PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว13พ.ค.58

data13May15สถานการณ์

@พระโคกิน'งา-หญ้า'น้ำบริบูรณ์พอควรธัญญาหารผลาหารภักษาหารมังสาหารสมบูรณ์
@รวบอีก3คดีโรฮีนจาจ่อยึดทรัพย์โกโต้งเพิ่มระนองค้นบ้านค้ามนุษย์-ผบ.ตร.คุยมาเลย์ขอส่งตัวผู้ร้าย
@มติกมธ.ยกร่างฯต้องทำประชามติรธน.หลังสปช.เห็นชอบ-วิษณุไม่กดดันย้ำทำลต.ช้า-บวรศักดิ์ลาออกคปก.กลัวถูกโจมตี
@ปานเทพส่งสำนวนคดี250สส.แก้รธน.โดยมิชอบให้สนช.ถอดถอนศุกร์นี้
///////////////

โรฮีนจา

ตำรวจไทย-มาเลเชีย จัดประชุมทวิภาคี จับตาข้อหารือแก้ปัญหาค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา 

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เตรียมเดินทางไปจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมการประชุมทวิภาคีระหว่างตำรวจไทยและตำรวจมาเลเซีย ภายใต้การนำของ ตันศรี ดาโต๊ะ ศรี กาลิด บิน อาบู บาการ์ (Tan Sri Dato Sri Khalid bin Abu Bakar) ผบ.ตร.มาเลเซีย เพื่อหารือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจสองประเทศในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และอาชญากรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ

สำหรับการประชุมของตำรวจสองประเทศครั้งนี้ จะร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ 8 ประเภทด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในน่านน้ำและโจรสลัด รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกันของตำรวจทั้งสองประเทศ

โดยหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลง (Agreed Minute) เพื่อแสดงถึงเจตจำนงในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร่วมกัน ซึ่งข้อตกลงนี้นอกจากจะใช้เป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างตำรวจทั้งสองประเทศที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไปแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและยาวนานระหว่างตำรวจทั้งสองประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ พล.ต.อ.สมยศ จะเป็นประธานพิธีส่งคืนยานพาหนะที่ถูกโจรกรรมมาจากประเทศมาเลเซีย จำนวน 25 คัน กลับคืนสู่ประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ การประชุมทวิภาคีระหว่างตำรวจไทยและตำรวจมาเลเซียถือว่าเป็นการประชุมที่มีความสำคัญมากอีกการประชุมหนึ่งในการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยทั้งสองประเทศจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ
---------------
โฆษก สตช.ระบุยังไม่มีคำสั่งย้าย 5 นายตำรวจในพื้นที่เกิดคดีโรฮีนจา-เตรียมประชุมร่วมตำรวจมาเลเซีย ที่ ภูเก็ต หารือป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับเครือข่ายค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ว่า เมื่อวานที่ผ่านมาได้มีการออกจับหมายเพิ่มอีก 10 หมาย รวมผู้ต้องหาขณะนี้ กว่า 60 ราย จับกุมได้แล้ว 19 ราย ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะย้ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่อาจมีความเกี่ยวโยงกับคดีโรฮีนจานั้น โฆษก สตช.ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีคำสั่งย้ายนายตำรวจคนใดเพิ่มเติม

ซึ่งวันนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างตำรวจไทยและตำรวจมาเลเซีย เพื่อหารือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจทั้งสองประเทศในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและอาชญากรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ที่ จ.ภูเก็ต โดยจะมีการพูดคุยกันใน 9 หัวข้อ และหนึ่งในนั้นจะมีประเด็นร้อน ๆ อย่างปัญหาของชาวโรฮีนจาด้วย

จะมีการพูดคุยถึงแนวทางการร่วมกันแก้ปัญหา รวมถึงเรื่องของการจัดตั้งศูนย์อพยพของชาวโรฮีนจาว่าจะมีแนวทางอย่างไร

ทั้งนี้ การพูดคุยระหว่างตำรวจไทยและมาเลเซียได้มีการหารือกันมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา ตำรวจไทยได้มีการส่งมอบรถยนต์ที่ ถูกขโมยมาจากประเทศมาเลเซียคืนให้กับทางการมาเลเซียด้วย
-------------------
ผบ.ตร.นำคณะนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ประชุมร่วมตำรวจมาเลเซีย ที่ จ.ภูเก็ต เพื่อหารือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.เรืองศักดิ์ จริตเอก รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญ

บัญชา ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ต.อภิชาติ สุริบุญญา ผบก.ตท.(ตำรวจสากล) เดินทางไปยัง โรงแรมเวสทิน รีสอร์ท จ.ภูเก็ต เพื่อเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีระหว่างตำรวจไทยและตำรวจมาเลเซีย

ภายใต้การนำของ ตันศรี ดาโต๊ะ ศรี กาลิด บิน อาบู บาการ์ (Tan Sri Dato Sri Khalid bin Abu Bakar) ผบ.ตร.ตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย เพื่อหารือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจสองประเทศ

ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และอาชญากรรมที่กระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ

โดยการประชุมของตำรวจสองประเทศครั้งนี้ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของทั้งสองประเทศ ซึ่งมี 8 ประเภทด้วยกันได้แก่ การก่อการร้าย

การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบค้าอาวุธ อาชญากรรมที่กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองสองประเทศที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน การโจรกรรมยานพาหนะข้ามประเทศ

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและคอมพิวเตอร์ และอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในน่านน้ำและโจรสลัด รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกันของตำรวจทั้งสองประเทศ

ทั้งนี้ หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (Agreed Minute) เพื่อแสดงถึงเจตจำนงในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมร่วมกัน ซึ่งข้อตกลงนี้นอกจากจะ

ใช้เป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างตำรวจทั้งสองประเทศที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไปแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและยาวนานระหว่างตำรวจทั้งสองประเทศอีกด้วย
-------------------------
โฆษก สตช.เผย ตำรวจเตรียมประสานโกโต้ง ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีโรฮีนจาให้มอบตัว พร้อมระบุการโยกย้าย ตร.นอกวาระอยู่ระหว่างการรออนุมัติคำสั่ง

พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ว่า ในส่วนของ นายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ หนึ่งในผู้ต้องหารายสำคัญของคดีที่

หลบหนีออกจากพื้นที่นั้น ขณะนี้ตำรวจอยู่ระหว่างการติดต่อให้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็ววันนี้ แต่หากไม่มาพบหรือแสดงความบริสุทธิ์ใจ ก็จะดำเนินการติดตามจับ

กุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายทันที

ส่วนกระแสข่าวที่ว่า นายปัจจุบันหลบหนีไปที่เกาะลังกาวีนั้น ยังไม่สามารถระบุหรือยืนยันรายละเอียดดังกล่าวได้

ขณะที่ กรณีกระแสข่าวล่าสุด ที่มีรายชื่อข้าราชการตำรวจ จำนวน 50 นาย มีความเกี่ยวข้องกับคดีการค้ามนุษย์โรฮีนจานั้น พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า กระแสข่าวดังกล่าวไม่เป็นเรื่องจริง ส่วนการ

โยกย้ายนายตำรวจนอกวาระก็อยู่ระหว่างขั้นตอนรออนุมัติคำสั่ง ซึ่งหากมีความชัดเจนจะแจ้งให้ทราบทันที

อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีนี้มีผู้ต้องหาตามหมายจับแล้ว 61 คน จับกุมได้ 19 คน และเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาสามารถจับกุมตัวได้เพิ่มเติมอีก 3 คน (รวม 22 คน) ซึ่ง 1 ใน 3 คนที่ถูกจับกุมตัวล่าสุด เป็นผู้

ต้องหารายสำคัญที่ทำหน้าที่ขนส่งชาวโรฮีนจาเข้ามาในประเทศไทย ส่วนอีก 39 คนที่ยังหลบหนีอยู่นั้น เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

////////////
กมธ.ยกร่างฯ

มติ กมธ.ยกร่างฯ ยันต้องทำประชามติรัฐธรรมนูญ หลัง สปช.เห็นชอบ-จ่อชงคณะรัฐมนตรี

การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด ยังประชุมต่อเนื่อง เพื่อปรับแนวทางการทำงานร่วมกันของกรรมาธิการ รวมถึง

ความชัดเจนในการทำงานของคณะอนุกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติมีข้อท้วงติงว่าควรให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ก่อน จึงค่อยดำเนินการ

จัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และการเตรียมความพร้อมพิจารณาญัตติคำขอแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกัน นายแพทยท์กระแส ชนะวงศ์ รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า มติกรรมาธิการทั้ง 36 คน ยืนยันต้องทำประชามติ ภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นชอบ

ร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะส่งหนังสือไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาประเด็นการทำประชามติ
------------------
กมธ.ยกร่างฯ มติเอกฉันท์ให้ทำประชามติร่าง รธน. เตรียมเสนอ ครม.-คสช.พิจารณา ชี้ เป็นกฎหมายสูงสุด ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ส่งหนังสือเสนอความเห็นของคณะ

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เห็นตรงกันว่าควรให้มีการทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่ไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายในวันนี้ ส่วนจะมี

การดำเนินการตามข้อเสนอหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอำนาจของทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้ ทางกรรมาธิการเห็นว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบ และเพื่อให้สอดคล้องกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เป็นของทุก

คนและฉบับที่ผ่านมาก็เคยทำประชามติเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การทำประชามตินั้นจะต้องส่งเอกสารให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนลงเสียงประชามติ ใน 90 วัน ส่วนเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีหลายช่องทางที่จะสามารถ

ดำเนินการและใช้เป็นทางออกในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรที่จะเสนอเรื่องนี้
----------------
"ประชา" เผยหลังลงพื้นที่แจงเนื้อหาร่าง รธน.ได้ผลดีเกินคาด ประชาชน ร้อยละ 79 ชื่นชอบ 

นายประชา เตรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ชี้แจงถึงผลการ

ดำเนินงานรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยระบุว่า เวทีที่ผ่านมา 4-5 จังหวัด ถือว่าได้ผลเกินเป้าหมาย โดยมีประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมแสดงความเห็น และหลังจากที่รับ

ฟังแล้ว ได้มีแบบสอบถามให้ประชาชนได้กรอกรายละเอียดถึงความพอใจ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสนในเรื่องสิทธิพลเมือง โดย ร้อยละ 79 เห็นด้วยว่าประชาชนน่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

และอีก ร้อยละ 21 ไม่แน่ใจว่าจะผ่านหรือไม่
-------------------
ประชา เผยประชาชนสนใจสิทธิพลเมืองในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะ 14 พ.ค. เปิดเวทีนครราชสีมา

นายประชา เตรัตน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านคณะ

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ข้อมูลการจัดเวทีรับฟังความเห็นผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งได้จัดให้มีการเชื่อมสัญญาณผ่านวิทยุชุมชน ซึ่งจากการรับฟังความเห็นประชาชนส่วนใหญ่

สนใจเรื่องสิทธิพลเมือง สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และส่วนที่จะกระทบต่อตนเอง ซึ่งไม่ได้สนใจประเด็นการเมือง ขณะที่บางส่วนสนใจเรื่องการทำประชามติ

ทั้งนี้ นายประชา ยังระบุด้วยว่า ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จะมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนที่จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ตั้งเป้าไว้ว่า ประชาชนจะเดินทางมาเข้าร่วมประมาณ 3,000 คน

เพราะเป็นจังหวัดใหญ่
--------
"สมบัติ" ระบุการทำคำขอแก้ไขร่าง รธน.คืบหน้าไปมากแล้ว เตรียมฟัง ปชช.-พรรคการเมือง ก่อนสรุป แนะทำกฎหมายลูก ขั้นตอนต้องไม่ขัด รธน.ชั่วคราว

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานกรรมาธิปการปฏิรูปการเมือง เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การเสนอคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการ จะมี 2

ส่วน ประกอบด้วยความเห็นของสมาชิก ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากแล้ว และอีกส่วนจะเป็นความเห็นของประชาชน พรรคการเมือง และ นักวิชาการ ซึ่งจะเชิญมาร่วมเสนอแนะในวันที่ 15 พ.ค. และ

18 พ.ค. นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ก่อนที่จะไปสรุปร่วมกับกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ตามกรอบเวลา

ส่วนประเด็นที่มีการเสนอให้ปรับลดร่าง รธน. จาก 315 มาตรา เหลือประมาณ 100 มาตรา นั้น สามารถทำได้ด้วยการตัดเนื้อหาย่อยไปใส่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทน ซึ่งกรรมาธิการปฏิรูป

กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้มีการร่างไว้แล้ว

ทั้งนี้ นายสมบัติ ยังได้กล่าวถึงข้อเสนอต่าง ๆ เรื่องประชามติว่า สามารถทำได้ 2 แบบ จะก่อนบังคับใช้ หรือหลังบังคับใช้ รธน.ใหม่ก็ได้ แต่ทั้งหมดต้องแก้ รธน.ชั่วคราวให้สามารถดำเนินการได้ก่อน

ส่วนกรณีการเตรียมทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ต้องศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมาย ขั้นตอนการดำเนินการให้ชัดเจนก่อน โดยต้องไม่ขัดกับร่าง รธน.ชั่วคราวที่บังคับใช้อยู่ รวมถึงต้องไม่

ขัดแย้งกับเนื้อหาของ รธน.ฉบับใหม่ด้วย
--------------------
"วิษณุ" บอกยังรวบรวมข้อคิดเห็นเสนอแก้ รธน.ไม่เสร็จ รับบางความเห็นเป็นเรื่องดี ต้องนำมาจัดหมวดหมู่ใหม่

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายด้านกฎหมาย กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำญัตติแก้ร่างรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ยังจัดทำไม่เสร็จ ยังมีความคิดเห็นของ

แต่ละทรวงกระทรวงต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ครบ จากการตรวจสอบพบว่า มีความเห็นจากส่วนอื่น อาทิ องค์กรอิสระ นักวิชาการ พระ และประชาชนด้วย โดยยอมรับว่าบางความเห็นเป็นเรื่องที่ดี

ซึ่งหลังจากนี้จะต้องนำมาจัดหมวดหมู่ แยกประเภทที่ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนุญ เพราะจะแก้ไขได้ยาก อีกทั้งยังไม่รู้ว่าเหมาะสมกับบ้านเมืองหรือไม่ เช่น การมีสมัชชาและสภาบางอย่างที่

สิ้นเปลืองงบประมาณ และเป็นภาระ ทั้งนี้ ในการเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ หากไม่มีใครเป็นเจ้าภาพตนจะเป็นตัวแทนชี้แจงเอง

พร้อมกันนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวว่า มีกรรมาธิการยกร่างฯ บางคนต้องการให้รัฐบาลเสนอแก้ไขในบางมาตรา เนื่องจากแพ้การลงมติในที่ประชุม อย่างไรก็ตาม ความเห็นต่างนี้จะไม่นำไปสู่ปัญหา

ความขัดแย้ง
-------------------
"วิษณุ" ระบุ ไม่กดดัน สนช.เตรียมพิจารณาควรทำประชามติหรือไม่ ชี้เป็นเรื่องดี แจง กมธ.ยกร่างฯ มีสิทธิ์นั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ หลังพ้นตำแหน่ง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาว่าควรมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมหรือไม่ ในวันที่ 14-15 พ.ค.

นี้ว่า ไม่ได้รู้สึกกดดันอะไร เพราะเรื่องการทำประชามติเป็นเรื่องที่ไม่มีผู้รับรอง หากใครต้องการก็สามารถเสนอเข้ามาได้ เพราะหากรัฐบาลเสนอให้ทำประชามติเอง จะถูกมองว่าหวังอยู่ในตำแหน่ง

ต่อ เพราะต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 3-4 เดือน อีกทั้งยังต้องใช้งบประมาณในการจัดทำเอกสารชี้แจงและจัดทำคูหาลงคะแนนอีกกว่า 3 พันล้าน

ส่วนกรณี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ลงสมัครเป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) นั้น ยืนยันตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ระบุห้ามไม่ให้

กรรมาธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลังพ้นตำแหน่ง 2 ปี เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรัฐวิสาหกิจหรือตำแหน่งอื่น ๆ แต่อย่างใด
------------------
กมธ.ยกร่าง แจง เสนอทำประชามติ ไม่ได้กดดัน นายกฯ ยันยังไม่หารือข้อเสนอ "ไพบูลย์" 

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการส่งหนังสือขอให้ทำประชามติจะเป็นการกดดันการทำงานของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ว่า ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ก็เคยพูดเรื่องการทำประชามติ แต่ขอให้รอเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น จึงไม่ได้กดดันการทำงานแต่อย่างใด ทั้งนี้ การพิจารณาว่าจะทำหรือไม่ทำประชามตินั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อยู่แล้ว ส่วนเวลาดำเนินการประชามติ จะต้องทำหลังวันที่ 6 ส.ค. จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค.นี้

นอกจากนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ยืนยันว่า เรื่องการทำประชานมตินี้ ไม่จำเป็นต้องนำเข้าหารือในที่ประชุมแม่น้ำ 5 สายอย่างไรก็ตาม ในที่ประชุม ไม่ได้มีการหารือข้อเสนอของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก 2 ปี เพื่อให้รอการปฏิรูปประเทศให้เสร็จสิ้น
ก่อน
---------------------
“บวรศักดิ์” ถอนใบสมัคร คปก.แล้ว ให้เหตุผลกระทบรัฐธรรมนูญ หวั่นถูกมองเอื้อประโยชน์

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงกรณีการสมัครเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก. แทนชุดเดิมที่จะหมดวาระลง ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในมาตรา 282(3) ให้อำนาจหน้าที่ คปก. มีอำนาจเสนอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายแล้วแต่กรณี จนถูกมองว่าอาจเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญมาเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง ซึ่งล่าสุดได้ถอนใบสมัครแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับรัฐธรรมนูญ และไม่ให้นักการเมืองวิพากษ์วิจารณ์ ขณะเดียวกัน อาจจะตัดมาตรานี้ในร่างรัฐธรรมนูญทิ้งด้วย ส่วนกรณีที่มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติบางคนลงสมัครด้วยนั้น ก็ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะลงสมัครได้
----------------------
อลงกรณ์ เผยที่ประชุมเห็นด้วยออกเสียงทำประชามติ พร้อมให้ความรู้ ปชช.

นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฎิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เปิดเผยว่า เป็นการประชุมวาระพิเศษในข้อนโยบายระหว่าง วิป สปช. กับคณะกรรมาธิการทั้ง 23 คณะ โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องลงประชามติทั้งฉบับ ทั้งนี้ การออกเสียงประชามติต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ โดย สปช. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมที่จะให้ความรู้กับประชาชน และจะต้องมีการวางกติกาให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส

อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมไม่ได้มีการหารือถึงการจะส่งมติดังกล่าวนี้ให้กับคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
-----------------------
นายกฯรอดูแก้รธน.ทำประชามติลุยปฏิรูป ขออย่าขัดแย้ง-สลากต้อง80บาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"เกษตกรก้าวหน้า พัฒนาการเกษตรไทย" ว่า รัฐบาลตั้งใจที่จะช่วยเหลือเกษตรกร  ทั้งนี้เกษตรกรต้องสร้างความเข้มแข็งร่วมกัน และร่วมกับรัฐบาลในการสร้างอนาคต โดยดำเนินการแบบวงจร ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน การพัฒนาสินค้าต่างๆ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง ยกระดับการเกษตร ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้จะดำเนินการทางกฏหมายข้าราชการทุจริตโดยของให้ประชาชนช่วยกันส่งหลักฐานต่างๆมา

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและอยากให้ประชาชนติดตามศึกษาเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ โดยอยู่ในขั้นรวบรวมความคิดเห็นส่งไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนเรื่องการทำประชามติต้องรอให้ผ่านตามขั้นตอนก่อน  ซึ่งหากจะมีการทำประชามติต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ทั้งนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องการปฏิรูปทุกด้าน และขอประชาชนอย่าสร้างความขัดแย้งโดยต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย

ส่วนเรื่องสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นต้องดำเนินการให้ขายในราคา80บาท
/////////////////////
วันนี้  (13 พ.ค.)  เวลา  12.19 น.  รายงาน   นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  เปิดเผย ป.ป.ช.เตรียมส่งเรื่องชี้มูลความผิด 250

อดีต ส.ส. ปมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาส.ว. ไปยังงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ในวันศุกร์ที่ 15 พ.ค.นี้ เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาถอดถอนต่อไป
////////////////////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "เตรียมความพร้อมเกษตรกรไทยเริ่มต้นใหม่ฤดูกาลผลิต" พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "เกษตรกรก้าวหน้า พัฒนาการเกษตรไทย" เนื่องในวันเกษตรกรไทย 13 พฤษภาคม 2558 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับ
สูง ข้าราชการตลอดจนประชาชนและผู้แทนเกษตรกรจากภูมิภาคต่าง ๆ ทุกสาขา เข้าร่วมภายในงานเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดรอบพื้นที่ โดยมีการตรวจสอบบุคคล และสิ่งของสัมภาระอย่างละเอียด

อย่างไรก็ตาม สำหรับวัตถุประสงค์การจัดงานดังกล่าว เพื่อให้เกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และได้รับทราบแนวทางมาตรการของรัฐบาลในการพัฒนาการเกษตร อีกทั้ง สร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีกิจกรรมปาฐกถาพิเศษและการอภิปราย รวมทั้งนิทรรศการผลการดำเนินงานพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 14 พฤษภาคม นี้
///////////////////////
แผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 แมกนิจูด ที่ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ไร้เตือนสึนามิ

สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 04.12 น. ตามเวลาในประเทศไทย ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 6.8 แมกนิจูด ความลึก 10 กิโลเมตร บริเวณฝั่งตะวันออก

ของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่มีรายงานการแจ้งเตือนสึนามิและความเสียหาย อีกทั้งไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
---------------------
แผ่นดินไหวเนปาลรอบ 2 ทางการเร่งหาพื้นที่ปลอดภัยช่วยชาวบ้าน หลังรายงานระบุเกิดอาฟเตอร์ช็อคทั้งเดือน หวั่นดินไหว น้ำท่วมซ้ำ

สื่อต่างประเทศรายงาน พื้นที่ในประเทศเนปาลยังคงมีความไม่แน่นอนนับตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหว 7.9 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 8,000 คน โดยหลังเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีกครั้งเมื่อวานนี้ ความรุนแรงลดลงจากเดิมเล็กน้อย แรงสะเทือนส่งผลกระทบไปยังเขตประเทศอินเดียด้วย ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตราว 70 ราย บาดเจ็บกว่า 1,200 คน ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวระบุอาจเกิดอาเตอร์ช็อคตามมาเป็นเวลานับสัปดาห์หรืออาจจะถึงเดือน ในขณะเดียวกันใกล้จะเข้าฤดูฝน ที่กำลังจะมาถึงในเดือนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปช่วยเหลือยังพื้นที่ประสบภัยโดยเจ้าหน้าที่ยังมีความเสี่ยงสูง นอกเหนือจากการช่วยเหลือด้านอื่น ๆ แล้ว สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือการอพยพมายังพื้นที่โล่งเพื่อความปลอดภัย ซึ่งยังไม่สามรถหาแหล่งพักพิงถาวรให้กับประชาชนได้ จึงต้อหาทำเลใหม่เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้ ยังหวั่นว่าอาจจะเกิดแผ่นดินสไลด์และน้ำท่วมฉับพลันตามมาด้วย

http://ibnlive.in.com/news/after-nepal-earthquakes-monsoon-poses-risk-of-more-landslides-floods/545274-2.html?
------------------------
ดินไหวเนปาลรอบ 2 ดับ 70 เจ็บกว่า 1,000 ผู้เชี่ยวชาญชี้มีอาฟเตอร์ช็อคทั้งเดือน 

สำนักข่าวของอินเดียรายงานเหตุแผ่นดินไหวซ้ำที่ประเทศเนปาลและบางส่วนของอินเดีย 7.4 แมกนิจูด แรงเขย่าสะเทือนทั่วรัศมี 83 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของกรุงกาฐมาณฑุ ใกล้กับเทือกเขาเอเวอเรสต์ เมื่อวานนี้ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้แล้วอย่างน้อยราว 70 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 1,200 คน ขณะที่อาฟเตอร์ช็อคยังคงตามมาอย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จะมีตามมมาอีกหลายครั้งและอาจเกิดขึ้นตลอดทั้งเดือน

ด้านการดำเนินการการค้นหากู้ภัยสำหรับเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา ต้องหยุดชะงักลง แต่สิ่งของบรรเทาทุกข์ยังคงถุกส่งไปยังพื้นที่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ทางสถานทูตไทยในกรุงกาฐมาณฑุ รายงานว่ายังไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการครั้งหลังสุด ทั้งนี้มีพลเมืองแจ้งความประสงค์ขอพักพิงในสถานทูตเพื่อความปลอดภัยแล้ว 14 คน

http://timesofindia.indiatimes.com/india/Aftershocks-may-continue-for-weeks-months-Experts/articleshow/47257968.cms
///////////////
14พ.ค.58

09:00น.รัฐสภา ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ-ปานเทพส่งสำนวนคดี250สส.แก้รธน.โดยมิชอบให้สนช.ถอดถอนศุกร์นี้
09:00น.ทำเนียบรัฐบาล นายกฯเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
10:00น. สมาคมนักข่าวนกหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมประชุมเวทีแสดงความคิดเห้นและรับฟังการชี้แจงเนื้อหาร่างรธน.
15:00น. ทำเนียบรัฐบาล มล.ปนัดดามอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล

ไม่มีความคิดเห็น: