-ออก เพื่อตรวจตราบุคคลและยานพาหนะที่ผ่านเข้าไปด้านในอย่างละเอียด

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังคงอยู่ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2557
-------
รองโฆษกฯ เผย นายกฯ เตรียมมอบของขวัญปีใหม่ ให้ ปชช. สั่ง รองนายกฯ เตรียมชี้แจงรายละเอียด ในการแถลงผลงาน 3 เดือน 25 ธ.ค. นี้

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความ

สงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีแต่ละด้านกำหนดมาตรการเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน พร้อมให้แต่ละด้านกล่าวชี้แจงรายละเอียดเอง พร้อมกับการแถลงผลงาน

ครบรอบ 3 เดือนของรัฐบาลในวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดชัดเจนในมาตรการต่าง ๆ อาทิ การเปิดค่ายทหารขายสินค้าราคาถูก การแจกที่ดินทำกินให้กับคนยากไร้ ทั้งนี้ ยืนยันว่าเป็น

มาตรการช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้เป็นรูปแบบการแจกของ

นอกจากนี้ สำหรับกระแสข่าวการแต่งตั้ง นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล อดีตนักการเมืองท้องถิ่น พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น ทางทีมโฆษกประจำสำนัก

นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นเพียงการให้เข้ามาร่วมงานเป็นทีมโฆษกฯ ของ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ และช่วยประสานงานด้านเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้เป็นการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกฯ แต่อย่างใด
------------------
นายกฯ พอใจเยือน สปป.ลาว หารือเชื่อมโยงทางรถไฟทางคู่ เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่ม สนับสนุนเงินทุนสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5-6

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเยือนสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาวในครั้งนี้ ว่า ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี

ซึ่งไทยและลาวเป็นประเทศที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด มีความใกล้เคียงทั้งภาษาและวัฒนธรรม ทั้ง 2 ประเทศเห็นพ้องที่จะสานความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างกัน

ทั้งนี้ เรื่องสำคัญที่ต้องเร่งผลักดันคือผลการพูดคุยที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เป็นการต่อยอดจากการประชุมในเวทีต่าง ๆ ที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวชายแดน เช่น เรื่องค่าผ่านแดน การ

สร้างถนนและเส้นทางต่าง ๆ โดยไทยจะสนับสนุนแหล่งทุนและเงินกู้ในการสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-ปากซัน) และพร้อมพิจารณาให้ความร่วมมือและศึกษาก่อสร้างสะพานมิตรภาพ

แห่งที่ 6 (อุบล-แขวงสาละวัน) นอกจากนี้ จะเพิ่มมิติการค้าการลงทุน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ที่มีแนวคิดจะเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มที่จังหวัดหนองคาย

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ได้หารือกับลาวเรื่องการเชื่อมโยงทางรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ- หนองคาย และลาวจะสร้างต่อ โดยจีนสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง คาดว่าดำเนินการได้

ในปีหน้า นอกจากนี้ไทยต้องการขยายตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์ โดยให้ต่างประเทศตั้งบริษัทเงินทุนในไทย โดยไทยจะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
------------
นายกฯ พบนักธุรกิจไทยในลาว ชื่นชมเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่าง 2 ประเทศ ก่อนบินไปเวียดนาม

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับนักธุรกิจไทยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสพบปะกับนักธุรกิจไทยในวันนี้

โดยนักธุรกิจเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ สปป.ลาว บนพื้นฐานของความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ โดยสร้างความตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกัน

และผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกัน ไทยพร้อมสนับสนุนการซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ตามเพดานเดิมที่ได้มีการตกลง และสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ผ่านไทยไป

มาเลเซียและสิงคโปร์ ส่วนการส่งเสริมการลงทุน ได้เสนอให้ BOI ร่วมมือกับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ปรับระเบียบของลาว เพื่อดึงดูดนักลงทุน

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า ไทยต้องการขยายการนำเข้าแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับเข้ามาทำงานในพื้นที่ตอนในของประเทศไทย  ส่วนของแรงงานประเภทไปเช้า-กลับเย็นและ

ตามฤดูกาลที่เข้ามาทำงานตามแนวชายแดน รัฐบาลต้องการปรับปรุงให้การเดินทางผ่านเข้า-ออกสะดวกยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่จะจัดทำบัตรผ่านแดนในลักษณะ Smart Card ซึ่งจะทำให้การ

เดินทางของทั้งสองฝ่ายสะดวกขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว รองรับการเปิดตลาดการค้าและเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำแก่ภาคเอกชนไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีและ

ภริยา พร้อมคณะ จะเดินทางออกจากท่าอากาศยานวัดไต โดยเครื่องบินพิเศษ RTAF 211 เพื่อเดินทางไปกรุงฮานอย ในโอกาสเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างเป็นทางการ
////////////
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมมอบนโยบายการดำเนินงานยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ

สำหรับความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันนี้ ช่วงเช้า มีกำหนดการเป็นประธานการมอบนโยบายการดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมแห่งชาติ ณ ห้องฉัตรทอง สโมสรทหารบก เทเวศร์ ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ

จากนั้น ในช่วงบ่ายจะเข้าปฏิบัติงานภายในกระทรวงกลาโหม โดยในเวลา 13.30 น. จะให้การต้อนรับ พล.ท.แสงนวน ไชยะลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการเข้าเยี่ยมคำนับ ภายในศาลาว่าการกลาโหม จากนั้น จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ครั้งที่ 4/2557
-------------------
พล.อ.ประวิตร ยัน คุมคลื่นใต้น้ำได้ ขออย่าสร้างความแตกแยก เดินหน้าตามโรดแมป ลั่น ปราบทุจริตคอร์รัปชั่นเต็มที่

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจการดำเนินของ

รัฐบาล และ คสช. ซึ่งสถานการณ์ภาพรวมยังสามารถควบคุมได้ ส่วนการที่มีนักวิชาการบางคนเสนอให้ผ่อนคลายประกาศกฎอัยการศึกนั้น เป็นการเสนอความคิดเห็นได้ แต่ยืนยันว่า รัฐบาล
และ คสช. ได้พยายามขับเคลื่อนการทำงานและแก้ปัญหาประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยและกรอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้มีการกดดัน หรือข่มเหงใคร ดังนั้นจึงขอให้หยุดการเคลื่อนไหวที่จะ

สร้างความแตกแยก เพื่อให้รัฐบาลได้เดินหน้าแก้ปัญหาประเทศตามโรดแมปที่ได้กำหนดไว้ในช่วง 1 ปี จึงขอทุกฝ่ายให้เวลารัฐบาลทำงาน พร้อมย้ำว่ารัฐบาลนี้มีความจริงจังในการปราบปรามการ

ทุกจริตคอร์รัปชั่นโดยถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ
--------
พล.อ.ประวิตร ประชุม กอ.รมน. รับทราบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่นายกฯ ลงนามแล้ว

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ
อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ครั้งที่ 4/2557 ณ ห้องภาณุรังษี ภายในศาลาว่าการกลาโหม

ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้จะเสนอเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการอำนวยการฯ ทราบ จำนวน 1 เรื่อง คือ แผนรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร ประจำปี 2558-2560 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในแผนดังกล่าว
แล้ว

นอกจากนี้ มีเรื่องเสนอเพื่อพิจารณาคือ โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ประจำปี 2558 และ
แผนปฏิบัติการสงขลา 58 กับแผนปฏิบัติการแม่ลาน 58 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 พ.ย. 57 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการอำนวยการฯ ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 26 และมาตรา 16(2)
ตามลำดับ




//////////////////

ไม่มีความคิดเห็น: