PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว25/2/58

ถอดถอน38สว.

พรเพชร นัดประชุม สนช. พิจารณาถอดถอนอดีต 38 ส.ว. เพื่อแถลงเปิดสำนวนคดี กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว.

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีคำสั่งให้นัดประชุม สนช. เป็นพิเศษ เวลา 10.00 น. เพื่อดำเนินการกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 38 คน

ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550

ประเด็นที่มา ส.ว. และการแถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวน หรือ

รายงานพร้อมความเห็นของผู้ถูกกล่าวหา จากนั้น ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 9 คน เพื่อดำเนินการรวบรวมคำถามจากสมาชิก สนช. ทั้งนี้ คาดว่าจะลงมติถอดถอนได้ในวันที่ 13 มี.ค.
------------
น.พ.เจตน์ แจงขั้นตอนแถลงเปิดคดีถอดถอนอดีต 38 ส.ว. เปิดสมาชิกยื่นข้อสงสัยซักถามถึงเที่ยงวันศุกร์

น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ขั้นตอนในการแถลงเปิดคดีถอดถอน อดีต 38

ส.ว. จากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันนี้ ก็จะคล้ายกับกรณีของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา โดยจะเริ่มจากฝั่งของ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้กล่าวหาก่อน แต่ยังไม่ชัดเจนว่า ทาง ป.ป.ช. จะส่งใครมาเป็นผู้แถลง จากนั้น ก็จะเป็นฝั่งผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเบื้องต้นมีการประสาน

ว่าจะมีตัวแทน ในการแถลง 5 คน และสำรอง 3 คน หลังจากนั้น ก็จะเป็นขั้นตอนการตั้งกรรมาธิการซักถาม ซึ่งจะมีการยกเว้นข้อบังคับใช้ 9 คนเหมือนเดิม และเปิดให้สมาชิกส่งข้อสงสัย ที่ต้อง

การซักถามเพิ่ม ทั้งผู้กล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหา ภายในเวลา 12.00 น. ของวันศุกร์นี้

ทั้งนี้ น.พ.เจตน์ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของการทาบทาม บุคคลมาทำหน้าที่ กมธ.ซักถามนั้น นายสมชาย แสวงการ เลขานุการวิป สนช. เป็นผู้ดำเนินการ และจะเป็นผู้เสนอชื่อต่อที่ประชุม ส่วนการ

ส่งสำนวนถอดถอน อดีต ส.ส. จากกรณีเดียวกันนั้น ล่าสุดยังมาไม่ถึง
-----------------
สนช.ถกแถลงเปิดคดีปม38สว.10โมง

 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีคำสั่งให้นัดประชุม สนช. เป็นพิเศษ เวลา 10.00 น. เพื่อดำเนินการกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 38 คน

ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550

ประเด็นที่มา ส.ว.และการแถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนหรือรายงาน

พร้อมความเห็นของผู้ถูกกล่าวหา จากนั้น ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 9 คน เพื่อดำเนินการรวบรวมคำถามจากสมาชิก สนช. โดยวันนี้ ตัวแทนของ ปปช. ที่จะมาแถลงเปิดคดี คือ นายวิชัย

วิวิชเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ขณะที่กลุ่ม 38 ส.ว.ที่ถูกกล่าวหา ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมแถลงเปิดคดี 4 คน นายวิทยา อินนาลา อดีต ส.ว.นครพนม ,นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี  ,พ.ต.ท.จิต ศรี

โยหะ มุกดาธนพงษ์ อดีตมส.ว. มุกดาหาร และนายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตส.ว.นนทบุรี เป็นผู้แถลงสรุปข้อกล่าวหาทั้งหมด ซึ่งการชี้แจงของอดีตส.ว.จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ชี้แจงตามฐานความผิดที่แตก

ต่างกันคือ กลุ่มที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ , กลุ่มที่ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผู้ที่ทั้งร่วมลงชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญและลงมติ

สำหรับการพิจารณาจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ คาดว่า จะลงมติถอดถอนได้ในวันที่ 13 มี.ค.?  ซึ่งการลงมติสมาชิกจะมีเอกสิทธิของตนเอง โดยจะให้ลงมติรวดเดียวทั้ง 38 คน เพื่อไม่ให้เสีย

เวลา มั่นใจว่าสมาชิกใช้วิจารณญาณตรวจสอบข้อกล่าวหาทั้งหมด

ส่วนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ สว.ที่มีการร้องให้ถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรณีมีพฤติการณ์ส่อใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายนั้น คณะกรรมการ ปปช. จะนำเข้าสู่ที่

ประชุมในวันอังคารหน้า โดยมีผู้เกี่ยวข้อง 250 คน ที่มีมูลความผิดส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมาย และหากป.ป.ช.ส่งเรื่องถึงสนช.จะเริ่มพิจารณากระบวนการถอดถอนทันที
-----------------------
"วิทยา" ไม่หนักใจ สู้คดีถอดถอน 38 อดีต ส.ว. เตรียมแถลงเปิดคดี 5 คน ดีใจได้ชี้แจง ยืนยันทำตามอำนาจหน้าที่ นิติบัญญัติ

นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม 1 ใน 38 อดีต ส.ว. ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดจากกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า

ในวันนี้ อดีต ส.ว. ทั้ง 38  คน ใน 4 กลุ่ม ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด จะเดินทางไปยังสภา เพื่อร่วมรับฟังการแถลงเปิดคดีครบทุกคน แต่จะมีการทำหนังสือมอบอำนาจ ให้ตัวแทน จำนวน 5 คน

และ สำรอง 3 คน ในการแถลงเปิดคดี ยืนยัน ไม่รู้สึกกังวล หรือหนักใจแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันรู้สึกดีใจที่จะได้ชี้แจงอธิบายว่า สิ่งที่ได้ดำเนินการไปนั้น เป็นการทำหน้าที่ ในฐานะ ส.ว. ตาม

กระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญรองรับอย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องจะนัดลงมติ ในวันที่ 13 มี.ค.นั้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่รับได้ขึ้นอยู่กับการยกเว้นข้อบังคับของที่ประชุม

ทั้งนี้ นายวิทยา ยังได้อธิบายถึงการแบ่งกลุ่ม อดีต ส.ว. ทั้ง 3 คน ที่ถูกกล่าวหา ว่ามีทั้งหมด 4 กลุ่ม แบ่งเป็น 1.ร่วมลงชื่อแก้ไข2. ร่วมลงชื่อแก้ไข กับ โหวตทั้ง 3 วาระ 3.ร่วมลงชื่อแก้ไข โหวต วาระ

1, 3, และ 4 ร่วมลงชื่อแก้ไข โหวตวาระ 1 และ 2
-----------------
สนช. เริ่มประชุม พิจารณาถอดถอน อดีต 38 ส.ว. "ดิเรก" ขอเพิ่ม ผู้แถลงเปิดคดี 

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา ล่าสุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เริ่มประชุมเพื่อดำเนินการกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 38 คน ออกจากตำแหน่ง กรณีการแก้ไขรัฐ

ธรรมนูญ ปี 2550 ประเด็นที่มา ส.ว. และการแถลงเปิดสำนวนตามรายงาน และความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการคัดค้าน
โต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวน หรือรายงานพร้อมความเห็นของผู้ถูกกล่าวหา

ขณะที่ นายดิเรก ถึงฝั่ง เพิ่มผู้ที่จะชี้แจงการเปิดแถลงคดี 5 คน ซึ่งพร้อมที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้ สนช. ทราบ ตามกรอบของกฎหมาย และคาดว่าไม่ซึ่งน่าจะเป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมาได้

ปฏิบัติขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ อย่างไรก็ตาม แม้ยังคงมีความกังวล แต่เชื่อมั่นว่าได้กระทำตามกระบวนการอย่างถูกต้อง เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่กระทำการเสนอและ
แก้กฎหมาย

หากลงมติถอดถอนจะกระทบต่อตำแหน่งใน สปช. หากไม่ถอดถอน
--------------------
พีระศักดิ์ ยัน ถอดถอนพิจารณาตามข้อบังคับ-สำนวนของ ป.ป.ช. ชี้ หากมีมติถอดถอน อดีต ส.ว. ที่ เป็น สนช.-สปช. ต้องพ้นหน้าที่ทันที 

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงการพิจารณาถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 ราย จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาวุฒิสภาโดย

มิชอบว่า ตามข้อบังคับการประชุมไม่ได้ห้าม สมาชิก สนช. อยู่ในสำนวนดังกล่าวร่วมลงมติ แต่จากการพูดคุยเบื้องต้นสมาชิกคนดังกล่าวจะขอลาไม่เข้าร่วมการประชุมโดยสมัครใจ ทั้งวันแถลง

เปิดสำนวนคดีและในวันลงมติในวันที่ 13 มี.ค. ขณะที่อดีต ส.ว.คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง จะยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สนช. ตามปกติ ทั้งนี้ หากถึงที่สุด สนช. มีมติถอดถอนอดีต ส.ว. ทั้ง 38 ราย จะต้อง

พ้นจากตำแหน่งทันที ซึ่งหมายรวมถึงตำแหน่ง สปช. และ สนช. ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นายพีระศักดิ์ ระบุว่า การพิจารณาสำนวนถอดถอนในครั้งนี้ ไม่ได้อ้างการพิจารณาถอดถอนอดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภา เป็นบรรทัดฐาน แต่จะยึดตามข้อบังคับการ

ประชุมและพิจารณาตามสำนวนคดีเป็นหลัก
------------------
"วิชัย" แถลงเปิดสำนวนถอดถอน 38 ส.ว. มีความผิด จงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อกฎหมาย พร้อมย้ำ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวน

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด เข้าสู่กระบวนการพิจารณาถอดถอนอดีต 38 ส.ว. ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. โดย นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ

ป.ป.ช. เป็นผู้แถลงเปิดสำนวนในฐานะผู้กล่าวหา พร้อมชี้แจงข้อกล่าวหาตามคำร้อง 2 ประเด็น คือ ร่วมกันเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. จนนำไปสู่การลงมติเห็นชอบใน

วาระที่ 3 และการกดบัตรแทนกัน ซึ่งข้อกล่าวดังกล่าวเป็นการร้อง ส.ว. 50 คน แต่เมื่อพิจารณาและแบ่งกลุ่มความผิด พบว่า มี ส.ว. เข้าข่ายฐานความผิด จำนวน 38 คน ใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ร่วมลง

ชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ, กลุ่มที่ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ และผู้ที่ทั้งร่วมลงชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญและลงมติ โดยฐานความผิดนั้นจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ปี 2550 รวมถึง

หลักจริยธรรมอย่างร้ายแรง ขณะเดียวกัน ย้ำว่า ป.ป.ช. มีอำนาจการไต่สวนตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
----------------------
"กฤช" แจง สนช. ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาพร้อมระบุ ไม่มีตำแหน่งให้ถอดถอนอีกแล้ว เป็นคำร้องที่มิชอบด้วยกฎหมาย

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด อยู่ในระหว่างการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่ง นายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.จังหวัดกำแพงเพชร ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา โดย

ระบุว่า การพิจารณาถอดถอนของ สนช. ในครั้งนี้ ผู้ถูกร้องไม่มีตำแหน่งที่จะถอดถอนอีกแล้ว อีกทั้ง ในรายงานสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

แห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีการลงรายมือชื่อ นายภักดี โพธิศิริ ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของวุฒิสภามาตั้งแต่แรก จึงถือว่าเป็นกรรมการ ป.ป.ช. โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การสำนวน

ถอดถอนในครั้งนี้ จึงถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้กระบวนการถอดถอนนี้ ไม่น่าจะดำเนินต่อไป พร้อมยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามขั้นตอน และกฎหมายในการคุ้ม

ครองการกระทำใดๆ ของรัฐสภา ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องได้

นอกจากนี้ นายกฤช ยืนยันว่า ไม่ว่าผลการพิจารณา สนช. ครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม จะไม่มีการตอบกลับจากตนเองแน่นอน
--------------
"วิทยา" ชี้แจงข้อกล่าวหา ยันปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ไม่มีการสลับ ร่าง รธน.

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ล่าสุด อยู่ในระหว่างการชี้แจงแก้ข้อกล่าวของผู้ถูกกล่าวหา โดย นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว. จังหวัดนครพนม ได้ชี้แจงในข้อกล้าวหาที่ระบุว่า มีการ

สลับร่างรัฐธรรมนูญเป็นร่างปลอมในการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ว่า ในพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา รวมถึงแนวปฏิบัติของ
กระบวนนิติบัญญัติ ซึ่งไม่ได้ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ด้วย โดย นายอุดมเดช รัตนเสถียร กับพวก ได้ทำการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ยื่นต่อรัฐสภา โดยการเพิ่มตรา 6 และใช้เลขรับเดิม ก่อน

ที่จะมีการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ซึ่ง นายวิทยา ระบุว่า สามารถกระทำได้โดยถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทั้ง นายอุดมเดช ได้มีการแจ้งว่ามีการแก้ไขหลักการร่างรัฐธรรมนูญให้ที่
ประชุมทราบแล้ว จึงขอยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอไปต่อรัฐสภามีร่างฯ เดียว ไม่มีการสลับร่างแต่อย่างใด ซึ่งตนมองว่า การที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ได้แจ้งข้อกล่าวหาอาจเป็นเพราะไม่เข้าใจถึงหลักปฏิบัติทางกระบวนนิติบัญญัติเท่าที่ควร
-------------------
สนช. ตั้ง กมธ. 7 คน นัด 5 มี.ค. ดำเนินการซักถามถอดถอน 38 อดีต ส.ว. - ให้สมาชิกยื่นคำถามใน 27 ก.พ.

บรรยากาศการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาถอดถอนอดีต 38 ส.ว. ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ล่าสุด นายดิเรก ถึงฝั่ง หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา

แถลงสรุปสำนวนข้อกล่าวหาว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มา ส.ว. ไม่ได้มีเจตนาล้มล้างการปกครอง โดยสมาชิกยื่นแก้ไขที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ทุกประการ และทำ

ตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งสามารถทำได้ทีละขั้นตอน อีกทั้ง ยืนยันว่าไม่ได้แก้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง แต่ทำตามหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ

ขณะเดียวกัน ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญจากนั้น

ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงเปิดสำนวนคดีแล้ว ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 7 คน โดยให้สมาชิก สนช. ยื่นข้อซักถามภายในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนจะเปิด

การประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการซักถามในวันที่ 5 มีนาคม และแถลงปิดสำนวนคดีในวันที่ 12 มีนาคม ส่วนลงมติถอนถอนหรือไม่ถอดถอนกำหนดในวันที่ 13 มีนาคมนี้
///////////
กมธ.ยกร่างรธน.

กมธ.ยกร่าง เตรียมพร้อมถกรายมาตรานอกสถานที่ต่อ ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หลังได้ข้อสรุปคุณสมบัติ ส.ส.แล้ว

บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เช้านี้ สมาชิกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มทยอยเข้ามาเพื่อเตรียมตัวประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะมีขึ้นในเวลา

09.00 น. แล้ว โดยมีวาระในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี

ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งนำรัฐธรรมนูญของปี 2550 มาปรับใช้ โดยเฉพาะใน มาตรา 102 ว่าด้วยบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิ์รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ซึ่งมี 14

ลักษณะต้องห้ามมาบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในมาตรา 113 ได้เพิ่มเป็น 15 ลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ใน (8) เป็นการนำรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 35 (4) มาใช้ ซึ่งมีกลไกที่มี

ประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจสอบมิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต หรือไม่

เที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
---------------------
"นรีวรรณ" เผย กมธ.ยกร่าง เพิ่มคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องแสดงบัญชีภาษีย้อนหลัง 

รศ.นรีวรรณ จินตกานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การพิจารณารายมาตรา ในเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร มีความชัดเจนรูปแบบการ

เลือกตั้งใช้สัดส่วนแบบผสม มีจำนวน ส.ส. 450 - 470 คน ซึ่งจะแตกต่างจากครั้งก่อน โดยเฉพาะในการคิดคะแนนของระบบบัญชีรายชื่อ ส่วนเรื่องของคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ก็ค่อน
ข้างชัดเจนแล้วมีมากพอสมควร แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทุกมาตรา แต่ที่เพิ่มขึ้นมาจาก รธน.ครั้งก่อนๆ คือ การแสดงบัญชีภาษีเงินได้ย้อนหลัง เพื่อตรวจสอบ และป้องกันทุจริตด้วย
-----------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณารายมาตรา ประเด็น โนโหวต-โหวตโน ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา

บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐ

ธรรมนูญ เป็นรายมาตราใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดีหมวดรัฐสภา ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา

เรื่องการโหวตโนและการโนโหวต ทั้งนี้ ยังได้นำเรื่องข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา รวมทั้งสมัยสามัญและวิสามัญ ซึ่งสมาชิกกรรมธิการได้อภิปรายกันอย่างกว้าง และมีการยก

ตัวอย่างเหตุการณ์การขัดขวางการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อให้กลไกป้องกันปัญหาต่อการนับคะแนนและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาหมวดรัฐสภา ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร นั้น คาดว่า ในช่วงเที่ยงวันนี้ จะได้ข้อสรุปในมาตราที่เหลือ
-----------------
กมธ.ยกร่างฯ พิจารณาส่วนของสภาผู้แทนราษฏรจบทุกมาตราแล้ว เข้าสู่การหารือรายละเอียดเรื่องวุฒิสภา

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ วันที่สาม ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ซึ่งยัง

พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตราในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 1 สถาบันการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี หมวดรัฐสภา ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของวุฒิสภา

ทั้งในเรื่องของจำนวนและที่มาแล้ว

โดยก่อนหน้านี้ได้พิจารณาเรื่องของผู้ประสงค์งดออกเสียงหรือโหวตโน กับจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ์แต่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเสียงหรือโนโหวต ที่กระทบต่อการนับคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การ

เปิดเผยผลคะแนนเลือกตั้ง เป็นเรื่องสุดท้าย ในหมวดสภาผู้แทนราษฏร

ทั้งนี้ ในช่วงบ่ายจะมีการแถลงเกี่ยวกับรายละเอียดทั้งหมดในส่วนของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอีกครั้ง
---------------------
"คำนูณ" แถลงรายละเอียดการนับคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขต-บัญชีรายชื่อ พร้อมเพิ่มเงื่อนไขการพ้นสมาชิกภาพตาม ม.168

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ มีการบัญญัติให้การนับคะแนนผู้ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ทั้งระบบแบ่งเขตและ

บัญชีรายชื่อ จะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็น ส.ส. หรือต้องได้คะแนนมากกว่าโหวตโน

ขณะที่การสิ้นสมาชิกภาพของ ส.ส. ก็เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญเดิม แต่เพิ่มเงื่อนไขให้สิ้นสุดลงตามมาตรา 168 ที่จะพิจารณาต่อไป ซึ่งเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและ

คณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อมีมติไม่ไว้วางใจ จะส่งผลกระทบการทำงานของสภาฯ สิ้นสุดลงไปตามกันหรือยุบสภา

นอกจากนี้ นายคำนูณ ได้ขยายความในหลักการนี้ว่า จะเป็นการร่างที่มีเจตนารมณ์เพื่อปกป้องฝ่ายบริหารที่มีการคาดการได้ว่าจะเป็นรัฐบาลผสม ดังนั้นในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร

ควรจะเป็นไปตามช่องทางการถอดถอน หรือการใช้มาตรการอื่นที่เหมาะสมกว่าการลงมติไม่ไว้วางใจ
-----------------------
กมธ.ยกร่างฯ พิจารณารายมาตราต่อเนื่อง  กำหนด ส.ว. มีไม่เกิน 200 คน จากการเลือกตั้งทางอ้อม  5 กลุ่ม

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ วันที่ 3 โรงแรม ฮอล์ลิเดย์อิน พัทยา จ.ชลบุรี  ตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมา มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่าง

รัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อจารณาร่างรัฐธรรมนูญในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง โดยขณะนี้ พิจารณาหมวดรัฐสภาในส่วนของวุฒิสภา มาตรา 123 ว่าด้วย

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งเป็นการกำหนดหลักการที่มาของ ส.ว. ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้มี ส.ว. มีจำนวนไม่เกิน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมจากบุคคล ดังนี้ (1)

ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เลือกกันเองให้ได้ไม่เกิน 10  คน  (2)  ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่ง

เป็นตำแหน่งบริหาร ข้าราชการฝ่ายทหารซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ผู้บัญชาการเหล่าทัพ พนักงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน

หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กรดังกล่าว  เลือกกันเองประเภทละไม่เกิน 10 คน แต่ต้องไม่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น

(3) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพหรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งเลือกกันเองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มา ซึ่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 10 คน  (4) ผู้ซึ่งมาจาก

การเลือกกันเองขององค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่น จำนวนไม่เกิน 50 คน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย

และกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ

วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอื่นๆ ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มา ซึ่ง ส.ว.

จำนวนไม่เกิน 100 คน
------------
กมธ.ยกร่างฯ กำหนดหน้าที่ ส.ว.ตรวจสอบ-รับรองคุณสมบัติ ครม., องค์กรอิสระ, ปลัดกระทรวง, อธิบดี, รัฐวิสาหกิจ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาตรา 132 ว่า วุฒิสภา

ต้องพิจารณาบุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นหนึ่งคณะทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ จริยธรรมผู้ที่รับการเสนอชื่อ รวม

ทั้งรวบรวมข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน รายงานต่อวุฒิสภาพิจารณา และกรณีที่นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งคณะหรือเป็นรายบุคคล ให้วุฒิสภาดำเนินการแต่งตั้งตาม

วรรคหนึ่ง แล้วแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ และประกาศให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายชื่อจากนายกรัฐมตรี

นอกจากนี้ ให้นำความในวรรคสองมาบังคับใช้กับการเสนอให้ให้แต่งตั้งปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้ดำแหน่งสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ด้วยอนุโลม
///////////
พรบ.การชุมนุม

พล.อ.ประวิตร แจง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ไม่จำกัดสิทธิ ปชช. ไม่ได้เพิ่มอำนาจ จนท. มีเพื่อความสะดวกดูแลความเรียบร้อย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.... ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

โดยยืนยันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนและไม่ได้เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ แต่เป็นเพียงการกำหนดพื้นที่ เวลา และขอบเขตของการชุมนุม เพื่อให้สะดวกใน

การจัดการให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

ส่วนกรณีที่ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าโดนทหารและตำรวจก่อกวนจนเป็นเหตุให้ต้องโดนไล่ออกจากการ

เป็นอาจารย์นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องกับทางทหาร ซึ่งการไล่ออกดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยที่ใช้บังคับ
//////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ เป็น ปธ. ตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูปทางเรือถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษม ปชช.ร่วมทำบุญคับคั่ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูปทางเรือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องใน

โอกาสมหามงคล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ที่ตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยมี คณะ

รัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง เดินทางมาเข้าร่วมในพิธีจำนวนมาก ทั้งนี้ สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัย มีเจ้า

หน้าที่ทหาร และตำรวจจำนวนมาก กระจายกำลังอยู่ในบริเวณพื้นที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลแก่เยาวชนผู้ชนะการประกวด วาดภาพระบายสี ในโครงการตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษม ทั้งนี้ สำหรับพิธีตักบาตรพระ

สงฆ์ทางเรือ ประกอบด้วย เรือไม้โบราณ 31 ลำ ซึ่งนำขบวนโดย พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ในการรับบิณฑบาต ตามด้วยเรือพ่อเพลงแม่เพลง และเรือดนตรีไทยตาม

ลำดับ
----------------------
นายกฯ เข้าทำเนียบ คาดเรียกประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ รอง ปธน.เมียนมา เข้าพบ

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ปฏิบัติงานอยู่บนตึกไทยคู่ฟ้า ตามปกติ ภายหลังเมื่อใน

ช่วงเช้า เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 61 รูป ทางเรือ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5

รอบ 60 พรรษา ที่ตลาดน้ำวิถีไทยคลองผดุงกรุงเกษม ทั้งนี้ คาดว่า ในช่วงเช้าวันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีขบวนรถของรัฐมนตรี รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ

ทยอยเดินทางไปที่ตึกไทยคู่ฟ้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาประมาณ 11.15 น.นี้ นายแพทย์ สายหมอก คำ รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ที่ ห้องสีงา

ช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า
------------------
นายกฯ ย้ำ กฎอัยการศึกไม่ทำประชาชนเดือดร้อน ไม่ยอมให้ใครฝ่าฝืนกฎหมายเด็ดขาด เร่งแก้ปัญหาการค้างาช้างโดยเร็วที่สุด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวเปิดกิจกรรมรณรงค์การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับงาช้าง ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ว่า

รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาการค้างาช้างโดยเร็วที่สุด ซึ่งขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันกับรัฐบาลในการเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ขอขอบคุณฝ่ายเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติงาช้าง และ

รัฐบาลจะดูแลช้างให้ดีที่สุด

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่าขออย่าเบื่อตนเอง ซึ่งส่วนตัวเข้าบริหารประเทศมาด้วยความจำเป็น โดยเข้ามาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทุกเรื่อง และขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็ง ซึ่งประเทศไทยไม่

สามารถอยู่ประเทศเดียวได้ พร้อมย้ำว่ากฎอัยการศึกไม่ได้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากยังคงมีชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยว จะไม่ยอมให้ใครฝ่าฝืนกฎหมายทำให้เกิดความเดือดร้อน อีกทั้ง

รัฐบาลจะดูแลทั้งประชาชนและสัตว์ รวมถึงจะรักษาผืนป่าไม่ให้น้อยลงแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
//////////////
พลังงาน21

"วิษณุ" มอบ คกก. ร่วมหาทางออกสัมปทานปิโตรเลียม ดำเนินการแก้กฎหมาย ก่อนส่ง กฤษฎีกา ตอบไม่ได้เสร็จใน 3 เดือน หรือไม่

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวว่า ได้มอบหมายให้คณะกรรมการร่วมหาทางออกการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แก้กฎหมายก่อนจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา

คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ซึ่งยังไม่สามารถกำหนดเวลาในการดำเนินการว่าจะทันในระยะเวลา 3 เดือน หรือไม่ แต่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการและยัง

ไม่ทราบเนื้อหาที่ชัดเจน เนื่องจาก กระทรวงพลังงาน จะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งการแก้กฎหมายจะต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย ส่วนจะมีคนกลางเข้ามาร่วมในการแก้ปัญหาหรือไม่นั้นต้องดูข้อสรุปอีกครั้ง
ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้ามาเพื่อพิจารณาในช่วงร่างกฎหมาย และที่สำคัญต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย ประชาชนสามารถรับรู้ได้
----------------
กระทรวงพลังงานเตรียมออกประกาศยกเลิกให้เอกชนยื่นสำรวจปิโตรเลียม รอบที่ 21 พร้อมแก้ไขกฎหมาย คาดเดินหน้าภายใน 7 เดือน 


นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมออกประกาศยกเลิกการเปิดให้เอกชนยื่นสิทธิ
สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 16 มีนาคมนี้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ครั้งที่ 6 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้เลื่อนการเปิดสัมปทานรอบนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอของเครือข่ายประชา
ชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ซึ่งล่าสุดการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐ และ ภาคประชาชน จะมีการหารือเพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันใน
วันพรุ่งนี้ (26 ก.พ.)

โดยหลักการแก้ไข พ.ร.บ.เบื้องต้นจะปรับปรุงเงื่อนไขระบบการแบ่งปันผลผลิต (PSC) เพิ่มเติม และหลังจากการแก้ไข พ.ร.บ.เสร็จสิ้น
จะมีการออกประกาศให้เอกชนสามารถเข้าร่วมยื่นสำรวจและผลิตตามกรอบเวลาเดิมที่ 120 วัน ดังนั้นจึงคาดว่า จะสามารถเริ่มพิจารณาเปิด
สัมปทาน รอบที่ 21 ได้ไม่เกินช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ส่วนจะมีนักลงทุนสนใจเข้ามายื่นสิทธิสำรวจสัมปทานในรอบนี้มากน้อยเพียงใดจะ
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ในการแก้ไข พ.ร.บ.ครั้งนี้ ว่าจะสามารถจูงใจนักลงทุนได้หรือไม่
-------------------
รมว.พลังงาน ชี้เลื่อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน พร้อมเตรียมแผนรับมือเร่งสร้างคลัง LNG ระยะ 2 


นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่ากระทรวงพลังงาน กล่าวยอมรับว่า การเลื่อนเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ในครั้งนี้
มองว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระดับหนึ่ง แต่เชื่อว่านักลงทุนที่สนใจเข้ายื่นซองประมูลเข้ามาแล้ว 1 ราย
คาดว่าจะไม่มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐ เนื่องจากเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีข้อพิพาทระหว่างภาครัฐและ
ประชาชนในขณะนี้

โดยระหว่างนี้ กระทรวงพลังงานได้เตรียมแผนรับมือการเร่งก่อสร้างคลังสำรองก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ระยะที่ 2 เพื่อรองรับ
ปริมาณการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ 10 ล้านตัน ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 - 5 ปี กว่าจะแล้วเสร็จ รวมถึงได้เร่งสั่งซื้อ
ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินของ สปป.ลาว จำนวน 1,400 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้า และเพื่อความมั่นคงด้าน
พลังงาน
---------------
นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน มองเลื่อนเปิดสำรวจปิโตรฯ กระทบจิตวิทยานักลงทุน และหุ้นกลุ่มพลังงาน 


นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) กล่าวในการเสวนาวิเคราะห์เจาะเศรษฐกิจ การลงทุน และหุ้น
พลังงานว่า จากการที่ภาครัฐได้เลื่อนการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 21 ออกไป จะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของนัก
ลงทุน ทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานเกิดความไม่น่าสนใจ หลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมา ส่งผลต่อกำไรของบริษัท
พลังงานปรับลดลง

ประกอบกับนักลงทุนมีความกังวลเพิ่มเติมเมื่อมีการเลื่อนเปิดสัมปทานครั้งนี้ อาจกระทบถึงการต่ออายุสัมปทานในแหล่งบงกช
และเอราวัณ ที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งจะหมดอายุภายใน 7 ปีนับจากนี้ รวมทั้งแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ (PDP)
ที่ยังไม่ชัดเจน ได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ไฟฟ้า พลังงานทดแทนด้วย
--------------------
"พวงทิพย์" เผย นักลงทุนแห่สอบถามกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหลังจากนายกฯ สั่งชะลอเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไป เพื่อแก้ไขกฎหมายก่อน ยอมรับห่วงเชื่อมั่นลงทุน

นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้นักลงทุนสอบถามเข้ามาจำนวนมาก หลังจากที่ทราบข่าวถึงการให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน

เพื่อรอการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เนื่องจากผู้ที่จะยื่นสิทธิ์สัมปทานฯ ได้เตรียมเอกสารต่าง ๆ ไว้แล้ว ซึ่งตามประกาศจะมีระยะเวลาของเอกสารหลักประกันคำขอสัมปทาน ซึ่งกำหนดระยะเวลา

ชัดเจนแน่นอน

ทั้งนี้ หลังจากนายกรัฐมนตรีมีนโยบายชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 เพื่อรอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับปิโตรเลียมนั้น ได้หารือกับ นายณรงค์ชัย อัคร

เศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แล้วว่าหากมีการแก้ไขกฎหมายใหม่คงจะต้องยกเลิกประกาศการเปิดสัมทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน เพราะเป็นอำนาจของ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงพลังงานอยู่แล้ว แต่สิ่งที่กังวลคือความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นอกจากนี้ กรมฯ เองก็ต้องรอความชัดเจนว่าที่สุดแล้วการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 จะเป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ในบางมาตราเพิ่มเติม หรือจะเป็นการยกร่างกฎหมายใหม่ให้เป็นระบบ

แบ่งปันผลผลิต หรือ PSC ซึ่งหากแก้ไขบางมาตราก็จะใช้เวลาไม่มากนัก แต่หากเป็น PSC จะต้องยกร่างกฎหมายใหม่ที่กรมฯ เองมองว่าน่าจะใช้เวลาเกิน 3 เดือน
/////////////
ความมั่นคง

พล.อ.ประวิตร มั่นใจ เหตุระเบิด พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงที่ผ่านมา ไม่มีผลกระทบกระบวนพูดคุยสันติสุข

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยมี พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้

บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้

บัญชาการทหารเรือ และ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กล่าวก่อนเข้าประชุมถึงเหตุการวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงที่ผ่านมาว่า ไม่มีผลกระทบกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข แต่ในขณะนี้ ยังไม่ได้มีการ

กำหนดวันที่จะพูดคุยครั้งแรก เนื่องจากต้องรอให้สถานการณ์ในพื้นที่ มีความสงบเรียบร้อยก่อน
------------------
กอ.รมน.สรุปเหตุรุนแรง 3 จ.ใต้ รอบสัปดาห์ มี 16 ครั้ง เป็นคดีความมั่นคง 5 ส่วนตัว 4 ยึดอาวุธปืน 3 กระบอก

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยถึงเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า มีเหตุการณ์เกิดขึ้น จำนวน

16 เหตุ เป็นคดีความมั่นคง 5 เหตุ ส่วนตัว 4 เหตุ ก่อกวน 1 เหตุ และอยู่ระหว่างตรวจสอบ 6 เหตุ

โดยฝ่ายแนวร่วมกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงยังคงใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการเผยแพร่ข่าวโจมตีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มุ่งทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาครัฐ ซึ่งจากเหตุลอบ

วางระเบิดในซอย ณ นคร อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อ 20 ก.พ. 58 ที่ผ่านมา ส่วนราชการในพื้นที่ได้จัดกิจกรรมเวทีประชาคมชุมชน ณ นคร ร่วมหาแนวทางแก้ไขและเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย
พร้อมรับเรื่องราวร้องทุกข์และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และเมื่อ 18 - 19 ก.พ. 58 สามารถตรวจยึดอาวุธปืน AK102 จำนวน 2 กระบอก และ M16 A1 จำนวน 1 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุนและ

ยุทโธปกรณ์ บริเวณปอเนาะ (โดยความยินยอมของบาบอ) ในพื้นที่ บ.อาโห ต.สะดาวา อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
--------------------
"วิษณุ" ระบุ ขอเวลาหาข้อสรุป ปมขัดแย้งทางศาสนา รอให้ มหาเถรสมาคม อีกครั้งภายในสิ้นเดือน พร้อมขอให้เผยแพร่มติให้ ป.ช.ช. รับทราบ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวถึงข้อขัดแย้งทางศาสนา กรณี มหาเถรสมาคม พิจารณาความเป็นปาราชิกของ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่า ยังไม่มีความ

ชัดเจนแต่ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในข้อสงสัยบางอย่างของมติมหาเถรสมาคม ว่ามีข้อสรุปอย่างไรรวมถึงการทุจริตของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นที่เชื่อมโยงกับวัด

พระธรรมกาย และพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งจะต้องขอเวลาในการพิจารณาก่อนหาข้อสรุปส่งให้คณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้ ภายในสิ้นเดือน มหา

เถรสมาคม จะมีการประชุมใหญ่อีกครั้งและจะมีการรับรองรายงานประชุมครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ทราบมติของมหาเถรสมาคมว่าเป็นอย่างไรพร้อมขอให้เผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ อย่างไรก็

ตาม มองว่าหากมีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดสงครามศาสนาได้ ยืนยันไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว แต่เมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องทำให้เกิดความชัดเจน ถูกต้อง และเป็นธรรมกับผู้ที่

เกี่ยวข้อง
------------------
"วินธัย" แจง กองทัพปัดสั่งการ มธ. ไล่ "สมศักดิ์" ออก ชี้ ให้ข้อมูลไม่ครบบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง 

พ.อ.วินธัย สุวารี ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงกรณีที่มีสื่อนำเสนอข่าวที่ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์เฟซบุ๊กหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคำสั่งไล่ออกโดยอ้าง

ถึงว่ามีทหารไปที่บ้าน ตามรังควานญาติ ซ้ำยังยัดข้อหาหมิ่นเบื้องสูงฯ และคาดอาจไม่มีโอกาสได้รับความยุติธรรม ว่า นายสมศักดิ์ ให้ข้อมูลไม่ครบและบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 57

ก่อนที่ คสช.จะเข้ามาขับเคลื่อนประเทศ นายสมศักดิ์ได้ถูกแจ้งข้อหาในความผิดคดีอาญาอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่จะแก้ข้อกล่าวหาได้ตั้งแต่แรก แต่ไม่เข้าสู่กระบวนการเหล่านั้น และในช่วงหลัง

ถึงมาถูกกล่าวหาเพิ่มเติมในเรื่องการฝ่าฝืนประกาศคำสั่ง คสช.

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา นายสมศักดิ์ ไม่ได้แสดงถึงเจตนาที่อยากมาพิสูจน์หรือแก้ต่างในข้อกล่าวหาตามช่องทางกระบวนการ ซึ่งเมื่อไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่จะต้องพยายามติดตาม

ตัวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

อย่างไรก็ตาม สำหรับการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อกรณีดังกล่าว มีเหตุผลและเป็นไปตามกฎระเบียบของทางมหาวิทยาลัย  เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
-----------------
"วันชัย" รับที่ประชุมร่วม คสช.-ครม.-สนช. กังวล เรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการปฏิรูปพระรพุทธศาสนา ยันไม่ได้เล่นงานพระ

นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงการประชุมร่วมกับ คสช. ครม. และ สนช. ว่า ที่ประชุมมีความกังวลเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการปฏิรูปพระรพุทธ

ศาสนาของคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา โดย นายวันชัย กล่าวยืนยันว่า การปฏิรูปในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเล่นงานพระ หรือรื้อโครงสร้างแต่
อย่างใด เป็นเพียงการศึกษา ตรวจสอบ และสนับสนุนในลักษณะการปกป้องพระพุทธศาสนา โดยเห็นว่า ฝ่ายบ้านเมืองจึงควรเข้ามามีบทบาทว่าจะดำเนินการสนับสนุนพระพุทธศาสนาด้วยวิธีใดบ้าง

นอกจากนี้ ในการประชุม สปช. ครั้งที่ 12 จะมีการพิจารณาเรื่องสมัชชาคุณธรรมและร่างสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นผู้เสนอ
/////////////////
ปปช./คดีทุจริต

พล.อ.อนุพงษ์ ระบุ ต้องรอ ป.ป.ช.สอบ "มณฑล" ชี้ หากพบทุจริตจริงก็ต้องลงโทษตามกระบวนกฎหมาย 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน นายมณฑล สุด

ประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ถึงกรณีที่คณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนที่มีการตรวจสอบการจัดซื้อไมโครโฟนในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 5 ตึกบัญชาการ 1

ทำเนียบรัฐบาล ว่า เรื่องดังกล่าวจะต้องให้นายมณฑลเข้าไปชี้แจงกับคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเมื่อมีผลออกมาแล้วหากผิดจริงจะมีการดำเนินการทางกฎหมายมีผลต่อตำแหน่งอธิบดีกรมโยธาฯ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าวยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น จึงเห็นว่าคงยากหากจะเรียกว่าเป็นการทุจริต นอกจากนี้การตั้งอนุกรรมการไต่สวนจะเป็นแรงกระเพื่อมและส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนอื่น

หรือไม่นั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ในระบบราชการหากมีการตรวจสอบถือว่าดีกับสังคม ต้องรอผลการพิจารณาจาก ป.ป.ช. ก่อน ซึ่งหากมีการทุจริตจริงก็ต้องลงโทษตามกระบวนกฎหมาย
-----------------
"อภิสิทธิ์" ยืนยันสั่งขอคืนพื้นที่การชุมนุม ปี 53 ทำตามขั้นตอนกฎหมาย มั่นใจความบริสุทธิ์ พร้อมเข้าชี้แจงกับ ป.ป.ช. ตามกระบวนการ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแจ้งข้อกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ส่อกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีสั่งใช้กำลังทหารขอคืนพื้นที่

จากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. เมื่อปี 2553 พร้อมยอมรับกระบวนการตรวจสอบทุกอย่างจาก ป.ป.ช. และยืนยันว่าเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ที่มีสถานการณ์การใช้อาวุธและก่อการร้าย ในฐานะนายกรัฐมนตรี

ขณะนั้น ได้สั่งการตามกระบวนการทางกฎหมายตามขั้นตอน มีนโยบายชัดเจนในการหลีกเลี่ยงการสูญเสีย รวมทั้งเมื่อสถานการณ์มีการพัฒนาไปก็มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ เพื่อไม่ให้

เกิดการสูญเสียเท่าที่จะทำได้ ซึ่งต้องไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับทาง ป.ป.ช. ทั้งนี้ มั่นใจในความบริสุทธิ์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ป.ป.ช.

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า ระหว่างรอหนังสือจากทาง ป.ป.ช. ก็จะเตรียมข้อมูลและเอกสาร เพื่อนำไปชี้แจง และเห็นว่าเรื่องนี้ต้องปรึกษาหารือกับอีกหลายคน เพราะจะสามารถยืนยันหลักคิด

การทำงานและการปรับเปลี่ยนแผนงานที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็ไม่ทราบว่าบุคคลทั้ง 3 จะสะดวกไปเป็นพยานหรือไม่
/////////////////
คดีอาชญากรรม

ศาลนัดอ่านฎีกา คดีทีมสังหาร หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบบัญชี ชาวออสเตรเลีย ปี 42 หลังตรวจพบการทุจริต ในโรงงาน นัดพิพากษา วันนี้ 09.30 น.

ศาลอาญา รัชดา นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดนครสวรรค์ และ นายอดัม เออร์วิน วันสเลย์ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบุญพรรณ สุทธิวิริวรรณ นายสมโชค สุทธิวิริ

วรรณ น้องชาย นายประดิษฐ์ ศิริวิริยะกุล ผู้บริหารโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย และ นายสมพงษ์ บัวสกุล หรือ พงษ์ ปากพนัง ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานจ้างวานฆ่า และร่วมกันฆ่าผู้อื่น

โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน จากกรณี เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2542 จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันฆ่านายไมเคิล เออร์วิน วันสเลย์ ชาวออสเตรเลีย หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบบัญชี บริษัท เซ้าท์ สาธร แพลนเนอร์ จำกัด

โดยการใช้อาวุธปืนขนาด 11 มม. ยิง นายไมเคิล ขณะนั่งรถยนต์ตู้โตโยต้า เพื่อไปยังโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย เหตุเกิดบริเวณทางเข้าโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

โดยมีสาเหตุมาจากที่ผู้ตาย ตรวจสอบพบการทุจริตของโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2549 ให้จำคุกตลอดชีวิต นายบุญพรรณ

จำเลยที่ 1 ส่วน นายสมโชค จำเลยที่ 2 และ นายสมพงษ์ จำเลยที่ 4 ให้ประหารชีวิต ให้ยกฟ้องนายประดิษฐ์ จำเลยที่ 3 ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืนตามศาลชั้นต้น โดยวันนี้ ศาลนัดอ่านฎีกา เวลา

09.30 น
--------------------
ศาลฎีกาคุกตลอดชีวิต มือปืนกับผู้จ้างวานรวม 3 คน ร่วมฆ่าผู้ตรวจบัญชีโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ปี 42 ปิดฉากคดีที่ยาวนานถึง 16 ปี

ศาลอาญารัชดา นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดนครสวรรค์ และ นายอดัม เออร์วิน วันสเลย์ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบุญพรรณ สุทธิวิริวรรณ นายสมโชค สุทธิวิริ

วรรณ น้องชาย และ นายสมพงษ์ บัวสกุล หรือ พงษ์ ปากพนัง ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ในความผิดฐานจ้างวานฆ่าและร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน

จากกรณี เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2542 จำเลยทั้ง 4 ร่วมกัน ฆ่านายไมเคิล เออร์วิน วันสเลย์ ชาวออสเตรเลีย หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบบัญชี บริษัท เซ้าท์ สาทร แพลนเนอร์ จำกัด โดยการใช้อาวุธปืนขนาด 11

มม. ยิงนายไมเคิล ขณะนั่งรถยนต์ตู้โตโยต้า เพื่อไปยังโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย เหตุเกิดบริเวณทางเข้าโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โดยมีสาเหตุมาจากที่ผู้ตายตรวจ

สอบพบการทุจริตของโรงงานน้ำตาลเกษตรไทย ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ

โดยศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ ได้พิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์ สั่งจำคุกตลอดชีวิต จำเลยที่ 1 ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2

กับ 4 ฟังขึ้นบางส่วน ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 กับ 4 ตลอดชีวิต
////////////
สจล.

"ถวิล พึ่งมา" ย้ำต่อสู้คดี โกง สจล.ถึงที่สุด ศาลสั่งห้ามออกนอกประเทศ และรายงานตัวตามกำหนด พร้อมร่วมมือกับ ตร. 

นายถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หลังจากที่ ศาลจังหวัดมีนบุรี ได้อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวด้วย

วงเงินประกัน 5 ล้านบาท ในคดีที่ ทาง พงส.กองปราบปราม แจ้ง 5 ข้อหา ในคดียักยอกเงินของ สจล. วานนี้นั้น ทางศาลได้มีคำสั่งว่า ห้ามตนเองออกนอกประเทศ และให้มารายงานตัวตามกำหนด

ที่ศาลสั่ง ซึ่งตนเองพร้อมจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอย่างเคร่งครัด และพร้อมที่จะต่อสู้คดีจนถึงที่สุด และมั่นใจในความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยมอบหมายให้ทนายความเป็นผู้ดูแลคดีความแล้ว
และพร้อมที่จะร่วมมือกับตำรวจ หากมีการร้องขอเอกสาร หรือการสอบปากคำเพิ่มเติมตลอดเวลา
-----------------
อดีตรองอธิบการบดี สจล. พบตรง ป.แล้วหลังถูกแจ้งข้อหาคดีโกง สจล. เตรียมนำตัวฝากขัง จ่อขอยื่นประกันตัว

ความคืบหน้าในคดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. หลังจากที่วานนี้ 24 ก.พ. เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้อีก 3 คน โดยได้นำตัว นาย

ถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดีของ สจล. และ นายศรุต ราชบุรี อาจารย์ประจำภาควิชา สจล. ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาไปฝากขังต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ก่อนที่ นายถวิล จะได้รับการประกันตัวออกไป

ซึ่งช่วงเช้าในวันนี้ ผู้ต้องหาอีก 1 คน คือ นายสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ อดีตรองอธิการบดีของ สจล. ได้เดินทางมาที่กองบังคับการปราบปราม ตามหมายเรียก

โดย นายสรรพสิทธิ์ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองยังคงยืนยันความบริสุทธ์ เพราะช่วงที่เกิดเรื่องตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยที่ตัวเองเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2557 ก็เลยไม่มี

ความเกี่ยวข้อง เนื่องจากช่วงที่เข้ามาเป็นช่วงรอยต่อ การปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งตนเองก็ปฏิบัติงานตามข้อบังคับทุกอย่าง และส่วนตัวไม่รู้จักกับ นายทรงกลด ศรีประสงค์ อายุ 40 ปี อดีตผู้จัดการ

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นการส่วนตัว และ นายทรงกลด ก็ไม่เคยมาปรึกษาในเรื่องการโยกย้ายแต่อย่างใด   ส่วนการเดินทางพบเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันนี้ ก็เพื่อต้องการยืนยันความบริสุทธ์
และก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล และความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกอย่าง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังอยู่ระหว่างการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป
-------------------
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยยังไม่ชัดใครคือบอส คดีโกงเงิน สจล. ยังไม่ออกหมายจับเพิ่ม - ไร้ความเคลื่อนไหว ”กิตติศักดิ์”

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยความคืบหน้าคดียักยอกเงิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. หลังจากจับกุมตัว นายถวิล พึ่งมา

อดีตอธิการบดี สจล. ว่า ยังไม่มีการออกหมายจับบุคคลใดเพิ่มเติม ส่วน นายถวิล จะใช่ “บอส” หรือไม่นั้น ยังไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจาก ”บอส” อาจไม่ได้หมายถึงคำแรกเจ้านาย แต่อาจเป็นชื่อ

เรียกของคนที่มีอำนาจในการสั่งการได้หลาย ๆ อย่าง ส่วนความผิดปกติที่ตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานพบว่า

ขณะที่ นายทรงกรด ศรีประสงค์ อดีตผจก.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบิ๊กซีศรีนครินทร์ ผู้ต้องหาในคดีนี้ขณะถูกสอบอยู่นั้น กลับมีการเซ็นรับรองความประพฤติ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบอย่าง

ละเอียดอีกครั้งว่าบุคคลใดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่

ส่วนความคืบหน้าการติดตามจับกุมตัว นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับในคดีนี้และมีข่าวว่าหลบหนีอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น ขณะนี้ยังไม่พบความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม แต่เชื่อว่าน่า

จะยังมีชีวิตอยู่
----------------------
พงส.กองปราบ คุมตัว อดีต ผช.อธิการบดี สจล. ฝากขังศาลมีนบุรีแล้ว ด้านทนายความเตรียมขอยื่นประกันตัว

พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ได้ควบคุมตัว นายสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ไปฝากขังยังศาลจังหวัดมีนบุรี

พร้อมคัดค้านการประกันตัว หลังใช้เวลาในการสอบสวนนานกว่า 2 ช.ม.

โดย นายสรรพสิทธิ์ ยืนยันว่า ไม่รู้จักกับ นายกิตติศักดิ์ มัทธุจัด ผู้ต้องหารายสำคัญในคดีดังกล่าว พร้อมปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยักยอกเงิน โดยวันนี้เตรียมหลักทรัพย์มาใช้ในการยื่นใน

ประกันตัวต่อศาล ส่วนในการดำเนินคดีปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนของการสอบสวนเจ้าหน้าที่

ส่วน นายศรุต ราชบุรี อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สจล. ผู้ต้องหาอีก 1 ราย ที่ พนักงานสอบสวน ได้แจ้งข้อหาและนำตัวไปฝากขังที่ศาลจังหวัดมีนบุรีแล้วนั้น ทนายความเตรียมนำ

หลักฐานเป็นเงินสด 2 ล้านบาท และโฉนดที่ดินมูลค่า 4 ล้านบาท เพื่อใช้ในการประกันตัวในช่วงบ่ายวันนี้
-------------
ศาลมีนบุรี ให้ประกัน "สรรพสิทธิ์" อดีตผู้ช่วยอธิการบดี สจล. แล้ว ตีราคาประกัน 5 ล้านบาท

ศาลจังหวัดมีนบุรี มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว นายสรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ อายุ 51 ปี อดีตผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้ต้องหาคดี

ร่วมกันลักทรัพย์ สจล. แล้ว หลังจากพนักงานสอบสวน คุมตัวมายื่นคำร้องฝากขังครั้งแรก เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. - 8 มี.ค. นี้ เนื่องจากต้องสอบปากคำพยานอีก 15 ปาก และรอผลการ

ตรวจสอบการต้องโทษของผู้ต้องหา ซึ่งญาติของนายสรรพสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน มูลค่า 5 ล้านบาท ขอปล่อยชั่วคราว ซึ่งศาลพิจารณาคำร้องและหลักทรัพย์แล้ว อนุญาต

ให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยตีราคาประกัน 5 ล้านบาท

-//////////////
คดีระเบิด

โฆษก สตช. เผย กรณีสหรัฐฯเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเป็นเรื่องของรัฐบาลและ คสช.พิจารณา ส่วนคดีระเบิดคืบหน้าต่อเนื่อง

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่เริ่มมีหลายฝ่ายโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก ว่า การพิจารณา

ว่าจะยกเลิกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานและดูแลรักษา

ความสงบเรียบร้อยร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายความมั่นคง ส่วนการข่าวยังไม่พบเหตุการณ์ผิดปกติ ทั้งนี้ มองว่าการคงกฎอัยการศึกไว้เป็นเรื่องการเฝ้าระวังและการรักษาความปลอดภัยของ

ประชาชน

นอกจากนี้ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าเหตุระเบิด 2 จุด หน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง

เพื่อคงกฎอัยการศึกว่า ในทางคดีมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ในรายละเอียดแนวทางการสืบสวนบางอย่างไม่สามารถเปิดเผยต่อสื่อมวลชนได้

พร้อมกันนี้ ยังยืนยันด้วยว่า เหตุพบระเบิดชนิด M26 หน้าแฟลตตำรวจ ซ.รามคำแหง 142 และทิ้งป่าข้างทางที่ จ.พิษณุโลกนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
////////////////
คดีสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น

สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ร้อง ดีเอสไอ เพื่อเร่งรัดคดี  อดีตประธานสหกรณ์ฯ ยักยอกทรัพย์ กว่า 12,000 ลบ.

สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น กว่าร้อยคน พร้อมด้วย นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เดินทางมาที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อยื่น

หนังสือถึง นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อสอบถามความคืบหน้าและเร่งรัด ดำเนินคดีกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น และพวก

กรณียักยอกเงินสหกรณ์กว่า 12,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีมติยึดอายัดทรัพย์ไว้ทั้งหมด ฐานความผิดร่วมกันฟอกเงิน จึงร้องขอให้ ดีเอสไอ

แจ้งผลการติดตามดำเนินงานให้ทราบ ภายใน 15 วัน พร้อมขอให้คัดค้านการประกันตัว โดยทางชมรมจะนำผู้เสียหายไปคัดค้านการประกันตัวที่ศาลอาญา รัชดา

ทั้งนี้ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชลักษณ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นผู้มารับมอบหนังสือ ยืนยันว่า ดีเอสไอ จะไม่นิ่งเฉยต่อกรณีดังกล่าวอย่างแน่นอน จะเร่งทำงานอย่างเต็มความสามารถและ

ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย ทั้งนี้จะต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วย
---------------------
ปปง. เปิดเซฟคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีทั้งปืนและพระเครื่อง ตรวจลายนิ้มือแฝงต่อไป

ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน พร้อมช่างกุญแจร่วมกันเปิดตู้เซฟขนาดความสูง
193 เซนติเมตร หนา 64 เซนติเมตร และกว้าง 117 เซนติเมตร ที่ยึดมาจาก บริษัท เอส ดับบลิว โฮลดิ้งกรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด ตั้งอยู่
บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระธรรมกาย ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันที่ผ่านมา หลังพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
คลองจั่น จำกัด

โดยภายหลังช่างกุญแจใช้เวลาเปิดตู้เซฟ นานกว่า 1 ชั่วโมง จึงสามารถเปิดตู้ดังกล่าวได้ และเบื้องต้นพบปืนจำนวน 5 กระบอก พระเครื่อง
กว่า 56 องค์ หยกเจ้าแม่กวนอิม ลูกแก้วสีขาวและเอกสารต่าง ๆ จำนวนมาก

ซึ่งขณะนี้ เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานอยู่ระหว่างตรวจสอบลายนิ้วมือแฝงของทรัพย์สินภายในตู้ดังกล่าว เพื่อพิสูจน์หาบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะแล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป
------------------
รอง ปลัด ยธ. ชี้ตู้เชฟที่ยึดจาก บ.เอส ดับบลิว โฮดิ้งกรุ๊ป มีส่วนเอี่ยวคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด

พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยภายหลังตรวจสอบตู้เซฟที่ยึดได้จากบริษัท เอส ดับบลิว โฮดิ้งกรุ๊ป โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ ปปง. ดีเอสไอ และเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

ซึ่งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จำกัด โดยพบทรัพย์สินหลายรายการ อาทิ อาวุธปืน 5 กระบอก พระหยกเจ้าแม่กวนอิม ดวงแก้ว สมเด็จวัดปากมน้ำ

สมเด็จวัดระฆัง วัตถุมงคล และเอกสารแอบอ้างเป็นทหารยศ พันเอกของ นายสถาพร วัฒนาศิรินุกกุล เจ้าของบริษัท เอส ดับ บลิว ฯ นอกจากนี้ ยังมีเอกสาร ใบประกาศ บัญชีธนาคาร กรุงไทย 3 เล่ม

เป็นชื่อ นายสถาพร และบริษัท เอส ดับบลิว มียอดเงินเมื่อปี 56 จากเดิมกว่า 27 ล้านบาท มีการเบิกถอนเหลือเพียง 30,000 บาทเท่านั้น

ทั้งนี้ ทรัพย์สินทั้งหมดที่ตรวจยึดได้เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบลายนิ้วมือแฝง พร้อมให้ ปปง. จัดทำเป็นบัญชีของกลางเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อหาความเชื่อมโยงกับคคี ขณะเดียวกัน ตนเชื่อว่าของ

กลางบางส่วนเป็นของผิดกฎหมาย และจะต้องตรวจสอบความเชื่อมโยงว่าเคยใช้ก่ออาชญากรรมหรือไม่ แต่ต้องขอระยะเวลาในการตรวจสอบเส้นทางการเงินอย่างละเอียดอีกครั้ง ส่วนความเชื่อม

โยงกับวัดพระธรรมกายนั้น เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูล ด้านข้อมูลของ นายสถาพร เคยบวชเป็นสามเณร และพระวัดพระธรรมกาย ก่อนจะสึกออกมาเมื่อปี 54 จึงเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับ นายศภุชัย

ศรีภักอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตฯ มาก่อน ตั้งแต่สมัยเป็นพระโดยข้อมูลพบว่า เมื่อปี 53 มีการโอนเงินจากสหกรณ์ยูเนี่ยน กว่า 100 ล้านบาทให้กับพระสถาพรด้วย จากนั้นเมื่อ

ฆราวาสก็มีการเปิดบริษัท มีการซื้อขายหุ้น และถ่ายโอนเงินกันไปมาในห้วงปี 55-56 และการสืบสวนข้อมูลเบื้องต้นพบว่า บริษัท เอส ดับ บลิว ได้ทำสัญญาธุรกิจเหมืองแร่ กับบริษัท อิมพีเรียล วี

ซอฟดิเวลลอฟเมนท์ จำกัด ของ นายกริช ธารณ์เพชร ภาดาแดง ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ปปง.
/////////////////
เศรษฐกิจ

กระทรวงพาณิชย์ เผย ตลาดโลกชะลอฉุดส่งออก ม.ค. ปี 58 ลบ 3.46% มูลค่า17,249 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดดุล 457 ล้านเหรียญสหรัฐ  

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติ
การส่งออกของประเทศในช่วงเดือนมกราคม 2558 ว่า การส่งออกขยายตัว ติดลบร้อยละ 3.46 คิดเป็นมูลค่า
17,246 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้าขยายตัวติดลบร้อยละ 13.33 คิดเป็นมูลค่า 17,705 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผล
ทำให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 457 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยการส่งออกของประเทศ ขยายตัวติดลบในเดือน ม.ค. เป็นเพราะตลาดโลก ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก สินค้าเกษตร และ
เกษตรอุตสาหกรรม ขยายตัวติดลบ รวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวเนื่องดับราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยค่าเงินบาทของ
ไทยที่อ่อนค่า ทำให้การกำหนดราคาสินค้าแข่งขันลำบาก รวมทั้งค่าเงินที่ผันผวนของประเทศคู่ค้า อย่าง รัสเซีย และ
ญี่ปุ่น ด้วย
--------------
กระทรวงพาณิชย์ คงเป้าหมายการส่งออกปีนี้ 4% ต้นเดือนหน้าเตรียมประชุมทูตพาณิชย์ประเมินสถานการณ์

นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมาย
การส่งออกในปี 2558 ตามเดิมที่ร้อยละ 4 แม้ยอดการส่งออกในเดือนแรกของปีจะติดลบก็ตาม แต่ถือเป็นเป้าหมายการทำงาน
ที่จะเร่งผลักดันร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดในช่วงที่เหลือ 11 เดือนหลังจากนี้ไป โดยในไตรมาสที่ 1 ยังไม่สามารถประเมิน
ได้ชัดเจนว่าการส่งออกในไตรมาสแรกจะขยายตัวเป็นบวกหรือไม่ เนื่องจากยังมีปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหา
จากความผันผวนของราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งตามกรอบเดิมอยู่ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 80 เหรียญ
สหรัฐต่อบาเรล ค่าเงินบาท 32-32.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งภาคเอกชน ส่วนใหญ่ต้องการให้ค่าเงินบาทคงที่ เพื่อจะได้กำหนด
ราคาขายที่แน่นอนได้

โดยกรมฯ จะมีการประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ ในระหว่างวันที่ 11-16 มีนาคมนี้ ในการประเมินภาพรวมทิศทางการส่งออก และ
ปรับกลยุทธ์การส่งออกในเชิงลึก
---------------------
"ไพบูลย์" แนะ กนง.ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นศก ชี้สูงสุดในรอบ 5 ปี ไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทย ด้านนักลงทุนจับตาการเมือง


นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) กล่าวในการเสวนาวิเคราะห์เจาะเศรษฐกิจ การลงทุน และหุ้น
พลังงาน ว่า ราคาหุ้นไทยโดยรวมอยู่ในระดับแพงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค เนื่องจากกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนไทย
ในปี 2557 ที่ผ่านมาปรับลดลงถึง ร้อยละ 5 ในช่วง 9 เดือน จากราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัดลดลงมากตามกำไรของ บจ.
กลุ่มพลังงาน ดังนั้นนักลงทุนต่างชาติจึงไม่สนใจหุ้นไทย ประกอบกับดอกเบี้ยไทยอยู่ในระดับสูง

โดยดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.4 สูงสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งไม่เหมาะกับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ที่ต้องใช้ดอกเบี้ยต่ำในการ
กระตุ้นเศรษฐกิจ จึงมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงบ้างที่ระดับ
ร้อยละ 0.25 เพื่อเป็นการส่งสัญญาณว่าจะใช้นโยบายการเงินในการดูแลเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันนักลงทุนได้จับตาถึงการปฏิรูป
การเมืองและการปฏิรูปประเทศที่ยังไม่ชัดเจน จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวในช่วงแคบ

ไม่มีความคิดเห็น: