PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บทเรียนประเทศเวเนซุเอล่า สิ้นเนื้อประดาตัว สอนอะไรให้คนไทยระวัง

วันที่ 18 ม.ค.58 เผย..บทเรียนประเทศเวเนซุเอล่า สิ้นเนื้อประดาตัว สอนอะไรให้คนไทยระวัง (ตอนแรก)
ประเทศเวเนซุเอล่า อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นประเทศร่ำรวยน้ำมัน ถือเป็นหนึ่งในสมาชิก องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) และเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลกถึง 297,600 ล้านบาร์เรล เหลือเวลาผลิตได้ยาวนานถึง 310 ปี แต่แทบไม่น่าเชื่อสายตาว่า
ประเทศนี้ที่ใช้วิธีเก็บผลประโยชน์พลังงานเป็น “ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) “ นี้ กลับจำเป็นต้องก้มหน้ายอมอับอาย นำเข้าน้ำมันดิบ จากต่างประเทศ เข้ามาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติอย่างน่าอดสูใจ มันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้อย่างไร มาหาคำตอบที่น่ากลัวนี้กัน ?
พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีอูโก ชาเบซ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี แห่งประเทศเวเนซุเอลา เริ่มดำเนินนโยบายจัดเก็บค่าภาคหลวง และภาษีเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล จากธุรกิจสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จากนั้นก็ทำการ “ยึดสัมปทานน้ำมัน” และเปลี่ยนเงื่อนไข สัดส่วนการครองหุ้นให้มาอยู่ภายใต้การควบคุม ของบริษัทน้ำมันแห่งชาติเวเนซุเอลา (PDVSA) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่
แล้วใช้วิธีเก็บผลประโยชน์พลังงานเป็น “ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) “ นำรายได้ของ PDVSA ที่ได้จากการเจาะน้ำมัน ไปใช้อุดหนุนชดเชยราคาขายปลีกน้ำมัน และสวัสดิการทางสังคมเป็นจำนวนมาก แทนที่จะนำกลับมาลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศ
เรียกแบบภาษาชาวบ้านคือ ปล้นบริษัทน้ำมันมา ก็เหมือน 3 ล้อถูกหวย เอารายได้น้ำมันมาชดเชยราคาน้ำมัน และราคาสินค้า แบบบิดกลไกลตลาด ประชาชนมีนิสัยฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด และเก็บออม รัฐบาลเองด้วยความที่บริษัทน้ำมันต่างชาติว่าจ้าง NGO ให้หนุนระบบแบ่งปันผลผลิต ก็เลยอวยกันจนไม่เคยถึงอนาคต เหลิงว่าเหลือเวลาผลิตได้ยาวนานถึง 310 ปี จึงไม่เคยมีเงินคงคลังสะสม
บริษัทน้ำมันต่างชาติหลายๆ แห่ง ก็ทยอยถอนทุน หรือชะลอการลงทุน เพราะความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาล ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของประเทศเวเนซุเอลา จากที่เคยผลิตถึงระดับ 3.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจนเหลือเพียง 2.49 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณการผลิตที่ลดลงส่วนใหญ่ มาจากน้ำมันดิบเบา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบหนักพิเศษของประเทศ
ประเทศนี้มีแหล่งน้ำมันดิบหนักพิเศษแห่งหนึ่ง ที่ถูกค้นพบจำนวนมากในบริเวณโอริโนโค เบลล์ คาดว่าอาจจะมีน้ำมันดิบชนิดนี้สะสมในชั้นหินใต้ดินบริเวณนี้ถึง 1.3 ล้านล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นปริมาณเกือบเทียบเท่าปริมาณสำรองน้ำมันดิบ ที่พิสูจน์แล้ว “ของทั้งโลก” เลยทีเดียว และคาดว่าประมาณ 513,000 ล้านบาร์เรลนั้น ถ้าผลิตได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน จะเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่มีศักยภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก
แต่ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันดิบหนักพิเศษนั้น มีความหนืดสูงไม่สามารถไหลได้ หรือไหลได้ยากมากในสภาวะปกติ ทำให้ขนส่งทางท่อลำบาก นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ รวมถึงมีสารเจือปนและโลหะหนักเป็นจำนวนมาก จึงไม่ค่อยเหมาะกับโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ในตลาดโลก
ถึงกลั่นออกมาก็ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำในสัดส่วนที่มาก เช่น กลุ่มเรซิน และยางมะตอย เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับคุณภาพ หรือ “ อัพเกรดน้ำมันดิบหนักพิเศษ” นี้ให้เป็น “น้ำมันดิบที่เบาขึ้น” และมีสิ่งเจือปนน้อยลง มีคุณสมบัติที่สามารถขนส่งทางท่อ และสามารถป้อนให้โรงกลั่นน้ำมันในตลาดโลกได้
น้ำมันดิบหนักพิเศษที่ถูกค้นพบ เช่น รัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มีวิธีการปรับคุณภาพหลายแบบ ส่วนใหญ่ที่ใช้คือการผลิตเป็นน้ำมันดิบสังเคราะห์ อีกวิธีก็คือผสมกับตัวทำละลาย เช่น น้ำมันดิบเบา คอนเดนเสท หรือ แนฟทา ฯลฯ กลายเป็น “ DCO ” หรือ “DilBit”
กระบวนการปรับคุณภาพ ให้เป็นน้ำมันดิบสังเคราะห์นี้ คือ กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีของน้ำมันดิบหนักพิเศษ ให้ไปเป็นน้ำมันดิบที่เบาขึ้น และ แยกสิ่งเจือปนออกไป จนมีคุณสมบัติคล้ายๆ น้ำมันดิบทั่วไปในตลาด “ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง” ในการสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์การปรับคุณภาพ
แต่ประเทศเวเนซุเอลามีเครื่องจักร และ อุปกรณ์การปรับคุณภาพด้วยกำลังการผลิตเพียง 600,000 บาร์เรลต่อวัน และ PDVSA ก็ไม่มีเงินลงทุนมากพอ ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตด้วยวิธีนี้ เพราะเอารายได้ไปชดเชยราคาน้ำมันและราคาสินค้าจนหมดแล้ว แล้วส่วนบริษัทต่างชาติก็ไม่กล้าเสี่ยงลงทุนเพราะกลัวโดนรัฐบาลยึดอีก
ดังนั้น จึงใช้วิธีผสมกับตัวทำละลาย แนฟทา หรือผสมกับน้ำมันดิบเบา จากแหล่งน้ำมันในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการผลิต ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นขาดแคลน ทั้งๆ ที่ยังเหลือปริมาณสำรองจำนวนมหาศาล ในที่สุดประเทศเวเนซุเอลาก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเบา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
จากประเทศแอลจีเรียและรัสเซีย มาใช้เป็นตัวทำละลาย ผสมกับน้ำมันดิบหนักพิเศษ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบในประเทศ ช่วงรุ่งๆ และลืมตัวนั้น เวเนซุเอลา มีนโยบายการอุดหนุนชดเชยราคาน้ำมันจำนวนมหาศาล จนน้ำมันราคาถูกมากแทบจะใช้ฟรี นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบายควบคุมกิจการ และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ
ประชาชนเขาก็หลงกล โดนบริษัทน้ำมันอเมริกา ให้เงินผ่านกองทุนต่างๆ มาจ้าง NGO ในประเทศ (เหมือนในไทยตอนนี้) ให้เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาล ให้ใช้ระบบเก็บผลประโยชน์น้ำมันให้กับรัฐเป็นแบบ "แบ่งปันผลผลิต (PSC) " จากนั้นพวกอีลิทอเมริกา ก็สั่งรัฐบาลมะกัน มาบีบรัฐบาลเวเนซุเอลา อีกที
ชาติตะวันตกจะจ้างและหลอกให้ประเทศที่ " NGO ฉลาดติดลบ แล้วถอดแสควร์รูทอีกที " มาสร้าง “ชุดข้อมูลเท็จ” หลอกลวงต้มตุ๋นประชาชนว่ามันดีกว่าระบบสัมปทาน และโจมตีรัฐวิสาหกิจของประเทศ คนเวเนซุเอลาก็หลงกลชาติตะวันตก หนุนใช้เก็บรายได้แบบ PSC ผลคือประเทศเขา ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินลงขันประเดิม ร่วมลงทุนร่วมกับบริษัทน้ำมันอเมริกาที่มาขุดเจาะ
บริษัทอเมริกาหัวเราะจนฟันร่วง ว่าทำไมคนเวเนซุเอล่าหลอกง่ายแบบนี้ จึงใช้ช่องว่างของระบบ PSC นี้ "ติดสินบนนักการเมือง" ให้ฮั้วกับ NGO แล้วก็เจรจาจ่ายผลตอบแทนกัน ให้บริษัทน้ำมันอเมริกา ได้ส่วนแบ่งเยอะกว่ารัฐบาล พวก NGO เขาก็เงียบกริ๊บซิ เพราะเรื่องอะไรจะต่อต้าน กระเป๋าเงินนายจ้างของตนเอง
ช่วงแรกๆ ประชาชนเขาก็ใช้น้ำมันถูกก็จริงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ผลคือรายได้จากน้ำมันแทบไม่เข้าคลังของเวเนซุเอลาเลย เรียกได้ว่าขุดเจาะน้ำมันได้เท่าไร เอาไปชดเชยราคาน้ำมันที่มีคนใช้กลุ่มเดียว แล้วบริษัทน้ำมันอีลิทอเมริกา แบ่งปันผลผลิตเอาไปเรียบ , นักการเมืองก็กระเป๋าตุง , NGO ก็กระเป๋าตุง , ประชาชนก็ใช้น้ำมันถูก จึงหลงระเริงว่าระบบ PSC มันดี
เวเนซุเอล่า ยังมีการการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มากเกินไป จนทำให้บริษัทเอกชนขาดแรงจูงใจในการลงทุน และไม่เกิดการแข่งขันผลิตสินค้า ส่งผลให้การผลิตได้ผลผลิตน้อย ขณะที่มีความต้องการมาก ผลผลิตบางส่วนมีการซื้อขายกันในตลาดมืด ในราคาที่สูงกว่าราคาที่ควบคุมตามร้านค้าทั่วไปหลายเท่า
ส่งผลให้ขาดแคลนสินค้าที่วางขายตามร้านค้าทั่วไป ต้องนำเข้าสินค้าต่างๆ มากมายเข้ามาทดแทน ทำให้สูญเสียเงินตราไปต่างประเทศจำนวนมาก เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อค่าเงินในประเทศ เกิดปรากฎการณ์ “ข้าวยาก หมากแพง “ จนรัฐบาลเวเนซุเอลา ต้องกู้เงินมาใช้จ่ายในนโยบายเหล่านี้
เกิดหนี้สินพะรุงพะรังถึงขั้นต้องชดใช้หนี้ต่างชาติเป็นน้ำมันดิบ ในที่สุดรัฐบาล ถึงกับต้องใช้ระบบจำกัดในการซื้อสินค้า โดยประชาชนต้องสแกนลายนิ้วมือ และต่อคิวซื้อสินค้า เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้า ล่าสุดปัญหาของประเทศเวเนซุเอลา คือ “ ขาดแคลนน้ำมันดิบ” ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลก สุด งง ไหมนั่น !!
ทีนี้พอราคาน้ำมันโลกตกต่ำวูบวาบ ฟองสบู่อเมริกาแตกโป๊ะ เกิดการล่มสลายทางการเงิน เวเนซุเอลา ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีวันนี้เกิดขึ้น ก็เจ๊งซิ เงินคงคลังไม่มีเหลือหรอ เศรษฐกิจของเวเนซุเอลาตอนนี้ มันคือ "ลูกบอลลูนแตก" ตูมสนั่น เละทั้งประเทศ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจร้ายแรงสุดขั้วทันที เกิดการทะเลาะขัดแย้งกันของนักการเมืองที่ "ดีแต่พูด" แต่ขี้โกง
จะเปลี่ยนเป็นเก็บรายได้เข้ารัฐมากๆ ระบบสัมปทาน ตอนนี้ก็ไม่ทันแล้ว และอเมริกาก็แทรกแซง ห้ามรัฐบาลเวเนซุเอลาเปลี่ยนระบบ อ้างจะคว่ำบาตรการค้า อ้างสิทธิมนุษยชน อ้างโน่น นี่ นั่น ขู่ตามสไตล์อเมริกา รัฐบาลนักการเมืองเลือกตั้งนั้นก็ป๊อด ไม่กล้าหือกับอเมริกา
จะขึ้นเก็บภาษีน้ำมันตอนนี้ก็ไม่ทันอีก ป่วยเกินเยียวยา ตอนนี้ จึงเกิดอาการปั่นป่วนไปทั่วประเทศเวเนซุเอลา เกิดอาชญากรรมเต็มเมือง ประชาชนต่างหนีตายเอาตัวตัวรอด "กักตุนสินค้า" ต่างเขาคิวต่อแถวยาวเหยียด แย่งกันไปซื้อของ ซื้อเสบียง อาหาร สบู่ ยาสีฟัน ของใช้ส่วนตัว ฯลฯ
ที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ใจกลางเมืองหลวง จนเกลี้ยงชั้น จนทหารต้องออกมารักษาความสงบแล้ว (แต่ยังไม่ได้คืนความสุขประชาชน) ชาวเวเนซุเอล่าหลายพันคน เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงกับกลุ่มฝ่ายค้านในกรุงคารากัส โดยกล่าวหาว่า “รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาด”
ทำการจัดเก็บผลประโยชน์ แบบ “ แบ่งปันผลผลิต (PSC) “ แต่แรกทำไม ?? จนทำให้วิกฤตเศรษฐกิจยิ่งเลวร้ายลง ทั้งมีปัญหาเงินเฟ้อ อาชญากรรมสูง และขาดแคลนสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น การชุมนุมในครั้งนี้ มีเหตะปะทะกับเจ้าหน้าที่บ้างเล็กน้อย ผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุม มีการถือป้ายผ้า (ไม่มีเงินทำป้ายไวนิล) ด่าทอรัฐบาล
และหลายคนยังนำถ้วยชาม หรือหม้อข้าวที่ว่างเปล่ามาด้วย เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าพวกเขา “อดอยากและไม่มีอาหาร “ ผู้ชุมนุมระบุว่าพวกเขาขาดแคลนทั้งอาหาร และยารักษาโรค ซึ่งทำให้ราคาสินค้าต่างๆ แพงขึ้นมาก ผู้ประกอบการซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ 4 แห่ง ก็กักตุนสินค้า และลักลอบนำสินค้าออกนอกประเทศ
ซึ่งผู้นำฝ่ายค้าน เลยสวมรอย เรียกร้องให้ประธานาธิบดี ลงจากอำนาจในทันที เพื่อยกเลิกการจัดเก็บผลประโยชน์ แบบ “ แบ่งปันผลผลิต (PSC) “ ให้ชาวเวเนซุเอล่า กลับมามีความสามัคคีกันอีกครั้ง เพราะว่าเวเนซุเอล่า พึ่งพิงรายได้หลักจากการค้าน้ำมัน แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงมาก
นี่แหละตัวอย่างความวุ่นวาย ผลจากที่รัฐบาลเขา ยึดติดระบบทุนนิยมประชาธิปไตย ไม่เคยวางแผนระยาวเลย และการเลือกระบบจัดเก็บผลประโยชน์น้ำมันให้กับรัฐเป็นแบบ "แบ่งปันผลผลิต (PSC) " ที่ผิดพลาด จนประเทศเข้าสู่ตาจน ส่วนนักการเมือง กับ NGO พลังงาน ที่อ้าง " ผลประโยชน์ประชาชน" ก็ฮั้วกันจน “รวย” ไป แต่พาประชาชนเดินหลงทาง "ซวย" กันทั้งประเทศ
มันก็ลามมาจากประเทศไนจีเรีย ที่ผลิตน้ำมันมากที่สุดในแอฟริกา ที่ใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) จนเกิดการเลื่อมล้ำของสังคม นักการเมือง NGO สื่อ “ รวยกระจุก” เพราะรับเงินจากบริษัทน้ำมันอีลิทต่างชาติ แต่ประชาชนกลับ “จนกระจาย” กันถ้วนหน้า
เห็นภาพตัวอย่างต่างชาติแบบนี้ คนไทยเข้าใจหรือยัง ว่าทำไมสภาท่าพระเสาร์ กับ NGO ทุนพลังงานต่างชาติ เขาถึงดิ้นกันจัง..เรื่องบังเอิญไม่มีจริงในโลก ประชาชนต้องอย่าโลกสวย และต้องรู้เท่าทันพวกเขา ก่อนที่ประชาชนจะตกเป็นเหยื่อของ " ผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติอย่างจริงใจ "
------------------------------------>
เปรียบเทียบแบบเข้าใจแบบชาวบ้านๆ
1. ระบบสัมปทาน ก็คือ เรามีที่ดิน แล้วเราให้สัมปทานคนมาทำที่จอดรถ แล้วทำสัญญากัน คนเช่าที่เราจะเก็บรายได้หรือเปล่าเราไม่สน ถึงกำหนดสิ้นเดือนต้องจ่ายค่าเช่ามาตามสัญญา แม้เราเอารถไปจอดในที่ดินนี้ ก็ต้องจ่ายค่าจอดรถเขาด้วย แต่หากคนเช่าเลิกกิจการไปแล้ว สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย ก็ตกเป็นของเราโดยปริยาย เราก็เก็บค่าเช่าจอดรถต่อไปเลย
2. ระบบแบ่งปันผลผลิต ก็คือ เรามีที่ดิน แล้วเราให้คนอื่นมาทำที่จอดรถ แล้วทำข้อตกลงกัน แต่เราต้องควักเนื้อร่วมลงทุนด้วย โดยตกลงผลประโยชน์กัน คือ เดือนไหนเก็บค่าจอดรถได้น้อย เขาก็จ่ายเราน้อย เดือนไหนเก็บได้มากเขาก็จ่ายมาก , ต้องแบ่งประเภทรถอีก รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ ซาเล้ง จานบิน ดาวเทียม จักรยาน รถเด็กเล่น รถเครน ฯลฯ
เก็บประเภทไหนได้น้อย เขาก็จ่ายเราน้อย เก็บประเภทไหนได้มากเขาก็จ่ายมาก ไม่มีความแน่นอน ขึ้นกับรายได้ และยังแบ่งเป็นโซนๆ ได้อีก เช่น โซนทางเข้าสะดวก จ่ายส่วนแบ่งมาก โซนด้านในลึกๆ คนขี้เกียจขับมาจอด จ่ายส่วนแบ่งน้อย แต่ช่วงไหนมีลิเก หนังกลางแปลงมาแสดง คนมาจอดโซนในมาก ก็จ่ายส่วนแบ่งมากขึ้น
โอย พระเจ้า ชีวิตนี้ไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว วุ่นวายอยู่กับการเจรจาแบ่งปันผลผลิตอยู่นี่แหละ จะไปทำผม แต่งเล็บ เสริมจมูก ตัดกราม เสริมเต้านม อะไรไม่ได้เลย ต้องคอยดูแลวุ่นวายกับระบบนี้แหละ และระบบนี้เราต้องลงทุนจ้างพนักงานไปร่วมนั่งเก็บเงินค่าจอดรถด้วย เออ..บันเทิงละที่นี้ โกงกันสะบั้นหั่นแหลก แถมสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายถ้าพัง เราต้องร่วมออกค่าซ่อมด้วย..เวรกรรมแท้ๆ พอกันที ไม่ไหวแล้ววว
หลักการระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) เปรียบเทียบให้เห็นชัดเป็นรูปธรรม ก็คล้ายๆ นโยบายจำนำข้าวของปูข้าวเน่านั่นแหละ คือ บิดเบือนราคาตลาดโลก แล้วใช้เงินรายได้ของรัฐที่ควรจะได้ ไปชดเชยให้ จัดเป็น "นโยบายประชานิยม" แบบหนึ่ง ทำเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง แต่พอความเสียหายเกิดขึ้น กลับโดนผลกระทบไปถึงประชาชนที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ทั้งประเทศ
เกิดหนี้สาธารณะกองกลางประเทศ มากมหาศาล ก็เหมือนฝรั่งยัดเยียด คำและรูปแบบประชาธิปไตยมาให้เราใช้นั่นเอง หลักการดี..พอเอามาใช้ในไทย ก็เละเป็นโจ๊กเลย ระบบอะไรที่ว่าดี เจอนักการเมืองไทยเข้าไป ซิกแซกหัวหมอ โกงกันวินาศไปหมด.." การไว้ใจนักการเมืองเลือกตั้งวันนี้ ภายหน้าลูกหลานก็ต้องมาตรมทุกข์ "
นักการเมืองก็แค่ปฏิเสธความรับผิดชอบ และอ้างปัดว่า "หนูไม่รู้ หนูบริสุทธิ์ เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง และสองมาตรฐาน " แต่หนีก้อนใหญ่ของชาติก็เกิดขึ้นจากนโยบายของนักการเมืองเลือกตั้งไปเสียแล้ว..แบบนี้ไม่ยุติธรรมสำหรับประชาชนทุกคน !!
แทนที่เราจะมาเถียงกันว่าจะเอาระบบแบบใด ทำไมเราไม่คิดว่าทั้ง 2 ระบบมีข้อดี และข้อเสีย เราก็ไม่ต้องใช้ทั้ง 2 ระบบก็สิ้นเรื่อง แต่เราก็ดึงเอาแต่ข้อดีของแต่ละระบบมา (ทั้งแบ่งปันผลผลิต และ สัมปทาน) แล้วเราก็เอามาสร้างเป็นระบบใหม่แบบไทยๆ ของเราเอง
ที่เรียกว่าระบบ "Thailand III Plus " ที่เป็นจุดดีและเป็นลูกผสมของ 2 ระบบ แล้วเราก็ทำตามกฎหมายที่มีรองรับ ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำตามครรลองครองทำ และเป็นระบบไทยๆ ไม่ลอกเลียบแบบต่างชาติ หลักการคล้ายระบอบการปกครองแนวอนุรักษ์นิยมของเราตอนนี้นั่นเอง Win-Win ด้วยกันทุกฝ่าย
ถ้าใครจะดึงดันค้านอีก และรณรงค์ล่ารายชื่อไม่ให้ “สำรวจ” พลังงานรอบใหม่ เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทางพลังงาน และน้ำมันถูกลง คนไทยส่วนใหญ่ที่อยากเห็นประเทศไม่ติดหล่มอยู่กับที่ เดินหน้าต่อไปได้ และชอบความสามัคคีไม่แตกแยก คงไม่เอาด้วยแน่ๆ และควรต่อต้านไล่ส่งคนพวกนี้ไปไกลๆ !!
** อ่านตอนต่อไป...คำถาม 6 ข้อเตือนสติคนไทย ไม่อยากล่มสลายแบบเวเนซุเอล่า แม้มีน้ำมันมากที่สุดในโลก ..คลิ๊กที่https://www.facebook.com/media/set/…
@ เสธ น้ำเงิน4 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
"กติกา" โปรดงดความเห็นในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในตอนนี้, งดนำข่าวลือเขาว่ามา , คำหยาบ , ป่วน , งดลิ้งใดๆ ทุกชนิด , งดข้อความจากแหล่งอื่น , งดภาพ , การให้ร้ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกพิจารณาบล็อกเข้าเพจนี้..สามารถติดตามข่าวสั้นคลิ๊กที่http://www.facebook.com/thailandcoup


ไม่มีความคิดเห็น: